กรุงเทพ--3 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
การประชุมระดับรัฐมนตรีเครือข่ายความมั่นคงมนุษย์ ครั้งที่ 6 (The Sixth Ministerial Meeting of the Human Security Network-HSN) Bamako, Mali 27-28 May 2004
ตามที่ ดร.สรจักร เกษมสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศได้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 6 ของเครือข่ายความมั่นคงมนุษย์ (Human Security Network-HSN) ระหว่างวันที่ 27-29 พฤษภาคม 2547 ณ กรุงบามาโก ประเทศสาธารณรัฐมาลี ในแอฟริกาตะวันตก กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนเกี่ยวกับผลการประชุมดังกล่าวดังต่อไปนี้
1. การประชุมระดับรัฐมนตรี HSN ครั้งที่ 6 มีรัฐมนตรีต่างประเทศ ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศ และผู้แทนระดับสูงจากประเทศสมาชิกเข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง โดยที่ประชุมมีรัฐมนตรีต่างประเทศมาลี ในฐานะประเทศเจ้าภาพเป็นประธาน ประเทศมาลีได้ให้ความสำคัญกับประเด็นหลัก (priority issues) ได้แก่ สิทธิมนุษยชน อาวุธขนาดเล็ก บทบาทสตรีในปฏิบัติการรักษาสันติภาพ และความมั่นคงทางอาหาร และที่ประชุมได้รับรองเอกสารต่างๆ คือ (1) ปฏิญญาบามาโกว่าด้วยความมั่นคงทางอาหาร (2) ข้อเสนอของ HSN ต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสหประชาชาติเรื่องภัยคุกคาม สิ่งท้าทาย และการเปลี่ยนแปลง ที่มี ฯพณฯ นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน (3) หลักเกณฑ์ในการขยายจำนวนสมาชิก HSN และ (4) แถลงการณ์ของประธานเกี่ยวกับผลการประชุม
2. ไทยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้กล่าวนำการหารือในประเด็นที่เกี่ยวกับ Freedom from Want คือ การขจัดความยากจนและการพัฒนาโดยมีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง รวมทั้งเรื่องโรคเอดส์ ซึ่งไทยเป็นผู้ผลักดันให้อยู่ในระเบียบวาระของ HSN มาตลอดตั้งแต่ต้น โดยมีรายละเอียด ดังนี้
2.1 ปัญหาความยากจน ไทยได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบเรื่องการจดทะเบียนคนจนทั่วประเทศ ซึ่งไทยมีนโยบายและแผนดำเนินงานต่างๆ ที่จะขจัดความยากจนภายในประเทศให้หมดสิ้นภายใน 6 ปี การส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับอนุภูมิภาค เช่น ความร่วมมือยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจในลุ่มแม่น้ำอิระวดี-แม่น้ำเจ้าพระยา-แม่น้ำโขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy หรือ ACMECS) การพัฒนาดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security Index) เพื่อวัดระดับการพัฒนาในด้านต่างๆ ของประชาชน และการแก้ไขปัญหาการลักลอบค้ามนุษย์
2.2 โรคเอดส์ ไทยได้กล่าวสนับสนุนความร่วมมือในกรอบ HSN ในการส่งเสริมความตระหนักเกี่ยวกับโรคเอดส์ และการรณรงค์ให้มีการใช้ถุงยางอนามัย ซึ่งเป็นมาตรการป้องกันที่ไทยใช้และเกิดประสิทธิผล และได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติเรื่องโรคเอดส์ ครั้งที่ 15 (XV International AIDS Conference) ในระหว่างวันที่ 11-16 กรกฎาคม 2547 ที่กรุงเทพฯ เพื่อกระตุ้นให้ประชาคมโลกแสดงความมุ่งมั่นทางการเมืองในการแก้ไขปัญหาเอดส์ รวมทั้งการประชุมผู้นำว่าด้วยเรื่องโรคเอดส์ (Bangkok Summit 2004 : Leadership on HIV/AIDS) ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2547 ซึ่งมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดยจะมีผู้นำจากหลายประเทศ เลขาธิการสหประชาชาติ และหัวหน้าองค์การในระดับภูมิภาคเข้าร่วมด้วย
3. นอกจากนี้ ในฐานะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยดำรงตำแหน่งประธาน รัฐภาคีการประชุมอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ครั้งที่ 5 ( President of the Fifth Meeting of States Parties to the Mine Ban Convention) ไทยได้แจ้งบทบาทของไทยในการแก้ไขปัญหาทุ่นระเบิดสังหารบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระดมเงินทุนเพื่อขจัดทุ่นระเบิดสังหารบุคคล และการผลักดันการขยายภาคีอนุสัญญา ให้มีจำนวนมากที่สุดเพื่อผลของการกำจัดทุ่นระเบิดสังหารบุคคล
4. การประชุมครั้งนี้ถือเป็นผลสำเร็จในแง่ที่ไทยสามารถผลักดันประเด็นที่เกี่ยวกับการปลอดจากความขาดแคลน เช่น เรื่องโรคเอดส์ และการขจัดความยากจน ให้เป็นที่ยอมรับของที่ประชุม โดยจะเห็นได้ว่ามาลีได้ขยายผลจากการผลักดันของไทยในการเสนอเรื่อง "ความมั่นคงทางอาหาร" จนมีการออกปฏิญญาในเรื่องดังกล่าว และการที่แคนาดาได้บรรจุเรื่องโรคเอดส์เป็นประเด็นสำคัญลำดับแรกในช่วงที่แคนาดาเป็นประธาน HSN ต่อจากมาลี (ปี 2547-2548)
5. ไทยจะรับหน้าที่ประธานในปี 2548-2549 และเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีของ HSN ครั้งที่ 8 ที่กรุงเทพฯ ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2549 ต่อจากแคนาดา ซึ่งจะเป็นประธาน HSN ระหว่างพฤษภาคม 2547-พฤษภาคม 2548 โดยในระหว่างที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานนั้น ไทยจะผลักดันประเด็นที่ไทยให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อไป โดยเฉพาะเรื่องโรคเอดส์ การขจัดทุ่นระเบิดสังหารบุคคล การขจัดความยากจนและการพัฒนาโดยมีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง และการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ สำหรับเครือข่ายความมั่นคงมนุษย์หรือ HSN นั้น เป็นการรวมกลุ่มของประเทศจากภูมิภาคต่างๆ ซึ่งมีแนวคิดคล้ายคลึงกัน (Like-minded) เกี่ยวกับการส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์ภายในประเทศของตนและในเวทีโลกโดยมุ่งเน้นให้ประชาชนดำรงชีวิตอยู่อย่างมั่นคงและมีศักดิ์ศรี หรือการบรรลุสภาวะที่มนุษย์ "ปลอดจากความหวาดกลัว" (Freedom from Fear) เช่น ผลกระทบจากการสู้รบหรือภัยจากอาวุธที่อันตราย เช่น ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล และการแพร่ขยายของอาวุธขนาดเล็ก และ "ปลอดจากความขาดแคลน"(Freedom from Want) เช่น ความยากจน และภัยจากโรคระบาดที่ร้ายแรง เช่น โรคเอดส์ปัจจุบัน HSN มีสมาชิก 12 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ชิลี กรีซ ไอร์แลนด์ จอร์แดน มาลี เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์ สโลวีเนีย และไทย และประเทศผู้สังเกตการณ์ คือ แอฟริกาใต้ และมีการประชุมระดับรัฐมนตรีเป็นประจำทุกปี
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
การประชุมระดับรัฐมนตรีเครือข่ายความมั่นคงมนุษย์ ครั้งที่ 6 (The Sixth Ministerial Meeting of the Human Security Network-HSN) Bamako, Mali 27-28 May 2004
ตามที่ ดร.สรจักร เกษมสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศได้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 6 ของเครือข่ายความมั่นคงมนุษย์ (Human Security Network-HSN) ระหว่างวันที่ 27-29 พฤษภาคม 2547 ณ กรุงบามาโก ประเทศสาธารณรัฐมาลี ในแอฟริกาตะวันตก กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนเกี่ยวกับผลการประชุมดังกล่าวดังต่อไปนี้
1. การประชุมระดับรัฐมนตรี HSN ครั้งที่ 6 มีรัฐมนตรีต่างประเทศ ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศ และผู้แทนระดับสูงจากประเทศสมาชิกเข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง โดยที่ประชุมมีรัฐมนตรีต่างประเทศมาลี ในฐานะประเทศเจ้าภาพเป็นประธาน ประเทศมาลีได้ให้ความสำคัญกับประเด็นหลัก (priority issues) ได้แก่ สิทธิมนุษยชน อาวุธขนาดเล็ก บทบาทสตรีในปฏิบัติการรักษาสันติภาพ และความมั่นคงทางอาหาร และที่ประชุมได้รับรองเอกสารต่างๆ คือ (1) ปฏิญญาบามาโกว่าด้วยความมั่นคงทางอาหาร (2) ข้อเสนอของ HSN ต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสหประชาชาติเรื่องภัยคุกคาม สิ่งท้าทาย และการเปลี่ยนแปลง ที่มี ฯพณฯ นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน (3) หลักเกณฑ์ในการขยายจำนวนสมาชิก HSN และ (4) แถลงการณ์ของประธานเกี่ยวกับผลการประชุม
2. ไทยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้กล่าวนำการหารือในประเด็นที่เกี่ยวกับ Freedom from Want คือ การขจัดความยากจนและการพัฒนาโดยมีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง รวมทั้งเรื่องโรคเอดส์ ซึ่งไทยเป็นผู้ผลักดันให้อยู่ในระเบียบวาระของ HSN มาตลอดตั้งแต่ต้น โดยมีรายละเอียด ดังนี้
2.1 ปัญหาความยากจน ไทยได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบเรื่องการจดทะเบียนคนจนทั่วประเทศ ซึ่งไทยมีนโยบายและแผนดำเนินงานต่างๆ ที่จะขจัดความยากจนภายในประเทศให้หมดสิ้นภายใน 6 ปี การส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับอนุภูมิภาค เช่น ความร่วมมือยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจในลุ่มแม่น้ำอิระวดี-แม่น้ำเจ้าพระยา-แม่น้ำโขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy หรือ ACMECS) การพัฒนาดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security Index) เพื่อวัดระดับการพัฒนาในด้านต่างๆ ของประชาชน และการแก้ไขปัญหาการลักลอบค้ามนุษย์
2.2 โรคเอดส์ ไทยได้กล่าวสนับสนุนความร่วมมือในกรอบ HSN ในการส่งเสริมความตระหนักเกี่ยวกับโรคเอดส์ และการรณรงค์ให้มีการใช้ถุงยางอนามัย ซึ่งเป็นมาตรการป้องกันที่ไทยใช้และเกิดประสิทธิผล และได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติเรื่องโรคเอดส์ ครั้งที่ 15 (XV International AIDS Conference) ในระหว่างวันที่ 11-16 กรกฎาคม 2547 ที่กรุงเทพฯ เพื่อกระตุ้นให้ประชาคมโลกแสดงความมุ่งมั่นทางการเมืองในการแก้ไขปัญหาเอดส์ รวมทั้งการประชุมผู้นำว่าด้วยเรื่องโรคเอดส์ (Bangkok Summit 2004 : Leadership on HIV/AIDS) ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2547 ซึ่งมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดยจะมีผู้นำจากหลายประเทศ เลขาธิการสหประชาชาติ และหัวหน้าองค์การในระดับภูมิภาคเข้าร่วมด้วย
3. นอกจากนี้ ในฐานะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยดำรงตำแหน่งประธาน รัฐภาคีการประชุมอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ครั้งที่ 5 ( President of the Fifth Meeting of States Parties to the Mine Ban Convention) ไทยได้แจ้งบทบาทของไทยในการแก้ไขปัญหาทุ่นระเบิดสังหารบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระดมเงินทุนเพื่อขจัดทุ่นระเบิดสังหารบุคคล และการผลักดันการขยายภาคีอนุสัญญา ให้มีจำนวนมากที่สุดเพื่อผลของการกำจัดทุ่นระเบิดสังหารบุคคล
4. การประชุมครั้งนี้ถือเป็นผลสำเร็จในแง่ที่ไทยสามารถผลักดันประเด็นที่เกี่ยวกับการปลอดจากความขาดแคลน เช่น เรื่องโรคเอดส์ และการขจัดความยากจน ให้เป็นที่ยอมรับของที่ประชุม โดยจะเห็นได้ว่ามาลีได้ขยายผลจากการผลักดันของไทยในการเสนอเรื่อง "ความมั่นคงทางอาหาร" จนมีการออกปฏิญญาในเรื่องดังกล่าว และการที่แคนาดาได้บรรจุเรื่องโรคเอดส์เป็นประเด็นสำคัญลำดับแรกในช่วงที่แคนาดาเป็นประธาน HSN ต่อจากมาลี (ปี 2547-2548)
5. ไทยจะรับหน้าที่ประธานในปี 2548-2549 และเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีของ HSN ครั้งที่ 8 ที่กรุงเทพฯ ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2549 ต่อจากแคนาดา ซึ่งจะเป็นประธาน HSN ระหว่างพฤษภาคม 2547-พฤษภาคม 2548 โดยในระหว่างที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานนั้น ไทยจะผลักดันประเด็นที่ไทยให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อไป โดยเฉพาะเรื่องโรคเอดส์ การขจัดทุ่นระเบิดสังหารบุคคล การขจัดความยากจนและการพัฒนาโดยมีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง และการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ สำหรับเครือข่ายความมั่นคงมนุษย์หรือ HSN นั้น เป็นการรวมกลุ่มของประเทศจากภูมิภาคต่างๆ ซึ่งมีแนวคิดคล้ายคลึงกัน (Like-minded) เกี่ยวกับการส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์ภายในประเทศของตนและในเวทีโลกโดยมุ่งเน้นให้ประชาชนดำรงชีวิตอยู่อย่างมั่นคงและมีศักดิ์ศรี หรือการบรรลุสภาวะที่มนุษย์ "ปลอดจากความหวาดกลัว" (Freedom from Fear) เช่น ผลกระทบจากการสู้รบหรือภัยจากอาวุธที่อันตราย เช่น ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล และการแพร่ขยายของอาวุธขนาดเล็ก และ "ปลอดจากความขาดแคลน"(Freedom from Want) เช่น ความยากจน และภัยจากโรคระบาดที่ร้ายแรง เช่น โรคเอดส์ปัจจุบัน HSN มีสมาชิก 12 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ชิลี กรีซ ไอร์แลนด์ จอร์แดน มาลี เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์ สโลวีเนีย และไทย และประเทศผู้สังเกตการณ์ คือ แอฟริกาใต้ และมีการประชุมระดับรัฐมนตรีเป็นประจำทุกปี
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-