สุกร
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงทุกพื้นที่ เนื่องจากเกษตรกรผู้เลี้ยงฯ คาดว่าราคาสุกรมีชีวิตจะปรับตัวลดลง ทำให้มีการระบายผลผลิตออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ความต้องการบริโภคอ่อนตัวลงเพราะผู้บริโภคหันไปบริโภคสินค้าอื่นที่มีราคาถูกกว่า แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือปรับตัวลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 49.32 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.54 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.41 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 48.70 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 48.16 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 49.56 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 52.16 บาท ส่วนราคา ลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 800 บาท (บวกลบ 46บาท) ราคา ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 47.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.21 และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.80
ไก่เนื้อ
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
จากสถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดนกครั้งล่าสุดที่ จ.เชียงใหม่ ซึ่งอยู่ในช่วงเฝ้าระวัง 21 วัน เพื่อเป็นการป้องกันการย้อนกลับมาระบาดของโรคไข้หวัดนกอีก กรมปศุสัตว์ได้เพิ่มมาตรการเข้มงวดในการตรวจสอบการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีกทั่วประเทศ และเพื่อเพิ่มศักยภาพในการตรวจวินิจฉัยโรคได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ในช่วงเดือนมิถุนายน นี้ กรมปศุสัตว์จะเริ่มทำการสุ่มตรวจเลือดไก่เนื้อ ไก่ไข่ ทั่วประเทศ เพื่อตรวจหาเชื้อไข้หวัดนก โดยจะดำเนินการสุ่มตรวจเป็นประจำทุก 2 เดือน
ด้านการส่งออก ผลจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกครั้งล่าสุด ส่งผลให้การส่งออกไก่สดแช่แข็งของไทยไปญี่ปุ่นต้องเลื่อนไปอีกจากเดือนสิงหาคม เป็นเดือนตุลาคม เนื่องจากระบบการเฝ้าระวังของญี่ปุ่น คือ ต้องประกาศว่าปลอดโรคทั้งประเทศก่อน หลังจากนั้น 90 วัน จึงจะเริ่มเลี้ยงไก่ส่งออกไปญี่ปุ่นได้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 32.23 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.15 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้คือ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 37.97 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 28.37 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 31.40 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 33.72 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 8.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 7.14 ส่วนราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 35.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 12.35
ไข่ไก่
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงในบางพื้นที่ โดยเฉพาะภาคกลางซึ่งเป็นแหล่งเลี้ยงใหญ่ ความต้องการบริโภคอ่อนตัวลง เนื่องจากช่วงนี้มีผลไม้ตามฤดูกาลออกสู่ตลาดปริมาณมากและมีราคาถูก แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 235 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 236 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.42 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 247 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 242 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 232 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 238 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.อยู่ที่ตัวละ 27.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 260 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
1. ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 248 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 238 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.20 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 237 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 266 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 233 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 259 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 315 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 50.08 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.53 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83 โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 38.62 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 56.90 บาท ภาคใต้กิโลกรัมละ 48.98 บาท และภาคกลาง ไม่มีรายงานราคา
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.28 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.05 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.60 โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 39.14 บาท สำหรับภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 21 ประจำวันที่ 31 พ.ค.- 6 มิ.ย. 2547--
-พห-
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงทุกพื้นที่ เนื่องจากเกษตรกรผู้เลี้ยงฯ คาดว่าราคาสุกรมีชีวิตจะปรับตัวลดลง ทำให้มีการระบายผลผลิตออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ความต้องการบริโภคอ่อนตัวลงเพราะผู้บริโภคหันไปบริโภคสินค้าอื่นที่มีราคาถูกกว่า แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือปรับตัวลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 49.32 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.54 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.41 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 48.70 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 48.16 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 49.56 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 52.16 บาท ส่วนราคา ลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 800 บาท (บวกลบ 46บาท) ราคา ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 47.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.21 และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.80
ไก่เนื้อ
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
จากสถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดนกครั้งล่าสุดที่ จ.เชียงใหม่ ซึ่งอยู่ในช่วงเฝ้าระวัง 21 วัน เพื่อเป็นการป้องกันการย้อนกลับมาระบาดของโรคไข้หวัดนกอีก กรมปศุสัตว์ได้เพิ่มมาตรการเข้มงวดในการตรวจสอบการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีกทั่วประเทศ และเพื่อเพิ่มศักยภาพในการตรวจวินิจฉัยโรคได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ในช่วงเดือนมิถุนายน นี้ กรมปศุสัตว์จะเริ่มทำการสุ่มตรวจเลือดไก่เนื้อ ไก่ไข่ ทั่วประเทศ เพื่อตรวจหาเชื้อไข้หวัดนก โดยจะดำเนินการสุ่มตรวจเป็นประจำทุก 2 เดือน
ด้านการส่งออก ผลจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกครั้งล่าสุด ส่งผลให้การส่งออกไก่สดแช่แข็งของไทยไปญี่ปุ่นต้องเลื่อนไปอีกจากเดือนสิงหาคม เป็นเดือนตุลาคม เนื่องจากระบบการเฝ้าระวังของญี่ปุ่น คือ ต้องประกาศว่าปลอดโรคทั้งประเทศก่อน หลังจากนั้น 90 วัน จึงจะเริ่มเลี้ยงไก่ส่งออกไปญี่ปุ่นได้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 32.23 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.15 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้คือ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 37.97 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 28.37 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 31.40 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 33.72 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 8.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 7.14 ส่วนราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 35.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 12.35
ไข่ไก่
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงในบางพื้นที่ โดยเฉพาะภาคกลางซึ่งเป็นแหล่งเลี้ยงใหญ่ ความต้องการบริโภคอ่อนตัวลง เนื่องจากช่วงนี้มีผลไม้ตามฤดูกาลออกสู่ตลาดปริมาณมากและมีราคาถูก แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 235 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 236 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.42 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 247 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 242 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 232 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 238 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.อยู่ที่ตัวละ 27.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 260 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
1. ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 248 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 238 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.20 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 237 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 266 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 233 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 259 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 315 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 50.08 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.53 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83 โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 38.62 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 56.90 บาท ภาคใต้กิโลกรัมละ 48.98 บาท และภาคกลาง ไม่มีรายงานราคา
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.28 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.05 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.60 โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 39.14 บาท สำหรับภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 21 ประจำวันที่ 31 พ.ค.- 6 มิ.ย. 2547--
-พห-