ภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญ คือ การใช้จ่ายภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน การก่อสร้าง การจ้างงาน การค้าชายแดนไทย-ลาว และไทย-กัมพูชา รวมทั้งภาคการเงินมีการปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ส่วนภาคการเกษตร ราคาสินค้าเกษตรสำคัญส่วนใหญ่ปรับตัว ลดลง นอกจากนี้ภาคการคลังมีการเบิกจ่ายลดลง สำหรับอัตราเงินเฟ้อมีการปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย
1. ภาคการเกษตร ผลผลิตมากกว่าฤดูก่อน แต่ราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะข้าวและมันสำปะหลัง ยกเว้นราคาข้าวโพดสูงขึ้น
2. การใช้จ่ายภาคเอกชน ยังคงขยายตัว เมื่อพิจารณาจาก ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5 เนื่องจากอุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์เครื่องมือวิทยุและการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น เป็นสำคัญ นอกจากนี้ยอดการจดทะเบียนรถยนต์ รถกระบะและรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.2 ร้อยละ 60.3 และร้อยละ 37.6 ตามลำดับ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและอัตราดอกเบี้ยที่เอื้ออำนวย ประกอบกับมีการนำรถรุ่นใหม่ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง
3. การลงทุนภาคเอกชน ยังคงขยายตัว เมื่อพิจารณาจาก โครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้น ทั้งจำนวนและเงินลงทุน ยอดการจดทะเบียนของธุรกิจตั้งใหม่ของบริษัทและห้างหุ้นส่วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 68.0 โดยกิจการที่ตั้งใหม่ ส่วนใหญ่ได้แก่ โรงสีข้าว โรงงานผลิตคอนกรีตอัดแข็งสำเร็จรูป กิจการร้านค้าวัสดุก่อสร้าง และกิจการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
4. ภาคการก่อสร้าง ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลนครและ เทศบาลเมืองในภาคฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.0 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของการก่อสร้างที่อยู่อาศัย เนื่องจากประชาชนยังมีความต้องการสูง ประกอบกับมีแหล่งให้บริการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยหลายแห่ง รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำจูงใจ
5. ภาคการจ้างงาน ความต้องการแรงงานในภาคฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ส่วนใหญ่เป็นความต้องการแรงงานใน อุตสาหกรรมการผลิต การขายส่ง การขายปลีก และการซ่อมแซมยานยนต์ โดยมีผู้ได้รับการบรรจุงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 89.3 ขณะที่มี ผู้สมัครงานลดลงร้อยละ 15.9
สำหรับแรงงานที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศ ลดลงร้อยละ 3.6 โดยนครราชสีมาเป็นจังหวัดที่มีผู้เดินทางไปทำงานต่างประเทศมากที่สุด รองลงมาคือ อุดรธานีและขอนแก่น ทั้งนี้ประเทศที่แรงงานในภาคฯ เดินทางไปทำงานมากที่สุด คือ ไต้หวัน รองลงมาคือ สิงคโปร์ บรูไน ฮ่องกง และมาเลเซีย ตามลำดับ
6. การค้าชายแดน ขยายตัวทั้งด้านไทย-ลาวและไทย-กัมพูชา โดยมูลค่าการค้าไทย-ลาวในเดือนนี้ 1,773.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 แยกเป็นการส่งออก 1,480.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องใช้ไฟฟ้าและเหล็ก โดยมีการนำเข้า 292.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 45.4 ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้
ส่วนมูลค่าการค้าไทย-กัมพูชา เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.1 แยกเป็นการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ยานพาหนะ/อุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องดื่ม น้ำมันปิโตรเลียม และวัสดุก่อสร้าง โดยมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้เช่นเดียวกับลาว
7. ภาคการเงิน สินเชื่อคงค้างธนาคารพาณิชย์ในภาค 221,267.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลและสินเชื่อเพื่อการพาณิชย์ เงินฝากคงค้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ทำให้อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากสูงขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 81.8
8. ภาคการคลังรัฐบาล การเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐลดลงร้อยละ 4.7 จากระยะเดียวกันของปีก่อนโดยมีการเบิกจ่ายงบลงทุนลดลงร้อยละ 16.0 ผลจากการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นลดลง ขณะที่การ เบิกจ่ายงบประจำเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7
สำหรับการจัดเก็บรายได้ในเดือนนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5 ภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0
9. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในภาคฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 จากระยะเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 6.6 โดยสินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ เนื้อหมู ข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์ จากแป้ง ขณะที่ราคาสินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นเพียงร้อยละ 0.5 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดเคหสถานและราคาเชื้อเพลิง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-
1. ภาคการเกษตร ผลผลิตมากกว่าฤดูก่อน แต่ราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะข้าวและมันสำปะหลัง ยกเว้นราคาข้าวโพดสูงขึ้น
2. การใช้จ่ายภาคเอกชน ยังคงขยายตัว เมื่อพิจารณาจาก ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5 เนื่องจากอุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์เครื่องมือวิทยุและการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น เป็นสำคัญ นอกจากนี้ยอดการจดทะเบียนรถยนต์ รถกระบะและรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.2 ร้อยละ 60.3 และร้อยละ 37.6 ตามลำดับ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและอัตราดอกเบี้ยที่เอื้ออำนวย ประกอบกับมีการนำรถรุ่นใหม่ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง
3. การลงทุนภาคเอกชน ยังคงขยายตัว เมื่อพิจารณาจาก โครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้น ทั้งจำนวนและเงินลงทุน ยอดการจดทะเบียนของธุรกิจตั้งใหม่ของบริษัทและห้างหุ้นส่วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 68.0 โดยกิจการที่ตั้งใหม่ ส่วนใหญ่ได้แก่ โรงสีข้าว โรงงานผลิตคอนกรีตอัดแข็งสำเร็จรูป กิจการร้านค้าวัสดุก่อสร้าง และกิจการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
4. ภาคการก่อสร้าง ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลนครและ เทศบาลเมืองในภาคฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.0 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของการก่อสร้างที่อยู่อาศัย เนื่องจากประชาชนยังมีความต้องการสูง ประกอบกับมีแหล่งให้บริการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยหลายแห่ง รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำจูงใจ
5. ภาคการจ้างงาน ความต้องการแรงงานในภาคฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ส่วนใหญ่เป็นความต้องการแรงงานใน อุตสาหกรรมการผลิต การขายส่ง การขายปลีก และการซ่อมแซมยานยนต์ โดยมีผู้ได้รับการบรรจุงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 89.3 ขณะที่มี ผู้สมัครงานลดลงร้อยละ 15.9
สำหรับแรงงานที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศ ลดลงร้อยละ 3.6 โดยนครราชสีมาเป็นจังหวัดที่มีผู้เดินทางไปทำงานต่างประเทศมากที่สุด รองลงมาคือ อุดรธานีและขอนแก่น ทั้งนี้ประเทศที่แรงงานในภาคฯ เดินทางไปทำงานมากที่สุด คือ ไต้หวัน รองลงมาคือ สิงคโปร์ บรูไน ฮ่องกง และมาเลเซีย ตามลำดับ
6. การค้าชายแดน ขยายตัวทั้งด้านไทย-ลาวและไทย-กัมพูชา โดยมูลค่าการค้าไทย-ลาวในเดือนนี้ 1,773.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 แยกเป็นการส่งออก 1,480.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องใช้ไฟฟ้าและเหล็ก โดยมีการนำเข้า 292.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 45.4 ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้
ส่วนมูลค่าการค้าไทย-กัมพูชา เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.1 แยกเป็นการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ยานพาหนะ/อุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องดื่ม น้ำมันปิโตรเลียม และวัสดุก่อสร้าง โดยมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้เช่นเดียวกับลาว
7. ภาคการเงิน สินเชื่อคงค้างธนาคารพาณิชย์ในภาค 221,267.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลและสินเชื่อเพื่อการพาณิชย์ เงินฝากคงค้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ทำให้อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากสูงขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 81.8
8. ภาคการคลังรัฐบาล การเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐลดลงร้อยละ 4.7 จากระยะเดียวกันของปีก่อนโดยมีการเบิกจ่ายงบลงทุนลดลงร้อยละ 16.0 ผลจากการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นลดลง ขณะที่การ เบิกจ่ายงบประจำเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7
สำหรับการจัดเก็บรายได้ในเดือนนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5 ภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0
9. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในภาคฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 จากระยะเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 6.6 โดยสินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ เนื้อหมู ข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์ จากแป้ง ขณะที่ราคาสินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นเพียงร้อยละ 0.5 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดเคหสถานและราคาเชื้อเพลิง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-