เดือนพฤษภาคม 2547 ภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงขยายตัวจากการผลิตนอกภาคเกษตรเป็นสำคัญ โดยการใช้จ่ายภาคเอกชนเพิ่มขึ้น เห็นได้จากปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อ ที่อยู่อาศัย การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม การจดทะเบียนรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนที่ยังมีทิศทางที่ขยายตัว ภาคการก่อสร้าง ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเกือบ ทุกสาขา โดยเฉพาะการผลิตผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง อุตสาหกรรมผลิตวัสดุก่อสร้าง อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ในขณะที่อุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษลดลง ความต้องการแรงงานมีเพิ่มขึ้น ภาคการคลังรัฐบาล การจัดเก็บรายได้ และการเบิกจ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน ภาคเกษตรราคาข้าวเปลือกปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน แต่ยังคงสูงกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่วนราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนตามความต้องการของตลาด อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นร้อยละ 3.3 การค้าชายแดนไทย-ลาว และไทย-กัมพูชายังคงขยายตัว
1. ภาคการเกษตร
ข้าว ในเดือนพฤษภาคมชาวนาเริ่มเตรียมดินเพื่อทำนาฤดูการใหม่ ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 9,353 บาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.1 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนสูงขึ้นร้อยละ 19.1 ราคา ข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดยาว) ตันละ 6,441 บาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.7 แต่เมื่อเทียบกับในเดือนเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2
มันสำปะหลัง การผลิตมันสำปะหลังฤดูการผลิต 2546/2547 อยู่ในช่วงปลายของการเก็บเกี่ยว กสิกรขุดมันสำปะหลังออกจำหน่ายแล้วประมาณร้อยละ 80 ส่วนมันสำปะหลังฤดูใหม่อยู่ระหว่างเติบโต ราคาขายส่งเฉลี่ยหัวมันสำปะหลังเดือนนี้กิโลกรัมละ 0.84 บาท เทียบกับในเดือนเดียวกันของปีก่อนกิโลกรัมละ 0.90 บาท ลดลงร้อยละ 6.7 แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนซึ่งกิโลกรัมละ 0.79 บาท สูงขึ้นกิโลกรัมละ 6.3 เนื่องจากหัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดลดลง ราคาขายส่งเฉลี่ยมันเส้นกิโลกรัมละ 2.11 บาท ลดลงจากในเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.1 เทียบกับเดือนก่อนกิโลกรัมละ 1.94 บาท สูงขึ้นร้อยละ 8.8
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนนี้กิโลกรัมละ 5.10 บาท ทรงตัวเท่ากับเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับในเดือนเดียวกันของปีก่อนกิโลกรัมละ 4.60 บาท สูงขึ้นร้อยละ 10.9
2. การใช้จ่ายภาคเอกชน เดือนนี้เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน โดยพิจารณาจากปริมาณการใช้ไฟฟ้า เพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากกิจการผลิตเบียร์ กิจการจำหน่ายสุราและเบียร์ รวมทั้งห้างสรรพสินค้ารายใหญ่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
ด้านรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.3 ตามการแข่งขันของตลาดรถยนต์ แม้ว่าจะลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 8.9 และร้อยละ 2.0 ตามลำดับ ส่วนรถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.2 ผลจากการแข่งขันของตัวแทนจำหน่ายรถจักรยานยนต์ที่ยังรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับผู้ปกครองนักเรียน ซื้อรถจักรยานยนต์ให้แก่บุตรหลานในช่วงเปิดเทอมใหม่เพิ่มขึ้น
3. การลงทุนภาคเอกชน ยังมีทิศทางที่ดีต่อเนื่อง โดยโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุน การจดทะเบียนธุรกิจตั้งใหม่และการใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น
โครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมีจำนวน 6 โครงการ เงินลงทุน 1,378 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 50.0 และร้อยละ 129.3 โครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในหมวด อุตสาหกรรมเกษตรและผลิตผลจากการเกษตร ได้แก่ โรงสีข้าวคุณภาพดี โครงการแปรรูปจากผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง โครงการผลิต แอลกอฮอล์บริสุทธิ์ และประเภทอื่นๆ ได้แก่ โครงการผลิตยากำจัดวัชพืช โครงการผลิตเครื่องเอ็กซเรย์สินค้า และโครงการผลิตท่อเหล็กไร้สนิม
สำหรับธุรกิจที่ขอจดทะเบียนธุรกิจตั้งใหม่ในเดือนนี้ เพิ่มขึ้น โดยทุนจดทะเบียนบริษัทจำกัด และห้างหุ้นส่วนจำกัด เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 32.2 และร้อยละ 7.5 ตามลำดับ ประเภทของธุรกิจที่สำคัญ ได้แก่ กิจการรับเหมาก่อสร้าง กิจการค้าวัสดุก่อสร้าง กิจการจำหน่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง และกิจการจำหน่ายสินค้าเกษตรและอุปกรณ์ทางการเกษตร เป็นต้น เป็นที่น่าสังเกตว่าจังหวัดในแถบชายแดน ได้แก่ จังหวัดหนองคายและอุบลราชธานี มีการจดทะเบียนธุรกิจประเภท นำเข้า-ส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้น ตามการขยายตัวของการค้าไทย-สปป.ลาว และ โรงสีข้าวในบริเวณทางอีสานตอนใต้ของภาคฯ ซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญของภาค มีการขยายการลงทุนเพิ่มขึ้นสูงมาก
สำหรับการใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1
4. ภาคการก่อสร้าง พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลนครและเทศบาลเมืองของภาคฯ เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่ง เป็นผลจากมีแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินการเงิน ได้แก่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารออมสิน และธนาคารพาณิชย์สนับสนุน โดยส่วนใหญ่ยังคงเป็นการก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยตามสวัสดิการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ซึ่งขยายโครงการ ไปจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2547 และในวันที่ 2 กรกฎาคม 2547 ธอส.จะร่วมมือกับ กบข. เปิดโครงการรีไฟแนนซ์เงินกู้ที่อยู่อาศัยสำหรับสมาชิก กบข. โดยลักษณะของโครงการนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ รีไฟแนนซ์สมาชิก กบข. ที่เป็นลูกค้าของ ธอส.เดิม และ รีไฟแนนซ์ ลูกค้าใหม่ ที่ย้ายมาจากสถาบันการเงินอื่น ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อเนื่องโครงการสินเชื่อ กบข. โดยมีปัจจัยสนับสนุน ในเรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ยังคงต่ำต่อเนื่องถึงปัจจุบันและเป็นปัจจัยให้ผู้ประกอบการและผู้สนใจลงทุนในด้านที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปีที่แล้ว เนื่องจากบ้านที่สร้างเสร็จนั้นในตลาดผู้บริโภคยังมีความต้องการเพื่ออยู่อาศัย อีกทั้งการลงทุนในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยให้ผลตอบแทนสูงดีกว่าการฝากเงิน กับสถาบันการเงินในปัจจุบัน
ทั้งนี้ พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในภาคฯเดือนนี้จำนวน 176,364 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ28.5 จากระยะเดียวกันของปีก่อน จังหวัดอุบลราชธานีเป็นจังหวัดที่มีการขอรับอนุญาตก่อสร้างมากที่สุดในเดือนนี้คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.1 โดยการขอรับอนุญาตก่อสร้างในภาคฯ แบ่งตามวัตถุประสงค์เพื่อที่อยู่อาศัยสัดส่วนร้อยละ63.5 ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา พื้นที่เพื่อการพาณิชย์สัดส่วนร้อยละ 24.1 ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดเลย เพื่อการบริการสัดส่วนร้อยละ 10.7 ส่วนใหญ่การขออนุญาต เพื่อสร้างโรงแรมในจังหวัดชัยภูมิและหอพักในจังหวัดอุบลราชธานี
5. การผลิตภาคอุตสาหกรรม ในเดือนนี้การผลิตของอุตสาหกรรมที่สำคัญของภาคฯ เพิ่มขึ้นในหลายประเภทอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมแป้งมัน อุตสาหกรรมผลิตวัสดุก่อสร้าง อุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป โดยบางแห่งมีการผลิตเต็มกำลังการผลิต ถึงกับมีแผนที่จะขยายการลงทุนในปีนี้
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง มีการผลิตเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมแป้งมัน เนื่องจากมีคำสั่งซื้อจากจีนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง จากการขยายการผลิตของอุตสาหกรรมกระดาษในประเทศจีน โรงงานจึงเร่งซื้อหัวมันจำนวนมาก เดือนนี้หัวมันออกสู่ตลาดน้อย ส่วนมันเส้นและมันอัดเม็ดตลาดต่างประเทศได้ชะลอการสั่งซื้อ เพื่อรอดูผลผลิตธัญพืชในประเทศของตน เนื่องจากใกล้ถึงฤดูการเก็บเกี่ยว ทำให้การผลิตในช่วงนี้ลดลง อย่างไรก็ตามโรงงานมันอัดเม็ด และลานมันเส้นยังต้องแข่งขันกันรับซื้อ หัวมันสำปะหลังกับโรงงานแป้งมันซึ่งให้ราคารับซื้อที่สูงกว่า
สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม มีปริมาณการผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1 โดยเฉพาะเบียร์ ซึ่งมีการขยายตลาด เพิ่มขึ้น ในส่วนการผลิตเยื่อกระดาษ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.3
6. ภาคการจ้างงาน
การจัดหางานของภาคฯ เดือนนี้เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนมีตำแหน่งงานว่างจำนวน 15,470 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.1 ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดขอนแก่น หนองคาย และอุดรธานี ผู้สมัครงานจำนวน 9,730 คนเพิ่มขึ้นร้อยละ 75.6 ส่วนใหญ่เป็นผู้สมัครงานในจังหวัดนครราชสีมา อุดรธานีและศรีษะเกษ ส่วนผู้ที่ได้รับการบรรจุเข้าทำงาน จำนวน 3,108 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 142.1 ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา และศรีษะเกษ ซึ่งคิดเป็นอัตราการบรรจุต่อตำแหน่งงานว่างร้อยละ 20.1 ความต้องการแรงงานส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมการผลิต การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ อายุของแรงงานที่ต้องการ อยู่ระหว่าง 18 |24 ปี ผู้สมัครงานและได้รับการบรรจุเข้าทำงานมากที่สุด ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา
แรงงานที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศเดือนนี้จำนวน 7,970 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ25.9 จากระยะเดียวกันของปีก่อน อุดรธานีเป็นจังหวัดที่มีแรงงานเดินทางไปทำงานต่างประเทศมากที่สุดในภาคฯ จำนวน 1,663 คน รองลงมานครราชสีมา 1,167 คน และขอนแก่น 770 คน ประเทศที่แรงงานในภาคฯเดินทางไปทำงานมากที่สุด คือ ไต้หวัน จำนวน 4,221 คน รองลงมา อิสราเอล 900 คน สิงคโปร์ 813 คน บรูไน 453 คน เกาหลีใต้ 375 คน และญี่ปุ่น 111 คน รวมจำนวนแรงงานที่เดินทางไปทำงานใน 6 ประเทศ จำนวน 6,873 คน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 86.2 ของแรงงานทั้งภาคฯ ที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศเดือนนี้
7. การค้าชายแดน ขยายตัวทั้งด้านไทย-ลาว และไทย-กัมพูชา เนื่องจากประเทศทั้งสองยังมีความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคสูง ส่วนสินค้าส่งออกยังคงเป็นไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้
7.1 การค้าชายแดนไทย-ลาว
มูลค่าการค้าชายแดนไทย-ลาวในเดือนพฤษภาคม 1,987.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นการส่งออก 1,589.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 การนำเข้า 397.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3
สินค้าส่งออกสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค (ผงซักฟอก ผงชูรส ขนม ฯลฯ) 242.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เหล็กและเหล็กกล้า 60.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ผ้าผืน 93.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.6 ส่วนสินค้าส่งออก ที่ลดลง ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า 102.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.3 ยานพาหนะและอุปกรณ์ 124.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 16.5 วัสดุก่อสร้าง 71.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 47.8
สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 324.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 สินแร่ 24.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว
การค้าผ่านแดนไทย-ลาว
การค้าผ่านแดนไทยไปลาว 849.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 87.3 สินค้าสำคัญที่เพิ่มขึ้นสูงถึง ได้แก่ วัสดุก่อสร้าง 136.5 ล้านบาท เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนที่นำเข้าลาวเพียง 1.9 ล้านบาท ผ้าและอุปกรณ์ตัดเย็บ 125.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.2 บุหรี่ 128.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว เครื่องดื่ม (สุรา) 31.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0
สินค้าผ่านแดนจากลาวไปประเทศที่สาม 579.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.4 สินค้าสำคัญที่ลดลง คือ เมล็ดกาแฟ 29.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 63.2 เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย 502.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.8 ส่วนสินค้าที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ไม้แปรรูป 35.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
7.2 การค้าชายแดนไทย-กัมพูชา มูลค่าการค้าเดือนพฤษภาคม 2547 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีมูลค่าการค้า 2,042.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2 แยกเป็นการส่งออก 1,941.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 330.9 ล้านบาท สินค้าบริโภค 225.7 ล้านบาท วัสดุก่อสร้าง 174.6 ล้านบาท น้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงอื่น ๆ 148.3 ล้านบาท ส่วนสินค้านำเข้า 100.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.9 ที่สำคัญยังคงเป็นไม้และผลิตภัณฑ์ไม้มูลค่า 19.6 ล้านบาท
8. ภาคการเงิน ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2547 ธนาคารพาณิชย์ในภาคฯมีสาขาทั้งสิ้น 486 สำนักงาน (รวมสาขาย่อย 58 สำนักงาน) เพิ่มขึ้น 1 สำนักงาน ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาย่อยเทสโก้ โลตัส จังหวัดมุกดาหาร
จากข้อมูลเบื้องต้น ธนาคารพาณิชย์ในภาคฯมีเงินฝากคงค้าง 272,660 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 จากระยะ เดียวกันของปีก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อน ในขณะที่สินเชื่อคงค้าง 219,661 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 จากระยะเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์ และสินเชื่อเพื่อการเลี้ยงสัตว์ ทั้งนี้ อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากปีก่อนจากอัตราส่วนร้อยละ 75.0 มาอยู่ที่ร้อยละ 80.6 ในเดือนนี้
จากข้อมูลเบื้องต้นเดือนนี้ธนาคารออมสินในภาคฯ มีเงินฝากคงค้าง 47,665.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับ ระยะเดียวกันของปีก่อน
สินเชื่อธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส) ในภาคฯ เดือนนี้มีสินเชื่อคงค้าง 95,531.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 จากระยะเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นจากการกู้หลังจากสิ้นสุดโครงการพักชำระหนี้ และลดภาระหนี้เกษตรกร
ธนาคารอาคารสงเคราะห์สินเชื่อคงค้าง 44,519.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.2 จากระยะเดียวกันของปีก่อน และร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยจังหวัดที่มีการอนุมัติสินเชื่อเพิ่มขึ้นสูงสุดในเดือนนี้ ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ รองลงมา ได้แก่ มหาสารคาม นครราชสีมา และยโสธร
สินเชื่อธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฯ (ธพว.) ในเดือนนี้มียอดอนุมัติสินเชื่อ 129.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 341.3 หรือประมาณ 4.4 เท่าเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน สินเชื่อสำคัญที่มีการอนุมัติในเดือนนี้ ได้แก่ สินเชื่อประเภทฟาร์มเลี้ยงไก่ โรงแรม ห้างสรรพสินค้า โรงสีข้าว หอพัก และสถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
สินเชื่อของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT) ในเดือนนี้มียอดอนุมัติสินเชื่อ 242.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 48.7 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ สินเชื่อสำคัญที่มีการอนุมัติในเดือนนี้ได้แก่ สินเชื่ออุตสาหกรรมการ ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โรงสีข้าว ฟาร์มสุกร โรงงานแป้งข้าวเจ้า เป็นต้น
9. ภาคการคลัง เดือนนี้การจัดเก็บรายได้ในภาคฯ รวมทั้งสิ้น 1,610.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 19.0 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 70.9 เป็นผลจากการจัดเก็บภาษีตามแบบ ภ.ง.ด.50 ของรอบบัญชี ปี 2546 เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากโรงงานสุรา กิจการรับเหมาก่อสร้าง และกิจการซื้อขายรถยนต์ ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากกิจการผลิตเบียร์ กิจการจำหน่ายสุราและเบียร์ รวมทั้ง
ห้างสรรพสินค้ารายใหญ่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
ด้านการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ 13,091.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เป็นการเบิกของรายจ่ายประจำ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 ขณะที่รายจ่ายลงทุนลดลงร้อยละ 14.0 เนื่องจากการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนลดลงร้อยละ 25.9 ผลจากการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลดลง
สำหรับอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2547 ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2547 นั้น มีผลการเบิกจ่าย คิดเป็นร้อยละ 82.5 ของวงเงินประจำงวดที่ได้รับอนุมัติซึ่งมีอัตราส่วนการเบิกจ่ายสูงกว่าระยะเดียวกันของปีก่อน (อัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 79.3) เป็นการเบิกจ่ายงบประจำร้อยละ 91.8 ของวงเงินประจำงวดฯ (ปีก่อนอัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 93.0)และงบลงทุนเบิกจ่ายร้อยละ 62.6 (ปีก่อนอัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 51.0)
10. ระดับราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในภาคฯสูงขึ้นร้อยละ 3.3 จากระยะเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 7.0 โดยสินค้าสำคัญ สินค้าที่มีราคาสูงขึ้นได้แก่เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ เนื่องจากผู้บริโภคหันมาบริโภคเนื้อไก่มากขึ้น หลังจากระยะก่อนผู้บริโภคไม่กล้าบริโภคสัตว์ปีกจากปัญหาไข้หวัดนก แต่ปริมาณไก่และเป็ดที่เข้าสู่ตลาดยังมีน้อย ผักสดแปรรูปและอื่น ๆ เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนส่งผลให้พืชผักบางชนิดเสียหาย ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดลดลง เป็นเหตุให้ราคาผักสดปรับราคาสูงขึ้นได้แก่ผักชี ผักคะน้า กะหล่ำปลี ขิง ต้นหอม ผักกาดขาวและมะเขือเทศ ข้าว แป้งและ ผลิตภัณฑ์จากแป้ง สูงขึ้นตามราคาข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกเหนียว ข้าวสารเจ้าและข้าวสารเหนียว ที่มีราคาสูงขึ้น และราคาสินค้า ในหมวดอื่น ๆ ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ1.2 สินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้นเป็นสินค้าในหมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร โดยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงจากการที่รัฐบาลได้ปรับราคา น้ำมันเบนซิน 91 และ 95 สูงขึ้นลิตรละ 60 สตางค์ ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2547 และสินค้าในหมวดเคหสถาน โดยก๊าซหุงต้ม มีราคาสูงขึ้นกิโลกรัมละ 1 บาท ตามการปรับราคาจำหน่าย ณ คลังก๊าซ ตามที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.) ได้กำหนดตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2547
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-
1. ภาคการเกษตร
ข้าว ในเดือนพฤษภาคมชาวนาเริ่มเตรียมดินเพื่อทำนาฤดูการใหม่ ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 9,353 บาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.1 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนสูงขึ้นร้อยละ 19.1 ราคา ข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดยาว) ตันละ 6,441 บาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.7 แต่เมื่อเทียบกับในเดือนเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2
มันสำปะหลัง การผลิตมันสำปะหลังฤดูการผลิต 2546/2547 อยู่ในช่วงปลายของการเก็บเกี่ยว กสิกรขุดมันสำปะหลังออกจำหน่ายแล้วประมาณร้อยละ 80 ส่วนมันสำปะหลังฤดูใหม่อยู่ระหว่างเติบโต ราคาขายส่งเฉลี่ยหัวมันสำปะหลังเดือนนี้กิโลกรัมละ 0.84 บาท เทียบกับในเดือนเดียวกันของปีก่อนกิโลกรัมละ 0.90 บาท ลดลงร้อยละ 6.7 แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนซึ่งกิโลกรัมละ 0.79 บาท สูงขึ้นกิโลกรัมละ 6.3 เนื่องจากหัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดลดลง ราคาขายส่งเฉลี่ยมันเส้นกิโลกรัมละ 2.11 บาท ลดลงจากในเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.1 เทียบกับเดือนก่อนกิโลกรัมละ 1.94 บาท สูงขึ้นร้อยละ 8.8
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนนี้กิโลกรัมละ 5.10 บาท ทรงตัวเท่ากับเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับในเดือนเดียวกันของปีก่อนกิโลกรัมละ 4.60 บาท สูงขึ้นร้อยละ 10.9
2. การใช้จ่ายภาคเอกชน เดือนนี้เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน โดยพิจารณาจากปริมาณการใช้ไฟฟ้า เพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากกิจการผลิตเบียร์ กิจการจำหน่ายสุราและเบียร์ รวมทั้งห้างสรรพสินค้ารายใหญ่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
ด้านรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.3 ตามการแข่งขันของตลาดรถยนต์ แม้ว่าจะลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 8.9 และร้อยละ 2.0 ตามลำดับ ส่วนรถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.2 ผลจากการแข่งขันของตัวแทนจำหน่ายรถจักรยานยนต์ที่ยังรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับผู้ปกครองนักเรียน ซื้อรถจักรยานยนต์ให้แก่บุตรหลานในช่วงเปิดเทอมใหม่เพิ่มขึ้น
3. การลงทุนภาคเอกชน ยังมีทิศทางที่ดีต่อเนื่อง โดยโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุน การจดทะเบียนธุรกิจตั้งใหม่และการใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น
โครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมีจำนวน 6 โครงการ เงินลงทุน 1,378 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 50.0 และร้อยละ 129.3 โครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในหมวด อุตสาหกรรมเกษตรและผลิตผลจากการเกษตร ได้แก่ โรงสีข้าวคุณภาพดี โครงการแปรรูปจากผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง โครงการผลิต แอลกอฮอล์บริสุทธิ์ และประเภทอื่นๆ ได้แก่ โครงการผลิตยากำจัดวัชพืช โครงการผลิตเครื่องเอ็กซเรย์สินค้า และโครงการผลิตท่อเหล็กไร้สนิม
สำหรับธุรกิจที่ขอจดทะเบียนธุรกิจตั้งใหม่ในเดือนนี้ เพิ่มขึ้น โดยทุนจดทะเบียนบริษัทจำกัด และห้างหุ้นส่วนจำกัด เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 32.2 และร้อยละ 7.5 ตามลำดับ ประเภทของธุรกิจที่สำคัญ ได้แก่ กิจการรับเหมาก่อสร้าง กิจการค้าวัสดุก่อสร้าง กิจการจำหน่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง และกิจการจำหน่ายสินค้าเกษตรและอุปกรณ์ทางการเกษตร เป็นต้น เป็นที่น่าสังเกตว่าจังหวัดในแถบชายแดน ได้แก่ จังหวัดหนองคายและอุบลราชธานี มีการจดทะเบียนธุรกิจประเภท นำเข้า-ส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้น ตามการขยายตัวของการค้าไทย-สปป.ลาว และ โรงสีข้าวในบริเวณทางอีสานตอนใต้ของภาคฯ ซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญของภาค มีการขยายการลงทุนเพิ่มขึ้นสูงมาก
สำหรับการใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1
4. ภาคการก่อสร้าง พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลนครและเทศบาลเมืองของภาคฯ เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่ง เป็นผลจากมีแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินการเงิน ได้แก่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารออมสิน และธนาคารพาณิชย์สนับสนุน โดยส่วนใหญ่ยังคงเป็นการก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยตามสวัสดิการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ซึ่งขยายโครงการ ไปจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2547 และในวันที่ 2 กรกฎาคม 2547 ธอส.จะร่วมมือกับ กบข. เปิดโครงการรีไฟแนนซ์เงินกู้ที่อยู่อาศัยสำหรับสมาชิก กบข. โดยลักษณะของโครงการนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ รีไฟแนนซ์สมาชิก กบข. ที่เป็นลูกค้าของ ธอส.เดิม และ รีไฟแนนซ์ ลูกค้าใหม่ ที่ย้ายมาจากสถาบันการเงินอื่น ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อเนื่องโครงการสินเชื่อ กบข. โดยมีปัจจัยสนับสนุน ในเรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ยังคงต่ำต่อเนื่องถึงปัจจุบันและเป็นปัจจัยให้ผู้ประกอบการและผู้สนใจลงทุนในด้านที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปีที่แล้ว เนื่องจากบ้านที่สร้างเสร็จนั้นในตลาดผู้บริโภคยังมีความต้องการเพื่ออยู่อาศัย อีกทั้งการลงทุนในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยให้ผลตอบแทนสูงดีกว่าการฝากเงิน กับสถาบันการเงินในปัจจุบัน
ทั้งนี้ พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในภาคฯเดือนนี้จำนวน 176,364 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ28.5 จากระยะเดียวกันของปีก่อน จังหวัดอุบลราชธานีเป็นจังหวัดที่มีการขอรับอนุญาตก่อสร้างมากที่สุดในเดือนนี้คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.1 โดยการขอรับอนุญาตก่อสร้างในภาคฯ แบ่งตามวัตถุประสงค์เพื่อที่อยู่อาศัยสัดส่วนร้อยละ63.5 ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา พื้นที่เพื่อการพาณิชย์สัดส่วนร้อยละ 24.1 ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดเลย เพื่อการบริการสัดส่วนร้อยละ 10.7 ส่วนใหญ่การขออนุญาต เพื่อสร้างโรงแรมในจังหวัดชัยภูมิและหอพักในจังหวัดอุบลราชธานี
5. การผลิตภาคอุตสาหกรรม ในเดือนนี้การผลิตของอุตสาหกรรมที่สำคัญของภาคฯ เพิ่มขึ้นในหลายประเภทอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมแป้งมัน อุตสาหกรรมผลิตวัสดุก่อสร้าง อุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป โดยบางแห่งมีการผลิตเต็มกำลังการผลิต ถึงกับมีแผนที่จะขยายการลงทุนในปีนี้
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง มีการผลิตเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมแป้งมัน เนื่องจากมีคำสั่งซื้อจากจีนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง จากการขยายการผลิตของอุตสาหกรรมกระดาษในประเทศจีน โรงงานจึงเร่งซื้อหัวมันจำนวนมาก เดือนนี้หัวมันออกสู่ตลาดน้อย ส่วนมันเส้นและมันอัดเม็ดตลาดต่างประเทศได้ชะลอการสั่งซื้อ เพื่อรอดูผลผลิตธัญพืชในประเทศของตน เนื่องจากใกล้ถึงฤดูการเก็บเกี่ยว ทำให้การผลิตในช่วงนี้ลดลง อย่างไรก็ตามโรงงานมันอัดเม็ด และลานมันเส้นยังต้องแข่งขันกันรับซื้อ หัวมันสำปะหลังกับโรงงานแป้งมันซึ่งให้ราคารับซื้อที่สูงกว่า
สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม มีปริมาณการผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1 โดยเฉพาะเบียร์ ซึ่งมีการขยายตลาด เพิ่มขึ้น ในส่วนการผลิตเยื่อกระดาษ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.3
6. ภาคการจ้างงาน
การจัดหางานของภาคฯ เดือนนี้เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนมีตำแหน่งงานว่างจำนวน 15,470 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.1 ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดขอนแก่น หนองคาย และอุดรธานี ผู้สมัครงานจำนวน 9,730 คนเพิ่มขึ้นร้อยละ 75.6 ส่วนใหญ่เป็นผู้สมัครงานในจังหวัดนครราชสีมา อุดรธานีและศรีษะเกษ ส่วนผู้ที่ได้รับการบรรจุเข้าทำงาน จำนวน 3,108 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 142.1 ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา และศรีษะเกษ ซึ่งคิดเป็นอัตราการบรรจุต่อตำแหน่งงานว่างร้อยละ 20.1 ความต้องการแรงงานส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมการผลิต การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ อายุของแรงงานที่ต้องการ อยู่ระหว่าง 18 |24 ปี ผู้สมัครงานและได้รับการบรรจุเข้าทำงานมากที่สุด ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา
แรงงานที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศเดือนนี้จำนวน 7,970 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ25.9 จากระยะเดียวกันของปีก่อน อุดรธานีเป็นจังหวัดที่มีแรงงานเดินทางไปทำงานต่างประเทศมากที่สุดในภาคฯ จำนวน 1,663 คน รองลงมานครราชสีมา 1,167 คน และขอนแก่น 770 คน ประเทศที่แรงงานในภาคฯเดินทางไปทำงานมากที่สุด คือ ไต้หวัน จำนวน 4,221 คน รองลงมา อิสราเอล 900 คน สิงคโปร์ 813 คน บรูไน 453 คน เกาหลีใต้ 375 คน และญี่ปุ่น 111 คน รวมจำนวนแรงงานที่เดินทางไปทำงานใน 6 ประเทศ จำนวน 6,873 คน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 86.2 ของแรงงานทั้งภาคฯ ที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศเดือนนี้
7. การค้าชายแดน ขยายตัวทั้งด้านไทย-ลาว และไทย-กัมพูชา เนื่องจากประเทศทั้งสองยังมีความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคสูง ส่วนสินค้าส่งออกยังคงเป็นไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้
7.1 การค้าชายแดนไทย-ลาว
มูลค่าการค้าชายแดนไทย-ลาวในเดือนพฤษภาคม 1,987.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นการส่งออก 1,589.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 การนำเข้า 397.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3
สินค้าส่งออกสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค (ผงซักฟอก ผงชูรส ขนม ฯลฯ) 242.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เหล็กและเหล็กกล้า 60.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ผ้าผืน 93.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.6 ส่วนสินค้าส่งออก ที่ลดลง ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า 102.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.3 ยานพาหนะและอุปกรณ์ 124.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 16.5 วัสดุก่อสร้าง 71.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 47.8
สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 324.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 สินแร่ 24.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว
การค้าผ่านแดนไทย-ลาว
การค้าผ่านแดนไทยไปลาว 849.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 87.3 สินค้าสำคัญที่เพิ่มขึ้นสูงถึง ได้แก่ วัสดุก่อสร้าง 136.5 ล้านบาท เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนที่นำเข้าลาวเพียง 1.9 ล้านบาท ผ้าและอุปกรณ์ตัดเย็บ 125.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.2 บุหรี่ 128.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว เครื่องดื่ม (สุรา) 31.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0
สินค้าผ่านแดนจากลาวไปประเทศที่สาม 579.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.4 สินค้าสำคัญที่ลดลง คือ เมล็ดกาแฟ 29.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 63.2 เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย 502.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.8 ส่วนสินค้าที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ไม้แปรรูป 35.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
7.2 การค้าชายแดนไทย-กัมพูชา มูลค่าการค้าเดือนพฤษภาคม 2547 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีมูลค่าการค้า 2,042.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2 แยกเป็นการส่งออก 1,941.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 330.9 ล้านบาท สินค้าบริโภค 225.7 ล้านบาท วัสดุก่อสร้าง 174.6 ล้านบาท น้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงอื่น ๆ 148.3 ล้านบาท ส่วนสินค้านำเข้า 100.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.9 ที่สำคัญยังคงเป็นไม้และผลิตภัณฑ์ไม้มูลค่า 19.6 ล้านบาท
8. ภาคการเงิน ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2547 ธนาคารพาณิชย์ในภาคฯมีสาขาทั้งสิ้น 486 สำนักงาน (รวมสาขาย่อย 58 สำนักงาน) เพิ่มขึ้น 1 สำนักงาน ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาย่อยเทสโก้ โลตัส จังหวัดมุกดาหาร
จากข้อมูลเบื้องต้น ธนาคารพาณิชย์ในภาคฯมีเงินฝากคงค้าง 272,660 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 จากระยะ เดียวกันของปีก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อน ในขณะที่สินเชื่อคงค้าง 219,661 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 จากระยะเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์ และสินเชื่อเพื่อการเลี้ยงสัตว์ ทั้งนี้ อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากปีก่อนจากอัตราส่วนร้อยละ 75.0 มาอยู่ที่ร้อยละ 80.6 ในเดือนนี้
จากข้อมูลเบื้องต้นเดือนนี้ธนาคารออมสินในภาคฯ มีเงินฝากคงค้าง 47,665.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับ ระยะเดียวกันของปีก่อน
สินเชื่อธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส) ในภาคฯ เดือนนี้มีสินเชื่อคงค้าง 95,531.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 จากระยะเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นจากการกู้หลังจากสิ้นสุดโครงการพักชำระหนี้ และลดภาระหนี้เกษตรกร
ธนาคารอาคารสงเคราะห์สินเชื่อคงค้าง 44,519.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.2 จากระยะเดียวกันของปีก่อน และร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยจังหวัดที่มีการอนุมัติสินเชื่อเพิ่มขึ้นสูงสุดในเดือนนี้ ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ รองลงมา ได้แก่ มหาสารคาม นครราชสีมา และยโสธร
สินเชื่อธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฯ (ธพว.) ในเดือนนี้มียอดอนุมัติสินเชื่อ 129.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 341.3 หรือประมาณ 4.4 เท่าเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน สินเชื่อสำคัญที่มีการอนุมัติในเดือนนี้ ได้แก่ สินเชื่อประเภทฟาร์มเลี้ยงไก่ โรงแรม ห้างสรรพสินค้า โรงสีข้าว หอพัก และสถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
สินเชื่อของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT) ในเดือนนี้มียอดอนุมัติสินเชื่อ 242.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 48.7 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ สินเชื่อสำคัญที่มีการอนุมัติในเดือนนี้ได้แก่ สินเชื่ออุตสาหกรรมการ ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โรงสีข้าว ฟาร์มสุกร โรงงานแป้งข้าวเจ้า เป็นต้น
9. ภาคการคลัง เดือนนี้การจัดเก็บรายได้ในภาคฯ รวมทั้งสิ้น 1,610.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 19.0 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 70.9 เป็นผลจากการจัดเก็บภาษีตามแบบ ภ.ง.ด.50 ของรอบบัญชี ปี 2546 เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากโรงงานสุรา กิจการรับเหมาก่อสร้าง และกิจการซื้อขายรถยนต์ ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากกิจการผลิตเบียร์ กิจการจำหน่ายสุราและเบียร์ รวมทั้ง
ห้างสรรพสินค้ารายใหญ่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
ด้านการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ 13,091.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เป็นการเบิกของรายจ่ายประจำ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 ขณะที่รายจ่ายลงทุนลดลงร้อยละ 14.0 เนื่องจากการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนลดลงร้อยละ 25.9 ผลจากการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลดลง
สำหรับอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2547 ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2547 นั้น มีผลการเบิกจ่าย คิดเป็นร้อยละ 82.5 ของวงเงินประจำงวดที่ได้รับอนุมัติซึ่งมีอัตราส่วนการเบิกจ่ายสูงกว่าระยะเดียวกันของปีก่อน (อัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 79.3) เป็นการเบิกจ่ายงบประจำร้อยละ 91.8 ของวงเงินประจำงวดฯ (ปีก่อนอัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 93.0)และงบลงทุนเบิกจ่ายร้อยละ 62.6 (ปีก่อนอัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 51.0)
10. ระดับราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในภาคฯสูงขึ้นร้อยละ 3.3 จากระยะเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 7.0 โดยสินค้าสำคัญ สินค้าที่มีราคาสูงขึ้นได้แก่เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ เนื่องจากผู้บริโภคหันมาบริโภคเนื้อไก่มากขึ้น หลังจากระยะก่อนผู้บริโภคไม่กล้าบริโภคสัตว์ปีกจากปัญหาไข้หวัดนก แต่ปริมาณไก่และเป็ดที่เข้าสู่ตลาดยังมีน้อย ผักสดแปรรูปและอื่น ๆ เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนส่งผลให้พืชผักบางชนิดเสียหาย ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดลดลง เป็นเหตุให้ราคาผักสดปรับราคาสูงขึ้นได้แก่ผักชี ผักคะน้า กะหล่ำปลี ขิง ต้นหอม ผักกาดขาวและมะเขือเทศ ข้าว แป้งและ ผลิตภัณฑ์จากแป้ง สูงขึ้นตามราคาข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกเหนียว ข้าวสารเจ้าและข้าวสารเหนียว ที่มีราคาสูงขึ้น และราคาสินค้า ในหมวดอื่น ๆ ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ1.2 สินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้นเป็นสินค้าในหมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร โดยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงจากการที่รัฐบาลได้ปรับราคา น้ำมันเบนซิน 91 และ 95 สูงขึ้นลิตรละ 60 สตางค์ ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2547 และสินค้าในหมวดเคหสถาน โดยก๊าซหุงต้ม มีราคาสูงขึ้นกิโลกรัมละ 1 บาท ตามการปรับราคาจำหน่าย ณ คลังก๊าซ ตามที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.) ได้กำหนดตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2547
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-