ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกของเล่นที่สำคัญอันดับ 3 ของไทย รองจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป (EU) โดยในปี 2546 ไทยส่งออกไปญี่ปุ่นมูลค่ารวม 1,461.3 ล้านบาท ลดลง 2.7% จากปีก่อนหน้า ปัญหาที่ไทยประสบอยู่ คือ ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับคู่แข่งโดยเฉพาะจีน (จีนครองส่วนแบ่งตลาดของเล่นในญี่ปุ่นเป็นอันดับ 1 สัดส่วน 81.2% รองลงมาคือสหรัฐฯ 4.1% และไทย 2.7%) ประกอบกับบริษัทญี่ปุ่นหลายแห่งย้ายฐานการผลิตของเล่นจากไทยไปยังจีนและเวียดนามเนื่องจากค่าจ้างแรงงานที่ถูกกว่า ทำให้ญี่ปุ่นหันไปสั่งซื้อของเล่นจากประเทศเหล่านั้นเพิ่มขึ้นและลดการสั่งซื้อจากไทย ของเล่นที่ไทยส่งออกไปญี่ปุ่นส่วนใหญ่เป็นประเภทของและเครื่องอุปกรณ์สำหรับการเล่นยิมนาสติก กรีฑา และกีฬาอื่นๆ หุ่นจำลอง ชุดของเล่นประกอบ ของเล่นเพื่อการศึกษา คันเบ็ดและอุปกรณ์ และของสำหรับใช้เล่นเกมส์
ข้อมูลเบื้องต้นที่น่าสนใจสำหรับการส่งออกของเล่นไปตลาดญี่ปุ่น ได้แก่
1. อัตราภาษีนำเข้า ญี่ปุ่นกำหนดอัตราภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าของเล่นราว 0-4.6% โดยไทยได้รับสิทธิทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preference: GSP) จากญี่ปุ่นสำหรับสินค้าของเล่นบางประเภท อาทิ คันเบ็ด เบ็ดและอุปกรณ์อื่นๆ รวมทั้งของและเครื่องอุปกรณ์สำหรับใช้ในการออกกำลังกายทั่วไป
2. กฎระเบียบด้านการนำเข้าที่สำคัญ อาทิ
Food Sanitation Law กำหนดให้ของเล่นสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 18 เดือน ต้องไม่มีส่วนผสมของสารโลหะหนัก สารหนู และสารที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของเด็ก โดยก่อนการนำเข้าสินค้าผู้นำเข้าอาจนำตัวอย่างสินค้าส่งไปให้ห้องปฏิบัติการตรวจสอบก่อน และนำหนังสือรับรองที่ได้รับหลังผ่านการตรวจสอบมายืนยัน ณ จุดนำเข้าสินค้า ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาการตรวจสอบ ณ ด่านกักกันของญี่ปุ่น (Quarantine Station)
Electrical Appliance and Material Safety Law กำหนดให้ของเล่นที่มีเครื่องมอเตอร์หรือใช้ไฟฟ้าเป็นส่วนประกอบต้องมีการผลิตที่สอดคล้องกับมาตรฐานเทคนิคของสากล รวมทั้งต้องติดฉลากตามที่กฎหมายกำหนด
Local Child Protection Ordinances ในแต่ละท้องถิ่นจะกำหนดประเภทของของเล่นที่จัดว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพและร่างกายเด็กแตกต่างกันไป สำหรับของเล่นที่ท้องถิ่นใดกำหนดว่าเป็นสินค้าอันตรายจะไม่สามารถจำหน่ายให้แก่เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีในท้องถิ่นนั้นได้
Customs Tariff Law กำหนดไม่ให้มีการนำเข้าของเล่นที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาโดยเฉพาะตุ๊กตาที่ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของผู้ผลิตรายอื่น หรือลอกเลียนแบบการดีไซน์ลักษณะของตัวการ์ตูนที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป
3. การติดฉลาก
3.1 กฎหมายควบคุมการติดฉลาก มี 2 ฉบับ คือ
Electrical Appliance and Material Safety Law กำหนดให้สินค้าของเล่นที่มีมอเตอร์หรือใช้ไฟฟ้าเป็นส่วนประกอบต้องติดฉลากแสดงหน่วยวัดแรงดันไฟฟ้า (Rated Voltage) หน่วยวัดกำลังไฟฟ้า (Wattage) ชื่อผู้ผลิตและ PSE Mark (Product Safety for Electrical Appliances and Materials) เป็นต้น
Law for Promotion of Effective Utilization of Resourced กำหนดให้บรรจุภัณฑ์และหีบห่อสำหรับบรรจุของเล่นต้องติดฉลากแสดงประเภทของวัสดุที่ใช้ทำบรรุภัณฑ์และหีบห่อนั้นๆ เพื่อให้สะดวกต่อการแยกประเภทในการจัดเก็บเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
3.2 ฉลากที่ติดโดยสมัครใจ ได้แก่
Safety Goods Mark (SG Mark) เป็นฉลากสินค้าสำหรับเด็กและทารกที่ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยจาก The Consumer Product Safety Association ของญี่ปุ่น (ปัจจุบันมีการจัดทำมาตรฐานสำหรับสินค้ารวม 122 ประเภท) ซึ่งผู้บริโภคที่ได้รับบาดเจ็บหรือได้รับอันตรายจากสินค้าที่ติดฉลาก SG Mark สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจาก The Consumer Product Safety Association ได้
Safety Toy Mark (ST Mark) เป็นฉลากของเล่นสำหรับเด็กอายุไม่เกิน 14 ปี โดยของเล่นสำหรับเด็กวัยดังกล่าวจะต้องผ่านการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยจาก The Japan Toy Association ฉลากมีอายุ 1 ปี และสามารถต่ออายุได้ ปัจจุบัน ST Mark เป็นที่นิยมมาก ซึ่งผู้บริโภคที่ได้รับบาดเจ็บหรือได้รับอันตรายจากการใช้สินค้าที่ติดฉลาก ST Mark สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจาก The Japan Toy Association ได้
Safety Certification Mark (S Mark) เป็นฉลากที่ออกโดยองค์กร Non-government Organizations ต่างๆ ในญี่ปุ่นเพื่อรับรองมาตรฐานความปลอดภัยขั้นต่ำสำหรับสินค้าที่ใช้ไฟฟ้าเป็นส่วนประกอบ โดยฉลาก S Mark ของแต่ละองค์กรจะแตกต่างกันไปตามชื่อขององค์กรที่ออกฉลาก ซึ่งได้แก่
- Japan Electrical Safety & Environment Technology Laboratories (JET)
- Japan Quality Assurance Organization (JQA)
- UL APEX Co., Ltd
- T?V RHEINLAND JAPAN LTD
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มิถุนายน 2547--
-พห-
ข้อมูลเบื้องต้นที่น่าสนใจสำหรับการส่งออกของเล่นไปตลาดญี่ปุ่น ได้แก่
1. อัตราภาษีนำเข้า ญี่ปุ่นกำหนดอัตราภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าของเล่นราว 0-4.6% โดยไทยได้รับสิทธิทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preference: GSP) จากญี่ปุ่นสำหรับสินค้าของเล่นบางประเภท อาทิ คันเบ็ด เบ็ดและอุปกรณ์อื่นๆ รวมทั้งของและเครื่องอุปกรณ์สำหรับใช้ในการออกกำลังกายทั่วไป
2. กฎระเบียบด้านการนำเข้าที่สำคัญ อาทิ
Food Sanitation Law กำหนดให้ของเล่นสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 18 เดือน ต้องไม่มีส่วนผสมของสารโลหะหนัก สารหนู และสารที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของเด็ก โดยก่อนการนำเข้าสินค้าผู้นำเข้าอาจนำตัวอย่างสินค้าส่งไปให้ห้องปฏิบัติการตรวจสอบก่อน และนำหนังสือรับรองที่ได้รับหลังผ่านการตรวจสอบมายืนยัน ณ จุดนำเข้าสินค้า ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาการตรวจสอบ ณ ด่านกักกันของญี่ปุ่น (Quarantine Station)
Electrical Appliance and Material Safety Law กำหนดให้ของเล่นที่มีเครื่องมอเตอร์หรือใช้ไฟฟ้าเป็นส่วนประกอบต้องมีการผลิตที่สอดคล้องกับมาตรฐานเทคนิคของสากล รวมทั้งต้องติดฉลากตามที่กฎหมายกำหนด
Local Child Protection Ordinances ในแต่ละท้องถิ่นจะกำหนดประเภทของของเล่นที่จัดว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพและร่างกายเด็กแตกต่างกันไป สำหรับของเล่นที่ท้องถิ่นใดกำหนดว่าเป็นสินค้าอันตรายจะไม่สามารถจำหน่ายให้แก่เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีในท้องถิ่นนั้นได้
Customs Tariff Law กำหนดไม่ให้มีการนำเข้าของเล่นที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาโดยเฉพาะตุ๊กตาที่ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของผู้ผลิตรายอื่น หรือลอกเลียนแบบการดีไซน์ลักษณะของตัวการ์ตูนที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป
3. การติดฉลาก
3.1 กฎหมายควบคุมการติดฉลาก มี 2 ฉบับ คือ
Electrical Appliance and Material Safety Law กำหนดให้สินค้าของเล่นที่มีมอเตอร์หรือใช้ไฟฟ้าเป็นส่วนประกอบต้องติดฉลากแสดงหน่วยวัดแรงดันไฟฟ้า (Rated Voltage) หน่วยวัดกำลังไฟฟ้า (Wattage) ชื่อผู้ผลิตและ PSE Mark (Product Safety for Electrical Appliances and Materials) เป็นต้น
Law for Promotion of Effective Utilization of Resourced กำหนดให้บรรจุภัณฑ์และหีบห่อสำหรับบรรจุของเล่นต้องติดฉลากแสดงประเภทของวัสดุที่ใช้ทำบรรุภัณฑ์และหีบห่อนั้นๆ เพื่อให้สะดวกต่อการแยกประเภทในการจัดเก็บเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
3.2 ฉลากที่ติดโดยสมัครใจ ได้แก่
Safety Goods Mark (SG Mark) เป็นฉลากสินค้าสำหรับเด็กและทารกที่ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยจาก The Consumer Product Safety Association ของญี่ปุ่น (ปัจจุบันมีการจัดทำมาตรฐานสำหรับสินค้ารวม 122 ประเภท) ซึ่งผู้บริโภคที่ได้รับบาดเจ็บหรือได้รับอันตรายจากสินค้าที่ติดฉลาก SG Mark สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจาก The Consumer Product Safety Association ได้
Safety Toy Mark (ST Mark) เป็นฉลากของเล่นสำหรับเด็กอายุไม่เกิน 14 ปี โดยของเล่นสำหรับเด็กวัยดังกล่าวจะต้องผ่านการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยจาก The Japan Toy Association ฉลากมีอายุ 1 ปี และสามารถต่ออายุได้ ปัจจุบัน ST Mark เป็นที่นิยมมาก ซึ่งผู้บริโภคที่ได้รับบาดเจ็บหรือได้รับอันตรายจากการใช้สินค้าที่ติดฉลาก ST Mark สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจาก The Japan Toy Association ได้
Safety Certification Mark (S Mark) เป็นฉลากที่ออกโดยองค์กร Non-government Organizations ต่างๆ ในญี่ปุ่นเพื่อรับรองมาตรฐานความปลอดภัยขั้นต่ำสำหรับสินค้าที่ใช้ไฟฟ้าเป็นส่วนประกอบ โดยฉลาก S Mark ของแต่ละองค์กรจะแตกต่างกันไปตามชื่อขององค์กรที่ออกฉลาก ซึ่งได้แก่
- Japan Electrical Safety & Environment Technology Laboratories (JET)
- Japan Quality Assurance Organization (JQA)
- UL APEX Co., Ltd
- T?V RHEINLAND JAPAN LTD
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มิถุนายน 2547--
-พห-