กรุงเทพ--8 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ดร. สรจักร เกษมสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังการกล่าวถ้อยแถลงในช่วงพิธีเปิดการประชุม Organization for Security Co-operation in Europe (OSCE) Economic Forum ครั้งที่ 12 ณ กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2547 ว่า ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวในฐานะผู้แทนของประเทศหุ้นส่วนเพื่อความร่วมมือของ OSCE ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากที่ได้รับมอบหมายจาก ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้เข้าร่วมประชุมระดับรัฐมนตรี ซึ่งได้มีขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2546 ที่เมือง Maastricht ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยในการประชุม Forum ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยส่งผู้แทนเข้าร่วมในระดับสูงคือผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ ทั้งนี้ ในการประชุมครั้งนี้ ผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ กล่าวถ้อยแถลงในลำดับที่สาม หลังจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซอร์ไบจาน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัสเซีย ซึ่งนับว่า OSCE ให้ความสำคัญกับคณะผู้แทนไทยเป็นอย่างมาก
ผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ ได้กล่าวถึงประสบการณ์ของไทยด้าน capacity building ซึ่งเป็นเรื่องที่ OSCE สนใจและให้ความสำคัญเป็นพิเศษ โดยเฉพาะการเสริมสร้างขีดความสามารถของประชาชน ในระดับรากหญ้า นโยบาย dual track policy ของรัฐบาลภายใต้การนำของดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่เน้นการเพิ่ม productivity ของเศรษฐกิจประชาชนในท้องถิ่นควบคู่ไปกับการส่งเสริม การแข่งขันระหว่างประเทศของไทย เพื่อให้มีการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน นอกจากนี้ รัฐบาลไทยมี โครงการต่าง ๆ ที่ส่งเสริมขีดความสามารถและรายได้ของประชาชนระดับรากหญ้า อาทิ โครงการกองทุนหมู่บ้าน โครงการผ่อนการชำระหนี้ของเกษตรกร โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ โครงการส่งเสริมธุรกิจ SME และกองทุนบริการให้เงินกู้ (micro-credit facilities) เป็นต้น
ในส่วนของความร่วมมือของไทยในภูมิภาคนั้น นอกเหนือจากความร่วมมือในกรอบอาเซียนแล้ว ไทยได้ยกตัวอย่างการขยายความร่วมมือด้าน capacity building ไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านตาม แนวชายแดน ได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม หรือกรอบความร่วมมือ ACMECS ทั้งนี้ เนื่องจากไทยมีความเชื่อว่า ความร่วมมือทางเศรษฐกิจโดยการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศเพื่อนบ้านจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความมั่นคงและเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจในภูมิภาค ซึ่งในบางแง่มุม OSCE อาจจะนำไปใช้ประโยชน์สำหรับกรอบความร่วมมือใน OSCE ซึ่งประกอบด้วยประเทศที่มีระดับการพัฒนาที่หลากหลายได้ ในขณะเดียวกันสมาชิกของ OSCE หลายประเทศก็ได้เข้ามาร่วมกับประเทศไทยในลักษณะหุ้นส่วนด้วยแล้ว องค์การ OSCE เป็นองค์การความร่วมมือด้านความมั่นคงที่สำคัญของยุโรป โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสันติภาพความรุ่งเรืองและเสถียรภาพ และมีประเทศสมาชิกถึง 55 ประเทศ
ทั้งนี้ การประชุม OSCE Economic Forum เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการของ OSCE ซึ่งเล็งเห็นว่า การพัฒนาทางเศรษฐกิจถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะมีส่วนช่วยส่งเสริมเสถียรภาพของแต่ละภูมิภาคและ ของโลกโดยรวม
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ดร. สรจักร เกษมสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังการกล่าวถ้อยแถลงในช่วงพิธีเปิดการประชุม Organization for Security Co-operation in Europe (OSCE) Economic Forum ครั้งที่ 12 ณ กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2547 ว่า ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวในฐานะผู้แทนของประเทศหุ้นส่วนเพื่อความร่วมมือของ OSCE ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากที่ได้รับมอบหมายจาก ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้เข้าร่วมประชุมระดับรัฐมนตรี ซึ่งได้มีขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2546 ที่เมือง Maastricht ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยในการประชุม Forum ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยส่งผู้แทนเข้าร่วมในระดับสูงคือผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ ทั้งนี้ ในการประชุมครั้งนี้ ผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ กล่าวถ้อยแถลงในลำดับที่สาม หลังจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซอร์ไบจาน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัสเซีย ซึ่งนับว่า OSCE ให้ความสำคัญกับคณะผู้แทนไทยเป็นอย่างมาก
ผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ ได้กล่าวถึงประสบการณ์ของไทยด้าน capacity building ซึ่งเป็นเรื่องที่ OSCE สนใจและให้ความสำคัญเป็นพิเศษ โดยเฉพาะการเสริมสร้างขีดความสามารถของประชาชน ในระดับรากหญ้า นโยบาย dual track policy ของรัฐบาลภายใต้การนำของดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่เน้นการเพิ่ม productivity ของเศรษฐกิจประชาชนในท้องถิ่นควบคู่ไปกับการส่งเสริม การแข่งขันระหว่างประเทศของไทย เพื่อให้มีการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน นอกจากนี้ รัฐบาลไทยมี โครงการต่าง ๆ ที่ส่งเสริมขีดความสามารถและรายได้ของประชาชนระดับรากหญ้า อาทิ โครงการกองทุนหมู่บ้าน โครงการผ่อนการชำระหนี้ของเกษตรกร โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ โครงการส่งเสริมธุรกิจ SME และกองทุนบริการให้เงินกู้ (micro-credit facilities) เป็นต้น
ในส่วนของความร่วมมือของไทยในภูมิภาคนั้น นอกเหนือจากความร่วมมือในกรอบอาเซียนแล้ว ไทยได้ยกตัวอย่างการขยายความร่วมมือด้าน capacity building ไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านตาม แนวชายแดน ได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม หรือกรอบความร่วมมือ ACMECS ทั้งนี้ เนื่องจากไทยมีความเชื่อว่า ความร่วมมือทางเศรษฐกิจโดยการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศเพื่อนบ้านจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความมั่นคงและเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจในภูมิภาค ซึ่งในบางแง่มุม OSCE อาจจะนำไปใช้ประโยชน์สำหรับกรอบความร่วมมือใน OSCE ซึ่งประกอบด้วยประเทศที่มีระดับการพัฒนาที่หลากหลายได้ ในขณะเดียวกันสมาชิกของ OSCE หลายประเทศก็ได้เข้ามาร่วมกับประเทศไทยในลักษณะหุ้นส่วนด้วยแล้ว องค์การ OSCE เป็นองค์การความร่วมมือด้านความมั่นคงที่สำคัญของยุโรป โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสันติภาพความรุ่งเรืองและเสถียรภาพ และมีประเทศสมาชิกถึง 55 ประเทศ
ทั้งนี้ การประชุม OSCE Economic Forum เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการของ OSCE ซึ่งเล็งเห็นว่า การพัฒนาทางเศรษฐกิจถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะมีส่วนช่วยส่งเสริมเสถียรภาพของแต่ละภูมิภาคและ ของโลกโดยรวม
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-