บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔
ครั้งที่ ๓๔ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันศุกร์ที่ ๒๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๔๕ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธาน
สภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นบัลลังก์
และกล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๔ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๔
พฤษภาคม ๒๕๔๗ และครั้งที่ ๒๘ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๑๘
พฤษภาคม ๒๕๔๗ ได้ลงมติตั้งกรรมมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภา เพื่อพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติจำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดี
ล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(๒) ร่างพระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๗ (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่ ๑๗
พฤษภาคม ๒๕๔๗ ครั้งที่ ๒๙ (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่ ๒๔ พฤษภาคม
๒๕๔๗ และครั้งที่ ๓๐ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว
จำนวน ๓ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติเหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า
สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา
๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. ….
(๒) ร่างพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(๓) ร่างพระราชบัญญัติสถานพยาบาล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๓. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๗ (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่ ๑๗ พฤษภาคม
๒๕๔๗ ครั้งที่ ๒๘ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๑๘ พฤษภาคม
๒๕๔๗ และครั้งที่ ๓๐ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
จำนวน ๓ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(บัตรและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(๓) ร่างพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. ….
ที่ประชุมรับทราบ ภายหลังการอภิปรายของสมาชิกฯ
๔. นายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้พิจารณา
ให้คำรับรอง จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. ….
ซึ่ง นายสมศักดิ์ โสมกลาง เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. ….
ซึ่ง นายเมธี ฉัตรจินดารัตน์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมรับทราบ
๕. สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาแจ้งว่าเนื่องจากขณะนี้เรื่อง
ร้องเรียนมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีอยู่เพียง
๒ คน จึงเห็นสมควรให้สภาผู้แทนราษฎรดำเนินการสรรหาและเลือกผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
เพิ่มขึ้นอีก ๑ คน เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๙๖ ซึ่งกำหนด
ให้มีผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาจำนวนไม่เกินสามคน ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึง
ปรึกษาที่ประชุมว่าสมควรมีผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเพิ่มเติมเพื่อให้ครบจำนวนสามคนหรือไม่
ภายหลังการอภิปรายของสมาชิกฯ ที่ประชุมเห็นชอบให้เชิญผู้ตรวจการ
แผ่นดินของรัฐสภามาชี้แจงเหตุผลความจำเป็นเพื่อประกอบการพิจารณาก่อน
๖. เรื่องสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๑๘ (๓) คือ นายการุญ จันทรางศุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย
ขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่วันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๗
๗. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๙ (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ได้ลงมติขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติรถยนต์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ออกไปเป็นกรณีพิเศษอีก ๓๐ วัน นับแต่วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๔
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุม
สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๓ จำนวน ๕ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๑๖ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๑๗ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๕
กันยายน ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๑๘ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๑๙ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒
ตุลาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๔๖
ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมทั้ง ๕ ครั้งดังกล่าว
ต่อมา ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม โดย
ขอนำระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๕, ๑๖ และ ๑๘ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุม
เห็นชอบ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระ
ตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๕) โดยที่ประชุมเห็นชอบ
ให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๒ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. ….
ซึ่ง นายนัจมุดดีน อูมา กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๖.๓)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาส พ.ศ. …. ซึ่ง
นางพรพิชญ์ พึ่งธรรมเดช พัฒนกุลเลิศ กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ซึ่งยังมิได้บรรจุ
ระเบียบวาระ)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล
ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย โดยมีรองประธานสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม
และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติ
ในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับ พร้อมกันไป และมีมติให้ตั้ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลัก
ในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายกระแส ชนะวงศ์ ๒. นายรุ่ง แก้วแดง
๓. รองศาสตราจารย์ภาวิช ทองโรจน์ ๔. นายพีรพันธุ์ พาลุสุข
๕. ผู้ช่วยศาสตราจารย์หะสัน หมัดหมาน ๖. นางลลิตา ฤกษ์สำราญ
๗. นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ ๘. นายมุข สุไลมาน
๙. นายไพศาล ยิ่งสมาน ๑๐. นายบูราฮานูดิน อุเซ็ง
๑๑. นายประแสง มงคลศิริ ๑๒. นางสาวชรินรัตน์ พุทธปวน
๑๓. นางกิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ ๑๔. นายชวลิต วิชยสุทธิ์
๑๕. นายประสงค์ บูรณ์พงศ์ ๑๖. นางฟาริดา สุไลมาน
๑๗. นายศุภชัย โพธิ์สุ ๑๘. นายวิรัตน์ ตยางคนนท์
๑๙. นายไพจิต ศรีวรขาน ๒๐. นายนัจมุดดีน อูมา
๒๑. นายสุลัยมาลย์ วงษ์พานิช ๒๒. นายอรรถพล มามะ
๒๓. นายพายัพ ปั้นเกตุ ๒๔. นางพรพิชญ์ พึ่งธรรมเดช พัฒนกุลเลิศ
๒๕. นายสุรเชษฐ์ แวอาแซ ๒๖. นายสมมารถ เจ๊ะนา
๒๗. นายสนั่น สุธากุล ๒๘. นายประกอบ รัตนพันธ์
๒๙. นายประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ ๓๐. นายกูเฮ็ง ยาวอหะซัน
๓๑. นายสมัย เจริญช่าง ๓๒. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
๓๓. นายอานนท์ เที่ยงตรง ๓๔. นายบรรจง พงศ์ศาสตร์
๓๕. นางมาลินี อินฉัตร
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๖) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกัน
อีก ๒ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. …. ซึ่ง
นายประสงค์ บูรณ์พงศ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๖.๑)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. …. ซึ่ง
นายสนั่น สุธากุล กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ซึ่งยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล
ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย โดยมีรองประธานสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองได้ผลัดเปลี่ยนกัน
ดำเนินการประชุม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับ พร้อมกันไป
และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรี
เป็นหลักในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายกระแส ชนะวงศ์ ๒. นายรุ่ง แก้วแดง
๓. รองศาสตราจารย์ภาวิช ทองโรจน์ ๔. นายพีรพันธุ์ พาลุสุข
๕. ผู้ช่วยศาสตราจารย์หะสัน หมัดหมาน ๖. นางลลิตา ฤกษ์สำราญ
๗. นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ ๘. ว่าที่เรือโท วัลลภ ยังตรง
๙. นายเปรมศักดิ์ เพียยุระ ๑๐. นายมุข สุไลมาน
๑๑. นายชลน่าน ศรีแก้ว ๑๒. นายประแสง มงคลศิริ
๑๓. นางสาวชรินรัตน์ พุทธปวน ๑๔. นายชวลิต วิชยสุทธิ์
๑๕. นายประสงค์ บูรณ์พงศ์ ๑๖. นายอรรถสิทธิ์ (คันคาย) ทรัพยสิทธิ์
๑๗. นายศุภชัย โพธิ์สุ ๑๘. นายวิรัตน์ ตยางคนนท์
๑๙. นายไพจิต ศรีวรขาน ๒๐. ร้อยโท กุเทพ ใสกระจ่าง
๒๑. นายขจิตร ชัยนิคม ๒๒. นายสุรชัย ชินชัย
๒๓. นางวิไลวรรณ อัศวเศรณี ๒๔. นายไพศาล จันทวารา
๒๕. นายฉลาด ขามช่วง ๒๖. นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์
๒๗. นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ๒๘. นายอุทัย สุดสุข
๒๙. นายวิฑูรย์ นามบุตร ๓๐. นายสุทัศน์ เงินหมื่น
๓๑. ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ๓๒. นางผ่องศรี แซ่จึง
๓๓. นายวิพัฒน์ คงมาลัย ๓๔. นายสุชาติ ศรีสังข์
๓๕. นายอมรเทพ สมหมาย
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๓. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๘) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกัน
อีก ๑ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. ….
ซึ่ง นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ และนางผ่องศรี แซ่จึง เป็นผู้เสนอ (ซึ่งยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล ตามลำดับ
มีสมาชิกฯ อภิปราย โดยมีรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่แทน และรัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงศึกษาธิการ ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการ
แห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับ พร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน
เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายสุธรรม แสงประทุม ๒. รองศาสตราจารย์สมบูรณ์ ชิตพงศ์
๓. รองศาสตราจารย์หริส สูตะบุตร ๔. รองศาสตราจารย์ภาวิช ทองโรจน์
๕. นายวราสิทธิ์ กาญจนสูตร ๖. นางลลิตา ฤกษ์สำราญ
๗. นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ ๘. นายมุข สุไลมาน
๙. นายบูราฮานูดิน อุเซ็ง ๑๐. นายไพศาล ยิ่งสมาน
๑๑. นายประแสง มงคลศิริ ๑๒. นางสาวชรินรัตน์ พุทธปวน
๑๓. นายสุรชัย ชินชัย ๑๔. นายสฤต สันติเมทนีดล
๑๕. นายนิสิต สินธุไพร ๑๖. นายกิตติ สมทรัพย์
๑๗. นายขจรธน จุดโต ๑๘. นายเอกธนัช อินทร์รอด
๑๙. นายพิชาญ พิบูลย์วัฒนวงษ์ ๒๐. นายนัจมุดดีน อูมา
๒๑. พลเอก รัตนะ เฉลิมแสนยากร ๒๒. นายอรรถพล มามะ
๒๓. นางฟาริดา สุไลมาน ๒๔. นายถาวร เสนเนียม
๒๕. นายเจือ ราชสีห์ ๒๖. นายนิพนธ์ บุญญามณี
๒๗. นายสัมพันธ์ ทองสมัคร ๒๘. นายสุธรรม นทีทอง
๒๙. นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร ๓๐. นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ
๓๑. นายนริศ ขำนุรักษ์ ๓๒. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
๓๓. นายสมาน กลิ่นเกสร ๓๔. นายสุภาพ คลี่ขจาย
๓๕. นายสมภพ โรจนพันธ์
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
จากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งให้ที่ประชุม
รับทราบเรื่องต่างๆ ดังนี้
๑. เรื่องงดประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันพุธที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๔๗
เนื่องจากเป็นวันวิสาขบูชา
๒. ตั้งซ่อมกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ซึ่งยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายทวี สุระบาล เป็นกรรมาธิการแทน
นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร
ก่อนเลิกประชุม ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้สรุป
ผลงานของสภาผู้แทนราษฎรในสมัยประชุมสามัญทั่วไป จากนั้น ได้ให้เลขาธิการสภา
ผู้แทนราษฎรอ่านพระบรมราชโองการประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญทั่วไป พ.ศ. ๒๕๔๗
ให้ที่ประชุมรับทราบ
เลิกประชุมเวลา ๑๗.๓๕ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๓ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ เสนอรวม ๓ ฉบับ)
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ
เสนอรวม ๓ ฉบับ)
๓. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ
เสนอรวม ๒ ฉบับ)
*************************
ครั้งที่ ๓๔ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันศุกร์ที่ ๒๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๔๕ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธาน
สภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นบัลลังก์
และกล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๔ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๔
พฤษภาคม ๒๕๔๗ และครั้งที่ ๒๘ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๑๘
พฤษภาคม ๒๕๔๗ ได้ลงมติตั้งกรรมมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภา เพื่อพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติจำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดี
ล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(๒) ร่างพระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๗ (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่ ๑๗
พฤษภาคม ๒๕๔๗ ครั้งที่ ๒๙ (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่ ๒๔ พฤษภาคม
๒๕๔๗ และครั้งที่ ๓๐ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว
จำนวน ๓ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติเหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า
สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา
๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. ….
(๒) ร่างพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(๓) ร่างพระราชบัญญัติสถานพยาบาล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๓. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๗ (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่ ๑๗ พฤษภาคม
๒๕๔๗ ครั้งที่ ๒๘ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๑๘ พฤษภาคม
๒๕๔๗ และครั้งที่ ๓๐ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
จำนวน ๓ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(บัตรและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(๓) ร่างพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. ….
ที่ประชุมรับทราบ ภายหลังการอภิปรายของสมาชิกฯ
๔. นายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้พิจารณา
ให้คำรับรอง จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. ….
ซึ่ง นายสมศักดิ์ โสมกลาง เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. ….
ซึ่ง นายเมธี ฉัตรจินดารัตน์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมรับทราบ
๕. สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาแจ้งว่าเนื่องจากขณะนี้เรื่อง
ร้องเรียนมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีอยู่เพียง
๒ คน จึงเห็นสมควรให้สภาผู้แทนราษฎรดำเนินการสรรหาและเลือกผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
เพิ่มขึ้นอีก ๑ คน เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๙๖ ซึ่งกำหนด
ให้มีผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาจำนวนไม่เกินสามคน ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึง
ปรึกษาที่ประชุมว่าสมควรมีผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเพิ่มเติมเพื่อให้ครบจำนวนสามคนหรือไม่
ภายหลังการอภิปรายของสมาชิกฯ ที่ประชุมเห็นชอบให้เชิญผู้ตรวจการ
แผ่นดินของรัฐสภามาชี้แจงเหตุผลความจำเป็นเพื่อประกอบการพิจารณาก่อน
๖. เรื่องสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๑๘ (๓) คือ นายการุญ จันทรางศุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย
ขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่วันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๗
๗. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๙ (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ได้ลงมติขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติรถยนต์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ออกไปเป็นกรณีพิเศษอีก ๓๐ วัน นับแต่วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๔
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุม
สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๓ จำนวน ๕ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๑๖ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๑๗ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๕
กันยายน ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๑๘ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๑๙ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒
ตุลาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๔๖
ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมทั้ง ๕ ครั้งดังกล่าว
ต่อมา ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม โดย
ขอนำระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๕, ๑๖ และ ๑๘ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุม
เห็นชอบ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระ
ตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๕) โดยที่ประชุมเห็นชอบ
ให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๒ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. ….
ซึ่ง นายนัจมุดดีน อูมา กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๖.๓)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาส พ.ศ. …. ซึ่ง
นางพรพิชญ์ พึ่งธรรมเดช พัฒนกุลเลิศ กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ซึ่งยังมิได้บรรจุ
ระเบียบวาระ)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล
ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย โดยมีรองประธานสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม
และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติ
ในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับ พร้อมกันไป และมีมติให้ตั้ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลัก
ในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายกระแส ชนะวงศ์ ๒. นายรุ่ง แก้วแดง
๓. รองศาสตราจารย์ภาวิช ทองโรจน์ ๔. นายพีรพันธุ์ พาลุสุข
๕. ผู้ช่วยศาสตราจารย์หะสัน หมัดหมาน ๖. นางลลิตา ฤกษ์สำราญ
๗. นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ ๘. นายมุข สุไลมาน
๙. นายไพศาล ยิ่งสมาน ๑๐. นายบูราฮานูดิน อุเซ็ง
๑๑. นายประแสง มงคลศิริ ๑๒. นางสาวชรินรัตน์ พุทธปวน
๑๓. นางกิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ ๑๔. นายชวลิต วิชยสุทธิ์
๑๕. นายประสงค์ บูรณ์พงศ์ ๑๖. นางฟาริดา สุไลมาน
๑๗. นายศุภชัย โพธิ์สุ ๑๘. นายวิรัตน์ ตยางคนนท์
๑๙. นายไพจิต ศรีวรขาน ๒๐. นายนัจมุดดีน อูมา
๒๑. นายสุลัยมาลย์ วงษ์พานิช ๒๒. นายอรรถพล มามะ
๒๓. นายพายัพ ปั้นเกตุ ๒๔. นางพรพิชญ์ พึ่งธรรมเดช พัฒนกุลเลิศ
๒๕. นายสุรเชษฐ์ แวอาแซ ๒๖. นายสมมารถ เจ๊ะนา
๒๗. นายสนั่น สุธากุล ๒๘. นายประกอบ รัตนพันธ์
๒๙. นายประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ ๓๐. นายกูเฮ็ง ยาวอหะซัน
๓๑. นายสมัย เจริญช่าง ๓๒. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
๓๓. นายอานนท์ เที่ยงตรง ๓๔. นายบรรจง พงศ์ศาสตร์
๓๕. นางมาลินี อินฉัตร
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๖) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกัน
อีก ๒ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. …. ซึ่ง
นายประสงค์ บูรณ์พงศ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๖.๑)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. …. ซึ่ง
นายสนั่น สุธากุล กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ซึ่งยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล
ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย โดยมีรองประธานสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองได้ผลัดเปลี่ยนกัน
ดำเนินการประชุม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับ พร้อมกันไป
และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรี
เป็นหลักในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายกระแส ชนะวงศ์ ๒. นายรุ่ง แก้วแดง
๓. รองศาสตราจารย์ภาวิช ทองโรจน์ ๔. นายพีรพันธุ์ พาลุสุข
๕. ผู้ช่วยศาสตราจารย์หะสัน หมัดหมาน ๖. นางลลิตา ฤกษ์สำราญ
๗. นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ ๘. ว่าที่เรือโท วัลลภ ยังตรง
๙. นายเปรมศักดิ์ เพียยุระ ๑๐. นายมุข สุไลมาน
๑๑. นายชลน่าน ศรีแก้ว ๑๒. นายประแสง มงคลศิริ
๑๓. นางสาวชรินรัตน์ พุทธปวน ๑๔. นายชวลิต วิชยสุทธิ์
๑๕. นายประสงค์ บูรณ์พงศ์ ๑๖. นายอรรถสิทธิ์ (คันคาย) ทรัพยสิทธิ์
๑๗. นายศุภชัย โพธิ์สุ ๑๘. นายวิรัตน์ ตยางคนนท์
๑๙. นายไพจิต ศรีวรขาน ๒๐. ร้อยโท กุเทพ ใสกระจ่าง
๒๑. นายขจิตร ชัยนิคม ๒๒. นายสุรชัย ชินชัย
๒๓. นางวิไลวรรณ อัศวเศรณี ๒๔. นายไพศาล จันทวารา
๒๕. นายฉลาด ขามช่วง ๒๖. นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์
๒๗. นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ๒๘. นายอุทัย สุดสุข
๒๙. นายวิฑูรย์ นามบุตร ๓๐. นายสุทัศน์ เงินหมื่น
๓๑. ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ๓๒. นางผ่องศรี แซ่จึง
๓๓. นายวิพัฒน์ คงมาลัย ๓๔. นายสุชาติ ศรีสังข์
๓๕. นายอมรเทพ สมหมาย
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๓. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๘) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกัน
อีก ๑ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. ….
ซึ่ง นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ และนางผ่องศรี แซ่จึง เป็นผู้เสนอ (ซึ่งยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล ตามลำดับ
มีสมาชิกฯ อภิปราย โดยมีรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่แทน และรัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงศึกษาธิการ ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการ
แห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับ พร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน
เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายสุธรรม แสงประทุม ๒. รองศาสตราจารย์สมบูรณ์ ชิตพงศ์
๓. รองศาสตราจารย์หริส สูตะบุตร ๔. รองศาสตราจารย์ภาวิช ทองโรจน์
๕. นายวราสิทธิ์ กาญจนสูตร ๖. นางลลิตา ฤกษ์สำราญ
๗. นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ ๘. นายมุข สุไลมาน
๙. นายบูราฮานูดิน อุเซ็ง ๑๐. นายไพศาล ยิ่งสมาน
๑๑. นายประแสง มงคลศิริ ๑๒. นางสาวชรินรัตน์ พุทธปวน
๑๓. นายสุรชัย ชินชัย ๑๔. นายสฤต สันติเมทนีดล
๑๕. นายนิสิต สินธุไพร ๑๖. นายกิตติ สมทรัพย์
๑๗. นายขจรธน จุดโต ๑๘. นายเอกธนัช อินทร์รอด
๑๙. นายพิชาญ พิบูลย์วัฒนวงษ์ ๒๐. นายนัจมุดดีน อูมา
๒๑. พลเอก รัตนะ เฉลิมแสนยากร ๒๒. นายอรรถพล มามะ
๒๓. นางฟาริดา สุไลมาน ๒๔. นายถาวร เสนเนียม
๒๕. นายเจือ ราชสีห์ ๒๖. นายนิพนธ์ บุญญามณี
๒๗. นายสัมพันธ์ ทองสมัคร ๒๘. นายสุธรรม นทีทอง
๒๙. นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร ๓๐. นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ
๓๑. นายนริศ ขำนุรักษ์ ๓๒. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
๓๓. นายสมาน กลิ่นเกสร ๓๔. นายสุภาพ คลี่ขจาย
๓๕. นายสมภพ โรจนพันธ์
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
จากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งให้ที่ประชุม
รับทราบเรื่องต่างๆ ดังนี้
๑. เรื่องงดประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันพุธที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๔๗
เนื่องจากเป็นวันวิสาขบูชา
๒. ตั้งซ่อมกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ซึ่งยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายทวี สุระบาล เป็นกรรมาธิการแทน
นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร
ก่อนเลิกประชุม ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้สรุป
ผลงานของสภาผู้แทนราษฎรในสมัยประชุมสามัญทั่วไป จากนั้น ได้ให้เลขาธิการสภา
ผู้แทนราษฎรอ่านพระบรมราชโองการประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญทั่วไป พ.ศ. ๒๕๔๗
ให้ที่ประชุมรับทราบ
เลิกประชุมเวลา ๑๗.๓๕ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๓ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ เสนอรวม ๓ ฉบับ)
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ
เสนอรวม ๓ ฉบับ)
๓. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ
เสนอรวม ๒ ฉบับ)
*************************