แนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษในแม่น้ำเจ้าพระยา

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 4, 2004 13:43 —สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ความเห็นและข้อเสนอแนะ
เกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษในแม่น้ำเจ้าพระยา
1. ความเป็นมา
ลุ่มน้ำเจ้าพระยา และสาขาเป็นลุ่มน้ำขนาดใหญ่สุดของประเทศ ประกอบด้วย 8 ลุ่มน้ำย่อยคือ
ลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน สะแกกรัง ป่าสัก เจ้าพระยา และท่าจีน มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 157,925 ตาราง
กิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 30 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ในระยะที่ผ่านมาปรากฎว่ามีการใช้ประโยชน์
จากทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำอย่างกว้างขวาง ทั้งเพื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการอุปโภคบริโภค แต่
เนื่องจากการใช้ทรัพยากรน้ำเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ดังกล่าว เกิดจากความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น อัน
เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรสภาพทางเศรษฐกิจและทางสังคม รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลง
การใช้ประโยชน์จากที่ดินทั้งในภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม ที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วและต่อเ
นื่อง เป็นการใช้ที่มิได้คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในระยะยาว จึงเป็นผลให้ลุ่มน้ำเจ้าพระยาประสบปัญหา
หลายประการ เป็นต้นว่า การขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งปัญหาคุณภาพน้ำที่เสื่อมโทรมลง ปัญหาการนำน้ำ
บาดาลมาใช้โดยการสูบน้ำอย่างมากมายปราศจากการควบคุมทำให้เกิดปัญหาแผ่นดินทรุด ปัญหาน้ำท่วม
ในฤดูฝนเนื่องจากการระบายน้ำไม่ทัน การรุกล้ำของน้ำเค็ม รวมไปถึงปัญหาที่เกิดจากความขัดแย้ง
ในการใช้น้ำ ซึ่งปัญหาดังกล่าวรัฐบาลได้ตระหนักและพยายามดำเนินมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหามาโดย
ลำดับ แต่การดำเนินการที่ผ่านมาส่วนใหญ่ยังมุ่งไปในประเด็นของการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในระยะสั้น
ทำให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาโดยรวม ขาดประสิทธิภาพและไม่เป็นระบบสภา
ที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเห็นว่าแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นหนึ่งใน 25 แม่น้ำสำคัญของประเทศ ซึ่
งปัจจุบันปริมาณน้ำที่เก็บได้และสภาพการใช้น้ำเริ่มมีสภาพไม่สมดุล เริ่มมีปัญหาการขาดแคลนน้ำ และ
ปัญหาคุณภาพน้ำในฤดูแล้งที่เพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ก่อให้เกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดินทำกินมากขึ้น เป็นผลให้มีการชะล้างพังทลายของหน้าดิน
การตื้นเขินของทางน้ำ และปัญหาอุทกภัยในฤดูฝนมีความรุนแรงและเกิดความความเสียหายเพิ่มมากขึ้น
ตามลำดับ เนื่องจากการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและการขยายตัวของชุมชนเมือง จึงเห็นสมควรที่จะ
ศึกษาในสาระสำคัญเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษในแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อจัด
ทำความเห็นและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้เป็นการดำเนินการตามภารกิจของสภาที่ปรึกษาฯ
ภายใต้มาตรา 89 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
2. การดำเนินงานของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สภาที่ปรึกษาฯได้มอบหมายให้คณะทำงานศึกษาและอนุรักษ์แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน
แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกงได้ทำการศึกษาสาระสำคัญและแนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษในแม่น้ำ
เจ้าพระยาโดย
(1) รวบรวมเอกสารและข้อมูลจากแหล่งต่างๆ (2) จัดเสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็น
จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและ (3) การจัดประชุมกลุ่มย่อยโดยเชิญนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรที่
เกี่ยวข้องมาร่วมให้ความคิดเห็น
3. ลักษณะภูมิศาสตร์ของลุ่มน้ำ
ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและสาขามีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 157,925 ตารางกิโลเมตร ปริมาณฝนตก
เฉลี่ยปีละ 1,122 มม. และปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยปีละ 33,217 ล้านลูกบาศก์เมตร ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่
ของภาคเหนือและภาคกลางของประเทศ สภาพภูมิประเทศของพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนเป็นภูเขาสูงชัน มีที่ร
บเฉพาะริมฝั่งลำน้ำ มีทิศทางการไหลจากทางทิศเหนือลงสู่ทิศใต้ ประกอบด้วยลำน้ำสาขาที่สำคัญคือ
แม่น้ำปิง วัง ยม และน่านซึ่งเป็นแหล่งน้ำต้นทุนที่สำคัญสำหรับพื้นที่การเกษตรในลุ่มน้ำตอนล่าง โดยแม่
น้ำวังไหลมาบรรจบกับแม่น้ำปิงที่อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก แม่น้ำยมไหลมาบรรจบกับแม่น้ำน่านที่
อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ และแม่น้ำปิงไหลมาบรรจบกับแม่น้ำน่านเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณ
อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นจึงไหลมาบรรจบกับแม่น้ำสะแกกรังบริเวณอำเภอเมือง
จังหวัดอุทัยธานีและแยกออกเป็นแม่น้ำท่าจีนทางฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ในเขตอำเภอวัดสิงห์
จังหวัดชัยนาท โดยแม่น้ำท่าจีนไหลลงสู่ทะเลอ่าวไทยในเขตจังหวัดสมุทรสาคร ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยา
ได้ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำป่าสัก บริเวณอำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก่อนจะไหลผ่าน
กรุงเทพมหานครและลงสู่อ่าวไทยในเขตจังหวัดสมุทรปราการ
- แม่น้ำเจ้าพระยาสายหลักแบ่งออกเป็น 3 ช่วงด้วยกัน ดังนี้
- แม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน เริ่มจากอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ลงมาจนถึง อำเภอ
พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมระยะทาง 237 กิโลเมตร
- แม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลาง เริ่มจาก อำเภอพระนครศรีอยุธยาลงมาจนถึงวัดเฉลิม
พระเกียรติ อำเภอเมืองจังหวัดนนทบุรี รวมระยะทาง 80 กิโลเมตร
- แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างเริ่มจากวัดเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเมืองจังหวัดนนทบุรี
ลงมาจนถึงปากแม่น้ำ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ รวมระยะทาง 55 กิโลเมตร
4. แหล่งกำเนิดมลพิษ
แหล่งกำเนิดมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ
ได้แก่ แหล่งที่มีจุดกำเนิดแน่นอน (Point Source) ได้แก่ แหล่งชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม และ
การเลี้ยงสุกรเป็นต้น และแหล่งที่มีจุดกำเนิดไม่แน่นอน (Non-Point Source) ได้แก่ น้ำเสียจาก
เกษตรกรรม ประเภทการเพาะปลูกเป็นต้น
4.1 แหล่งที่มีจุดกำเนิดแน่นอน (Point Source)
4.1.1 แหล่งชุมชน
น้ำเสียจากแหล่งชุมชนเป็นน้ำเสียที่เกิดจากกิจกรรมการดำรงชีวิตประจำวันของ
ประชากร แหล่งกำเนิดน้ำเสียจากชุมชนสามารถแบ่งได้เป็นน้ำทิ้งจากที่อยู่อาศัย อาคารชุด บ้านจัดสรร
หอพัก สถาน-ประกอบการต่าง ๆ ในย่านพาณิชยกรรม ได้แก่ โรงแรม ตลาดสด ศูนย์การค้า ร้านอาหาร
นอกจากนี้ยังรวมถึงสถาบันและหน่วยงานราชการต่าง ๆ ได้แก่ โรงพยาบาล สถาบัน
การศึกษา อาคาร ที่ทำการราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ลักษณะน้ำเสียชุมชนโดยทั่วไปมีทั้งสารอินทรีย์
และอนินทรีย์ที่เป็นของแข็งแขวนลอย และของแข็งละลายน้ำ (ส่วนใหญ่เป็นสารอินทรีย์) นอกจากนี้
ยังอาจมีเชื้อโรคปะปนอยู่ด้วย
ปริมาณน้ำเสียที่เกิดจากแหล่งชุมชนจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับจำนวนประชากรและมีความ
สัมพันธ์กับปริมาณการใช้น้ำจากครัวเรือน โดยน้ำเสียจากครัวเรือนจะประกอบด้วยสิ่งปฏิกูลและน้ำทิ้ง
จากกิจกรรมประจำวันของมนุษย์ ได้แก่ การอาบ ซักล้าง และกิจกรรมอื่น ๆ ซึ่งประกอบด้วย
สารอินทรีย์ ไขมัน องค์ประกอบ สารซักฟอก น้ำเสียจากครัวเรือน โดยปกติแล้วจะมีความเข้มข้น
ของอินทรียสารหรือความสกปรกในรูปบีโอดีค่อนข้างสูง รวมทั้งแบคทีเรียชนิดฟีคอลโคลิฟอร์มและ
ปริมาณสารแขวนลอยต่าง ๆ
ปริมาณ BOD loading จากแหล่งกำเนิดประเภทชุมชนในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบน
17,058 กก./วัน ตอนกลาง 7,711 กก./วัน และตอนล่าง 33,675 กก./วัน (จากการศึกษาของ
บ. Seatec International จำกัด)
4.1.2 โรงงานอุตสาหกรรม
น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมนับว่ามีความสกปรกสูงกว่าน้ำเสียจากชุมชน
น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภทก็สามารถบำบัดได้ง่าย เพราะมีองค์ประกอบเป็นสารอินทรีย์
ได้แก่ โรงงานอตุสาหกรรมบางประเภทก็สามารถบำบัดได้ง่าย เพราะมีองค์ประกอบเป็นสารอินทรีย์
ได้แก่ โรงงานแปรรูปอาหาร เครื่องดื่ม กระดาษ น้ำตาล ฟอกย้อม โรงฆ่าสัตว์ ฟอกหนัง แต่อุตสาหกรรม
บางประเภทบำบัดได้ยาก เนื่องจากมีโลหะหนัก ได้แก่ โรงงานอิเล็กทรอนิกส์ ชุบโลหะ แบตเตอรี่ ปิโตรเคมี
ปริมาณ BOD loading จากโรงงานอุตสาหกรรมในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบน
1,428 กก./วัน ตอนกลาง 5,843 กก./วัน และตอนล่าง 70,461 กก./วัน (จากรายงานการศึกษา
ปริมาณสารมลพิษ 2543 โดยบริษัทซีเอ็มเอส เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนเนจเมนท์ จำกัด)
จากข้อมูลของสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร ได้รายงานค่า BOD
Loading ในเขตกรุงเทพมหานครมีค่า 165,942.4 ลบ.ม./วันซึ่งไม่ได้จำแนกตามแหล่งกำเนิดมลพิษ
ว่ามาจากแหล่งกำเนิดประเภทชุมชนหรืออุตสาหกรรม
4.2 แหล่งที่มีจุดกำเนิดไม่แน่นอน (Non-Point Source)
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม และถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทาง
ที่จะมีกิจกรรมทางอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น แต่กิจการเกษตรกรรมทั้งที่เป็นการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์ยังคง
มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศอยู่ ดังนั้น ปัญหามลพิษทางน้ำที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเกษตรกรรมควร
ที่จะต้องได้รับการดูแลจากรัฐและฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อมิให้ปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำ
ธรรมชาติ รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ
น้ำเสียจากการเกษตรกรรมนั้น สามารถแบ่งที่มาออกได้เป็น 3 ประเภทได้แก่
4.2.1 การเพาะปลูก
น้ำเสียจากการเพาะปลูกนั้น เกิดจากน้ำใช้แล้วจากพื้นที่เพาะปลูกทั้งที่เป็นพืชไร่
และพืชสวน ซึ่งน้ำใช้แล้วดังกล่าวจะมีของเสียซึ่งประกอบไปด้วยตะกอน สารอินทรีย์ สารเคมีปราบศัตรูพืช
และปุ๋ยส่วนเกิน ทำให้น้ำมีปริมาณของไนโตรเจน และฟอสฟอรัสสูง ส่งผลให้เกิดปัญหาการเติบโตอย่าง
รวดเร็วของพืชน้ำ เช่น สาหร่าย และผักตบชวา และทำให้เกิด Eutrophication นอกจากนี้น้ำที่เหลือ
ทิ้งจากพื้นที่การเกษตรที่ใช้สารกำจัดศัตรูพืชสูง จะทำให้มีสารเคมีที่ใช้ในการกำจัดศัตรูพืชที่เป็นส่วนเกิน
ปนมากับน้ำที่ไหลชะพื้นที่การเกษตรลงมาด้วย ในลุ่มน้ำเจ้าพระยามีพื้นที่การเกษตรประมาณ 3,566,640 ไร่
โดยพื้นที่การเกษตรดังกล่าวสามารถนำมาประเมินความสกปรกของน้ำทิ้งที่เกิดจากการเกษตรกรรมในพื้นที่
ลุ่มน้ำได้ โดยพบว่าน้ำทิ้งจากการเกษตรมีความสกปรกในรูปบีโอดีประมาณ 33,533 กิโลกรัมต่อวัน (จาก
รายงานคุณภาพแม่น้ำเจ้าพระยาปี 2537-2542 กรมควบคุมมลพิษ)
4.2.2 การปศุสัตว์
จากกิจการปศุสัตว์ ได้แก่ น้ำทิ้งที่เกิดจากกิจกรรมการเลี้ยงสัตว์ทั้งที่เป็นสัตว์ปีก
เช่น เป็ด ไก่ และที่เป็นสุกร และโคกระบือ แต่ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ทำให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียแก่แหล่งน้ำมาก
ในปัจจุบันคือ ฟาร์มสุกร ฟาร์มเลี้ยงสุกร การเลี้ยงสุกรจำเป็นต้องมีการกำจัดของเสีย โดยของเสียในคอก
สุกรคือมูลสุกร ซึ่งจะมีการเก็บกวาดออกแล้วมีการฉีดน้ำล้างพื้นคอก มูลสุกรที่มีการเก็บออกจะถูกนำมาตากแห้ง
แล้วใส่กระสอบขายโดยได้ราคากระสอบละ 30 — 35 บาท ส่วนน้ำทิ้งที่เกิดจากน้ำล้างพื้นคอกจะถูกระบาย
เข้าสู่ระบบกำจัดของเสียในฟาร์มบางแห่งที่มีระบบบำบัดน้ำเสียแต่บางแห่งก็ลงสู่ร่องสวนหรือลงทางระบาย
น้ำสาธารณะ หรือลงสู่คลองโดยตรงแล้วแต่กรณี
การปศุสัตว์ในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยามีการเลี้ยงสัตว์หลายประเภทด้วยกัน คือ
โค กระบือ สุกร เป็ดและไก่โดยพบว่าในปี 2538 พื้นที่ลุ่มน้ำมีจำนวนฟาร์มทั้งสิ้น 1,060 แห่ง และมีโค
กระบือ ไก่ เป็ด และสุกร ประมาณ 30,000 5,000 4,890,000 630,000 และ 180,000 ตัวตาม
ลำดับโดยฟาร์มทั้ง 1,060 แห่งในพื้นที่ลุ่มน้ำก่อให้เกิดน้ำเสียที่มีปริมาณความสกปรกในรูปบีโอดีประมาณ
43 ตันต่อวัน ในรูปซีโอดีประมาณ 245 ตันต่อวัน และในรูปของแข็งแขวนลอย ประมาณ 234 ตันต่อวัน
4.2.3 การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
น้ำเสียจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิด
ปัญหามลพิษของแหล่งน้ำ ในปัจจุบันอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้เพราะ
เป็นธุรกิจที่ได้ผลเร็วเมื่อเปรียบเทียบกับการทำการเกษตรอย่างอื่น ๆ ฉะนั้นเกษตรกรซึ่งอยู่ริมแม่น้ำ
ลำคลองหรือแม้กระทั่งชายฝั่งทะเลจะขุดบ่อเลี้ยงกุ้งเลี้ยงปลาเป็นจำนวนมาก น้ำที่ใช้เลี้ยงสัตว์น้ำแล้ว
จะมีอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ปนอยู่มาก รวมทั้งของเสียที่ถ่ายออกมาจากสัตว์น้ำ ซึ่งเมื่อปล่อยลงเป็นปริมาณ
มาก ๆ สู่แหล่งน้ำธรรมชาติจะทำให้น้ำในแม่น้ำลำคลองมีค่าออกซิเจนละลายน้ำต่ำลงไปอีก ซึ่งใน
วันหนึ่ง ๆ ปริมาณน้ำเสียซึ่งออกจากบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจะมีปริมาณมาก ในขณะนี้กิจการเพาะเลี้ยง
สัตว์น้ำที่ก่อให้เกิดปัญหาน้ำเสียทั้งแก่แหล่งน้ำจืด ประเภทปลาดุก ปลาช่อน และกุ้งก้ามกราม และ
ชายฝั่งทะเลคือกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งน้ำเค็มโดยเฉพาะกุ้งกุลาดำ
5. คุณภาพน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา ปี 2534 - 2546
เจ้าพระยาตอนบน เป็นแหล่งน้ำประเภทที่ 2 สามารถใช้ประโยชน์ในการอุปโภค บริโภค
โดยผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติ และการปรับปรุงคุณภาพน้ำทั่วไปก่อน การอนุรักษ์สัตว์น้ำ การประมง
การว่ายน้ำและกีฬาทางน้ำ โดยกำหนดค่าคุณภาพน้ำ ดังนี้ ค่าออกซิเจนละลาย(DO) ไม่ต่ำกว่า
6.0 มิลลิกรัมต่อลิตร(มก./ล.) ปริมาณความสกปรกในรูปบีโอดี (BOD) ไม่เกินกว่า 1.5 มก./ล.
ปริมาณการปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด(TCB) ไม่เกินกว่า 5,000 MPNต่อ100 ml(หน่วย)
และปริมาณการปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม(FCB) ไม่เกินกว่า 1,000 หน่วย
ค่าแอมโมเนีย(NH3) ไม่เกินกว่า 0.5 มก./ล.
จากการตรวจวัดคุณภาพน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบนใน ปี 2546 พบว่า ค่าคุณภาพน้ำโดย
รวมอยู่ในมาตรฐานแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 3 ( ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานคุณภาพน้ำที่กำหนดไว้เป็นประเภท
ที่ 2 ) จัดอยู่ในเกณฑ์พอใช้โดยไม่มีปัญหาคุณภาพน้ำที่รุนแรง ทั้งนี้สังเกตว่าบริเวณ อ.เมือง จ.นครสวรรค์
มีการปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด (TCB) และแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม (FCB) สูงกว่า
บริเวณจุดตรวจวัดอื่น แต่ยังอยู่ในมาตรฐานแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 3
เจ้าพระยาตอนกลาง เป็นแหล่งน้ำประเภทที่ 3 สามารถใช้ประโยชน์ในการอุปโภค บริโภค
โดยผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติ และการปรับปรุงคุณภาพน้ำทั่วไปก่อน และการเกษตร โดยกำหนดค่า
คุณภาพน้ำดังนี้ ค่าออกซิเจนละลาย(DO) ไม่ต่ำกว่า 4.0 มิลลิกรัมต่อลิตร(มก./ล.) ปริมาณความสกปรก
ในรูปบีโอดี (BOD) ไม่เกินกว่า 2.0 มก./ล. ปริมาณการปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด(TCB)
ไม่เกินกว่า 20,000 MPNต่อ100 ml(หน่วย) และปริมาณการปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่ม ฟีคอลโคลิฟอร์ม
(FCB) ไม่เกินกว่า 4,000 หน่วย ค่าแอมโมเนีย(NH3) ไม่เกินกว่า 0.5 มก./ล.
จากการตรวจวัดคุณภาพน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลางใน ปี 2546 พบว่า ค่าคุณภาพน้ำโดยรวม
อยู่ในมาตรฐานแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 4 ( ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานคุณภาพน้ำที่กำหนดไว้เป็นประเภทที่ 3) จัด
อยู่ในเกณฑ์ต่ำ เนื่องจากการปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม (FCB) มากกว่า 4,000 หน่วย
ในบริเวณ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี อำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เจ้าพระยาตอนล่าง เป็นแหล่งน้ำประเภทที่ 4 สามารถใช้ประโยชน์ในการอุปโภค บริโภค
โดยผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติ และการปรับปรุงคุณภาพน้ำเป็นพิเศษก่อน และการอุตสาหกรรม โดย
กำหนดค่าคุณภาพน้ำ ดังนี้ ค่าออกซิเจนละลาย(DO) ไม่ต่ำกว่า 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร(มก./ล.) ปริมาณ
ความสกปรกในรูปบีโอดี (BOD) ไม่เกินกว่า 4.0 มก./ล. ค่าแอมโมเนีย(NH3) ไม่เกินกว่า 0.5 มก./ล.
จากการตรวจวัดคุณภาพน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ในปี 2546 พบว่า ค่าคุณภาพน้ำโดยรวม
ไม่ได้ตามมาตรฐานแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 4 จัดอยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก โดยจุดตรวจวัดเกือบทั้งหมดมีค่า
ออกซิเจนละลาย ต่ำกว่า 2.0 มก./ล. และการปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด (TCB)
และแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม (FCB) ทุกจุดตรวจวัดมีค่ามากกว่ามาตรฐานแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 3
หลายเท่า บริเวณตั้งแต่ ท่าเรือกรุงเทพ ถึง พระสมุทรเจดีย์ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ มีค่าแอมโมเนีย
ไม่ได้ตามมาตรฐาน สรุป ปัญหาคุณภาพน้ำได้แก่ ออกซิเจนละลาย ค่าแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด
กลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม และค่าแอมโมเนีย บริเวณที่เป็นปัญหาคือ พื้นที่เจ้าพระยาตอนล่างทั้งหมด ตั้งแต่
อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ผ่าน กรุงเทพฯ ถึง อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
จากการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ปี 2534-2546 (13 ปี) สามารถ
สรุปคุณภาพน้ำพารามิเตอร์ที่สำคัญได้ดังนี้
1. ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ (DO) มีปริมาณสูงสุดบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน และลดลง
เรื่อย ๆ จนมีค่าต่ำสุดบริเวณเจ้าพระยาตอนล่าง โดยมีค่าตั้งแต่ 0.9-6.9 มก./ล. โดยเจ้าพระยาตอนบน
ส่วนใหญ่มีค่าอยู่ในมาตรฐานแหล่งน้ำประเภทที่ 2 ส่วนตอนกลางส่วนใหญ่มีค่าอยู่ในมาตรฐานแหล่งน้ำประเภท
ที่ 3 และเจ้าพระยาตอนล่างส่วนใหญ่มีค่าอยู่ในมาตรฐานแหล่งน้ำประเภทที่ 4 และเมื่อเปรียบเทียบเป็น
ช่วง 5 ปี แรก (2534-2538) 5 ปี หลัง (2539-2543) และช่วง 3 ปีสุดท้าย (2544-2546) ของ
การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำพบว่าปริมาณออกซิเจนละลายน้ำมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย ดังแสดงในรูปที่ 1
2. ปริมาณความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ (BOD) มีปริมาณสูงสุดบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา
ตอนล่าง และลดลงเรื่อย ๆ จนมีค่าต่ำสุดบริเวณเจ้าพระยาตอนบน โดยมีค่าตั้งแต่ 0.9-4.6 มก./ล.
โดยเจ้าพระยาตอนบนส่วนใหญ่มีค่าอยู่ในมาตรฐานแหล่งน้ำประเภทที่ 2 ส่วนตอนกลางส่วนใหญ่มีค่าอยู่ใน
มาตรฐานแหล่งน้ำประเภทที่ 3 และเจ้าพระยาตอนล่างส่วนใหญ่มีค่าอยู่ในมาตรฐานแหล่งน้ำประเภทที่ 4
และเมื่อเปรียบเทียบในช่วง 5 ปี แรก (2534-2538) 5 ปี หลัง (2539-2543) และช่วง 3 ปีสุดท้าย
(2544-2546) ของการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำพบว่าปริมาณความสกปรกในรูป บีโอดี มีแนวโน้มลดลง
ตลอดทั้งลำน้ำ จากช่วง 5 ปี แรก (2534-2538) 5 ปี หลัง (2539-2543) และช่วง 3 ปีสุดท้าย
(2544-2546) ดังแสดงในรูปที่ 2
3. ปริมาณแบคทีเรียโคลิฟอร์มทั้งหมด (TCB) และแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม (FCB)
มีค่าเกินมาตรฐานแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 3 เกือบทุกจุดเก็บตัวอย่างของแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งตอนบน
ตอนกลางและตอนล่าง โดยพบว่าในช่วงปี 2534-2538 มีค่าสูงถึง 1,718,105 เอ็มพีเอ็น/100 มิลลิลิตร
และลดต่ำลงในช่วงปี 2539-2543 และเมื่อเปรียบเทียบในช่วง 5 ปี แรก (2534-2538) 5 ปี หลัง
(2539-2543) และช่วง 3 ปีสุดท้าย (2544-2546) ของการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำพบว่าปริมาณ
แบคทีเรียโคลิฟอร์มทั้งหมด และแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม มีแนวโน้มลดลงตลอดทั้งลำน้ำ จากช่วง
5 ปี แรก (2534-2538) 5 ปีหลัง (2539-2543) และมีการลดลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 3 ปีสุดท้าย
(2544-2546) ของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง โดยมีค่า TCB และ FCB อยู่ในมาตรฐานแหล่งน้ำผิวดิน
ประเภทที่ 2- 3
ตารางสรุปคุณภาพน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ ปี 2534 — 2538
แหล่งน้ำ มาตรฐาน ค่าคุณภาพน้ำที่สำคัญ ปัญหาคุณภาพน้ำ บริเวณที่เป็นปัญหา
แหล่งน้ำผิวดิน
DO ) BOD TCB FCB NH3-N
(มก.ฝ/ล) (มก./ล) (หน่วย) (หน่วย) (มก/ล)
เจ้าพระยาตอนบน 2 6.3 1.6 315,616 8,490 0.0 BOD,TCB,FCB อ. เมือง จ. อ่างทอง
อ.เมือง จ.นครสวรรค์
เจ้าพระยาตอนกลาง 3 4.7 1.9 146,448 39,740 0.1 TCB,FCB อ.เมือง จ.นนทบุรี
เจ้าพระยาตอนล่าง 4 1.5 3.8 704,096 38,115 2.6 DO,TCB, ตั้งแต่ อ.เมือง
FCB,NH3 จ. สมุทรปราการ ถึง
อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
หมายเหตุ : DO = ออกซิเจนละลาย BOD = ความสกปรกของสารอินทรีย์
TCB = โคลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด FCB = ฟีคอลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย
NH3 = แอมโมเนีย ไนโตรเจน
ตารางสรุปคุณภาพน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ ปี 2539 — 2543
แหล่งน้ำ มาตรฐาน ค่าคุณภาพน้ำที่สำคัญ ปัญหาคุณภาพน้ำ บริเวณที่เป็นปัญหา
แหล่งน้ำผิวดิน DO BOD TCB FCB NH3-N
(มก/ล) (มก/ล)(หน่วย) (หน่วย) (มก/ล)
เจ้าพระยาตอนบน 2 6.0 1.4 651,429 236,069 0.1 TCB, FCB อ. เมือง จ. สิงห์บุรี อ.เมือง
จ.ชัยนาทอ. เมือง จ.นครสวรรค์
เจ้าพระยาตอนกลาง 3 4.5 1.5 244,184 48,504 0.1 FCB อ.เมือง จ.นนทบุรีอ. พระนครฯ จ.อยุธยา
เจ้าพระยาตอนล่าง 4 1.8 3.1 296,798 61,084 0.9 DO,TCB,FCB,NH3 ตั้งแต่ อ.เมือง จ. สมุทรปราการ
ถึง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
ตารางสรุปคุณภาพน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ ปี 2544 — 2546
แหล่งน้ำ มาตรฐาน ค่าคุณภาพน้ำที่สำคัญ ปัญหาคุณภาพน้ำ บริเวณที่เป็นปัญหา
แหล่งน้ำผิวดิน DO BOD TCB FCB NH3-N
(มก/ล)(มก/ล)(หน่วย) (หน่วย)(มก/ล)
เจ้าพระยาตอนบน 2 6.1 1.0 6,856 3,988 0.1 TCB, FCB อ.เมือง จ.อ่างทองอ.เมือง
จ.นครสวรรค์
เจ้าพระยาตอนกลาง 3 4.3 1.1 19,591 6,483 0.1 FCB อ.เมือง จ.นนทบุรีอ.เมือง จ.ปทุมธานี
เจ้าพระยาตอนล่าง 4 1.5 2.9 198,411 80,509 0.5 DO,TCB,FCB ตั้งแต่ อ.เมือง จ. สมุทรปราการ
ถึง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
6. ปัญหาด้านทรัพยากรน้ำและการบริหารจัดการในปัจจุบัน
ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเป็นลุ่มน้ำที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการเกษตร การอุตสาหกรรม การ
ตั้งถิ่นฐานและเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาสายหลัก ในอดีต
จนถึงปัจจุบันได้มีการพัฒนามากในด้านทรัพยากรน้ำ แต่ขาดการวางแผนและการบริหารจัดการอย่างเป็น
ระบบและต่อเนื่องก่อให้เกิดปัญหาสำคัญดังนี้
1. การใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลืองทั้งทรัพยากรดิน น้ำ และป่าไม้ มีสภาพเสื่อมโทรมเป็น
อันมาก ดังจะเห็นได้จากพื้นที่ป่าไม้ในลุ่มน้ำยม น่าน สะแกกรัง และป่าสัก มีพื้นที่ป่าน้อยลง และในลุ่มน้ำท่าจีน
ลุ่มน้ำเจ้าพระยาสายหลัก เหลือพื้นที่ป่าไม้น้อยมาก
2. การพัฒนาโครงการแหล่งน้ำในระดับลุ่มน้ำที่ไม่กระจายอย่างเท่าเทียมกันในลุ่มน้ำต่างๆ
เนื่องจากมีปัญหาด้านงบประมาณ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสังคม เช่นแม่น้ำยม แควน้อย แม่วงศ์ แม่ขาน
แม่น้ำวัง เป็นต้น ก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำ น้ำท่วม และน้ำเสียในลุ่มน้ำดังกล่าว และมีแนวโน้ม
ของปัญหาดังกล่าวรุนแรงขึ้นในอนาคตจนถือได้ว่าเป็นภัยซึ่งจะสร้างผลกระทบที่รุนแรงต่อทั้งเศรษฐกิจ
สังคม และชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยทั่วไป
3. ปัญหาด้านน้ำบาดาลขาดการบริหารจัดการน้ำบาดาลอย่างมีประสิทธิภาพ มีการใช้
น้ำบาดาลอย่างสิ้นเปลืองและขาดความสมดุลทำให้เกิดปัญหาการทรุดตัวของดิน และปัญหาการรุกล้ำ
ของน้ำเค็มรวมทั้งความถี่ในการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้โดยเฉพาะในพื้นที่เจ้าพระยาตอนล่าง
4. จากการพัฒนาทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ทำให้มีการพัฒนาพื้นที่ชลประทานเป็น
จำนวนมากและมีการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้มีการใช้น้ำมากกว่าปริมาณน้ำต้นทุนที่มี
อยู่ในอ่างเก็บน้ำ จะเห็นได้จากลุ่มน้ำเจ้าพระยามีความต้องการใช้น้ำปัจจุบันคิดเป็นร้อยละ 65 ของ
ปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำโดยเป็นความต้องการน้ำด้านการเกษตรประมาณร้อยละ 80 ของปริมาณความ
ต้องการน้ำทุกกิจกรรม
5. การเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง การทำนาปรังครั้งที่ 2 และ 3 ในรอบปี การเพิ่มขึ้นของ
ประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมที่เป็นผลต่อเนื่องจากการพัฒนา
ทรัพยากรน้ำ ทำให้มีความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำท่าโดยที่มีการลดลง
6. การขยายตัวของเศรษฐกิจและสังคม ทำให้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การขยายตัว
ของชุมชนเมือง แต่ไม่มีการพัฒนาโครงการแหล่งน้ำ ระดับลุ่มน้ำในบางลุ่มน้ำ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อลุ่มน้ำ
เจ้าพระยาในประเด็นน้ำท่วม น้ำแล้ง และน้ำเสีย และมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น
7. ปัญหาน้ำเสียในลุ่มน้ำต่างๆ จากการระบายน้ำเสียจากแหล่งชุมชน อุตสาหกรรมและ
พื้นที่การเกษตร เนื่องจากขาดแคลนระบบบำบัดน้ำเสีย และขาดแหล่งเก็บกักน้ำในระดับลุ่มน้ำ และ
ปริมาณน้ำที่เก็บกักในอ่างเก็บน้ำมีไม่เพียงพอต่อการปรับปรุงคุณภาพน้ำ
8. ปัญหาด้านองค์กร ขาดหน่วยงานกลางในการวางแผนและประสานงาน ทำให้การ
ดำเนินงานระหว่างหน่วยงานต่างๆไม่ประสานสอดคล้องกันในการเป็นเจ้าภาพแบบบูรณาการ
9. ปัญหาด้านกฎหมาย มีกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวกับน้ำซึ่งมีความซับซ้อน ขาดความชัดเจน
และมีความล้าหลัง ทำให้เกิดปัญหาในด้านปฏิบัติทั้งเรื่องน้ำและแหล่งน้ำ
10. การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเป็นอำนาจของรัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน
ไม่มีส่วนร่วมเท่าที่ควร ทำให้เกิดความไม่สอดคล้อง สัมพันธ์กัน ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการ
ของประชาชนได้อย่างแท้จริง และเกิดปัญหาระหว่างภาครัฐกับภาคประชาชน
7. การดำเนินงานที่ผ่านมาของภาครัฐ
7.1 การก่อสร้างระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน โครงการที่ดำเนินการ
มาแล้วประกอบด้วยดังตารางข้างล่างนี้
โครงการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียในลุ่มน้ำเจ้าพระยา
โครงการ ความสามารถในการ ปัจจุบันบำบัดได้ ประสิทธิภาพการ สถานภาพ
รองรับน้ำเสีย (ลบ.ม./วัน) (ลบ.ม./วัน) บำบัดน้ำเสีย(%)
1. โครงการบำบัดน้ำเสียรวม 1,650 825-1,240 50-75 ก่อสร้างแล้วเสร็จ
2. โครงการบำบัดน้ำเสียรวม 5,700 0-2,800 0-49 ก่อสร้างแล้วเสร็จ
ทม. จ. อุทัยธานี
3. โครงการบำบัดน้ำเสียรวม 3,500 1,750-2,625 50-75 ก่อสร้างแล้วเสร็จ
ทม.จ.ชัยนาท
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ