อภิรักษ์’ เสนอแนวทางแก้ปัญหาจากกรณี ‘ห้างนิวเวิลด์’ ถล่ม
จากผลพวงเหตุการณ์ ‘ห้างนิวเวิลด์’ ถล่ม ‘อภิรักษ์ โกษะโยธิน’ เสนอแนวทางแก้ปัญหาการก่อสร้าง และการรื้อถอน ต้องมีการประสานงานกันโดยให้กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลาง ในการเข้าไปตรวจสอบทุกอาคารในกทมเมื่อเวลา 14.00 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงกรณีห้างนิวเวิลด์ถล่ม เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 47 ที่ผ่านมา โดยระบุว่า ในวันและเวลาดังกล่าว ตนได้เดินทางไปยังสถานที่เกิดเหตุ และได้พูดคุยกับคนที่เกี่ยวข้องพบว่า สาเหตุที่สำคัญของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคือ เรื่องการควบคุมการรื้อถอนที่ยังไม่ได้มาตรฐาน ทั้งนี้คิดว่าหากมีการควบคุมที่ดีแล้วเหตุการณ์ความรุนแรงถึงชีวิตจะไม่เกิดขึ้น
ส่วนแนวทางการดำเนินการในปัญหาลักษณะดังกล่าวเมื่อได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครนั้น นายอภิรักษ์กล่าวว่า จะมีการดำเนินการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น กทม. สภาวิศวกร วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย หรือกรมโยธาธิการ ให้ออกประกาศแนวทางที่ชัดเจนในการควบคุมปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งเรื่องการรื้อถอน หรือการก่อสร้าง
ผู้สมัครผู้ว่าฯกทม.พรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า สิ่งที่ตนอยากเสนอเป็นนโยบายเพื่อเป็นแนวทาง คือการตรวจสอบอาคารทั้งหมดที่มีอยู่ในกทม. โดยเฉพาะอาคารที่มีปัญหาเรื่องการออกแบบ หรือการต่อเติมที่ได้รับการตรวจสอบแล้วว่าไม่ปลอดภัย กทม.ต้องจัดการอย่างเข้มงวดในการประสานงาน ทั้งสำนักงานโยธา สำนักเทศกิจ และเข้าไปตรวจสอบประสานงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรื้อถอนให้ถูกต้องตามกำหนดเวลา หรือในส่วนของโครงการที่เป็นตึกร้าง ซึ่งกทม.จะต้องเข้าไปประสานงานกับเจ้าของโครงการนั้นๆ ส่วนปัญหาหลักที่สำคัญ คิดว่าเป็นเรื่องความปลอดภัย ซึ่งส่วนนี้กทม.จะต้องเข้าไปดำเนินการอย่างเข้มงวดในการป้องกัน
‘กทม.ต้องเป็นศูนย์กลางในการประสานงานกับหน่วยงานทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของกทม.เอง อย่างกรณีนี้คือ กรมโยธาธิการหรือสำนักงานเขต รวมทั้งสำนักงานที่ดูแลคือสถานีตำรวจที่อยู่ในแต่ละพื้นที่ หน่วยบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งมูลนิธิต่างๆ ให้เข้ามาดำเนินการอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ตรงนี้เป็นแนวทางที่อยากจะฝากไว้ และจะเป็นแนวโยบายในการทำงานของผมเอง หากมีโอกาสได้รับเลือกตั้งไปเป็นผู้ว่ากทม.คนใหม่’ นายอภิรักษ์กล่าว
ด้านนายสามารถ มะลูลีม ประธานสภากรุงเทพมหานคร ระบุว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถือเป็นข้อบกพร่องของเจ้าของอาคาร และข้าราชการประจำในการดำเนินงาน ในช่วงปี 2531 ศาลตัดสินไม่ให้กทม.เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในการรื้อถอน เนื่องจากกทม.รู้ตั้งแต่ต้นแล้วว่ามีการก่อสร้างถึง 11 ชั้น ทั้งที่ตอกเสาเข็มไว้เพียง 4 ชั้นเท่านั้น แต่กทม.ก็ละเลยปล่อยให้มีการดำเนินการสร้างต่อ ดังนั้นหากนายอภิรักษ์ ได้เป็นผู้ว่ากทม. ก็จะเข้าไปจัดการในส่วนนี้คือ หากมีการทำผิดกฎหมายก็จะมีการดำเนินการในทันที โดยไม่ต้องรอให้มีการสู้คดีในขั้นศาล เพราะจะกินเวลานานมาก
โดยทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 3 มิ.ย. 2547--จบ--
-ดท-
จากผลพวงเหตุการณ์ ‘ห้างนิวเวิลด์’ ถล่ม ‘อภิรักษ์ โกษะโยธิน’ เสนอแนวทางแก้ปัญหาการก่อสร้าง และการรื้อถอน ต้องมีการประสานงานกันโดยให้กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลาง ในการเข้าไปตรวจสอบทุกอาคารในกทมเมื่อเวลา 14.00 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงกรณีห้างนิวเวิลด์ถล่ม เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 47 ที่ผ่านมา โดยระบุว่า ในวันและเวลาดังกล่าว ตนได้เดินทางไปยังสถานที่เกิดเหตุ และได้พูดคุยกับคนที่เกี่ยวข้องพบว่า สาเหตุที่สำคัญของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคือ เรื่องการควบคุมการรื้อถอนที่ยังไม่ได้มาตรฐาน ทั้งนี้คิดว่าหากมีการควบคุมที่ดีแล้วเหตุการณ์ความรุนแรงถึงชีวิตจะไม่เกิดขึ้น
ส่วนแนวทางการดำเนินการในปัญหาลักษณะดังกล่าวเมื่อได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครนั้น นายอภิรักษ์กล่าวว่า จะมีการดำเนินการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น กทม. สภาวิศวกร วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย หรือกรมโยธาธิการ ให้ออกประกาศแนวทางที่ชัดเจนในการควบคุมปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งเรื่องการรื้อถอน หรือการก่อสร้าง
ผู้สมัครผู้ว่าฯกทม.พรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า สิ่งที่ตนอยากเสนอเป็นนโยบายเพื่อเป็นแนวทาง คือการตรวจสอบอาคารทั้งหมดที่มีอยู่ในกทม. โดยเฉพาะอาคารที่มีปัญหาเรื่องการออกแบบ หรือการต่อเติมที่ได้รับการตรวจสอบแล้วว่าไม่ปลอดภัย กทม.ต้องจัดการอย่างเข้มงวดในการประสานงาน ทั้งสำนักงานโยธา สำนักเทศกิจ และเข้าไปตรวจสอบประสานงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรื้อถอนให้ถูกต้องตามกำหนดเวลา หรือในส่วนของโครงการที่เป็นตึกร้าง ซึ่งกทม.จะต้องเข้าไปประสานงานกับเจ้าของโครงการนั้นๆ ส่วนปัญหาหลักที่สำคัญ คิดว่าเป็นเรื่องความปลอดภัย ซึ่งส่วนนี้กทม.จะต้องเข้าไปดำเนินการอย่างเข้มงวดในการป้องกัน
‘กทม.ต้องเป็นศูนย์กลางในการประสานงานกับหน่วยงานทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของกทม.เอง อย่างกรณีนี้คือ กรมโยธาธิการหรือสำนักงานเขต รวมทั้งสำนักงานที่ดูแลคือสถานีตำรวจที่อยู่ในแต่ละพื้นที่ หน่วยบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งมูลนิธิต่างๆ ให้เข้ามาดำเนินการอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ตรงนี้เป็นแนวทางที่อยากจะฝากไว้ และจะเป็นแนวโยบายในการทำงานของผมเอง หากมีโอกาสได้รับเลือกตั้งไปเป็นผู้ว่ากทม.คนใหม่’ นายอภิรักษ์กล่าว
ด้านนายสามารถ มะลูลีม ประธานสภากรุงเทพมหานคร ระบุว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถือเป็นข้อบกพร่องของเจ้าของอาคาร และข้าราชการประจำในการดำเนินงาน ในช่วงปี 2531 ศาลตัดสินไม่ให้กทม.เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในการรื้อถอน เนื่องจากกทม.รู้ตั้งแต่ต้นแล้วว่ามีการก่อสร้างถึง 11 ชั้น ทั้งที่ตอกเสาเข็มไว้เพียง 4 ชั้นเท่านั้น แต่กทม.ก็ละเลยปล่อยให้มีการดำเนินการสร้างต่อ ดังนั้นหากนายอภิรักษ์ ได้เป็นผู้ว่ากทม. ก็จะเข้าไปจัดการในส่วนนี้คือ หากมีการทำผิดกฎหมายก็จะมีการดำเนินการในทันที โดยไม่ต้องรอให้มีการสู้คดีในขั้นศาล เพราะจะกินเวลานานมาก
โดยทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 3 มิ.ย. 2547--จบ--
-ดท-