กรุงเทพ--3 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
พลเอก ขิ่น ยุ้น นายกรัฐมนตรีแห่งสหภาพพม่า และคณะ รวมทั้งสิ้น 34 คน จะเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของรัฐบาล ในวันที่ 4 มิถุนายน 2547 ตามคำเชิญของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยกำหนดจะเดินทางถึงท่าอากาศยานกองบัญชาการกองทัพอากาศ ในวันที่ 4 มิถุนายน 2547 เวลา 09.15 น. และเดินทางออกจากท่าอากาศยานกรุงเทพกลับสหภาพพม่าในวันเดียวกัน เวลา 16.00 น.
การเดินทางเยือนประเทศไทยของนายกรัฐมนตรีพม่าครั้งนี้เป็นการเยือนตามธรรมเนียมปฏิบัติของอาเซียน เพื่อแนะนำตัวในโอกาสที่เข้ารับตำแหน่งใหม่ โดยพลเอก ขิ่น ยุ้น ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2546
ในโอกาสการเยือนครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีจะให้การต้อนรับนายกรัฐมนตรีแห่งสหภาพพม่าและคณะอย่างเป็นทางการที่ทำเนียบรัฐบาล หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีทั้งสองจะหารือข้อราชการ ทั้งแบบจำกัดจำนวนและเต็มคณะ ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ต่อจากนั้น นายกรัฐมนตรีจะเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันเพื่อเป็นเกียรติแด่นายกรัฐมนตรีแห่งสหภาพพม่า ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาลประเทศไทยและสหภาพพม่ามีความสัมพันธ์อันดียิ่งระหว่างกัน เมื่อวันที่ 10-14 มีนาคม 2546 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหภาพพม่า
นอกจากนั้น ผู้นำของทั้งสองประเทศได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันมาอย่างต่อเนื่อง ในฝ่ายไทย นายกรัฐมนตรีได้เดินทางเยือนพม่าอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 19-20 มิถุนายน 2544 ในฝ่ายพม่า พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย ประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (SPDC)ได้เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 8-9 มีนาคม 2542 สำหรับ พลเอก ขิ่น ยุ้น นั้น เคยเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะเลขาธิการ 1 สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ เมื่อวันที่ 3-5 กันยายน 2544
ในส่วนความสัมพันธ์ทางการค้านั้น ในปี 2546 การค้าไทย-พม่ามีมูลค่ารวม 55,628.9 ล้านบาท โดยไทยส่งออกไปยังพม่า 18,199.9 ล้านบาท และนำเข้าจากพม่า 37,429 ล้านบาท ในปี 2546 ประเทศไทยและสหภาพพม่า พร้อมด้วยสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและราชอาณาจักรกัมพูชา ได้เริ่มกรอบความร่วมมือ “ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่น้ำโขง” (ACMECS) ขึ้น ซึ่งครอบคลุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน ความร่วมมือด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงด้านการขนส่ง ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ขณะนี้ความร่วมมือดังกล่าวกำลังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
พลเอก ขิ่น ยุ้น นายกรัฐมนตรีแห่งสหภาพพม่า และคณะ รวมทั้งสิ้น 34 คน จะเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของรัฐบาล ในวันที่ 4 มิถุนายน 2547 ตามคำเชิญของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยกำหนดจะเดินทางถึงท่าอากาศยานกองบัญชาการกองทัพอากาศ ในวันที่ 4 มิถุนายน 2547 เวลา 09.15 น. และเดินทางออกจากท่าอากาศยานกรุงเทพกลับสหภาพพม่าในวันเดียวกัน เวลา 16.00 น.
การเดินทางเยือนประเทศไทยของนายกรัฐมนตรีพม่าครั้งนี้เป็นการเยือนตามธรรมเนียมปฏิบัติของอาเซียน เพื่อแนะนำตัวในโอกาสที่เข้ารับตำแหน่งใหม่ โดยพลเอก ขิ่น ยุ้น ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2546
ในโอกาสการเยือนครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีจะให้การต้อนรับนายกรัฐมนตรีแห่งสหภาพพม่าและคณะอย่างเป็นทางการที่ทำเนียบรัฐบาล หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีทั้งสองจะหารือข้อราชการ ทั้งแบบจำกัดจำนวนและเต็มคณะ ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ต่อจากนั้น นายกรัฐมนตรีจะเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันเพื่อเป็นเกียรติแด่นายกรัฐมนตรีแห่งสหภาพพม่า ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาลประเทศไทยและสหภาพพม่ามีความสัมพันธ์อันดียิ่งระหว่างกัน เมื่อวันที่ 10-14 มีนาคม 2546 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหภาพพม่า
นอกจากนั้น ผู้นำของทั้งสองประเทศได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันมาอย่างต่อเนื่อง ในฝ่ายไทย นายกรัฐมนตรีได้เดินทางเยือนพม่าอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 19-20 มิถุนายน 2544 ในฝ่ายพม่า พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย ประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (SPDC)ได้เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 8-9 มีนาคม 2542 สำหรับ พลเอก ขิ่น ยุ้น นั้น เคยเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะเลขาธิการ 1 สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ เมื่อวันที่ 3-5 กันยายน 2544
ในส่วนความสัมพันธ์ทางการค้านั้น ในปี 2546 การค้าไทย-พม่ามีมูลค่ารวม 55,628.9 ล้านบาท โดยไทยส่งออกไปยังพม่า 18,199.9 ล้านบาท และนำเข้าจากพม่า 37,429 ล้านบาท ในปี 2546 ประเทศไทยและสหภาพพม่า พร้อมด้วยสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและราชอาณาจักรกัมพูชา ได้เริ่มกรอบความร่วมมือ “ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่น้ำโขง” (ACMECS) ขึ้น ซึ่งครอบคลุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน ความร่วมมือด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงด้านการขนส่ง ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ขณะนี้ความร่วมมือดังกล่าวกำลังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-