ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ เดือนพฤษภาคม 2547
กระทรวงพาณิชย์ ขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนพฤษภาคม 2547 โดยสรุป
จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 326 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่งการสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษา ฯลฯ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ได้ผลดังนี้
1.ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนพฤษภาคม 2547
ในปี 2541 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนพฤษภาคม 2547 เท่ากับ 108.9 สำหรับเดือนเมษายน 2547 เท่ากับ 108.5
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนพฤษภาคม 2547 เมื่อเทียบกับ
- เดือนเมษายน 2547 สูงขึ้นร้อยละ 0.4
- เดือนพฤษภาคม 2546 สูงขึ้นร้อยละ 2.4
- เดือนมกราคม — พฤษภาคม 2547 เทียบกับช่วงเดือนเดียวกันของปี 2546 สูงขึ้นร้อยละ 2.2
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนพฤษภาคม 2547 เทียบกับเดือนเมษายน 2547 สูงขึ้นร้อยละ 0.4 จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.3 และดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.5 โดยมีการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าที่สำคัญ ดังนี้
3.1 สินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.3
สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่
- ไข่ไก่ ปริมาณผลผลิตยังมีน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณความต้องการ
- ผักสด ได้แก่ กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ผักคะน้า ผักบุ้งจีน ผักชี ถั่วฝักยาว ต้นหอม และขิง สภาพอากาศที่แปรปรวนส่งผลกระทบให้พืชผักบางชนิดเสียหาย ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดลดลง
- อาหารสำเร็จรูป ได้แก่ กับข้าวสำเร็จรูป และข้าวผัด ผู้ประกอบการปรับราคาจำหน่ายสูงขึ้นตามภาวะต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่
- เนื้อสัตว์ ได้แก่ เนื้อสุกร ความต้องการเริ่มชะลอตัว จากการที่ราคาปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา และผู้บริโภคกลับไปบริโภคไก่เพิ่มขึ้น ประกอบกับภาครัฐบาลได้ขอความร่วมมือผู้ประกอบการตรึงราคาสุกรมีชีวิตไว้
- ผลไม้สด ได้แก่ ส้มเขียวหวาน เงาะ มะม่วง และทุเรียน เป็นช่วงฤดูกาลที่ผลผลิตผลไม้หลายชนิดออกสู่ตลาดพร้อมกัน และมีจำนวนมาก
3.2 สินค้าหมวดอื่นๆ ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.5
สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่
- ก๊าซหุงต้ม จาการที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง) ได้กำหนดราคาจำหน่าย ณ คลังก๊าซสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาจำหน่ายปลีกเพิ่มสูงขึ้น กก.ละ 1.00 บาท ตั้งแต่ 7 พฤษภาคม 2547
- น้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันเบนซินเป็นผลจากการที่รัฐบาลได้ปรับเพิ่มเพดานราคาน้ำมันขายปลีกสูงขึ้นลิตรละ 60 สตางค์ ตั้งแต่ 7 พฤษภาคม 2547
- การศึกษา ได้แก่ ค่าเล่าเรียน - ค่าธรรมเนียมมัธยมศึกษา และค่าลงทะเบียน -ค่าธรรมเนียมอุดมศึกษา จากการที่สถานศึกษาของเอกชนปรับค่าธรรมเนียมต่าง ๆ สูงขึ้น
สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่
- ค่าโดยสารสาธารณะ จากการที่ ขสมก. ได้ปรับลดอัตราค่าโดยสารรถประจำทางปรับอากาศยูโร ระยะ 4 กม. แรกจาก 12 บาท เหลือ 10 บาท ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2547
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศปี 2547 ( คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 235 รายการ ) คือดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และสินค้ากลุ่มพลังงานจำนวน 91 รายการ ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 25 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนพฤษภาคม 2547 เท่ากับ 104.9 เมื่อเทียบกับ
- เดือนเมษายน 2547 สูงขึ้นร้อยละ 0.3
- เดือนพฤษภาคม 2546 สูงขึ้นร้อยละ 0.5
- เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2547 เทียบกับช่วงเดือนเดียวกันของปี 2546 สูงขึ้นร้อยละ 0.2
--สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมการค้าภายใน--
-กภ-
กระทรวงพาณิชย์ ขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนพฤษภาคม 2547 โดยสรุป
จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 326 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่งการสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษา ฯลฯ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ได้ผลดังนี้
1.ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนพฤษภาคม 2547
ในปี 2541 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนพฤษภาคม 2547 เท่ากับ 108.9 สำหรับเดือนเมษายน 2547 เท่ากับ 108.5
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนพฤษภาคม 2547 เมื่อเทียบกับ
- เดือนเมษายน 2547 สูงขึ้นร้อยละ 0.4
- เดือนพฤษภาคม 2546 สูงขึ้นร้อยละ 2.4
- เดือนมกราคม — พฤษภาคม 2547 เทียบกับช่วงเดือนเดียวกันของปี 2546 สูงขึ้นร้อยละ 2.2
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนพฤษภาคม 2547 เทียบกับเดือนเมษายน 2547 สูงขึ้นร้อยละ 0.4 จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.3 และดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.5 โดยมีการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าที่สำคัญ ดังนี้
3.1 สินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.3
สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่
- ไข่ไก่ ปริมาณผลผลิตยังมีน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณความต้องการ
- ผักสด ได้แก่ กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ผักคะน้า ผักบุ้งจีน ผักชี ถั่วฝักยาว ต้นหอม และขิง สภาพอากาศที่แปรปรวนส่งผลกระทบให้พืชผักบางชนิดเสียหาย ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดลดลง
- อาหารสำเร็จรูป ได้แก่ กับข้าวสำเร็จรูป และข้าวผัด ผู้ประกอบการปรับราคาจำหน่ายสูงขึ้นตามภาวะต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่
- เนื้อสัตว์ ได้แก่ เนื้อสุกร ความต้องการเริ่มชะลอตัว จากการที่ราคาปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา และผู้บริโภคกลับไปบริโภคไก่เพิ่มขึ้น ประกอบกับภาครัฐบาลได้ขอความร่วมมือผู้ประกอบการตรึงราคาสุกรมีชีวิตไว้
- ผลไม้สด ได้แก่ ส้มเขียวหวาน เงาะ มะม่วง และทุเรียน เป็นช่วงฤดูกาลที่ผลผลิตผลไม้หลายชนิดออกสู่ตลาดพร้อมกัน และมีจำนวนมาก
3.2 สินค้าหมวดอื่นๆ ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.5
สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่
- ก๊าซหุงต้ม จาการที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง) ได้กำหนดราคาจำหน่าย ณ คลังก๊าซสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาจำหน่ายปลีกเพิ่มสูงขึ้น กก.ละ 1.00 บาท ตั้งแต่ 7 พฤษภาคม 2547
- น้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันเบนซินเป็นผลจากการที่รัฐบาลได้ปรับเพิ่มเพดานราคาน้ำมันขายปลีกสูงขึ้นลิตรละ 60 สตางค์ ตั้งแต่ 7 พฤษภาคม 2547
- การศึกษา ได้แก่ ค่าเล่าเรียน - ค่าธรรมเนียมมัธยมศึกษา และค่าลงทะเบียน -ค่าธรรมเนียมอุดมศึกษา จากการที่สถานศึกษาของเอกชนปรับค่าธรรมเนียมต่าง ๆ สูงขึ้น
สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่
- ค่าโดยสารสาธารณะ จากการที่ ขสมก. ได้ปรับลดอัตราค่าโดยสารรถประจำทางปรับอากาศยูโร ระยะ 4 กม. แรกจาก 12 บาท เหลือ 10 บาท ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2547
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศปี 2547 ( คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 235 รายการ ) คือดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และสินค้ากลุ่มพลังงานจำนวน 91 รายการ ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 25 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนพฤษภาคม 2547 เท่ากับ 104.9 เมื่อเทียบกับ
- เดือนเมษายน 2547 สูงขึ้นร้อยละ 0.3
- เดือนพฤษภาคม 2546 สูงขึ้นร้อยละ 0.5
- เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2547 เทียบกับช่วงเดือนเดียวกันของปี 2546 สูงขึ้นร้อยละ 0.2
--สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมการค้าภายใน--
-กภ-