เศรษฐกิจสหภาพยุโรป
เศรษฐกิจของสหภาพยุโรปยังคงขยายตัวช้า ๆ อย่างต่อเนื่อง การอุปโภคบริโภคยังฟื้นตัวไม่ชัดเจน เนื่องจากผู้บริโภคยังขาดความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ระดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจในปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำกว่าที่ควรจะเป็น การว่างงานอยู่ในระดับสูง การจ้างงานยังไม่ฟื้นตัวจากปัญหาโครงสร้างตลาดแรงงานที่เรื้อรังเป็นเวลานาน ขณะที่การปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจมีความล่าช้า
การดำเนินนโยบายการเงินของสหภาพยุโรปยังคงสอดคล้องกับเป้าหมายเสถียรภาพระดับราคาในระยะปานกลาง ขณะที่ยังคงรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ สำหรับค่าเงินยูโรมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นจากการที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลงนั้น สหภาพยุโรปไม่ได้กังวลที่จะเข้าไปแทรกแซงค่าเงิน เนื่องจากสัดส่วนทางการค้าของสหภาพยุโรปไปยังประเทศนอกกลุ่มมีเพียงร้อยละ 20 ของการค้าระหว่างประเทศทั้งหมดของกลุ่ม ดังนั้นผลกระทบจากค่าเงินแข็งจึงมีต่อเศรษฐกิจไม่มากนัก
จากการที่เศรษฐกิจกระเตื้องขึ้นไม่มากนัก ทำให้คาดการณ์ว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจสหภาพยุโรปในปี 2547 จะขยายตัวได้ไม่เกินร้อยละ 2 เพิ่มจากปี 2546 ที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.7
เศรษฐกิจอาเซียน
สิงคโปร์ เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยไตรมาสแรกปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 ทำให้คาดการณ์ว่าปี 2547 เศรษฐกิจจะขยายตัวสูงสุดถึงร้อยละ 5.5 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในช่วงของการคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.5-5.5 สำหรับอัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม อยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ที่ร้อยละ 1.5 ซึ่งราคาอาหารโดยเฉพาะผักสดและเนื้อหมูได้ปรับตัวสูงขึ้นจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในภูมิภาค ขณะที่ราคา เชื้อเพลิงปรับตัวสูงขึ้นและมีการปรับขึ้นภาษีสินค้าและบริการจากร้อยละ 4 เป็นร้อยละ 5 นับตั้งแต่ต้นปี 2547 ทั้งนี้ ธนาคารสิงคโปร์คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้จะยังคงเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.2 นอกจากนี้ธนาคารกลางสิงคโปร์ยังได้ดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด โดยจะให้ค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์เมื่อเทียบกับค่าเงินของประเทศคู่ค้าค่อย ๆ แข็งค่าขึ้นทีละน้อย จากเดิมที่ดำเนินนโยบายแบบเป็นกลาง ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำและมีเสถียรภาพในระยะปานกลาง สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ควรระวังคือ ภาวะการแข่งขันนอกประเทศสูง
สำหรับภาคการผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ยังมีอนาคตสดใสและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ด้านการส่งออกในเดือนมกราคมขยายตัวร้อยละ 4.7 และมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวร้อยละ 1.5 ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 17.1
มาเลเซีย
เศรษฐกิจมาเลเซียยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวร้อยละ 11.1 โดยการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการส่งออกยังมีลู่ทางที่แจ่มใส ด้านการส่งออกในเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวร้อยละ 16.7 เพิ่มจากเดือนมกราคมที่ขยายตัวร้อยละ 7.5 ส่วนการนำเข้าในเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวร้อยละ 24 เทียบกับเดือนมกราคมที่ขยายตัวร้อยละ 12 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าสินค้าขั้นกลาง ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 1.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับอัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคมทรงตัวอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1 เนื่องจากราคาสินค้าในหมวดเครื่องนุ่งห่ม และเฟอร์นิเจอร์ปรับตัวลดลง นอกจากนี้ธนาคารกลางมาเลเซียยังได้เปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 3 month intervention rate เป็น Overnight Policy Rate (OPR) ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 2.7 สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ควรระวัง คือ หนี้สาธารณะสูง
ฟิลิปปินส์
เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ โดยธนาคารโลกคาดว่าฟิลิปปินส์จะขยายตัวร้อยละ 4.2 ในปี 2547 ซึ่งเป็นการคาดการณ์อัตราการขยายตัวที่ต่ำสุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเนื่องจากปัญหาการขาดดุลงบประมาณที่เรื้อรังและส่งผลกระทบต่อศักยภาพการขยายตัวของประเทศ ทั้งนี้การขาดดุลงบประมาณ ณ สิ้นไตรมาสแรกอยู่ที่ 56.85 ล้านเปโซ ซึ่งส่วนหนึ่งเนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อหาเสียงในช่วงก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 10 พฤษภาคม 2547 จากการที่งบประมาณขาดดุลเรื้อรังนี้ทำให้รัฐบาลต้องลดการขาดดุล โดยเพิ่มรายรับและลดรายจ่ายใน โครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานต่าง ๆ สำหรับการส่งออกในเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวร้อยละ 7.5 เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคมที่ขยายตัวร้อยละ 5.7 ส่วนการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 6.3 ลดลงจากเดือนมกราคมที่ขยายตัวร้อยละ 9 ซึ่งการนำเข้าร้อยละ 4.5 เป็นการนำเข้าสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในการผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลัก สำหรับอัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคมเร่งตัว ขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.8 หลังจากทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.4 นับตั้งแต่ต้นปี การเร่งตัวดังกล่าวเป็นผลจากราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก อย่างไรก็ดี ธนาคารฟิลิปปินส์ไม่ได้กังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อแต่อย่างใด
สำหรับค่าเงินเปโซในช่วงที่ผ่านมายังคงอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องจากสถานการณ์ความไม่ แน่นอนทางการเมือง โดยค่าเงินเปโซอ่อนค่าไปแตะระดับต่ำสุดที่ 56.35 เปโซต่อดอลลาร์ สรอ. เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยผู้ว่าการธนาคารกลางฟิลิปปินส์กล่าวว่าหากค่าเงินยังคงอ่อนค่าต่อเนื่อง ธนาคารกลางอาจดำเนินมาตรการคุมเข้มการเก็งกำไรค่าเงินเปโซโดยการปรับเพิ่ม reserve requirement ของธนาคารพาณิชย์จากร้อยละ 19 ในปัจจุบันเป็นร้อยละ 30 (worst-case scenario) หลังจากที่ก่อนหน้านี้ธนาคารได้ปรับเพิ่ม liquidity reserve requirement อีกร้อยละ 2.0 เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาเพื่อจำกัดปริมาณเงินและดูดซับสภาพคล่องในระบบซึ่งอาจถูกนำไปใช้ในการเก็งกำไรค่าเงินเปโซ รวมทั้งเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่อาจปรับตัวสูงขึ้นในระยะต่อไป สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือ หนี้สาธารณะสูง และความเสี่ยงทางการเมือง
อินโดนีเซีย
เศรษฐกิจอินโดนีเซียเริ่มส่งสัญญาณเปราะบางโดยการส่งออกในเดือนกุมภาพันธ์ลดลงร้อยละ 1.6 ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 2.6 ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลลดลงมาอยู่ที่ระดับ 2 พันล้านดอลลาร์สรอ. ส่วนอัตราเงินเฟ้อล่าสุดในเดือนมีนาคมได้ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย โดยอยู่ที่ร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับร้อยละ 4.6 ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งมาจากราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น สำหรับค่าเงินรูเปียห์ในช่วงกลางเดือนเมษายนอ่อนค่าลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 8,633 รูเปียห์ต่อดอลลาร์ สรอ. หรืออ่อนลงประมาณร้อยละ 2 จากต้นปี ทั้งนี้ เพราะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนจากการเลือกตั้งภายในประเทศซึ่งอินโดนีเซียได้จัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นเมื่อวันที่ 5 เมษายนที่ผ่านมา สำหรับปัจจัยเสี่ยง ที่ควรระวังคือ ความเสี่ยงทางการเมืองเศรษฐกิจอุตสาหกรรมใหม่ในเอเชีย
ไต้หวัน
เศรษฐกิจไต้หวันฟื้นตัวดีขึ้น เป็นผลจากการค้าระหว่างประเทศซึ่งเป็นตัวแปรหลักของเศรษฐกิจไต้หวันขยายตัวสูงตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ในตลาดโลก ส่งผลให้การส่งออกใน ไตรมาสแรกขยายตัวร้อยละ 22.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สำหรับการนำเข้าขยายตัว ร้อยละ 31.3 ซึ่งการส่งออกที่ขยายตัวดีส่งผลให้การผลิตขยายตัวสูงไปด้วย โดยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 15.7 โดยอุตสาหกรรมที่ขยายตัวสูง ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์และเคมีภัณฑ์ ในขณะเดียวกันอัตราการว่างงานที่ปรับฤดูกาลลดมาอยู่ที่ร้อยละ 4.5 ในเดือนมีนาคม เนื่องจากภาคธุรกิจมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ทั้งนี้รัฐบาลคาดว่าอัตราการว่างงานของไต้หวันปี 2547 จะอยู่ที่ร้อยละ 4.7 - 4.8 ลดลงจากปี 2546 ที่ร้อยละ 5 ดังนั้นทำให้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไต้หวันจะขยายตัวร้อยละ 4.7 ในปี 2547 สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ควรระวังคือ ความขัดแย้งระหว่างจีนและไต้หวัน
ฮ่องกง
เศรษฐกิจฮ่องกงฟื้นตัวอย่างชัดเจน เป็นผลจากการบริโภคภาคเอกชนที่ฟื้นตัว โดยยอดค้าปลีกในเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวร้อยละ 13.1 เทียบกับร้อยละ 4.2 ในเดือนมกราคม เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายไม่ปรับขึ้นอัตราภาษีหรือค่าบริการ ในขณะเดียวกันได้ขยายระยะเวลาผ่อนผัน ให้นำค่าใช้จ่าย ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัยมาหักเป็นค่าลดหย่อนการเสียภาษีเงินได้ จากเดิม 5 ปี เป็น 7 ปี ทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ได้ปรับตัวดีขึ้น สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ควรระวังคือ ภาวะเงินฝืด การขาดดุลงบประมาณและอัตราการว่างงานในระดับสูง
เกาหลีใต้
เศรษฐกิจเกาหลีใต้เริ่มฟื้นตัวอย่างช้า ๆ โดยภาคต่างประเทศขยายตัวต่อเนื่อง สำหรับการส่งออกในเดือนมีนาคมขยายตัวร้อยละ 40 จากอุปสงค์ต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการ ส่งออกไปจีน ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 20 ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 2.39 พันล้านดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตามอุปสงค์ในประเทศโดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนยังไม่ฟื้นตัว และอัตราการว่างงานที่ปรับ ฤดูกาลแล้ว ณ สิ้นเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนกุมภาพันธ์ มาอยู่ที่ร้อยละ 3.1 ขณะที่ดัชนีราคา ผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 จากราคาอาหารและวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้จะเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป สำหรับปัจจัยเสี่ยงของเกาหลีใต้ ได้แก่ ความเสี่ยงทางการเมืองและความขัดแย้งทาง อุตสาหกรรม
(ยังมีต่อ).../เศรษฐกิจไทย..
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-
เศรษฐกิจของสหภาพยุโรปยังคงขยายตัวช้า ๆ อย่างต่อเนื่อง การอุปโภคบริโภคยังฟื้นตัวไม่ชัดเจน เนื่องจากผู้บริโภคยังขาดความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ระดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจในปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำกว่าที่ควรจะเป็น การว่างงานอยู่ในระดับสูง การจ้างงานยังไม่ฟื้นตัวจากปัญหาโครงสร้างตลาดแรงงานที่เรื้อรังเป็นเวลานาน ขณะที่การปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจมีความล่าช้า
การดำเนินนโยบายการเงินของสหภาพยุโรปยังคงสอดคล้องกับเป้าหมายเสถียรภาพระดับราคาในระยะปานกลาง ขณะที่ยังคงรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ สำหรับค่าเงินยูโรมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นจากการที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลงนั้น สหภาพยุโรปไม่ได้กังวลที่จะเข้าไปแทรกแซงค่าเงิน เนื่องจากสัดส่วนทางการค้าของสหภาพยุโรปไปยังประเทศนอกกลุ่มมีเพียงร้อยละ 20 ของการค้าระหว่างประเทศทั้งหมดของกลุ่ม ดังนั้นผลกระทบจากค่าเงินแข็งจึงมีต่อเศรษฐกิจไม่มากนัก
จากการที่เศรษฐกิจกระเตื้องขึ้นไม่มากนัก ทำให้คาดการณ์ว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจสหภาพยุโรปในปี 2547 จะขยายตัวได้ไม่เกินร้อยละ 2 เพิ่มจากปี 2546 ที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.7
เศรษฐกิจอาเซียน
สิงคโปร์ เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยไตรมาสแรกปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 ทำให้คาดการณ์ว่าปี 2547 เศรษฐกิจจะขยายตัวสูงสุดถึงร้อยละ 5.5 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในช่วงของการคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.5-5.5 สำหรับอัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม อยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ที่ร้อยละ 1.5 ซึ่งราคาอาหารโดยเฉพาะผักสดและเนื้อหมูได้ปรับตัวสูงขึ้นจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในภูมิภาค ขณะที่ราคา เชื้อเพลิงปรับตัวสูงขึ้นและมีการปรับขึ้นภาษีสินค้าและบริการจากร้อยละ 4 เป็นร้อยละ 5 นับตั้งแต่ต้นปี 2547 ทั้งนี้ ธนาคารสิงคโปร์คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้จะยังคงเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.2 นอกจากนี้ธนาคารกลางสิงคโปร์ยังได้ดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด โดยจะให้ค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์เมื่อเทียบกับค่าเงินของประเทศคู่ค้าค่อย ๆ แข็งค่าขึ้นทีละน้อย จากเดิมที่ดำเนินนโยบายแบบเป็นกลาง ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำและมีเสถียรภาพในระยะปานกลาง สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ควรระวังคือ ภาวะการแข่งขันนอกประเทศสูง
สำหรับภาคการผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ยังมีอนาคตสดใสและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ด้านการส่งออกในเดือนมกราคมขยายตัวร้อยละ 4.7 และมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวร้อยละ 1.5 ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 17.1
มาเลเซีย
เศรษฐกิจมาเลเซียยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวร้อยละ 11.1 โดยการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการส่งออกยังมีลู่ทางที่แจ่มใส ด้านการส่งออกในเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวร้อยละ 16.7 เพิ่มจากเดือนมกราคมที่ขยายตัวร้อยละ 7.5 ส่วนการนำเข้าในเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวร้อยละ 24 เทียบกับเดือนมกราคมที่ขยายตัวร้อยละ 12 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าสินค้าขั้นกลาง ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 1.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับอัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคมทรงตัวอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1 เนื่องจากราคาสินค้าในหมวดเครื่องนุ่งห่ม และเฟอร์นิเจอร์ปรับตัวลดลง นอกจากนี้ธนาคารกลางมาเลเซียยังได้เปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 3 month intervention rate เป็น Overnight Policy Rate (OPR) ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 2.7 สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ควรระวัง คือ หนี้สาธารณะสูง
ฟิลิปปินส์
เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ โดยธนาคารโลกคาดว่าฟิลิปปินส์จะขยายตัวร้อยละ 4.2 ในปี 2547 ซึ่งเป็นการคาดการณ์อัตราการขยายตัวที่ต่ำสุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเนื่องจากปัญหาการขาดดุลงบประมาณที่เรื้อรังและส่งผลกระทบต่อศักยภาพการขยายตัวของประเทศ ทั้งนี้การขาดดุลงบประมาณ ณ สิ้นไตรมาสแรกอยู่ที่ 56.85 ล้านเปโซ ซึ่งส่วนหนึ่งเนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อหาเสียงในช่วงก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 10 พฤษภาคม 2547 จากการที่งบประมาณขาดดุลเรื้อรังนี้ทำให้รัฐบาลต้องลดการขาดดุล โดยเพิ่มรายรับและลดรายจ่ายใน โครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานต่าง ๆ สำหรับการส่งออกในเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวร้อยละ 7.5 เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคมที่ขยายตัวร้อยละ 5.7 ส่วนการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 6.3 ลดลงจากเดือนมกราคมที่ขยายตัวร้อยละ 9 ซึ่งการนำเข้าร้อยละ 4.5 เป็นการนำเข้าสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในการผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลัก สำหรับอัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคมเร่งตัว ขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.8 หลังจากทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.4 นับตั้งแต่ต้นปี การเร่งตัวดังกล่าวเป็นผลจากราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก อย่างไรก็ดี ธนาคารฟิลิปปินส์ไม่ได้กังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อแต่อย่างใด
สำหรับค่าเงินเปโซในช่วงที่ผ่านมายังคงอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องจากสถานการณ์ความไม่ แน่นอนทางการเมือง โดยค่าเงินเปโซอ่อนค่าไปแตะระดับต่ำสุดที่ 56.35 เปโซต่อดอลลาร์ สรอ. เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยผู้ว่าการธนาคารกลางฟิลิปปินส์กล่าวว่าหากค่าเงินยังคงอ่อนค่าต่อเนื่อง ธนาคารกลางอาจดำเนินมาตรการคุมเข้มการเก็งกำไรค่าเงินเปโซโดยการปรับเพิ่ม reserve requirement ของธนาคารพาณิชย์จากร้อยละ 19 ในปัจจุบันเป็นร้อยละ 30 (worst-case scenario) หลังจากที่ก่อนหน้านี้ธนาคารได้ปรับเพิ่ม liquidity reserve requirement อีกร้อยละ 2.0 เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาเพื่อจำกัดปริมาณเงินและดูดซับสภาพคล่องในระบบซึ่งอาจถูกนำไปใช้ในการเก็งกำไรค่าเงินเปโซ รวมทั้งเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่อาจปรับตัวสูงขึ้นในระยะต่อไป สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือ หนี้สาธารณะสูง และความเสี่ยงทางการเมือง
อินโดนีเซีย
เศรษฐกิจอินโดนีเซียเริ่มส่งสัญญาณเปราะบางโดยการส่งออกในเดือนกุมภาพันธ์ลดลงร้อยละ 1.6 ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 2.6 ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลลดลงมาอยู่ที่ระดับ 2 พันล้านดอลลาร์สรอ. ส่วนอัตราเงินเฟ้อล่าสุดในเดือนมีนาคมได้ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย โดยอยู่ที่ร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับร้อยละ 4.6 ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งมาจากราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น สำหรับค่าเงินรูเปียห์ในช่วงกลางเดือนเมษายนอ่อนค่าลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 8,633 รูเปียห์ต่อดอลลาร์ สรอ. หรืออ่อนลงประมาณร้อยละ 2 จากต้นปี ทั้งนี้ เพราะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนจากการเลือกตั้งภายในประเทศซึ่งอินโดนีเซียได้จัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นเมื่อวันที่ 5 เมษายนที่ผ่านมา สำหรับปัจจัยเสี่ยง ที่ควรระวังคือ ความเสี่ยงทางการเมืองเศรษฐกิจอุตสาหกรรมใหม่ในเอเชีย
ไต้หวัน
เศรษฐกิจไต้หวันฟื้นตัวดีขึ้น เป็นผลจากการค้าระหว่างประเทศซึ่งเป็นตัวแปรหลักของเศรษฐกิจไต้หวันขยายตัวสูงตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ในตลาดโลก ส่งผลให้การส่งออกใน ไตรมาสแรกขยายตัวร้อยละ 22.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สำหรับการนำเข้าขยายตัว ร้อยละ 31.3 ซึ่งการส่งออกที่ขยายตัวดีส่งผลให้การผลิตขยายตัวสูงไปด้วย โดยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 15.7 โดยอุตสาหกรรมที่ขยายตัวสูง ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์และเคมีภัณฑ์ ในขณะเดียวกันอัตราการว่างงานที่ปรับฤดูกาลลดมาอยู่ที่ร้อยละ 4.5 ในเดือนมีนาคม เนื่องจากภาคธุรกิจมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ทั้งนี้รัฐบาลคาดว่าอัตราการว่างงานของไต้หวันปี 2547 จะอยู่ที่ร้อยละ 4.7 - 4.8 ลดลงจากปี 2546 ที่ร้อยละ 5 ดังนั้นทำให้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไต้หวันจะขยายตัวร้อยละ 4.7 ในปี 2547 สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ควรระวังคือ ความขัดแย้งระหว่างจีนและไต้หวัน
ฮ่องกง
เศรษฐกิจฮ่องกงฟื้นตัวอย่างชัดเจน เป็นผลจากการบริโภคภาคเอกชนที่ฟื้นตัว โดยยอดค้าปลีกในเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวร้อยละ 13.1 เทียบกับร้อยละ 4.2 ในเดือนมกราคม เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายไม่ปรับขึ้นอัตราภาษีหรือค่าบริการ ในขณะเดียวกันได้ขยายระยะเวลาผ่อนผัน ให้นำค่าใช้จ่าย ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัยมาหักเป็นค่าลดหย่อนการเสียภาษีเงินได้ จากเดิม 5 ปี เป็น 7 ปี ทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ได้ปรับตัวดีขึ้น สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ควรระวังคือ ภาวะเงินฝืด การขาดดุลงบประมาณและอัตราการว่างงานในระดับสูง
เกาหลีใต้
เศรษฐกิจเกาหลีใต้เริ่มฟื้นตัวอย่างช้า ๆ โดยภาคต่างประเทศขยายตัวต่อเนื่อง สำหรับการส่งออกในเดือนมีนาคมขยายตัวร้อยละ 40 จากอุปสงค์ต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการ ส่งออกไปจีน ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 20 ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 2.39 พันล้านดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตามอุปสงค์ในประเทศโดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนยังไม่ฟื้นตัว และอัตราการว่างงานที่ปรับ ฤดูกาลแล้ว ณ สิ้นเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนกุมภาพันธ์ มาอยู่ที่ร้อยละ 3.1 ขณะที่ดัชนีราคา ผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 จากราคาอาหารและวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้จะเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป สำหรับปัจจัยเสี่ยงของเกาหลีใต้ ได้แก่ ความเสี่ยงทางการเมืองและความขัดแย้งทาง อุตสาหกรรม
(ยังมีต่อ).../เศรษฐกิจไทย..
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-