(ต่อ1) แนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษในแม่น้ำเจ้าพระยา

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 4, 2004 13:43 —สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

4. โครงการบำบัดน้ำเสียรวม        8,200          4,100-6,150        50-75      ก่อสร้างแล้วเสร็จ
ทม.อ่างทอง จ.อ่างทอง
5. โครงการบำบัดน้ำเสียรวม 25,000 - - ก่อสร้างแล้วเสร็จ
ทม.พระนครศรีอยุธยา จ.อยุธบส
6. โครงการบำบัดน้ำเสียรวม
กรุงเทพมหานคร
6.6 สี่พระยา 30,000 30,000 92 ก่อสร้างเสร็จแล้ว
6.7 ยานนาวา 200,000 120,000 82 ก่อสร้างเสร็จแล้ว
6.8 รัตนโกสินทร์ 40,000 37,000 90 ก่อสร้างเสร็จแล้ว
6.9 ราษฎร์บูรณะ 65,000 32,000 50 ก่อสร้างเสร็จแล้ว
6.10 หนองแขม-ภาษีเจริญ 170,000 100,000 65 ก่อสร้างเสร็จแล้ว
7. โครงการบำบัดน้ำเสียรวม 35,000 - - กำลังก่อสร้าง
ระยะ 1 (กทม.)
8. โครงการบำบัดน้ำเสีย 150,000 - - กำลังก่อสร้างจะแล้ว
รวมระยะ 4 (กทม.) เสร็จปลายปี 2547
9. โครงการบำบัดน้ำเสียรวม 525,000 - - มีปัญหา
จ.สมุทรปราการ (คลองด่าน)
7.2 การประกาศเขตควบคุมมลพิษ กรมควบคุมมลพิษ ได้ประกาศให้พื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ
เป็นเขตควบคุมมลพิษ เมื่อปี 2539 และได้ดำเนินการก่อสร้างระบบรวบรวมมาแล้ว และบำบัดน้ำเสีย มี
ความก้าวหน้าประมาณร้อยละ 96 และขณะนี้อยู่ระหว่างการชะลอโครงการ ควรจะมีการดำเนินงานให้
สามารถดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำในพื้นที่วิกฤติได้
7.3 การจัดตั้งคณะอนุกรรมการลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง กรมทรัพยากรน้ำได้จัดตั้ง
อนุกรรมการและสรรหาผู้แทนในคณะอนุกรรมการลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง มีคณะกรรมการทั้งหมด 37 คน
โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาทเป็นประธาน ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 2 เป็นเลขานุการ
คณะอนุกรรมการฯ ได้มีการประชุมไปแล้ว 2 ครั้ง สรุปได้ดังนี้
การประชุมครั้งที่ 1/2547 วันที่ 8 มกราคม 2547
- การเลือกประธาน และเลขานุการคณะอนุกรรมการ
- เห็นชอบให้มีการแต่งตั้งคณะทำงาน ได้แก่ คณะทำงานด้านแผนบูรณาการ คณะทำงาน
ด้านประชาสัมพันธ์ และการมีส่วนร่วม และคณะทำงานด้านข้อมูล
- ให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานในระดับพื้นที่ ได้แก่ คณะทำงานระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล
- การจัดทำแผนงบประมาณทรัพยากรน้ำเชิงบูรณาการปี 2548 โดยพิจารณาแผนของ
จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
การประชุมครั้งที่ 2/2547 วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2547
- ให้ความเห็นชอบแผนบูรณาการลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ปี 2548 เพื่อเสนอ กรมทรัพยากรน้ำ
รวบรวมเสนอคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
- กิจกรรมตามแผนปฏิบัติการ ของคณะอนุกรรมการลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ในปี 2547
ได้แก่ จัดตั้ง และสนับสนุนองค์กรบริหารจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ประชุมประชาชน
รับฟังความคิดเห็นในเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่ประชาชน
และองค์กร และการประชุมเชิงปฏิบัติการต่างๆ
8. แนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษในลุ่มน้ำเจ้าพระยา
8.1 มาตรการด้านบริหารจัดการ
8.1.1 จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ เพื่อให้ครอบคลุมในด้าน
การพัฒนา จัดหาน้ำต้นทุน การจัดสรรน้ำ การควบคุมมลพิษทางน้ำ การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ อุทกภัย ภัยแล้ง
และด้านองค์กรในลุ่มน้ำเจ้าพระยา รวมทั้งการมีส่วนร่วมของผู้ใช้น้ำให้มากขึ้น เป็นแผนระยะยาวควบคู่กับ
การวางแผนการใช้ที่ดินและการขยายตัวของสังคมและเศรษฐกิจในทุกๆด้านเพื่อให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรน้ำ
อย่างยั่งยืน
8.1.2 ผลักดันให้มีการจัดหาน้ำต้นทุนเพิ่มขึ้นให้เต็มตามศักยภาพและให้เหมาะสมกับ
ดุลยภาพของระบบนิเวศ โดยจะต้องให้ความสำคัญในการดำเนินการเพิ่มแหล่งน้ำต้นทุนให้กับโครงการที่ได้รับ
ประโยชน์อยู่เดิมเท่ากับการพิจารณาก่อสร้างโครงการพัฒนาแหล่งน้ำโครงการใหม่ๆในระดับลุ่มน้ำ เพื่อ
ประโยชน์ของการแก้ไขปัญหาน้ำในทุกๆด้าน และการกระจายความอยู่ดีกินดีทั่วพื้นที่ลุ่มน้ำ
8.1.3 ควรปฏิรูปองค์กรเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ตั้งแต่ระดับชาติจนถึง
ระดับท้องถิ่น เพื่อให้การพัฒนาทรัพยากรน้ำมีความต่อเนื่อง และตอบสนองความต้องการใช้น้ำได้อย่างทั่วถึง
8.1.4 วางระบบในการบริหารจัดการ การใช้งาน และบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสีย
รวมทั้งการเก็บค่าบำบัดน้ำเสีย
8.1.5 สนับสนุนและให้การศึกษากับเกษตรกรในเรื่องปฏิบัติการเกษตรที่ดี (Good
Agricultural Practices :GAP) รวมทั้งทุกไร่นาต้องมีการอนุรักษ์ดินและน้ำ
8.1.6 สนับสนุนให้ทุกลำน้ำมีแถบฉนวนอนุรักษ์ (Conservation Buffer) เพื่อ
กรองสิ่งสกปรกทั้งหลายออกจากน้ำก่อนจะไหลลงสู่ลำน้ำสาธารณะ
8.2 มาตรการด้านการลงทุน
8.2.1 จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียรวมในพื้นที่ชุมชนโดยวิธีบำบัดที่เหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆ
และให้ความสำคัญกับชุมชนที่อยู่ริมน้ำ ชุมชนขนาดใหญ่ และชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่วิกฤตตามแผนจัดการน้ำเสียชุมชน
8.2.2 การออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียต้องเน้นให้มีต้นทุนในการดำเนินการต่ำที่สุด
ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และง่ายต่อการใช้งานและการบำรุงรักษา
8.2.3 สนับสนุนให้มีการตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสียที่ได้ลงทุนก่อสร้างไปแล้วใน
ประเด็นสภาพการใช้งาน และจำนวนเงินลงทุนที่จะต้องลงทุนเพิ่มเติมเพื่อการใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ และ
มีประสิทธิภาพ
8.2.4 สนับสนุนการลงทุนของราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจและเอกชน ในการ
ก่อสร้างและดำเนินการระบบบำบัดน้ำเสียรวม
8.2.5 เร่งรัดมาตรการการจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสียไปสู่ราชการหรือองค์กร
ที่มีหน้าที่ดำเนินการ
8.3 มาตรการด้านกฎหมาย
8.3.1 ปรับปรุงระเบียบการขอใช้ที่ดินริมแม่น้ำลำคลอง แนวทางการลดปัญหาและ
ควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งชุมชน รวมทั้งต้องดูแลเรื่องการรุกล้ำใช้ที่ดินสาธารณะ
8.3.2 กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกับการกำหนดประเภทการใช้
ประโยชน์ของแหล่งน้ำ
8.3.3 กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำและประเภทของแหล่งน้ำ
8.3.4 ประกาศเขตควบคุมมลพิษในบริเวณที่มีปัญหามลพิษทางน้ำอยู่ในภาวะวิกฤต
8.3.5 กำหนดเขตพื้นที่อนุรักษ์แหล่งน้ำดิบเพื่อการประปา
8.3.6 ควบคุมให้มีการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ
8.3.7 ควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทอื่นๆ ให้ได้ตามมาตรฐาน
น้ำทิ้งที่กำหนด และคำนึงถึงความสามารถของการรองรับน้ำทิ้งของแหล่งน้ำในบริเวณต่างๆ
8.3.8 กระจายความรับผิดชอบการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
8.4 มาตรการด้านการส่งเสริม
8.4.1 ร่วมมือกับเอกชนและองค์กรต่างๆ รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชน มีความรู้
ความเข้าใจและมีส่วนรับผิดชอบในการจัดการคุณภาพน้ำ รวมทั้งการให้การศึกษากับเยาวชน
8.4.2 สนับสนุนการวิจัยเพื่อส่งเสริมพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการคุณภาพน้ำ
8.4.3 ลดภาษีการนำเข้าเครื่องจักร อุปกรณ์ วัสดุเพื่อการบำบัดน้ำเสีย
8.4.4 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการนำน้ำทิ้งที่มีการบำบัดแล้วมาใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ
ที่มา: สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
www.nesac.or.th, โทร.02-612-9222 ต่อ 118, 119 โทรสาร.02-612-6918-9

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ