ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ระบุหนี้ภาคครัวเรือนในระดับปัจจุบันยังไม่น่าวิตก ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
กล่าวเกี่ยวกับกรณีที่หนี้สินภาคครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้นจาก 82,485 บาทต่อครัวเรือนในปี 45 เป็น 110,133 บาทในไตรมาสที่ 1 ปี 47 หรือเพิ่มขึ้น
14.57% ว่า โดยภาพรวมแล้วหนี้ครัวเรือนในประเทศไทยยังไม่น่าวิตก แต่มีความเสี่ยงบ้างสำหรับคนที่ขอกู้ ซึ่งอาจจะติดกับสภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำใน
ปัจจุบัน ดังนั้น จะต้องทำให้ผู้กู้รู้ว่าดอกเบี้ยไม่ได้ต่ำอย่างนี้ตลอดไป สำหรับผลกระทบจากการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยต่อหนี้ภาคครัวเรือนนั้น จาก
การศึกษาของ ธปท.พบว่า หากอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น 0.5% และ 1% จะทำให้ผู้ที่มีหนี้สิน 1 แสนบาทต่อเดือน มีภาระเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 500 บาท
และ 1,000 บาท หรือเพิ่มขึ้น 6.25% และ 12.3% ตามลำดับ อนึ่ง หนี้ครัวเรือนเป็นหนี้ที่ต้องจับตามองแต่ไม่ได้หมายความว่าไทยมีปัญหา เนื่องจาก
หนี้สินต่อจีดีพีของไทยยังอยู่ในระดับต่ำคือ 27% ในขณะที่เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ เช่น เกาหลีใต้มีหนี้สินต่อจีดีพี 100% หรือประเทศออสเตรเลีย
มีหนี้สินต่อจีดีพี 80% แต่หากมองในจุดย่อยๆ หากมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในประเทศ บางส่วนอาจจะมีปัญหา เช่น ครัวเรือนที่มีรายได้ในระดับใกล้
เคียงกับหนี้สิน หรือครัวเรือนที่กู้หนี้เพิ่มมากเกินไปในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยต่ำ สำหรับหนี้ครัวเรือนที่น่าวิตก คือ หนี้ที่กู้จากบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล
และหนี้ส่วนหนึ่งที่เพิ่งเข้ามาในระบบ ธพ. ซึ่งน่าเป็นห่วงว่ารายได้จะเพิ่มได้ทันกับการเพิ่มขึ้นของภาระหนี้ในอนาคตหรือไม่ ในส่วนของสินเชื่อบ้านมอง
ว่าไม่น่าเป็นห่วงเนื่องจากเป็นสินเชื่อที่มีหลักประกัน อนึ่ง หนี้ครัวเรือนของไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
2. สถานการณ์การส่งออกรองเท้าหนังของไทยอยู่ในภาวะวิกฤติ รองประธานคณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศ สภาหอการค้าแห่ง
ประเทศไทย เปิดเผยว่า สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้สำรวจพบว่า การส่งออกรองเท้าหนังของไทยอยู่ในภาวะวิกฤติ
ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 46 เป็นต้นมา การส่งออกลดลงมาก โดยสามารถส่งออกไปสหรัฐฯ ได้เพียง 63 ล.ดอลลาร์ สรอ. ในขณะที่เวียดนามซึ่งเป็นคู่แข่ง
ของไทยกลับส่งออกสูงกว่าถึง 3 เท่าหรือ 171 ล.ดอลลาร์ สรอ. อนึ่ง ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การส่งออกของไทยลดลง เนื่องจากไทยทำเขตการค้า
เสรี(เอฟทีเอ) กับประเทศต่างๆ ซึ่งก็ส่งผลดีให้ไทยส่งออกสินค้าที่ได้เจรจากันไว้มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ได้รับผลกระทบจากการที่สินค้าต่าง
ประเทศทะลักเข้ามาในประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถแข่งขันได้ (โลกวันนี้)
3. ทริสทบทวนอันดับความน่าเชื่อชื่อของบริษัทโดยพิจารณาผลกระทบของปัจจัยลบต่างๆ กรรมการผู้จัดการ บริษัทไทยเรทติ้ง แอนด์
อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส (ทริส) เปิดเผยว่า ขณะนี้ทริสอยู่ระหว่างการทบทวนอันดับความน่าเชื่อถือ (เรทติ้ง) ของบริษัทที่เป็นลูกค้าทั้งหมดจำนวน
75 บริษัท หลังจากที่มีปัจจัยลบต่างๆ เข้ามากระทบ ทั้งการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก แนวโน้มการปรับตัวสูงขึ้นของอัตราดอกเบี้ย
โดยคาดว่าปลายเดือน มิ.ย.นี้ จะสามารถประกาศผลได้ ซึ่งเชื่อว่าส่วนใหญ่เรทติ้งยังคงอยู่ในระดับเดิม ทั้งนี้ ลูกค้าของบริษัทจะมีหลายหลาก
ทั้งผู้ประกอบการในกลุ่ม ธพ. ซึ่งมีอยู่ประมาณ 3-4 ธนาคาร, บริษัทที่ประกอบธุรกิจขนส่ง และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น (ผู้จัดการรายวัน)
4. คลังมอบนโยบายให้ ธ.ก.ส.ในการเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบทอย่างเต็มรูปแบบ รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังมอบนโยบาย
ให้กับคณะผู้บริหารของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ว่า ทิศทางการทำงานของ ธ.ก.ส.ต่อไปนี้จะต้องเป็นธนาคาร
เพื่อการพัฒนาชนบทอย่างเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะการเข้าไปมีบทบาทในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน การต่อยอดการพัฒนาสินค้า 1 ตำบล 1
ผลิตภัณฑ์ (โอท็อป) และการร่วมมือกับธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ ได้แก่ ธ.ออมสิน และ ธ.พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.)
ในลักษณะโครงการ 3 ประสานเพื่อดูแลลูกค้าในพื้นที่ความรับผิดชอบ ทั้งนี้ สิ่งที่ ธ.ก.ส.จะต้องปรับเปลี่ยนใหม่ คือ นโยบายการปล่อยสินเชื่อ
ซึ่งจะต้องเน้นการปล่อยสินเชื่อในรูปแบบของกลุ่มเกษตรและกลุ่มอาชีพให้มากกว่าการปล่อยสินเชื่อเป็นรายบุคคล และการวัดผลการทำงานของ
ธ.ก.ส.ในระยะต่อไปจะไม่ใช่การชี้วัดที่อัตรากำไร แต่จะวัดในด้านการพัฒนาชุมชนและการยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของคนในชนบทมากกว่า (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีภาคบริการของสรอ. ในเดือนพ.ค. ชะลอตัวแต่การจ้างงานยังคงฟื้นตัว รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ วันที่ 3 มิ.ย. 47 จาก
การสำรวจของ The Institute for Supply Management — ISM ในเดือนพ.ค. 47 ชี้ว่า ดัชนีนอกภาคอุตสาหกรรมการผลิตของสรอ.
ลดลงอยู่ที่ระดับ 65.2 จากที่ทำสถิติสูงสุดในเดือนเม.ย. ที่ระดับ 68.4 น้อยกว่าที่วอลสตรีทคาดการณ์ไว้ว่าจะลดลงที่ระดับ 66.0 หัวหน้า
เศรษฐกิจาก Eaton Vance Management ในบอสตันเห็นว่า แม้จะมีการชะลอตัวในภาคดังกล่าวแต่เศรษฐกิจก็ยังคงขยายตัว ทั้งนี้ตัวเลขที่
สูงกว่าระดับ 50 แสดงถึงการขยายตัวของภาคบริการซึ่งรวมทั้งธุรกิจภัตตาคาร โรงแรม ธพ. และธุรกิจการบิน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ
ร้อยละ 80 ของเศรษฐกิจสรอ. และจากผลการสำรวจพบว่าบริษัทจะมีการจ้างงานใหม่ นักเศรษฐศาสตร์หลายนายเห็นว่า จากที่มีการเคลื่อนย้าย
ตำแหน่งงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิตไปต่างประเทศ การฟื้นตัวของตลาดแรงงานจะต้องอาศัยภาคบริการเป็นสำคัญ ทั้งนี้ในเดือนพ.ค. ISM’s
Employment Index เพิ่มขึ้นถึงระดับ 56.3 จากระดับ 54.5 ในเดือนเม.ย. แม้ว่าคำสั่งซื้อใหม่จะลดลงอยู่ที่ระดับ 61.3 จากระดับ 65.6
ในเดือนเม.ย. แสดงว่าในระยะต่อไปการเติบโตจะชะลอลง ส่วนแรงกดดันด้านเงินเฟ้อเริ่มเด่นชัดโดย the Price Paid Index ในเดือน
พ.ค.ที่เพิ่มขึ้นถึงระดับ 74.4 จากระดับ 68.6 ในเดือนเม.ย. หัวหน้านักวิจัยจาก 4 Cast Ltd. เห็นว่าเป็นสัญญานเตือนว่าภาวะเงินเฟ้อ
ไม่ได้เริ่มต้นเฉพาะราคาสินค้าเท่านั้นแต่ภาวะดังกล่าวได้ปรากฎในภาคบริการด้วย ขณะที่ตลาดการเงินตอบรับกับตัวเลขภาคบริการดังกล่าว
เพียงเล็กน้อยเท่านั้น สำหรับนักวิเคราะห์ต่างก็กังวลว่าภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น รวมทั้งตลาดแรงงานฟื้นตัวจะทำให้ธ.กลางสรอ.พิจารณาปรับ
เพิ่มอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าเดิมเพื่อป้องกันภาวะเงินเฟ้อ(รอยเตอร์)
2. นักวิเคราะห์มีความเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธ.กลางอังกฤษ รายงานจากลอนดอน เมื่อ
3 มิ.ย.47 รอยเตอร์ เปิดเผยว่า จากการสำรวจความคิดเห็นของนักวิเคราะห์ทั้งหมด 45 คน พบว่า มีจำนวน 27 คนที่คาดว่า ในการ
ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันพฤหัสบดีที่ 10 มิ.ย. ที่จะถึงนี้ ธ.กลางอังกฤษอาจจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25
ขณะที่อีก 18 คนคาดว่าจะยังคงระดับเดิมที่ร้อยละ 4.5 ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งมีผลแตกต่างจากผลสำรวจในเดือน พ.ค.47 หลังจากที่ ธ.กลาง
อังกฤษได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มเป็นครั้งที่ 3 ตั้งแต่เดือน พ.ย.46 เป็นต้นมา ทำให้นักวิเคราะห์ 24 คนจาก
34 คนคาดว่าจะมีการปรับเพิ่มครั้งต่อไปในเดือน ส.ค.47 ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่นักวิเคราะห์คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยใน
ครั้งนี้ เนื่องจากข้อมูลยอดการค้าปลีกและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง (รอยเตอร์)
3. Global PMI ในเดือน พ.ค.47 ลดลงอยู่ที่ระดับ 60.8 รายงานจากลอนดอน เมื่อ 3 มิ.ย.47 ผลสำรวจของ JP Morgan
พบว่า The global all-industry index ซึ่งเป็นตัวชี้วัดผลผลิตทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการเช่นเดียวกับดัชนี PMI โดยในเดือน
พ.ค.47 ลดลงอยู่ที่ระดับ 60.8 จากระดับ 61.2 ในเดือนก่อน แต่ก็ยังอยู่เหนือระดับ 50 ที่เป็นเส้นแบ่งระหว่างการขยายตัวและการหดตัวของ
ภาวะเศรษฐกิจ ส่วน The global services index ในเดือนเดียวกันก็ลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ระดับ 61.4 จากระดับ 61.8 ในเดือนก่อน ทั้งนี้
ดัชนี Global PMI ได้จากการสำรวจข้อมูลของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก 11 ประเทศ ได้แก่ ประเทศ สรอ. ญี่ปุ่น เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ
อิตาลี สเปน ไอร์แลนด์ รัสเซีย ออสเตรเลีย และฮ่องกง (รอยเตอร์)
4. อุตสาหกรรมการผลิตของสิงคโปร์ขยายตัวเพิ่มขึ้นในเดือน พ.ค.47 เป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกัน รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 3 มิ.ย.47
Institute of Purchasing Materials Management รายงานดัชนี Purchasing Managers’ s Index ซึ่งใช้ชี้วัดภาวะอุตสาหกรรมการ
ผลิตของสิงคโปร์จากผลสำรวจความเห็นของผู้บริหารด้านจัดซื้อของธุรกิจการผลิตมากกว่า 150 บริษัทใน 12 ประเภทอุตสาหกรรม สำหรับเดือน
พ.ค.47 อยู่ที่ระดับ 55.7 เพิ่มขึ้น 0.5 จุดจากเดือน เม.ย.47 โดยดัชนีที่มีค่าสูงกว่า 50 แสดงถึงการขยายตัว และนับเป็นการขยายตัวสูงสุดนับ
ตั้งแต่เดือน ต.ค.43 อุตสาหกรรมการผลิตของสิงคโปร์ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 25 ของเศรษฐกิจสิงคโปร์ซึ่งมีมูลค่า 95 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ขยายตัว
ร้อยละ 20.5 ในเดือน เม.ย.47 จากเดือนก่อน และขยายตัวร้อยละ 22.2 เมื่อเทียบต่อปี จากความต้องการเพิ่มขึ้นของเซมิคอนดัคเตอร์และ
เครื่องใช้ไฟฟ้า ทำให้คาดกันว่าเศรษฐกิจของสิงคโปร์จะมีอัตราการขยายตัวเป็นเลขสองหลักในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ และคาดว่าตลอดปีนี้จะขยายตัว
ถึงร้อยละ 7.0 ซึ่งถือว่าสูงสุดในรอบ 4 ปี (รอยเตอร์)
5. คาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์ในปีหน้าจะขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 5.0 รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 23 มิ.ย.47 นักเศรษฐศาสตร์
ภาคเอกชนหลายรายคาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในปีหน้าจะขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 5.0 จากเหตุการณ์หลายอย่าง
ที่อาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะเวลาอันใกล้นี้ เช่น ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธ.กลาง สรอ.
การลดความร้อนแรงในการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน รวมถึงการโจมตีของผู้ก่อการร้าย เป็นต้น โพลล์ของนักเศรษฐศาสตร์ 19 คน ให้
ความเห็นว่าเริ่มมองเห็นการเพิ่มขึ้นของภาวะเงินเฟ้อบ้างแล้ว โดยคาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.7 ภายในสิ้นไตรมาส 2
ของปีนี้ เฉลี่ยทั้งปีร้อยละ 1.5 เนื่องจากแรงกดดันจากราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาน้ำมัน เทียบกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย
ร้อยละ 0.5 ในปี 46 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 4/6/47 3/6/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.611 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.4129/40.6961 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 627.54/19.27 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,400/7,500 7,450/7,550 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 34.34 34.92 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 17.59*/14.59 17.59*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 13 พ.ค..47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.ระบุหนี้ภาคครัวเรือนในระดับปัจจุบันยังไม่น่าวิตก ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
กล่าวเกี่ยวกับกรณีที่หนี้สินภาคครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้นจาก 82,485 บาทต่อครัวเรือนในปี 45 เป็น 110,133 บาทในไตรมาสที่ 1 ปี 47 หรือเพิ่มขึ้น
14.57% ว่า โดยภาพรวมแล้วหนี้ครัวเรือนในประเทศไทยยังไม่น่าวิตก แต่มีความเสี่ยงบ้างสำหรับคนที่ขอกู้ ซึ่งอาจจะติดกับสภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำใน
ปัจจุบัน ดังนั้น จะต้องทำให้ผู้กู้รู้ว่าดอกเบี้ยไม่ได้ต่ำอย่างนี้ตลอดไป สำหรับผลกระทบจากการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยต่อหนี้ภาคครัวเรือนนั้น จาก
การศึกษาของ ธปท.พบว่า หากอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น 0.5% และ 1% จะทำให้ผู้ที่มีหนี้สิน 1 แสนบาทต่อเดือน มีภาระเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 500 บาท
และ 1,000 บาท หรือเพิ่มขึ้น 6.25% และ 12.3% ตามลำดับ อนึ่ง หนี้ครัวเรือนเป็นหนี้ที่ต้องจับตามองแต่ไม่ได้หมายความว่าไทยมีปัญหา เนื่องจาก
หนี้สินต่อจีดีพีของไทยยังอยู่ในระดับต่ำคือ 27% ในขณะที่เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ เช่น เกาหลีใต้มีหนี้สินต่อจีดีพี 100% หรือประเทศออสเตรเลีย
มีหนี้สินต่อจีดีพี 80% แต่หากมองในจุดย่อยๆ หากมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในประเทศ บางส่วนอาจจะมีปัญหา เช่น ครัวเรือนที่มีรายได้ในระดับใกล้
เคียงกับหนี้สิน หรือครัวเรือนที่กู้หนี้เพิ่มมากเกินไปในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยต่ำ สำหรับหนี้ครัวเรือนที่น่าวิตก คือ หนี้ที่กู้จากบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล
และหนี้ส่วนหนึ่งที่เพิ่งเข้ามาในระบบ ธพ. ซึ่งน่าเป็นห่วงว่ารายได้จะเพิ่มได้ทันกับการเพิ่มขึ้นของภาระหนี้ในอนาคตหรือไม่ ในส่วนของสินเชื่อบ้านมอง
ว่าไม่น่าเป็นห่วงเนื่องจากเป็นสินเชื่อที่มีหลักประกัน อนึ่ง หนี้ครัวเรือนของไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
2. สถานการณ์การส่งออกรองเท้าหนังของไทยอยู่ในภาวะวิกฤติ รองประธานคณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศ สภาหอการค้าแห่ง
ประเทศไทย เปิดเผยว่า สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้สำรวจพบว่า การส่งออกรองเท้าหนังของไทยอยู่ในภาวะวิกฤติ
ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 46 เป็นต้นมา การส่งออกลดลงมาก โดยสามารถส่งออกไปสหรัฐฯ ได้เพียง 63 ล.ดอลลาร์ สรอ. ในขณะที่เวียดนามซึ่งเป็นคู่แข่ง
ของไทยกลับส่งออกสูงกว่าถึง 3 เท่าหรือ 171 ล.ดอลลาร์ สรอ. อนึ่ง ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การส่งออกของไทยลดลง เนื่องจากไทยทำเขตการค้า
เสรี(เอฟทีเอ) กับประเทศต่างๆ ซึ่งก็ส่งผลดีให้ไทยส่งออกสินค้าที่ได้เจรจากันไว้มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ได้รับผลกระทบจากการที่สินค้าต่าง
ประเทศทะลักเข้ามาในประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถแข่งขันได้ (โลกวันนี้)
3. ทริสทบทวนอันดับความน่าเชื่อชื่อของบริษัทโดยพิจารณาผลกระทบของปัจจัยลบต่างๆ กรรมการผู้จัดการ บริษัทไทยเรทติ้ง แอนด์
อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส (ทริส) เปิดเผยว่า ขณะนี้ทริสอยู่ระหว่างการทบทวนอันดับความน่าเชื่อถือ (เรทติ้ง) ของบริษัทที่เป็นลูกค้าทั้งหมดจำนวน
75 บริษัท หลังจากที่มีปัจจัยลบต่างๆ เข้ามากระทบ ทั้งการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก แนวโน้มการปรับตัวสูงขึ้นของอัตราดอกเบี้ย
โดยคาดว่าปลายเดือน มิ.ย.นี้ จะสามารถประกาศผลได้ ซึ่งเชื่อว่าส่วนใหญ่เรทติ้งยังคงอยู่ในระดับเดิม ทั้งนี้ ลูกค้าของบริษัทจะมีหลายหลาก
ทั้งผู้ประกอบการในกลุ่ม ธพ. ซึ่งมีอยู่ประมาณ 3-4 ธนาคาร, บริษัทที่ประกอบธุรกิจขนส่ง และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น (ผู้จัดการรายวัน)
4. คลังมอบนโยบายให้ ธ.ก.ส.ในการเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบทอย่างเต็มรูปแบบ รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังมอบนโยบาย
ให้กับคณะผู้บริหารของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ว่า ทิศทางการทำงานของ ธ.ก.ส.ต่อไปนี้จะต้องเป็นธนาคาร
เพื่อการพัฒนาชนบทอย่างเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะการเข้าไปมีบทบาทในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน การต่อยอดการพัฒนาสินค้า 1 ตำบล 1
ผลิตภัณฑ์ (โอท็อป) และการร่วมมือกับธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ ได้แก่ ธ.ออมสิน และ ธ.พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.)
ในลักษณะโครงการ 3 ประสานเพื่อดูแลลูกค้าในพื้นที่ความรับผิดชอบ ทั้งนี้ สิ่งที่ ธ.ก.ส.จะต้องปรับเปลี่ยนใหม่ คือ นโยบายการปล่อยสินเชื่อ
ซึ่งจะต้องเน้นการปล่อยสินเชื่อในรูปแบบของกลุ่มเกษตรและกลุ่มอาชีพให้มากกว่าการปล่อยสินเชื่อเป็นรายบุคคล และการวัดผลการทำงานของ
ธ.ก.ส.ในระยะต่อไปจะไม่ใช่การชี้วัดที่อัตรากำไร แต่จะวัดในด้านการพัฒนาชุมชนและการยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของคนในชนบทมากกว่า (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีภาคบริการของสรอ. ในเดือนพ.ค. ชะลอตัวแต่การจ้างงานยังคงฟื้นตัว รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ วันที่ 3 มิ.ย. 47 จาก
การสำรวจของ The Institute for Supply Management — ISM ในเดือนพ.ค. 47 ชี้ว่า ดัชนีนอกภาคอุตสาหกรรมการผลิตของสรอ.
ลดลงอยู่ที่ระดับ 65.2 จากที่ทำสถิติสูงสุดในเดือนเม.ย. ที่ระดับ 68.4 น้อยกว่าที่วอลสตรีทคาดการณ์ไว้ว่าจะลดลงที่ระดับ 66.0 หัวหน้า
เศรษฐกิจาก Eaton Vance Management ในบอสตันเห็นว่า แม้จะมีการชะลอตัวในภาคดังกล่าวแต่เศรษฐกิจก็ยังคงขยายตัว ทั้งนี้ตัวเลขที่
สูงกว่าระดับ 50 แสดงถึงการขยายตัวของภาคบริการซึ่งรวมทั้งธุรกิจภัตตาคาร โรงแรม ธพ. และธุรกิจการบิน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ
ร้อยละ 80 ของเศรษฐกิจสรอ. และจากผลการสำรวจพบว่าบริษัทจะมีการจ้างงานใหม่ นักเศรษฐศาสตร์หลายนายเห็นว่า จากที่มีการเคลื่อนย้าย
ตำแหน่งงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิตไปต่างประเทศ การฟื้นตัวของตลาดแรงงานจะต้องอาศัยภาคบริการเป็นสำคัญ ทั้งนี้ในเดือนพ.ค. ISM’s
Employment Index เพิ่มขึ้นถึงระดับ 56.3 จากระดับ 54.5 ในเดือนเม.ย. แม้ว่าคำสั่งซื้อใหม่จะลดลงอยู่ที่ระดับ 61.3 จากระดับ 65.6
ในเดือนเม.ย. แสดงว่าในระยะต่อไปการเติบโตจะชะลอลง ส่วนแรงกดดันด้านเงินเฟ้อเริ่มเด่นชัดโดย the Price Paid Index ในเดือน
พ.ค.ที่เพิ่มขึ้นถึงระดับ 74.4 จากระดับ 68.6 ในเดือนเม.ย. หัวหน้านักวิจัยจาก 4 Cast Ltd. เห็นว่าเป็นสัญญานเตือนว่าภาวะเงินเฟ้อ
ไม่ได้เริ่มต้นเฉพาะราคาสินค้าเท่านั้นแต่ภาวะดังกล่าวได้ปรากฎในภาคบริการด้วย ขณะที่ตลาดการเงินตอบรับกับตัวเลขภาคบริการดังกล่าว
เพียงเล็กน้อยเท่านั้น สำหรับนักวิเคราะห์ต่างก็กังวลว่าภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น รวมทั้งตลาดแรงงานฟื้นตัวจะทำให้ธ.กลางสรอ.พิจารณาปรับ
เพิ่มอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าเดิมเพื่อป้องกันภาวะเงินเฟ้อ(รอยเตอร์)
2. นักวิเคราะห์มีความเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธ.กลางอังกฤษ รายงานจากลอนดอน เมื่อ
3 มิ.ย.47 รอยเตอร์ เปิดเผยว่า จากการสำรวจความคิดเห็นของนักวิเคราะห์ทั้งหมด 45 คน พบว่า มีจำนวน 27 คนที่คาดว่า ในการ
ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันพฤหัสบดีที่ 10 มิ.ย. ที่จะถึงนี้ ธ.กลางอังกฤษอาจจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25
ขณะที่อีก 18 คนคาดว่าจะยังคงระดับเดิมที่ร้อยละ 4.5 ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งมีผลแตกต่างจากผลสำรวจในเดือน พ.ค.47 หลังจากที่ ธ.กลาง
อังกฤษได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มเป็นครั้งที่ 3 ตั้งแต่เดือน พ.ย.46 เป็นต้นมา ทำให้นักวิเคราะห์ 24 คนจาก
34 คนคาดว่าจะมีการปรับเพิ่มครั้งต่อไปในเดือน ส.ค.47 ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่นักวิเคราะห์คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยใน
ครั้งนี้ เนื่องจากข้อมูลยอดการค้าปลีกและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง (รอยเตอร์)
3. Global PMI ในเดือน พ.ค.47 ลดลงอยู่ที่ระดับ 60.8 รายงานจากลอนดอน เมื่อ 3 มิ.ย.47 ผลสำรวจของ JP Morgan
พบว่า The global all-industry index ซึ่งเป็นตัวชี้วัดผลผลิตทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการเช่นเดียวกับดัชนี PMI โดยในเดือน
พ.ค.47 ลดลงอยู่ที่ระดับ 60.8 จากระดับ 61.2 ในเดือนก่อน แต่ก็ยังอยู่เหนือระดับ 50 ที่เป็นเส้นแบ่งระหว่างการขยายตัวและการหดตัวของ
ภาวะเศรษฐกิจ ส่วน The global services index ในเดือนเดียวกันก็ลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ระดับ 61.4 จากระดับ 61.8 ในเดือนก่อน ทั้งนี้
ดัชนี Global PMI ได้จากการสำรวจข้อมูลของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก 11 ประเทศ ได้แก่ ประเทศ สรอ. ญี่ปุ่น เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ
อิตาลี สเปน ไอร์แลนด์ รัสเซีย ออสเตรเลีย และฮ่องกง (รอยเตอร์)
4. อุตสาหกรรมการผลิตของสิงคโปร์ขยายตัวเพิ่มขึ้นในเดือน พ.ค.47 เป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกัน รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 3 มิ.ย.47
Institute of Purchasing Materials Management รายงานดัชนี Purchasing Managers’ s Index ซึ่งใช้ชี้วัดภาวะอุตสาหกรรมการ
ผลิตของสิงคโปร์จากผลสำรวจความเห็นของผู้บริหารด้านจัดซื้อของธุรกิจการผลิตมากกว่า 150 บริษัทใน 12 ประเภทอุตสาหกรรม สำหรับเดือน
พ.ค.47 อยู่ที่ระดับ 55.7 เพิ่มขึ้น 0.5 จุดจากเดือน เม.ย.47 โดยดัชนีที่มีค่าสูงกว่า 50 แสดงถึงการขยายตัว และนับเป็นการขยายตัวสูงสุดนับ
ตั้งแต่เดือน ต.ค.43 อุตสาหกรรมการผลิตของสิงคโปร์ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 25 ของเศรษฐกิจสิงคโปร์ซึ่งมีมูลค่า 95 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ขยายตัว
ร้อยละ 20.5 ในเดือน เม.ย.47 จากเดือนก่อน และขยายตัวร้อยละ 22.2 เมื่อเทียบต่อปี จากความต้องการเพิ่มขึ้นของเซมิคอนดัคเตอร์และ
เครื่องใช้ไฟฟ้า ทำให้คาดกันว่าเศรษฐกิจของสิงคโปร์จะมีอัตราการขยายตัวเป็นเลขสองหลักในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ และคาดว่าตลอดปีนี้จะขยายตัว
ถึงร้อยละ 7.0 ซึ่งถือว่าสูงสุดในรอบ 4 ปี (รอยเตอร์)
5. คาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์ในปีหน้าจะขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 5.0 รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 23 มิ.ย.47 นักเศรษฐศาสตร์
ภาคเอกชนหลายรายคาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในปีหน้าจะขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 5.0 จากเหตุการณ์หลายอย่าง
ที่อาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะเวลาอันใกล้นี้ เช่น ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธ.กลาง สรอ.
การลดความร้อนแรงในการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน รวมถึงการโจมตีของผู้ก่อการร้าย เป็นต้น โพลล์ของนักเศรษฐศาสตร์ 19 คน ให้
ความเห็นว่าเริ่มมองเห็นการเพิ่มขึ้นของภาวะเงินเฟ้อบ้างแล้ว โดยคาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.7 ภายในสิ้นไตรมาส 2
ของปีนี้ เฉลี่ยทั้งปีร้อยละ 1.5 เนื่องจากแรงกดดันจากราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาน้ำมัน เทียบกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย
ร้อยละ 0.5 ในปี 46 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 4/6/47 3/6/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.611 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.4129/40.6961 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 627.54/19.27 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,400/7,500 7,450/7,550 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 34.34 34.92 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 17.59*/14.59 17.59*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 13 พ.ค..47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-