1 ด้านการผลิต
1.1 ภาคเกษตรกรรม
1.1.1 กสิกรรม
จากข้อมูลการพยากรณ์ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ พบว่ามูลค่าการผลิตสาขากสิกรรมโดยรวมฤดูการผลิตปี 2546/2547 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณร้อยละ 4.1 เนื่องจากสภาพฝนเอื้ออำนวย ในขณะที่ปีก่อนประสบกับภัยแล้งและน้ำท่วมระหว่างการเพาะปลูก ราคาพืชผลส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะข้าวเปลือกราคาสูงกว่าปีก่อน ผลผลิตข้าวเปลือกและมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น ส่วนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เกษตรกรลดพื้นที่ปลูกจากปัญหาด้านราคา ในปีก่อน เกษตรกรส่วนหนึ่งจึงเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่น มันสำปะหลัง
ข้าวนาปี
พื้นที่ทำนาในฤดูการผลิตปี 2546/2547 ประมาณ 32,889,291 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.5 เนื่องจากในปีนี้สภาพฝนเอื้ออำนวย ข้าวเปลือกที่เก็บเกี่ยวได้ คุณภาพค่อนข้างดี คาดว่าจะได้ผลผลิตข้าวเปลือก 9,553,721 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 โดยมีผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 290.5 กิโลกรัม
ภาวะการค้าข้าวเปลือกในรอบปี 2546 ค่อนข้างคึกคัก ราคาข้าวเปลือกสูงกว่าปีก่อนค่อนข้างมาก ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวเปลือกเจ้า 5% เกวียนละ 7,781 บาท ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวเปลือกเจ้า 10% เกวียนละ 5,599 เทียบกับปีก่อนเกวียนละ 5,777 บาท และเกวียนละ 5,130 บาท หรือสูงขึ้นร้อยละ 34.7 และร้อยละ 9.1 ตามลำดับ
ราคาขายส่งข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดยาว) เกวียนละ 5,917 บาท ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) เกวียนละ 5,666 บาท เทียบกับปีก่อน เกวียนละ5,334 บาท และ เกวียนละ 4,952 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 และร้อยละ 14.4 ตามลำดับ
มันสำปะหลัง
การเพาะปลูกมันสำปะหลังปีนี้ ผลผลิตที่ได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากราคาในปีก่อนซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดี จูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นและเอาใจใส่บำรุงรักษามากขึ้นแต่ผลผลิตที่ได้ในปีนี้คุณภาพไม่ดีนัก เปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ เนื่องจากมีฝนตกชุกระหว่างการเก็บเกี่ยวในปีนี้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 3,625,394 ไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ได้ผลผลิต 10,115,341 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 ผลผลิตเฉลี่ย 2,790 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าปีก่อนได้ผลผลิตเฉลี่ย 2,576 กิโลกรัมต่อไร่
ในปีนี้ผลผลิตมันสำปะหลังออกสู่ตลาดค่อนข้างมากตามปริมาณการผลิต แต่ราคาซื้อขายลดลง เนื่องจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น และค่าระวางเรือปรับสูงขึ้น ประกอบกับสต็อกมันสำปะหลังในตลาดโลกสูง ส่งผลกระทบถึงราคารับซื้อจากเกษตรกร ราคาขายส่งเฉลี่ยหัวมันสำปะหลังกิโลกรัมละ 0.92 บาท เทียบกับปีก่อนราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.16 บาท ลดลงร้อยละ20.7 ราคาขายส่งเฉลี่ยมันเส้นกิโลกรัมละ 2.20 บาท เทียบกับปีก่อนกิโลกรัมละ 2.53 บาท ลดลงร้อยละ 13.0
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือปีนี้รวม 1,738,644 ไร่ลด ลงจากปีก่อนร้อยละ 8.0 โดยข้าวโพดรุ่น 1 ซึ่งปลูกช่วงต้นฤดูฝน พื้นที่ปลูกลดลงร้อยละ 12.3 เหลือ 1,037,019 ไร่ จากปีก่อนมีพื้นที่ปลูก 1,182,649 ไร่ โดยเกษตรกรส่วนหนึ่งหันไปปลูกมันสำปะหลัง ซึ่งทนแล้งและราคาจูงใจทดแทน ข้าวโพดรุ่น 2 ซึ่งปลูกช่วงปลายฤดูฝนพื้นที่ปลูก 701,425 ไร่ ใกล้เคียง กับปีก่อน ผลผลิต 94,689 ตัน ลดลงร้อยละ 7.2 จากปีก่อนได้ผลผลิต 964,408 ตัน คุณภาพของผลผลิตไม่ดีนัก ความชื้นสูง มีฝนตกระหว่างเก็บเกี่ยว ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 515 กิโลกรัม สูงขึ้นจากปีก่อนซึ่งไร่ละ 510 กิโลกรัม
อย่างไรก็ตาม ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ความชื้นไม่เกิน 14.5%) กิโลกรัมละ4.42 บาท เทียบกับราคาเฉลี่ยในปีก่อนกิโลกรัมละ 4.27 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5
อ้อยโรงงาน
พื้นที่เพาะปลูก 3,059,310 ไร่ ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 0.2 เนื่องจากชาวไร่อ้อยที่อยู่ห่างจากโรงงานน้ำตาล มีต้นทุนการขนส่งสูงขึ้น ลดพื้นที่ปลูกลง ประกอบกับมันสำปะหลังในฤดูการผลิตปีก่อนราคาสูงจูงใจเกษตรกรบางส่วนหันไปปลูกมันสำปะหลังทดแทนและมีไร่ข้าวโพดที่อยู่ใกล้โรงงานเปลี่ยนมาปลูกอ้อยมากขึ้น จากสภาพที่ฝนเอื้ออำนวยทำให้ผลผลิตที่ได้ปีนี้ประมาณ 32,515,311 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 0.1
คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นตันละ 425 บาท ที่ระดับความหวาน 10 ซี.ซี.เอส. ต่ำกว่าปีก่อนที่กำหนดไว้ตันละ 500 บาท เนื่องจากสต็อกน้ำตาลของโลกอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม จะทบทวนราคาอ้อยขั้นต้นใหม่อีกครั้ง หลังจากทราบปริมาณอ้อยเข้าหีบแล้ว
ยางพารา
พื้นที่ปลูกยางพาราเปิดกรีดได้จำนวน 320,520 ไร่ เทียบกับปีก่อน 283,696 ไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 มีผลผลิตน้ำยางดิบ 67,642 ตัน เทียบกับปีก่อน 58,442 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.7 พื้นที่ปลูกที่สำคัญอยู่ในจังหวัดหนองคาย อุดรธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์
ราคายางพาราปีนี้ค่อนข้างสูง ราคารับซื้อยางแผ่นรมควัน (คละ) ในภาคฯ เฉลี่ยสูงกว่ากิโลกรัมละ 40 บาท ผลตอบแทนดีกว่าการปลูกพืชชนิดอื่น ส่งผลให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกจำนวนมาก
1.1.2 ปศุสัตว์
การเลี้ยงไก่และโคเนื้อขยายตัวขึ้นมาก เนื่องจากโครงการภาครัฐ เช่น โครงการฟื้นฟูเกษตรกร
หลังการพักชำระหนี้ โครงการกองทุนหมู่บ้าน ฯลฯ ส่งผลให้การผลิตสาขาปศุสัตว์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน นอกจากนี้ความต้องการผลิตภัณฑ์ไก่เนื้อของไทยจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากสหภาพยุโรปและญี่ปุ่น
โคเนื้อ
การเลี้ยงโคเนื้อในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่เลี้ยงเป็นรายได้เสริม รองลงมาจากการผลิตด้านกสิกรรม ในปีนี้การเลี้ยงโคเนื้อในภาคฯ ขยายตัวขึ้น จากนโยบายภาครัฐ เช่น โครงการกองทุนหมู่บ้าน โครงการฟื้นฟูเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ โครงการเกษตรผสมผสาน
ข้อมูลล่าสุดของกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ วันที่ 1 มกราคม 2546 มีโคเนื้อในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจาก 3,078,149 ตัว จำนวนผู้เลี้ยง 665,884 ครัวเรือน จังหวัดนครราชสีมามีการเลี้ยงโคเนื้อมากที่สุด 290,642 ตัว จากผู้เลี้ยง 36,463 ครัวเรือน รองลงมาเป็นจังหวัดศรีสะเกษ 264,151 ตัว จากผู้เลี้ยง 52,620 ครัวเรือน สุรินทร์ 262,967 ตัว จากผู้เลี้ยง 62,952 ครัวเรือน สกลนคร 255,126 ตัว จากผู้เลี้ยง 33,955 ครัวเรือน
สุกร
การเลี้ยงสุกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงในลักษณะฟาร์มกระจายอยู่ทุกจังหวัด การเลี้ยงโดยเกษตรกรรายย่อยค่อนข้างน้อย ในปีนี้การเลี้ยงสุกรในภาคฯ ขยายตัวขึ้น เนื่องจากราคาในปีก่อนจูงใจ
ณ วันที่ 1 มกราคม 2546 มีการเลี้ยงสุกรจำนวน 1,366,171 ตัว เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนจำนวน 1,142,126 ตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 และในรอบปี 2546 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถผลิตสุกรได้ 1,898,127 ตัว เทียบกับปีก่อนผลิตได้ 1,851,749 ตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ราคาเฉลี่ยสุกรมีชีวิตน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป กิโลกรัมละ 34 บาท เทียบกับราคาเฉลี่ยในปีก่อนซึ่งกิโลกรัมละ 39 บาท ลดลงร้อยละ 12.8 ราคาเฉลี่ยหมูเนื้อแดงกิโลกรัมละ 73 บาทเทียบกับปีก่อนกิโลกรัมละ 77 บาท ลดลงร้อยละ 5.2
สัตว์ปีก
การเลี้ยงสัตว์ปีกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณร้อยละ 90 เป็นการเลี้ยงไก่เนื้อซึ่งการเลี้ยงจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1) การเลี้ยงไก่พื้นเมืองตามบริเวณบ้านเพื่อบริโภคในครัวเรือน ซึ่งมีการเลี้ยงโดยทั่วไป
2) การเลี้ยงไก่ในลักษณะฟาร์ม ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็น Contract farming กระจาย อยู่ทุกจังหวัด
ในปีนี้การเลี้ยงสัตว์ปีกเพิ่มขึ้นจากปีก่อน จากการส่งเสริมของทางการ เช่นโครงการฟื้นฟูเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ โครงการกองทุนหมู่บ้าน โครงการไร่นาสวนผสม นอกจากนี้ความต้องการผลิตภัณฑ์ไก่เนื้อขยายตัวทั้งจากภายในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้การผลิตในระบบฟาร์มขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก
ณ วันที่ 1 มกราคม 2546 มีการเลี้ยงไก่ในภาคฯ จำนวน 51,686,324 ตัว เทียบกับปีก่อน 56,429,660 ตัว ลดลงร้อยละ 8.4 ในรอบปี 2546 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถผลิตไก่เนื้อได้ 131,953,798 ตัว เทียบกับปีก่อนผลิตได้ 126,315,140 ตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ณ วันที่ 1 มกราคม 2546 มีการเลี้ยงเป็ด 5,317,325 ตัว เทียบกับปีก่อน 5,162,883 ตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0
ราคาขายส่งเฉลี่ยไก่เนื้อมีชีวิตปีนี้กิโลกรัมละ 33 บาท เท่ากับปีก่อน แต่ราคาขายส่งเฉลี่ยเนื้อไก่ชำแหละกิโลกรัมละ 49 บาท เทียบกับปีก่อนเฉลี่ยกิโลกรัมละ 51 บาท ลดลงร้อยละ 3.9
1.1.3 ประมง
การผลิตสาขาประมงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่เป็นการประมงตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ส่วนการเพาะเลี้ยงขยายตัวขึ้นตามการส่งเสริมของสำนักงานประมงจังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่เลี้ยงปลากินพืช เช่น ปลานิล ปลาไน และปลาตะเพียน โดยจะเลี้ยงในนาข้าว และในบ่อเป็นส่วนใหญ่
การทำการประมงบริเวณเขื่อนอุบลรัตน์ ซึ่งเป็นแหล่งทำการประมงขนาดใหญ่ของภาคฯ ปีนี้สามารถจับสัตว์น้ำได้ 1,274.2 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ซึ่งจับได้ 1,048.4 ตัว เพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 21.5
1.2 ภาคอุตสาหกรรม
1.2.1 ภาวะอุตสาหกรรมที่สำคัญ
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมที่สำคัญของภาคฯมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับภาคเกษตร ตามสินค้าการเกษตรของภาคฯ ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ได้แก่ ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ไก่เนื้อไก่ไข่ โคนม ฯลฯ อุตสาหกรรมเกษตรที่สำคัญได้แก่ โรงสีข้าว โรงงานน้ำตาล โรงงานแป้งมัน โรงงานแป้งสังเคราะห์ (Modified starch) โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ ไก่แช่แข็ง ฯลฯ
อุตสาหกรรมที่มีความสำคัญระยะต่อไป ได้แก่ อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลักซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมเด่นของภาคฯ เนื่องจากเป็นแหล่งแรงงานจำนวนมาก ทำให้อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลักได้มีการย้ายฐานการผลิตมาจากกรุงเทพฯและเขตภาคกลาง มาตั้งอยู่ที่นี่เพื่ออาศัยความได้เปรียบด้านแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป ซึ่งกว่าครึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดชัยภูมิ เนื่องจากมีแรงงานที่มีฝีมือทางด้านการตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปอยู่เป็นจำนวนมากจากที่เคยมีประสบการณ์ในการทำงานโรงงานที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลมาก่อน นอกจากนี้ ยังมี อุตสาหกรรมสำคัญของภาคฯ แยกได้พอสังเขป ดังนี้
1. โรงสีข้าว: ปีนี้มีการขอประกอบกิจการโรงสีข้าวใหม่หลายแห่ง ในพื้นที่จังหวัดนครพนม นครราชสีมา มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด หนองคาย อุดรธานี และอุบลราชธานี รวมทั้งโรงสีข้าวเดิมปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต โดยใช้ เครื่องจักรที่ทันสมัยสำหรับ ผลิตข้าวคุณภาพดีเพื่อการส่งออก เนื่องจากภาวะการส่งออกข้าวหอมมะลิขยายตัวดี โดยเฉพาะตลาดในเอเชีย อีกทั้งนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาคุณภาพข้าวหอมมะลิของประเทศ ส่งผลให้ราคา ข้าวหอมมะลิในปีนี้สูงขึ้นมาก การประกอบกิจการโรงสีข้าวในปัจจุบัน ต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมาก และยังต้องใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้น การแข่งขันกันรับซื้อข้าวจากเกษตรกรสูงขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการโรงสีขนาดเล็กต้องเลิกกิจการจำนวนมาก รวมทั้งการใช้เครื่องจักรที่ทันสมัยเข้ามาทดแทนแรงงาน ส่งผลกระทบต่อการจ้างแรงงานในท้องถิ่น ผู้ประกอบการประสบปัญหาสภาพคล่อง เนื่องจากให้เครดิตทางการค้าระยะยาว ขณะที่ต้องซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรเป็นเงินสด นอกจากนี้ยังมีปัญหาความเสี่ยงจากราคา เนื่องจากถูกกำหนดราคาโดยตลาดต่างประเทศ
2. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สำปะหลัง : พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในภาค ฯ ตอนบนและตอนกลางลดลง เนื่องจากเกษตรกรหันไปปลูกพืชอื่นทดแทนเช่น อ้อย ยางพารา ผลไม้ เป็นต้น ขณะที่พื้นที่เพาะปลูกในแถบจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งเป็นแหล่งผลิต มันสำปะหลังที่สำคัญ ผลผลิตเพิ่มขึ้น ในปัจจุบัน ความต้องการหัวมันสำปะหลังของโรงงานแป้งมันเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 ต่อปี ดังนั้นเกษตรกรจึงต้องเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น โดยปรับเปลี่ยนไปใช้พันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าพันธุ์เดิม ในปี 2546 การส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไม่ว่าจะเป็นแป้งมัน มันเส้น และมันอัดเม็ดยังขยายตัว ทำให้ผู้ผลิตแข่งขันกันรับซื้อวัตถุดิบเพื่อนำไปผลิตสินค้าแปรรูป โดยโรงงานแป้งมันได้กำหนดราคารับซื้อสูงกว่า ส่งผลให้ลานมันเส้นและโรงงานมันอัดเม็ดขนาดเล็กได้ทยอยเลิกกิจการ เหลือแต่กิจการขนาดใหญ่ แต่มีโรงงานแป้งมันและลานมันเส้นเปิด กิจการใหม่ ในจังหวัดกาฬสินธุ์ ชัยภูมิ และนครราชสีมาซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกมันฯที่สำคัญของภาคฯ
ปี 2546 ปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของไทยทุกผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้น โดยมันอัดเม็ด เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.2 มันเส้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.7 และแป้งมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.6 เนื่องจากประเทศในสหภาพยุโรป ประสบปัญหาคลื่นความร้อนและเกิดภัยแล้ง รวมทั้งการขยายตลาดในประเทศจีน ทำให้ความต้องการมันสำปะหลังแปรรูปของไทยเพิ่มขึ้น
คาดว่าในปี 2547 การส่งออกยังมีแนวโน้มสดใส เนื่องจากประเทศผู้ผลิตที่ เป็นคู่แข่งที่สำคัญ เช่น อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ประสบปัญหาภัยธรรมชาติ ขณะที่ตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน มาเลเซีย และฮ่องกง มีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
3. อุตสาหกรรมน้ำตาล : โรงงานน้ำตาลทั้ง 13 แห่งในภาค ได้ทำการเปิดหีบในช่วงเดือนพฤศจิกายน2545-กันยายน 2546 เป็นระยะเวลาประมาณ 10 เดือน ซึ่งยาวนานกว่าทุกปีที่ผ่านมา ซึ่งจะปิดหีบภายในเดือนพฤษภาคม เนื่องจากผลผลิตอ้อยฤดูการผลิตปี 2545/46 ที่เข้าหีบมีปริมาณสูงมากเกินปริมาณอ้อยที่คาดไว้ ด้วยสาเหตุสำคัญจากการที่เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ปลูกอ้อยได้นำเงินจากโครงการกองทุนหมู่บ้านมาลงทุนปลูกอ้อยกันมากทำให้ปริมาณอ้อยเข้าหีบ 31 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 29.4 ได้ผลผลิตน้ำตาล 3.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.0
แต่ปัญหาที่สำคัญเด่นชัดในปีนี้ได้แก่ ปัญหาการเผาอ้อย เพื่อนำส่งโรงงานซึ่งมีปริมาณอ้อยไฟไหม้ ต่อปริมาณอ้อยรวมที่เข้าหีบทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ60 โดยโรงงานน้ำตาลที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดได้แก่โรงงานน้ำตาลทั้ง 3 แห่งในจังหวัดอุดรธานี ซึ่งแต่ละแห่งมีสัดส่วนอ้อยไฟไหม้โดยเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 80 ทำให้ก่อให้เกิดผลเสียหายแก่ระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของจังหวัด เนื่องจากเกษตรกรได้รับเงินค่าอ้อยต่ำมาก เครื่องจักรของโรงงานก็ได้รับความเสียหาย อีกทั้งยังสามารถผลิตน้ำตาลได้น้อยลงมาก
ทางรัฐบาลจึงได้กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ สำหรับอ้อยในฤดูการผลิตปี2546/47 ที่จะเข้าหีบในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2546 โดยให้กระทรวงอุตสาหกรรมประสานงานกับผู้ว่าราชการจังหวัดบูรณาการ ทำการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องและจริงจัง เพื่อลดปริมาณอ้อยไฟไหม้ และให้โรงงานน้ำตาลปฏิบัติตามมาตรการดังนี้ กำหนดปริมาณอ้อยไฟไหม้ให้มี ไม่เกิน 20 % ของปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมด การกำหนดอ้อยเข้าหีบมีสิ่งปนเปื้อนไม่เกิน 3% การกำหนดเขตส่งเสริมการปลูกอ้อยในรัศมีไม่เกิน 100 กิโลเมตรรอบโรงงาน การกำหนดระยะเวลาในการรอคิวส่งอ้อยไม่เกิน 8 ชั่วโมง การกำหนดประสิทธิภาพการผลิตของโรงงานให้ผลิตน้ำตาลได้ไม่ต่ำกว่า 105 กิโลกรัมต่อตันอ้อย และการกำหนดให้มีการแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานแยกเป็นรายโรงงาน เป็นต้น
4. อุตสาหกรรมแหอวน : เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานจำนวนมากเนื่องจากโรงงานแหอวนของไทยทั้งหมดตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ละแห่งต่างมีการจ้างแรงงานเป็นจำนวนมากทั้งการทำงานในโรงงาน และการว่าจ้างแรงงานตามหมู่บ้าน รับเหมาช่วง การผลิต โดยปีนี้มีปริมาณการส่งออก 12,668 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 9.0 เนื่องจากมีคำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าเดิมสูงขึ้นโดยเฉพาะกัมพูชา มาเลเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รวมทั้งการเปิดตลาดใหม่ ในประเทศในแถบตะวันออกกลางและกลุ่มประเทศอเมริกาใต้ แนวโน้มของอุตสาหกรรมนี้ยังสดใส เนื่องจากมีคำสั่งซื้อมาจากตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โรงงานหลายแห่งได้มีการขยายการผลิตโดยไปตั้งโรงงานแห่งใหม่ในพื้นที่ที่มีแรงงานอยู่เป็นจำนวนมาก
5. อุตสาหกรรมสิ่งทอ : ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีโรงงานอุตสาหกรรมจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล ได้ทำการขยายหรือย้ายฐานการผลิต มาตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายแห่ง เนื่องจากจำนวนแรงงานที่มีเป็นจำนวนมาก และแรงงานดังกล่าวมีฝีมือและประสบการณ์ในการตัดเย็บจากการไปทำงานที่โรงงานในกรุงเทพฯมาก่อน อัตราค่าจ้างก็ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ราคาที่ดินยังไม่สูงมาก ส่วนใหญ่เป็นการตัดเย็บเสื้อผ้าคุณภาพดี เพื่อการส่งออก ในปีนี้มีโรงงานตั้งใหม่ หลายแห่งในจังหวัดชัยภูมิ ยโสธร ร้อยเอ็ด และอุบลราชธานี
อุตสาหกรรมสิ่งทอในภาคฯ มากกว่าครึ่งหนึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดชัยภูมิ เนื่องจากแรงงานมีฝีมือดี มีประสบการณ์จากการทำงานตามโรงงานสิ่งทอที่กรุงเทพฯ เมื่อกลับมา อยู่บ้าน โรงงานจึงย้ายโรงงานมาเปิดดำเนินการในพื้นที่ เพราะสามารถหาแรงงานที่มีประสบการณ์ได้ง่าย และแรงงานดังกล่าวสามารถพัฒนาฝีมือได้เร็ว เมื่อโรงงานมาตั้งแล้วจึงได้มีการชักชวนโรงงานใน กลุ่มหรือในเครือเดียวกันมาตั้งโรงงานอยู่ด้วยกัน จังหวัดชัยภูมิจึงได้กำหนดเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยให้สิทธิพิเศษต่างๆ เพื่อชักจูงนักลงทุนในจังหวัดเพิ่มขึ้น
การลงทุนทางด้านอุตสาหกรรมอื่นๆ ในภาคฯ นอกเหนือจากเขตอุตสาหกรรมสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมแห่งเดียวในภาคฯ กำลังจะขยายพื้นที่อีก 500 ไร่ เพื่อจำหน่ายให้แก่นักลงทุนที่สนใจจะลงทุนในเขตอุตสาหกรรมดังกล่าวแล้ว ยังมีเขตอุตสาหกรรมที่จะตั้งขึ้นใหม่อีก 2 แห่ง ได้แก่ เขตอุตสาหกรรมของกลุ่มนวนคร ที่จังหวัดนครราชสีมา โดยเน้นอุตสาหกรรมในเครือของตน และนักธุรกิจในกลุ่มPCS มีแผนที่จะตั้งเขตอุตสาหกรรมใหม่พื้นที่ประมาณ 2,000 ไร่ ที่อำเภอโคกกรวด จังหวัดนครราชสีมา ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
(ยังมีต่อ)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1.1 ภาคเกษตรกรรม
1.1.1 กสิกรรม
จากข้อมูลการพยากรณ์ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ พบว่ามูลค่าการผลิตสาขากสิกรรมโดยรวมฤดูการผลิตปี 2546/2547 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณร้อยละ 4.1 เนื่องจากสภาพฝนเอื้ออำนวย ในขณะที่ปีก่อนประสบกับภัยแล้งและน้ำท่วมระหว่างการเพาะปลูก ราคาพืชผลส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะข้าวเปลือกราคาสูงกว่าปีก่อน ผลผลิตข้าวเปลือกและมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น ส่วนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เกษตรกรลดพื้นที่ปลูกจากปัญหาด้านราคา ในปีก่อน เกษตรกรส่วนหนึ่งจึงเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่น มันสำปะหลัง
ข้าวนาปี
พื้นที่ทำนาในฤดูการผลิตปี 2546/2547 ประมาณ 32,889,291 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.5 เนื่องจากในปีนี้สภาพฝนเอื้ออำนวย ข้าวเปลือกที่เก็บเกี่ยวได้ คุณภาพค่อนข้างดี คาดว่าจะได้ผลผลิตข้าวเปลือก 9,553,721 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 โดยมีผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 290.5 กิโลกรัม
ภาวะการค้าข้าวเปลือกในรอบปี 2546 ค่อนข้างคึกคัก ราคาข้าวเปลือกสูงกว่าปีก่อนค่อนข้างมาก ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวเปลือกเจ้า 5% เกวียนละ 7,781 บาท ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวเปลือกเจ้า 10% เกวียนละ 5,599 เทียบกับปีก่อนเกวียนละ 5,777 บาท และเกวียนละ 5,130 บาท หรือสูงขึ้นร้อยละ 34.7 และร้อยละ 9.1 ตามลำดับ
ราคาขายส่งข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดยาว) เกวียนละ 5,917 บาท ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) เกวียนละ 5,666 บาท เทียบกับปีก่อน เกวียนละ5,334 บาท และ เกวียนละ 4,952 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 และร้อยละ 14.4 ตามลำดับ
มันสำปะหลัง
การเพาะปลูกมันสำปะหลังปีนี้ ผลผลิตที่ได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากราคาในปีก่อนซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดี จูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นและเอาใจใส่บำรุงรักษามากขึ้นแต่ผลผลิตที่ได้ในปีนี้คุณภาพไม่ดีนัก เปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ เนื่องจากมีฝนตกชุกระหว่างการเก็บเกี่ยวในปีนี้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 3,625,394 ไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ได้ผลผลิต 10,115,341 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 ผลผลิตเฉลี่ย 2,790 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าปีก่อนได้ผลผลิตเฉลี่ย 2,576 กิโลกรัมต่อไร่
ในปีนี้ผลผลิตมันสำปะหลังออกสู่ตลาดค่อนข้างมากตามปริมาณการผลิต แต่ราคาซื้อขายลดลง เนื่องจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น และค่าระวางเรือปรับสูงขึ้น ประกอบกับสต็อกมันสำปะหลังในตลาดโลกสูง ส่งผลกระทบถึงราคารับซื้อจากเกษตรกร ราคาขายส่งเฉลี่ยหัวมันสำปะหลังกิโลกรัมละ 0.92 บาท เทียบกับปีก่อนราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.16 บาท ลดลงร้อยละ20.7 ราคาขายส่งเฉลี่ยมันเส้นกิโลกรัมละ 2.20 บาท เทียบกับปีก่อนกิโลกรัมละ 2.53 บาท ลดลงร้อยละ 13.0
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือปีนี้รวม 1,738,644 ไร่ลด ลงจากปีก่อนร้อยละ 8.0 โดยข้าวโพดรุ่น 1 ซึ่งปลูกช่วงต้นฤดูฝน พื้นที่ปลูกลดลงร้อยละ 12.3 เหลือ 1,037,019 ไร่ จากปีก่อนมีพื้นที่ปลูก 1,182,649 ไร่ โดยเกษตรกรส่วนหนึ่งหันไปปลูกมันสำปะหลัง ซึ่งทนแล้งและราคาจูงใจทดแทน ข้าวโพดรุ่น 2 ซึ่งปลูกช่วงปลายฤดูฝนพื้นที่ปลูก 701,425 ไร่ ใกล้เคียง กับปีก่อน ผลผลิต 94,689 ตัน ลดลงร้อยละ 7.2 จากปีก่อนได้ผลผลิต 964,408 ตัน คุณภาพของผลผลิตไม่ดีนัก ความชื้นสูง มีฝนตกระหว่างเก็บเกี่ยว ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 515 กิโลกรัม สูงขึ้นจากปีก่อนซึ่งไร่ละ 510 กิโลกรัม
อย่างไรก็ตาม ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ความชื้นไม่เกิน 14.5%) กิโลกรัมละ4.42 บาท เทียบกับราคาเฉลี่ยในปีก่อนกิโลกรัมละ 4.27 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5
อ้อยโรงงาน
พื้นที่เพาะปลูก 3,059,310 ไร่ ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 0.2 เนื่องจากชาวไร่อ้อยที่อยู่ห่างจากโรงงานน้ำตาล มีต้นทุนการขนส่งสูงขึ้น ลดพื้นที่ปลูกลง ประกอบกับมันสำปะหลังในฤดูการผลิตปีก่อนราคาสูงจูงใจเกษตรกรบางส่วนหันไปปลูกมันสำปะหลังทดแทนและมีไร่ข้าวโพดที่อยู่ใกล้โรงงานเปลี่ยนมาปลูกอ้อยมากขึ้น จากสภาพที่ฝนเอื้ออำนวยทำให้ผลผลิตที่ได้ปีนี้ประมาณ 32,515,311 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 0.1
คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นตันละ 425 บาท ที่ระดับความหวาน 10 ซี.ซี.เอส. ต่ำกว่าปีก่อนที่กำหนดไว้ตันละ 500 บาท เนื่องจากสต็อกน้ำตาลของโลกอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม จะทบทวนราคาอ้อยขั้นต้นใหม่อีกครั้ง หลังจากทราบปริมาณอ้อยเข้าหีบแล้ว
ยางพารา
พื้นที่ปลูกยางพาราเปิดกรีดได้จำนวน 320,520 ไร่ เทียบกับปีก่อน 283,696 ไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 มีผลผลิตน้ำยางดิบ 67,642 ตัน เทียบกับปีก่อน 58,442 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.7 พื้นที่ปลูกที่สำคัญอยู่ในจังหวัดหนองคาย อุดรธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์
ราคายางพาราปีนี้ค่อนข้างสูง ราคารับซื้อยางแผ่นรมควัน (คละ) ในภาคฯ เฉลี่ยสูงกว่ากิโลกรัมละ 40 บาท ผลตอบแทนดีกว่าการปลูกพืชชนิดอื่น ส่งผลให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกจำนวนมาก
1.1.2 ปศุสัตว์
การเลี้ยงไก่และโคเนื้อขยายตัวขึ้นมาก เนื่องจากโครงการภาครัฐ เช่น โครงการฟื้นฟูเกษตรกร
หลังการพักชำระหนี้ โครงการกองทุนหมู่บ้าน ฯลฯ ส่งผลให้การผลิตสาขาปศุสัตว์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน นอกจากนี้ความต้องการผลิตภัณฑ์ไก่เนื้อของไทยจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากสหภาพยุโรปและญี่ปุ่น
โคเนื้อ
การเลี้ยงโคเนื้อในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่เลี้ยงเป็นรายได้เสริม รองลงมาจากการผลิตด้านกสิกรรม ในปีนี้การเลี้ยงโคเนื้อในภาคฯ ขยายตัวขึ้น จากนโยบายภาครัฐ เช่น โครงการกองทุนหมู่บ้าน โครงการฟื้นฟูเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ โครงการเกษตรผสมผสาน
ข้อมูลล่าสุดของกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ วันที่ 1 มกราคม 2546 มีโคเนื้อในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจาก 3,078,149 ตัว จำนวนผู้เลี้ยง 665,884 ครัวเรือน จังหวัดนครราชสีมามีการเลี้ยงโคเนื้อมากที่สุด 290,642 ตัว จากผู้เลี้ยง 36,463 ครัวเรือน รองลงมาเป็นจังหวัดศรีสะเกษ 264,151 ตัว จากผู้เลี้ยง 52,620 ครัวเรือน สุรินทร์ 262,967 ตัว จากผู้เลี้ยง 62,952 ครัวเรือน สกลนคร 255,126 ตัว จากผู้เลี้ยง 33,955 ครัวเรือน
สุกร
การเลี้ยงสุกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงในลักษณะฟาร์มกระจายอยู่ทุกจังหวัด การเลี้ยงโดยเกษตรกรรายย่อยค่อนข้างน้อย ในปีนี้การเลี้ยงสุกรในภาคฯ ขยายตัวขึ้น เนื่องจากราคาในปีก่อนจูงใจ
ณ วันที่ 1 มกราคม 2546 มีการเลี้ยงสุกรจำนวน 1,366,171 ตัว เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนจำนวน 1,142,126 ตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 และในรอบปี 2546 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถผลิตสุกรได้ 1,898,127 ตัว เทียบกับปีก่อนผลิตได้ 1,851,749 ตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ราคาเฉลี่ยสุกรมีชีวิตน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป กิโลกรัมละ 34 บาท เทียบกับราคาเฉลี่ยในปีก่อนซึ่งกิโลกรัมละ 39 บาท ลดลงร้อยละ 12.8 ราคาเฉลี่ยหมูเนื้อแดงกิโลกรัมละ 73 บาทเทียบกับปีก่อนกิโลกรัมละ 77 บาท ลดลงร้อยละ 5.2
สัตว์ปีก
การเลี้ยงสัตว์ปีกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณร้อยละ 90 เป็นการเลี้ยงไก่เนื้อซึ่งการเลี้ยงจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1) การเลี้ยงไก่พื้นเมืองตามบริเวณบ้านเพื่อบริโภคในครัวเรือน ซึ่งมีการเลี้ยงโดยทั่วไป
2) การเลี้ยงไก่ในลักษณะฟาร์ม ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็น Contract farming กระจาย อยู่ทุกจังหวัด
ในปีนี้การเลี้ยงสัตว์ปีกเพิ่มขึ้นจากปีก่อน จากการส่งเสริมของทางการ เช่นโครงการฟื้นฟูเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ โครงการกองทุนหมู่บ้าน โครงการไร่นาสวนผสม นอกจากนี้ความต้องการผลิตภัณฑ์ไก่เนื้อขยายตัวทั้งจากภายในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้การผลิตในระบบฟาร์มขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก
ณ วันที่ 1 มกราคม 2546 มีการเลี้ยงไก่ในภาคฯ จำนวน 51,686,324 ตัว เทียบกับปีก่อน 56,429,660 ตัว ลดลงร้อยละ 8.4 ในรอบปี 2546 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถผลิตไก่เนื้อได้ 131,953,798 ตัว เทียบกับปีก่อนผลิตได้ 126,315,140 ตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ณ วันที่ 1 มกราคม 2546 มีการเลี้ยงเป็ด 5,317,325 ตัว เทียบกับปีก่อน 5,162,883 ตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0
ราคาขายส่งเฉลี่ยไก่เนื้อมีชีวิตปีนี้กิโลกรัมละ 33 บาท เท่ากับปีก่อน แต่ราคาขายส่งเฉลี่ยเนื้อไก่ชำแหละกิโลกรัมละ 49 บาท เทียบกับปีก่อนเฉลี่ยกิโลกรัมละ 51 บาท ลดลงร้อยละ 3.9
1.1.3 ประมง
การผลิตสาขาประมงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่เป็นการประมงตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ส่วนการเพาะเลี้ยงขยายตัวขึ้นตามการส่งเสริมของสำนักงานประมงจังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่เลี้ยงปลากินพืช เช่น ปลานิล ปลาไน และปลาตะเพียน โดยจะเลี้ยงในนาข้าว และในบ่อเป็นส่วนใหญ่
การทำการประมงบริเวณเขื่อนอุบลรัตน์ ซึ่งเป็นแหล่งทำการประมงขนาดใหญ่ของภาคฯ ปีนี้สามารถจับสัตว์น้ำได้ 1,274.2 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ซึ่งจับได้ 1,048.4 ตัว เพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 21.5
1.2 ภาคอุตสาหกรรม
1.2.1 ภาวะอุตสาหกรรมที่สำคัญ
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมที่สำคัญของภาคฯมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับภาคเกษตร ตามสินค้าการเกษตรของภาคฯ ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ได้แก่ ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ไก่เนื้อไก่ไข่ โคนม ฯลฯ อุตสาหกรรมเกษตรที่สำคัญได้แก่ โรงสีข้าว โรงงานน้ำตาล โรงงานแป้งมัน โรงงานแป้งสังเคราะห์ (Modified starch) โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ ไก่แช่แข็ง ฯลฯ
อุตสาหกรรมที่มีความสำคัญระยะต่อไป ได้แก่ อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลักซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมเด่นของภาคฯ เนื่องจากเป็นแหล่งแรงงานจำนวนมาก ทำให้อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลักได้มีการย้ายฐานการผลิตมาจากกรุงเทพฯและเขตภาคกลาง มาตั้งอยู่ที่นี่เพื่ออาศัยความได้เปรียบด้านแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป ซึ่งกว่าครึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดชัยภูมิ เนื่องจากมีแรงงานที่มีฝีมือทางด้านการตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปอยู่เป็นจำนวนมากจากที่เคยมีประสบการณ์ในการทำงานโรงงานที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลมาก่อน นอกจากนี้ ยังมี อุตสาหกรรมสำคัญของภาคฯ แยกได้พอสังเขป ดังนี้
1. โรงสีข้าว: ปีนี้มีการขอประกอบกิจการโรงสีข้าวใหม่หลายแห่ง ในพื้นที่จังหวัดนครพนม นครราชสีมา มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด หนองคาย อุดรธานี และอุบลราชธานี รวมทั้งโรงสีข้าวเดิมปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต โดยใช้ เครื่องจักรที่ทันสมัยสำหรับ ผลิตข้าวคุณภาพดีเพื่อการส่งออก เนื่องจากภาวะการส่งออกข้าวหอมมะลิขยายตัวดี โดยเฉพาะตลาดในเอเชีย อีกทั้งนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาคุณภาพข้าวหอมมะลิของประเทศ ส่งผลให้ราคา ข้าวหอมมะลิในปีนี้สูงขึ้นมาก การประกอบกิจการโรงสีข้าวในปัจจุบัน ต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมาก และยังต้องใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้น การแข่งขันกันรับซื้อข้าวจากเกษตรกรสูงขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการโรงสีขนาดเล็กต้องเลิกกิจการจำนวนมาก รวมทั้งการใช้เครื่องจักรที่ทันสมัยเข้ามาทดแทนแรงงาน ส่งผลกระทบต่อการจ้างแรงงานในท้องถิ่น ผู้ประกอบการประสบปัญหาสภาพคล่อง เนื่องจากให้เครดิตทางการค้าระยะยาว ขณะที่ต้องซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรเป็นเงินสด นอกจากนี้ยังมีปัญหาความเสี่ยงจากราคา เนื่องจากถูกกำหนดราคาโดยตลาดต่างประเทศ
2. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สำปะหลัง : พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในภาค ฯ ตอนบนและตอนกลางลดลง เนื่องจากเกษตรกรหันไปปลูกพืชอื่นทดแทนเช่น อ้อย ยางพารา ผลไม้ เป็นต้น ขณะที่พื้นที่เพาะปลูกในแถบจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งเป็นแหล่งผลิต มันสำปะหลังที่สำคัญ ผลผลิตเพิ่มขึ้น ในปัจจุบัน ความต้องการหัวมันสำปะหลังของโรงงานแป้งมันเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 ต่อปี ดังนั้นเกษตรกรจึงต้องเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น โดยปรับเปลี่ยนไปใช้พันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าพันธุ์เดิม ในปี 2546 การส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไม่ว่าจะเป็นแป้งมัน มันเส้น และมันอัดเม็ดยังขยายตัว ทำให้ผู้ผลิตแข่งขันกันรับซื้อวัตถุดิบเพื่อนำไปผลิตสินค้าแปรรูป โดยโรงงานแป้งมันได้กำหนดราคารับซื้อสูงกว่า ส่งผลให้ลานมันเส้นและโรงงานมันอัดเม็ดขนาดเล็กได้ทยอยเลิกกิจการ เหลือแต่กิจการขนาดใหญ่ แต่มีโรงงานแป้งมันและลานมันเส้นเปิด กิจการใหม่ ในจังหวัดกาฬสินธุ์ ชัยภูมิ และนครราชสีมาซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกมันฯที่สำคัญของภาคฯ
ปี 2546 ปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของไทยทุกผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้น โดยมันอัดเม็ด เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.2 มันเส้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.7 และแป้งมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.6 เนื่องจากประเทศในสหภาพยุโรป ประสบปัญหาคลื่นความร้อนและเกิดภัยแล้ง รวมทั้งการขยายตลาดในประเทศจีน ทำให้ความต้องการมันสำปะหลังแปรรูปของไทยเพิ่มขึ้น
คาดว่าในปี 2547 การส่งออกยังมีแนวโน้มสดใส เนื่องจากประเทศผู้ผลิตที่ เป็นคู่แข่งที่สำคัญ เช่น อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ประสบปัญหาภัยธรรมชาติ ขณะที่ตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน มาเลเซีย และฮ่องกง มีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
3. อุตสาหกรรมน้ำตาล : โรงงานน้ำตาลทั้ง 13 แห่งในภาค ได้ทำการเปิดหีบในช่วงเดือนพฤศจิกายน2545-กันยายน 2546 เป็นระยะเวลาประมาณ 10 เดือน ซึ่งยาวนานกว่าทุกปีที่ผ่านมา ซึ่งจะปิดหีบภายในเดือนพฤษภาคม เนื่องจากผลผลิตอ้อยฤดูการผลิตปี 2545/46 ที่เข้าหีบมีปริมาณสูงมากเกินปริมาณอ้อยที่คาดไว้ ด้วยสาเหตุสำคัญจากการที่เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ปลูกอ้อยได้นำเงินจากโครงการกองทุนหมู่บ้านมาลงทุนปลูกอ้อยกันมากทำให้ปริมาณอ้อยเข้าหีบ 31 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 29.4 ได้ผลผลิตน้ำตาล 3.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.0
แต่ปัญหาที่สำคัญเด่นชัดในปีนี้ได้แก่ ปัญหาการเผาอ้อย เพื่อนำส่งโรงงานซึ่งมีปริมาณอ้อยไฟไหม้ ต่อปริมาณอ้อยรวมที่เข้าหีบทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ60 โดยโรงงานน้ำตาลที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดได้แก่โรงงานน้ำตาลทั้ง 3 แห่งในจังหวัดอุดรธานี ซึ่งแต่ละแห่งมีสัดส่วนอ้อยไฟไหม้โดยเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 80 ทำให้ก่อให้เกิดผลเสียหายแก่ระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของจังหวัด เนื่องจากเกษตรกรได้รับเงินค่าอ้อยต่ำมาก เครื่องจักรของโรงงานก็ได้รับความเสียหาย อีกทั้งยังสามารถผลิตน้ำตาลได้น้อยลงมาก
ทางรัฐบาลจึงได้กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ สำหรับอ้อยในฤดูการผลิตปี2546/47 ที่จะเข้าหีบในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2546 โดยให้กระทรวงอุตสาหกรรมประสานงานกับผู้ว่าราชการจังหวัดบูรณาการ ทำการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องและจริงจัง เพื่อลดปริมาณอ้อยไฟไหม้ และให้โรงงานน้ำตาลปฏิบัติตามมาตรการดังนี้ กำหนดปริมาณอ้อยไฟไหม้ให้มี ไม่เกิน 20 % ของปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมด การกำหนดอ้อยเข้าหีบมีสิ่งปนเปื้อนไม่เกิน 3% การกำหนดเขตส่งเสริมการปลูกอ้อยในรัศมีไม่เกิน 100 กิโลเมตรรอบโรงงาน การกำหนดระยะเวลาในการรอคิวส่งอ้อยไม่เกิน 8 ชั่วโมง การกำหนดประสิทธิภาพการผลิตของโรงงานให้ผลิตน้ำตาลได้ไม่ต่ำกว่า 105 กิโลกรัมต่อตันอ้อย และการกำหนดให้มีการแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานแยกเป็นรายโรงงาน เป็นต้น
4. อุตสาหกรรมแหอวน : เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานจำนวนมากเนื่องจากโรงงานแหอวนของไทยทั้งหมดตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ละแห่งต่างมีการจ้างแรงงานเป็นจำนวนมากทั้งการทำงานในโรงงาน และการว่าจ้างแรงงานตามหมู่บ้าน รับเหมาช่วง การผลิต โดยปีนี้มีปริมาณการส่งออก 12,668 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 9.0 เนื่องจากมีคำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าเดิมสูงขึ้นโดยเฉพาะกัมพูชา มาเลเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รวมทั้งการเปิดตลาดใหม่ ในประเทศในแถบตะวันออกกลางและกลุ่มประเทศอเมริกาใต้ แนวโน้มของอุตสาหกรรมนี้ยังสดใส เนื่องจากมีคำสั่งซื้อมาจากตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โรงงานหลายแห่งได้มีการขยายการผลิตโดยไปตั้งโรงงานแห่งใหม่ในพื้นที่ที่มีแรงงานอยู่เป็นจำนวนมาก
5. อุตสาหกรรมสิ่งทอ : ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีโรงงานอุตสาหกรรมจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล ได้ทำการขยายหรือย้ายฐานการผลิต มาตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายแห่ง เนื่องจากจำนวนแรงงานที่มีเป็นจำนวนมาก และแรงงานดังกล่าวมีฝีมือและประสบการณ์ในการตัดเย็บจากการไปทำงานที่โรงงานในกรุงเทพฯมาก่อน อัตราค่าจ้างก็ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ราคาที่ดินยังไม่สูงมาก ส่วนใหญ่เป็นการตัดเย็บเสื้อผ้าคุณภาพดี เพื่อการส่งออก ในปีนี้มีโรงงานตั้งใหม่ หลายแห่งในจังหวัดชัยภูมิ ยโสธร ร้อยเอ็ด และอุบลราชธานี
อุตสาหกรรมสิ่งทอในภาคฯ มากกว่าครึ่งหนึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดชัยภูมิ เนื่องจากแรงงานมีฝีมือดี มีประสบการณ์จากการทำงานตามโรงงานสิ่งทอที่กรุงเทพฯ เมื่อกลับมา อยู่บ้าน โรงงานจึงย้ายโรงงานมาเปิดดำเนินการในพื้นที่ เพราะสามารถหาแรงงานที่มีประสบการณ์ได้ง่าย และแรงงานดังกล่าวสามารถพัฒนาฝีมือได้เร็ว เมื่อโรงงานมาตั้งแล้วจึงได้มีการชักชวนโรงงานใน กลุ่มหรือในเครือเดียวกันมาตั้งโรงงานอยู่ด้วยกัน จังหวัดชัยภูมิจึงได้กำหนดเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยให้สิทธิพิเศษต่างๆ เพื่อชักจูงนักลงทุนในจังหวัดเพิ่มขึ้น
การลงทุนทางด้านอุตสาหกรรมอื่นๆ ในภาคฯ นอกเหนือจากเขตอุตสาหกรรมสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมแห่งเดียวในภาคฯ กำลังจะขยายพื้นที่อีก 500 ไร่ เพื่อจำหน่ายให้แก่นักลงทุนที่สนใจจะลงทุนในเขตอุตสาหกรรมดังกล่าวแล้ว ยังมีเขตอุตสาหกรรมที่จะตั้งขึ้นใหม่อีก 2 แห่ง ได้แก่ เขตอุตสาหกรรมของกลุ่มนวนคร ที่จังหวัดนครราชสีมา โดยเน้นอุตสาหกรรมในเครือของตน และนักธุรกิจในกลุ่มPCS มีแผนที่จะตั้งเขตอุตสาหกรรมใหม่พื้นที่ประมาณ 2,000 ไร่ ที่อำเภอโคกกรวด จังหวัดนครราชสีมา ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
(ยังมีต่อ)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-