= เลี้ยงรับรอง
วันอังคารที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๔๗ เวลา ๑๘.๐๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธาน รัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นเจ้าภาพเลี้ยงรับรองอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่เอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย และภริยา แห่งสาธารณรัฐอาร์เจนตินา สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล สาธารณรัฐชิลี และสาธารณรัฐเปรู ณ ไร่ธนพรรณการ์เด้น อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี
= ฟังธรรม
วันอังคารที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย พร้อมร่วมฟังธรรมกับข้าราชการของสำนักงานฯ ในโครงการบรรยายธรรมเนื่องในวันสำคัญทางศาสนา (วันวิสาขบูชา) หัวข้อเรื่อง "พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาเรื่องอะไร" โดยพระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์ วัดชนะสงคราม ณ ห้องสารนิเทศ อาคารรัฐสภา ๑
= บรรยายพิเศษ
วันจันทร์ที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา นายคัมภีร์ ดิษฐากรณ์ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร บรรยายพิเศษเรื่อง อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา แก่คณะนักศึกษาผู้เข้าอบรมหลักสูตรการปฏิบัติการจิตวิทยาฝ่ายอำนวยการ รุ่นที่ ๙๕ ณ ห้องสารนิเทศ อาคารรัฐสภา ๑
= ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคไทยรักไทยรายงานตัว
ตามที่มีประกาศสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรให้ผู้มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองในลำดับถัดไปเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แทนนายการุญ จันทรางศุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย ที่ได้มีหนังสือขอลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๗ เป็นเหตุให้สมาชิกภาพของนายการุญ จันทรางศุ สิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๑๘ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ จึงทำให้ผู้อยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรคไทยรักไทยในลำดับถัดไปเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คือ นายสมพงษ์ หิริกุล ลำดับที่ ๘๑
และในวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๔๗ เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา บริเวณหน้าห้องเฉพาะกิจ ชั้นล่าง อาคารรัฐสภา ๑ นายสมพงษ์ หิริกุล ได้มารายงานตัวต่อสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร หลังจากได้รับทราบประกาศสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๗
นายสมพงษ์ หิริกุล เกิดเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๘๐ จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาพาณิชยศาสตร์ (สถิติ) จากจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และ Certificate Agricaltural Estimating Methodology, University of Marlyland ประเทศสหรัฐอเมริกา ประสบการณ์ทำงาน เคยดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าการเคหะแห่งชาติ ริเริ่มการสำเร็จชุมชนแออัดทั่วกรุงเทพมหานครเป็นครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๑๘ โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้บรรยายโรงเรียนนายอำเภอ NIDA และมหาวิทยาลัยมหิดล รวมทั้งเคยร่วมเป็นคณะกรรมการร่างนโยบายกองทุนชุมชนเมืองของพรรคไทยรักไทย
= การประชุมสภาผู้แทนราษฎร
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันศุกร์ที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๗
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๓๔ (สมัยสามัญทั่วไป) วันศุกร์ที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๗ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธาน สภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานการประชุม หลังจากที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ขอหารือในเรื่อง ต่าง ๆ แล้ว เมื่อครบองค์ประชุม ประธานได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
๑. กระทู้ถาม (ไม่มี)
๒. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. รับทราบเรื่อง ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๔ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗ และครั้งที่ ๒๘ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ได้ลงมติตั้ง กรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภา เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย
(ฉบับที่..) พ.ศ. ….
(๒) ร่างพระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่..) พ.ศ. ….
๒. รับทราบเรื่อง ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๗ (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ครั้งที่ ๒๙ (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗ และครั้งที่ ๓๐ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้วจำนวน ๓ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติเหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ พ.ศ. ….
(๒) ร่างพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(๓) ร่างพระราชบัญญัติสถานพยาบาล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๓. รับทราบเรื่อง ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๗ (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ครั้งที่ ๒๘ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๗ และครั้งที่ ๓๐ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว จำนวน ๓ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(บัตรและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(๒) ร่างพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. ….
๔. รับทราบเรื่อง นายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้พิจารณา
ให้คำรับรอง จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
พ.ศ. …. ซึ่ง นายสมศักดิ์ โสมกลาง เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์
พ.ศ. …. ซึ่ง นายเมธี ฉัตรจินดารัตน์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
๕. รับทราบเรื่อง สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาแจ้งว่าเนื่องจากขณะนี้เรื่อง
ร้องเรียนมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีอยู่เพียง ๒ คน จึงเห็นสมควร ให้สภาผู้แทนราษฎรดำเนินการสรรหาและเลือกผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เพิ่มขึ้นอีก ๑ คน เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๙๖ ซึ่งกำหนดให้มีผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาจำนวนไม่เกินสามคน ซึ่งประธานในที่ประชุมได้ขอปรึกษาที่ประชุมว่า สมควรมีผู้ตรวจการแผ่นดินของ รัฐสภาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนสามคนหรือไม่ ซึ่งอยู่ในดุลพินิจของสภาผู้แทนราษฎรว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร หากสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบจะได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๗
หลังจากที่สมาชิกฯ ได้อภิปรายพอสมควรแล้ว ประธานฯ การประชุมได้เสนอให้เชิญ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามาชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นเพื่อประกอบการพิจารณา ซึ่งที่ประชุม เห็นชอบตามที่ประธานฯ เสนอ
๖. รับทราบเรื่อง นายการุญ จันทรางศุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย ขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่วันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ดังนั้นสมาชิกภาพของนายการุญ จันทรางศุ จึงสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๑๘ (๓)
๗. รับทราบเรื่อง ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๙ (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ได้ลงมติขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ออกไปเป็นกรณีพิเศษอีก ๓๐ วัน นับแต่วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๔
๓. รับรองรายงานการประชุม
ประธานการประชุมได้เสนอให้ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๓ จำนวน ๕ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๑๖ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๑๗ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๑๘ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๑๙ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๔๖
ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมดังกล่าว ตามที่เสนอ
ต่อจากนั้นที่ประชุมได้เห็นชอบให้เลื่อนระเบียบวาระต่างๆ ขึ้นมาพิจารณาตามที่สมาชิกฯ เสนอ ดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ) ซึ่งมีร่างพระราชบัญญัติในทำนองเดียวกันอีก ๒ ฉบับ ที่ประชุมจึงได้เห็นชอบให้พิจารณา รวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. …. (นายนัจมุดดีน อูมา กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาส พ.ศ. …. (นางพรพิชญ์ พึ่งธรรมเดช พัฒนกุล กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
จากนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า โดยที่ มาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติให้สถานศึกษาของรัฐ ที่จัดการศึกษาระดับปริญญาเป็นนิติบุคคล เพื่อให้ดำเนินกิจการได้โดยอิสระ สามารถพัฒนาระบบบริหารและ การจัดการที่เป็นของตนเอง มีความคล่องตัว มีเสรีภาพทางวิชาการ และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภา สถานศึกษา สมควรรวมสถานศึกษาบางแห่งที่ตั้งอยู่ในท้องที่จังหวัดนราธิวาส มาจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่มีวัตถุประสงค์ในการสร้างองค์ความรู้ สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดปัญญาเพื่อพัฒนาสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติและมีดุลยภาพ มีส่วนร่วมกับสังคมในการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม สืบสาน และสร้างเสริม ภูมิปัญญาให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยยึดหลักจริยธรรมทางวิชาการ และหลักในการให้โอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชน ตลอดจนการขยายโอกาสทางการศึกษาศาสนาในระดับอุดมศึกษา จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ หลังจากที่ผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผลตามลำดับแล้ว มีสมาชิกฯ ได้อภิปรายอย่างกว้างขวาง และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ตอบชี้แจงพอสมควรแล้ว ที่ประชุมก็ได้ลงมติในวาระที่ ๑ เห็นชอบ ๓๗๑ เสียง ไม่เห็นชอบไม่มี งดออกเสียงไม่มี ไม่ลงคะแนน ๑ เสียง ให้รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับ ไว้พิจารณาต่อไป และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ) ซึ่งมีร่างพระราชบัญญัติในทำนองเดียวกันอีก ๒ ฉบับ ที่ประชุมจึงได้เห็นชอบให้พิจารณารวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. …. (นายประสงค์ บูรณ์พงศ์
กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. …. (นายสนั่น สุธากุล กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
จากนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า โดยที่มาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติให้สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาเป็นนิติบุคคล เพื่อให้ดำเนินกิจการได้โดยอิสระ สามารถพัฒนาระบบบริหารและ การจัดการที่เป็นของตนเอง มีความคล่องตัว มีเสรีภาพทางวิชาการและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภาสถานศึกษา สมควรรวมสถานศึกษาบางแห่งและบางส่วนของสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในท้องที่จังหวัดนครพนม มาจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยนครพนม เพื่อให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่มีวัตถุประสงค์ในการสร้าง องค์ความรู้ สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดปัญญาเพื่อพัฒนาสังคมให้อยู่ ร่วมกันอย่างสันติและมีดุลภาพ มีพันธกิจต่อสังคมในการจัดการศึกษาและให้บริการทางวิชาการ สนับสนุน ส่งเสริม ปกป้องจริยธรรมและเสรีภาพทางวิชาการของมหาวิทยาลัย ปัจเจกบุคคล และกลุ่มคนในสังคม รวมทั้งมีส่วนร่วมกับสังคมในการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม สืบสาน และส่งเสริมภูมิปัญญาให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยยึดหลักจริยธรรมทาง วิชาการและหลักในการให้โอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ หลังจากที่ผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล ตามลำดับ แล้ว มีสมาชิกฯ ได้อภิปรายอย่างกว้างขวาง และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ตอบชี้แจงพอสมควรแล้ว ที่ประชุมก็ได้ลงมติในวาระที่ ๑ เห็นชอบ ๓๕๔ เสียง ไม่เห็นชอบไม่มี งดออกเสียงไม่มี ไม่ลงคะแนนไม่มี ให้รับหลักการ แห่งร่างพระราชบัญญัติ ทั้ง ๓ ฉบับ ไว้พิจารณาต่อไป และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
๓. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ) ซึ่งมีร่างพระราชบัญญัติในทำนองเดียวกันอีก ๑ ฉบับ ที่ประชุมจึงได้เห็นชอบให้พิจารณารวมกันไป คือ
ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. …. (นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ และนางผ่องศรี แซ่จึง เป็นผู้เสนอ)
จากนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า โดยที่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดให้มีกฎหมายศึกษาแห่งชาติและปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมกับแนวนโยบายของรัฐบาลได้มีการส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยของรัฐพัฒนาไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยไม่เป็นส่วนราชการ แต่อยู่ในกำกับของรัฐ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการที่เป็นอิสระและมีความสามารถจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้อย่างมีคุณภาพและ ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการจัดระดับอุดมศึกษาจะต้องคำนึงถึงความเป็นอิสระและความเป็นเลิศ ทางวิชาการ สมควรปรับปรุงมหาวิทยาลัยทักษิณให้เป็นไปในแนวทางดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตรา พระราชบัญญัตินี้ หลังจากที่ผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล ตามลำดับ แล้ว มีสมาชิกฯ ได้อภิปรายอย่างกว้างขว้าง และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ตอบชี้แจงพอสมควรแล้ว ที่ประชุมก็ได้ ลงมติในวาระที่ ๑ เห็นชอบ ๓๒๐ เสียง ไม่เห็นชอบไม่มี งดออกเสียงไม่มี ไม่ลงคะแนนไม่มี ให้รับ หลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับ ไว้พิจารณาต่อไป และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้น เพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
ภายหลังพิจารณาระเบียบวาระต่าง ๆ แล้ว ประธานการประชุมได้แจ้งให้ที่ประชุม รับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. เรื่องงดประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันพุธที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๔๗ เนื่องจากเป็น
วันวิสาบูชา
๒. เรื่องตั้งซ่อมกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง โดยที่ประชุมได้ลงมติเลือกนายทวี สุระบาล เป็นกรรมาธิการแทนนายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ซึ่งลาออกจากการเป็นกรรมาธิการฯ
และก่อนปิดการประชุม ประธานการประชุมได้สรุปผลงานของสภาผู้แทนราษฎรในสมัยสามัญทั่วไป จากนั้นได้ให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรอ่านพระบรมราชโองการประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยสามัญทั่วไป พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้ที่ประชุมรับทราบ
ปิดประชุมเวลา ๑๗.๓๕ นาฬิกา
-----------------------------------------------------------
วันอังคารที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๔๗ เวลา ๑๘.๐๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธาน รัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นเจ้าภาพเลี้ยงรับรองอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่เอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย และภริยา แห่งสาธารณรัฐอาร์เจนตินา สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล สาธารณรัฐชิลี และสาธารณรัฐเปรู ณ ไร่ธนพรรณการ์เด้น อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี
= ฟังธรรม
วันอังคารที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย พร้อมร่วมฟังธรรมกับข้าราชการของสำนักงานฯ ในโครงการบรรยายธรรมเนื่องในวันสำคัญทางศาสนา (วันวิสาขบูชา) หัวข้อเรื่อง "พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาเรื่องอะไร" โดยพระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์ วัดชนะสงคราม ณ ห้องสารนิเทศ อาคารรัฐสภา ๑
= บรรยายพิเศษ
วันจันทร์ที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา นายคัมภีร์ ดิษฐากรณ์ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร บรรยายพิเศษเรื่อง อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา แก่คณะนักศึกษาผู้เข้าอบรมหลักสูตรการปฏิบัติการจิตวิทยาฝ่ายอำนวยการ รุ่นที่ ๙๕ ณ ห้องสารนิเทศ อาคารรัฐสภา ๑
= ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคไทยรักไทยรายงานตัว
ตามที่มีประกาศสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรให้ผู้มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองในลำดับถัดไปเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แทนนายการุญ จันทรางศุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย ที่ได้มีหนังสือขอลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๗ เป็นเหตุให้สมาชิกภาพของนายการุญ จันทรางศุ สิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๑๘ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ จึงทำให้ผู้อยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรคไทยรักไทยในลำดับถัดไปเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คือ นายสมพงษ์ หิริกุล ลำดับที่ ๘๑
และในวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๔๗ เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา บริเวณหน้าห้องเฉพาะกิจ ชั้นล่าง อาคารรัฐสภา ๑ นายสมพงษ์ หิริกุล ได้มารายงานตัวต่อสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร หลังจากได้รับทราบประกาศสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๗
นายสมพงษ์ หิริกุล เกิดเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๘๐ จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาพาณิชยศาสตร์ (สถิติ) จากจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และ Certificate Agricaltural Estimating Methodology, University of Marlyland ประเทศสหรัฐอเมริกา ประสบการณ์ทำงาน เคยดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าการเคหะแห่งชาติ ริเริ่มการสำเร็จชุมชนแออัดทั่วกรุงเทพมหานครเป็นครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๑๘ โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้บรรยายโรงเรียนนายอำเภอ NIDA และมหาวิทยาลัยมหิดล รวมทั้งเคยร่วมเป็นคณะกรรมการร่างนโยบายกองทุนชุมชนเมืองของพรรคไทยรักไทย
= การประชุมสภาผู้แทนราษฎร
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันศุกร์ที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๗
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๓๔ (สมัยสามัญทั่วไป) วันศุกร์ที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๗ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธาน สภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานการประชุม หลังจากที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ขอหารือในเรื่อง ต่าง ๆ แล้ว เมื่อครบองค์ประชุม ประธานได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
๑. กระทู้ถาม (ไม่มี)
๒. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. รับทราบเรื่อง ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๔ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗ และครั้งที่ ๒๘ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ได้ลงมติตั้ง กรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภา เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย
(ฉบับที่..) พ.ศ. ….
(๒) ร่างพระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่..) พ.ศ. ….
๒. รับทราบเรื่อง ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๗ (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ครั้งที่ ๒๙ (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗ และครั้งที่ ๓๐ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้วจำนวน ๓ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติเหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ พ.ศ. ….
(๒) ร่างพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(๓) ร่างพระราชบัญญัติสถานพยาบาล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๓. รับทราบเรื่อง ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๗ (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ครั้งที่ ๒๘ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๗ และครั้งที่ ๓๐ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว จำนวน ๓ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(บัตรและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(๒) ร่างพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. ….
๔. รับทราบเรื่อง นายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้พิจารณา
ให้คำรับรอง จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
พ.ศ. …. ซึ่ง นายสมศักดิ์ โสมกลาง เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์
พ.ศ. …. ซึ่ง นายเมธี ฉัตรจินดารัตน์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
๕. รับทราบเรื่อง สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาแจ้งว่าเนื่องจากขณะนี้เรื่อง
ร้องเรียนมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีอยู่เพียง ๒ คน จึงเห็นสมควร ให้สภาผู้แทนราษฎรดำเนินการสรรหาและเลือกผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เพิ่มขึ้นอีก ๑ คน เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๙๖ ซึ่งกำหนดให้มีผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาจำนวนไม่เกินสามคน ซึ่งประธานในที่ประชุมได้ขอปรึกษาที่ประชุมว่า สมควรมีผู้ตรวจการแผ่นดินของ รัฐสภาเพิ่มเติมให้ครบจำนวนสามคนหรือไม่ ซึ่งอยู่ในดุลพินิจของสภาผู้แทนราษฎรว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร หากสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบจะได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๗
หลังจากที่สมาชิกฯ ได้อภิปรายพอสมควรแล้ว ประธานฯ การประชุมได้เสนอให้เชิญ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามาชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นเพื่อประกอบการพิจารณา ซึ่งที่ประชุม เห็นชอบตามที่ประธานฯ เสนอ
๖. รับทราบเรื่อง นายการุญ จันทรางศุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย ขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่วันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ดังนั้นสมาชิกภาพของนายการุญ จันทรางศุ จึงสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๑๘ (๓)
๗. รับทราบเรื่อง ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๙ (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ได้ลงมติขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ออกไปเป็นกรณีพิเศษอีก ๓๐ วัน นับแต่วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๔
๓. รับรองรายงานการประชุม
ประธานการประชุมได้เสนอให้ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๓ จำนวน ๕ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๑๖ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๑๗ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๑๘ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๑๙ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๔๖
ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมดังกล่าว ตามที่เสนอ
ต่อจากนั้นที่ประชุมได้เห็นชอบให้เลื่อนระเบียบวาระต่างๆ ขึ้นมาพิจารณาตามที่สมาชิกฯ เสนอ ดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ) ซึ่งมีร่างพระราชบัญญัติในทำนองเดียวกันอีก ๒ ฉบับ ที่ประชุมจึงได้เห็นชอบให้พิจารณา รวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. …. (นายนัจมุดดีน อูมา กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาส พ.ศ. …. (นางพรพิชญ์ พึ่งธรรมเดช พัฒนกุล กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
จากนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า โดยที่ มาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติให้สถานศึกษาของรัฐ ที่จัดการศึกษาระดับปริญญาเป็นนิติบุคคล เพื่อให้ดำเนินกิจการได้โดยอิสระ สามารถพัฒนาระบบบริหารและ การจัดการที่เป็นของตนเอง มีความคล่องตัว มีเสรีภาพทางวิชาการ และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภา สถานศึกษา สมควรรวมสถานศึกษาบางแห่งที่ตั้งอยู่ในท้องที่จังหวัดนราธิวาส มาจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่มีวัตถุประสงค์ในการสร้างองค์ความรู้ สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดปัญญาเพื่อพัฒนาสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติและมีดุลยภาพ มีส่วนร่วมกับสังคมในการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม สืบสาน และสร้างเสริม ภูมิปัญญาให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยยึดหลักจริยธรรมทางวิชาการ และหลักในการให้โอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชน ตลอดจนการขยายโอกาสทางการศึกษาศาสนาในระดับอุดมศึกษา จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ หลังจากที่ผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผลตามลำดับแล้ว มีสมาชิกฯ ได้อภิปรายอย่างกว้างขวาง และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ตอบชี้แจงพอสมควรแล้ว ที่ประชุมก็ได้ลงมติในวาระที่ ๑ เห็นชอบ ๓๗๑ เสียง ไม่เห็นชอบไม่มี งดออกเสียงไม่มี ไม่ลงคะแนน ๑ เสียง ให้รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับ ไว้พิจารณาต่อไป และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ) ซึ่งมีร่างพระราชบัญญัติในทำนองเดียวกันอีก ๒ ฉบับ ที่ประชุมจึงได้เห็นชอบให้พิจารณารวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. …. (นายประสงค์ บูรณ์พงศ์
กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. …. (นายสนั่น สุธากุล กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
จากนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า โดยที่มาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติให้สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาเป็นนิติบุคคล เพื่อให้ดำเนินกิจการได้โดยอิสระ สามารถพัฒนาระบบบริหารและ การจัดการที่เป็นของตนเอง มีความคล่องตัว มีเสรีภาพทางวิชาการและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภาสถานศึกษา สมควรรวมสถานศึกษาบางแห่งและบางส่วนของสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในท้องที่จังหวัดนครพนม มาจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยนครพนม เพื่อให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่มีวัตถุประสงค์ในการสร้าง องค์ความรู้ สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดปัญญาเพื่อพัฒนาสังคมให้อยู่ ร่วมกันอย่างสันติและมีดุลภาพ มีพันธกิจต่อสังคมในการจัดการศึกษาและให้บริการทางวิชาการ สนับสนุน ส่งเสริม ปกป้องจริยธรรมและเสรีภาพทางวิชาการของมหาวิทยาลัย ปัจเจกบุคคล และกลุ่มคนในสังคม รวมทั้งมีส่วนร่วมกับสังคมในการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม สืบสาน และส่งเสริมภูมิปัญญาให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยยึดหลักจริยธรรมทาง วิชาการและหลักในการให้โอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ หลังจากที่ผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล ตามลำดับ แล้ว มีสมาชิกฯ ได้อภิปรายอย่างกว้างขวาง และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ตอบชี้แจงพอสมควรแล้ว ที่ประชุมก็ได้ลงมติในวาระที่ ๑ เห็นชอบ ๓๕๔ เสียง ไม่เห็นชอบไม่มี งดออกเสียงไม่มี ไม่ลงคะแนนไม่มี ให้รับหลักการ แห่งร่างพระราชบัญญัติ ทั้ง ๓ ฉบับ ไว้พิจารณาต่อไป และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
๓. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ) ซึ่งมีร่างพระราชบัญญัติในทำนองเดียวกันอีก ๑ ฉบับ ที่ประชุมจึงได้เห็นชอบให้พิจารณารวมกันไป คือ
ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. …. (นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ และนางผ่องศรี แซ่จึง เป็นผู้เสนอ)
จากนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า โดยที่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดให้มีกฎหมายศึกษาแห่งชาติและปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมกับแนวนโยบายของรัฐบาลได้มีการส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยของรัฐพัฒนาไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยไม่เป็นส่วนราชการ แต่อยู่ในกำกับของรัฐ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการที่เป็นอิสระและมีความสามารถจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้อย่างมีคุณภาพและ ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการจัดระดับอุดมศึกษาจะต้องคำนึงถึงความเป็นอิสระและความเป็นเลิศ ทางวิชาการ สมควรปรับปรุงมหาวิทยาลัยทักษิณให้เป็นไปในแนวทางดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตรา พระราชบัญญัตินี้ หลังจากที่ผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล ตามลำดับ แล้ว มีสมาชิกฯ ได้อภิปรายอย่างกว้างขว้าง และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ตอบชี้แจงพอสมควรแล้ว ที่ประชุมก็ได้ ลงมติในวาระที่ ๑ เห็นชอบ ๓๒๐ เสียง ไม่เห็นชอบไม่มี งดออกเสียงไม่มี ไม่ลงคะแนนไม่มี ให้รับ หลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับ ไว้พิจารณาต่อไป และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้น เพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
ภายหลังพิจารณาระเบียบวาระต่าง ๆ แล้ว ประธานการประชุมได้แจ้งให้ที่ประชุม รับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. เรื่องงดประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันพุธที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๔๗ เนื่องจากเป็น
วันวิสาบูชา
๒. เรื่องตั้งซ่อมกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง โดยที่ประชุมได้ลงมติเลือกนายทวี สุระบาล เป็นกรรมาธิการแทนนายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ซึ่งลาออกจากการเป็นกรรมาธิการฯ
และก่อนปิดการประชุม ประธานการประชุมได้สรุปผลงานของสภาผู้แทนราษฎรในสมัยสามัญทั่วไป จากนั้นได้ให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรอ่านพระบรมราชโองการประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยสามัญทั่วไป พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้ที่ประชุมรับทราบ
ปิดประชุมเวลา ๑๗.๓๕ นาฬิกา
-----------------------------------------------------------