เศรษฐกิจภาคเหนือเดือนเมษายนขยายตัวต่อเนื่องแต่ในอัตราที่ชะลอลงเล็กน้อย โดยมีแรงขับเคลื่อนจากการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนและภาคบริการที่อยู่ในเกณฑ์ดี การขยายตัวต่อเนื่องของอุปสงค์จากต่างประเทศส่งผลดีต่อการส่งออกและการผลิตภาคอุตสาหกรรม ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐมีส่วนกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการขยายตัวของงบลงทุน อย่างไรก็ตามการลงทุนภาคเอกชนชะลอลงตามการลงทุนก่อสร้างเนื่องจากราคาเหล็กอยู่ในเกณฑ์สูง ส่วนรายได้เกษตรกรแม้ว่าจะไม่ขยายตัวแต่มีแนวโน้มดีขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของราคาพืชสำคัญ ภาวะการผลิตและการใช้จ่ายที่น่าพอใจส่งผลให้ระดับราคาเพิ่มขึ้นและอัตราการว่างงานอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ขณะที่สินเชื่อของสาขาธนาคารพาณิชย์ขยายตัวดีสนับสนุนการส่งออกและการขยายตัวของที่อยู่อาศัย
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจในเดือนเมษายน 2547 มีดังนี้
1. ภาคเกษตร ผลผลิตพืชโดยรวมลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.8 ตามการลดลงของผลผลิตข้าว นาปรังเป็นสำคัญ จากการที่ทางการควบคุมปริมาณการปลูกพืชฤดูแล้งโดยเฉพาะข้าวนาปรัง เนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำสำคัญลดลงมาก ขณะที่กระเทียมมีผลผลิตและพื้นที่เพาะปลูกลดลง สืบเนื่องจากทางการมีนโยบายสนับสนุนค่าปัจจัยการผลิตพืชทดแทนกระเทียมซึ่งประสบปัญหาการแข่งขันด้านราคากับสินค้านำเข้า ด้านราคาพืชผลสำคัญเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเพียงร้อยละ 0.5 ตามราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ถั่วเหลืองคละ และถั่วเขียวผิวมัน ที่ขยายตัวตามความต้องการจากต่างประเทศขณะที่ผลผลิตในตลาดโลกอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ผลผลิตพืชสำคัญที่ลดลงและราคาที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยส่งผลให้รายได้เกษตรลดลงร้อยละ 2.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน
2. ภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวโดยมูลค่าการผลิตและส่งออกจากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 37.9 ตามความต้องการสินค้าใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีสูงในต่างประเทศ เช่น จอภาพพลาสมาและอุปกรณ์ที่ใช้ในทีวีซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการในยุโรปเพื่อรองรับเทศกาลการแข่งขันฟุตบอลยูโร และกุญแจอิเล็กทรอนิกส์สำหรับรถยนต์คุณภาพสูง ส่งผลให้อุตสาหกรรมส่งออกบางแห่งวางแผนขยายกำลังการผลิต ส่วนการผลิตน้ำตาลลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 72.4 เนื่องจากปริมาณอ้อยลดลงเพราะโรงงานน้ำตาลปิดหีบอ้อยเร็วกว่าปีก่อน
3. ภาคบริการ ขยายตัวดีเนื่องจากไม่ประสบปัญหาความกังวลเกี่ยวกับโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) เช่นในปีก่อน กิจกรรมภาคบริการขยายตัวจากการจัดงานส่งเสริมการท่องเที่ยวในเทศกาลสงกรานต์ การเยี่ยมชมหมีแพนด้าที่ดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว และการเดินทางด้วยสายการบินราคาประหยัด (Low Fare Airline) ทำให้จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 49.2 โดยเพิ่มขึ้นมากที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่และเชียงราย ขณะที่อัตราการเข้าพักเฉลี่ยและราคาห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 43.0 และ 863.20 บาทต่อห้องต่อคืนในระยะเดียวกันปีก่อนเป็นร้อยละ 49.2 และ 954.60 บาทต่อห้องต่อคืน
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ชะลอลงแต่อยู่ในเกณฑ์ดี สภาวะแวดล้อมทางการเงินที่เอื้ออำนวยทั้งอัตราดอกเบี้ยต่ำ การเข้าถึงสินเชื่ออุปโภคบริโภค และเงื่อนไขการผ่อนชำระที่จูงใจ รวมทั้งการออกยานยนต์รุ่นใหม่เป็นปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้การใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าคงทนขยายตัวต่อเนื่อง กิจกรรมการอุปโภคบริโภคสำคัญได้แก่ ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ชะลอลงจากเดือนก่อนซึ่งเป็นสถิติสูงสุดในรอบ 8 เดือนแต่อยู่ในระดับดีและเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน ยอดจดทะเบียนรถยนต์ชะลอลงโดยขยายตัวร้อยละ 46.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ขยายตัวมากในภาคเหนือตอนบน สำหรับการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนเร่งตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีโดยปริมาณการใช้ในเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.4 ตามความต้องการใช้ไฟฟ้าที่ขยายตัวในทุกจังหวัดภาคเหนือเนื่องจากสภาพอากาศร้อนจัด
5. การลงทุนภาคเอกชน ชะลอลงตามการลงทุนก่อสร้างที่ได้รับผลกระทบจากราคาเหล็กซึ่งอยู่ในเกณฑ์สูงส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนของภาคธุรกิจและประชาชน แต่สำหรับการลงทุนก่อสร้างในจังหวัดสำคัญ อาทิ เชียงใหม่ นครสวรรค์ และพิษณุโลก ยังมีสัญญาณที่ดี กิจกรรมการลงทุนก่อสร้างทุกรายการชะลอลง ค่าธรรมเนียมขายและขายฝากที่ดินที่ขยายตัวสูงในเดือนก่อนจากปัจจัยชั่วคราวกลับมาสู่ระดับปกติและเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.5 พื้นที่ก่อสร้างรับอนุญาตในเขตเทศบาลชะลอลงตามพื้นที่ก่อสร้างฯ ประเภทพาณิชยกรรมเป็นสำคัญ ขณะที่ประเภทที่อยู่อาศัยขยายตัวดีและประเภทบริการและขนส่งเพิ่มขึ้นมากในจังหวัดเชียงใหม่ สำหรับกิจกรรมการลงทุนผลิต เช่น เงินลงทุนของโรงงานอุตสาหกรรมตั้งใหม่ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนแต่จัดว่าอยู่ในระดับปกติ โดยกระจุกตัวอยู่ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตร ส่วนสัญญาณการลงทุนผลิตที่พิจารณาจากเงินลงทุนของโครงการได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน แสดงถึงความสนใจลงทุนผลิตเพื่อสนองความต้องการในประเทศ เช่น บริการสาธารณูปโภค การทำเหมืองแร่ และการผลิตสินค้าเกี่ยวเนื่องกับการเกษตร
6. การคลัง การเบิกจ่ายงบประมาณผ่านคลังจังหวัดในภาคเหนือเร่งตัวโดยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 10.2 เป็น 9,632.2 ล้านบาท ตามการขยายตัวในหมวดรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 และร้อยละ 31.8 เป็นผลจากการเบิกจ่ายขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็นสำคัญโดยเฉพาะในจังหวัดนครสวรรค์ ตาก และพิจิตร ด้านการจัดเก็บรายได้ชะลอลงจากเดือนก่อนโดยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.8 เป็น 1,328.9 ล้านบาท โดยการจัดเก็บภาษีจากฐานรายได้และจากฐานการบริโภคเพิ่มขึ้น ดุลในงบประมาณขาดดุล 8,303.3 ล้านบาท ลดลงจากที่ขาดดุล 9,481.1 ล้านบาทเดือนก่อนและ 7,444.5 ล้านบาท ระยะเดียวกันปีก่อน
7. การค้าต่างประเทศ มูลค่าส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือขยายตัวต่อเนื่องโดยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 38.4 เป็น 171.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการขยายตัวของมูลค่าส่งออกของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพื่อสนองความต้องการสินค้าเทคโนโลยีใหม่ในต่างประเทศ โดยเฉพาะจอภาพพลาสมา อุปกรณ์ที่ใช้ในทีวี และกุญแจอิเล็กทรอนิกส์สำหรับรถยนต์ขยายตัวดี สำหรับมูลค่าส่งออกชายแดนขยายตัวสูงเนื่องจากทางการพม่าผ่อนคลายความเข้มงวดการนำเข้าสินค้า ส่งผลให้มูลค่าส่งออกไปพม่าเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวจากสินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องใช้ในครัวเรือน และรถจักรยานยนต์ อย่างไรก็ตามอุปสรรคในการขนส่งสินค้าทางน้ำทำให้มูลค่าส่งออกไปจีนตอนใต้ลดลง ขณะที่มูลค่าส่งออกไปลาวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากราคาสินค้าไทยในลาวสูงขึ้นมากจากการที่ทางการลาวจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้น
มูลค่านำเข้าขยายตัวต่อเนื่องสอดคล้องกับการส่งออก โดยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 37.8 เป็น 109.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเป็นสำคัญ ส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบและเครื่องจักรใหม่ สำหรับมูลค่านำเข้าผ่านชายแดนเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวตามการขยายตัวของการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 3 ประเทศ มูลค่า นำเข้าจากพม่าเพิ่มขึ้นเกือบสามเท่าจากความต้องการปลาสดและผลิตภัณฑ์ปลาที่ขยายตัวมาก ขณะที่มูลค่านำเข้าจากจีนตอนใต้เพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าจากความต้องการสินค้าประเภทไม้สักและไม้อื่นๆ แปรรูป ส่วนมูลค่านำเข้าจากลาวขยายตัวตามความต้องการลิกไนต์ ไม้แปรรูป และกระเทียม การส่งออกที่เร่งตัวกว่าการนำเข้าส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 61.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากที่เกินดุล 44.1 ล้านดอลลาร์ สรอ.ในเดือนเดียวกันปีก่อน
8. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเร่งตัวต่อเนื่องโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน ราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7.0 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาเนื้อสัตว์ ไก่ ไข่ และผักสด เป็นสำคัญเนื่องจากปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อยกว่าความต้องการบริโภค การบริโภคเนื้อไก่และไข่ไก่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเพราะความกังวลเรื่องการระบาดของไข้หวัดนกในสัตว์ปีกผ่อนคลายลง ราคาหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 ตามราคาไฟฟ้าต่อหน่วยที่สูงขึ้นจากการปรับเพิ่มค่าเอฟที สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานอยู่ในเกณฑ์ต่ำและลดลงร้อยละ 0.2 จากระยะเดียวกันปีก่อนตามค่าเช่าบ้านที่ยังคงลดลงต่อเนื่อง
9. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรของสำนักงานสถิติแห่งชาติเดือนมีนาคม 2547 พบว่าภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวม 6.3 ล้านคน ประกอบด้วยผู้มีงานทำ 6.2 ล้านคน และผู้ว่างงาน 0.1 ล้านคน ภาวะการมีงานทำปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยอัตราการจ้างงานอยู่ที่ร้อยละ 97.1 สูงกว่าร้อยละ 95.8 ในเดือนเดียวกันปีก่อน เนื่องจากการจ้างงานนอกภาคเกษตรขยายตัวโดยเฉพาะภาคก่อสร้าง การขายส่ง-ขายปลีก และการท่องเที่ยว ขณะที่การจ้างงานในภาคเกษตรมีแนวโน้มดีขึ้นแม้ว่ายังไม่ขยายตัว อัตราการว่างงานจึงอยู่ในเกณฑ์ต่ำที่ร้อยละ 1.6 ลดลงจากร้อยละ 2.9 ในระยะเดียวกันปีก่อน
10. การเงิน ณ สิ้นเดือนเมษายน 2547 ยอดคงค้างเงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.7 เป็น 285,427 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเนื่องจากรายได้จากผลผลิตข้าวนาปรังอยู่ในเกณฑ์ดีทำให้เงินฝากขยายตัวในจังหวัดกำแพงเพชร อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์ ด้านเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 205,970 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.9 ตามการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อแก่อุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก และสินเชื่อแก่สหกรณ์ออมทรัพย์ครูในบางจังหวัด
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคเหนือ--
-ยก-
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจในเดือนเมษายน 2547 มีดังนี้
1. ภาคเกษตร ผลผลิตพืชโดยรวมลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.8 ตามการลดลงของผลผลิตข้าว นาปรังเป็นสำคัญ จากการที่ทางการควบคุมปริมาณการปลูกพืชฤดูแล้งโดยเฉพาะข้าวนาปรัง เนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำสำคัญลดลงมาก ขณะที่กระเทียมมีผลผลิตและพื้นที่เพาะปลูกลดลง สืบเนื่องจากทางการมีนโยบายสนับสนุนค่าปัจจัยการผลิตพืชทดแทนกระเทียมซึ่งประสบปัญหาการแข่งขันด้านราคากับสินค้านำเข้า ด้านราคาพืชผลสำคัญเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเพียงร้อยละ 0.5 ตามราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ถั่วเหลืองคละ และถั่วเขียวผิวมัน ที่ขยายตัวตามความต้องการจากต่างประเทศขณะที่ผลผลิตในตลาดโลกอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ผลผลิตพืชสำคัญที่ลดลงและราคาที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยส่งผลให้รายได้เกษตรลดลงร้อยละ 2.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน
2. ภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวโดยมูลค่าการผลิตและส่งออกจากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 37.9 ตามความต้องการสินค้าใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีสูงในต่างประเทศ เช่น จอภาพพลาสมาและอุปกรณ์ที่ใช้ในทีวีซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการในยุโรปเพื่อรองรับเทศกาลการแข่งขันฟุตบอลยูโร และกุญแจอิเล็กทรอนิกส์สำหรับรถยนต์คุณภาพสูง ส่งผลให้อุตสาหกรรมส่งออกบางแห่งวางแผนขยายกำลังการผลิต ส่วนการผลิตน้ำตาลลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 72.4 เนื่องจากปริมาณอ้อยลดลงเพราะโรงงานน้ำตาลปิดหีบอ้อยเร็วกว่าปีก่อน
3. ภาคบริการ ขยายตัวดีเนื่องจากไม่ประสบปัญหาความกังวลเกี่ยวกับโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) เช่นในปีก่อน กิจกรรมภาคบริการขยายตัวจากการจัดงานส่งเสริมการท่องเที่ยวในเทศกาลสงกรานต์ การเยี่ยมชมหมีแพนด้าที่ดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว และการเดินทางด้วยสายการบินราคาประหยัด (Low Fare Airline) ทำให้จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 49.2 โดยเพิ่มขึ้นมากที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่และเชียงราย ขณะที่อัตราการเข้าพักเฉลี่ยและราคาห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 43.0 และ 863.20 บาทต่อห้องต่อคืนในระยะเดียวกันปีก่อนเป็นร้อยละ 49.2 และ 954.60 บาทต่อห้องต่อคืน
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ชะลอลงแต่อยู่ในเกณฑ์ดี สภาวะแวดล้อมทางการเงินที่เอื้ออำนวยทั้งอัตราดอกเบี้ยต่ำ การเข้าถึงสินเชื่ออุปโภคบริโภค และเงื่อนไขการผ่อนชำระที่จูงใจ รวมทั้งการออกยานยนต์รุ่นใหม่เป็นปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้การใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าคงทนขยายตัวต่อเนื่อง กิจกรรมการอุปโภคบริโภคสำคัญได้แก่ ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ชะลอลงจากเดือนก่อนซึ่งเป็นสถิติสูงสุดในรอบ 8 เดือนแต่อยู่ในระดับดีและเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน ยอดจดทะเบียนรถยนต์ชะลอลงโดยขยายตัวร้อยละ 46.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ขยายตัวมากในภาคเหนือตอนบน สำหรับการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนเร่งตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีโดยปริมาณการใช้ในเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.4 ตามความต้องการใช้ไฟฟ้าที่ขยายตัวในทุกจังหวัดภาคเหนือเนื่องจากสภาพอากาศร้อนจัด
5. การลงทุนภาคเอกชน ชะลอลงตามการลงทุนก่อสร้างที่ได้รับผลกระทบจากราคาเหล็กซึ่งอยู่ในเกณฑ์สูงส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนของภาคธุรกิจและประชาชน แต่สำหรับการลงทุนก่อสร้างในจังหวัดสำคัญ อาทิ เชียงใหม่ นครสวรรค์ และพิษณุโลก ยังมีสัญญาณที่ดี กิจกรรมการลงทุนก่อสร้างทุกรายการชะลอลง ค่าธรรมเนียมขายและขายฝากที่ดินที่ขยายตัวสูงในเดือนก่อนจากปัจจัยชั่วคราวกลับมาสู่ระดับปกติและเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.5 พื้นที่ก่อสร้างรับอนุญาตในเขตเทศบาลชะลอลงตามพื้นที่ก่อสร้างฯ ประเภทพาณิชยกรรมเป็นสำคัญ ขณะที่ประเภทที่อยู่อาศัยขยายตัวดีและประเภทบริการและขนส่งเพิ่มขึ้นมากในจังหวัดเชียงใหม่ สำหรับกิจกรรมการลงทุนผลิต เช่น เงินลงทุนของโรงงานอุตสาหกรรมตั้งใหม่ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนแต่จัดว่าอยู่ในระดับปกติ โดยกระจุกตัวอยู่ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตร ส่วนสัญญาณการลงทุนผลิตที่พิจารณาจากเงินลงทุนของโครงการได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน แสดงถึงความสนใจลงทุนผลิตเพื่อสนองความต้องการในประเทศ เช่น บริการสาธารณูปโภค การทำเหมืองแร่ และการผลิตสินค้าเกี่ยวเนื่องกับการเกษตร
6. การคลัง การเบิกจ่ายงบประมาณผ่านคลังจังหวัดในภาคเหนือเร่งตัวโดยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 10.2 เป็น 9,632.2 ล้านบาท ตามการขยายตัวในหมวดรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 และร้อยละ 31.8 เป็นผลจากการเบิกจ่ายขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็นสำคัญโดยเฉพาะในจังหวัดนครสวรรค์ ตาก และพิจิตร ด้านการจัดเก็บรายได้ชะลอลงจากเดือนก่อนโดยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.8 เป็น 1,328.9 ล้านบาท โดยการจัดเก็บภาษีจากฐานรายได้และจากฐานการบริโภคเพิ่มขึ้น ดุลในงบประมาณขาดดุล 8,303.3 ล้านบาท ลดลงจากที่ขาดดุล 9,481.1 ล้านบาทเดือนก่อนและ 7,444.5 ล้านบาท ระยะเดียวกันปีก่อน
7. การค้าต่างประเทศ มูลค่าส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือขยายตัวต่อเนื่องโดยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 38.4 เป็น 171.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการขยายตัวของมูลค่าส่งออกของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพื่อสนองความต้องการสินค้าเทคโนโลยีใหม่ในต่างประเทศ โดยเฉพาะจอภาพพลาสมา อุปกรณ์ที่ใช้ในทีวี และกุญแจอิเล็กทรอนิกส์สำหรับรถยนต์ขยายตัวดี สำหรับมูลค่าส่งออกชายแดนขยายตัวสูงเนื่องจากทางการพม่าผ่อนคลายความเข้มงวดการนำเข้าสินค้า ส่งผลให้มูลค่าส่งออกไปพม่าเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวจากสินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องใช้ในครัวเรือน และรถจักรยานยนต์ อย่างไรก็ตามอุปสรรคในการขนส่งสินค้าทางน้ำทำให้มูลค่าส่งออกไปจีนตอนใต้ลดลง ขณะที่มูลค่าส่งออกไปลาวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากราคาสินค้าไทยในลาวสูงขึ้นมากจากการที่ทางการลาวจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้น
มูลค่านำเข้าขยายตัวต่อเนื่องสอดคล้องกับการส่งออก โดยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 37.8 เป็น 109.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเป็นสำคัญ ส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบและเครื่องจักรใหม่ สำหรับมูลค่านำเข้าผ่านชายแดนเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวตามการขยายตัวของการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 3 ประเทศ มูลค่า นำเข้าจากพม่าเพิ่มขึ้นเกือบสามเท่าจากความต้องการปลาสดและผลิตภัณฑ์ปลาที่ขยายตัวมาก ขณะที่มูลค่านำเข้าจากจีนตอนใต้เพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าจากความต้องการสินค้าประเภทไม้สักและไม้อื่นๆ แปรรูป ส่วนมูลค่านำเข้าจากลาวขยายตัวตามความต้องการลิกไนต์ ไม้แปรรูป และกระเทียม การส่งออกที่เร่งตัวกว่าการนำเข้าส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 61.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากที่เกินดุล 44.1 ล้านดอลลาร์ สรอ.ในเดือนเดียวกันปีก่อน
8. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเร่งตัวต่อเนื่องโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน ราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7.0 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาเนื้อสัตว์ ไก่ ไข่ และผักสด เป็นสำคัญเนื่องจากปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อยกว่าความต้องการบริโภค การบริโภคเนื้อไก่และไข่ไก่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเพราะความกังวลเรื่องการระบาดของไข้หวัดนกในสัตว์ปีกผ่อนคลายลง ราคาหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 ตามราคาไฟฟ้าต่อหน่วยที่สูงขึ้นจากการปรับเพิ่มค่าเอฟที สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานอยู่ในเกณฑ์ต่ำและลดลงร้อยละ 0.2 จากระยะเดียวกันปีก่อนตามค่าเช่าบ้านที่ยังคงลดลงต่อเนื่อง
9. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรของสำนักงานสถิติแห่งชาติเดือนมีนาคม 2547 พบว่าภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวม 6.3 ล้านคน ประกอบด้วยผู้มีงานทำ 6.2 ล้านคน และผู้ว่างงาน 0.1 ล้านคน ภาวะการมีงานทำปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยอัตราการจ้างงานอยู่ที่ร้อยละ 97.1 สูงกว่าร้อยละ 95.8 ในเดือนเดียวกันปีก่อน เนื่องจากการจ้างงานนอกภาคเกษตรขยายตัวโดยเฉพาะภาคก่อสร้าง การขายส่ง-ขายปลีก และการท่องเที่ยว ขณะที่การจ้างงานในภาคเกษตรมีแนวโน้มดีขึ้นแม้ว่ายังไม่ขยายตัว อัตราการว่างงานจึงอยู่ในเกณฑ์ต่ำที่ร้อยละ 1.6 ลดลงจากร้อยละ 2.9 ในระยะเดียวกันปีก่อน
10. การเงิน ณ สิ้นเดือนเมษายน 2547 ยอดคงค้างเงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.7 เป็น 285,427 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเนื่องจากรายได้จากผลผลิตข้าวนาปรังอยู่ในเกณฑ์ดีทำให้เงินฝากขยายตัวในจังหวัดกำแพงเพชร อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์ ด้านเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 205,970 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.9 ตามการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อแก่อุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก และสินเชื่อแก่สหกรณ์ออมทรัพย์ครูในบางจังหวัด
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคเหนือ--
-ยก-