แท็ก
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
กระทรวงการคลัง
ออมสิน ธนาคาร
ธนาคารออมสิน
นายกฤษฎา อุทยานิน ผู้อำนวยการสำนักนโยบายระบบการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ทั้ง 8 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (บตท.) ดังนี้
1. สินเชื่อ
การดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2547 มีการปล่อยสินเชื่อเป็นเม็ดเงินสู่ระบบรวมทั้งสิ้น 150,338.96 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันในปี 2546 ร้อยละ 12.9 โดย ธ.ก.ส. มีการปล่อยสินเชื่อรวมสูงที่สุด คือ 67,246 ล้านบาท รองลงมาได้แก่ ธนาคารออมสิน 30,906 ล้านบาท และธสน. 25,802.34 ล้านบาท
สถาบันการเงินเฉพาะกิจมียอดสินเชื่อคงค้างสุทธิ ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ประมาณ 958,759.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.28 จากช่วงเดียวกันในปี 2546 และเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2546 ร้อยละ 2.31 โดย ธอส. มียอดสินเชื่อคงค้างสุทธิ 337,411.12 ล้านบาท ธนาคารออมสิน 289,552.09 ล้านบาท และ ธ.ก.ส. มียอดสินเชื่อคงค้างเท่ากับ 270,888.60 ล้านบาท
เมื่อเปรียบเทียบกับระบบธนาคารพาณิชย์พบว่าสถาบันการเงินเฉพาะกิจมียอดสินเชื่อคงค้างต่อสินเชื่อคงค้างของระบบธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ปี 2547 เท่ากับร้อยละ 21.7 ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับ ไตรมาสที่ 4 ปี 2546 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2545 ร้อยละ 1
2. หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้มีจำนวนทั้งหมด 106,283.77 ล้านบาท ซึ่งทำให้อัตราส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อคงค้างทั้งหมดปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 10.13 ในสิ้นไตรมาสที่ 4 ปี 2546 เป็นร้อยละ 10.20 แต่ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันในปี 2546 ร้อยละ 0.65
เมื่อเปรียบเทียบหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ระหว่างสถาบันการเงินเฉพาะกิจกับระบบสถาบันการเงินทั้งหมด สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้คิดเป็นร้อยละ 17.2 ของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสถาบันการเงินทั้งระบบ
3. ฐานะทางการเงิน
สินทรัพย์รวมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ปี 2547 เท่ากับ 1,492,122.91 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปี 2546 ร้อยละ 7.3 และเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2546 ร้อยละ 1.48 สำหรับเงินฝากใน 3 เดือนแรกของปี 2547 รวมทั้งสิ้น 1,159,912.37 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปี 2546 ร้อยละ 7.47 และอยู่ในระดับใกล้เคียงกับสิ้นปี 2546
สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีกำไรสุทธิ ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ทั้งสิ้น 4,298.23 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วถึงร้อยละ 345 เนื่องจากไตรมาสที่แล้วมีการตั้งสำรองเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีกำไรลดลงเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว 798.37 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 15.65 ทั้งนี้ ธนาคารออมสินมีกำไรสูงสุดประมาณ 2,726.96 ล้านบาท ธอส. มีกำไร 1,086.53 ล้านบาท และ ธ.ก.ส. มีกำไร 313.88 ล้านบาท
4. การดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจในการส่งเสริมภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ
การดำเนินการกองทุนหมู่บ้านผ่าน ธ.ก.ส. และธนาคารออมสิน จากจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 75,547 หมู่บ้าน ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2547 มีการปล่อยสินเชื่อให้ทั้งสิ้น 74,722 หมู่บ้าน มีจำนวนสมาชิกที่ได้รับเงินกู้ 13,641,063 ราย
โครงการธนาคารประชาชน ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2547 มีการปล่อยสินเชื่อรวมตั้งแต่เริ่มโครงการจำนวน 16,420.37 ล้านบาท โดยมีหนี้ค้างชำระ 3 เดือนคิดเป็นร้อยละ 3.35
โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนดำเนินการโดย ธ.ก.ส. (ระหว่างเดือนมกราคม 2546 - มีนาคม 2547) ธพว. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารออมสิน (ระหว่างเดือนมกราคม - มีนาคม 2547) มีการอนุมัติสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 208.52 ล้านบาท มีผู้ได้รับอนุมัติสินเชื่อจำนวน 2,165 ราย
โครงการบ้าน ธอส. - กบข. (รอบที่ 2) ตั้งแต่เริ่มโครงการเดือนพฤษภาคม 2546 - มีนาคม 2547 มีการอนุมัติสินเชื่อจำนวน 41,387 ราย คิดเป็นวงเงิน 26,667 ล้านบาท และโครงการบ้าน ธอส. เพื่อคนไทยตั้งแต่เริ่มโครงการเดือนเมษายน 2546 - มีนาคม 2547 มีการอนุมัติสินเชื่อจำนวน 17,621 ราย คิดเป็นวงเงิน 10,626 ล้านบาท
จากการติดตามผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจพบว่าฐานะการเงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง มีผลประกอบการในรูปของกำไรที่สูง มีการบริหารความเสี่ยงทางการเงินที่ดี โดยมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในสัดส่วนที่ต่ำ และต่ำกว่าหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของระบบธนาคารพาณิชย์ นอกจากนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ดำเนินการสนองนโยบายรัฐบาลในการให้โอกาสประชาชนในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างความกินดีอยู่ดีให้กับประชาชนเพิ่มขึ้น
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 43/2547 4 มิถุนายน 2547--
1. สินเชื่อ
การดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2547 มีการปล่อยสินเชื่อเป็นเม็ดเงินสู่ระบบรวมทั้งสิ้น 150,338.96 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันในปี 2546 ร้อยละ 12.9 โดย ธ.ก.ส. มีการปล่อยสินเชื่อรวมสูงที่สุด คือ 67,246 ล้านบาท รองลงมาได้แก่ ธนาคารออมสิน 30,906 ล้านบาท และธสน. 25,802.34 ล้านบาท
สถาบันการเงินเฉพาะกิจมียอดสินเชื่อคงค้างสุทธิ ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ประมาณ 958,759.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.28 จากช่วงเดียวกันในปี 2546 และเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2546 ร้อยละ 2.31 โดย ธอส. มียอดสินเชื่อคงค้างสุทธิ 337,411.12 ล้านบาท ธนาคารออมสิน 289,552.09 ล้านบาท และ ธ.ก.ส. มียอดสินเชื่อคงค้างเท่ากับ 270,888.60 ล้านบาท
เมื่อเปรียบเทียบกับระบบธนาคารพาณิชย์พบว่าสถาบันการเงินเฉพาะกิจมียอดสินเชื่อคงค้างต่อสินเชื่อคงค้างของระบบธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ปี 2547 เท่ากับร้อยละ 21.7 ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับ ไตรมาสที่ 4 ปี 2546 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2545 ร้อยละ 1
2. หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้มีจำนวนทั้งหมด 106,283.77 ล้านบาท ซึ่งทำให้อัตราส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อคงค้างทั้งหมดปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 10.13 ในสิ้นไตรมาสที่ 4 ปี 2546 เป็นร้อยละ 10.20 แต่ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันในปี 2546 ร้อยละ 0.65
เมื่อเปรียบเทียบหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ระหว่างสถาบันการเงินเฉพาะกิจกับระบบสถาบันการเงินทั้งหมด สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้คิดเป็นร้อยละ 17.2 ของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสถาบันการเงินทั้งระบบ
3. ฐานะทางการเงิน
สินทรัพย์รวมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ปี 2547 เท่ากับ 1,492,122.91 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปี 2546 ร้อยละ 7.3 และเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2546 ร้อยละ 1.48 สำหรับเงินฝากใน 3 เดือนแรกของปี 2547 รวมทั้งสิ้น 1,159,912.37 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปี 2546 ร้อยละ 7.47 และอยู่ในระดับใกล้เคียงกับสิ้นปี 2546
สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีกำไรสุทธิ ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ทั้งสิ้น 4,298.23 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วถึงร้อยละ 345 เนื่องจากไตรมาสที่แล้วมีการตั้งสำรองเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีกำไรลดลงเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว 798.37 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 15.65 ทั้งนี้ ธนาคารออมสินมีกำไรสูงสุดประมาณ 2,726.96 ล้านบาท ธอส. มีกำไร 1,086.53 ล้านบาท และ ธ.ก.ส. มีกำไร 313.88 ล้านบาท
4. การดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจในการส่งเสริมภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ
การดำเนินการกองทุนหมู่บ้านผ่าน ธ.ก.ส. และธนาคารออมสิน จากจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 75,547 หมู่บ้าน ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2547 มีการปล่อยสินเชื่อให้ทั้งสิ้น 74,722 หมู่บ้าน มีจำนวนสมาชิกที่ได้รับเงินกู้ 13,641,063 ราย
โครงการธนาคารประชาชน ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2547 มีการปล่อยสินเชื่อรวมตั้งแต่เริ่มโครงการจำนวน 16,420.37 ล้านบาท โดยมีหนี้ค้างชำระ 3 เดือนคิดเป็นร้อยละ 3.35
โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนดำเนินการโดย ธ.ก.ส. (ระหว่างเดือนมกราคม 2546 - มีนาคม 2547) ธพว. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารออมสิน (ระหว่างเดือนมกราคม - มีนาคม 2547) มีการอนุมัติสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 208.52 ล้านบาท มีผู้ได้รับอนุมัติสินเชื่อจำนวน 2,165 ราย
โครงการบ้าน ธอส. - กบข. (รอบที่ 2) ตั้งแต่เริ่มโครงการเดือนพฤษภาคม 2546 - มีนาคม 2547 มีการอนุมัติสินเชื่อจำนวน 41,387 ราย คิดเป็นวงเงิน 26,667 ล้านบาท และโครงการบ้าน ธอส. เพื่อคนไทยตั้งแต่เริ่มโครงการเดือนเมษายน 2546 - มีนาคม 2547 มีการอนุมัติสินเชื่อจำนวน 17,621 ราย คิดเป็นวงเงิน 10,626 ล้านบาท
จากการติดตามผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจพบว่าฐานะการเงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง มีผลประกอบการในรูปของกำไรที่สูง มีการบริหารความเสี่ยงทางการเงินที่ดี โดยมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในสัดส่วนที่ต่ำ และต่ำกว่าหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของระบบธนาคารพาณิชย์ นอกจากนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ดำเนินการสนองนโยบายรัฐบาลในการให้โอกาสประชาชนในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างความกินดีอยู่ดีให้กับประชาชนเพิ่มขึ้น
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 43/2547 4 มิถุนายน 2547--