ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. หนี้ต่างประเทศ ณ สิ้นเดือน มี.ค.47 เพิ่มขึ้น 600 ล้านดอลลาร์ สรอ. รายงานข่าวจากสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ยอดหนี้ต่างประเทศรวม ณ สิ้นไตรมาสแรกปี 47 มีทั้งสิ้น 51,800 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนถึง
600 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากมีการนำเข้าเงินกู้สุทธิของภาคเอกชน และการตีราคาของหนี้สกุลเงินเยนที่แข็งค่าขึ้น สำหรับโครงสร้างหนี้ต่าง
ประเทศนั้น เป็นหนี้ภาคเอกชน 35,100 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยในเดือน มี.ค.47 ภาคธนาคารมีการเพิ่มหนี้สินสุทธิ 200 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ส่วนของภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคารมีการนำเข้าเงินกู้ในเครือระยะสั้นและสินเชื่อการค้าสุทธิ 300 ล้านดอลลาร์ สรอ. และผลของค่าเงินเยนที่แข็ง
ค่าขึ้นอีก 100 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนหนี้ภาคทางการมีการชำระคืนสุทธิ 400 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการชำระคืนเงินกู้ของทั้งรัฐบาลและรัฐ
วิสาหกิจ อย่างไรก็ตาม สัดส่วนของหนี้แบ่งเป็นหนี้ระยะสั้นร้อยละ 22.8 หนี้ระยะยาวร้อยละ 77.2 ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมด (ผู้จัดการรายวัน)
2. รายได้จากการท่องเที่ยวในเดือน เม.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 67.5 เทียบต่อปี รายงานเศรษฐกิจและการเงินประจำเดือน เม.ย.47
ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ในเดือน เม.ย. 47 ภาคการท่องเที่ยวและการโรงแรมของไทยยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยมี
รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 67.5 จากระยะเดียวกันของปีก่อน และมีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศประมาณ 899,000 คน
ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 93.6 จาก เม.ย.ปีที่แล้ว จากการเพิ่มขึ้นของภาคการท่องเที่ยวนี้ ชี้ให้เห็นว่าเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ไม่
ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อภาคการท่องเที่ยว โดยอัตราการเข้าพักในภาคใต้ยังอยู่ในเกณฑ์ดี นอกจากนี้ อัตรารายได้ที่เพิ่มขึ้นนั้นเนื่องจากในปีที่ผ่านมา
ภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากปัญหาการระบาดของโรคซาร์ส ทำให้ฐานที่นำมาใช้คำนวณการเติบโตมีระดับต่ำ
(กรุงเทพธุรกิจ)
3. ก.พาณิชย์ สศช. และ ธปท. ร่วมจัดทำดัชนีราคาสินค้าส่งออกเป็นรายเดือน ผอ.สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า
ก.พาณิชย์ได้หารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีความ
เห็นพ้องกันให้จัดทำดัชนีราคาสินค้าส่งออกเป็นรายเดือน เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการประเมินและกำหนดเป้าหมายเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะ
ภาวะการเติบโตผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ (จีดีพี) โดยในเบื้องต้นจะจัดเก็บข้อมูลการส่งออกสินค้าใน 4 กลุ่มสินค้าหลัก คือ สินค้าเกษตร อุตสาห
กรรมการเกษตร สินค้าอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมเหมืองแร่ คาดว่าจะเปิดเผยข้อมูลเป็นครั้งแรกในเดือน ก.ค.นี้ (เดลินิวส์, ข่าวสด)
4. ก.คลังเตรียมประกาศกรอบความยั่งยืนทางการคลังใหม่ เน้นการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจและการลงทุน รมว.ก.คลัง เปิดเผยว่า
ในต้นเดือน ก.ค.ที่จะถึงนี้ ก.คลังจะประกาศกรอบความยั่งยืนทางการคลังใหม่ โดยเน้นการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจและการลงทุนเพิ่มเติมแทน
กรอบเดิมที่เน้นเรื่องวินัยการคลัง การหารายได้ และความสามารถในการชำระหนี้ในอนาคต ทั้งนี้ ในกรอบความยั่งยืนทางการคลังใหม่นี้ รัฐบาล
จะใช้นโยบายการคลังปรับโครงสร้างการลงทุนจากต่างประเทศ จากเดิมที่เป็นการลงทุนเพื่อย้ายฐานการผลิตเพื่อส่งออก มาเป็นการดึงการลงทุน
เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าขายในภูมิภาคเอเชีย โดยกำหนดให้มีการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายเท่านั้น ผ่านการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
ด้านต่าง ๆ ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ)
5. ก.คลังอยู่ระหว่างศึกษาแผนเพิ่มทุนของ ธ.ก.ส. ผอ.สำนักเงินกู้ตลาดเงินต่างประเทศ สำนักบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า
ก.คลังอยู่ระหว่างพิจารณาแผนการเพิ่มทุนของ ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ซึ่งขณะนี้ทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กำลังศึกษาถึงความจำเป็นและจำนวนเม็ดเงินที่เหมาะสม ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ธ.ก.ส.ได้ส่งเรื่อง
การขอเพิ่มทุนจำนวน 10,000 ล้านบาท ให้ ก.คลังพิจารณา เนื่องจากปัจจุบัน ธ.ก.ส.มีภาระหนี้เงินกู้ต่างประเทศ (YANKEE BOND) ซึ่งต้องการให้
ก.คลังช่วยลดภาระหนี้ดังกล่าวด้วยการแปลงเป็นทุนทั้งจำนวน (ผู้จัดการรายวัน, แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าธ.กลาง สรอ. จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ในเดือนมิ.ย. นี้ รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ วันที่ 4 มิ.ย.47
จากการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของรอยเตอร์คาดว่า ธ.กลางสรอ.จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยประมาณ ร้อยละ 0.25 ในการประชุมนโยบายการ
เงินระหว่างวันที่ 29-30 มิ.ย. นี้ เนื่องจากเศรษฐกิจสรอ. ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง รวมทั้งตลาดแรงงานในเดือนพ.ค. มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นมากถึง
248,000 ตำแหน่งจากที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในเดือนมี.ค. และเม.ย.ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาดแรงงานรวมทั้งการที่ นักเศรษฐศาสตร์
เห็นว่าการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 315,000 ตำแหน่งในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 238,000 ตำแหน่งนับตั้งแต่ตั้นปี
จึงเชื่อว่าตลาดแรงงานฟื้นตัวและขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ดังนั้นจึงเป็นสัญญานที่ชัดเจนเพียงพอที่ ธ.กลางสรอ.จะเริ่มดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวด
ในช่วงสิ้นเดือนมิ.ย. นี้ ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยทางการของสรอ. อยู่ในระดับร้อยละ 1.0 ตั้งแต่มิ.ย. 46 ต่ำสุดตั้งแต่ปี 2501 และมีการคาดการณ์ว่า
จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวตั้งแต่มิ.ย. ปีที่แล้ว (รอยเตอร์)
2. ตัวเลขการจ้างของ สรอ. เดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้น 248,000 ตำแหน่ง รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 4 มิ.ย.47 ก.แรงงาน
ของ สรอ. เปิดเผยว่า การจ้างงานของ สรอ. ในเดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้น 248,000 ตำแหน่ง สูงกว่าที่วอลล์สตรีทคาดการณ์ไว้ที่ประมาณ 216,000
ตำแหน่ง และเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจาก 346,000 ตำแหน่ง ในเดือน เม.ย.47 และ 353,000 ตำแหน่ง ในเดือน มี.ค.47 ส่งผลให้ในช่วง
เดือนมี.ค. — พ.ค.47 มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นรวม 947,000 ตำแหน่ง เป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดของช่วง 3 เดือน ในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา
และเป็นการยืนยันได้ว่าเศรษฐกิจ สรอ. กำลังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง แต่ก็อาจส่งผลให้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามมา ซึ่งคาดว่า คณะผู้จัดทำ
นโยบายของ ธ.กลาง สรอ. ที่จะประชุมกันในวันที่ 28-29 มิ.ย.นี้ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2501 อีกร้อยละ 0.25
อย่างไรก็ตาม ธ.กลาง สรอ. ยังมีจุดมุ่งหมายที่จะสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยการควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมด้วยเช่นกัน
(รอยเตอร์)
3. การว่างงานของเยอรมนีในเดือน พ.ค.47 หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ
5 มิ.ย.47 การว่างงานของเยอรมนีในเดือน พ.ค.47 หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน แม้ว่าตัวเลขยอดคนว่างงาน
ก่อนปรับตัวเลขตามฤดูกาลจะลดลงจาก 4.443 ล้านคนในเดือน เม.ย.47 มาอยู่ที่ประมาณ 4.307 ล้านคนในเดือน พ.ค.47 ก็ตาม เช่นเดียวกับ
ผลสำรวจความเห็นของชาวเยอรมนีจำนวน 1,000 คนในระหว่างวันที่ 1 และ 2 มิ.ย. 47 ที่ร้อยละ 48 ของผู้ถูกสำรวจเห็นว่าเศรษฐกิจของ
เยอรมนียังอยู่ในภาวะตกต่ำ ในขณะที่อีกร้อยละ 44 เห็นว่าเศรษฐกิจยังไม่ดีนัก มีเพียงร้อยละ 8 ที่มองเศรษฐกิจในทางบวก โดยเศรษฐกิจของ
เยอรมนีขยายตัวร้อยละ 0.4 ในไตรมาสแรกปีนี้ สูงสุดในรอบ 3 ปี จากการขยายตัวของการส่งออก แต่จากการที่ภาวะการจ้างงานยังไม่ดีขึ้นและ
นโยบายของรัฐบาลที่จะปรับลดสวัสดิการว่างงานในต้นปีหน้าได้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทำให้การใช้จ่ายในประเทศยังอยู่ในภาวะซบเซาซึ่ง
อาจส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว สนง.แรงงานกลางมีกำหนดจะประกาศตัวเลขการว่างงานของเดือน พ.ค.47 อย่างเป็นทาง
การในวันที่ 8 มิ.ย.47 นี้ (รอยเตอร์)
4. ผู้ประกอบการภาคบริการของอังกฤษเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ธุรกิจ แม้ว่าจะมีปัจจัยเสี่ยงจากต้นทุนด้านแรงงานที่สูงขึ้น รายงานจาก
ลอนดอนเมื่อ 7 มิ.ย.47 The Confederation of British Industry เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
บริการของอังกฤษจำนวน 182 บริษัทในช่วงระหว่างวันที่ 28 เม.ย. - 12 พ.ค.47 โดยมีผู้ประกอบการร้อยละ 26 เชื่อว่ามูลค่าการขายใน
ภาคอุตสาหกรรมบริการในช่วงเดือน มี.ค.-พ.ค.47 จะเพิ่มขึ้น แต่ต่ำกว่าช่วงไตรมาสก่อนหน้าที่มีผู้ประกอบการถึงร้อยละ 50 ที่เชื่อว่ามูลค่าการ
ขายจะเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นดังกล่าวสอดคล้องกับดัชนี PMI ที่มีการสำรวจในช่วงสัปดาห์ก่อน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการดำเนินงานของภาคบริการ
อยู่ในภาวะที่ดี อนึ่ง นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นว่าการที่ภาคบริการปรับตัวดีขึ้น อาจจะเป็นปัจจัยชี้นำให้ ธ.กลางอังกฤษปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจเกี่ยวกับต้นทุนการดำเนินงาน โดยเฉพาะต้นทุนด้านแรงงานที่เพิ่มขึ้น สะท้อนว่า ผลการดำเนินงานของภาคบริการอาจ
จะได้รับผลกระทบ ซึ่งแม้จะมีปัจจัยเสี่ยง แต่ผู้ประกอบการยังคงมีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับสถานการณ์ในอนาคตว่า ธุรกิจของตนจะยังคงแข็งแกร่ง
โดยผู้ประกอบการถึงร้อยละ 43 คาดหวังว่า มูลค่าการขายจะสูงขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 5 ปีครึ่ง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 7/6/47 4/6/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.708 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.5176/40.8176 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 626.47/11.28 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,450/7,550 7,400/7,500 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 33.74 34.34 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 17.59*/14.59 17.59*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 13 พ.ค..47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. หนี้ต่างประเทศ ณ สิ้นเดือน มี.ค.47 เพิ่มขึ้น 600 ล้านดอลลาร์ สรอ. รายงานข่าวจากสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ยอดหนี้ต่างประเทศรวม ณ สิ้นไตรมาสแรกปี 47 มีทั้งสิ้น 51,800 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนถึง
600 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากมีการนำเข้าเงินกู้สุทธิของภาคเอกชน และการตีราคาของหนี้สกุลเงินเยนที่แข็งค่าขึ้น สำหรับโครงสร้างหนี้ต่าง
ประเทศนั้น เป็นหนี้ภาคเอกชน 35,100 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยในเดือน มี.ค.47 ภาคธนาคารมีการเพิ่มหนี้สินสุทธิ 200 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ส่วนของภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคารมีการนำเข้าเงินกู้ในเครือระยะสั้นและสินเชื่อการค้าสุทธิ 300 ล้านดอลลาร์ สรอ. และผลของค่าเงินเยนที่แข็ง
ค่าขึ้นอีก 100 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนหนี้ภาคทางการมีการชำระคืนสุทธิ 400 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการชำระคืนเงินกู้ของทั้งรัฐบาลและรัฐ
วิสาหกิจ อย่างไรก็ตาม สัดส่วนของหนี้แบ่งเป็นหนี้ระยะสั้นร้อยละ 22.8 หนี้ระยะยาวร้อยละ 77.2 ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมด (ผู้จัดการรายวัน)
2. รายได้จากการท่องเที่ยวในเดือน เม.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 67.5 เทียบต่อปี รายงานเศรษฐกิจและการเงินประจำเดือน เม.ย.47
ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ในเดือน เม.ย. 47 ภาคการท่องเที่ยวและการโรงแรมของไทยยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยมี
รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 67.5 จากระยะเดียวกันของปีก่อน และมีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศประมาณ 899,000 คน
ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 93.6 จาก เม.ย.ปีที่แล้ว จากการเพิ่มขึ้นของภาคการท่องเที่ยวนี้ ชี้ให้เห็นว่าเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ไม่
ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อภาคการท่องเที่ยว โดยอัตราการเข้าพักในภาคใต้ยังอยู่ในเกณฑ์ดี นอกจากนี้ อัตรารายได้ที่เพิ่มขึ้นนั้นเนื่องจากในปีที่ผ่านมา
ภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากปัญหาการระบาดของโรคซาร์ส ทำให้ฐานที่นำมาใช้คำนวณการเติบโตมีระดับต่ำ
(กรุงเทพธุรกิจ)
3. ก.พาณิชย์ สศช. และ ธปท. ร่วมจัดทำดัชนีราคาสินค้าส่งออกเป็นรายเดือน ผอ.สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า
ก.พาณิชย์ได้หารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีความ
เห็นพ้องกันให้จัดทำดัชนีราคาสินค้าส่งออกเป็นรายเดือน เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการประเมินและกำหนดเป้าหมายเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะ
ภาวะการเติบโตผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ (จีดีพี) โดยในเบื้องต้นจะจัดเก็บข้อมูลการส่งออกสินค้าใน 4 กลุ่มสินค้าหลัก คือ สินค้าเกษตร อุตสาห
กรรมการเกษตร สินค้าอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมเหมืองแร่ คาดว่าจะเปิดเผยข้อมูลเป็นครั้งแรกในเดือน ก.ค.นี้ (เดลินิวส์, ข่าวสด)
4. ก.คลังเตรียมประกาศกรอบความยั่งยืนทางการคลังใหม่ เน้นการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจและการลงทุน รมว.ก.คลัง เปิดเผยว่า
ในต้นเดือน ก.ค.ที่จะถึงนี้ ก.คลังจะประกาศกรอบความยั่งยืนทางการคลังใหม่ โดยเน้นการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจและการลงทุนเพิ่มเติมแทน
กรอบเดิมที่เน้นเรื่องวินัยการคลัง การหารายได้ และความสามารถในการชำระหนี้ในอนาคต ทั้งนี้ ในกรอบความยั่งยืนทางการคลังใหม่นี้ รัฐบาล
จะใช้นโยบายการคลังปรับโครงสร้างการลงทุนจากต่างประเทศ จากเดิมที่เป็นการลงทุนเพื่อย้ายฐานการผลิตเพื่อส่งออก มาเป็นการดึงการลงทุน
เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าขายในภูมิภาคเอเชีย โดยกำหนดให้มีการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายเท่านั้น ผ่านการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
ด้านต่าง ๆ ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ)
5. ก.คลังอยู่ระหว่างศึกษาแผนเพิ่มทุนของ ธ.ก.ส. ผอ.สำนักเงินกู้ตลาดเงินต่างประเทศ สำนักบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า
ก.คลังอยู่ระหว่างพิจารณาแผนการเพิ่มทุนของ ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ซึ่งขณะนี้ทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กำลังศึกษาถึงความจำเป็นและจำนวนเม็ดเงินที่เหมาะสม ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ธ.ก.ส.ได้ส่งเรื่อง
การขอเพิ่มทุนจำนวน 10,000 ล้านบาท ให้ ก.คลังพิจารณา เนื่องจากปัจจุบัน ธ.ก.ส.มีภาระหนี้เงินกู้ต่างประเทศ (YANKEE BOND) ซึ่งต้องการให้
ก.คลังช่วยลดภาระหนี้ดังกล่าวด้วยการแปลงเป็นทุนทั้งจำนวน (ผู้จัดการรายวัน, แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าธ.กลาง สรอ. จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ในเดือนมิ.ย. นี้ รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ วันที่ 4 มิ.ย.47
จากการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของรอยเตอร์คาดว่า ธ.กลางสรอ.จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยประมาณ ร้อยละ 0.25 ในการประชุมนโยบายการ
เงินระหว่างวันที่ 29-30 มิ.ย. นี้ เนื่องจากเศรษฐกิจสรอ. ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง รวมทั้งตลาดแรงงานในเดือนพ.ค. มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นมากถึง
248,000 ตำแหน่งจากที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในเดือนมี.ค. และเม.ย.ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาดแรงงานรวมทั้งการที่ นักเศรษฐศาสตร์
เห็นว่าการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 315,000 ตำแหน่งในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 238,000 ตำแหน่งนับตั้งแต่ตั้นปี
จึงเชื่อว่าตลาดแรงงานฟื้นตัวและขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ดังนั้นจึงเป็นสัญญานที่ชัดเจนเพียงพอที่ ธ.กลางสรอ.จะเริ่มดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวด
ในช่วงสิ้นเดือนมิ.ย. นี้ ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยทางการของสรอ. อยู่ในระดับร้อยละ 1.0 ตั้งแต่มิ.ย. 46 ต่ำสุดตั้งแต่ปี 2501 และมีการคาดการณ์ว่า
จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวตั้งแต่มิ.ย. ปีที่แล้ว (รอยเตอร์)
2. ตัวเลขการจ้างของ สรอ. เดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้น 248,000 ตำแหน่ง รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 4 มิ.ย.47 ก.แรงงาน
ของ สรอ. เปิดเผยว่า การจ้างงานของ สรอ. ในเดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้น 248,000 ตำแหน่ง สูงกว่าที่วอลล์สตรีทคาดการณ์ไว้ที่ประมาณ 216,000
ตำแหน่ง และเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจาก 346,000 ตำแหน่ง ในเดือน เม.ย.47 และ 353,000 ตำแหน่ง ในเดือน มี.ค.47 ส่งผลให้ในช่วง
เดือนมี.ค. — พ.ค.47 มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นรวม 947,000 ตำแหน่ง เป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดของช่วง 3 เดือน ในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา
และเป็นการยืนยันได้ว่าเศรษฐกิจ สรอ. กำลังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง แต่ก็อาจส่งผลให้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามมา ซึ่งคาดว่า คณะผู้จัดทำ
นโยบายของ ธ.กลาง สรอ. ที่จะประชุมกันในวันที่ 28-29 มิ.ย.นี้ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2501 อีกร้อยละ 0.25
อย่างไรก็ตาม ธ.กลาง สรอ. ยังมีจุดมุ่งหมายที่จะสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยการควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมด้วยเช่นกัน
(รอยเตอร์)
3. การว่างงานของเยอรมนีในเดือน พ.ค.47 หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ
5 มิ.ย.47 การว่างงานของเยอรมนีในเดือน พ.ค.47 หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน แม้ว่าตัวเลขยอดคนว่างงาน
ก่อนปรับตัวเลขตามฤดูกาลจะลดลงจาก 4.443 ล้านคนในเดือน เม.ย.47 มาอยู่ที่ประมาณ 4.307 ล้านคนในเดือน พ.ค.47 ก็ตาม เช่นเดียวกับ
ผลสำรวจความเห็นของชาวเยอรมนีจำนวน 1,000 คนในระหว่างวันที่ 1 และ 2 มิ.ย. 47 ที่ร้อยละ 48 ของผู้ถูกสำรวจเห็นว่าเศรษฐกิจของ
เยอรมนียังอยู่ในภาวะตกต่ำ ในขณะที่อีกร้อยละ 44 เห็นว่าเศรษฐกิจยังไม่ดีนัก มีเพียงร้อยละ 8 ที่มองเศรษฐกิจในทางบวก โดยเศรษฐกิจของ
เยอรมนีขยายตัวร้อยละ 0.4 ในไตรมาสแรกปีนี้ สูงสุดในรอบ 3 ปี จากการขยายตัวของการส่งออก แต่จากการที่ภาวะการจ้างงานยังไม่ดีขึ้นและ
นโยบายของรัฐบาลที่จะปรับลดสวัสดิการว่างงานในต้นปีหน้าได้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทำให้การใช้จ่ายในประเทศยังอยู่ในภาวะซบเซาซึ่ง
อาจส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว สนง.แรงงานกลางมีกำหนดจะประกาศตัวเลขการว่างงานของเดือน พ.ค.47 อย่างเป็นทาง
การในวันที่ 8 มิ.ย.47 นี้ (รอยเตอร์)
4. ผู้ประกอบการภาคบริการของอังกฤษเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ธุรกิจ แม้ว่าจะมีปัจจัยเสี่ยงจากต้นทุนด้านแรงงานที่สูงขึ้น รายงานจาก
ลอนดอนเมื่อ 7 มิ.ย.47 The Confederation of British Industry เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
บริการของอังกฤษจำนวน 182 บริษัทในช่วงระหว่างวันที่ 28 เม.ย. - 12 พ.ค.47 โดยมีผู้ประกอบการร้อยละ 26 เชื่อว่ามูลค่าการขายใน
ภาคอุตสาหกรรมบริการในช่วงเดือน มี.ค.-พ.ค.47 จะเพิ่มขึ้น แต่ต่ำกว่าช่วงไตรมาสก่อนหน้าที่มีผู้ประกอบการถึงร้อยละ 50 ที่เชื่อว่ามูลค่าการ
ขายจะเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นดังกล่าวสอดคล้องกับดัชนี PMI ที่มีการสำรวจในช่วงสัปดาห์ก่อน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการดำเนินงานของภาคบริการ
อยู่ในภาวะที่ดี อนึ่ง นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นว่าการที่ภาคบริการปรับตัวดีขึ้น อาจจะเป็นปัจจัยชี้นำให้ ธ.กลางอังกฤษปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจเกี่ยวกับต้นทุนการดำเนินงาน โดยเฉพาะต้นทุนด้านแรงงานที่เพิ่มขึ้น สะท้อนว่า ผลการดำเนินงานของภาคบริการอาจ
จะได้รับผลกระทบ ซึ่งแม้จะมีปัจจัยเสี่ยง แต่ผู้ประกอบการยังคงมีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับสถานการณ์ในอนาคตว่า ธุรกิจของตนจะยังคงแข็งแกร่ง
โดยผู้ประกอบการถึงร้อยละ 43 คาดหวังว่า มูลค่าการขายจะสูงขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 5 ปีครึ่ง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 7/6/47 4/6/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.708 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.5176/40.8176 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 626.47/11.28 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,450/7,550 7,400/7,500 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 33.74 34.34 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 17.59*/14.59 17.59*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 13 พ.ค..47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-