นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่าสำนักงาน
เศรษฐกิจการคลังได้ทำการศึกษาเรื่องการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนเมษายน 2547 โดยมีประเด็นสำคัญสรุปได้ดังนี้
ในเดือนเมษายน 2547 ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเล็กน้อยที่ 19 ล้านดอลลาร์ สรอ. คิดเป็นประมาณร้อยละ 0.12 ของ GDP
โดยแยกเป็นการขาดดุลการค้า 357 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นการขาดดุลการค้าเป็นครั้งที่ 2 ตั้งแต่ต้นปี 2547 เป็นต้นมา ขณะที่ดุล
บริการและเงินโอนยังคงเกินดุลที่ 338 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ตารางที่ 1 : ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนมีนาคมและเมษายน 2547
(ล้านดอลลาร์ สรอ.) มี.ค. 47 เม.ย. 47
สินค้าออก 7,846 7,102
สินค้าเข้า 8,154 7,459
ดุลการค้า -308 -357
ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน 516 338
ดุลบัญชีเดินสะพัด 208 -19
(ล้านดอลลาร์ สรอ.) มี.ค. 47 เม.ย. 47
สินค้าออก 7,846 7,102
สินค้าเข้า 8,154 7,459
ดุลการค้า -308 -357
ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน 516 338
ดุลบัญชีเดินสะพัด 208 -19
บริษัทต่างชาติในประเทศไทยมีการส่งคืนกำไรและเงินปันผลกลับประเทศที่ค่อนข้างมากในเดือนเมษายน ทำให้รายจ่ายผล
ประโยชน์จากการลงทุนค่อนข้างสูงเช่นกัน ส่งผลให้ในเดือนเมษายนการนำส่งกำไรออกนอกประเทศสูงถึง 392 ล้านดอลลาร์ สรอ.
เทียบกับ 281 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือนมีนาคม
การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นการขยายตัวของการนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบที่ขยายตัวถึงร้อยละ 29.1
และ 24.1 ตามลำดับ ในเดือนเมษายน 2547 ซึ่งแสดงถึงการลงทุนและการผลิตที่มีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ขณะที่การนำเข้า
สินค้าอุปโภคและบริโภคเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 19.8 ในเดือนเมษายน 2547
สศค. คาดว่าการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดน่าจะปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นในเดือนพฤษภาคมจาก Seasonal pattern ในเดือน
พฤษภาคมที่ดุลบัญชีเดินสะพัดปรับตัวดีขึ้นจากเดือนเมษายนแทบทุกปี หากมูลค่าการนำเข้าสินค้าไม่ขยายตัวรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้
ตลอดทั้งปี 2547 สศค. คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะยังคงเกินดุลที่ประมาณ 5.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นร้อยละ 3.1 ของ
GDP
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 44/2547 4 มิถุนายน 2547--
เศรษฐกิจการคลังได้ทำการศึกษาเรื่องการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนเมษายน 2547 โดยมีประเด็นสำคัญสรุปได้ดังนี้
ในเดือนเมษายน 2547 ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเล็กน้อยที่ 19 ล้านดอลลาร์ สรอ. คิดเป็นประมาณร้อยละ 0.12 ของ GDP
โดยแยกเป็นการขาดดุลการค้า 357 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นการขาดดุลการค้าเป็นครั้งที่ 2 ตั้งแต่ต้นปี 2547 เป็นต้นมา ขณะที่ดุล
บริการและเงินโอนยังคงเกินดุลที่ 338 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ตารางที่ 1 : ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนมีนาคมและเมษายน 2547
(ล้านดอลลาร์ สรอ.) มี.ค. 47 เม.ย. 47
สินค้าออก 7,846 7,102
สินค้าเข้า 8,154 7,459
ดุลการค้า -308 -357
ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน 516 338
ดุลบัญชีเดินสะพัด 208 -19
(ล้านดอลลาร์ สรอ.) มี.ค. 47 เม.ย. 47
สินค้าออก 7,846 7,102
สินค้าเข้า 8,154 7,459
ดุลการค้า -308 -357
ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน 516 338
ดุลบัญชีเดินสะพัด 208 -19
บริษัทต่างชาติในประเทศไทยมีการส่งคืนกำไรและเงินปันผลกลับประเทศที่ค่อนข้างมากในเดือนเมษายน ทำให้รายจ่ายผล
ประโยชน์จากการลงทุนค่อนข้างสูงเช่นกัน ส่งผลให้ในเดือนเมษายนการนำส่งกำไรออกนอกประเทศสูงถึง 392 ล้านดอลลาร์ สรอ.
เทียบกับ 281 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือนมีนาคม
การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นการขยายตัวของการนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบที่ขยายตัวถึงร้อยละ 29.1
และ 24.1 ตามลำดับ ในเดือนเมษายน 2547 ซึ่งแสดงถึงการลงทุนและการผลิตที่มีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ขณะที่การนำเข้า
สินค้าอุปโภคและบริโภคเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 19.8 ในเดือนเมษายน 2547
สศค. คาดว่าการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดน่าจะปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นในเดือนพฤษภาคมจาก Seasonal pattern ในเดือน
พฤษภาคมที่ดุลบัญชีเดินสะพัดปรับตัวดีขึ้นจากเดือนเมษายนแทบทุกปี หากมูลค่าการนำเข้าสินค้าไม่ขยายตัวรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้
ตลอดทั้งปี 2547 สศค. คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะยังคงเกินดุลที่ประมาณ 5.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นร้อยละ 3.1 ของ
GDP
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 44/2547 4 มิถุนายน 2547--