เศรษฐกิจไทย
จากการประมาณการอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ประชาชาติรายไตรมาสของ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ขยายตัวร้อยละ 7.8 เมื่อรวมทั้งปี 2546 ขยายตัวร้อยละ 6.7 ซึ่ง GDP ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาส เดียวกันของปี 2545 โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2546 มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 6.6 และในไตรมาส ที่ 4 ของปี 2545 มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 7.8 และหากพิจารณาค่า GDP ที่ปรับตัวดัชนีฤดูกาลในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ขยายตัวร้อยละ 2.7 ซึ่งสูงกว่าไตรมาสที่ 3 ของปี 2546 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.3
ในส่วนของ GDP สาขาอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสที่ 4 ของปี 2545 โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 สาขาอุตสาหกรรมมีการขยายตัวร้อยละ 10.7 เทียบกับร้อยละ 8.9 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2546 และร้อยละ 10.6 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2545 โดยกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยีเป็นอุตสาหกรรมหลักในการผลักดันให้ขยายตัวในไตรมาสนี้ ในขณะที่อุตสาหกรรมเบาและอุตสาหกรรมวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว อุตสาหกรรมสำคัญที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง อุตสาหกรรมเครื่องจักร เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า โทรทัศน์และวิทยุ ยานยนต์และ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาด GDP ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ว่าจะขยายตัวร้อยละ 7 เนื่องจากปัจจัยหลักทั้งการบริโภค การส่งออกและการใช้กำลังการผลิตของภาคเอกชนช่วยสนับสนุน
สำหรับตัวเลขชี้วัดทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2546 โดยจะเห็นว่าตัวเลขอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ ร้อยละ 8.4 โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ และเพื่อพิจารณาตัวเลขการส่งออก มูลค่าการส่งออกได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 19.07 โดยมีสินค้าที่ติดอันดับต้นๆ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
ในส่วนของการลงทุนภาคเอกชนก็มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2546 โดยเพิ่มขึ้นทั้งยอดการขายซีเมนต์ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศ และยอดการนำเข้าสินค้าทุน ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคพบว่า เครื่องชี้วัดที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค และยอดการจำหน่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์
ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม
จากรายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) ที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม พบว่าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 4.21 และร้อยละ 9.28 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต น้ำตาล อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ และอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เป็นต้น
ดัชนีการส่งสินค้า
ดัชนีการส่งสินค้า (Shipment Index) แสดงทิศทางของระดับการขนส่งสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 1.04 และร้อยละ 10.26 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต น้ำตาล อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่น ๆ และอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการ กลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ เป็นต้น
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง (Finished Goods Inventory Index) แสดงทิศทางหรือระดับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการสำรองสินค้าเพื่อไม่ให้สินค้าขาดตลาด ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 0.73 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 4.32
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต น้ำตาล อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ และอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก และอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้กำลังการผลิต เป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตที่ใช้กำลังการผลิตเต็มที่ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 อัตราการใช้กำลังเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 1.76 และร้อยละ 8.40 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ และอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น
ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจและผู้บริโภค
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จัดทำโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แบ่งออกเป็น 3 ดัชนี ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ และดัชนีเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต (ตารางที่ 2) พบว่า ไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ทั้ง 3 ดัชนี มีการปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 สำหรับปัจจัยที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงทุกรายการในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ได้แก่ ความกังวลของผู้บริโภคเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ และการชุมนุมประท้วงคัดค้านการ แปรรูปรัฐวิสาหกิจของพนักงานรัฐวิสาหกิจ
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 มีค่า 107.5, 105.2 และ 103.0 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ค่าดัชนีมีค่าสูงกว่า 100 ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 6 เดือน แสดงว่า ผู้บริโภคยังมีความเชื่อมั่นว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของไทยยังคงทรงตัวอยู่ในระดับปกติ และมีแนวโน้มที่จะปรับตัวดีขึ้นได้ต่อไปในอนาคต
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 มีค่า 100.0, 98.4 และ 96.9 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ดัชนีมีค่าต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 2 (แต่ยังมีค่าใกล้ระดับ 100) แสดงว่าผู้บริโภคยังมีความเชื่อมั่นว่าภาวะการจ้างงานโดยรวมของไทยทรงตัวอยู่ในระดับปกติ แม้ว่าจะสูญเสียความเชื่อมั่นด้านการจ้างงานไปบ้างจากผลกระทบด้านจิตวิทยา
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต ไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 มีค่า 121.0, 118.6 และ 116.8 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ค่าดัชนีมีค่าสูงกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคยังมีความมั่นใจในรายได้ในอนาคตของตนว่าจะปรับตัวดีขึ้นและมีโอกาสน้อยที่จะปรับตัวลดลง
จากการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ซึ่งจัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 3) พบว่าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ดัชนีปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546 แต่ค่าดัชนีโดยรวมยังคงมีค่าสูงกว่าระดับ 50 แสดงว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี ผู้ประกอบการมองว่าภาวะการณ์ด้านธุรกิจในอนาคตเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น อย่างไรก็ตามดัชนีที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ ผลประกอบการของบริษัท อำนาจซื้อของประชาชน และการผลิตของบริษัท
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (Thai Industries Sentiment Index : TISI)
จัดทำโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (ตารางที่ 4) พบว่า ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ดัชนีลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 อย่างไรก็ตามค่าดัชนียังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่า 100 แสดงว่าผู้ประกอบการอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นในสภาวะอุตสาหกรรมโดยรวมอยู่ในระดับที่ดี จะมีเพียงค่าดัชนีความเชื่อมั่นในด้านต้นทุนการประกอบการเท่านั้นที่มีค่าดัชนีต่ำกว่า 100 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มองว่าต้นทุนการประกอบการยังคงอยู่ในระดับที่สูง สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นในแต่ละปัจจัยของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมที่อยู่ในระดับเกินกว่า 100 ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นยอดขายโดยรวมในปัจจุบัน ดัชนีความเชื่อมั่นปริมาณการผลิตในอนาคต และดัชนีความเชื่อมั่นด้านกำไรสุทธิในปัจจุบัน
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Leading Economic Index : LEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเครื่องมือในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจ ในอีก 3 - 4 เดือนข้างหน้า ปรากฏว่าดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในเดือนมีนาคม 2547 อยู่ที่ระดับ 125.0 ซึ่งปรับตัวลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ ร้อยละ 0.6 ตามการลดลงของเครื่องชี้ ได้แก่ ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ราคาน้ำมันดิบ (โอมาน) และการส่งออก ณ ราคาคงที่
สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 มีค่า 126.0 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีค่า 126.8ดัชนีพ้องเศรษฐกิจ
ค่าประมาณการเบื้องต้นของดัชนีพ้องเศรษฐกิจ (Coincident Economic Index : CEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ในเดือนมีนาคม 2547 อยู่ที่ระดับ 122.0 ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ร้อยละ 0.2 ตามการลดลงของเครื่องชี้ ได้แก่ ปริมาณจำหน่ายรถยนต์รวม และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 มีค่า 122.3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีค่า 121.5การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (Expenditure on private consumption) ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ทรงตัวจากไตรมาสที่ผ่านมา และปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 (ตารางที่ 5)
ทั้งนี้ การอุปโภคบริโภค ภาคเอกชนยังขยายตัวต่อเนื่องแม้ว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจะได้รับผลกระทบในเชิงลบบ้างจากหลายเหตุการณ์ในระยะนี้ ซึ่งเครื่องชี้สำคัญที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546 คือ ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ยอดการจำหน่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนโดยรวม (ตารางที่ 6) ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 พิจารณาจากปัจจัยหลัก 3 ประการ ได้แก่ ยอดการขายซีเมนต์ในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศ และยอดการนำเข้าสินค้าทุน พบว่า ดัชนีการลงทุนในภาคเอกชนในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546
หากแยกตามรายการสินค้าพบว่า ปริมาณการจำหน่ายปูนซิมนต์ในประเทศ ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 เพิ่มขึ้นทั้งจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546
ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546
ภาวะราคาสินค้า
จากการสำรวจดัชนีราคาผู้บริโภค (ตารางที่ 7) และดัชนีราคาผู้ผลิต (ตารางที่ 8) โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ พบว่า ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ดัชนีราคาผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา และไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ตามราคาผักและผลไม้ ข้าวหอมมะลิ เนื้อสุกร และเนื้อไก่ ส่วนราคาสินค้าในหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มก็เพิ่มขึ้น ตามการปรับขึ้นค่ารถโดยสารธรรมดา ค่าไฟฟ้า
ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิต ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา และไตรมาสเดียวกันของปี 2546 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดผลผลิตเกษตรกรรมผลิตภัณฑ์จากเหมือง และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
(ยังมีต่อ).../แรงงานในภาค..
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-
จากการประมาณการอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ประชาชาติรายไตรมาสของ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ขยายตัวร้อยละ 7.8 เมื่อรวมทั้งปี 2546 ขยายตัวร้อยละ 6.7 ซึ่ง GDP ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาส เดียวกันของปี 2545 โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2546 มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 6.6 และในไตรมาส ที่ 4 ของปี 2545 มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 7.8 และหากพิจารณาค่า GDP ที่ปรับตัวดัชนีฤดูกาลในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ขยายตัวร้อยละ 2.7 ซึ่งสูงกว่าไตรมาสที่ 3 ของปี 2546 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.3
ในส่วนของ GDP สาขาอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสที่ 4 ของปี 2545 โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 สาขาอุตสาหกรรมมีการขยายตัวร้อยละ 10.7 เทียบกับร้อยละ 8.9 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2546 และร้อยละ 10.6 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2545 โดยกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยีเป็นอุตสาหกรรมหลักในการผลักดันให้ขยายตัวในไตรมาสนี้ ในขณะที่อุตสาหกรรมเบาและอุตสาหกรรมวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว อุตสาหกรรมสำคัญที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง อุตสาหกรรมเครื่องจักร เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า โทรทัศน์และวิทยุ ยานยนต์และ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาด GDP ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ว่าจะขยายตัวร้อยละ 7 เนื่องจากปัจจัยหลักทั้งการบริโภค การส่งออกและการใช้กำลังการผลิตของภาคเอกชนช่วยสนับสนุน
สำหรับตัวเลขชี้วัดทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2546 โดยจะเห็นว่าตัวเลขอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ ร้อยละ 8.4 โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ และเพื่อพิจารณาตัวเลขการส่งออก มูลค่าการส่งออกได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 19.07 โดยมีสินค้าที่ติดอันดับต้นๆ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
ในส่วนของการลงทุนภาคเอกชนก็มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2546 โดยเพิ่มขึ้นทั้งยอดการขายซีเมนต์ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศ และยอดการนำเข้าสินค้าทุน ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคพบว่า เครื่องชี้วัดที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค และยอดการจำหน่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์
ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม
จากรายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) ที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม พบว่าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 4.21 และร้อยละ 9.28 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต น้ำตาล อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ และอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เป็นต้น
ดัชนีการส่งสินค้า
ดัชนีการส่งสินค้า (Shipment Index) แสดงทิศทางของระดับการขนส่งสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 1.04 และร้อยละ 10.26 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต น้ำตาล อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่น ๆ และอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการ กลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ เป็นต้น
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง (Finished Goods Inventory Index) แสดงทิศทางหรือระดับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการสำรองสินค้าเพื่อไม่ให้สินค้าขาดตลาด ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 0.73 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 4.32
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต น้ำตาล อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ และอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก และอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้กำลังการผลิต เป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตที่ใช้กำลังการผลิตเต็มที่ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 อัตราการใช้กำลังเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 1.76 และร้อยละ 8.40 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ และอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น
ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจและผู้บริโภค
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จัดทำโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แบ่งออกเป็น 3 ดัชนี ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ และดัชนีเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต (ตารางที่ 2) พบว่า ไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ทั้ง 3 ดัชนี มีการปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 สำหรับปัจจัยที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงทุกรายการในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ได้แก่ ความกังวลของผู้บริโภคเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ และการชุมนุมประท้วงคัดค้านการ แปรรูปรัฐวิสาหกิจของพนักงานรัฐวิสาหกิจ
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 มีค่า 107.5, 105.2 และ 103.0 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ค่าดัชนีมีค่าสูงกว่า 100 ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 6 เดือน แสดงว่า ผู้บริโภคยังมีความเชื่อมั่นว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของไทยยังคงทรงตัวอยู่ในระดับปกติ และมีแนวโน้มที่จะปรับตัวดีขึ้นได้ต่อไปในอนาคต
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 มีค่า 100.0, 98.4 และ 96.9 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ดัชนีมีค่าต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 2 (แต่ยังมีค่าใกล้ระดับ 100) แสดงว่าผู้บริโภคยังมีความเชื่อมั่นว่าภาวะการจ้างงานโดยรวมของไทยทรงตัวอยู่ในระดับปกติ แม้ว่าจะสูญเสียความเชื่อมั่นด้านการจ้างงานไปบ้างจากผลกระทบด้านจิตวิทยา
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต ไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 มีค่า 121.0, 118.6 และ 116.8 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ค่าดัชนีมีค่าสูงกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคยังมีความมั่นใจในรายได้ในอนาคตของตนว่าจะปรับตัวดีขึ้นและมีโอกาสน้อยที่จะปรับตัวลดลง
จากการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ซึ่งจัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 3) พบว่าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ดัชนีปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546 แต่ค่าดัชนีโดยรวมยังคงมีค่าสูงกว่าระดับ 50 แสดงว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี ผู้ประกอบการมองว่าภาวะการณ์ด้านธุรกิจในอนาคตเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น อย่างไรก็ตามดัชนีที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ ผลประกอบการของบริษัท อำนาจซื้อของประชาชน และการผลิตของบริษัท
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (Thai Industries Sentiment Index : TISI)
จัดทำโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (ตารางที่ 4) พบว่า ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ดัชนีลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 อย่างไรก็ตามค่าดัชนียังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่า 100 แสดงว่าผู้ประกอบการอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นในสภาวะอุตสาหกรรมโดยรวมอยู่ในระดับที่ดี จะมีเพียงค่าดัชนีความเชื่อมั่นในด้านต้นทุนการประกอบการเท่านั้นที่มีค่าดัชนีต่ำกว่า 100 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มองว่าต้นทุนการประกอบการยังคงอยู่ในระดับที่สูง สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นในแต่ละปัจจัยของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมที่อยู่ในระดับเกินกว่า 100 ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นยอดขายโดยรวมในปัจจุบัน ดัชนีความเชื่อมั่นปริมาณการผลิตในอนาคต และดัชนีความเชื่อมั่นด้านกำไรสุทธิในปัจจุบัน
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Leading Economic Index : LEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเครื่องมือในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจ ในอีก 3 - 4 เดือนข้างหน้า ปรากฏว่าดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในเดือนมีนาคม 2547 อยู่ที่ระดับ 125.0 ซึ่งปรับตัวลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ ร้อยละ 0.6 ตามการลดลงของเครื่องชี้ ได้แก่ ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ราคาน้ำมันดิบ (โอมาน) และการส่งออก ณ ราคาคงที่
สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 มีค่า 126.0 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีค่า 126.8ดัชนีพ้องเศรษฐกิจ
ค่าประมาณการเบื้องต้นของดัชนีพ้องเศรษฐกิจ (Coincident Economic Index : CEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ในเดือนมีนาคม 2547 อยู่ที่ระดับ 122.0 ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ร้อยละ 0.2 ตามการลดลงของเครื่องชี้ ได้แก่ ปริมาณจำหน่ายรถยนต์รวม และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 มีค่า 122.3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีค่า 121.5การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (Expenditure on private consumption) ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ทรงตัวจากไตรมาสที่ผ่านมา และปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 (ตารางที่ 5)
ทั้งนี้ การอุปโภคบริโภค ภาคเอกชนยังขยายตัวต่อเนื่องแม้ว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจะได้รับผลกระทบในเชิงลบบ้างจากหลายเหตุการณ์ในระยะนี้ ซึ่งเครื่องชี้สำคัญที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546 คือ ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ยอดการจำหน่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนโดยรวม (ตารางที่ 6) ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 พิจารณาจากปัจจัยหลัก 3 ประการ ได้แก่ ยอดการขายซีเมนต์ในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศ และยอดการนำเข้าสินค้าทุน พบว่า ดัชนีการลงทุนในภาคเอกชนในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546
หากแยกตามรายการสินค้าพบว่า ปริมาณการจำหน่ายปูนซิมนต์ในประเทศ ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 เพิ่มขึ้นทั้งจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546
ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546
ภาวะราคาสินค้า
จากการสำรวจดัชนีราคาผู้บริโภค (ตารางที่ 7) และดัชนีราคาผู้ผลิต (ตารางที่ 8) โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ พบว่า ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ดัชนีราคาผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา และไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ตามราคาผักและผลไม้ ข้าวหอมมะลิ เนื้อสุกร และเนื้อไก่ ส่วนราคาสินค้าในหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มก็เพิ่มขึ้น ตามการปรับขึ้นค่ารถโดยสารธรรมดา ค่าไฟฟ้า
ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิต ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา และไตรมาสเดียวกันของปี 2546 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดผลผลิตเกษตรกรรมผลิตภัณฑ์จากเหมือง และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
(ยังมีต่อ).../แรงงานในภาค..
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-