กรุงเทพ--7 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2547 ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าวถึงภารกิจในการเดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 2 — 3 มิถุนายน 2547 สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. การหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2547 ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เข้าพบหารือกับนางโยริโกะ คาวากูชิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น ในประเด็นสำคัญต่างๆ อาทิ เรื่องความร่วมมือในกรอบ ACD ในประเด็นเรื่องการส่งเสริมตลาดพันธบัตรเอเชีย โดยการออกพันธบัตรสกุลเงินบาทเพื่อใช้ในการระดมทุนช่วยเหลือพัฒนาโครงสร้างถิ่นฐานของประเทศเพื่อนบ้าน การขยายจำนวนประเทศสมาชิก ACD ซึ่งญี่ปุ่นไม่ขัดข้องที่จะให้ประเทศที่แสดงความสนใจเข้าร่วม ซึ่งประกอบด้วยสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ภูฐาน และมองโกเลีย นอกจากนั้นได้มีการหารือถึงเรื่องประเทศเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำ ACD ครั้งต่อไป ซึ่งมีหลายประเทศได้แสดงความจำนง ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นเสนอว่าอาจพิจารณาประเทศที่เสนอก่อน ซึ่งก็คือประเทศปากีสถาน
นอกจากนี้ ได้หารือกันในเรื่องข้อตกลงการจัดตั้งเขตการค้าเสรีไทย— ญี่ปุ่น (JTEPA) ซึ่งทั้ง 2 ฝ่าย เห็นพ้องกันว่า การจัดตั้งเขตการค้าเสรีไม่ใช่เป็นเพียงการลดภาษีหรือเปิดเสรีในเรื่องการค้าและบริการเท่านั้น หากแต่เป็นความร่วมมือในหลายด้านทั้งด้านวิทยาศาสตร์ การศึกษา สิ่งแวดล้อม ฯลฯ ซึ่งผลประโยชน์จะได้กับประชาชนของทั้ง 2 ประเทศ ทั้งนี้ จะให้นักวิชาการ กลุ่มประชาชนและองค์กร เอกชนได้เข้ามาอยู่ในกระบวนการรับทราบว่า JTEPA ครบคลุมในเรื่องใดบ้าง เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และสนับสนุนการดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นได้แจ้งว่า นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้เชิญนายกรัฐมนตรีทักษิณฯ ให้เดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการด้วย
ในเรื่องสถานการณ์ในพม่า ทั้ง 2 ฝ่ายมีความไม่สบายใจและห่วงใยต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน และจะร่วมกันผลักดันให้รัฐบาลทหารของพม่าและพรรค NLD ได้มีการหารือกัน ซึ่งญี่ปุ่นเห็นว่า การประชุม Bangkok Process มีความสำคัญมากและในการประชุม Bangkok Process ครั้งที่ 1 นับว่าประสบความสำเร็จเนื่องจากพม่าได้มีการดำเนินการตามที่ได้บอกไว้ในที่ประชุม ซึ่งก็คือการจัดประชุมสมัชชาแห่งชาติในปี 2004 และเชิญให้ทุกฝ่ายเข้าร่วมและสำหรับการประชุม Bangkok Process ครั้งที่ 2 นั้นญี่ปุ่นเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์มากหากพม่าจะเข้าร่วม
นอกจากนั้น ได้มีการหารือกันเรื่องตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ โดยฝ่ายญี่ปุ่นได้แสดงความเห็นด้วยว่าตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติสมัยต่อไปควรที่จะเป็นรอบของประเทศเอเชีย และได้รับทราบว่า ประเทศไทยได้เสนอ ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศเป็นผู้สมัครเข้าดำรงตำแหน่งนี้
2. การกล่าวสุนทรพจน์ ในการเดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่นครั้งนี้ ฯพณฯ รัฐมนตรี ว่าการฯ ได้รับมอบหมายจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ให้เป็นผู้แทนกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมสัมมนา “The Future of Asia” ซึ่งจัดโดยหนังสือพิมพ์นิเคอิของญี่ปุ่น ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีมาเลเซียและเวียดนามเข้าร่วมกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมครั้งนี้ด้วย
สุนทรพจน์ของ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวถึงการรวมตัวทางเศรษฐกิจของเอเชียซึ่งมีความเป็นไปได้ เนื่องจากที่ผ่านมาได้มีความเคลื่อนไหวหลายประการ อาทิ ACD ACMECs และข้อตกลงเขตการค้าเสรีทวิภาคี ซึ่งจะพัฒนาไปสู่การรวมตัวทางเศรษฐกิจได้ อย่างไรก็ตาม เห็นว่า การรวมตัวควรมีลักษณะเป็นประชาคมเอเชีย (Asia Community) โดยนอกจากประเด็นเรื่องเศรษฐกิจแล้ว สิ่งสำคัญคือ การสร้างความรู้สึกความเป็นประชาคมและ ความเข้าใจในระดับประชาชนต่อประชาชน รวมทั้งครอบคลุมถึงความร่วมมือด้านอื่น ๆ เช่น ด้านวิทยาศาสตร์ การศึกษา สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม ตลอดจนการใช้ประโยชน์ในความแตกต่างให้มาเป็นความเข้มแข็งและความเป็นหุ้นส่วนกัน นอกจากนั้น ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ ได้กล่าวย้ำถึงวิสัยทัศน์ของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ต่ออนาคตของเอเชีย ซึ่งได้นำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมแล้วดังจะเห็นได้จากยุทธศาสตร์ความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ความร่วมมือเอเชีย (ACD) และ FTA เป็นต้น
อนึ่งนายสีหศักด์ พวงเกตุแก้ว โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวว่า ก่อนเดินทางกลับประเทศไทย ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ ได้ถือโอกาสการเยือนครั้งนี้รับประเทศอาหารกลางวันร่วมกับนักการเมืองสังกัดพรรค LDP ของญี่ปุ่นเพื่ออธิบายให้เข้าใจถึงความสำคัญของข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย — ญี่ปุ่นรวมทั้งชี้ให้เห็นถึงผลประโยชน์ที่ทั้ง 2 ประเทศจะได้รับ ซึ่งนอกจากการเจรจาในระดับรัฐบาลแล้ว นักการเมืองจะมีส่วนผลักดันเพื่อให้การเจรจาประสบผลสำเร็จและครอบคลุมทุกด้าน โดยเฉพาะในแง่ที่มีความละเอียดอ่อนด้านการเมืองภายใน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2547 ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าวถึงภารกิจในการเดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 2 — 3 มิถุนายน 2547 สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. การหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2547 ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เข้าพบหารือกับนางโยริโกะ คาวากูชิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น ในประเด็นสำคัญต่างๆ อาทิ เรื่องความร่วมมือในกรอบ ACD ในประเด็นเรื่องการส่งเสริมตลาดพันธบัตรเอเชีย โดยการออกพันธบัตรสกุลเงินบาทเพื่อใช้ในการระดมทุนช่วยเหลือพัฒนาโครงสร้างถิ่นฐานของประเทศเพื่อนบ้าน การขยายจำนวนประเทศสมาชิก ACD ซึ่งญี่ปุ่นไม่ขัดข้องที่จะให้ประเทศที่แสดงความสนใจเข้าร่วม ซึ่งประกอบด้วยสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ภูฐาน และมองโกเลีย นอกจากนั้นได้มีการหารือถึงเรื่องประเทศเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำ ACD ครั้งต่อไป ซึ่งมีหลายประเทศได้แสดงความจำนง ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นเสนอว่าอาจพิจารณาประเทศที่เสนอก่อน ซึ่งก็คือประเทศปากีสถาน
นอกจากนี้ ได้หารือกันในเรื่องข้อตกลงการจัดตั้งเขตการค้าเสรีไทย— ญี่ปุ่น (JTEPA) ซึ่งทั้ง 2 ฝ่าย เห็นพ้องกันว่า การจัดตั้งเขตการค้าเสรีไม่ใช่เป็นเพียงการลดภาษีหรือเปิดเสรีในเรื่องการค้าและบริการเท่านั้น หากแต่เป็นความร่วมมือในหลายด้านทั้งด้านวิทยาศาสตร์ การศึกษา สิ่งแวดล้อม ฯลฯ ซึ่งผลประโยชน์จะได้กับประชาชนของทั้ง 2 ประเทศ ทั้งนี้ จะให้นักวิชาการ กลุ่มประชาชนและองค์กร เอกชนได้เข้ามาอยู่ในกระบวนการรับทราบว่า JTEPA ครบคลุมในเรื่องใดบ้าง เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และสนับสนุนการดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นได้แจ้งว่า นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้เชิญนายกรัฐมนตรีทักษิณฯ ให้เดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการด้วย
ในเรื่องสถานการณ์ในพม่า ทั้ง 2 ฝ่ายมีความไม่สบายใจและห่วงใยต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน และจะร่วมกันผลักดันให้รัฐบาลทหารของพม่าและพรรค NLD ได้มีการหารือกัน ซึ่งญี่ปุ่นเห็นว่า การประชุม Bangkok Process มีความสำคัญมากและในการประชุม Bangkok Process ครั้งที่ 1 นับว่าประสบความสำเร็จเนื่องจากพม่าได้มีการดำเนินการตามที่ได้บอกไว้ในที่ประชุม ซึ่งก็คือการจัดประชุมสมัชชาแห่งชาติในปี 2004 และเชิญให้ทุกฝ่ายเข้าร่วมและสำหรับการประชุม Bangkok Process ครั้งที่ 2 นั้นญี่ปุ่นเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์มากหากพม่าจะเข้าร่วม
นอกจากนั้น ได้มีการหารือกันเรื่องตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ โดยฝ่ายญี่ปุ่นได้แสดงความเห็นด้วยว่าตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติสมัยต่อไปควรที่จะเป็นรอบของประเทศเอเชีย และได้รับทราบว่า ประเทศไทยได้เสนอ ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศเป็นผู้สมัครเข้าดำรงตำแหน่งนี้
2. การกล่าวสุนทรพจน์ ในการเดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่นครั้งนี้ ฯพณฯ รัฐมนตรี ว่าการฯ ได้รับมอบหมายจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ให้เป็นผู้แทนกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมสัมมนา “The Future of Asia” ซึ่งจัดโดยหนังสือพิมพ์นิเคอิของญี่ปุ่น ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีมาเลเซียและเวียดนามเข้าร่วมกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมครั้งนี้ด้วย
สุนทรพจน์ของ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวถึงการรวมตัวทางเศรษฐกิจของเอเชียซึ่งมีความเป็นไปได้ เนื่องจากที่ผ่านมาได้มีความเคลื่อนไหวหลายประการ อาทิ ACD ACMECs และข้อตกลงเขตการค้าเสรีทวิภาคี ซึ่งจะพัฒนาไปสู่การรวมตัวทางเศรษฐกิจได้ อย่างไรก็ตาม เห็นว่า การรวมตัวควรมีลักษณะเป็นประชาคมเอเชีย (Asia Community) โดยนอกจากประเด็นเรื่องเศรษฐกิจแล้ว สิ่งสำคัญคือ การสร้างความรู้สึกความเป็นประชาคมและ ความเข้าใจในระดับประชาชนต่อประชาชน รวมทั้งครอบคลุมถึงความร่วมมือด้านอื่น ๆ เช่น ด้านวิทยาศาสตร์ การศึกษา สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม ตลอดจนการใช้ประโยชน์ในความแตกต่างให้มาเป็นความเข้มแข็งและความเป็นหุ้นส่วนกัน นอกจากนั้น ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ ได้กล่าวย้ำถึงวิสัยทัศน์ของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ต่ออนาคตของเอเชีย ซึ่งได้นำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมแล้วดังจะเห็นได้จากยุทธศาสตร์ความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ความร่วมมือเอเชีย (ACD) และ FTA เป็นต้น
อนึ่งนายสีหศักด์ พวงเกตุแก้ว โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวว่า ก่อนเดินทางกลับประเทศไทย ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ ได้ถือโอกาสการเยือนครั้งนี้รับประเทศอาหารกลางวันร่วมกับนักการเมืองสังกัดพรรค LDP ของญี่ปุ่นเพื่ออธิบายให้เข้าใจถึงความสำคัญของข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย — ญี่ปุ่นรวมทั้งชี้ให้เห็นถึงผลประโยชน์ที่ทั้ง 2 ประเทศจะได้รับ ซึ่งนอกจากการเจรจาในระดับรัฐบาลแล้ว นักการเมืองจะมีส่วนผลักดันเพื่อให้การเจรจาประสบผลสำเร็จและครอบคลุมทุกด้าน โดยเฉพาะในแง่ที่มีความละเอียดอ่อนด้านการเมืองภายใน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-