สรรเสริญ’ ระบุ รัฐกระตุ้นศก.เพื่อหวังผลเลือกตั้ง พร้อมชี้ ส่งผลกลับให้หนี้ปชช.เพิ่มขึ้น :
เมื่อเวลา 10.00 น. วันนี้ (2 มิ.ย.) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายสรรเสริญ สมะลาภา ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ และคณะทำงานด้านเศรษฐกิจ พรรคประชาธิปัตย์ ได้แถลงถึงปัญหาเศรษฐกิจในขณะนี้ที่ได้ขยายวงกว้างมาถึงเรื่องการขาดดุลการค้า ว่า ล่าสุดในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ได้ขยายวงสู่การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด หมายความว่าในปัจจุบันรายได้เข้าประเทศติดลบ ซึ่งหลายคนคิดว่าเป็นผลพวงมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งความจริงแล้วราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นนั้นเป็นเพียงส่วนน้อย เพราะเพิ่มขึ้นเพียง 4.7 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนในขณะที่การนำเข้าน้ำมันในเชิงปริมาณเพิ่มขึ้นถึง 62.8 % ซึ่งถือเป็นการเพิ่มที่สูงมาก ดังนั้นจึงถือได้ว่ามาตรการประหยัดพลังงานของรัฐบาลล้มเหลว แต่อย่างไรก็ตามน้ำมันเป็นเพียงส่วนเดียวที่ทำให้การนำเข้าสูงขึ้น เพราะคิดเป็นสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับการนำเข้าทั้งหมด สินค้าที่มีสัดส่วนการนำเข้าสูงคือ วัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น 24 % และสินค้าทุนเพิ่มขึ้น 29 %
นายสรรเสริญ กล่าวว่า ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลไม่ได้ปรับปรุงโครงสร้างทางด้านการผลิตเลย รัฐบาลมัวแต่กระตุ้นเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว และนำตัวเลขจีดีพีที่ขยายตัวสูงไปประชาสัมพันธ์ เพื่อหวังผลด้านคะแนนเสียง และสิ่งที่น่าวิตกมากขึ้นในขณะนี้คือ ปีนี้เป็นปีสุดท้ายก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง รัฐบาลก็จะเล่นเศรษฐกิจการเมือง โดยการอัดฉีดเงินก่อนการเลือกตั้ง เพื่อหวังผลในการเลือกตั้งครั้งหน้า ซึ่งความจริงรัฐบาลได้ดำเนินการไปแล้วโดยผ่านงบประมาณกลางปี และให้ธนาคารรัฐปล่อยสินเชื่อ ซึ่งเพียง 3 เดือนแรกของปีนี้ได้ปล่อยสินเชื่อไปกว่า 1 แสนล้านบาท ถ้าประชาชนบริโภคมากขึ้นโดยสถานการณ์โครงสร้างด้านการผลิตยังเป็นเช่นนี้จะทำให้เกิดปัญหา 2 เรื่อง คือ 1. เงินเข้าประเทศลดลงเมื่อผนวกกับอัตราดอกเบี้ยต่างประเทศ และค่าเงินต่างประเทศที่แข็งขึ้น จะนำไปสู่ดอกเบี้ยภายในประเทศที่สูงขึ้น เป็นการซ้ำเติมปัญหาหนี้ภาคประชาชน 2. เงินเฟ้อที่สูงขึ้นโดยเฉพาะในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้นถึง 6.2 % ซึ่งจะนำไปสู่ค่าครองชีพที่สูงขึ้น โดยทั้ง 2ปัญหาจะนำไปสู่ความเดือดร้อนของประชาชน
‘ขอเรียนพี่น้องทุกคนว่าจะใช้จ่ายอะไรในปัจจุบัน ใช้ให้พอดี อย่าเกินตัว ผมคิดว่าเศรษฐกิจเป็นเรื่องการบริหารของกลไกทั้งระบบ ไม่ใช่เป็นเพียงการเล่นกลในจุดใดจุดหนึ่ง ดังนั้นรัฐบาลอย่าอัดฉีดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อหวังผลทางด้านคะแนนเสียง’ นายสรรเสริญ กล่าว
นายสรรเสริญ ยังกล่าวถึงกรณีที่นายกฯตอบโต้ฝ่ายค้านเรื่องข้อมูลด้านเศรษฐกิจที่นำมาเปิดเผย ว่าไม่รู้นำข้อมูลมาจากที่ใดนั้น ว่า ตนขอฝากบอกนายกฯว่า ขอให้ดูข้อมูลการบริโภคของประชาชน แล้วนายกฯก็คงจะเข้าใจได้ดีขึ้น ส่วนที่นายกฯเปรียบเทียบการวิจารณ์ของพรรคประชาธิปัตย์ว่าเหมือนเสียงหนวกหูนั้น ขอเรียนว่าเสียงที่หนวกหูนี้รัฐบาลได้นำไปดำเนินการหลายเรื่อง เช่น เรื่องบัตรเครดิต การให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) จัดหมวดหมู่การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้เป็นรายสาขา การผลิต การลดหนี้ต่างประเทศ
ต่อข้อถามที่ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อการตั้งเป้าตัวเลขเศรษฐกิจของรัฐบาลหรือไม่ นายสรรเสริญ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้รัฐบาลตั้งเป้าไว้ 8% ถึงตอนนี้ก็ยอมรับแล้วว่าไม่ถึง ลดลงเหลือประมาณ 7 % แต่สิ่งที่ตนวิตกคือว่าถึงอย่างไรรัฐบาลก็จะดันเศรษฐกิจให้ขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อหวังผลทางคะแนนเสียง โดยใช้เงินของภาครัฐเป็นตัวผลักดันหลัก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการที่ธนาคารรัฐปล่อยสินเชื่อถึงกว่า 1 แสนล้านบาท ในช่วง 3 เดือน คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 6% ของจีดีพีรายไตรมาส ดังนั้นการที่ไตรมาสแรกจีดีพีจะขยายตัวถึง 7% ไม่ใช่เรื่องแปลก ส่วนเศรษฐกิจด้านอื่นมีส่วนช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจน้อยมาก
เมื่อถามว่า หากรัฐบาลยังอัดฉีดเงินเช่นนี้จะส่งผลให้หนี้สินประชาชนสูงขึ้นหรือไม่ นายสรรเสริญ กล่าวว่า ตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการ ของหนี้สินภาคประชาชนก็สูงขึ้นมากอยู่แล้ว โดยอยู่ที่ 110,000 บาทต่อครัวเรือน เมื่อเทียบกับก่อนที่รัฐบาลนี้เข้ามาประชาชนมีหนี้เพียง 68,000 บาทต่อครัวเรือน แต่หากรัฐบาลยังกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยเอาเฉพาะแค่ตัวเลขจีดีพี สิ่งที่น่าวิตกคือค่าครองชีพสูงขึ้น ดอกเบี้ยสูงขึ้น ทำให้หนี้สินประชาชนสูงขึ้น ภาระรายจ่ายด้านดอกเบี้ยก็จะสูงขึ้นด้วย ดังนั้นจีดีพีเท่านั้นที่โต แต่ประชาชนจะยังเดือดร้อนอยู่ นอกจากนี้หนี้เสียภาคประชาชนก็จะยิ่งสูงขึ้น เพราะตัวเลขที่จดทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทย โดยเฉพาะโครงการกองทุนหมู่บ้าน หนี้ที่มีปัญหามีถึง 45,000 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลก็ทราบเรื่องนี้ดี ไม่เช่นนั้นคงไม่ออกโครงการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชนมาแก้ปัญหา อย่างไรก็ตามทั้งหนี้ในระบบ และหนี้นอกระบบมีส่วนเกี่ยวข้องกัน
โดยทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 2 มิ.ย. 2547--จบ--
-ดท-
เมื่อเวลา 10.00 น. วันนี้ (2 มิ.ย.) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายสรรเสริญ สมะลาภา ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ และคณะทำงานด้านเศรษฐกิจ พรรคประชาธิปัตย์ ได้แถลงถึงปัญหาเศรษฐกิจในขณะนี้ที่ได้ขยายวงกว้างมาถึงเรื่องการขาดดุลการค้า ว่า ล่าสุดในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ได้ขยายวงสู่การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด หมายความว่าในปัจจุบันรายได้เข้าประเทศติดลบ ซึ่งหลายคนคิดว่าเป็นผลพวงมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งความจริงแล้วราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นนั้นเป็นเพียงส่วนน้อย เพราะเพิ่มขึ้นเพียง 4.7 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนในขณะที่การนำเข้าน้ำมันในเชิงปริมาณเพิ่มขึ้นถึง 62.8 % ซึ่งถือเป็นการเพิ่มที่สูงมาก ดังนั้นจึงถือได้ว่ามาตรการประหยัดพลังงานของรัฐบาลล้มเหลว แต่อย่างไรก็ตามน้ำมันเป็นเพียงส่วนเดียวที่ทำให้การนำเข้าสูงขึ้น เพราะคิดเป็นสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับการนำเข้าทั้งหมด สินค้าที่มีสัดส่วนการนำเข้าสูงคือ วัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น 24 % และสินค้าทุนเพิ่มขึ้น 29 %
นายสรรเสริญ กล่าวว่า ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลไม่ได้ปรับปรุงโครงสร้างทางด้านการผลิตเลย รัฐบาลมัวแต่กระตุ้นเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว และนำตัวเลขจีดีพีที่ขยายตัวสูงไปประชาสัมพันธ์ เพื่อหวังผลด้านคะแนนเสียง และสิ่งที่น่าวิตกมากขึ้นในขณะนี้คือ ปีนี้เป็นปีสุดท้ายก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง รัฐบาลก็จะเล่นเศรษฐกิจการเมือง โดยการอัดฉีดเงินก่อนการเลือกตั้ง เพื่อหวังผลในการเลือกตั้งครั้งหน้า ซึ่งความจริงรัฐบาลได้ดำเนินการไปแล้วโดยผ่านงบประมาณกลางปี และให้ธนาคารรัฐปล่อยสินเชื่อ ซึ่งเพียง 3 เดือนแรกของปีนี้ได้ปล่อยสินเชื่อไปกว่า 1 แสนล้านบาท ถ้าประชาชนบริโภคมากขึ้นโดยสถานการณ์โครงสร้างด้านการผลิตยังเป็นเช่นนี้จะทำให้เกิดปัญหา 2 เรื่อง คือ 1. เงินเข้าประเทศลดลงเมื่อผนวกกับอัตราดอกเบี้ยต่างประเทศ และค่าเงินต่างประเทศที่แข็งขึ้น จะนำไปสู่ดอกเบี้ยภายในประเทศที่สูงขึ้น เป็นการซ้ำเติมปัญหาหนี้ภาคประชาชน 2. เงินเฟ้อที่สูงขึ้นโดยเฉพาะในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้นถึง 6.2 % ซึ่งจะนำไปสู่ค่าครองชีพที่สูงขึ้น โดยทั้ง 2ปัญหาจะนำไปสู่ความเดือดร้อนของประชาชน
‘ขอเรียนพี่น้องทุกคนว่าจะใช้จ่ายอะไรในปัจจุบัน ใช้ให้พอดี อย่าเกินตัว ผมคิดว่าเศรษฐกิจเป็นเรื่องการบริหารของกลไกทั้งระบบ ไม่ใช่เป็นเพียงการเล่นกลในจุดใดจุดหนึ่ง ดังนั้นรัฐบาลอย่าอัดฉีดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อหวังผลทางด้านคะแนนเสียง’ นายสรรเสริญ กล่าว
นายสรรเสริญ ยังกล่าวถึงกรณีที่นายกฯตอบโต้ฝ่ายค้านเรื่องข้อมูลด้านเศรษฐกิจที่นำมาเปิดเผย ว่าไม่รู้นำข้อมูลมาจากที่ใดนั้น ว่า ตนขอฝากบอกนายกฯว่า ขอให้ดูข้อมูลการบริโภคของประชาชน แล้วนายกฯก็คงจะเข้าใจได้ดีขึ้น ส่วนที่นายกฯเปรียบเทียบการวิจารณ์ของพรรคประชาธิปัตย์ว่าเหมือนเสียงหนวกหูนั้น ขอเรียนว่าเสียงที่หนวกหูนี้รัฐบาลได้นำไปดำเนินการหลายเรื่อง เช่น เรื่องบัตรเครดิต การให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) จัดหมวดหมู่การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้เป็นรายสาขา การผลิต การลดหนี้ต่างประเทศ
ต่อข้อถามที่ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อการตั้งเป้าตัวเลขเศรษฐกิจของรัฐบาลหรือไม่ นายสรรเสริญ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้รัฐบาลตั้งเป้าไว้ 8% ถึงตอนนี้ก็ยอมรับแล้วว่าไม่ถึง ลดลงเหลือประมาณ 7 % แต่สิ่งที่ตนวิตกคือว่าถึงอย่างไรรัฐบาลก็จะดันเศรษฐกิจให้ขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อหวังผลทางคะแนนเสียง โดยใช้เงินของภาครัฐเป็นตัวผลักดันหลัก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการที่ธนาคารรัฐปล่อยสินเชื่อถึงกว่า 1 แสนล้านบาท ในช่วง 3 เดือน คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 6% ของจีดีพีรายไตรมาส ดังนั้นการที่ไตรมาสแรกจีดีพีจะขยายตัวถึง 7% ไม่ใช่เรื่องแปลก ส่วนเศรษฐกิจด้านอื่นมีส่วนช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจน้อยมาก
เมื่อถามว่า หากรัฐบาลยังอัดฉีดเงินเช่นนี้จะส่งผลให้หนี้สินประชาชนสูงขึ้นหรือไม่ นายสรรเสริญ กล่าวว่า ตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการ ของหนี้สินภาคประชาชนก็สูงขึ้นมากอยู่แล้ว โดยอยู่ที่ 110,000 บาทต่อครัวเรือน เมื่อเทียบกับก่อนที่รัฐบาลนี้เข้ามาประชาชนมีหนี้เพียง 68,000 บาทต่อครัวเรือน แต่หากรัฐบาลยังกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยเอาเฉพาะแค่ตัวเลขจีดีพี สิ่งที่น่าวิตกคือค่าครองชีพสูงขึ้น ดอกเบี้ยสูงขึ้น ทำให้หนี้สินประชาชนสูงขึ้น ภาระรายจ่ายด้านดอกเบี้ยก็จะสูงขึ้นด้วย ดังนั้นจีดีพีเท่านั้นที่โต แต่ประชาชนจะยังเดือดร้อนอยู่ นอกจากนี้หนี้เสียภาคประชาชนก็จะยิ่งสูงขึ้น เพราะตัวเลขที่จดทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทย โดยเฉพาะโครงการกองทุนหมู่บ้าน หนี้ที่มีปัญหามีถึง 45,000 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลก็ทราบเรื่องนี้ดี ไม่เช่นนั้นคงไม่ออกโครงการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชนมาแก้ปัญหา อย่างไรก็ตามทั้งหนี้ในระบบ และหนี้นอกระบบมีส่วนเกี่ยวข้องกัน
โดยทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 2 มิ.ย. 2547--จบ--
-ดท-