ปาฐกถาพิเศษ
โดย
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ในการสัมมนาเรื่อง
"ผลสำรวจบรรษัทภิบาลของบริษัทจดทะเบียนประจำปี 2546"
ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมไฮแอท เอราวัณ
24 พฤษภาคม 2547
ท่านประธานตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ท่านกรรมการผู้จัดการใหญ่ ท่านนายกสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย กรรมการ ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
ผมต้องขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่งที่ได้ให้เกียรติเชิญกระผมมาเป็นประธานในงานสัมมนาในวันนี้ ผมถือว่าเป็นการให้เกียรติอย่างสูงและงานวันนี้เป็นงานที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะว่าผมตั้งใจอยู่แล้วว่าจะให้ทาง กลต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถือเอาเรื่องของ Governance เป็น Top agenda ในการที่จะช่วยกันส่งเสริม เพราะเรื่องของความดีเป็นสิ่งที่ถ้าพวกเราไม่ทุ่มเท มันเป็นเรื่องยากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดทุนซึ่งเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์นับล้านๆ บาท
ผมมีความเชื่อเป็นอย่างสูงว่าถ้าเราให้ความสำคัญกับความดีในระดับสังคม สังคมก็จะไปได้ดี ถ้าเราให้ความสำคัญกับความดีในระดับของภาคเอกชน ภาคธุรกิจ ภาคธุรกิจก็จะไปได้ดี ถ้าเราให้ความสำคัญกับความดีในการเมืองระดับชาติ ประเทศชาติก็จะไปได้ดี แต่ถ้าเราไม่ถือเอาความดีเป็นที่ตั้ง เราเอาอย่างอื่นเป็นที่ตั้ง สังคมก็ไปไม่ได้ เอกชนก็ไปไม่ได้ สุดท้ายประเทศชาติก็ไปไม่ได้ ฉะนั้น เรื่องของบรรษัทภิบาล ผมจะเรียกง่ายๆ คือความดีนี่เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่อยากจะให้ทุกท่านช่วยกันผลักดัน เพราะถ้าไม่รวมพลังกันจริงๆ จะเกิดขึ้นได้ยาก ผมไม่อยากจะให้สังคมเรายกย่องเฉพาะแค่ความเก่ง บริษัทก็เหมือนคนเรา มีทั้งดี มีทั้งเก่ง ถ้าเราไม่คิดถึงความดีเลย เอาความเก่งเป็นที่ตั้ง ผมไม่เชื่อว่าสังคมของเราจะอยู่กันได้ ที่กระทรวงการคลังเราก็พยายามชูแนวความคิดว่าหน้าที่กระทรวงการคลังไม่ใช่เพื่อเพียงแค่เศรษฐกิจอย่างเดียว ไม่ใช่เพื่อธุรกิจใหญ่อย่างเดียว เราจะทำอย่างไรที่จะใช้เครื่องมือทางการคลังเพื่อสังคม อันนี้เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ถ้าสังคมดีเศรษฐกิจก็จะไปได้ดี
ต้องขอบพระคุณผู้จัดงานและผู้ที่เกี่ยวข้องที่ได้เพียรพยายาม เพราะตั้งแต่ที่เราก่อตั้งคณะกรรมการบรรษัทภิบาลขึ้นมา ท่านจัดแล้วเป็นปีที่สาม ผมอยากให้ท่านมีความเพียรพยายามเพิ่มขึ้น และก็ไม่ต้องท้อถอย เพราะตั้งใจอยู่แล้วว่าจะใช้พลังที่มีอยู่ทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากตลาดหลักทรัพย์เพื่อการนี้เป็นการเฉพาะ แต่ว่าในแต่ละปีผมก็อยากจะให้มีการพัฒนารูปแบบ พัฒนาสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอากรอบที่เกี่ยวข้องกับเอเชีย เกี่ยวกับเมืองไทยเป็นตัวแปรหลักในการตัดสินในอนาคตข้างหน้า
ผมยกตัวอย่างง่ายๆ เมื่อประมาณสัก 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้นำข้าราชการบางคนที่เกี่ยวข้องไปนำเสนอโครงการบางอย่างให้ท่านนายกรัฐมนตรีฟัง ท่านนายกรัฐมนตรีครับผมต้องการให้มีการปรับปรุงระบบภาษีบางส่วนเพื่อเน้นทางสังคม เรื่องของการศึกษา เรื่องของการรับผิดชอบต่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผมเสนอบางสิ่งบางอย่างซึ่งอาจจะไม่มีใครคิดถึงว่าผมจะเสนอ
ผมขอให้ทางกรมสรรพากร ผมถามเขาตรงๆ ว่าเวลาที่ท่านหักภาษี ณ ที่จ่าย ทำไมเวลาที่ท่านมีภรรยา มีบุตร สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ หักค่าลดหย่อนได้ แต่ทำไมเวลาที่มีพ่อ มีแม่ ท่านเลี้ยงพ่อ เลี้ยงแม่ ทำไมสิ่งเหล่านั้นถึงไม่มาคิดหักค่าลดหย่อนเป็นค่าใช้จ่าย? เราจะไม่ส่งเสริมให้คนเราเลี้ยงพ่อ เลี้ยงแม่หรืออย่างไร? จะให้แค่เลี้ยงลูก เลี้ยงเมีย เท่านั้นหรือ? แบบฟอร์มเหล่านั้นมาจากสังคมตะวันตก ไม่เคยสนใจเลยว่าพ่อแม่จะเป็นอย่างไรเมื่อแก่เฒ่า มองอย่างเดียวลูกเมียที่อยู่ใกล้ตัว อันนั้นคือต้นตอของความร่วมมือทางสังคม สิ่งที่จะเสนอคือว่าใครก็ตามที่นำพ่อ นำแม่ มาอยู่ในใต้ชายคาเดียวกัน เลี้ยงดูพ่อแม่ จะต้องมีสิทธิในการหักค่าใช้จ่ายเป็นค่าลดหย่อนภาษี เพราะเราต้องการชี้ให้เห็นว่าสังคมจะอยู่ได้ต้องเป็นสังคมที่มีความเป็นปึกแผ่น สิ่งเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องไปตามตะวันตก เขาเคยมีแต่เขาหายไปแล้ว แต่เราจะเอาสิ่งเหล่านี้กลับมาใช้ อย่างนี้ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้คือบางแง่บางมุมที่อยากจะฝากเอาไว้
ผมเคยกราบเรียนในที่ประชุมหลายๆ ครั้งว่าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสำคัญของการค้าและการลงทุน ไม่อยากให้กังวลจนเกิดเหตุ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมไปที่ธปท. พร้อมกับทีมงานของผม เจตนาก็คือว่าต้องการให้มั่นใจว่าความคิดความอ่านการวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งโดยส่วนกระทรวงการคลัง ธปท. และสภาพัฒน์ฯ มีความเข้าใจในสิ่งเดียวกัน และมองฐานะของเมืองไทยคล้ายๆ กันหมด เพราะถ้าหากว่าสามองค์กร สามหน่วยงาน มองกันไปคนละทิศคนละทาง ผลที่ออกมาก็คนละทาง ในที่ประชุมวันนั้น เรานั่งคุยกัน ทาง ธปท. ก็ Brief ความเห็นของเขามา ทางสภาพัฒน์ฯ ก็ Brief ความเห็นของเขามา ทางกระทรวงการคลังก็เสนอความเห็นมา ค่อนข้างสบายใจว่าประเทศไทยมีสถานภาพที่ยังคงแข็งแกร่งมาก เรามีความเห็นสอดคล้องกันว่า Momentum ของการเติบโตเรามีแน่ จากความพยายามเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา และจากวันนี้เป็นต้นไป Focus ของเรายังคงไม่อยู่ที่ความเติบโตแล้ว อยู่ที่เสถียรภาพความมั่นคง ฉะนั้น การ Focus ก็เริ่ม Focus ในสิ่งที่สะท้อนถึง Stability เรื่องของภาคอสังหาริมทรัพย์ เรื่องของภาวะหนี้ เรื่องของภาวะ Current account เป็นต้น
อุปสรรคอนาคตข้างหน้าที่กำลังเข้ามาทีละลูกๆ นั้น เรามองว่าหลายๆ สิ่งนั้นผ่านพ้นไปแล้ว หรือมีก็ไม่ได้ มีประเด็นเดียวก็คือเรื่องของน้ำมัน ซึ่งต้องคอยติดตามอย่างใกล้ชิด สิ่งเหล่านี้ผมต้องกราบเรียนว่าอย่าได้เป็นห่วง เรามีการดูแลติดตาม ผมได้กำชับ ธปท. เป็นพิเศษว่าให้ช่วยดูแลสิ่งเหล่านี้เป็นพิเศษ เมื่อไรที่มีสัญญาณเตือนภัยต้องรีบแก้ไขทันที อย่าให้สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นมาเช่นในอดีตที่ผ่านมา
เรื่องความมั่นคง ด้วยศักยภาพของเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ผมเชื่อว่าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางแน่นอนในภูมิภาคนี้สำหรับการลงทุนจากต่างประเทศ การลงทุนโดยตรงที่จะเข้ามาเมืองไทย นอกจากที่จะมามองที่ Fundamental เหล่านี้แล้ว แน่นอนที่สุดเขาต้องมองที่กฎระเบียบ ทุกอย่างว่ามันโปร่งใสไหม ฉะนั้นการลงทุนโดยตรง ผมหมายถึงการลงทุนในธุรกิจ กิจการใหญ่ของเมืองไทย ขณะนี้เรามีการแก้ไขกฎระเบียบไปพอสมควร BOI มีการปฏิรูปตัวเอง เหล่านี้ เป็นต้น ฉะนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ว่าการลงทุนจากต่างประเทศในเมืองไทยมีการเติบโตที่ดีมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไตรมาสที่หนึ่ง สูงกว่าปีที่แล้วถึง 18% และได้รับรายงานจากคุณพินิจฯ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม) ว่าขณะนี้การลงทุนทั้งจากตะวันตก จากญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
เงินได้การลงทุนในตลาดทุนอันนี้เป็นสิ่งสำคัญ การที่เขาจะเอาเงินจำนวนมากๆ มาลงทุนในเมืองไทย แน่นอนที่สุดเขาต้องมองว่าข้อที่หนึ่ง พื้นฐานเศรษฐกิจเราเป็นอย่างไร ถ้าเขามั่นใจในพื้นฐานเศรษฐกิจ เขาต้องการความมั่นใจในบริษัทที่มี List อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ด้วย อันนี้สำคัญอย่างยิ่ง คนเราถ้าจะเอาเงินมาลงทุน ถ้าเขาไม่รู้จักบริษัทเหล่านี้เลย เขาไม่รู้บริษัทเหล่านี้ดีหรือไม่ดี ใครเขาจะเอาเงินมาทิ้งไว้เป็นเวลานานๆ อย่างเก่งก็คือมาชั่วครู่ชั่วยามแล้วก็ไป ฉะนั้นการที่บริษัท List ในตลาดหลักทรัพย์ ให้เรามั่นใจว่าเป็นบริษัทที่ดี มีการกำกับบริหารที่ดี อันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ที่จะดึงเขาเข้ามาลงทุน ฉะนั้นนี้เป็นเหตุที่ผมพยายามที่จะผลักดันให้มีการพัฒนาบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ และการพัฒนาก็มองได้สองแง่ พัฒนาให้บริษัทเก่งแข่งขันได้สามารถทำกำไรได้ อันนั้นเป็นเรื่องของความสามารถเชิงแข่งขัน ที่ทุกคนต้องพยายามปรับปรุงตัวเองให้สามารถแข่งขันได้ เพื่อที่จะใช้ประโยชน์จาก Momentum ที่มันแข็งแรงอยู่นี้เป็นตัวนำหนุนส่งให้สามารถสร้างผู้ประกอบการที่ดีได้
ไตรมาสแรกประกาศออกมาผลกำไรประมาณแสนล้าน เท่ากับ 1 ใน 3 ของปีทีแล้ว แสดงว่าพื้นฐานการแข่งขันของเราก็ไม่ได้แพ้ใคร ถ้าเราเร่งพัฒนามันก็ยิ่งไปได้ดี แต่อีกส่วนหนึ่งมันไม่ได้เกี่ยวข้องกับความเก่ง แต่มันเกี่ยวข้องกับความดี ความซื่อสัตย์ ถ้าผมมีเงินที่จะลงทุน ผมรู้ว่าบริษัทนี้เก่งมาก แต่ถ้าบริษัทนี้ไม่มีความซื่อสัตย์เลย คิดอย่างเดียวว่าจะทำอย่างไรที่จะได้กำไรสูงสุด แถมโกงอย่างเดียวด้วย ผมก็จะไม่เอาเงินของผมไปลงทุน
ฉะนั้นเรื่องของ Corporate governance ถือว่าความเป็นคนดีของบริษัทจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง แต่การที่จะเป็นคนดีหรือเป็นบริษัทที่ดี สิ่งสำคัญของคนเรานี้คือจะทำอย่างไรให้คนเขาอยากเป็นคนดีด้วยตัวของเขาเอง อันนั้นคือจุดเริ่มต้นที่สำคัญอย่างมาก ทำอย่างไรที่จะให้ CEO ของทุกๆ บริษัทมองว่าการมี Good corporate governance เป็น Top agenda ของบริษัท ท่านผู้บริหารหลักทรัพย์ต้องไปคิดเป็นการใหญ่จะทำอย่างไร ทำอย่างไรที่ว่าคนในที่ประชุมแห่งนี้จะมี Top CEO มานั่งทุกครั้งที่มีการประชุม Good governance ถ้าระดับ Top มือหนึ่งไม่สนใจ สนใจเพียงแค่ตัวเลขกำไรอย่างเดียว ท่านต้องเตรียมคิดแล้วว่าจะให้เขา Delist ได้อย่างไร เพราะตลาดหุ้นไทยต้องการบริษัทที่ดี ไม่ใช่บริษัทที่กำไรอย่างเดียว อันนั้นถือเป็นความรับผิดชอบ สิ่งเหล่านี้ต้องดูว่าทำอย่างไรเขาอยากจะเป็นบริษัทที่ดีด้วยตัวของเขาเอง ทำอย่างไรที่จะให้แน่ใจว่าความต้องการที่จะทำความดีในบริษัทถูกบรรจุอยู่ในแผนงานของบริษัท ถูกนำไปใช้ในการปลุกเร้า ปลูกฝังให้พนักงานทุกคนตั้งใจทำความดี จนกระทั่งเปรียบเสมือนเป็นวัฒนธรรมในองค์กรว่าเมื่อฉันเข้ามาอยู่ในบริษัท ฉันต้องพยายามทำความดี ทำบริษัทให้ดี อันนี้เป็นหน้าที่หนึ่ง ไม่เพียงเท่านั้น ที่บอกว่าดี Governance จะต้องไม่ใช่เพียงแค่ว่ามองในเชิงของตลาดหุ้น มองในเชิงของผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นอาจจะต้องการเฉพาะผลตอบแทนสูงๆ ทุกคนจึงต้องพยายามทำให้ผู้ถือหุ้นได้ผลตอบแทนสูงๆ อันนั้นไม่ใช่
คนเราวัดความดีกันด้วย คุณซื่อสัตย์ไหม? เอื้ออาทรไหม? มีความกตัญญูไหม? มีจิตใจงดงามไหม? ช่วยเหลือสังคมหรือไม่? บริษัทเขาวัดกันด้วย Stakeholder ที่ว่าบริษัทเหล่านั้นเวลาทำมาค้าขายซื่อตรงต่อเจ้าหนี้หรือไม่? ถ้าเอะอะก็เบี้ยวเจ้าหนี้ อันนั้นถือว่าไม่ดีแน่นอน บริษัทเวลาทำมาค้าขายเบี้ยว Supplier หรือไม่? เหนียวหนี้หรือไม่? มีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้าเพียงใด? สินค้าเคยคดโกงต่อลูกค้าหรือไม่? อันนั้นสำคัญอย่างยิ่ง เพราะมีคนหลายคนถามผมว่าบริษัทที่มี Good governance จะได้กำไรสูงสุดจริงหรือเปล่า? ผมบอกว่าจริง คุณเก่งอย่างเดียวคุณได้กำไรในระยะสั้น แต่ถ้าคุณเก่งอย่างเดียวแล้วไม่ทำความดีเลย ในระยะยาวมันแย่แน่นอน มันแย่เพราะอะไร มันแย่เพราะว่าถ้าคุณไม่ทำความดีกับ Stakeholder คุณหลอกลวงลูกค้า โกหกลูกค้า ลูกค้าไม่ซื้อสินค้า คุณหลอกลวงเจ้าหนี้ วันหนึ่งเจ้าหนี้ไม่ให้เงินกู้คุณ คุณหลอกลวง Supplier Supplier ไม่ทำมาหากินกับคุณ คุณทำความไม่ดีกับพนักงาน พนักงานไม่จงรักภักดีต่อคุณ ฉะนั้น Network strength ความมั่นคงแข็งแรงของเครือข่ายคุณอ่อนแอกว่า เมื่อคุณอ่อนแอกว่า คู่แข่งที่แข็งแรงกว่าคุณสู้เขาไม่ได้แน่นอนในระยะยาว การวัดผลจะสะท้อนสิ่งเหล่านี้ออกมาให้ได้ งบประมาณหนึ่งก้อนที่เราจะต้องทุ่มลงไปในนี้ก็คือว่าประเมินออกมาให้ได้ว่าในบรรดาบริษัททั้งหลายเวลาคนทำมาหากินอยู่ในสังคม คุณมี Corporate governance จริงหรือไม่สิ่งหนึ่งที่จะต้องทำก็คือว่าจะทำอย่างไรที่จะร่วมมือกับบริษัทกับคณะกรรมการบรรจุสิ่งเหล่านี้อยู่ใน Top agenda ของบริษัท ฝึกอบรม ปลุกเร้า ปลูกฝัง ให้เกิดอยู่ในกมลนิสัย ให้รู้ว่าความดีถึงไม่มีผลตอบแทนก็ต้องทำความดี เพราะมันเป็นสิ่งที่ทำให้ทุกอย่างยืนยงอยู่ได้ แต่สิ่งเหล่านี้แค่ว่าเกิดโดยธรรมชาติ มันไม่พอ ทำอย่างไรที่จะให้มีสิ่งจูงใจและบทลงโทษ การจูงใจที่ผ่านมาเราพยายามทำหลายข้อ อนาคตอยากให้มีเพิ่มขึ้น เรารู้ว่าฝรั่งต่างชาติเวลาซื้อหุ้นต้องการซื้อหุ้นที่มี Governance บริษัทที่ได้รางวัลเหล่านี้ถ้าท่าน Promote internationally ให้นักลงทุนต่างประเทศรู้เลยว่า TOP 10, TOP 20 เหล่านี้ได้รางวัล Good governance เพื่อให้เขาสามารถซื้อหุ้นเหล่านี้ได้ด้วยความสบายใจ พูดง่ายๆ คือ Promote แทนเขานั่นเอง
เรา Promote บทบาทของกรรมการ จากกรรมการตรายางกลายเป็นกรรมการซึ่งคอยตรวจตรา คอยดูแล ก็ต้องถึงจุดหนึ่ง มีรายชื่อกรรมการซึ่งอยู่ใน Top List ของ Good governance ให้รู้เลยว่าบริษัทไหนมีกรรมการเหล่านี้อยู่บริษัทเหล่านั้นเชื่อถือได้ วางใจได้ ให้เกียรติต่อวงศ์ตระกูลของคณะกรรมการ นี่ไม่ใช่ระบบจูงใจเรื่องการเงิน แต่เป็นรางวัลของสังคมที่ตอบแทนให้กับคนที่ทำความดี มันต้องมี มีรางวัลแล้วก็ต้องมีผลกระทบ บริษัทใดทำความไม่ดี ทำความไม่ซื่อสัตย์ พวกนี้ท่านต้องเตรียมเพิกถอน อย่าเพียงเน้นแค่ค่าปรับ ค่าปรับบางรายบอกว่าปรับทุกวันยังได้เลย โกงครั้งเดียวพอ อยู่ไม่ได้ เรื่องของบทลงโทษต้องมีโดย กลต. และตลาดหลักทรัพย์ แต่ว่าต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ความยุติธรรม ฉะนั้นในการวัดผล การประเมินผลสำคัญอย่างยิ่ง
แล้วคำว่า Governance ที่ผมกล่าวมามันไม่ใช่เพียงเฉพาะแค่ว่าเปิดเผยข้อมูลหรือไม่ หรือว่ารักษาผลประโยชน์ให้กับผู้ถือหุ้นเพียงใด ต้องทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ที่สำคัญก็คือว่าปีหน้าจนกระทั่งเปิดโอกาสให้บุคคลข้างนอกประเมินเข้ามาด้วย ที่เรียกว่า Top List จากสาธารณชนด้วยกัน สมัยนี้ธุรกิจเขามีการรวมตัวกัน ให้เขาโอนจากสมาคม สมาคมนักลงทุนไทย สมาคมผู้บริโภค สมาคมทั้งหลายเกี่ยวกับการผลิต ให้มีสูตรเป็นส่วนหนึ่งของข้อๆ หนึ่ง สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวรณรงค์ให้สังคมตื่นตัวว่าเราเอาจริงกับเรื่องของ Good governance แล้วก็ตั้งคำถามขึ้นมาเลยว่าบริษัททั้งหลายที่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นี้ ในตลาดหุ้นนี้ Top CEO มีความคิดอย่างไรที่จะให้มี Good governance ในบริษัท ทำเป็น Questionnaire แล้วเปิดเผยต่อสาธารณชน เราจะได้รู้กันว่าเบอร์หนึ่งของบริษัท บริษัทไหนให้ความสำคัญ เบอร์หนึ่งไหนไม่ให้ความสำคัญ เปิดเผยต่อสาธารณชน อันนี้แหละคือการกระตุ้นให้เกิดความสนใจ สมมุติท่านบอกว่าบริษัท Comment มาเลย ท่านมีนโยบาย Promote good governance อย่างไรในบริษัท ลองดูว่าเบอร์หนึ่งของบริษัทไหนที่จะไม่เน้น เพราะถ้าเขาไม่เน้น ชื่อของเขาจะปรากฏมาทันทีว่าเขาไม่สนใจ ไม่สำคัญ เราจะได้ให้ฝรั่งที่จะซื้อหุ้น เราจะบอกว่าบริษัทนี้ไม่สนใจเรื่องของ Good governance เราไม่ได้บอกว่าให้ซื้อหุ้นหรือไม่ให้ซื้อหุ้น แต่บอกว่าเขาให้ความสำคัญเพียงใด และท่านควรให้ความสำคัญแก่บริษัทเหล่านี้หรือไม่ อันนี้ผมฝากไว้ให้ทางตลาดหลักทรัพย์ ทาง กลต. และท่านนายกสมาคมไปพิจารณา และก็ต้องขอบคุณท่านอีกครั้งหนึ่งที่ได้ช่วยเหลือพยายามสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา มันไม่ง่ายเลย
เริ่มต้นตั้งแต่ที่ท่านอาจารย์สังเวียน อินทรวิชัย อยากให้มีสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา และก็คนที่รักท่านก็พยายามสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา ถ้าเราต้องการให้คนดีอยู่ในสังคมได้ เราต้องยกย่องคนดี ส่งเสริมคนดี บริษัทก็เหมือนกัน บริษัทไหนดีต้องยกย่องเขา ส่งเสริมเขา ให้เป็นที่รู้จักไม่ใช่เฉพาะในประเทศแต่รวมถึงต่างประเทศ ถ้าบริษัทไหนไม่สนใจ และคดโกงไม่ซื่อสัตย์ ไม่มีธรรมาภิบาลที่ดี อย่าให้ได้เกิดเด็ดขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Top CEO เป็นสำคัญ
ท้ายนี้ผมต้องขอขอบคุณทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ต้องฝากไปถึงบริษัททุกบริษัท ขอให้นำเรื่องธรรมาภิบาลเป็น Top agenda ของบริษัทด้วย เพื่อว่าสังคมไทยจะสามารถยืนยงอยู่ได้ ต้องช่วยกัน ก็ถือโอกาสนี้เปิดงานสัมมนาในวันนี้เลย ขอให้ความพยายามของทุกฝ่ายจงสัมฤทธิผล ขอบคุณมากครับ
เรื่องที่เกี่ยวข้อง :
1. ภาพข่าวกระทรวงการคลัง วันที่ 24 พฤษภาคม 2547
กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
สุรีย์พร ชัยยะรุ่งสกุล : ถอดเทป/พิมพ์
เชาวลิตร์ บุณยภูษิต : Edit--จบ--
-นท-
โดย
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ในการสัมมนาเรื่อง
"ผลสำรวจบรรษัทภิบาลของบริษัทจดทะเบียนประจำปี 2546"
ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมไฮแอท เอราวัณ
24 พฤษภาคม 2547
ท่านประธานตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ท่านกรรมการผู้จัดการใหญ่ ท่านนายกสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย กรรมการ ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
ผมต้องขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่งที่ได้ให้เกียรติเชิญกระผมมาเป็นประธานในงานสัมมนาในวันนี้ ผมถือว่าเป็นการให้เกียรติอย่างสูงและงานวันนี้เป็นงานที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะว่าผมตั้งใจอยู่แล้วว่าจะให้ทาง กลต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถือเอาเรื่องของ Governance เป็น Top agenda ในการที่จะช่วยกันส่งเสริม เพราะเรื่องของความดีเป็นสิ่งที่ถ้าพวกเราไม่ทุ่มเท มันเป็นเรื่องยากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดทุนซึ่งเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์นับล้านๆ บาท
ผมมีความเชื่อเป็นอย่างสูงว่าถ้าเราให้ความสำคัญกับความดีในระดับสังคม สังคมก็จะไปได้ดี ถ้าเราให้ความสำคัญกับความดีในระดับของภาคเอกชน ภาคธุรกิจ ภาคธุรกิจก็จะไปได้ดี ถ้าเราให้ความสำคัญกับความดีในการเมืองระดับชาติ ประเทศชาติก็จะไปได้ดี แต่ถ้าเราไม่ถือเอาความดีเป็นที่ตั้ง เราเอาอย่างอื่นเป็นที่ตั้ง สังคมก็ไปไม่ได้ เอกชนก็ไปไม่ได้ สุดท้ายประเทศชาติก็ไปไม่ได้ ฉะนั้น เรื่องของบรรษัทภิบาล ผมจะเรียกง่ายๆ คือความดีนี่เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่อยากจะให้ทุกท่านช่วยกันผลักดัน เพราะถ้าไม่รวมพลังกันจริงๆ จะเกิดขึ้นได้ยาก ผมไม่อยากจะให้สังคมเรายกย่องเฉพาะแค่ความเก่ง บริษัทก็เหมือนคนเรา มีทั้งดี มีทั้งเก่ง ถ้าเราไม่คิดถึงความดีเลย เอาความเก่งเป็นที่ตั้ง ผมไม่เชื่อว่าสังคมของเราจะอยู่กันได้ ที่กระทรวงการคลังเราก็พยายามชูแนวความคิดว่าหน้าที่กระทรวงการคลังไม่ใช่เพื่อเพียงแค่เศรษฐกิจอย่างเดียว ไม่ใช่เพื่อธุรกิจใหญ่อย่างเดียว เราจะทำอย่างไรที่จะใช้เครื่องมือทางการคลังเพื่อสังคม อันนี้เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ถ้าสังคมดีเศรษฐกิจก็จะไปได้ดี
ต้องขอบพระคุณผู้จัดงานและผู้ที่เกี่ยวข้องที่ได้เพียรพยายาม เพราะตั้งแต่ที่เราก่อตั้งคณะกรรมการบรรษัทภิบาลขึ้นมา ท่านจัดแล้วเป็นปีที่สาม ผมอยากให้ท่านมีความเพียรพยายามเพิ่มขึ้น และก็ไม่ต้องท้อถอย เพราะตั้งใจอยู่แล้วว่าจะใช้พลังที่มีอยู่ทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากตลาดหลักทรัพย์เพื่อการนี้เป็นการเฉพาะ แต่ว่าในแต่ละปีผมก็อยากจะให้มีการพัฒนารูปแบบ พัฒนาสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอากรอบที่เกี่ยวข้องกับเอเชีย เกี่ยวกับเมืองไทยเป็นตัวแปรหลักในการตัดสินในอนาคตข้างหน้า
ผมยกตัวอย่างง่ายๆ เมื่อประมาณสัก 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้นำข้าราชการบางคนที่เกี่ยวข้องไปนำเสนอโครงการบางอย่างให้ท่านนายกรัฐมนตรีฟัง ท่านนายกรัฐมนตรีครับผมต้องการให้มีการปรับปรุงระบบภาษีบางส่วนเพื่อเน้นทางสังคม เรื่องของการศึกษา เรื่องของการรับผิดชอบต่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผมเสนอบางสิ่งบางอย่างซึ่งอาจจะไม่มีใครคิดถึงว่าผมจะเสนอ
ผมขอให้ทางกรมสรรพากร ผมถามเขาตรงๆ ว่าเวลาที่ท่านหักภาษี ณ ที่จ่าย ทำไมเวลาที่ท่านมีภรรยา มีบุตร สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ หักค่าลดหย่อนได้ แต่ทำไมเวลาที่มีพ่อ มีแม่ ท่านเลี้ยงพ่อ เลี้ยงแม่ ทำไมสิ่งเหล่านั้นถึงไม่มาคิดหักค่าลดหย่อนเป็นค่าใช้จ่าย? เราจะไม่ส่งเสริมให้คนเราเลี้ยงพ่อ เลี้ยงแม่หรืออย่างไร? จะให้แค่เลี้ยงลูก เลี้ยงเมีย เท่านั้นหรือ? แบบฟอร์มเหล่านั้นมาจากสังคมตะวันตก ไม่เคยสนใจเลยว่าพ่อแม่จะเป็นอย่างไรเมื่อแก่เฒ่า มองอย่างเดียวลูกเมียที่อยู่ใกล้ตัว อันนั้นคือต้นตอของความร่วมมือทางสังคม สิ่งที่จะเสนอคือว่าใครก็ตามที่นำพ่อ นำแม่ มาอยู่ในใต้ชายคาเดียวกัน เลี้ยงดูพ่อแม่ จะต้องมีสิทธิในการหักค่าใช้จ่ายเป็นค่าลดหย่อนภาษี เพราะเราต้องการชี้ให้เห็นว่าสังคมจะอยู่ได้ต้องเป็นสังคมที่มีความเป็นปึกแผ่น สิ่งเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องไปตามตะวันตก เขาเคยมีแต่เขาหายไปแล้ว แต่เราจะเอาสิ่งเหล่านี้กลับมาใช้ อย่างนี้ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้คือบางแง่บางมุมที่อยากจะฝากเอาไว้
ผมเคยกราบเรียนในที่ประชุมหลายๆ ครั้งว่าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสำคัญของการค้าและการลงทุน ไม่อยากให้กังวลจนเกิดเหตุ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมไปที่ธปท. พร้อมกับทีมงานของผม เจตนาก็คือว่าต้องการให้มั่นใจว่าความคิดความอ่านการวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งโดยส่วนกระทรวงการคลัง ธปท. และสภาพัฒน์ฯ มีความเข้าใจในสิ่งเดียวกัน และมองฐานะของเมืองไทยคล้ายๆ กันหมด เพราะถ้าหากว่าสามองค์กร สามหน่วยงาน มองกันไปคนละทิศคนละทาง ผลที่ออกมาก็คนละทาง ในที่ประชุมวันนั้น เรานั่งคุยกัน ทาง ธปท. ก็ Brief ความเห็นของเขามา ทางสภาพัฒน์ฯ ก็ Brief ความเห็นของเขามา ทางกระทรวงการคลังก็เสนอความเห็นมา ค่อนข้างสบายใจว่าประเทศไทยมีสถานภาพที่ยังคงแข็งแกร่งมาก เรามีความเห็นสอดคล้องกันว่า Momentum ของการเติบโตเรามีแน่ จากความพยายามเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา และจากวันนี้เป็นต้นไป Focus ของเรายังคงไม่อยู่ที่ความเติบโตแล้ว อยู่ที่เสถียรภาพความมั่นคง ฉะนั้น การ Focus ก็เริ่ม Focus ในสิ่งที่สะท้อนถึง Stability เรื่องของภาคอสังหาริมทรัพย์ เรื่องของภาวะหนี้ เรื่องของภาวะ Current account เป็นต้น
อุปสรรคอนาคตข้างหน้าที่กำลังเข้ามาทีละลูกๆ นั้น เรามองว่าหลายๆ สิ่งนั้นผ่านพ้นไปแล้ว หรือมีก็ไม่ได้ มีประเด็นเดียวก็คือเรื่องของน้ำมัน ซึ่งต้องคอยติดตามอย่างใกล้ชิด สิ่งเหล่านี้ผมต้องกราบเรียนว่าอย่าได้เป็นห่วง เรามีการดูแลติดตาม ผมได้กำชับ ธปท. เป็นพิเศษว่าให้ช่วยดูแลสิ่งเหล่านี้เป็นพิเศษ เมื่อไรที่มีสัญญาณเตือนภัยต้องรีบแก้ไขทันที อย่าให้สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นมาเช่นในอดีตที่ผ่านมา
เรื่องความมั่นคง ด้วยศักยภาพของเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ผมเชื่อว่าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางแน่นอนในภูมิภาคนี้สำหรับการลงทุนจากต่างประเทศ การลงทุนโดยตรงที่จะเข้ามาเมืองไทย นอกจากที่จะมามองที่ Fundamental เหล่านี้แล้ว แน่นอนที่สุดเขาต้องมองที่กฎระเบียบ ทุกอย่างว่ามันโปร่งใสไหม ฉะนั้นการลงทุนโดยตรง ผมหมายถึงการลงทุนในธุรกิจ กิจการใหญ่ของเมืองไทย ขณะนี้เรามีการแก้ไขกฎระเบียบไปพอสมควร BOI มีการปฏิรูปตัวเอง เหล่านี้ เป็นต้น ฉะนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ว่าการลงทุนจากต่างประเทศในเมืองไทยมีการเติบโตที่ดีมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไตรมาสที่หนึ่ง สูงกว่าปีที่แล้วถึง 18% และได้รับรายงานจากคุณพินิจฯ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม) ว่าขณะนี้การลงทุนทั้งจากตะวันตก จากญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
เงินได้การลงทุนในตลาดทุนอันนี้เป็นสิ่งสำคัญ การที่เขาจะเอาเงินจำนวนมากๆ มาลงทุนในเมืองไทย แน่นอนที่สุดเขาต้องมองว่าข้อที่หนึ่ง พื้นฐานเศรษฐกิจเราเป็นอย่างไร ถ้าเขามั่นใจในพื้นฐานเศรษฐกิจ เขาต้องการความมั่นใจในบริษัทที่มี List อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ด้วย อันนี้สำคัญอย่างยิ่ง คนเราถ้าจะเอาเงินมาลงทุน ถ้าเขาไม่รู้จักบริษัทเหล่านี้เลย เขาไม่รู้บริษัทเหล่านี้ดีหรือไม่ดี ใครเขาจะเอาเงินมาทิ้งไว้เป็นเวลานานๆ อย่างเก่งก็คือมาชั่วครู่ชั่วยามแล้วก็ไป ฉะนั้นการที่บริษัท List ในตลาดหลักทรัพย์ ให้เรามั่นใจว่าเป็นบริษัทที่ดี มีการกำกับบริหารที่ดี อันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ที่จะดึงเขาเข้ามาลงทุน ฉะนั้นนี้เป็นเหตุที่ผมพยายามที่จะผลักดันให้มีการพัฒนาบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ และการพัฒนาก็มองได้สองแง่ พัฒนาให้บริษัทเก่งแข่งขันได้สามารถทำกำไรได้ อันนั้นเป็นเรื่องของความสามารถเชิงแข่งขัน ที่ทุกคนต้องพยายามปรับปรุงตัวเองให้สามารถแข่งขันได้ เพื่อที่จะใช้ประโยชน์จาก Momentum ที่มันแข็งแรงอยู่นี้เป็นตัวนำหนุนส่งให้สามารถสร้างผู้ประกอบการที่ดีได้
ไตรมาสแรกประกาศออกมาผลกำไรประมาณแสนล้าน เท่ากับ 1 ใน 3 ของปีทีแล้ว แสดงว่าพื้นฐานการแข่งขันของเราก็ไม่ได้แพ้ใคร ถ้าเราเร่งพัฒนามันก็ยิ่งไปได้ดี แต่อีกส่วนหนึ่งมันไม่ได้เกี่ยวข้องกับความเก่ง แต่มันเกี่ยวข้องกับความดี ความซื่อสัตย์ ถ้าผมมีเงินที่จะลงทุน ผมรู้ว่าบริษัทนี้เก่งมาก แต่ถ้าบริษัทนี้ไม่มีความซื่อสัตย์เลย คิดอย่างเดียวว่าจะทำอย่างไรที่จะได้กำไรสูงสุด แถมโกงอย่างเดียวด้วย ผมก็จะไม่เอาเงินของผมไปลงทุน
ฉะนั้นเรื่องของ Corporate governance ถือว่าความเป็นคนดีของบริษัทจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง แต่การที่จะเป็นคนดีหรือเป็นบริษัทที่ดี สิ่งสำคัญของคนเรานี้คือจะทำอย่างไรให้คนเขาอยากเป็นคนดีด้วยตัวของเขาเอง อันนั้นคือจุดเริ่มต้นที่สำคัญอย่างมาก ทำอย่างไรที่จะให้ CEO ของทุกๆ บริษัทมองว่าการมี Good corporate governance เป็น Top agenda ของบริษัท ท่านผู้บริหารหลักทรัพย์ต้องไปคิดเป็นการใหญ่จะทำอย่างไร ทำอย่างไรที่ว่าคนในที่ประชุมแห่งนี้จะมี Top CEO มานั่งทุกครั้งที่มีการประชุม Good governance ถ้าระดับ Top มือหนึ่งไม่สนใจ สนใจเพียงแค่ตัวเลขกำไรอย่างเดียว ท่านต้องเตรียมคิดแล้วว่าจะให้เขา Delist ได้อย่างไร เพราะตลาดหุ้นไทยต้องการบริษัทที่ดี ไม่ใช่บริษัทที่กำไรอย่างเดียว อันนั้นถือเป็นความรับผิดชอบ สิ่งเหล่านี้ต้องดูว่าทำอย่างไรเขาอยากจะเป็นบริษัทที่ดีด้วยตัวของเขาเอง ทำอย่างไรที่จะให้แน่ใจว่าความต้องการที่จะทำความดีในบริษัทถูกบรรจุอยู่ในแผนงานของบริษัท ถูกนำไปใช้ในการปลุกเร้า ปลูกฝังให้พนักงานทุกคนตั้งใจทำความดี จนกระทั่งเปรียบเสมือนเป็นวัฒนธรรมในองค์กรว่าเมื่อฉันเข้ามาอยู่ในบริษัท ฉันต้องพยายามทำความดี ทำบริษัทให้ดี อันนี้เป็นหน้าที่หนึ่ง ไม่เพียงเท่านั้น ที่บอกว่าดี Governance จะต้องไม่ใช่เพียงแค่ว่ามองในเชิงของตลาดหุ้น มองในเชิงของผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นอาจจะต้องการเฉพาะผลตอบแทนสูงๆ ทุกคนจึงต้องพยายามทำให้ผู้ถือหุ้นได้ผลตอบแทนสูงๆ อันนั้นไม่ใช่
คนเราวัดความดีกันด้วย คุณซื่อสัตย์ไหม? เอื้ออาทรไหม? มีความกตัญญูไหม? มีจิตใจงดงามไหม? ช่วยเหลือสังคมหรือไม่? บริษัทเขาวัดกันด้วย Stakeholder ที่ว่าบริษัทเหล่านั้นเวลาทำมาค้าขายซื่อตรงต่อเจ้าหนี้หรือไม่? ถ้าเอะอะก็เบี้ยวเจ้าหนี้ อันนั้นถือว่าไม่ดีแน่นอน บริษัทเวลาทำมาค้าขายเบี้ยว Supplier หรือไม่? เหนียวหนี้หรือไม่? มีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้าเพียงใด? สินค้าเคยคดโกงต่อลูกค้าหรือไม่? อันนั้นสำคัญอย่างยิ่ง เพราะมีคนหลายคนถามผมว่าบริษัทที่มี Good governance จะได้กำไรสูงสุดจริงหรือเปล่า? ผมบอกว่าจริง คุณเก่งอย่างเดียวคุณได้กำไรในระยะสั้น แต่ถ้าคุณเก่งอย่างเดียวแล้วไม่ทำความดีเลย ในระยะยาวมันแย่แน่นอน มันแย่เพราะอะไร มันแย่เพราะว่าถ้าคุณไม่ทำความดีกับ Stakeholder คุณหลอกลวงลูกค้า โกหกลูกค้า ลูกค้าไม่ซื้อสินค้า คุณหลอกลวงเจ้าหนี้ วันหนึ่งเจ้าหนี้ไม่ให้เงินกู้คุณ คุณหลอกลวง Supplier Supplier ไม่ทำมาหากินกับคุณ คุณทำความไม่ดีกับพนักงาน พนักงานไม่จงรักภักดีต่อคุณ ฉะนั้น Network strength ความมั่นคงแข็งแรงของเครือข่ายคุณอ่อนแอกว่า เมื่อคุณอ่อนแอกว่า คู่แข่งที่แข็งแรงกว่าคุณสู้เขาไม่ได้แน่นอนในระยะยาว การวัดผลจะสะท้อนสิ่งเหล่านี้ออกมาให้ได้ งบประมาณหนึ่งก้อนที่เราจะต้องทุ่มลงไปในนี้ก็คือว่าประเมินออกมาให้ได้ว่าในบรรดาบริษัททั้งหลายเวลาคนทำมาหากินอยู่ในสังคม คุณมี Corporate governance จริงหรือไม่สิ่งหนึ่งที่จะต้องทำก็คือว่าจะทำอย่างไรที่จะร่วมมือกับบริษัทกับคณะกรรมการบรรจุสิ่งเหล่านี้อยู่ใน Top agenda ของบริษัท ฝึกอบรม ปลุกเร้า ปลูกฝัง ให้เกิดอยู่ในกมลนิสัย ให้รู้ว่าความดีถึงไม่มีผลตอบแทนก็ต้องทำความดี เพราะมันเป็นสิ่งที่ทำให้ทุกอย่างยืนยงอยู่ได้ แต่สิ่งเหล่านี้แค่ว่าเกิดโดยธรรมชาติ มันไม่พอ ทำอย่างไรที่จะให้มีสิ่งจูงใจและบทลงโทษ การจูงใจที่ผ่านมาเราพยายามทำหลายข้อ อนาคตอยากให้มีเพิ่มขึ้น เรารู้ว่าฝรั่งต่างชาติเวลาซื้อหุ้นต้องการซื้อหุ้นที่มี Governance บริษัทที่ได้รางวัลเหล่านี้ถ้าท่าน Promote internationally ให้นักลงทุนต่างประเทศรู้เลยว่า TOP 10, TOP 20 เหล่านี้ได้รางวัล Good governance เพื่อให้เขาสามารถซื้อหุ้นเหล่านี้ได้ด้วยความสบายใจ พูดง่ายๆ คือ Promote แทนเขานั่นเอง
เรา Promote บทบาทของกรรมการ จากกรรมการตรายางกลายเป็นกรรมการซึ่งคอยตรวจตรา คอยดูแล ก็ต้องถึงจุดหนึ่ง มีรายชื่อกรรมการซึ่งอยู่ใน Top List ของ Good governance ให้รู้เลยว่าบริษัทไหนมีกรรมการเหล่านี้อยู่บริษัทเหล่านั้นเชื่อถือได้ วางใจได้ ให้เกียรติต่อวงศ์ตระกูลของคณะกรรมการ นี่ไม่ใช่ระบบจูงใจเรื่องการเงิน แต่เป็นรางวัลของสังคมที่ตอบแทนให้กับคนที่ทำความดี มันต้องมี มีรางวัลแล้วก็ต้องมีผลกระทบ บริษัทใดทำความไม่ดี ทำความไม่ซื่อสัตย์ พวกนี้ท่านต้องเตรียมเพิกถอน อย่าเพียงเน้นแค่ค่าปรับ ค่าปรับบางรายบอกว่าปรับทุกวันยังได้เลย โกงครั้งเดียวพอ อยู่ไม่ได้ เรื่องของบทลงโทษต้องมีโดย กลต. และตลาดหลักทรัพย์ แต่ว่าต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ความยุติธรรม ฉะนั้นในการวัดผล การประเมินผลสำคัญอย่างยิ่ง
แล้วคำว่า Governance ที่ผมกล่าวมามันไม่ใช่เพียงเฉพาะแค่ว่าเปิดเผยข้อมูลหรือไม่ หรือว่ารักษาผลประโยชน์ให้กับผู้ถือหุ้นเพียงใด ต้องทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ที่สำคัญก็คือว่าปีหน้าจนกระทั่งเปิดโอกาสให้บุคคลข้างนอกประเมินเข้ามาด้วย ที่เรียกว่า Top List จากสาธารณชนด้วยกัน สมัยนี้ธุรกิจเขามีการรวมตัวกัน ให้เขาโอนจากสมาคม สมาคมนักลงทุนไทย สมาคมผู้บริโภค สมาคมทั้งหลายเกี่ยวกับการผลิต ให้มีสูตรเป็นส่วนหนึ่งของข้อๆ หนึ่ง สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวรณรงค์ให้สังคมตื่นตัวว่าเราเอาจริงกับเรื่องของ Good governance แล้วก็ตั้งคำถามขึ้นมาเลยว่าบริษัททั้งหลายที่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นี้ ในตลาดหุ้นนี้ Top CEO มีความคิดอย่างไรที่จะให้มี Good governance ในบริษัท ทำเป็น Questionnaire แล้วเปิดเผยต่อสาธารณชน เราจะได้รู้กันว่าเบอร์หนึ่งของบริษัท บริษัทไหนให้ความสำคัญ เบอร์หนึ่งไหนไม่ให้ความสำคัญ เปิดเผยต่อสาธารณชน อันนี้แหละคือการกระตุ้นให้เกิดความสนใจ สมมุติท่านบอกว่าบริษัท Comment มาเลย ท่านมีนโยบาย Promote good governance อย่างไรในบริษัท ลองดูว่าเบอร์หนึ่งของบริษัทไหนที่จะไม่เน้น เพราะถ้าเขาไม่เน้น ชื่อของเขาจะปรากฏมาทันทีว่าเขาไม่สนใจ ไม่สำคัญ เราจะได้ให้ฝรั่งที่จะซื้อหุ้น เราจะบอกว่าบริษัทนี้ไม่สนใจเรื่องของ Good governance เราไม่ได้บอกว่าให้ซื้อหุ้นหรือไม่ให้ซื้อหุ้น แต่บอกว่าเขาให้ความสำคัญเพียงใด และท่านควรให้ความสำคัญแก่บริษัทเหล่านี้หรือไม่ อันนี้ผมฝากไว้ให้ทางตลาดหลักทรัพย์ ทาง กลต. และท่านนายกสมาคมไปพิจารณา และก็ต้องขอบคุณท่านอีกครั้งหนึ่งที่ได้ช่วยเหลือพยายามสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา มันไม่ง่ายเลย
เริ่มต้นตั้งแต่ที่ท่านอาจารย์สังเวียน อินทรวิชัย อยากให้มีสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา และก็คนที่รักท่านก็พยายามสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา ถ้าเราต้องการให้คนดีอยู่ในสังคมได้ เราต้องยกย่องคนดี ส่งเสริมคนดี บริษัทก็เหมือนกัน บริษัทไหนดีต้องยกย่องเขา ส่งเสริมเขา ให้เป็นที่รู้จักไม่ใช่เฉพาะในประเทศแต่รวมถึงต่างประเทศ ถ้าบริษัทไหนไม่สนใจ และคดโกงไม่ซื่อสัตย์ ไม่มีธรรมาภิบาลที่ดี อย่าให้ได้เกิดเด็ดขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Top CEO เป็นสำคัญ
ท้ายนี้ผมต้องขอขอบคุณทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ต้องฝากไปถึงบริษัททุกบริษัท ขอให้นำเรื่องธรรมาภิบาลเป็น Top agenda ของบริษัทด้วย เพื่อว่าสังคมไทยจะสามารถยืนยงอยู่ได้ ต้องช่วยกัน ก็ถือโอกาสนี้เปิดงานสัมมนาในวันนี้เลย ขอให้ความพยายามของทุกฝ่ายจงสัมฤทธิผล ขอบคุณมากครับ
เรื่องที่เกี่ยวข้อง :
1. ภาพข่าวกระทรวงการคลัง วันที่ 24 พฤษภาคม 2547
กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
สุรีย์พร ชัยยะรุ่งสกุล : ถอดเทป/พิมพ์
เชาวลิตร์ บุณยภูษิต : Edit--จบ--
-นท-