เศรษฐกิจภาคใต้โดยรวมในเดือนเมษายน 2547 ขยายตัว แม้จะเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้นก็ตาม ทางด้านการผลิต รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามราคาสินค้าเกษตร ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลง ส่วนการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบเฉพาะภาคใต้ตอนล่าง
ทางด้านอุปสงค์ขยายตัวดี การใช้จ่ายอุปโภคบริโภคขยายตัวแม้จะชะลอลงจากเดือนก่อน ขณะที่การลงทุนของภาคเอกชน และการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวในอัตราที่เร่งตัวขึ้น สำหรับการส่งออกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน ส่วนระดับราคาสินค้าเร่งตัวขึ้นแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ทางด้านธนาคารพาณิชย์ขยายตัวทั้งเงินฝากและสินเชื่อ
ภาคเกษตร
รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักยังคงขยายตัวสูงถึงร้อยละ 29.9 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาเป็นสำคัญ ขณะที่ผลผลิตลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะแห้งแล้ง และสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนที่ทำให้เกษตกรไม่สามารถกรีดยางได้ตามปกติ ส่วนราคาพืชผลเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.3 ตามราคายางพาราและปาล์มน้ำมัน เป็นผลจากความต้องการในตลาดโลกสูง
ภาวะประมงเริ่มมีทิศทางดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน โดยสัตว์น้ำที่นำขึ้นท่าเทียบเรือประมงในภาคใต้มีปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 และ 13.5 ตามลำดับ ส่วนผลผลิตกุ้งกุลาดำลดลงต่อเนื่อง เป็นผลจากราคาไม่จูงใจ ขาดเงินทุนหมุนเวียน การไต่สวนการทุ่มตลาดกุ้งในสหรัฐอเมริกา และสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ส่งผลให้พื้นที่เพาะเลี้ยงลดลงมาก
สำหรับปศุสัตว์ ราคามีแนวโน้มสูงขึ้น โดยราคาสุกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 76.1 เนื่องจากความต้องการบริโภคยังคงเพิ่มขึ้นทดแทนการบริโภคเนื้อไก่ ขณะเดียวกันราคาไก่ปรับสูงขึ้นร้อยละ 47.6 เนื่องจากผลผลิตเริ่มไม่เพียงพอกับความต้องการที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น
ภาคอุตสาหกรรม
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอลงจากเดือนเดียวกันปีก่อน โดยอุตสาหกรรมยางพาราและ น้ำมันปาล์มดิบชะลอตัวตามปริมาณวัตถุดิบ สำหรับสัตว์น้ำแปรรูปและแช่แข็ง โดยเฉพาะกุ้งแช่แข็ง ยังคงได้รับผลกระทบจากกรณีการไต่สวนทุ่มตลาดกุ้งในประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้การผลิตลดลงมาก ด้านการผลิตอาหารทะเลกระป๋องชะลอตัวตามวัตถุดิบ และเป็นผลจากปัญหาขาดแคลนแรงงาน และชั่วโมงทำงานของแรงงานลดลง จาก สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดน
ภาคบริการท่องเที่ยว
จากสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลกระทบให้การท่องเที่ยวทางภาคใต้ตอนล่างชะลอลง เนื่องจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศยกเลิกการเดินทาง ขณะที่การท่องเที่ยวทางฝั่งตะวันตกได้รับผลกระทบไม่มากนัก เนื่องจากเป็นช่วง low season ซึ่งนัก ท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นชาวเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่นและไต้หวัน ยังคงเข้ามาท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้เพิ่มขึ้นค่อนข้างสูงในอัตราร้อยละ 74.5 เนื่องจากมีการเข้มงวดบริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองไทย-มาเลเซียมากขึ้น ประกอบกับฐานปีก่อนต่ำมากจากวิกฤติโรคซาร์สและภาวะสงคราม ทั้งนี้อัตราการเข้าพักโรงแรมในภาคใต้ เดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 58.8 เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 41.0
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
การใช้จ่ายภาคเอกชนเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ คือ รายได้เกษตรกรที่ยังคงอยู่ในระดับสูง เห็นได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคในเดือนนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.4 รถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.0 รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.4 และ 25.8 ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงจากร้อยละ 24.6 49.9 102.7 และ42.4 ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งในภาคการผลิต และภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยเงินลงทุนในโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 571.4 และจำนวนธุรกิจที่ขอจดทะเบียนใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.7 ขณะเดียวกันการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 48.4 เนื่องจากความต้องการที่อยู่อาศัยยังมีอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับภาวะอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ
การจ้างงาน
สถานการณ์การจ้างงานในภาคใต้ ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้จากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลให้แรงงานในพื้นที่ดังกล่าวมีการเคลื่อนย้ายไปทำงานในจังหวัดอื่นที่ปลอดภัยกว่า ทั้งนี้ จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรในเดือนมีนาคม 2547 ภาคใต้มีอัตราว่างงานร้อยละ 1.8
ระดับราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในเดือนเมษายนนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.0 ตามราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 โดยสินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้นได้แก่ หมวด เนื้อสัตว์ ไก่ เป็ด และหมวดข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ขณะที่ สำหรับสินค้าในหมวดอื่น ๆ ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม ราคาโดยเฉลี่ยเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก
การค้าต่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศยังขยายตัวต่อเนื่องตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.6 เป็นผลมาจากด้านราคาเป็นสำคัญ สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกมากขึ้นได้แก่ ยางพารา สัตว์น้ำ อาหารบรรจุกระป๋อง ไม้ยางแปรรูป ถุงมือยาง และน้ำมันดิบ ขณะที่มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 เป็นผลจากการนำเข้าก๊าซธรรมชาติ และอุปกรณ์ก่อสร้าง เป็นสำคัญ
ด้านการค้าชายแดนไทย—มาเลเซียมีมูลค่าการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.2 เป็นผลจากการส่งออกและนำเข้าที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.3 และ 58.4 ตามลำดับ ทั้งนี้ สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนส่งผลกระทบต่อภาพรวมของการค้าชายแดนไม่มากนัก แต่มีผลกระทบเฉพาะบางพื้นที่โดยเฉพาะจังหวัดนราธิวาส ผู้ประกอบการเปลี่ยนจุดส่งออก—นำเข้า จากด่านศุลกากรสุไหงโก-ลกไปยังด่านศุลกากรสะเดาและปาดังเบซาร์แทน
การคลัง
ในเดือนเมษายนนี้ ภาครัฐมีการจัดเก็บรายได้ 1,628.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.1 สะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยภาษีที่จัดเก็บจากฐานรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 และภาษีที่เก็บจากฐานการบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.7 ขณะที่ภาษีจากฐานการต่างประเทศ จัดเก็บได้ลดลงร้อยละ 12.3 ตามการลดลงของการจัดเก็บอากรขาเข้า เนื่องจากมีการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากรตั้งแต่เดือนธันวาคม 2546 ส่วนการเบิกจ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.0 โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ มีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 75.7 ของของวงเงินที่ได้รับการจัดสรร
ภาคการเงิน
ปริมาณเงินหมุนเวียนขยายตัวต่อเนื่อง เป็นผลจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเพิ่มขึ้นของรายได้ประชากรทั้งในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร ส่วนเงินฝากคงค้างของสาขาธนาคารพาณิชย์ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.8 ในขณะที่การให้สินเชื่อขยายตัวดีมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล และสินเชื่ออุตสาหกรรมเป็นสำคัญ ทั้งนี้ อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากอัตราส่วนร้อยละ 60.7 มาอยู่ที่ร้อยละ 64.7 ส่วนธุรกรรมของธนาคารรัฐทั้งธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อน มียอดสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.8 และ 4.2 ตามลำดับ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคใต้--
-ยก-
ทางด้านอุปสงค์ขยายตัวดี การใช้จ่ายอุปโภคบริโภคขยายตัวแม้จะชะลอลงจากเดือนก่อน ขณะที่การลงทุนของภาคเอกชน และการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวในอัตราที่เร่งตัวขึ้น สำหรับการส่งออกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน ส่วนระดับราคาสินค้าเร่งตัวขึ้นแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ทางด้านธนาคารพาณิชย์ขยายตัวทั้งเงินฝากและสินเชื่อ
ภาคเกษตร
รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักยังคงขยายตัวสูงถึงร้อยละ 29.9 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาเป็นสำคัญ ขณะที่ผลผลิตลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะแห้งแล้ง และสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนที่ทำให้เกษตกรไม่สามารถกรีดยางได้ตามปกติ ส่วนราคาพืชผลเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.3 ตามราคายางพาราและปาล์มน้ำมัน เป็นผลจากความต้องการในตลาดโลกสูง
ภาวะประมงเริ่มมีทิศทางดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน โดยสัตว์น้ำที่นำขึ้นท่าเทียบเรือประมงในภาคใต้มีปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 และ 13.5 ตามลำดับ ส่วนผลผลิตกุ้งกุลาดำลดลงต่อเนื่อง เป็นผลจากราคาไม่จูงใจ ขาดเงินทุนหมุนเวียน การไต่สวนการทุ่มตลาดกุ้งในสหรัฐอเมริกา และสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ส่งผลให้พื้นที่เพาะเลี้ยงลดลงมาก
สำหรับปศุสัตว์ ราคามีแนวโน้มสูงขึ้น โดยราคาสุกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 76.1 เนื่องจากความต้องการบริโภคยังคงเพิ่มขึ้นทดแทนการบริโภคเนื้อไก่ ขณะเดียวกันราคาไก่ปรับสูงขึ้นร้อยละ 47.6 เนื่องจากผลผลิตเริ่มไม่เพียงพอกับความต้องการที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น
ภาคอุตสาหกรรม
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอลงจากเดือนเดียวกันปีก่อน โดยอุตสาหกรรมยางพาราและ น้ำมันปาล์มดิบชะลอตัวตามปริมาณวัตถุดิบ สำหรับสัตว์น้ำแปรรูปและแช่แข็ง โดยเฉพาะกุ้งแช่แข็ง ยังคงได้รับผลกระทบจากกรณีการไต่สวนทุ่มตลาดกุ้งในประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้การผลิตลดลงมาก ด้านการผลิตอาหารทะเลกระป๋องชะลอตัวตามวัตถุดิบ และเป็นผลจากปัญหาขาดแคลนแรงงาน และชั่วโมงทำงานของแรงงานลดลง จาก สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดน
ภาคบริการท่องเที่ยว
จากสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลกระทบให้การท่องเที่ยวทางภาคใต้ตอนล่างชะลอลง เนื่องจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศยกเลิกการเดินทาง ขณะที่การท่องเที่ยวทางฝั่งตะวันตกได้รับผลกระทบไม่มากนัก เนื่องจากเป็นช่วง low season ซึ่งนัก ท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นชาวเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่นและไต้หวัน ยังคงเข้ามาท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้เพิ่มขึ้นค่อนข้างสูงในอัตราร้อยละ 74.5 เนื่องจากมีการเข้มงวดบริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองไทย-มาเลเซียมากขึ้น ประกอบกับฐานปีก่อนต่ำมากจากวิกฤติโรคซาร์สและภาวะสงคราม ทั้งนี้อัตราการเข้าพักโรงแรมในภาคใต้ เดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 58.8 เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 41.0
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
การใช้จ่ายภาคเอกชนเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ คือ รายได้เกษตรกรที่ยังคงอยู่ในระดับสูง เห็นได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคในเดือนนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.4 รถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.0 รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.4 และ 25.8 ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงจากร้อยละ 24.6 49.9 102.7 และ42.4 ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งในภาคการผลิต และภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยเงินลงทุนในโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 571.4 และจำนวนธุรกิจที่ขอจดทะเบียนใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.7 ขณะเดียวกันการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 48.4 เนื่องจากความต้องการที่อยู่อาศัยยังมีอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับภาวะอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ
การจ้างงาน
สถานการณ์การจ้างงานในภาคใต้ ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้จากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลให้แรงงานในพื้นที่ดังกล่าวมีการเคลื่อนย้ายไปทำงานในจังหวัดอื่นที่ปลอดภัยกว่า ทั้งนี้ จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรในเดือนมีนาคม 2547 ภาคใต้มีอัตราว่างงานร้อยละ 1.8
ระดับราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในเดือนเมษายนนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.0 ตามราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 โดยสินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้นได้แก่ หมวด เนื้อสัตว์ ไก่ เป็ด และหมวดข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ขณะที่ สำหรับสินค้าในหมวดอื่น ๆ ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม ราคาโดยเฉลี่ยเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก
การค้าต่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศยังขยายตัวต่อเนื่องตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.6 เป็นผลมาจากด้านราคาเป็นสำคัญ สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกมากขึ้นได้แก่ ยางพารา สัตว์น้ำ อาหารบรรจุกระป๋อง ไม้ยางแปรรูป ถุงมือยาง และน้ำมันดิบ ขณะที่มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 เป็นผลจากการนำเข้าก๊าซธรรมชาติ และอุปกรณ์ก่อสร้าง เป็นสำคัญ
ด้านการค้าชายแดนไทย—มาเลเซียมีมูลค่าการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.2 เป็นผลจากการส่งออกและนำเข้าที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.3 และ 58.4 ตามลำดับ ทั้งนี้ สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนส่งผลกระทบต่อภาพรวมของการค้าชายแดนไม่มากนัก แต่มีผลกระทบเฉพาะบางพื้นที่โดยเฉพาะจังหวัดนราธิวาส ผู้ประกอบการเปลี่ยนจุดส่งออก—นำเข้า จากด่านศุลกากรสุไหงโก-ลกไปยังด่านศุลกากรสะเดาและปาดังเบซาร์แทน
การคลัง
ในเดือนเมษายนนี้ ภาครัฐมีการจัดเก็บรายได้ 1,628.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.1 สะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยภาษีที่จัดเก็บจากฐานรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 และภาษีที่เก็บจากฐานการบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.7 ขณะที่ภาษีจากฐานการต่างประเทศ จัดเก็บได้ลดลงร้อยละ 12.3 ตามการลดลงของการจัดเก็บอากรขาเข้า เนื่องจากมีการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากรตั้งแต่เดือนธันวาคม 2546 ส่วนการเบิกจ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.0 โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ มีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 75.7 ของของวงเงินที่ได้รับการจัดสรร
ภาคการเงิน
ปริมาณเงินหมุนเวียนขยายตัวต่อเนื่อง เป็นผลจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเพิ่มขึ้นของรายได้ประชากรทั้งในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร ส่วนเงินฝากคงค้างของสาขาธนาคารพาณิชย์ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.8 ในขณะที่การให้สินเชื่อขยายตัวดีมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล และสินเชื่ออุตสาหกรรมเป็นสำคัญ ทั้งนี้ อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากอัตราส่วนร้อยละ 60.7 มาอยู่ที่ร้อยละ 64.7 ส่วนธุรกรรมของธนาคารรัฐทั้งธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อน มียอดสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.8 และ 4.2 ตามลำดับ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคใต้--
-ยก-