แรงงานในภาคอุตสาหกรรม
จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชาชนในไตรมาสที่ 4 (ตัวเลขเดือนพฤศจิกายน)ของปี 2546 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน 35.28 ล้านคน เป็นผู้ที่มีงานทำ 34.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 97.8 ของกำลังแรงงานทั้งหมด และมีผู้ว่างงาน 0.54 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 1.50) ลดลงจากช่วงไตรมาสที่ 3 เล็กน้อยที่มีผู้ว่างงาน 0.55 ล้านคน
สำหรับการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 มีจำนวน 5.49 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 15.91 ของผู้มีงานทำทั้งหมด และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาสที่ 3 พบว่าอุตสาหกรรมการผลิตมีจำนวนผู้มีงานทำเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จาก 5.39 ล้านคนเป็น 5.49 ล้านคน เพิ่มขึ้นประมาณ 100,000 คน หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 1.9
ทางด้านจำนวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ณ สิ้นไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 มีจำนวนผู้ประกันตนทั้งสิ้น 7,434,237 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงไตรมาสที่ 3 82,916 คน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.12) กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้รับแจ้งจำนวนลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างในระยะเวลา 12 เดือนของปี 2546 มีจำนวน 176,793 คน โดยเป็นการเลิกจ้างในอุตสาหกรรมการผลิตจำนวน 69,502 คน อุตสาหกรรมที่มีการเลิกจ้างมากที่สุด 4 อันดับแรกได้แก่อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร มีจำนวน 9,299 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปและเครื่องแต่งกายจำนวน 8,308 คน อุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอและสิ่งถัก จำนวน 6,490 คน และอุตสาหกรรมการผลิตยางและพลาสติก จำนวน 6,076 คน
ส่วนสถานประกอบการที่เลิกกิจการมีจำนวน 17,487 แห่ง ซึ่งอุตสาหกรรมที่มีการเลิกกิจการมากที่สุดคือ อุตสาหกรรมการผลิต ประกอบ ซ่อมยานพาหนะและอุปกร์ 826 แห่ง รองลงมาคืออุตสาหกรรมการผลิตโลหะขั้นมูลฐาน จำนวน 642 แห่ง และอุตสาหกรรมอาหารเครื่องดื่มและยาสูบ 575 แห่ง
การค้าต่างประเทศ
สถานการณ์การค้าในช่วงไตรมาสหนึ่งของปี 2547 มีทิศทางเพิ่มสูงขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2547 โดยในไตรมาสที่ 1 นี้การค้าต่างประเทศของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 44,313.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 22,409.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 21,904.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.41 และการนำเข้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.11 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 19.07 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.77 ส่งผลให้การเกินดุลการค้าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 มีมูลค่า 505.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งลดลงจากไตรมาส 4 ร้อยละ 29.47 และลดลงร้อยละ 64.02 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว
เป็นที่น่าสังเกตว่าการส่งออกในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 เมื่อพิจารณาเป็นรายเดือน พบว่ามีมูลค่าการส่งออกเกินกว่า 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯทุกเดือน โดยเฉพาะในเดือนมีนาคม 2547 มีมูลค่าการส่งออกสูงถึง 7,960.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
โครงสร้างการส่งออก
การส่งออกในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 ประกอบด้วย สินค้าอุตสาหกรรม 17,364.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 77.5) สินค้าเกษตรกรรม 2,429.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 10.8) สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร 1,484.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 6.6) สินค้าแร่ธาตุและเชื้อเพลิง 722.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.2) และสินค้าอื่นๆ 408.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 1.8)
เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกของสินค้าเกือบทุกตัวมีอัตราการขยายตัวที่เพิ่มขึ้น โดยสินค้าเกษตรกรรมส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.1 สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 สินค้าอุตสาหกรรม มีการส่งออกเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 23.0 สินค้าแร่ธาตุและเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.4 และสินค้าอื่นลดลงร้อยละ 37.9
สินค้าส่งออกที่สำคัญ 10 รายการหลักในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกสูงสุดคือ 2,133.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ แผงวงจรไฟฟ้า 1,286.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 1,191.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ยางพารา 898.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ 739.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เสื้อผ้าสำเร็จรูป 669.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เม็ดพลาสติก 668.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัญมณีและเครื่องประดับ 589.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เครื่องปรับอากาศ 542.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 2,137.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่าการส่งออก 10 รายการหลักรวมกันเท่ากับ 9,235.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 41.21 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
ตลาดส่งออก
ในไตรมาสแรกของปี 2547 การส่งออกไปยังตลาดหลัก ซึ่งได้แก่ อาเซียน สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีน มีสัดส่วนการส่งออกรวมคิดเป็นร้อยละ 74.59ของการส่งออกของไทยไปยังทั่วโลก โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่า การส่งออกของประเทศไทยเพิ่มขึ้นในทุกตลาดหลัก โดยในตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.8 ตลาดญี่ปุ่นร้อยละ 14.0 ตลาดสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 ตลาดสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 ตลาดจีนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 24.8 และตลาดอื่นๆร้อยละ 14.72
โครงสร้างการนำเข้า
การนำเข้าในไตรมาสที่ 1 ประกอบด้วยสินค้าทุน มีมูลค่าสูงที่สุด 9,603.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 43.8) รองลงมาเป็นการนำเข้าวัตถุดิบ 6,719.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 30.7) น้ำมันเชื้อเพลิง 2,687.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 12.3) สินค้าอุปโภคบริโภค 1,804.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 8.2) สินค้าหมวดยานพาหนะ 873.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 4.0) และ สินค้าอื่นๆ 216.1 (คิดเป็นร้อยละ 1.0)
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่าสินค้าเกือบทุกหมวดมีมูลค่าการนำเข้าขยายตัว โดยสินค้าทุนนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.0 น้ำมันเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.0 สินค้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.9 สินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.1 และสินค้าหมวดยานพาหนะเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.4 สินค้าหมวดอื่นๆเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.0
แหล่งนำเข้า
การนำเข้าจากแหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น, อาเซียน, สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และจีน โดยในไตรมาสแรกของปี 2547 มีสัดส่วนนำเข้ารวมร้อยละ 66.59 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2546 พบว่าการนำเข้าจากกลุ่มประเทศอาเซียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.8 ,สหภาพยุโรป ร้อยละ 27.2 ,ญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.4 , จีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.2 และจากแหล่งอื่นๆเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.1 ส่วนสหรัฐอเมริกาลดลงร้อยละ 1.0
แนวโน้มการส่งออก
สถานการณ์การค้าในปี 2547 ยังคงมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยกระทรวงพาณิชย์ได้วางเป้าหมายมูลค่าการส่งออกไว้ที่ 92,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15
โดยปัจจัยหลักที่จะสนับสนุนการส่งออก คือ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่มีแนวโน้มที่ดี การเปิดเสรีการค้า การเปิดตลาดใหม่ของรัฐบาล และราคาสินค้าเกษตรหลายชนิดที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเช่น ข้าวมันสำปะหลัง และยางพารา โดยเฉพาะข้าวมีการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 39
สำหรับปัจจัยที่มีผลกระทบด้านลบต่อการส่งออก คือ ปัญหาการก่อการร้าย ภาวะราคาน้ำมันซึ่งยังคงมีทิศทางที่สูง ภาวะสงครามในอิรักและปัญหาตะวันออกกลาง รวมทั้งปัญหาของภาวะโรคระบาดที่อาจจะเกิดขึ้นในภูมิภาค
การลงทุนจากต่างประเทศ
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ มีมูลค่ารวม 7,719 ล้านบาท โดยในเดือนมกราคมมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 2,081 ล้านบาท และเดือนกุมภาพันธ์ 5,638 ล้านบาท
ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 สาขาอุตสาหกรรมเป็นสาขาที่มีการลงทุนสุทธิมากที่สุด คือ 6,334 ล้านบาท โดยในสาขาอุตสาหกรรมมีการลงทุนสุทธิในหมวดปิโตรเคมีมากที่สุด เป็นเงินลงทุนสุทธิ 3,708 ล้านบาท รองลงมาคือหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ 326 ล้านบาท และสาขาอุปกรณ์ก่อสร้าง 278 ล้านบาท
ประเทศที่เข้ามาลงทุนสุทธิในประเทศไทยมากที่สุดในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ คือ ประเทศญี่ปุ่น มีเงินลงทุนสุทธิถึง 3,025 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศสหราชอาณาจักร ,สิงคโปร์ และ สหรัฐอเมริกา มีเงินลงทุนสุทธิ 2,093 ล้านบาท , 1,609 ล้านบาท และ 1,586 ล้านบาท ตามลำดับ
สำหรับการลงทุนจากต่างประเทศที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 การลงทุนจากต่างประเทศที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีจำนวนทั้งสิ้น 184 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 64,400 ล้านบาท โดยเป็นโครงการที่ลงทุนจากต่างประเทศ 100 % จำนวน 92 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 29,100 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและต่างประเทศ 92 โครงการ เป็นเงินลงทุน 35,300 ล้านบาท
เมื่อพิจารณาในหมวดของการเข้ามาลงทุน พบว่า ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด คือ หมวดผลิตโลหะและอุปกรณ์ มีเงินลงทุน 24,500 ล้านบาท รองลงมาคือ หมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 18,300 ล้านบาท และบริการ มีเงินลงทุน 11,500 ล้านบาท
สำหรับแหล่งลงทุนในไตรมาสแรกของปี 2547 พบว่านักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นมีการลงทุนมากที่สุดโดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 91 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 34,181 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศเนเธอร์แลนด์ จำนวน 3 โครงการ 8,069 ล้านบาท ประเทศสิงคโปร์ 19 โครงการ เป็นเงินลงทุน 5,392 ล้านบาท ,เกาหลีใต้ จำนวน 12 โครงการ เป็นเงินลงทุน ล้านบาท
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-
จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชาชนในไตรมาสที่ 4 (ตัวเลขเดือนพฤศจิกายน)ของปี 2546 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน 35.28 ล้านคน เป็นผู้ที่มีงานทำ 34.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 97.8 ของกำลังแรงงานทั้งหมด และมีผู้ว่างงาน 0.54 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 1.50) ลดลงจากช่วงไตรมาสที่ 3 เล็กน้อยที่มีผู้ว่างงาน 0.55 ล้านคน
สำหรับการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 มีจำนวน 5.49 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 15.91 ของผู้มีงานทำทั้งหมด และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาสที่ 3 พบว่าอุตสาหกรรมการผลิตมีจำนวนผู้มีงานทำเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จาก 5.39 ล้านคนเป็น 5.49 ล้านคน เพิ่มขึ้นประมาณ 100,000 คน หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 1.9
ทางด้านจำนวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ณ สิ้นไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 มีจำนวนผู้ประกันตนทั้งสิ้น 7,434,237 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงไตรมาสที่ 3 82,916 คน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.12) กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้รับแจ้งจำนวนลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างในระยะเวลา 12 เดือนของปี 2546 มีจำนวน 176,793 คน โดยเป็นการเลิกจ้างในอุตสาหกรรมการผลิตจำนวน 69,502 คน อุตสาหกรรมที่มีการเลิกจ้างมากที่สุด 4 อันดับแรกได้แก่อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร มีจำนวน 9,299 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปและเครื่องแต่งกายจำนวน 8,308 คน อุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอและสิ่งถัก จำนวน 6,490 คน และอุตสาหกรรมการผลิตยางและพลาสติก จำนวน 6,076 คน
ส่วนสถานประกอบการที่เลิกกิจการมีจำนวน 17,487 แห่ง ซึ่งอุตสาหกรรมที่มีการเลิกกิจการมากที่สุดคือ อุตสาหกรรมการผลิต ประกอบ ซ่อมยานพาหนะและอุปกร์ 826 แห่ง รองลงมาคืออุตสาหกรรมการผลิตโลหะขั้นมูลฐาน จำนวน 642 แห่ง และอุตสาหกรรมอาหารเครื่องดื่มและยาสูบ 575 แห่ง
การค้าต่างประเทศ
สถานการณ์การค้าในช่วงไตรมาสหนึ่งของปี 2547 มีทิศทางเพิ่มสูงขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2547 โดยในไตรมาสที่ 1 นี้การค้าต่างประเทศของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 44,313.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 22,409.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 21,904.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.41 และการนำเข้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.11 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 19.07 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.77 ส่งผลให้การเกินดุลการค้าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 มีมูลค่า 505.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งลดลงจากไตรมาส 4 ร้อยละ 29.47 และลดลงร้อยละ 64.02 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว
เป็นที่น่าสังเกตว่าการส่งออกในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 เมื่อพิจารณาเป็นรายเดือน พบว่ามีมูลค่าการส่งออกเกินกว่า 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯทุกเดือน โดยเฉพาะในเดือนมีนาคม 2547 มีมูลค่าการส่งออกสูงถึง 7,960.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
โครงสร้างการส่งออก
การส่งออกในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 ประกอบด้วย สินค้าอุตสาหกรรม 17,364.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 77.5) สินค้าเกษตรกรรม 2,429.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 10.8) สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร 1,484.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 6.6) สินค้าแร่ธาตุและเชื้อเพลิง 722.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.2) และสินค้าอื่นๆ 408.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 1.8)
เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกของสินค้าเกือบทุกตัวมีอัตราการขยายตัวที่เพิ่มขึ้น โดยสินค้าเกษตรกรรมส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.1 สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 สินค้าอุตสาหกรรม มีการส่งออกเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 23.0 สินค้าแร่ธาตุและเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.4 และสินค้าอื่นลดลงร้อยละ 37.9
สินค้าส่งออกที่สำคัญ 10 รายการหลักในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกสูงสุดคือ 2,133.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ แผงวงจรไฟฟ้า 1,286.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 1,191.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ยางพารา 898.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ 739.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เสื้อผ้าสำเร็จรูป 669.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เม็ดพลาสติก 668.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัญมณีและเครื่องประดับ 589.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เครื่องปรับอากาศ 542.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 2,137.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่าการส่งออก 10 รายการหลักรวมกันเท่ากับ 9,235.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 41.21 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
ตลาดส่งออก
ในไตรมาสแรกของปี 2547 การส่งออกไปยังตลาดหลัก ซึ่งได้แก่ อาเซียน สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีน มีสัดส่วนการส่งออกรวมคิดเป็นร้อยละ 74.59ของการส่งออกของไทยไปยังทั่วโลก โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่า การส่งออกของประเทศไทยเพิ่มขึ้นในทุกตลาดหลัก โดยในตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.8 ตลาดญี่ปุ่นร้อยละ 14.0 ตลาดสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 ตลาดสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 ตลาดจีนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 24.8 และตลาดอื่นๆร้อยละ 14.72
โครงสร้างการนำเข้า
การนำเข้าในไตรมาสที่ 1 ประกอบด้วยสินค้าทุน มีมูลค่าสูงที่สุด 9,603.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 43.8) รองลงมาเป็นการนำเข้าวัตถุดิบ 6,719.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 30.7) น้ำมันเชื้อเพลิง 2,687.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 12.3) สินค้าอุปโภคบริโภค 1,804.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 8.2) สินค้าหมวดยานพาหนะ 873.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 4.0) และ สินค้าอื่นๆ 216.1 (คิดเป็นร้อยละ 1.0)
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่าสินค้าเกือบทุกหมวดมีมูลค่าการนำเข้าขยายตัว โดยสินค้าทุนนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.0 น้ำมันเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.0 สินค้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.9 สินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.1 และสินค้าหมวดยานพาหนะเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.4 สินค้าหมวดอื่นๆเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.0
แหล่งนำเข้า
การนำเข้าจากแหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น, อาเซียน, สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และจีน โดยในไตรมาสแรกของปี 2547 มีสัดส่วนนำเข้ารวมร้อยละ 66.59 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2546 พบว่าการนำเข้าจากกลุ่มประเทศอาเซียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.8 ,สหภาพยุโรป ร้อยละ 27.2 ,ญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.4 , จีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.2 และจากแหล่งอื่นๆเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.1 ส่วนสหรัฐอเมริกาลดลงร้อยละ 1.0
แนวโน้มการส่งออก
สถานการณ์การค้าในปี 2547 ยังคงมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยกระทรวงพาณิชย์ได้วางเป้าหมายมูลค่าการส่งออกไว้ที่ 92,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15
โดยปัจจัยหลักที่จะสนับสนุนการส่งออก คือ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่มีแนวโน้มที่ดี การเปิดเสรีการค้า การเปิดตลาดใหม่ของรัฐบาล และราคาสินค้าเกษตรหลายชนิดที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเช่น ข้าวมันสำปะหลัง และยางพารา โดยเฉพาะข้าวมีการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 39
สำหรับปัจจัยที่มีผลกระทบด้านลบต่อการส่งออก คือ ปัญหาการก่อการร้าย ภาวะราคาน้ำมันซึ่งยังคงมีทิศทางที่สูง ภาวะสงครามในอิรักและปัญหาตะวันออกกลาง รวมทั้งปัญหาของภาวะโรคระบาดที่อาจจะเกิดขึ้นในภูมิภาค
การลงทุนจากต่างประเทศ
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ มีมูลค่ารวม 7,719 ล้านบาท โดยในเดือนมกราคมมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 2,081 ล้านบาท และเดือนกุมภาพันธ์ 5,638 ล้านบาท
ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 สาขาอุตสาหกรรมเป็นสาขาที่มีการลงทุนสุทธิมากที่สุด คือ 6,334 ล้านบาท โดยในสาขาอุตสาหกรรมมีการลงทุนสุทธิในหมวดปิโตรเคมีมากที่สุด เป็นเงินลงทุนสุทธิ 3,708 ล้านบาท รองลงมาคือหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ 326 ล้านบาท และสาขาอุปกรณ์ก่อสร้าง 278 ล้านบาท
ประเทศที่เข้ามาลงทุนสุทธิในประเทศไทยมากที่สุดในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ คือ ประเทศญี่ปุ่น มีเงินลงทุนสุทธิถึง 3,025 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศสหราชอาณาจักร ,สิงคโปร์ และ สหรัฐอเมริกา มีเงินลงทุนสุทธิ 2,093 ล้านบาท , 1,609 ล้านบาท และ 1,586 ล้านบาท ตามลำดับ
สำหรับการลงทุนจากต่างประเทศที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 การลงทุนจากต่างประเทศที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีจำนวนทั้งสิ้น 184 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 64,400 ล้านบาท โดยเป็นโครงการที่ลงทุนจากต่างประเทศ 100 % จำนวน 92 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 29,100 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและต่างประเทศ 92 โครงการ เป็นเงินลงทุน 35,300 ล้านบาท
เมื่อพิจารณาในหมวดของการเข้ามาลงทุน พบว่า ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด คือ หมวดผลิตโลหะและอุปกรณ์ มีเงินลงทุน 24,500 ล้านบาท รองลงมาคือ หมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 18,300 ล้านบาท และบริการ มีเงินลงทุน 11,500 ล้านบาท
สำหรับแหล่งลงทุนในไตรมาสแรกของปี 2547 พบว่านักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นมีการลงทุนมากที่สุดโดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 91 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 34,181 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศเนเธอร์แลนด์ จำนวน 3 โครงการ 8,069 ล้านบาท ประเทศสิงคโปร์ 19 โครงการ เป็นเงินลงทุน 5,392 ล้านบาท ,เกาหลีใต้ จำนวน 12 โครงการ เป็นเงินลงทุน ล้านบาท
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-