สถานการณ์เศรษฐกิจโลกในช่วงไตรมาส 1/2547 เริ่มฟื้นตัวเห็นได้จากการปรับตัวดีขึ้นในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เป็นต้น โดยภาวะเงินฝืดในแต่ละประเทศเริ่มคลี่คลายด้วยแรงกระตุ้นจากอุปสงค์ภายในประเทศ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำก่อให้เกิดการผลิตและการจ้างงานเพิ่ม ทำให้กำลังการผลิตส่วนเกินของโลก (Excess Capacity) เริ่มคลี่คลายลงด้วยเช่นกัน ประกอบกับจีนได้ประกาศลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP Growth) จากร้อยละ 9.1 ในปี 2546 เป็นร้อยละ 7 ในปี 2547 อัตราการขยายตัวของการส่งออกลดลงจากร้อยละ 40 เป็นร้อยละ 8 ซึ่งอาจส่งผลให้เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซียมีเสถียรภาพมากขึ้นในระยะยาว จากเหตุผลดังกล่าวจึงคาดว่าแนวโน้มเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวร้อยละ 4.1 ในปี 2547 สูงกว่าร้อยละ 3.2 ในปี 2546 ถึงแม้ว่าตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นก็ตาม แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงหรือประเด็นที่ควรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
สำหรับประเด็นเศรษฐกิจโลกที่สำคัญมีดังนี้
1. โลกหนีไม่พ้นปัจจัยเสี่ยงด้านการก่อการร้าย แม้ว่าภาวะสงครามระหว่าง สหรัฐอเมริกาและอิรักจะยุติลงแล้ว แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่อิรัก และความไม่สงบในอิรักยังคงคุกรุ่นส่งผลต่อ นานาอารยะประเทศต้องร่วมกันวางแผนเพื่อฟื้นฟูเสถียรภาพในอิรักทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ทำให้ประเทศต่าง ๆ ต้องส่งทหารเข้าไปบูรณะฟื้นฟูอิรัก แต่ต้องปะทะกับกองกำลังกอบกู้ชาติของอิรักจนต้องล้มตายกันทั้งสองฝ่าย บางประเทศต้องตัดสินใจถอนทหารออกจากอิรัก ดังนั้นใน ปี 2547 เสถียรภาพของเศรษฐกิจโลกจึงขึ้นกับภัยก่อการร้ายเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญเนื่องจากกระแสต่อต้านตะวันตกจะขยายวงหรือเคลื่อนจากอิรักเข้าสู่ประเทศมุสลิมอื่น ๆ ทั้งในตะวันออกกลาง เป้าหมายสำคัญคือ ซาอุดิอาระเบียและเยเมน ในเอเชีย ซึ่งเกิดวินาศกรรมที่เกาะบาหลี อินโดนีเซีย และโรงแรมแมริออต ฟิลิปปินส์ ในยุโรป โดยเฉพาะลอนดอนซึ่งมีกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงสัญชาติอังกฤษเข้าไปพัวพันเหตุระเบิดพลีชีพในอิสราเอล ในละตินอเมริกา ที่พุ่งเป้าไปที่ โคลัมเบีย คิวบา และเวเนซุเอลา ซึ่งประเทศต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นประเทศที่สหรัฐอเมริกาดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างเข้มข้น ทำให้กลุ่มหัวรุนแรงอาจก่อเหตุร้ายโดยไม่คาดคิด จากสถานการณ์ก่อการร้ายดังกล่าวมาทั้งสิ้นจะกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโลกได้โดยไม่มีขีดจำกัด ทำให้หลายประเทศ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เป็นต้น เรียกร้องให้คืนอธิปไตย ให้อิรัก นอกจากสถานการณ์การก่อการร้าย แล้วยังมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่ ความตึงเครียดระหว่างจีนและไต้หวัน กรณีที่ไต้หวันจะประกาศเอกราชจนนายกรัฐมนตรีจีนต้องหาพันธมิตรร่วม ในการยืนหยัด จีนเดียว หรือแม้แต่ปัญหาการสะสมและทดลองอาวุธนิวเคลียร์ในเกาหลีเหนือ ซึ่งจะกระทบต่อเสถียรภาพในคาบสมุทรเกาหลี
2. โลกต้องเผชิญกับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่จะหวนกลับมาแพร่ระบาดได้อีก ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันหรือซาร์ส ที่เกิดที่ใต้หวันและจีน โรควัวบ้า โรคไข้หวัดนก และโรคอื่น ๆ ซึ่งการกลับมาใหม่ของโรคร้ายแรงดังกล่าวเป็นปัจจัยเสี่ยงของปี 2547 ที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
3. ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นจากการที่ความต้องการของประเทศผู้บริโภคน้ำมัน 3 อันดับแรกของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น ตามลำดับ ได้เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่องค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ได้ควบคุมปริมาณการผลิตเพื่อให้เกิดเสถียรภาพด้านราคา จากการที่ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจีนที่เศรษฐกิจโตร้อนแรงจนกลายเป็นแหล่งดึงดูดน้ำมันโลกที่สำคัญแหล่งหนึ่ง ซึ่งสาเหตุมาจากการที่ประชาชนจีนเปลี่ยนการใช้จักรยานมาเป็นรถยนต์ที่มีจำนวนมากถึง 100 ล้านคัน จนทำให้นักวิเคราะห์ต่างวิพากษ์กันว่าจะส่งผลให้จีนพร้อมก่อสงครามกับสหรัฐอเมริกา ด้วยการแทรกแซงตะวันออกกลางหรือการค้าเทคโนโลยีด้านอาวุธให้กับกลุ่มประเทศก่อการร้ายในที่สุด
4. ในไตรมาสนี้เศรษฐกิจโลกยังคงต้องเผชิญสถานการณ์การแข่งขันทางด้านการผลิต และการค้าที่รุนแรงเพิ่มขึ้น เพื่อชิงความเป็นหนึ่งหรือเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดโลก ส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ ในโลกจำเป็นต้องแสวงหาพันธมิตรทั้งทางด้านการผลิตและการค้า เกิดการลงทุนระหว่างประเทศและการรวมกลุ่มทางการค้าในรูปกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ทั้งระดับพหุภาคีและระดับภูมิภาค เช่น WTO APEC NAFTA AFTA เป็นต้น และระดับทวิภาคีสำหรับความร่วมมือระดับทวิภาคีนั้น ปัจจุบันประเทศต่างๆ จะให้ความสำคัญเป็นพิเศษในการจัดทำเขตการค้าเสรี (Free Trade Area : FTA) และพยายาม เร่งรัดผลักดันให้สำเร็จโดยเร็ว
5. สำหรับสถานการณ์ด้านการค้าโลก เมื่อพิจารณาประเทศเศรษฐกิจหลักที่สำคัญ พบว่าในเดือนแรกของปี 2547 สหรัฐอเมริกามีมูลค่าสินค้าส่งออก 59,156.2 ล้านเหรียญ สรอ. นำเข้า 103,687.3 ล้านเหรียญ สรอ. ขาดดุลการค้า 44,531.1 ล้านเหรียญ สรอ. ซึ่งเป็นการขาดดุลการค้ากับจีนมากที่สุดถึง 11,476.6 ล้านเหรียญ สรอ. ญี่ปุ่นมีมูลค่าสินค้าส่งออก 40,221.5 ล้านเหรียญ สรอ. นำเข้า 35,503.1 ล้านเหรียญ สรอ. เกินดุลการค้า 4,718.4 ล้านเหรียญ สรอ. ซึ่งเป็นการเกินดุลการค้ากับสหรัฐอเมริการมากที่สุดถึง 4,626.3 ล้านเหรียญ สรอ. ในการที่จีนมีมูลค่าสินค้าส่งออก 35,712.2 ล้านเหรียญ สรอ. นำเข้า 35,736.6 ล้านเหรียญ สรอ. ขาดดุลการค้า 24.4 ล้านเหรียญ สรอ.
6. การประกาศชะลอความร้อนแรงทางเศรษฐกิจของจีน จีนได้ประกาศลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP Growth) จากร้อยละ 9.1 ในปี 2546 เป็นร้อยละ 7 ในปี 2547 และลดอัตราการขยายตัวของการส่งออกจากร้อยละ 40 เป็นร้อยละ 8 โดยปฏิรูปโครงสร้างในประเทศครั้งยิ่งใหญ่ เพื่อให้เกิดความสมดุลทางเศรษฐกิจและสังคมมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยชะลอการลงทุนในโครงการใหญ่ ๆ เนื่องจากมีการลงทุนที่มากเกินไป สำหรับในไตรมาสนี้ทั้งสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรปและญี่ปุ่น ก็ยังต้องการให้จีนปรับค่าเงินหยวนให้แข็งค่าขึ้น เพื่อลดการขาดดุลการค้ากับจีน นอกจากนี้ สหรัฐอเมริกายังได้ใช้มาตรการกีดกันทางการค้าด้านภาษีศุลกากรมาใช้กับสินค้าเท็กซ์ไทล์และโทรทัศน์ของจีนอีกด้วย
7. นโยบายค่าเงินดอลลาร์ของสหรัฐที่อ่อนค่าลง เนื่องจากสหรัฐต้องการแก้ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมหาศาลที่เป็นปัญหาเรื้อรังอยู่ในปัจจุบัน โดยมีนโยบายทำให้ดอลลาร์อ่อนค่าเพื่อกระตุ้นการส่งออกและสกัดการนำเข้า ซึ่งทิศทางค่าเงินดอลล่าร์จะอ่อนค่าได้ตลอดไปหรือไม่ขึ้นกับธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ว่าจะตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้นต่อไปได้หรือไม่ ถ้ายังตรึงอัตราดอกเบี้ยต่อไปได้ ค่าเงินดอลล่าร์ก็ยังอ่อนค่าอยู่ต่อไป แต่แนวโน้มที่เฟดจะตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยังมีความเป็นไปได้ ซึ่งอาจจะเป็นช่วงปลาย ๆ ของครึ่งปี 2547 นี้ จากการที่ค่าดอลลาร์อ่อนตัวย่อมทำให้เงิน ตราสกุลอื่น ๆ เช่น ยูโร เยน เป็นต้น แข็งค่าขึ้น ซึ่งธนาคารกลางญี่ปุ่นได้เข้าไปแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนอยู่เป็นระยะ ๆ เพื่อสกัดไม่ให้เงินเยนแข็งค่าเร็วเกินไป อันจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของญี่ปุ่นและรายได้ของภาคธุรกิจที่ลดลง
เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา
เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเริ่มมีทิศทางฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยรายจ่ายเพื่อการบริโภค ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจเริ่มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (U.of Michigan Confidence Index) ในเดือนมีนาคม 2547 ปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 95.8 เป็นผลจากผู้บริโภคได้รับคืนเงินจากภาษี สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ (ISM Manufacturing) ในเดือนมกราคม 2547 ได้ปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 63.6 ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 20 กว่าปี ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นในความเชื่อมั่นด้านการผลิต ในส่วนของดัชนี Chicago PMI ในเดือนมกราคม 2547 ได้ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 65.9 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นในด้านการผลิตเช่นเดียวกัน ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 76.2
ด้านดุลงบประมาณนั้นในเดือนมกราคม 2547 ขาดดุลงบประมาณ 1.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดเริ่มปรับตัวดีขึ้นโดยเป็นผลจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อน ตัวลง ในส่วนของอัตราเงินเฟ้อนั้นอยู่ในภาวะทรงตัวที่ร้อยละ 1.7 ประกอบกับประสิทธิภาพการผลิตยังคงขยายตัวในระดับสูงอันจะเป็นปัจจัยควบคุมราคาไม่ให้สูงขึ้น จึงมีแนวโน้มที่ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (เฟด) จะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงนี้
สำหรับสถานการณ์ด้านแรงงานนั้น มีการจ้างแรงงานมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคบริการ ทำให้อัตราการว่างงานโดยเฉลี่ยมีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 6.0 ในปี 2546 เป็นร้อยละ 5.7 ในปี 2547 นอกจากนี้ประสิทธิภาพแรงงานยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนถึงความยืดหยุ่นของตลาดแรงงานและการเพิ่มประสิทธิภาพจากการปรับปรุงกิจการของภาคเอกชน รวมทั้งผลประโยชน์ที่จะเกิดจากการลงทุนในเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับสูงอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาติดต่อกันหลายปีก่อนช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวในปี 2544
จากภาวะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่เริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องทำให้คาดการณ์กันว่าในปี 2547 เศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 4.6 เทียบกับร้อยละ 3.1 ในปี 2546
อนึ่ง สหรัฐอเมริกาได้แสดงท่าทีที่ชัดเจนในการผลักดันให้เปิดการค้าเสรี 34 ชาติ ภายในปี 2548 ในการประชุมสุดยอดผู้นำ 34 ชาติ ในกลุ่มประเทศอเมริกาเหนือและใต้ที่เม็กซิโก ระหว่างวันที่ 12 -13 มกราคม 2547 แต่สมาชิกหลายประเทศในลาตินอเมริการวมทั้งแคนาดาต่างรวมกลุ่มขัดขวางความพยายามของสหรัฐอเมริกาในการผลักดันแนวทางเปิดเสรีทางการค้า โดยเห็นว่าสหรัฐอเมริกาสร้างความได้เปรียบที่ไม่เป็นธรรม
เศรษฐกิจจีน
เนื่องจากจีนวิตกกังวลว่าภาวะเศรษฐกิจอาจล่มสลาย จากภาวะฟองสบู่แตกที่เกิดขึ้นในเอเซียเมื่อปี 2540 จีนจึงได้ปรับลดเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ร้อนแรงจากร้อยละ 9.1 ในปี 2546 เป็นร้อยละ 7 ในปี 2547 หรือ Anti - Growth Policy โดยใช้นโยบายการเงินผ่านธนาคารกลางจีน ซึ่งเริ่มจากการประกาศเพิ่มเงินสดสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ (Reserve Requirement Ratio) ซึ่งครึ่งหลังสุดได้ปรับเพิ่มจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 7.5 เพื่อลดปริมาณเงินปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์ อีกทั้งเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2547 คณะกรรมการกำกับธนาคารจีน ได้กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์จีนต้องดำรงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2550
นอกจากนี้ยังกดดันให้ธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง และธนาคารท้องถิ่นต่าง ๆ ชะลอการปล่อยสินเชื่อลง (Credit Tightening) โดยเฉพาะการปล่อยกู้ในธุรกิจที่ขยายตัวสูงและร้อนแรง (red hot industry) 4 ธุรกิจหลักคือ เหล็ก ซีเมนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์และรถยนต์ และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งการให้ชะลอการปล่อยสินเชื่อโครงการที่ไม่จำเป็น ตลอดจนงดสินเชื่อในโครงการที่เกี่ยวกับเหล็ก ซีเมนต์และอลูมิเนียมในปีนี้ลงทั้งหมด และยิ่งไปกว่านั้น จีนยังมีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากธนาคารพาณิชย์เป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี ในอัตราร้อยละ 0.5 และ 0.25 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังส่งผลให้ปี 2547 เป็นปีแห่งการปฏิรูปภาคธนาคารจีนอย่างแท้จริง เนื่องจากการคาดการณ์ว่าจีนจะปรับขึ้นค่าเงินหยวนทำให้เงินทุนไหลเข้าสู่จีน เกิดปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เกิดการล้มละลายของธนาคารจีน ทำให้จีนต้องเปิดให้ธนาคารต่างชาติเข้าถือหุ้นในธนาคารจีน
สำหรับนโยบายการคลังนั้น จีนลดการใช้มาตรการทางภาษีในการกระตุ้นเศรษฐกิจลง ด้านดุลการค้านั้นในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2547 การส่งออกขยายตัวร้อยละ 28.7 ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 42 ทำให้ขาดดุลการค้าสูงถึง 7.9 พันล้านเหรียญ สรอ. ซึ่งการขาดดุลการค้านี้จะช่วยลดแรงกดดันในการเพิ่มค่าเงินหยวน
อย่างไรก็ตามในไตรมาสแรกของปี 2547 เศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 9.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจจีนยังคงขยายตัวในระดับสูง ได้แก่ การค้าปลีก (ขยายตัวร้อยละ 10.7) และการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร (ขยายตัวร้อยละ 43) ซึ่งสำนักงานสถิติจีน คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวในไตรมาสที่ 2 แต่จะเริ่มชะลอตัวลงในครึ่งหลังของปี 2547
เศรษฐกิจญี่ปุ่น
ภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ภาวะเงินฝืดลดความรุนแรงลง เป็นผลจากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนเริ่มฟื้นตัวโดยเฉพาะทางด้านสินค้าและบริการ โดยยอดค้าปลีกและการใช้จ่ายภาคครัวเรือนในเดือนกุมภาพันธ์ ขยายตัวร้อยละ 0.9 และ 6.9 ตามลำดับ ในขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมและการลงทุนภาคเอกชนได้ขยายตัวขึ้นโดยความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจใน ไตรมาสแรกปี 2547 อยู่ในระดับสูงที่สุดในรอบ 15 ปี
สำหรับการดำเนินการภาครัฐ เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นรัฐบาลได้เร่งดำเนินมาตรการภายใต้กรอบการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจที่เรียกว่า Basic Policies for Economic and Fiscal Policy Management and Structural Reform 2003 ซึ่งรัฐสภาได้ผ่านร่างกรอบงบประมาณและการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจในระยะปานกลางไปเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2547
ในส่วนการส่งออกซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นนั้น ยังคงขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่อง ในเดือนมีนาคมการส่งออกขยายตัวร้อยละ 13.3 ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 12.2 ทำให้ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 อย่างไรก็ตามคาดว่าการขยายตัวของการส่งออกจะชะลอลงในช่วงครึ่งหลังของปี 2547 หากจีนดำเนินนโยบายการเงินการคลังที่เข้มงวด ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจจีนชะลอลง เนื่องจากจีนและญี่ปุ่นเป็นคู่ค้าที่สำคัญ หรือค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนตัวลง
IMF ได้ประเมินว่าปี 2547 เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวร้อยละ 3.4 ขณะที่ญี่ปุ่นได้คาดการณ์ว่าจะขยายตัวร้อยละ 3 เทียบกับร้อยละ 2.7 ในปี 2546
(ยังมีต่อ).../เศรษฐกิจสหภาพยุโรป..
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-
สำหรับประเด็นเศรษฐกิจโลกที่สำคัญมีดังนี้
1. โลกหนีไม่พ้นปัจจัยเสี่ยงด้านการก่อการร้าย แม้ว่าภาวะสงครามระหว่าง สหรัฐอเมริกาและอิรักจะยุติลงแล้ว แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่อิรัก และความไม่สงบในอิรักยังคงคุกรุ่นส่งผลต่อ นานาอารยะประเทศต้องร่วมกันวางแผนเพื่อฟื้นฟูเสถียรภาพในอิรักทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ทำให้ประเทศต่าง ๆ ต้องส่งทหารเข้าไปบูรณะฟื้นฟูอิรัก แต่ต้องปะทะกับกองกำลังกอบกู้ชาติของอิรักจนต้องล้มตายกันทั้งสองฝ่าย บางประเทศต้องตัดสินใจถอนทหารออกจากอิรัก ดังนั้นใน ปี 2547 เสถียรภาพของเศรษฐกิจโลกจึงขึ้นกับภัยก่อการร้ายเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญเนื่องจากกระแสต่อต้านตะวันตกจะขยายวงหรือเคลื่อนจากอิรักเข้าสู่ประเทศมุสลิมอื่น ๆ ทั้งในตะวันออกกลาง เป้าหมายสำคัญคือ ซาอุดิอาระเบียและเยเมน ในเอเชีย ซึ่งเกิดวินาศกรรมที่เกาะบาหลี อินโดนีเซีย และโรงแรมแมริออต ฟิลิปปินส์ ในยุโรป โดยเฉพาะลอนดอนซึ่งมีกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงสัญชาติอังกฤษเข้าไปพัวพันเหตุระเบิดพลีชีพในอิสราเอล ในละตินอเมริกา ที่พุ่งเป้าไปที่ โคลัมเบีย คิวบา และเวเนซุเอลา ซึ่งประเทศต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นประเทศที่สหรัฐอเมริกาดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างเข้มข้น ทำให้กลุ่มหัวรุนแรงอาจก่อเหตุร้ายโดยไม่คาดคิด จากสถานการณ์ก่อการร้ายดังกล่าวมาทั้งสิ้นจะกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโลกได้โดยไม่มีขีดจำกัด ทำให้หลายประเทศ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เป็นต้น เรียกร้องให้คืนอธิปไตย ให้อิรัก นอกจากสถานการณ์การก่อการร้าย แล้วยังมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่ ความตึงเครียดระหว่างจีนและไต้หวัน กรณีที่ไต้หวันจะประกาศเอกราชจนนายกรัฐมนตรีจีนต้องหาพันธมิตรร่วม ในการยืนหยัด จีนเดียว หรือแม้แต่ปัญหาการสะสมและทดลองอาวุธนิวเคลียร์ในเกาหลีเหนือ ซึ่งจะกระทบต่อเสถียรภาพในคาบสมุทรเกาหลี
2. โลกต้องเผชิญกับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่จะหวนกลับมาแพร่ระบาดได้อีก ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันหรือซาร์ส ที่เกิดที่ใต้หวันและจีน โรควัวบ้า โรคไข้หวัดนก และโรคอื่น ๆ ซึ่งการกลับมาใหม่ของโรคร้ายแรงดังกล่าวเป็นปัจจัยเสี่ยงของปี 2547 ที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
3. ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นจากการที่ความต้องการของประเทศผู้บริโภคน้ำมัน 3 อันดับแรกของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น ตามลำดับ ได้เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่องค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ได้ควบคุมปริมาณการผลิตเพื่อให้เกิดเสถียรภาพด้านราคา จากการที่ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจีนที่เศรษฐกิจโตร้อนแรงจนกลายเป็นแหล่งดึงดูดน้ำมันโลกที่สำคัญแหล่งหนึ่ง ซึ่งสาเหตุมาจากการที่ประชาชนจีนเปลี่ยนการใช้จักรยานมาเป็นรถยนต์ที่มีจำนวนมากถึง 100 ล้านคัน จนทำให้นักวิเคราะห์ต่างวิพากษ์กันว่าจะส่งผลให้จีนพร้อมก่อสงครามกับสหรัฐอเมริกา ด้วยการแทรกแซงตะวันออกกลางหรือการค้าเทคโนโลยีด้านอาวุธให้กับกลุ่มประเทศก่อการร้ายในที่สุด
4. ในไตรมาสนี้เศรษฐกิจโลกยังคงต้องเผชิญสถานการณ์การแข่งขันทางด้านการผลิต และการค้าที่รุนแรงเพิ่มขึ้น เพื่อชิงความเป็นหนึ่งหรือเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดโลก ส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ ในโลกจำเป็นต้องแสวงหาพันธมิตรทั้งทางด้านการผลิตและการค้า เกิดการลงทุนระหว่างประเทศและการรวมกลุ่มทางการค้าในรูปกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ทั้งระดับพหุภาคีและระดับภูมิภาค เช่น WTO APEC NAFTA AFTA เป็นต้น และระดับทวิภาคีสำหรับความร่วมมือระดับทวิภาคีนั้น ปัจจุบันประเทศต่างๆ จะให้ความสำคัญเป็นพิเศษในการจัดทำเขตการค้าเสรี (Free Trade Area : FTA) และพยายาม เร่งรัดผลักดันให้สำเร็จโดยเร็ว
5. สำหรับสถานการณ์ด้านการค้าโลก เมื่อพิจารณาประเทศเศรษฐกิจหลักที่สำคัญ พบว่าในเดือนแรกของปี 2547 สหรัฐอเมริกามีมูลค่าสินค้าส่งออก 59,156.2 ล้านเหรียญ สรอ. นำเข้า 103,687.3 ล้านเหรียญ สรอ. ขาดดุลการค้า 44,531.1 ล้านเหรียญ สรอ. ซึ่งเป็นการขาดดุลการค้ากับจีนมากที่สุดถึง 11,476.6 ล้านเหรียญ สรอ. ญี่ปุ่นมีมูลค่าสินค้าส่งออก 40,221.5 ล้านเหรียญ สรอ. นำเข้า 35,503.1 ล้านเหรียญ สรอ. เกินดุลการค้า 4,718.4 ล้านเหรียญ สรอ. ซึ่งเป็นการเกินดุลการค้ากับสหรัฐอเมริการมากที่สุดถึง 4,626.3 ล้านเหรียญ สรอ. ในการที่จีนมีมูลค่าสินค้าส่งออก 35,712.2 ล้านเหรียญ สรอ. นำเข้า 35,736.6 ล้านเหรียญ สรอ. ขาดดุลการค้า 24.4 ล้านเหรียญ สรอ.
6. การประกาศชะลอความร้อนแรงทางเศรษฐกิจของจีน จีนได้ประกาศลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP Growth) จากร้อยละ 9.1 ในปี 2546 เป็นร้อยละ 7 ในปี 2547 และลดอัตราการขยายตัวของการส่งออกจากร้อยละ 40 เป็นร้อยละ 8 โดยปฏิรูปโครงสร้างในประเทศครั้งยิ่งใหญ่ เพื่อให้เกิดความสมดุลทางเศรษฐกิจและสังคมมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยชะลอการลงทุนในโครงการใหญ่ ๆ เนื่องจากมีการลงทุนที่มากเกินไป สำหรับในไตรมาสนี้ทั้งสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรปและญี่ปุ่น ก็ยังต้องการให้จีนปรับค่าเงินหยวนให้แข็งค่าขึ้น เพื่อลดการขาดดุลการค้ากับจีน นอกจากนี้ สหรัฐอเมริกายังได้ใช้มาตรการกีดกันทางการค้าด้านภาษีศุลกากรมาใช้กับสินค้าเท็กซ์ไทล์และโทรทัศน์ของจีนอีกด้วย
7. นโยบายค่าเงินดอลลาร์ของสหรัฐที่อ่อนค่าลง เนื่องจากสหรัฐต้องการแก้ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมหาศาลที่เป็นปัญหาเรื้อรังอยู่ในปัจจุบัน โดยมีนโยบายทำให้ดอลลาร์อ่อนค่าเพื่อกระตุ้นการส่งออกและสกัดการนำเข้า ซึ่งทิศทางค่าเงินดอลล่าร์จะอ่อนค่าได้ตลอดไปหรือไม่ขึ้นกับธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ว่าจะตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้นต่อไปได้หรือไม่ ถ้ายังตรึงอัตราดอกเบี้ยต่อไปได้ ค่าเงินดอลล่าร์ก็ยังอ่อนค่าอยู่ต่อไป แต่แนวโน้มที่เฟดจะตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยังมีความเป็นไปได้ ซึ่งอาจจะเป็นช่วงปลาย ๆ ของครึ่งปี 2547 นี้ จากการที่ค่าดอลลาร์อ่อนตัวย่อมทำให้เงิน ตราสกุลอื่น ๆ เช่น ยูโร เยน เป็นต้น แข็งค่าขึ้น ซึ่งธนาคารกลางญี่ปุ่นได้เข้าไปแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนอยู่เป็นระยะ ๆ เพื่อสกัดไม่ให้เงินเยนแข็งค่าเร็วเกินไป อันจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของญี่ปุ่นและรายได้ของภาคธุรกิจที่ลดลง
เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา
เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเริ่มมีทิศทางฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยรายจ่ายเพื่อการบริโภค ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจเริ่มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (U.of Michigan Confidence Index) ในเดือนมีนาคม 2547 ปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 95.8 เป็นผลจากผู้บริโภคได้รับคืนเงินจากภาษี สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ (ISM Manufacturing) ในเดือนมกราคม 2547 ได้ปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 63.6 ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 20 กว่าปี ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นในความเชื่อมั่นด้านการผลิต ในส่วนของดัชนี Chicago PMI ในเดือนมกราคม 2547 ได้ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 65.9 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นในด้านการผลิตเช่นเดียวกัน ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 76.2
ด้านดุลงบประมาณนั้นในเดือนมกราคม 2547 ขาดดุลงบประมาณ 1.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดเริ่มปรับตัวดีขึ้นโดยเป็นผลจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อน ตัวลง ในส่วนของอัตราเงินเฟ้อนั้นอยู่ในภาวะทรงตัวที่ร้อยละ 1.7 ประกอบกับประสิทธิภาพการผลิตยังคงขยายตัวในระดับสูงอันจะเป็นปัจจัยควบคุมราคาไม่ให้สูงขึ้น จึงมีแนวโน้มที่ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (เฟด) จะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงนี้
สำหรับสถานการณ์ด้านแรงงานนั้น มีการจ้างแรงงานมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคบริการ ทำให้อัตราการว่างงานโดยเฉลี่ยมีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 6.0 ในปี 2546 เป็นร้อยละ 5.7 ในปี 2547 นอกจากนี้ประสิทธิภาพแรงงานยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนถึงความยืดหยุ่นของตลาดแรงงานและการเพิ่มประสิทธิภาพจากการปรับปรุงกิจการของภาคเอกชน รวมทั้งผลประโยชน์ที่จะเกิดจากการลงทุนในเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับสูงอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาติดต่อกันหลายปีก่อนช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวในปี 2544
จากภาวะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่เริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องทำให้คาดการณ์กันว่าในปี 2547 เศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 4.6 เทียบกับร้อยละ 3.1 ในปี 2546
อนึ่ง สหรัฐอเมริกาได้แสดงท่าทีที่ชัดเจนในการผลักดันให้เปิดการค้าเสรี 34 ชาติ ภายในปี 2548 ในการประชุมสุดยอดผู้นำ 34 ชาติ ในกลุ่มประเทศอเมริกาเหนือและใต้ที่เม็กซิโก ระหว่างวันที่ 12 -13 มกราคม 2547 แต่สมาชิกหลายประเทศในลาตินอเมริการวมทั้งแคนาดาต่างรวมกลุ่มขัดขวางความพยายามของสหรัฐอเมริกาในการผลักดันแนวทางเปิดเสรีทางการค้า โดยเห็นว่าสหรัฐอเมริกาสร้างความได้เปรียบที่ไม่เป็นธรรม
เศรษฐกิจจีน
เนื่องจากจีนวิตกกังวลว่าภาวะเศรษฐกิจอาจล่มสลาย จากภาวะฟองสบู่แตกที่เกิดขึ้นในเอเซียเมื่อปี 2540 จีนจึงได้ปรับลดเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ร้อนแรงจากร้อยละ 9.1 ในปี 2546 เป็นร้อยละ 7 ในปี 2547 หรือ Anti - Growth Policy โดยใช้นโยบายการเงินผ่านธนาคารกลางจีน ซึ่งเริ่มจากการประกาศเพิ่มเงินสดสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ (Reserve Requirement Ratio) ซึ่งครึ่งหลังสุดได้ปรับเพิ่มจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 7.5 เพื่อลดปริมาณเงินปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์ อีกทั้งเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2547 คณะกรรมการกำกับธนาคารจีน ได้กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์จีนต้องดำรงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2550
นอกจากนี้ยังกดดันให้ธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง และธนาคารท้องถิ่นต่าง ๆ ชะลอการปล่อยสินเชื่อลง (Credit Tightening) โดยเฉพาะการปล่อยกู้ในธุรกิจที่ขยายตัวสูงและร้อนแรง (red hot industry) 4 ธุรกิจหลักคือ เหล็ก ซีเมนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์และรถยนต์ และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งการให้ชะลอการปล่อยสินเชื่อโครงการที่ไม่จำเป็น ตลอดจนงดสินเชื่อในโครงการที่เกี่ยวกับเหล็ก ซีเมนต์และอลูมิเนียมในปีนี้ลงทั้งหมด และยิ่งไปกว่านั้น จีนยังมีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากธนาคารพาณิชย์เป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี ในอัตราร้อยละ 0.5 และ 0.25 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังส่งผลให้ปี 2547 เป็นปีแห่งการปฏิรูปภาคธนาคารจีนอย่างแท้จริง เนื่องจากการคาดการณ์ว่าจีนจะปรับขึ้นค่าเงินหยวนทำให้เงินทุนไหลเข้าสู่จีน เกิดปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เกิดการล้มละลายของธนาคารจีน ทำให้จีนต้องเปิดให้ธนาคารต่างชาติเข้าถือหุ้นในธนาคารจีน
สำหรับนโยบายการคลังนั้น จีนลดการใช้มาตรการทางภาษีในการกระตุ้นเศรษฐกิจลง ด้านดุลการค้านั้นในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2547 การส่งออกขยายตัวร้อยละ 28.7 ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 42 ทำให้ขาดดุลการค้าสูงถึง 7.9 พันล้านเหรียญ สรอ. ซึ่งการขาดดุลการค้านี้จะช่วยลดแรงกดดันในการเพิ่มค่าเงินหยวน
อย่างไรก็ตามในไตรมาสแรกของปี 2547 เศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 9.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจจีนยังคงขยายตัวในระดับสูง ได้แก่ การค้าปลีก (ขยายตัวร้อยละ 10.7) และการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร (ขยายตัวร้อยละ 43) ซึ่งสำนักงานสถิติจีน คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวในไตรมาสที่ 2 แต่จะเริ่มชะลอตัวลงในครึ่งหลังของปี 2547
เศรษฐกิจญี่ปุ่น
ภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ภาวะเงินฝืดลดความรุนแรงลง เป็นผลจากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนเริ่มฟื้นตัวโดยเฉพาะทางด้านสินค้าและบริการ โดยยอดค้าปลีกและการใช้จ่ายภาคครัวเรือนในเดือนกุมภาพันธ์ ขยายตัวร้อยละ 0.9 และ 6.9 ตามลำดับ ในขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมและการลงทุนภาคเอกชนได้ขยายตัวขึ้นโดยความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจใน ไตรมาสแรกปี 2547 อยู่ในระดับสูงที่สุดในรอบ 15 ปี
สำหรับการดำเนินการภาครัฐ เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นรัฐบาลได้เร่งดำเนินมาตรการภายใต้กรอบการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจที่เรียกว่า Basic Policies for Economic and Fiscal Policy Management and Structural Reform 2003 ซึ่งรัฐสภาได้ผ่านร่างกรอบงบประมาณและการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจในระยะปานกลางไปเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2547
ในส่วนการส่งออกซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นนั้น ยังคงขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่อง ในเดือนมีนาคมการส่งออกขยายตัวร้อยละ 13.3 ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 12.2 ทำให้ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 อย่างไรก็ตามคาดว่าการขยายตัวของการส่งออกจะชะลอลงในช่วงครึ่งหลังของปี 2547 หากจีนดำเนินนโยบายการเงินการคลังที่เข้มงวด ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจจีนชะลอลง เนื่องจากจีนและญี่ปุ่นเป็นคู่ค้าที่สำคัญ หรือค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนตัวลง
IMF ได้ประเมินว่าปี 2547 เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวร้อยละ 3.4 ขณะที่ญี่ปุ่นได้คาดการณ์ว่าจะขยายตัวร้อยละ 3 เทียบกับร้อยละ 2.7 ในปี 2546
(ยังมีต่อ).../เศรษฐกิจสหภาพยุโรป..
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-