สศอ.เปิดตัวเลขดัชนีอุตสาหกรรมเดือนเมษายน 47 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 47 ดัชนีอุตสาหกรรมลดลง โดยสาเหตุหลักเป็นการลดลงตามฤดูกาล เหตุติดวันหยุดหลายวัน ส่งผลให้การผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย - อาหารสัตว์สำเร็จรูป - ปูนซีเมนต์ ฉุดตัวเลขดัชนีอุตสาหกรรมลดวูบอยู่ที่ระดับ 123.35 ชี้แนวโน้มผลผลิตและจำหน่ายสินค้าอุตสาหกรรมเดือนพ.ค.เพิ่มขึ้นร้อยละ 6-8
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ. ได้จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2547 จากผลการสำรวจทั้งสิ้น 2,000 โรงงาน ครอบคลุม 50 กลุ่ม อุตสาหกรรม 203 ผลิตภัณฑ์ ทั้งในกลุ่มที่เป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่และวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม พบว่า ดัชนีอุตสาหกรรมในภาพรวมอยู่ในภาวะที่ลดลงจากเดือนมีนาคม โดยมี 6 ดัชนีหลักที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ดัชนีผลผลิต(มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 119.20 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 10.96 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.93 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 123.35 ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 13.06 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.55 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 120.89 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 14.16 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.52 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 100.51 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 10.30 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.24 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 141.80 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.82 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.32 และอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 56.88 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 12.15 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.93
สำหรับ ดัชนีที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 134.54 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.83 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.26 ดัชนีอัตราส่วนสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 142.36 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 3.67 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ16.71
ทั้งนี้ ดัชนีอุตสาหกรรมที่ลดลงเป็นผลมาจากอุตสาหกรรมสิ่งทอ อาหารสัตว์สำเร็จรูป และปูนซีเมนต์ ที่มีการผลิตและจำหน่ายลดลง โดยเฉพาะกลุ่มสิ่งทอ ที่มียอดการสั่งซื้อลดลงในช่วงเดือนเมษายน เนื่องจาก ได้มีการผลิตสินค้าไว้ล่วงหน้าไปแล้วบางส่วนตั้งแต่เดือนก่อน เพราะเห็นว่าเทศกาลสงกรานต์มีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน ขณะที่ ภาวะการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐ ยุโรป แคนาดา ผู้ประกอบการเริ่มเผชิญภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้นโดยเฉพาะต้นทุนค่าแรงของไทยที่สูงกว่าจีนหลายเท่าตัว ทำให้สหรัฐฯเริ่มนำเข้าสินค้าจากจีนทดแทนสินค้าไทยในสัดส่วนที่สูงขึ้น
ในด้านการผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูป มีภาวะการผลิตลดลงเช่นกัน เป็นเพราะลูกค้าสั่งสินค้าเข้ามาน้อย เนื่องจาก สินค้ามีการปรับราคาสูงขึ้นตามราคาต้นทุนวัตถุดิบ สำหรับการผลิตปูนซีเมนต์ ภาวะการผลิตและจำหน่ายลดลง โดยมีอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนเมษายนอยู่ที่ระดับ 55.97 ลดลงจากเมื่อเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 62.55 เนื่องจาก เดือนเมษายนเป็นช่วงเทศกาลมีวันหยุดติดต่อหลายวัน รวมทั้ง คำสั่งซื้อจากตัวแทนจำหน่ายลดลงมาก เพราะเมื่อเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนผู้ประกอบการก่อสร้างมักเริ่มชะลอการก่อสร้าง เพราะสภาพภูมิอากาศไม่อำนวย
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าดัชนีอุตสาหกรรมในภาพรวม เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคมจะมีการปรับตัวลดลง แต่ยังคงมีอุตสาหกรรมบางตัว อาทิเช่น การผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ ที่มีภาวะการผลิตและการจำหน่ายขยายตัวดีมาก เนื่องจาก รัฐบาลดำเนินนโยบายกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ แต่ในอีก 2-3 เดือนการขยายตัวของธุรกิจก่อสร้างอาจลดลง หากฤดูฝนมีระยะเวลายาวนาน ในส่วนของ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ปริมาณการผลิตน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม อีกทั้ง อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 73.37 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคมซึ่งอยู่ที่ระดับ 68.31 เนื่องจาก ในเดือนเมษายนโรงกลั่น ESSO กลับมากลั่นน้ำมันตามปกติ หลังจากหยุดซ่อมบำรุงระยะหนึ่ง ส่งผลให้การส่งออกแนฟทาและก๊าซหุงต้มเพิ่มขึ้น
นางชุตาภรณ์ กล่าวเสริมว่า ทาง สศอ.ยังได้วิเคราะห์แนวโน้มดัชนีเดือนพฤษภาคมโดยพิจารณาร่วมกับภาวะอุตสาหกรรมปัจจุบันคาดว่าภาวะการผลิตและจำหน่ายอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม 2547 ว่ามีทิศทางที่เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน ประมาณร้อยละ 6-8 รวมทั้งแนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมช่วงไตรมาส 2 ของปีที่ยังมีทิศทางเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมต่างๆอาจได้รับผลกระทบจาก ต้นทุนด้านเชื้อเพลิงทั้งน้ำมันและก๊าซที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจจะทำให้ระดับราคาสินค้าและราคาวัตถุดิบปรับตัว ซึ่งจะส่งผลต่อระดับราคาการจำหน่ายในอนาคต
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ. ได้จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2547 จากผลการสำรวจทั้งสิ้น 2,000 โรงงาน ครอบคลุม 50 กลุ่ม อุตสาหกรรม 203 ผลิตภัณฑ์ ทั้งในกลุ่มที่เป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่และวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม พบว่า ดัชนีอุตสาหกรรมในภาพรวมอยู่ในภาวะที่ลดลงจากเดือนมีนาคม โดยมี 6 ดัชนีหลักที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ดัชนีผลผลิต(มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 119.20 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 10.96 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.93 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 123.35 ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 13.06 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.55 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 120.89 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 14.16 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.52 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 100.51 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 10.30 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.24 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 141.80 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.82 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.32 และอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 56.88 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 12.15 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.93
สำหรับ ดัชนีที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 134.54 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.83 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.26 ดัชนีอัตราส่วนสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 142.36 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 3.67 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ16.71
ทั้งนี้ ดัชนีอุตสาหกรรมที่ลดลงเป็นผลมาจากอุตสาหกรรมสิ่งทอ อาหารสัตว์สำเร็จรูป และปูนซีเมนต์ ที่มีการผลิตและจำหน่ายลดลง โดยเฉพาะกลุ่มสิ่งทอ ที่มียอดการสั่งซื้อลดลงในช่วงเดือนเมษายน เนื่องจาก ได้มีการผลิตสินค้าไว้ล่วงหน้าไปแล้วบางส่วนตั้งแต่เดือนก่อน เพราะเห็นว่าเทศกาลสงกรานต์มีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน ขณะที่ ภาวะการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐ ยุโรป แคนาดา ผู้ประกอบการเริ่มเผชิญภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้นโดยเฉพาะต้นทุนค่าแรงของไทยที่สูงกว่าจีนหลายเท่าตัว ทำให้สหรัฐฯเริ่มนำเข้าสินค้าจากจีนทดแทนสินค้าไทยในสัดส่วนที่สูงขึ้น
ในด้านการผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูป มีภาวะการผลิตลดลงเช่นกัน เป็นเพราะลูกค้าสั่งสินค้าเข้ามาน้อย เนื่องจาก สินค้ามีการปรับราคาสูงขึ้นตามราคาต้นทุนวัตถุดิบ สำหรับการผลิตปูนซีเมนต์ ภาวะการผลิตและจำหน่ายลดลง โดยมีอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนเมษายนอยู่ที่ระดับ 55.97 ลดลงจากเมื่อเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 62.55 เนื่องจาก เดือนเมษายนเป็นช่วงเทศกาลมีวันหยุดติดต่อหลายวัน รวมทั้ง คำสั่งซื้อจากตัวแทนจำหน่ายลดลงมาก เพราะเมื่อเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนผู้ประกอบการก่อสร้างมักเริ่มชะลอการก่อสร้าง เพราะสภาพภูมิอากาศไม่อำนวย
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าดัชนีอุตสาหกรรมในภาพรวม เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคมจะมีการปรับตัวลดลง แต่ยังคงมีอุตสาหกรรมบางตัว อาทิเช่น การผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ ที่มีภาวะการผลิตและการจำหน่ายขยายตัวดีมาก เนื่องจาก รัฐบาลดำเนินนโยบายกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ แต่ในอีก 2-3 เดือนการขยายตัวของธุรกิจก่อสร้างอาจลดลง หากฤดูฝนมีระยะเวลายาวนาน ในส่วนของ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ปริมาณการผลิตน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม อีกทั้ง อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 73.37 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคมซึ่งอยู่ที่ระดับ 68.31 เนื่องจาก ในเดือนเมษายนโรงกลั่น ESSO กลับมากลั่นน้ำมันตามปกติ หลังจากหยุดซ่อมบำรุงระยะหนึ่ง ส่งผลให้การส่งออกแนฟทาและก๊าซหุงต้มเพิ่มขึ้น
นางชุตาภรณ์ กล่าวเสริมว่า ทาง สศอ.ยังได้วิเคราะห์แนวโน้มดัชนีเดือนพฤษภาคมโดยพิจารณาร่วมกับภาวะอุตสาหกรรมปัจจุบันคาดว่าภาวะการผลิตและจำหน่ายอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม 2547 ว่ามีทิศทางที่เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน ประมาณร้อยละ 6-8 รวมทั้งแนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมช่วงไตรมาส 2 ของปีที่ยังมีทิศทางเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมต่างๆอาจได้รับผลกระทบจาก ต้นทุนด้านเชื้อเพลิงทั้งน้ำมันและก๊าซที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจจะทำให้ระดับราคาสินค้าและราคาวัตถุดิบปรับตัว ซึ่งจะส่งผลต่อระดับราคาการจำหน่ายในอนาคต
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-