ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. เดือน เม.ย.47 ไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี แต่เศรษฐกิจยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
ผู้อำนวยการอาวุโส สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจเดือน เม.ย.47
ว่า ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมยังคงขยายตัวในอัตราที่ดี แม้การขยายตัวของภาคการผลิต การใช้จ่าย และการลงทุนจะชะลอตัวลง
จากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากความไม่เชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ แนวโน้ม
ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น และความหวั่นเกรงเรื่องการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย โดยด้านต่างประเทศ ไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัดครั้ง
แรกในรอบ 2 ปีจำนวน 19 ล.ดอลลาร์ สรอ. จากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น 30.4% มูลค่ารวม 7,459
ล.ดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและการส่งมอบน้ำมันที่เพิ่มขึ้นถึง 70.6% ขณะที่การส่งออกเพิ่มขึ้น 21%
มูลค่ารวม 7,102 ล.ดอลลาร์ สรอ. ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 357 ล.ดอลลาร์ สรอ. ส่วนดุลบริการเกินดุล 338 ล.บาท
จากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นมากถึง 93.6% จากปีก่อน ทั้งนี้ ธปท.เชื่อว่าสถานการณ์การขาดดุลดังกล่าวเป็นเพียง
ชั่วคราวเท่านั้น ด้านในประเทศ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจลดลงจากเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีความ
เชื่อมั่นทางธุรกิจอยู่ที่ระดับ 50.2 ลดลงจากระดับ 50.9 ในเดือนก่อน ซึ่งสอดคล้องกับดัชนีภาคอุปโภคบริโภคที่ขยายตัวลดลง
จากเดือนก่อนหน้า โดยขยายตัว 3.5% ลดลงจาก 4.1% และดัชนีการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัว 16.5% ลดลงจาก 23.7%
ในเดือนก่อน (โลกวันนี้)
2. ฟิทช์ปรับเพิ่มอันดับเครดิตแก่ ธพ.ขนาดใหญ่ของไทย ฟิทช์ บริษัทจัดอันดับเครดิตข้ามชาติ ประกาศเพิ่มอันดับ
เครดิตแก่ ธพ.ขนาดใหญ่ของไทย 3 แห่ง ได้แก่ ธ.กสิกรไทย ธ.ไทยพาณิชย์ และ ธ.กรุงไทย และปรับแนวโน้มอันดับเครดิต
ของ ธ.กรุงเทพเป็นบวก โดยมีสาเหตุจากความแข็งแกร่งทางการเงินของภาคธุรกิจธนาคารที่มีการฟื้นตัว จากการที่อัตราการ
เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น การปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาอสังหาริมทรัพย์และสินทรัพย์ และการเพิ่มขึ้น
ของการให้กู้ยืมในภาคธุรกิจและภาคผู้บริโภค สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการปรับตัวที่ดีขึ้นของผลประกอบการของ
ธพ.ไทย ได้แก่ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และหนี้ที่ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ที่ยังคงเหลืออยู่ในระบบ แรงกดดันที่มีต่ออัตรากำไร
จากการที่มีสภาพคล่องสูงในระบบ การแข่งขันของธนาคารรัฐ และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่อาจปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงระบบการ
ให้สินเชื่อที่ยังไม่รัดกุมเพียงพอ (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ก.พลังงานพิจารณาแนวทางการตรึงค่าเอฟทีเพื่อป้องกันผลกระทบต่อประชาชน รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า
ได้มอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ไปร่วมกันพิจารณาแนวทางการ
ตรึงค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) รอบใหม่ (มิ.ย.-ก.ย.47) ที่มีแนวโน้มจะต้องปรับเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1 สตางค์ต่อหน่วย
รวมถึงพิจารณาผลกระทบภาระค่าไฟฟ้าในรอบถัดไป (ต.ค.47-ม.ค.48) ที่มีแนวโน้มต้องพิจารณาปรับเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 9-10
สตางค์ต่อหน่วย ให้ปรับเพิ่มให้น้อยที่สุด เพื่อไม่ให้กระทบประชาชนและผู้ประกอบการในประเทศ ซึ่งจากการประเมินเบื้องต้น
ผลกระทบในรอบการพิจารณาที่จะถึงนี้มีเพียงเล็กน้อย จึงมีความเป็นไปได้ว่า กฟผ.และ ปตท. จะรับภาระดังกล่าว (โลกวันนี้)
4. กรมการค้าภายในกำหนดมาตรการกำกับดูแลราคาสินค้า อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ตามที่มีการคาด
การณ์ว่า ราคาสินค้าอาจจะปรับตัวสูงขึ้นจากภาวะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซหุงต้มที่ปรับตัวสูงขึ้น และหลังจากวันที่ 31 ก.ค.47
ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดการขอความร่วมมือผู้ผลิตในการตรึงราคาสินค้าไว้ 4 เดือนนับจากวันที่ 1 เม.ย.47 นั้น กรมการค้าภายในได้
กำหนดมาตรการในการกำกับดูแลราคาสินค้าไว้พร้อมแล้ว โดยขณะนี้ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ติดตามภาวะราคาสินค้าที่มีการจำหน่ายใน
ท้องตลาดอย่างใกล้ชิดทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยมีศูนย์บริหารจัดการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าทำหน้าที่เชื่อมโยงข้อมูลราคา
และสถานการณ์ในภาพรวมทั้งประเทศ เพื่อพร้อมแก้ไขปัญหาได้ทันที (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ญี่ปุ่นนำเข้าน้ำมันดิบในเดือนเม.ย. ลดลงร้อยละ 14.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน รายงานจากโตเกียวเมื่อ วันที่
31 พ.ค. 47 ก.เศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ในเดือนเม.ย.47 มีการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศ
ทั้งสิ้น 18.35 ล้านกิโลลิตร หรือ 115.42 ล้านบาร์เรล ลดลงจาก 21.82 กิโลลิตรในเดือนมี.ค. หรือลดลงร้อยละ 15.9
และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนลดลงร้อยละ 14.2 นับเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 เนื่องจากอุปสงค์
ในผลิตภัณฑ์น้ำมันในตลาดท้องถิ่นลดลง ทั้งนี้ยอดขายผลิตภัณฑ์น้ำมันในตลาดท้องถิ่นอยู่ในช่วงขาลงโดยในเดือนเม.ย.47 ยอดขาย
น้ำมันดังกล่าวเมื่อเทียบต่อปีลดลงร้อยละ 4.2 อยู่ที่ระดับ 17.97 ล้านกิโลลิตร หรือ 113 ล้านบาร์เรล (รอยเตอร์)
2. ญี่ปุ่นมิได้เข้าแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนในเดือนพ.ค. รายงานจากโตเกียวเมื่อ วันที่ 31 พ.ค. 47
ก.คลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่าในเดือนพ.ค. 47 ญี่ปุ่นไม่ได้เข้าแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนติดต่อกันเป็นเดือนที่สองหลังจากเมื่อปีที่
แล้วที่ญี่ปุ่นได้ใช้เงินจำนวนมากถึง 20 ล้าน ล้านเยนเข้าแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อให้เงินเยนอ่อนค่าลง โดยล่าสุดเมื่อ
วันที่ 16 มี.ค. ญี่ปุ่นได้เข้าแทรกแซงตลาดเมื่อเงินเยนแข็งค่าขึ้นถึงระดับ 108.60 เยนต่อ 1 ดอลลาร์สรอ. ทั้งนี้ในช่วง 3
เดือนแรกของปีนี้ญี่ปุ่นได้ใช้เงินสูงถึง 14.83 ล้านล้านเยน (134.5 พันล.ดอลลาร์สรอ.) ในการแทรกแซงค่าเงินเยน
(รอยเตอร์)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้ในเดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น รายงาน
จากโซล เมื่อ 1 มิ.ย.47 รัฐบาลเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า จากระดับราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในขณะนี้ส่งผลให้ดัชนี
ราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้ในเดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.3 แต่ก็ยังต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 3.5 ทั้งนี้ แม้ตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน พ.ค. จะไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนแต่ก็ยังคงเป็นภาวะที่น่ากังวล
เพราะหมายถึงการใช้จ่ายภายในประเทศที่ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว นอกจากนี้ เกาหลีใต้เป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก
จากราคาน้ำมันโลกที่สูงขึ้น เนื่องจากเป็นประเทศที่มีการนำเข้าน้ำมันมากที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ของโลก รวมทั้งนำเข้าน้ำมันดิบ
จากประเทศอื่น ๆ อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ภาวะเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ในขณะนี้ยังมีเสถียรภาพมากกว่าเมื่อ 6 เดือนที่ผ่านมา
เนื่องจากธุรกิจยังสามารถควบคุมต้นทุนวัตถุดิบไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคได้ เพราะการบริโภคในประเทศอยู่ในภาวะชะลอตัว
จึงทำให้ธุรกิจยังไม่สามารถปรับเพิ่มราคาสินค้าให้สูงขึ้น แต่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ภาวะเงินเฟ้อจะขยับตัวสูงขึ้นในอีก 2-3
เดือนข้างหน้า เพราะระดับราคาน้ำมันเริ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม จากระดับภาวะเงินเฟ้อที่น่ากังวลในขณะนี้ ทำให้
ธ.กลางเกาหลีใต้คาดว่าจะทบทวนตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคปี 47 เป็นครั้งที่ 2 ในเดือน ก.ค.ที่จะถึงนี้ โดยคาดว่าจะปรับเพิ่ม
ขึ้นเป็นร้อยละ 3.2 จากที่ประมาณการเมื่อเดือน เม.ย.47 ว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.9 (รอยเตอร์)
4. อิตาลีจะขาดดุล งปม. ปี 47 เกินกว่าเกณฑ์ที่อียูกำหนดไว้ที่ระดับร้อยละ 3 รายงานจากกรุงโรม เมื่อวันที่
31 พ.ค.47 Antonio Fazio ผู้ว่าการ ธ.กลางอิตาลี กล่าวในการแถลงการณ์ประจำปีว่า อิตาลีจะขาดดุล งปม. ปี 47
ร้อยละ 3.5 ของจีดีพี และจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.0 ในปี 48 ซึ่งสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่สหภาพยุโรปกำหนดไว้ที่ระดับไม่เกินร้อยละ
3.0 และยังพยากรณ์ต่อไปอีกว่าเศรษฐกิจของอิตาลีปี 47 จะเติบโตอย่างเชื่องช้าเพียงร้อยละ 1.0 ต่ำกว่าที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้
ที่ร้อยละ 1.2 แต่อาจจะเพิ่มเป็นร้อยละ 2.0 ในปี 48 ได้ถ้าสภาวะเศรษฐกิจโลกเอื้ออำนวย สำหรับแผนการลดภาษีเพื่อกระตุ้น
เศรษฐกิจมีโอกาสประสบผลสำเร็จเพียงเล็กน้อย เนื่องจากการลดภาษีจะทำให้รายได้ของรัฐลดลงจึงจำเป็นต้องมีการลดค่าใช้
จ่ายของภาครัฐลงด้วย ซึ่งเขากล่าวเพิ่มเติมว่าอิตาลีจำเป็นต้องกลับไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจโดยมีพื้นฐานความต้องการด้าน
การลงทุนเป็นหลัก แต่การใช้จ่ายด้านการลงทุนกลับมีน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ ในขณะที่ Silvio Berlusconi นรม.อิตาลี ได้
ปฏิเสธการพยากรณ์ของคณะกรรมการอียูที่ว่าอิตาลีจะฝ่าฝืนกฎเกณฑ์สนธิสัญญาความมั่นคงดังกล่าวที่กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้อง
รักษาระดับการขาดดุล งปม. ไม่เกินร้อยละ 3 ของจีดีพี โดยในปี 47 อิตาลีจะขาดดุล งปม. ร้อยละ 2.9 ต่ำกว่าเพดานที่
กำหนดไว้ร้อยละ 3.0 ส่วน Giulio Tremonti รมว.เศรษฐกิจของอิตาลี ยืนยันว่ารัฐบาลอิตาลีจะสามารถรักษาระดับการ
ขาดดุล งปม. ปีนี้ให้อยู่ในระดับไม่เกินเกณฑ์ที่อียูกำหนดได้อย่างแน่นอน (รอยเตอร์)
5. ธ.พาณิชย์ของสิงคโปร์ปล่อยสินเชื่อในเดือน เม.ย.47 ลดลง รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 31 พ.ค.47
ธ.พาณิชย์ของสิงคโปร์ปล่อยสินเชื่อในเดือน เม.ย.47 ลดลง หลังจากในไตรมาสแรกปีนี้เศรษฐกิจของสิงคโปร์ขยายตัวถึง
ร้อยละ 11.2 แต่หากเทียบต่อปีแล้ว ธ.พาณิชย์ของสิงคโปร์ปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 ในช่วงเวลา 1 ปีสิ้นสุดเดือน
เม.ย.47 ลดลงจากร้อยละ 7.6 ในช่วงเวลา 1 ปีสิ้นสุดเดือน มี.ค.47 โดยส่วนใหญ่มาจากการปล่อยสินเชื่อให้สถาบันการ
เงินอื่นและสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและการคมนาคมลดลง นักวิเคราะห์กล่าวว่าสาเหตุที่สินเชื่อที่ปล่อยให้สถาบันการเงินอื่นลดลง
มาจากธุรกรรมที่ลดลงในตลาดหุ้นและตลาดค้าเงิน โดยธุรกรรมในตลาดหุ้น มีจำนวน 15 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ในเดือน
เม.ย.47 ลดลงจาก 16.8 พันล้านเหรียญสิงคโปร์สในเดือน มี.ค.47 เช่นเดียวกับธุรกรรมในตลาดค้าเงินที่ลดลง 652
พันล้านเหรียญสิงคโปร์เหลือ 5.5 ล้านล้านเหรียญสิงคโปร์ในเดือน เม.ย.47 หลังจากที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือน
พ.ย.46 ตรงกันข้ามกับเงินให้สินเชื่อแก่อุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในเดือน เม.ย.47 แต่ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดผลผลิตอุตสาห
กรรมของสิงคโปร์ เนื่องจากอุตสาหกรรมในสิงคโปร์ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจข้ามชาติและเป็นเงินลงทุนจากต่างประเทศ ในขณะที่
สินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยในเดือน เม.ย.47 คงที่ จากการลดลงของการรีไฟแนนซ์ซึ่งเริ่มขึ้นในช่วงหลายเดือนก่อนเนื่องจาก
อัตราดอกเบี้ยลดลง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 1/6/47 31/5/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.512 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.3293/40.6118 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 641.05/18.30 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,450/7,550 7,450/7,550 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 34.79 34.75 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 17.59*/14.59 17.59*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 13 พ.ค..47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. เดือน เม.ย.47 ไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี แต่เศรษฐกิจยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
ผู้อำนวยการอาวุโส สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจเดือน เม.ย.47
ว่า ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมยังคงขยายตัวในอัตราที่ดี แม้การขยายตัวของภาคการผลิต การใช้จ่าย และการลงทุนจะชะลอตัวลง
จากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากความไม่เชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ แนวโน้ม
ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น และความหวั่นเกรงเรื่องการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย โดยด้านต่างประเทศ ไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัดครั้ง
แรกในรอบ 2 ปีจำนวน 19 ล.ดอลลาร์ สรอ. จากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น 30.4% มูลค่ารวม 7,459
ล.ดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและการส่งมอบน้ำมันที่เพิ่มขึ้นถึง 70.6% ขณะที่การส่งออกเพิ่มขึ้น 21%
มูลค่ารวม 7,102 ล.ดอลลาร์ สรอ. ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 357 ล.ดอลลาร์ สรอ. ส่วนดุลบริการเกินดุล 338 ล.บาท
จากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นมากถึง 93.6% จากปีก่อน ทั้งนี้ ธปท.เชื่อว่าสถานการณ์การขาดดุลดังกล่าวเป็นเพียง
ชั่วคราวเท่านั้น ด้านในประเทศ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจลดลงจากเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีความ
เชื่อมั่นทางธุรกิจอยู่ที่ระดับ 50.2 ลดลงจากระดับ 50.9 ในเดือนก่อน ซึ่งสอดคล้องกับดัชนีภาคอุปโภคบริโภคที่ขยายตัวลดลง
จากเดือนก่อนหน้า โดยขยายตัว 3.5% ลดลงจาก 4.1% และดัชนีการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัว 16.5% ลดลงจาก 23.7%
ในเดือนก่อน (โลกวันนี้)
2. ฟิทช์ปรับเพิ่มอันดับเครดิตแก่ ธพ.ขนาดใหญ่ของไทย ฟิทช์ บริษัทจัดอันดับเครดิตข้ามชาติ ประกาศเพิ่มอันดับ
เครดิตแก่ ธพ.ขนาดใหญ่ของไทย 3 แห่ง ได้แก่ ธ.กสิกรไทย ธ.ไทยพาณิชย์ และ ธ.กรุงไทย และปรับแนวโน้มอันดับเครดิต
ของ ธ.กรุงเทพเป็นบวก โดยมีสาเหตุจากความแข็งแกร่งทางการเงินของภาคธุรกิจธนาคารที่มีการฟื้นตัว จากการที่อัตราการ
เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น การปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาอสังหาริมทรัพย์และสินทรัพย์ และการเพิ่มขึ้น
ของการให้กู้ยืมในภาคธุรกิจและภาคผู้บริโภค สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการปรับตัวที่ดีขึ้นของผลประกอบการของ
ธพ.ไทย ได้แก่ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และหนี้ที่ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ที่ยังคงเหลืออยู่ในระบบ แรงกดดันที่มีต่ออัตรากำไร
จากการที่มีสภาพคล่องสูงในระบบ การแข่งขันของธนาคารรัฐ และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่อาจปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงระบบการ
ให้สินเชื่อที่ยังไม่รัดกุมเพียงพอ (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ก.พลังงานพิจารณาแนวทางการตรึงค่าเอฟทีเพื่อป้องกันผลกระทบต่อประชาชน รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า
ได้มอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ไปร่วมกันพิจารณาแนวทางการ
ตรึงค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) รอบใหม่ (มิ.ย.-ก.ย.47) ที่มีแนวโน้มจะต้องปรับเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1 สตางค์ต่อหน่วย
รวมถึงพิจารณาผลกระทบภาระค่าไฟฟ้าในรอบถัดไป (ต.ค.47-ม.ค.48) ที่มีแนวโน้มต้องพิจารณาปรับเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 9-10
สตางค์ต่อหน่วย ให้ปรับเพิ่มให้น้อยที่สุด เพื่อไม่ให้กระทบประชาชนและผู้ประกอบการในประเทศ ซึ่งจากการประเมินเบื้องต้น
ผลกระทบในรอบการพิจารณาที่จะถึงนี้มีเพียงเล็กน้อย จึงมีความเป็นไปได้ว่า กฟผ.และ ปตท. จะรับภาระดังกล่าว (โลกวันนี้)
4. กรมการค้าภายในกำหนดมาตรการกำกับดูแลราคาสินค้า อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ตามที่มีการคาด
การณ์ว่า ราคาสินค้าอาจจะปรับตัวสูงขึ้นจากภาวะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซหุงต้มที่ปรับตัวสูงขึ้น และหลังจากวันที่ 31 ก.ค.47
ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดการขอความร่วมมือผู้ผลิตในการตรึงราคาสินค้าไว้ 4 เดือนนับจากวันที่ 1 เม.ย.47 นั้น กรมการค้าภายในได้
กำหนดมาตรการในการกำกับดูแลราคาสินค้าไว้พร้อมแล้ว โดยขณะนี้ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ติดตามภาวะราคาสินค้าที่มีการจำหน่ายใน
ท้องตลาดอย่างใกล้ชิดทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยมีศูนย์บริหารจัดการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าทำหน้าที่เชื่อมโยงข้อมูลราคา
และสถานการณ์ในภาพรวมทั้งประเทศ เพื่อพร้อมแก้ไขปัญหาได้ทันที (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ญี่ปุ่นนำเข้าน้ำมันดิบในเดือนเม.ย. ลดลงร้อยละ 14.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน รายงานจากโตเกียวเมื่อ วันที่
31 พ.ค. 47 ก.เศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ในเดือนเม.ย.47 มีการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศ
ทั้งสิ้น 18.35 ล้านกิโลลิตร หรือ 115.42 ล้านบาร์เรล ลดลงจาก 21.82 กิโลลิตรในเดือนมี.ค. หรือลดลงร้อยละ 15.9
และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนลดลงร้อยละ 14.2 นับเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 เนื่องจากอุปสงค์
ในผลิตภัณฑ์น้ำมันในตลาดท้องถิ่นลดลง ทั้งนี้ยอดขายผลิตภัณฑ์น้ำมันในตลาดท้องถิ่นอยู่ในช่วงขาลงโดยในเดือนเม.ย.47 ยอดขาย
น้ำมันดังกล่าวเมื่อเทียบต่อปีลดลงร้อยละ 4.2 อยู่ที่ระดับ 17.97 ล้านกิโลลิตร หรือ 113 ล้านบาร์เรล (รอยเตอร์)
2. ญี่ปุ่นมิได้เข้าแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนในเดือนพ.ค. รายงานจากโตเกียวเมื่อ วันที่ 31 พ.ค. 47
ก.คลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่าในเดือนพ.ค. 47 ญี่ปุ่นไม่ได้เข้าแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนติดต่อกันเป็นเดือนที่สองหลังจากเมื่อปีที่
แล้วที่ญี่ปุ่นได้ใช้เงินจำนวนมากถึง 20 ล้าน ล้านเยนเข้าแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อให้เงินเยนอ่อนค่าลง โดยล่าสุดเมื่อ
วันที่ 16 มี.ค. ญี่ปุ่นได้เข้าแทรกแซงตลาดเมื่อเงินเยนแข็งค่าขึ้นถึงระดับ 108.60 เยนต่อ 1 ดอลลาร์สรอ. ทั้งนี้ในช่วง 3
เดือนแรกของปีนี้ญี่ปุ่นได้ใช้เงินสูงถึง 14.83 ล้านล้านเยน (134.5 พันล.ดอลลาร์สรอ.) ในการแทรกแซงค่าเงินเยน
(รอยเตอร์)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้ในเดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น รายงาน
จากโซล เมื่อ 1 มิ.ย.47 รัฐบาลเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า จากระดับราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในขณะนี้ส่งผลให้ดัชนี
ราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้ในเดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.3 แต่ก็ยังต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 3.5 ทั้งนี้ แม้ตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน พ.ค. จะไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนแต่ก็ยังคงเป็นภาวะที่น่ากังวล
เพราะหมายถึงการใช้จ่ายภายในประเทศที่ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว นอกจากนี้ เกาหลีใต้เป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก
จากราคาน้ำมันโลกที่สูงขึ้น เนื่องจากเป็นประเทศที่มีการนำเข้าน้ำมันมากที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ของโลก รวมทั้งนำเข้าน้ำมันดิบ
จากประเทศอื่น ๆ อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ภาวะเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ในขณะนี้ยังมีเสถียรภาพมากกว่าเมื่อ 6 เดือนที่ผ่านมา
เนื่องจากธุรกิจยังสามารถควบคุมต้นทุนวัตถุดิบไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคได้ เพราะการบริโภคในประเทศอยู่ในภาวะชะลอตัว
จึงทำให้ธุรกิจยังไม่สามารถปรับเพิ่มราคาสินค้าให้สูงขึ้น แต่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ภาวะเงินเฟ้อจะขยับตัวสูงขึ้นในอีก 2-3
เดือนข้างหน้า เพราะระดับราคาน้ำมันเริ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม จากระดับภาวะเงินเฟ้อที่น่ากังวลในขณะนี้ ทำให้
ธ.กลางเกาหลีใต้คาดว่าจะทบทวนตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคปี 47 เป็นครั้งที่ 2 ในเดือน ก.ค.ที่จะถึงนี้ โดยคาดว่าจะปรับเพิ่ม
ขึ้นเป็นร้อยละ 3.2 จากที่ประมาณการเมื่อเดือน เม.ย.47 ว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.9 (รอยเตอร์)
4. อิตาลีจะขาดดุล งปม. ปี 47 เกินกว่าเกณฑ์ที่อียูกำหนดไว้ที่ระดับร้อยละ 3 รายงานจากกรุงโรม เมื่อวันที่
31 พ.ค.47 Antonio Fazio ผู้ว่าการ ธ.กลางอิตาลี กล่าวในการแถลงการณ์ประจำปีว่า อิตาลีจะขาดดุล งปม. ปี 47
ร้อยละ 3.5 ของจีดีพี และจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.0 ในปี 48 ซึ่งสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่สหภาพยุโรปกำหนดไว้ที่ระดับไม่เกินร้อยละ
3.0 และยังพยากรณ์ต่อไปอีกว่าเศรษฐกิจของอิตาลีปี 47 จะเติบโตอย่างเชื่องช้าเพียงร้อยละ 1.0 ต่ำกว่าที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้
ที่ร้อยละ 1.2 แต่อาจจะเพิ่มเป็นร้อยละ 2.0 ในปี 48 ได้ถ้าสภาวะเศรษฐกิจโลกเอื้ออำนวย สำหรับแผนการลดภาษีเพื่อกระตุ้น
เศรษฐกิจมีโอกาสประสบผลสำเร็จเพียงเล็กน้อย เนื่องจากการลดภาษีจะทำให้รายได้ของรัฐลดลงจึงจำเป็นต้องมีการลดค่าใช้
จ่ายของภาครัฐลงด้วย ซึ่งเขากล่าวเพิ่มเติมว่าอิตาลีจำเป็นต้องกลับไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจโดยมีพื้นฐานความต้องการด้าน
การลงทุนเป็นหลัก แต่การใช้จ่ายด้านการลงทุนกลับมีน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ ในขณะที่ Silvio Berlusconi นรม.อิตาลี ได้
ปฏิเสธการพยากรณ์ของคณะกรรมการอียูที่ว่าอิตาลีจะฝ่าฝืนกฎเกณฑ์สนธิสัญญาความมั่นคงดังกล่าวที่กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้อง
รักษาระดับการขาดดุล งปม. ไม่เกินร้อยละ 3 ของจีดีพี โดยในปี 47 อิตาลีจะขาดดุล งปม. ร้อยละ 2.9 ต่ำกว่าเพดานที่
กำหนดไว้ร้อยละ 3.0 ส่วน Giulio Tremonti รมว.เศรษฐกิจของอิตาลี ยืนยันว่ารัฐบาลอิตาลีจะสามารถรักษาระดับการ
ขาดดุล งปม. ปีนี้ให้อยู่ในระดับไม่เกินเกณฑ์ที่อียูกำหนดได้อย่างแน่นอน (รอยเตอร์)
5. ธ.พาณิชย์ของสิงคโปร์ปล่อยสินเชื่อในเดือน เม.ย.47 ลดลง รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 31 พ.ค.47
ธ.พาณิชย์ของสิงคโปร์ปล่อยสินเชื่อในเดือน เม.ย.47 ลดลง หลังจากในไตรมาสแรกปีนี้เศรษฐกิจของสิงคโปร์ขยายตัวถึง
ร้อยละ 11.2 แต่หากเทียบต่อปีแล้ว ธ.พาณิชย์ของสิงคโปร์ปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 ในช่วงเวลา 1 ปีสิ้นสุดเดือน
เม.ย.47 ลดลงจากร้อยละ 7.6 ในช่วงเวลา 1 ปีสิ้นสุดเดือน มี.ค.47 โดยส่วนใหญ่มาจากการปล่อยสินเชื่อให้สถาบันการ
เงินอื่นและสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและการคมนาคมลดลง นักวิเคราะห์กล่าวว่าสาเหตุที่สินเชื่อที่ปล่อยให้สถาบันการเงินอื่นลดลง
มาจากธุรกรรมที่ลดลงในตลาดหุ้นและตลาดค้าเงิน โดยธุรกรรมในตลาดหุ้น มีจำนวน 15 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ในเดือน
เม.ย.47 ลดลงจาก 16.8 พันล้านเหรียญสิงคโปร์สในเดือน มี.ค.47 เช่นเดียวกับธุรกรรมในตลาดค้าเงินที่ลดลง 652
พันล้านเหรียญสิงคโปร์เหลือ 5.5 ล้านล้านเหรียญสิงคโปร์ในเดือน เม.ย.47 หลังจากที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือน
พ.ย.46 ตรงกันข้ามกับเงินให้สินเชื่อแก่อุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในเดือน เม.ย.47 แต่ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดผลผลิตอุตสาห
กรรมของสิงคโปร์ เนื่องจากอุตสาหกรรมในสิงคโปร์ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจข้ามชาติและเป็นเงินลงทุนจากต่างประเทศ ในขณะที่
สินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยในเดือน เม.ย.47 คงที่ จากการลดลงของการรีไฟแนนซ์ซึ่งเริ่มขึ้นในช่วงหลายเดือนก่อนเนื่องจาก
อัตราดอกเบี้ยลดลง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 1/6/47 31/5/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.512 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.3293/40.6118 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 641.05/18.30 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,450/7,550 7,450/7,550 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 34.79 34.75 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 17.59*/14.59 17.59*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 13 พ.ค..47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-