แท็ก
การส่งออก
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
สถานการณ์การส่งออกปลาทูน่าแปรรูปของไทย ปี 2547
นายชนินทร์ ชลิศราพงศ์ ในฐานะประธานกลุ่มผู้ผลิตปลาทูน่า สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ในปี 2547 คาดว่าปริมาณการส่งออกปลาทูน่าแปรรูปของไทยจะขยายตัวประมาณ 5 | 10 % จากมูลค่าการส่งออกปี 2546 ประมาณ 42,000 ล้านบาท โดยราคาส่งออกปลาทูน่าแปรรูปอาจจะปรับตัวสูงขึ้นตามปริมาณการนำเข้าที่ลดลง ทั้งนี้ เนื่องจากปริมาณปลาทูน่าในปี 2547 ลดลง เพราะปี 2546 ที่ผ่านมาทั่วโลกมีการจับปลาทูน่าค่อนข้างมาก โดยในปี 2546 ประเทศไทยนำเข้าปลาทูน่าเพื่อแปรรูปจำนวน 6 แสนตัน แต่ในปีนี้ คาดว่าจะสามารถนำเข้าเพียง 5 แสนตันเท่านั้น ซึ่งปริมาณปลาทูน่าที่ลดลงนั้น ได้ส่งผลให้ราคาปลาทูน่าแปรรูปในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นเป็น 37,600 ล้านบาท/ตัน จากราคาเดิม 28,000 ล้านบาท/ตัน ในปี 2546
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมแปรรูปปลาทูน่าของไทยต้องนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเป็นหลัก ประมาณปีละ 6 แสนตัน ขณะที่จับได้ภายในประเทศเพียงปีละ 6 หมื่นตัน โดยประเทศที่ส่งออกปลาทูน่ามาไทยมากที่สุด คือ ไต้หวัน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สเปน และสิงคโปร์ ตามลำดับ ทั้งนี้หลังจากการแปรรูปแล้ว สามารถส่งออกเป็นปลาทูน่ากระป๋อง 70 % ปลาทูน่าแช่แข็ง 20 % และอีก 10 % เป็นปลาทูน่าบรรจุพลาสติก ซึ่งในปัจจุบันไทยพึ่งการนำเข้าวัตถุดิบหรือปลาทูน่าสดจากต่างประเทศค่อนข้างมาก ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยกรมประมงจะนำเสนอโครงการจัดตั้งกองเรือของไทย ต่อคณะกรรมการกลั่นกรองภายในเดือนมิถุนายนนี้ จากนั้นจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป เพื่อให้ไทยสามารถจับปลาได้เอง ไม่ต้องพึ่งการนำเข้าจากต่างประเทศ โครงการดังกล่าว เป็นการจัดตั้งในรูปแบบบริษัทจำกัด โดยมีทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท แบ่งเป็นรัฐบาลถือหุ้น 40 % และภาคเอกชนโดยสมาคมประมงนอกน่านน้ำและสมาคมประมงไทยถือหุ้นอีก 60% คาดว่าอาจจะต้องใช้เวลาถึง 3 ปี กองเรือทูน่าของไทยจะออกไปจับปลาในน่านน้ำสากลได้ ในระหว่างนี้จะมีการเตรียมการเรื่องกองเรือ โดยการต่อเรือใหม่จำนวน 15 ลำ และจะต้องฝึกฝนลูกเรือให้มีความชำนาญในการจับปลาด้วย
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 21 | 24 พ.ค. 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 715.38 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 337.87 ตัน สัตว์น้ำจืด 377.51 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.12 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 26.74 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 50.97 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 40.33 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 22.82 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.37 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.12 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.25 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.62 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 64.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.63 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.25 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 1.25 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 238.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 240.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 225.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 235.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 10.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.07 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 24.66 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.41 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.25 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.25 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.39 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.31 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.08 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 31 พ.ค. | 4 มิ.ย. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.30 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 23.90 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.60 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 21 ประจำวันที่ 31 พ.ค.- 6 มิ.ย. 2547--
-พห-
การผลิต
สถานการณ์การส่งออกปลาทูน่าแปรรูปของไทย ปี 2547
นายชนินทร์ ชลิศราพงศ์ ในฐานะประธานกลุ่มผู้ผลิตปลาทูน่า สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ในปี 2547 คาดว่าปริมาณการส่งออกปลาทูน่าแปรรูปของไทยจะขยายตัวประมาณ 5 | 10 % จากมูลค่าการส่งออกปี 2546 ประมาณ 42,000 ล้านบาท โดยราคาส่งออกปลาทูน่าแปรรูปอาจจะปรับตัวสูงขึ้นตามปริมาณการนำเข้าที่ลดลง ทั้งนี้ เนื่องจากปริมาณปลาทูน่าในปี 2547 ลดลง เพราะปี 2546 ที่ผ่านมาทั่วโลกมีการจับปลาทูน่าค่อนข้างมาก โดยในปี 2546 ประเทศไทยนำเข้าปลาทูน่าเพื่อแปรรูปจำนวน 6 แสนตัน แต่ในปีนี้ คาดว่าจะสามารถนำเข้าเพียง 5 แสนตันเท่านั้น ซึ่งปริมาณปลาทูน่าที่ลดลงนั้น ได้ส่งผลให้ราคาปลาทูน่าแปรรูปในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นเป็น 37,600 ล้านบาท/ตัน จากราคาเดิม 28,000 ล้านบาท/ตัน ในปี 2546
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมแปรรูปปลาทูน่าของไทยต้องนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเป็นหลัก ประมาณปีละ 6 แสนตัน ขณะที่จับได้ภายในประเทศเพียงปีละ 6 หมื่นตัน โดยประเทศที่ส่งออกปลาทูน่ามาไทยมากที่สุด คือ ไต้หวัน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สเปน และสิงคโปร์ ตามลำดับ ทั้งนี้หลังจากการแปรรูปแล้ว สามารถส่งออกเป็นปลาทูน่ากระป๋อง 70 % ปลาทูน่าแช่แข็ง 20 % และอีก 10 % เป็นปลาทูน่าบรรจุพลาสติก ซึ่งในปัจจุบันไทยพึ่งการนำเข้าวัตถุดิบหรือปลาทูน่าสดจากต่างประเทศค่อนข้างมาก ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยกรมประมงจะนำเสนอโครงการจัดตั้งกองเรือของไทย ต่อคณะกรรมการกลั่นกรองภายในเดือนมิถุนายนนี้ จากนั้นจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป เพื่อให้ไทยสามารถจับปลาได้เอง ไม่ต้องพึ่งการนำเข้าจากต่างประเทศ โครงการดังกล่าว เป็นการจัดตั้งในรูปแบบบริษัทจำกัด โดยมีทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท แบ่งเป็นรัฐบาลถือหุ้น 40 % และภาคเอกชนโดยสมาคมประมงนอกน่านน้ำและสมาคมประมงไทยถือหุ้นอีก 60% คาดว่าอาจจะต้องใช้เวลาถึง 3 ปี กองเรือทูน่าของไทยจะออกไปจับปลาในน่านน้ำสากลได้ ในระหว่างนี้จะมีการเตรียมการเรื่องกองเรือ โดยการต่อเรือใหม่จำนวน 15 ลำ และจะต้องฝึกฝนลูกเรือให้มีความชำนาญในการจับปลาด้วย
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 21 | 24 พ.ค. 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 715.38 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 337.87 ตัน สัตว์น้ำจืด 377.51 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.12 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 26.74 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 50.97 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 40.33 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 22.82 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.37 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.12 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.25 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.62 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 64.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.63 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.25 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 1.25 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 238.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 240.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 225.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 235.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 10.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.07 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 24.66 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.41 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.25 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.25 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.39 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.31 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.08 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 31 พ.ค. | 4 มิ.ย. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.30 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 23.90 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.60 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 21 ประจำวันที่ 31 พ.ค.- 6 มิ.ย. 2547--
-พห-