เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 มีการขยายตัวในเกณฑ์ที่ดีมาก แม้ต้องประสบกับปัญหาไขหวัดนก และความไม่สงบในภาคใต้ อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ก็มีการปรับตัวดีขึ้น อัตราการใช้กำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรมหลังจากที่มีการตกต่ำมาเป็นเวลานาน ก็มีการกระเตื้องขึ้นมากในปี 2546 และใน ไตรมาสแรกของปีนี้ จนอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับอัตราการใช้กำลังการผลิตในช่วงก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ
สถานการณ์เศรษฐกิจโลกในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 ก็มีการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง ภาวะเงินฝืดในประเทศต่างๆคลี่คลายลง ด้วยแรงกระตุ้นจากอุปสงค์ในประเทศ เศรษฐกิจในประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นคู่ค้าที่สำคัญของไทย เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน และประเทศอื่นๆในเอเชียรวมทั้งประเทศในกลุ่มอาเซียน ต่างก็มีการปรับตัวดีขึ้น แม้จีนจะปรับลดเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจลง เพื่อลดความร้อนแรงและเน้นให้มีเสถียรภาพมากขึ้น แต่เศรษฐกิจจีนก็ยังคงมีการขยายตัวในอัตราสูง อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปยังคงมีอัตราการขยายตัวต่ำ มีการว่างงานสูง การอุปโภคบริโภคยังไม่มีการฟื้นตัวที่ชัดเจน
สำหรับเศรษฐกิจไทย ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในปี 2546 มีการขยายตัวในอัตรา ร้อยละ 6.7 สูงกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ในช่วงต้นปี ในปี 2547 นี้รัฐบาลมีการตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอัตราร้อยละ 8 สถาบันต่างๆก็มีการพยากรณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะมีอัตราการขยายตัวที่สูงขึ้นจากการที่เศรษฐกิจโลกมีการฟื้นตัว และสถานการณ์ภายในประเทศที่ยังคงมีความมั่นคง แต่เมื่อมีการเกิดการระบาดของไข้หวัดนก และเกิดปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ประกอบกับการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมัน ทำให้หลายฝ่ายเริ่มมีความเชื่อมั่นต่อการบรรลุเป้าหมายการขยายตัวที่มีการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตามจากการที่เศรษฐกิจไทยยังคงมีการขยายตัวในอัตราสูงใน ไตรมาสแรกทั้งๆที่ต้องประสบกับปัญหานานาประการ น่าจะเป็นที่เชื่อได้ว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2547 นี้จะยังมีอัตราสูงต่อเนื่องจากปีก่อน
สำหรับภาคอุตสาหกรรม จากผลการสำรวจของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ในไตรมาสแรกของปี 2547 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมยังคงเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 4.21 และเมื่อเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 9.8 ดัชนีการส่งสินค้าก็มีการเพิ่มขึ้นในลักษณะเดียวกัน อัตราการใช้กำลังการผลิตของอุตสาหกรรมต่างๆ ส่วนใหญ่มีการกระเตื้องขึ้นและหลายกลุ่มอุตสาหกรรมมีการใช้กำลังการผลิตในอัตราที่ใกล้เคียงกับระดับช่วงก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจแล้ว สถานการณ์ทางด้านการค้าต่างประเทศในไตรมาสแรกก็อยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก โดยมูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 19.07 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แม้มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าคือร้อยละ 25.77 ส่งผลให้ดุลการค้ามีการเกินดุลลดลง และในเดือนมีนาคม 2547 มีการขาดดุลการค้าเป็นครั้งแรกหลังจากที่มีการเกินดุลมาเป็นเวลานานก็ตาม แต่การนำเข้าที่สูงขึ้นส่วนหนึ่งก็สะท้อนถึงระดับการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมีการนำเข้าในเครื่องจักรอุปกรณ์ และวัตถุดิบมากขึ้น ทางด้านตลาดส่งออก มูลค่าการส่งออกของไทยในตลาดสำคัญๆ ก็มีการขยายตัวในอัตราที่น่าพอใจ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในภาคอุตสาหกรรม จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ล้วนแสดงว่าภาวะการณ์ลงทุนจากต่างประเทศในภาคอุตสาหกรรมมีการกระเตื้องขึ้นมามาก
สรุปภาวะอุตสาหกรรมในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม
เหล็กและเหล็กกล้า
ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.57 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากความต้องการใช้ในประเทศที่เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของธุรกิจก่อสร้างซึ่งมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการที่เหล็กในตลาดโลกมีการปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายปี 2546 และราคาวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมเหล็กของไทย เช่น เหล็กแผ่น เหล็กแท่ง และเศษเหล็ก ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ผู้ผลิตเกรงว่าจะมีการปรับตัวสูงขึ้นไปอีก จึงเพิ่มปริมาณการผลิตเพื่อเป็นสต๊อก อย่างไรก็ตามการส่งออกของเหล็กและเหล็กกล้าในไตรมาสแรกของปีนี้มีปริมาณและมูลค่าลดลง ร้อยละ 14.5 และ 5.5 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการชะลอการนำเข้าในประเทศนำเข้าเหล็กไทยที่สำคัญโดยเฉพาะจีน
ยานยนต์
อุตสาหกรรมรถยนต์ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การผลิตและการจำหน่ายรถยนต์ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 ยังมีการขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ยังมีการขยายตัวในอัตราสูงการส่งออกก็มีมูลค่าและปริมาณเพิ่มขึ้นในอัตราสูง รถจักรยานยนต์ก็มีการผลิตและการส่งออกเพิ่มขึ้น การส่งออกของชิ้นส่วนยานยนต์โดยรวมแล้วก็อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ภาวะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ปรับตัวดีขึ้นมาก เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จากผลการสำรวจของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม การใช้กำลังการผลิตมีการเพิ่มขึ้นในอัตราสูง การส่งออกในสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ก็มีการเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วง ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ และคอมเพรสเซอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ซึ่งประกอบด้วย พัดลม ตู้เย็น กระติกน้ำร้อน และหม้อหุงข้าว มีดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้น แต่เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และสินค้าที่เกี่ยวข้องมีดัชนีลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และมีภาวะทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนการส่งออก ยังคงมีการขยายตัวโดยสินค้าส่งออกที่มีอัตราสูงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ส่วนประกอบที่ใช้ทั้งมอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องรับวิทยุ และโทรทัศน์และส่วนประกอบ และเครื่องปรับอากาศ ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในไตรมาสแรก ตามความต้องการของสินค้า IT ของโลกที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยสินค้าสำคัญที่มีการ ส่งออกเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก คือ วงจรพิมพ์ และแผงวงจรไฟฟ้า
ปิโตรเคมี
ในปัจจุบันวัฎจักรปิโตรเคมีอยู่ในช่วงขาขึ้น เนื่องจากราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากความต้องการในตลาดโลกที่มีมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีน มีความต้องการเม็ดพลาสติกในปริมาณสูง ประกอบกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าปิโตรเคมีปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตามการส่งออกในปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลางมีมูลค่าลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่ปิโตรเคมีขั้นปลายยังมีการขยายตัวในอัตราสูง
พลาสติก
ปัญหาการเลียนแบบสินค้า การตัดราคาจากประเทศคู่แข่งที่มีค่าจ้างแรงงานต่ำกว่า การกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี เป็นปัญหาหลักของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก ในไตรมาสแรกของปี 2547 อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกยังอยู่ในภาวะที่ทรงตัว โดยการส่งออกมีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แต่สินค้าบางอย่าง เช่น ส่วนประกอบของเครื่องแต่งกาย แผ่นฟิล์มฟอยล์และแถบ และกล่องหีบที่ทำด้วยพลาสติก มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มสูงขึ้นมาก ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงคือ เครื่องใช้สำนักงานที่ทำด้วยพลาสติก
เคมีภัณฑ์
สภาวะโดยรวมไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในทางที่ดีขึ้นเล็กน้อย ในไตรมาสแรกของปี 2547 การส่งออกของเคมีภัณฑ์อินทรี เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.10 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 28.66 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด มีมูลค่าส่งออกลดลงมาบ้างจากไตรมาสที่แล้ว แต่ก็ยังสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนเล็กน้อย ส่วนเครื่องสำอาง และสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายก็มีการส่งออกเพิ่มขึ้น
ปูนซีเมนต์
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังคงมีการขยายตัวต่อเนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจภาคก่อสร้าง และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับตํ่าซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนภาคอสังหาริมทรัพย์ การผลิตและการ จําหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศมีการขยายตัว แต่การส่งออกแม้มีปริมาณเพิ่มขึ้น แต่มีมูลค่าลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปูนชีเมนต์เป็นสินค้าที่มีค่าขนส่งสูง การส่งออกมีกําไรตํ่า ประกอบกับความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมจึง หันมาเน้นการขยายตลาดในประเทศมากขึ้น
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
การส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในไตรมาสแรกของปี 2547 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นในทุกหมวดผลิตภัณฑ์ คือ เสื้อผ้าสําเร็จรูป ผ้าผืน ด้าย เคหะสิ่งทอเส้นใยประดิษฐและสิ่งทออื่น ๆ ส่วนดัชนีผลผลิตของการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม จากผลการสํารวจของสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมมีการปรับตัวลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยรวมแล้ว อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในไตรมาสแรกของปี 2547 ยังอยู่ในสภาวะทรงตัว แม้มูลค่าส่งออกของเสื้อผ้าสําเร็จรูปโดยรวมจะเพิ่มขึ้น แต่การส่งออกไปประเทศสหรัฐอเมริกากลับลดลงถึงร้อยละ 11.0 จากการที่สหรัฐฯหันไปส่งซื้อสินค้าจากแหล่งผลิตที่มีต้นทุนตํ่ากว่า เช่น จีน และอินโดนีเซีย และประเทศที่มีข้อตกลงทางการค้าจึงได้รับสิทธิพิเศษ เช่น ประเทศในกลุ่มอเมริกากลาง คาดว่าผู้ผลิตสิ่งทอและเสื้อผ้าสําเร็จรูปของไทยจะต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นหลังจากที่มีการยกเลิกข้อตกลงผลิตภัณฑ์เส้นใยระหว่างประเทศ (MFA) จึงต้องมีการปรับตัวมาก การส่งเสริมให้กรุงเทพเป็นเมืองแฟชั่น ฤดูร้อน ซึ่งมีอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสําเร็จรูปเป็นส่วนประกอบที่สําคัญ จึงต้องมีการดําเนินการอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
กระดาษ เยื่อกระดาษ และสิ่งพิมพ์
ภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษของไทยในช่วงไตรมาสแรก ปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาและกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนยังคงมีการเพิ่มขึ้น การส่งออกของกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ สิ่งตีพิมพ์และหนังสือก็มีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม การผลิตและการส่งออกของเยื่อกระดาษยังมีการขยายตัวในอัตราสูง ภาวะอุตสาหกรรมกระดาษ เยื่อกระดาษ และสิ่งตีพิมพ์ จะมีการปรับตัวสูงขึ้นในไตรมาสที่สองจากการสูงขึ้นของอุปสงค์ในช่วงการเปิดภาคเรียนแนวโน้มของอุตสาหกรรมทั้งปีก็น่าจะดีขึ้นจากความต้องการกระดาษในต่างประเทศที่มีปริมาณสูงขึ้น
ไม้และเครื่องเรือนไม้
ในภาพรวมอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนไทยในไตรมาสแรกของปี 2547 ยังคงมีการขยายตัว จากปัจจัยการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้อุปสงค์จากต่างประเทศของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนไม้ยังมีแนวโน้มการขยายตัวที่ดี โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ส่งผลให้ความต้องการสินค้าในกลุ่มนี้ขยายตัวดีและมีแนวโน้มที่สดใส ปริมาณการผลิตในอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนไม้ในช่วงไตรมาสแรกมีการปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อน เนื่องจากการขยายตัการผลิตในอัตราสูงในไตรมาสที่ผ่านมา แต่หากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนแล้ว การผลิต อุตสาหกรรมนี้มีการขยายตัวในอัตราสูง การส่งออกก็มีการขยายตัวในลักษณะเดียวกัน คาดว่าในปี 2547 ทั้งปี ภาวะอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยยังคงมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยบวกทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ในอนาคตอันใกล้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้ต้องเตรียมตัวรับมือกับคู่แข่งในตลาดระดับล่าง เช่น จีน อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ และต้องมีการมุ่งพัฒนาสินค้าและตลาดมากขึ้น
เซรามิกส์
การผลิตเซรามิกส์ในไตรมาสแรกของปี 2547 ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ต่างมีการขยายตัวในระดับที่น่าพอใจ แม้โดยรวมแล้วยังมีอัตรา ไม่สูงนัก ส่วนมูลค่าการส่งออกมีอัตราลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แต่ผลิตภัณฑ์บางอย่างเช่น กระเบื้องปูพื้น บุผนัง เริ่มมีแนวโน้มการขยายตัวที่ดีขึ้นอย่างเด่นชัด ส่วนผลิตภัณฑ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร กลับมีแนวโน้มการขยายตัวที่ลดลงในตลาดหลักทุกตลาด ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นก็ยังเป็นปัจจัยที่จะส่งผลต่อต้นทุนการผลิต และความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเซรามิกส์ไทยได้
ยา
ปริมาณผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสแรกของปี 2547 มีการลดลงจากไตรมาสที่แล้วและจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนบ้างเล็กน้อย มูลค่าการส่งออกก็มีการลดลงมา สาเหตุสำคัญที่ทำให้มูลค่าส่งออกลดลง อาจเป็นผลมาจากสินค้าในหมวด แวดดิ้ง ผ้ากอซ ผ้าพันแผล และสำลีลดลงมาก จากการที่ความต้องการอุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันเชื้อโรคในตลาดโลกลดลงจากปีก่อน
ยางและผลิตภัณฑ์ยาง
การผลิตยางขั้นต้นในไตรมาสแรกของปี 2547 มีปริมาณทรงตัวโดยยางแผ่นมีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่บางแห่งมีปริมาณลดลงมาบ้างจากไตรมาสที่แล้ว อย่างไรก็ตามในส่วนของผลิตภัณฑ์ยาง เช่น ยางนอกรถยนต์นั่ง และยางนอกจักรยานยนต์ ยังมีการผลิตที่เพิ่มขึ้น การส่งออกของยางแปรรูปขั้นต้นและผลิตภัณฑ์ยางก็ยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มการผลิตในปี 2547 การผลิตยางขั้นต้นคาดว่าจะมีแนวโน้มลดลงจากสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ส่วนการผลิตยางรถยนต์น่าจะมีการผลิตเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ ส่วนการส่งออกคาดว่าจะยังมีแนวโน้มที่ดี และราคายางจะยังมีแนวโน้มสูงขึ้น
รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง
จากการสำรวจของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิต อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 หนังดิบและหนังฟอกมีการผลิตที่ลดลง กระเป๋าหนัง มีการผลิตลดลงเล็กน้อย ส่วนรองเท้ามีการผลิตเพิ่มขึ้นมาบ้างเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การส่งออกของรองเท้าและชิ้นส่วนโดยรวมอยู่ในภาวะทรงตัว โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออก เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปีก่อนคือ รองเท้าหนังและรองเท้าแตะ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกลดลงคือ ส่วนประกอบของรองเท้า รองเท้ากีฬาและรองเท้าอื่นๆ เครื่องใช้เดินทางก็อยู่ในภาวะทรงตัว แนวโน้มอุตสาหกรรม รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังของไทยคาดว่าจะอยู่ในภาวะทรงตัวเนื่องจากการขาดแคลนวัตถุดิบและต้อง พึ่งพาการนำเข้า อีกทั้งภาวการณ์ส่งออกยังอยู่ในภาวะไม่ฟื้นตัวเต็มที่
อัญมณีและเครื่องประดับ
จากการสำรวจของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ดัชนีเพชร พลอย และรูปพรรณในไตรมาสแรกของปี 2547 มีการลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การส่งออกก็มีมูลค่าลดลง เนื่องจากการส่งออกของทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูป และอัญมณีสังเคราะห์ที่มีมูลค่าสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าสภาวะการผลิตและการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยจะยังคงมีอัตราการขยายตัวที่ดีขึ้น จากนโยบายการสนับสนุนของรัฐบาลและจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น
อาหาร
ในไตรมาสแรกของปี 2547 ภาวะการณ์ผลิตของอุตสาหกรรมอาหารมีการเปลี่ยนแปลงลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนและจากช่วงไตรมาสที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์แปรรูปปศุสัตว์ มีการลดลงจากปัญหาวิกฤติไข้หวัดนก ผลิตภัณฑ์ประมง ก็ได้รับผลกระทบจากการที่สหรัฐประกาศไต่สวนและโต้ตอบการทุ่มตลาดกุ้งจากไทย ผลิตภัณฑ์ผัก ผลไม้แปรรูป และมันสำปะหลัง ก็มีการลดลงจากภาวะฤดูกาล โดยรวมแล้วทั้งการผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหารในปี 2547 น่าจะยังอยู่ในสภาวะที่ทรงตัว แม้ปัญหาไข้หวัดนกจะเริ่มคลี่คลายลง แต่คงต้องใช้เวลาระยะหนึ่งกว่าจะมีการฟื้นตัว การส่งออกของสินค้าประมงก็มีแนวโน้มลดลงจากผลการกีดกันทางการค้า แต่สินค้าประเภทผักและผลไม้แปรรูป อาจมีการกระเตื้องขึ้นมากบ้าง จากการเปิดตลาดการค้าเสรีกับจีนและประเทศอื่นๆ
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-
สถานการณ์เศรษฐกิจโลกในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 ก็มีการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง ภาวะเงินฝืดในประเทศต่างๆคลี่คลายลง ด้วยแรงกระตุ้นจากอุปสงค์ในประเทศ เศรษฐกิจในประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นคู่ค้าที่สำคัญของไทย เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน และประเทศอื่นๆในเอเชียรวมทั้งประเทศในกลุ่มอาเซียน ต่างก็มีการปรับตัวดีขึ้น แม้จีนจะปรับลดเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจลง เพื่อลดความร้อนแรงและเน้นให้มีเสถียรภาพมากขึ้น แต่เศรษฐกิจจีนก็ยังคงมีการขยายตัวในอัตราสูง อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปยังคงมีอัตราการขยายตัวต่ำ มีการว่างงานสูง การอุปโภคบริโภคยังไม่มีการฟื้นตัวที่ชัดเจน
สำหรับเศรษฐกิจไทย ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในปี 2546 มีการขยายตัวในอัตรา ร้อยละ 6.7 สูงกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ในช่วงต้นปี ในปี 2547 นี้รัฐบาลมีการตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอัตราร้อยละ 8 สถาบันต่างๆก็มีการพยากรณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะมีอัตราการขยายตัวที่สูงขึ้นจากการที่เศรษฐกิจโลกมีการฟื้นตัว และสถานการณ์ภายในประเทศที่ยังคงมีความมั่นคง แต่เมื่อมีการเกิดการระบาดของไข้หวัดนก และเกิดปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ประกอบกับการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมัน ทำให้หลายฝ่ายเริ่มมีความเชื่อมั่นต่อการบรรลุเป้าหมายการขยายตัวที่มีการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตามจากการที่เศรษฐกิจไทยยังคงมีการขยายตัวในอัตราสูงใน ไตรมาสแรกทั้งๆที่ต้องประสบกับปัญหานานาประการ น่าจะเป็นที่เชื่อได้ว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2547 นี้จะยังมีอัตราสูงต่อเนื่องจากปีก่อน
สำหรับภาคอุตสาหกรรม จากผลการสำรวจของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ในไตรมาสแรกของปี 2547 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมยังคงเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 4.21 และเมื่อเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 9.8 ดัชนีการส่งสินค้าก็มีการเพิ่มขึ้นในลักษณะเดียวกัน อัตราการใช้กำลังการผลิตของอุตสาหกรรมต่างๆ ส่วนใหญ่มีการกระเตื้องขึ้นและหลายกลุ่มอุตสาหกรรมมีการใช้กำลังการผลิตในอัตราที่ใกล้เคียงกับระดับช่วงก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจแล้ว สถานการณ์ทางด้านการค้าต่างประเทศในไตรมาสแรกก็อยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก โดยมูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 19.07 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แม้มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าคือร้อยละ 25.77 ส่งผลให้ดุลการค้ามีการเกินดุลลดลง และในเดือนมีนาคม 2547 มีการขาดดุลการค้าเป็นครั้งแรกหลังจากที่มีการเกินดุลมาเป็นเวลานานก็ตาม แต่การนำเข้าที่สูงขึ้นส่วนหนึ่งก็สะท้อนถึงระดับการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมีการนำเข้าในเครื่องจักรอุปกรณ์ และวัตถุดิบมากขึ้น ทางด้านตลาดส่งออก มูลค่าการส่งออกของไทยในตลาดสำคัญๆ ก็มีการขยายตัวในอัตราที่น่าพอใจ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในภาคอุตสาหกรรม จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ล้วนแสดงว่าภาวะการณ์ลงทุนจากต่างประเทศในภาคอุตสาหกรรมมีการกระเตื้องขึ้นมามาก
สรุปภาวะอุตสาหกรรมในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม
เหล็กและเหล็กกล้า
ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.57 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากความต้องการใช้ในประเทศที่เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของธุรกิจก่อสร้างซึ่งมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการที่เหล็กในตลาดโลกมีการปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายปี 2546 และราคาวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมเหล็กของไทย เช่น เหล็กแผ่น เหล็กแท่ง และเศษเหล็ก ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ผู้ผลิตเกรงว่าจะมีการปรับตัวสูงขึ้นไปอีก จึงเพิ่มปริมาณการผลิตเพื่อเป็นสต๊อก อย่างไรก็ตามการส่งออกของเหล็กและเหล็กกล้าในไตรมาสแรกของปีนี้มีปริมาณและมูลค่าลดลง ร้อยละ 14.5 และ 5.5 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการชะลอการนำเข้าในประเทศนำเข้าเหล็กไทยที่สำคัญโดยเฉพาะจีน
ยานยนต์
อุตสาหกรรมรถยนต์ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การผลิตและการจำหน่ายรถยนต์ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 ยังมีการขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ยังมีการขยายตัวในอัตราสูงการส่งออกก็มีมูลค่าและปริมาณเพิ่มขึ้นในอัตราสูง รถจักรยานยนต์ก็มีการผลิตและการส่งออกเพิ่มขึ้น การส่งออกของชิ้นส่วนยานยนต์โดยรวมแล้วก็อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ภาวะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ปรับตัวดีขึ้นมาก เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จากผลการสำรวจของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม การใช้กำลังการผลิตมีการเพิ่มขึ้นในอัตราสูง การส่งออกในสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ก็มีการเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วง ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ และคอมเพรสเซอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ซึ่งประกอบด้วย พัดลม ตู้เย็น กระติกน้ำร้อน และหม้อหุงข้าว มีดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้น แต่เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และสินค้าที่เกี่ยวข้องมีดัชนีลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และมีภาวะทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนการส่งออก ยังคงมีการขยายตัวโดยสินค้าส่งออกที่มีอัตราสูงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ส่วนประกอบที่ใช้ทั้งมอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องรับวิทยุ และโทรทัศน์และส่วนประกอบ และเครื่องปรับอากาศ ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในไตรมาสแรก ตามความต้องการของสินค้า IT ของโลกที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยสินค้าสำคัญที่มีการ ส่งออกเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก คือ วงจรพิมพ์ และแผงวงจรไฟฟ้า
ปิโตรเคมี
ในปัจจุบันวัฎจักรปิโตรเคมีอยู่ในช่วงขาขึ้น เนื่องจากราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากความต้องการในตลาดโลกที่มีมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีน มีความต้องการเม็ดพลาสติกในปริมาณสูง ประกอบกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าปิโตรเคมีปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตามการส่งออกในปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลางมีมูลค่าลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่ปิโตรเคมีขั้นปลายยังมีการขยายตัวในอัตราสูง
พลาสติก
ปัญหาการเลียนแบบสินค้า การตัดราคาจากประเทศคู่แข่งที่มีค่าจ้างแรงงานต่ำกว่า การกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี เป็นปัญหาหลักของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก ในไตรมาสแรกของปี 2547 อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกยังอยู่ในภาวะที่ทรงตัว โดยการส่งออกมีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แต่สินค้าบางอย่าง เช่น ส่วนประกอบของเครื่องแต่งกาย แผ่นฟิล์มฟอยล์และแถบ และกล่องหีบที่ทำด้วยพลาสติก มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มสูงขึ้นมาก ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงคือ เครื่องใช้สำนักงานที่ทำด้วยพลาสติก
เคมีภัณฑ์
สภาวะโดยรวมไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในทางที่ดีขึ้นเล็กน้อย ในไตรมาสแรกของปี 2547 การส่งออกของเคมีภัณฑ์อินทรี เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.10 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 28.66 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด มีมูลค่าส่งออกลดลงมาบ้างจากไตรมาสที่แล้ว แต่ก็ยังสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนเล็กน้อย ส่วนเครื่องสำอาง และสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายก็มีการส่งออกเพิ่มขึ้น
ปูนซีเมนต์
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังคงมีการขยายตัวต่อเนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจภาคก่อสร้าง และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับตํ่าซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนภาคอสังหาริมทรัพย์ การผลิตและการ จําหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศมีการขยายตัว แต่การส่งออกแม้มีปริมาณเพิ่มขึ้น แต่มีมูลค่าลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปูนชีเมนต์เป็นสินค้าที่มีค่าขนส่งสูง การส่งออกมีกําไรตํ่า ประกอบกับความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมจึง หันมาเน้นการขยายตลาดในประเทศมากขึ้น
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
การส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในไตรมาสแรกของปี 2547 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นในทุกหมวดผลิตภัณฑ์ คือ เสื้อผ้าสําเร็จรูป ผ้าผืน ด้าย เคหะสิ่งทอเส้นใยประดิษฐและสิ่งทออื่น ๆ ส่วนดัชนีผลผลิตของการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม จากผลการสํารวจของสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมมีการปรับตัวลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยรวมแล้ว อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในไตรมาสแรกของปี 2547 ยังอยู่ในสภาวะทรงตัว แม้มูลค่าส่งออกของเสื้อผ้าสําเร็จรูปโดยรวมจะเพิ่มขึ้น แต่การส่งออกไปประเทศสหรัฐอเมริกากลับลดลงถึงร้อยละ 11.0 จากการที่สหรัฐฯหันไปส่งซื้อสินค้าจากแหล่งผลิตที่มีต้นทุนตํ่ากว่า เช่น จีน และอินโดนีเซีย และประเทศที่มีข้อตกลงทางการค้าจึงได้รับสิทธิพิเศษ เช่น ประเทศในกลุ่มอเมริกากลาง คาดว่าผู้ผลิตสิ่งทอและเสื้อผ้าสําเร็จรูปของไทยจะต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นหลังจากที่มีการยกเลิกข้อตกลงผลิตภัณฑ์เส้นใยระหว่างประเทศ (MFA) จึงต้องมีการปรับตัวมาก การส่งเสริมให้กรุงเทพเป็นเมืองแฟชั่น ฤดูร้อน ซึ่งมีอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสําเร็จรูปเป็นส่วนประกอบที่สําคัญ จึงต้องมีการดําเนินการอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
กระดาษ เยื่อกระดาษ และสิ่งพิมพ์
ภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษของไทยในช่วงไตรมาสแรก ปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาและกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนยังคงมีการเพิ่มขึ้น การส่งออกของกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ สิ่งตีพิมพ์และหนังสือก็มีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม การผลิตและการส่งออกของเยื่อกระดาษยังมีการขยายตัวในอัตราสูง ภาวะอุตสาหกรรมกระดาษ เยื่อกระดาษ และสิ่งตีพิมพ์ จะมีการปรับตัวสูงขึ้นในไตรมาสที่สองจากการสูงขึ้นของอุปสงค์ในช่วงการเปิดภาคเรียนแนวโน้มของอุตสาหกรรมทั้งปีก็น่าจะดีขึ้นจากความต้องการกระดาษในต่างประเทศที่มีปริมาณสูงขึ้น
ไม้และเครื่องเรือนไม้
ในภาพรวมอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนไทยในไตรมาสแรกของปี 2547 ยังคงมีการขยายตัว จากปัจจัยการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้อุปสงค์จากต่างประเทศของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนไม้ยังมีแนวโน้มการขยายตัวที่ดี โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ส่งผลให้ความต้องการสินค้าในกลุ่มนี้ขยายตัวดีและมีแนวโน้มที่สดใส ปริมาณการผลิตในอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนไม้ในช่วงไตรมาสแรกมีการปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อน เนื่องจากการขยายตัการผลิตในอัตราสูงในไตรมาสที่ผ่านมา แต่หากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนแล้ว การผลิต อุตสาหกรรมนี้มีการขยายตัวในอัตราสูง การส่งออกก็มีการขยายตัวในลักษณะเดียวกัน คาดว่าในปี 2547 ทั้งปี ภาวะอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยยังคงมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยบวกทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ในอนาคตอันใกล้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้ต้องเตรียมตัวรับมือกับคู่แข่งในตลาดระดับล่าง เช่น จีน อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ และต้องมีการมุ่งพัฒนาสินค้าและตลาดมากขึ้น
เซรามิกส์
การผลิตเซรามิกส์ในไตรมาสแรกของปี 2547 ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ต่างมีการขยายตัวในระดับที่น่าพอใจ แม้โดยรวมแล้วยังมีอัตรา ไม่สูงนัก ส่วนมูลค่าการส่งออกมีอัตราลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แต่ผลิตภัณฑ์บางอย่างเช่น กระเบื้องปูพื้น บุผนัง เริ่มมีแนวโน้มการขยายตัวที่ดีขึ้นอย่างเด่นชัด ส่วนผลิตภัณฑ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร กลับมีแนวโน้มการขยายตัวที่ลดลงในตลาดหลักทุกตลาด ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นก็ยังเป็นปัจจัยที่จะส่งผลต่อต้นทุนการผลิต และความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเซรามิกส์ไทยได้
ยา
ปริมาณผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสแรกของปี 2547 มีการลดลงจากไตรมาสที่แล้วและจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนบ้างเล็กน้อย มูลค่าการส่งออกก็มีการลดลงมา สาเหตุสำคัญที่ทำให้มูลค่าส่งออกลดลง อาจเป็นผลมาจากสินค้าในหมวด แวดดิ้ง ผ้ากอซ ผ้าพันแผล และสำลีลดลงมาก จากการที่ความต้องการอุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันเชื้อโรคในตลาดโลกลดลงจากปีก่อน
ยางและผลิตภัณฑ์ยาง
การผลิตยางขั้นต้นในไตรมาสแรกของปี 2547 มีปริมาณทรงตัวโดยยางแผ่นมีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่บางแห่งมีปริมาณลดลงมาบ้างจากไตรมาสที่แล้ว อย่างไรก็ตามในส่วนของผลิตภัณฑ์ยาง เช่น ยางนอกรถยนต์นั่ง และยางนอกจักรยานยนต์ ยังมีการผลิตที่เพิ่มขึ้น การส่งออกของยางแปรรูปขั้นต้นและผลิตภัณฑ์ยางก็ยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มการผลิตในปี 2547 การผลิตยางขั้นต้นคาดว่าจะมีแนวโน้มลดลงจากสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ส่วนการผลิตยางรถยนต์น่าจะมีการผลิตเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ ส่วนการส่งออกคาดว่าจะยังมีแนวโน้มที่ดี และราคายางจะยังมีแนวโน้มสูงขึ้น
รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง
จากการสำรวจของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิต อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 หนังดิบและหนังฟอกมีการผลิตที่ลดลง กระเป๋าหนัง มีการผลิตลดลงเล็กน้อย ส่วนรองเท้ามีการผลิตเพิ่มขึ้นมาบ้างเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การส่งออกของรองเท้าและชิ้นส่วนโดยรวมอยู่ในภาวะทรงตัว โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออก เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปีก่อนคือ รองเท้าหนังและรองเท้าแตะ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกลดลงคือ ส่วนประกอบของรองเท้า รองเท้ากีฬาและรองเท้าอื่นๆ เครื่องใช้เดินทางก็อยู่ในภาวะทรงตัว แนวโน้มอุตสาหกรรม รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังของไทยคาดว่าจะอยู่ในภาวะทรงตัวเนื่องจากการขาดแคลนวัตถุดิบและต้อง พึ่งพาการนำเข้า อีกทั้งภาวการณ์ส่งออกยังอยู่ในภาวะไม่ฟื้นตัวเต็มที่
อัญมณีและเครื่องประดับ
จากการสำรวจของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ดัชนีเพชร พลอย และรูปพรรณในไตรมาสแรกของปี 2547 มีการลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การส่งออกก็มีมูลค่าลดลง เนื่องจากการส่งออกของทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูป และอัญมณีสังเคราะห์ที่มีมูลค่าสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าสภาวะการผลิตและการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยจะยังคงมีอัตราการขยายตัวที่ดีขึ้น จากนโยบายการสนับสนุนของรัฐบาลและจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น
อาหาร
ในไตรมาสแรกของปี 2547 ภาวะการณ์ผลิตของอุตสาหกรรมอาหารมีการเปลี่ยนแปลงลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนและจากช่วงไตรมาสที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์แปรรูปปศุสัตว์ มีการลดลงจากปัญหาวิกฤติไข้หวัดนก ผลิตภัณฑ์ประมง ก็ได้รับผลกระทบจากการที่สหรัฐประกาศไต่สวนและโต้ตอบการทุ่มตลาดกุ้งจากไทย ผลิตภัณฑ์ผัก ผลไม้แปรรูป และมันสำปะหลัง ก็มีการลดลงจากภาวะฤดูกาล โดยรวมแล้วทั้งการผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหารในปี 2547 น่าจะยังอยู่ในสภาวะที่ทรงตัว แม้ปัญหาไข้หวัดนกจะเริ่มคลี่คลายลง แต่คงต้องใช้เวลาระยะหนึ่งกว่าจะมีการฟื้นตัว การส่งออกของสินค้าประมงก็มีแนวโน้มลดลงจากผลการกีดกันทางการค้า แต่สินค้าประเภทผักและผลไม้แปรรูป อาจมีการกระเตื้องขึ้นมากบ้าง จากการเปิดตลาดการค้าเสรีกับจีนและประเทศอื่นๆ
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-