1.2.2 การผลิตแร่และย่อยหิน
ส่วนใหญ่จะเป็นการผลิตหินเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง แร่ที่สามารถผลิตได้เป็นจำนวนมากได้แก่ หินปูน ซึ่งปีนี้ผลิตได้ 8,060,170 ตัน เนื่องจากภาคการก่อสร้างมีการขยายตัวทั้งการก่อสร้างภาครัฐ และภาคเอกชน จึงทำให้ความต้องการวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นมาก มีการผลิตในจังหวัด ขอนแก่น นครราชสีมา เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี และชัยภูมิ หินบะซอลต์ ใช้ในการก่อสร้าง ปีนี้มีการผลิต 8,202,653 ตัน ในจังหวัด สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา และศรีสะเกษ นอกจากนั้นยังมีแร่อื่นๆในปริมาณไม่มาก ไม่ว่าจะเป็น ลิกไนต์ หินอ่อน แคลไซต์ ดินขาวและหินทราย
เมื่อดูการผลิตแร่ ตามแหล่งแร่ที่สำคัญในภาค ดังนี้
การผลิตแร่ (ตัน)
ชนิดแร่ 2545 2546
จังหวัดนครราชสีมา
เกลือหิน 871,111.0 892,243.0
(0.1) (2.4)
หินปูนก่อสร้าง 1,951,903.1 2230,539.0
(31.1) (14.3)
หินบะซอลต์ 321,314.0 504,016.0
(113.0) (56.8)
จังหวัดเลย
หินปูนก่อสร้าง 2,323,173.6 1,613,009.0
(-61.0) (-30.6)
เหล็ก 1,900.0 10,200.0
(-) (-14.3)
แบไรต์ 8,576.2 9,070
(21.1) (5.7)
ที่มา : กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
กระทรวงอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็น อัตราการเปลี่ยนแปลง
จากปีก่อน
แหล่งแร่ที่จังหวัดนครราชสีมา : การผลิตเกลือหิน เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรม ปีนี้ สามารถผลิตได้ 892,243 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.4 หินปูนก่อสร้าง ปีนี้ผลิตได้ 2,230,539 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 14.3 เพราะการก่อสร้างทั้งภาครัฐและภาคเอกชนขยายตัวสูงหินบะซอลต์ ซึ่งใช้ในการก่อสร้างผลิตได้ 504,016 ตัน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 56.8
แหล่งแร่ที่จังหวัดเลย: ปีนี้มีการผลิตแร่ลดลง เนื่องจากปริมาณแร่สำรองลดลง โดยหินปูนผลิตได้ 1,613,009 ตัน ลดลงร้อยละ 30.6แร่เหล็กผลิตได้ 10,200 ตัน ลดลงร้อยละ 14.3 ส่วนแร่แบไรต์ผลิตได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เป็น 9,070 ตัน
แหล่งแร่โปแตสที่จังหวัดอุดรธานี : โครงการเหมืองแร่โปแตสซึ่งเป็นโครงการร่วมทุนระหว่างรัฐบาลไทยกับ บริษัท เอเชีย แปซิฟิค โปแตส คอร์ปอเรชั่นจำกัด บริษัทฯได้รับอาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่โปแตสในจังหวัดอุดรธานี ซึ่งพบว่ามีแร่โปแตสคุณภาพสูง มีส่วนประกอบของธาตุโปแตสเซียมในปริมาณมาก สามารถนำมาผลิตปุ๋ยได้ ดังนั้นบริษัท ฯ จึงวางแผนที่จะทำเหมือง ผลิตและส่งแร่โปแตสออกจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในปี 2546 ที่ผ่านมาบริษัทได้ขอประทานบัตรจากรัฐบาลแล้ว เมื่ออนุมัติจึงจะทำการก่อสร้างเหมืองใต้ดิน โรงแยกแร่ต่อไป คาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 2 ปี จึงจะสามารถจำหน่ายปุ๋ยให้ตลาดในประเทศ และตลาดต่างประเทศซึ่งได้แก่ จีน และเวียดนาม ต่อไป คาดว่าในช่วงของการก่อสร้างดังกล่าว จะจ้างแรงงานไทยประมาณ 1,000 คน
ในระยะเริ่มโครงการจะมีอัตราการผลิตโปแตส 1 ล้านตันต่อปี และภาครัฐจะได้รับ ค่าภาคหลวงในอัตราร้อยละ 7 ของราคาแร่โปแตสหน้าเหมือง นอกจากนี้ ยังมีการจ้างงาน การจัดหาวัสดุต่าง ๆ และการส่งออก คาดว่าแร่โปแตสส่วนหนึ่งจะถูกใช้เพื่อการผลิตปุ๋ยภายในประเทศ ซึ่งจะ ทำให้สามารถลดการนำเข้าปุ๋ยโปแตสเซียมจากต่างประเทศได้ด้วย
แหล่งแร่โปแตสที่จังหวัดชัยภูมิ : โครงการเหมืองแร่โปแตสอาเซียน ได้ดำเนินการก่อสร้างเหมืองใต้ดิน โดยก่อสร้างอุโมงค์ในแนวลาดเอียงที่1 ที่ใช้ในการขนถ่ายอุปกรณ์การทำเหมืองและระบายอากาศ โดยเจาะผ่านชั้นเกลือเข้าถึงชั้นแร่โปแตสถึงระดับความลึก 180 เมตรจากผิวดินเสร็จแล้ว
ขณะนี้ โครงการอยู่ในระหว่างการคัดเลือกผู้ร่วมลงทุนรายใหม่ คาดว่าสามารถสรุปผลได้ประมาณกลางปี 2547 เมื่อได้ผู้ร่วมลงทุนแล้ว จะเริ่มการก่อสร้างโรงงานผลิตปุ๋ยโปแตสเซียมในปี 2548 ซึ่งจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 3 ปี พร้อมไปกับการเจาะปล่องอุโมงค์ในแนวลาดเอียง ที่ 2 ซึ่งเป็นปล่องอุโมงค์ซึ่งใช้ในการขนส่งแร่โปแตสขึ้นสู่ผิวดินเป็นเส้นทางเชื่อมต่อการขนถ่ายแร่โปแตสเซียมเข้าสู่โรงงานผลิตปุ๋ยโปแตสเซียม ตลอดจนติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ และพร้อมที่จะผลิตปุ๋ยโปแตสเซียมออกจำหน่ายได้ประมาณปลายปี 2551
1.3 ภาคอสังหาริมทรัพย์
1.3.1 การก่อสร้าง
การก่อสร้างในภาคตะวันออกเฉียงเหนือขยายตัวขึ้นมาก เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนหลายด้านทั้งจากภาครัฐ เช่น มาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สวัสดิการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ซึ่งให้สินเชื่อโดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ ซึ่งจะสิ้นสุดระยะเวลายื่นคำขอกู้ในวันที่ 30 เมษายน 2547 ธนาคารออมสินเริ่มโครงการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยอัตราดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งแข่งขันกันให้บริการโดยมีระยะเวลาของอัตราดอกเบี้ยคงที่ ระยะเวลาของอัตราดอกเบี้ยลอยตัวตามที่ผู้ใช้บริการพอใจ อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากซึ่งอยู่ในอัตราที่ต่ำมากส่งผลให้มีการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการขอรับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลเมือง/เทศบาลนครเพิ่มขึ้น โดยวัสดุที่จะใช้ในการก่อสร้างส่วนใหญ่ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 93.2 เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ทำให้ความต้องการใช้ปูนซิเมนต์ ทราย อิฐ และหิน สูงขึ้นมาก จึงมีการปรับราคาสูงขึ้น
พื้นที่ขอรับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลเมือง/เทศบาลนคร ปี 2546 ทั้งสิ้น 1,752,774 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.8 จากปีก่อน 1,404,006 ตารางเมตร ซึ่งแยกเป็นการก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยจำนวน 1,016,527 ตารางเมตร (สัดส่วนร้อยละ 58.0) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา รองลงมาเป็น อุดรธานี อุบลราชธานี ขอนแก่น และ สกลนคร ตามลำดับ
พื้นที่ขอรับอนุญาตก่อสร้างเพื่อการพาณิชย์จำนวน 452,042 ตารางเมตร (สัดส่วนร้อยละ 25.8) เพิ่มขึ้นร้อยละ 94.2 เนื่องจากมีการก่อสร้างห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ในจังหวัดร้อยเอ็ดและหนองคาย นอกจากนี้ส่วนใหญ่จะกระจายอยู่ในจังหวัดสกลนคร นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และอุบลราชธานี ตามลำดับ
สำหรับพื้นที่ขอรับอนุญาตก่อสร้างเพื่อบริการได้แก่ หอพัก โรงแรม อาคารเรียนปั๊มน้ำมัน ตลาดสด ร้านอาหาร โรงภาพยนตร์ จำนวน 238,760 ตารางเมตร (สัดส่วนร้อยละ 13.6) เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.9 ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดอุดรธานี รองลงมาเป็นขอนแก่น อุบลราชธานีนครราชสีมา และมหาสารคาม ตามลำดับ
ภาคการก่อสร้าง-อสังหาริมทรัพย์
2545 2546
1. พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้าง 1/ (พันตารางเมตร) 1,404.0 1,752.8
ที่อยู่อาศัย 965.3 1,016.5
พาณิชยกรรม 232.8 452.0
บริการ 153.2 238.8
2. การซื้อขายที่ดิน 2/
จำนวน : ราย 143,075 180,159
มูลค่า : ล้านบาท 27,820.0 40,513.8
ที่มา : 1/ สำนักงานเทศบาลนครและเทศบาลเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2/ กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทยและส่วนบริหารข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย
1.3.2 การซื้อขายที่ดิน
ในปีนี้ ภาวะการซื้อขายที่ดินในภาคฯ มีการซื้อขายเพิ่มขึ้นมากจากปีก่อน เนื่องจากมาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐ เช่น การลดอัตราค่าธรรมเนียมการโอนและการจำนองที่ดิน โครงการเพื่อที่อยู่อาศัยในโครงการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ผ่านธนาคารอาคารสงเคราะห์
และธนาคารออมสินก็เริ่มโครงการส่งเสริมการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากซึ่งมีอัตราต่ำมาก ส่งผลให้ประชาชนและผู้ประกอบการนำเงินมาใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งเพื่อให้ทันกับการสิ้นสุดของมาตรการภาคอสังหาริมทรัพย์ในด้านภาษี และอัตราค่าธรรมเนียมการโอน จดจำนอง ในวันที่ 31 ธันวาคม 2546 ส่งผลให้ธุรกรรมด้านการซื้อขายที่ดินเพิ่มสูงขึ้นในปี 2546 แต่คาดว่าจะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2547
ปีนี้การซื้อขายที่ดิน 180,159 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.9 จำนวนเงิน 40,513.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.6 จังหวัดนครราชสีมามีการซื้อขายที่ดินสูงสุด 34,141 ราย เป็นเงิน 10,260.7 ล้านบาท รองลงมาได้แก่ จังหวัดขอนแก่น 19,950 ราย 5,174.3 ล้านบาท และอุดรธานี 14,806 ราย 4,121.9 ล้านบาท
2. ด้านการใช้จ่าย
2.1 การใช้จ่ายภาคเอกชน
ปี 2546 การใช้จ่ายภาคเอกชนในภาคฯ ขยายตัวสูงขึ้นเมื่อพิจารณาจากปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัย 3,692.0 ล้านหน่วย เทียบกับปีก่อน 3,502.7 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ตามการเพิ่มขึ้นของปริมาณที่อยู่อาศัยเป็นสำคัญ จังหวัดที่มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัยสูงสุดในภาค ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา 658.9 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 รองลงมาเป็น ขอนแก่น 370.3 ล้านหน่วย และอุดรธานี 301.3 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 และร้อยละ 5.0 ตามลำดับ
การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ 4,102.1 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนจัดเก็บได้ 3,651.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ ประกอบกับรายได้ของประชาชนเพิ่มขึ้นทั้งในภาคเกษตรกรรม (ตามการปรับเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าเกษตร) และนอกภาคเกษตร รวมทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐเป็นแรงผลักดันให้ประชาชนมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น นอกจากนี้ ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่หันมาชำระภาษีในท้องถิ่นเพิ่มขึ้น รวมทั้งโรงงาน ผลิตเบียร์ สุรา อุปกรณ์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ จังหวัดที่จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้สูงสุดในภาคฯ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น 961.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 รองลงมาเป็นนครราชสีมา 935.7 ล้านบาท และอุบลราชธานี 387.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.1 และร้อยละ 20.0 ตามลำดับ
จากรายงานข้อมูลการจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของสำนักงานขนส่งจังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่า มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ทั้งสิ้น 21,649 คัน เทียบกับปีก่อน 17,310 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.1 รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 39,507 คัน เทียบกับปีก่อน 27,155 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.5 เนื่องจากบริษัทจำหน่ายรถยนต์มีการแข่งขันกันจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย อาทิ อัตราดอกเบี้ยต่ำ เงินดาวน์ต่ำ ระยะเวลาการผ่อนชำระนาน และการยืดระยะเวลาการผ่อนชำระงวดแรก ออกไปอีก 3 เดือน พร้อมทั้งของสมนาคุณ และการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องประกอบกับผู้บริโภค
การใช้จ่ายภาคเอกชน
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2545 2546
ภาษีมูลค่าเพิ่ม(ล้านบาท) 3,651.1 4,102.1
(21.6) (12.4)
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อ 3,502.7 3,692.0
ที่อยู่อาศัย(ล้านหน่วย) (2.3) (5.4)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคล(คัน) 17,310 21,649
(47.0) (25.1)
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล(คัน) 27,155 39,507
(46.5) (45.5)
รถจักรยานยนต์(คัน) 255,333 390,263
(38.5) (52.8)
ที่มา : สำนักงานขนส่งจังหวัด
สำนักงานสรรพากรพื้นที่ ในภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ และกองเศรษฐกิจพลังไฟฟ้า
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็น อัตราการเปลี่ยนแปลง
จากปีก่อน
มีความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย และ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ลดลง รวมทั้งการจัดงานแสดงรถยนต์ในช่วงไตรมาสแรกและไตรมาสสุดท้าย ของปี ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการซื้อรถยนต์ใหม่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการซื้อเพื่อทดแทนรถยนต์คันเก่าที่เสื่อมสภาพแล้ว และการซื้อของผู้บริโภคกลุ่มใหม่
รถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ทั้งสิ้น390,263 คัน เทียบกับปีก่อน 255,333 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.8 เนื่องจากบริษัทจำหน่ายรถจักรยานยนต์ มีการแข่งขันกันจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีการออกรถจักรยานยนต์รุ่นราคาประหยัดเพื่อขยายตลาด อีกทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปเป็นชอบความสะดวกสบายมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์ได้ง่ายขึ้น
สำหรับจังหวัดที่มียอดจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ใหม่สูงสุดในภาคฯ ได้แก่จังหวัดนครราชสีมา มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ 4,541 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.6 รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 7,172 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.2 และรถจักรยานยนต์ 51,833 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.6 รองลงมาเป็นขอนแก่นมีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ 3,383 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.7 รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 5,183 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.2 และรถจักรยานยนต์ 38,193 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.5 และอุบลราชธานีมีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ 1,735 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.6 รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 2,551 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.8 และรถจักรยานยนต์ 35,799 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.1
2.2 การลงทุนภาคเอกชน
มีการขยายตัวอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากมีนักลงทุนให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในภาคฯ มากขึ้น โดยเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจของประเทศโดยภาพรวมมีทิศทางที่ดีขึ้น อีกทั้งนโยบายและมาตรการส่งเสริมการลงทุนจากภาครัฐก็ยังมีการผ่อนคลายเงื่อนไขต่างๆ เพื่อให้นักลงทุนมีความมั่นใจในการประกอบกิจการมากขึ้น ดูจากการเพิ่มขึ้นของ ยอดการจดทะเบียนตั้งใหม่ โครงการที่ได้รับอนุมัติการ ส่งเสริมการลงทุน การประกอบกิจการโรงงานใหม่ซึ่งมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่หลายโครงการ อีกทั้งภาคธุรกิจและโรงงานอุตสาหกรรมมีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น รวมถึงภาคการก่อสร้าง โดยเฉพาะการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ ซึ่งเริ่มมีบ้างแล้ว หลังจากที่ได้หยุดการก่อสร้างไปเป็นเวลาหลายปี
ประเภทของการลงทุนทั้งการประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรม การจดทะเบียนธุรกิจ ส่วนใหญ่จะเป็นหมวดการเกษตรและการแปรรูป หมวดการก่อสร้าง หมวดอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป และกิจการค้าส่ง-ค้าปลีก
โดยมีรายละเอียดพอสังเขป ดังนี้
2.2.1 การประกอบกิจการใหม่
การลงทุนด้านอุตสาหกรรมในภาคฯ ยังขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมเกษตร อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อส่งไปยังโรงงานผลิตรถยนต์ที่นิคมอุตสาหกรรมที่ ภาคตะวันออก อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม
ประเภทของโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งมีเงินลงทุนรวม 10 ล้านบาทขึ้นไป ที่ขอประกอบกิจการใหม่ที่น่าสนใจในปีนี้ ดังนี้
1. โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ เช่น ลูกสูบรถยนต์ ที่จังหวัดนครราชสีมาเงินลงทุน 427 ล้านบาท การจ้างงาน 166 คน
2. โรงงานผลิต ส่งและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า ที่จังหวัดบุรีรัมย์ เงินลงทุน 265 ล้านบาท การจ้างงาน 24 คน
3. โรงงานผลิตกระสอบ พลาสติกสาน ที่จังหวัดสุรินทร์ เงินลงทุน 32 ล้านบาท การจ้างงาน 64 คน
4. โรงสีข้าวชนิดแยกแกลบ รำ ที่จังหวัดอุดรธานี เงินลงทุน 122 ล้านบาท การจ้างงาน 9 คน
5. โรงงานผลิตน้ำยางข้นชนิด 60% สกิมล็อค สกิมเครพ ที่จังหวัดสุรินทร์ เงินลงทุน 11.5 ล้านบาท การจ้างงาน 60 คน
6. โรงงานแปรรูปไม้โดยใช้เครื่องจักร เพื่อผลิตชิ้นไม้สับ ที่จังหวัดศรีสะเกษเงินลงทุน 38 ล้านบาท การจ้างงาน 25 คน
7. โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป ที่จังหวัดยโสธร เงินลงทุน 335 ล้านบาท การจ้างงาน 1,330 คน
8. โรงงานผลิตแผ่นบันทึกข้อมูลคอมพิวเตอร์ เช่นแผ่นซีดี ที่จังหวัดนครราชสีมาเงินลงทุน 25 ล้านบาท การจ้างงาน 5 คน
9. โรงงานผลิตและจำหน่ายเครื่องสูบของเหลว เครื่องตัดหญ้า ที่จังหวัดนครราชสีมาเงินลงทุน 336 ล้านบาท เงินลงทุน 336 ล้านบาท การจ้างงาน 28 คน
10. โรงงานผลิตชิ้นส่วนสุขภัณฑ์จากโลหะ ที่จังหวัดนครราชสีมา เงินลงทุน 10.5 ล้านบาท การจ้างงาน 36 คน
11. โรงงานผลิตเมล็ดทานตะวันอบเกลือ ที่จังหวัดนครพนม เงินลงทุน 24 ล้านบาท การจ้างงาน 25 คน
12. โรงงานทอเสื้อไหมพรมส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ที่จังหวัดชัยภูมิเงินลงทุน 113.3 ล้านบาท การจ้างงาน 2,035 คน
13. โรงงานผลิตทองคำรูปพรรณ และเครื่องประดับอัญมณี ที่จังหวัดขอนแก่นงินลงทุน 20 ล้านบาท การจ้างงาน 19 คน
2.2.2 การจดทะเบียนธุรกิจ
การจดทะเบียนธุรกิจตั้งใหม่
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2545 2546
บริษัทจำกัด
ราย 588 742
(4.4) (26.2)
เงินลงทุน : ล้านบาท 1,836.4 2,625.7
(27.3) (43.0)
ห้างหุ้นส่วนจำกัด
ราย 1,978 2,411
(17.0) (22.0)
เงินทุน : ล้านบาท 3,101.1 2,813.7
(11.5) (-9.3)
ที่มา : สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็น อัตราการเปลี่ยนแปลง
จากปีก่อน
ปี 2546 มีผู้ประกอบการรายใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาจากการจดทะเบียนธุรกิจประกอบกิจการใหม่ ได้แก่ การจดทะเบียนบริษัทจำกัดห้างหุ้นส่วนจำกัด รวมถึงการจดทะเบียนพาณิชย์ เนื่องจากผู้ประกอบการเริ่มมั่นใจในภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศดีขึ้น รวมถึงผลจากการที่รัฐบาลได้ให้การสนับสนุน สินค้าชุมชนต่าง ๆ ในโครงการ1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ ประชาชนจึงหันมาลงทุนทำธุรกิจกันมากขึ้น โดยธุรกิจที่มีการจดทะเบียนธุรกิจตั้งใหม่มากที่สุดจะอยู่ในหมวดค้าปลีก-ค้าส่ง หมวดการก่อสร้าง และหมวดธุรกิจด้านการเกษตร
ในปีนี้มีการจดทะเบียนบริษัทจำกัดจำนวน 742 ราย เงินทุน 2,625.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 26.2 และร้อยละ 43.0 ตามลำดับ ส่วนใหญ่ประกอบกิจการขายส่ง ขายปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ภัตตาคารและโรงแรม ได้แก่ กิจการจำหน่ายวัสดุก่อสร้างกิจการรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งสอดคล้องกับการเติบโตของภาคการก่อสร้างซึ่งมีการขยายตัวอย่างเห็นได้ชัดในปีนี้ หมวดการผลิต ได้แก่ กิจการด้านอุตสาหกรรม เช่น โรงสีข้าว กิจการผลิตเครื่องจักรกลทางการเกษตร เป็นต้น
(ยังมีต่อ)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ส่วนใหญ่จะเป็นการผลิตหินเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง แร่ที่สามารถผลิตได้เป็นจำนวนมากได้แก่ หินปูน ซึ่งปีนี้ผลิตได้ 8,060,170 ตัน เนื่องจากภาคการก่อสร้างมีการขยายตัวทั้งการก่อสร้างภาครัฐ และภาคเอกชน จึงทำให้ความต้องการวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นมาก มีการผลิตในจังหวัด ขอนแก่น นครราชสีมา เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี และชัยภูมิ หินบะซอลต์ ใช้ในการก่อสร้าง ปีนี้มีการผลิต 8,202,653 ตัน ในจังหวัด สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา และศรีสะเกษ นอกจากนั้นยังมีแร่อื่นๆในปริมาณไม่มาก ไม่ว่าจะเป็น ลิกไนต์ หินอ่อน แคลไซต์ ดินขาวและหินทราย
เมื่อดูการผลิตแร่ ตามแหล่งแร่ที่สำคัญในภาค ดังนี้
การผลิตแร่ (ตัน)
ชนิดแร่ 2545 2546
จังหวัดนครราชสีมา
เกลือหิน 871,111.0 892,243.0
(0.1) (2.4)
หินปูนก่อสร้าง 1,951,903.1 2230,539.0
(31.1) (14.3)
หินบะซอลต์ 321,314.0 504,016.0
(113.0) (56.8)
จังหวัดเลย
หินปูนก่อสร้าง 2,323,173.6 1,613,009.0
(-61.0) (-30.6)
เหล็ก 1,900.0 10,200.0
(-) (-14.3)
แบไรต์ 8,576.2 9,070
(21.1) (5.7)
ที่มา : กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
กระทรวงอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็น อัตราการเปลี่ยนแปลง
จากปีก่อน
แหล่งแร่ที่จังหวัดนครราชสีมา : การผลิตเกลือหิน เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรม ปีนี้ สามารถผลิตได้ 892,243 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.4 หินปูนก่อสร้าง ปีนี้ผลิตได้ 2,230,539 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 14.3 เพราะการก่อสร้างทั้งภาครัฐและภาคเอกชนขยายตัวสูงหินบะซอลต์ ซึ่งใช้ในการก่อสร้างผลิตได้ 504,016 ตัน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 56.8
แหล่งแร่ที่จังหวัดเลย: ปีนี้มีการผลิตแร่ลดลง เนื่องจากปริมาณแร่สำรองลดลง โดยหินปูนผลิตได้ 1,613,009 ตัน ลดลงร้อยละ 30.6แร่เหล็กผลิตได้ 10,200 ตัน ลดลงร้อยละ 14.3 ส่วนแร่แบไรต์ผลิตได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เป็น 9,070 ตัน
แหล่งแร่โปแตสที่จังหวัดอุดรธานี : โครงการเหมืองแร่โปแตสซึ่งเป็นโครงการร่วมทุนระหว่างรัฐบาลไทยกับ บริษัท เอเชีย แปซิฟิค โปแตส คอร์ปอเรชั่นจำกัด บริษัทฯได้รับอาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่โปแตสในจังหวัดอุดรธานี ซึ่งพบว่ามีแร่โปแตสคุณภาพสูง มีส่วนประกอบของธาตุโปแตสเซียมในปริมาณมาก สามารถนำมาผลิตปุ๋ยได้ ดังนั้นบริษัท ฯ จึงวางแผนที่จะทำเหมือง ผลิตและส่งแร่โปแตสออกจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในปี 2546 ที่ผ่านมาบริษัทได้ขอประทานบัตรจากรัฐบาลแล้ว เมื่ออนุมัติจึงจะทำการก่อสร้างเหมืองใต้ดิน โรงแยกแร่ต่อไป คาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 2 ปี จึงจะสามารถจำหน่ายปุ๋ยให้ตลาดในประเทศ และตลาดต่างประเทศซึ่งได้แก่ จีน และเวียดนาม ต่อไป คาดว่าในช่วงของการก่อสร้างดังกล่าว จะจ้างแรงงานไทยประมาณ 1,000 คน
ในระยะเริ่มโครงการจะมีอัตราการผลิตโปแตส 1 ล้านตันต่อปี และภาครัฐจะได้รับ ค่าภาคหลวงในอัตราร้อยละ 7 ของราคาแร่โปแตสหน้าเหมือง นอกจากนี้ ยังมีการจ้างงาน การจัดหาวัสดุต่าง ๆ และการส่งออก คาดว่าแร่โปแตสส่วนหนึ่งจะถูกใช้เพื่อการผลิตปุ๋ยภายในประเทศ ซึ่งจะ ทำให้สามารถลดการนำเข้าปุ๋ยโปแตสเซียมจากต่างประเทศได้ด้วย
แหล่งแร่โปแตสที่จังหวัดชัยภูมิ : โครงการเหมืองแร่โปแตสอาเซียน ได้ดำเนินการก่อสร้างเหมืองใต้ดิน โดยก่อสร้างอุโมงค์ในแนวลาดเอียงที่1 ที่ใช้ในการขนถ่ายอุปกรณ์การทำเหมืองและระบายอากาศ โดยเจาะผ่านชั้นเกลือเข้าถึงชั้นแร่โปแตสถึงระดับความลึก 180 เมตรจากผิวดินเสร็จแล้ว
ขณะนี้ โครงการอยู่ในระหว่างการคัดเลือกผู้ร่วมลงทุนรายใหม่ คาดว่าสามารถสรุปผลได้ประมาณกลางปี 2547 เมื่อได้ผู้ร่วมลงทุนแล้ว จะเริ่มการก่อสร้างโรงงานผลิตปุ๋ยโปแตสเซียมในปี 2548 ซึ่งจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 3 ปี พร้อมไปกับการเจาะปล่องอุโมงค์ในแนวลาดเอียง ที่ 2 ซึ่งเป็นปล่องอุโมงค์ซึ่งใช้ในการขนส่งแร่โปแตสขึ้นสู่ผิวดินเป็นเส้นทางเชื่อมต่อการขนถ่ายแร่โปแตสเซียมเข้าสู่โรงงานผลิตปุ๋ยโปแตสเซียม ตลอดจนติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ และพร้อมที่จะผลิตปุ๋ยโปแตสเซียมออกจำหน่ายได้ประมาณปลายปี 2551
1.3 ภาคอสังหาริมทรัพย์
1.3.1 การก่อสร้าง
การก่อสร้างในภาคตะวันออกเฉียงเหนือขยายตัวขึ้นมาก เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนหลายด้านทั้งจากภาครัฐ เช่น มาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สวัสดิการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ซึ่งให้สินเชื่อโดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ ซึ่งจะสิ้นสุดระยะเวลายื่นคำขอกู้ในวันที่ 30 เมษายน 2547 ธนาคารออมสินเริ่มโครงการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยอัตราดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งแข่งขันกันให้บริการโดยมีระยะเวลาของอัตราดอกเบี้ยคงที่ ระยะเวลาของอัตราดอกเบี้ยลอยตัวตามที่ผู้ใช้บริการพอใจ อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากซึ่งอยู่ในอัตราที่ต่ำมากส่งผลให้มีการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการขอรับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลเมือง/เทศบาลนครเพิ่มขึ้น โดยวัสดุที่จะใช้ในการก่อสร้างส่วนใหญ่ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 93.2 เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ทำให้ความต้องการใช้ปูนซิเมนต์ ทราย อิฐ และหิน สูงขึ้นมาก จึงมีการปรับราคาสูงขึ้น
พื้นที่ขอรับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลเมือง/เทศบาลนคร ปี 2546 ทั้งสิ้น 1,752,774 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.8 จากปีก่อน 1,404,006 ตารางเมตร ซึ่งแยกเป็นการก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยจำนวน 1,016,527 ตารางเมตร (สัดส่วนร้อยละ 58.0) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา รองลงมาเป็น อุดรธานี อุบลราชธานี ขอนแก่น และ สกลนคร ตามลำดับ
พื้นที่ขอรับอนุญาตก่อสร้างเพื่อการพาณิชย์จำนวน 452,042 ตารางเมตร (สัดส่วนร้อยละ 25.8) เพิ่มขึ้นร้อยละ 94.2 เนื่องจากมีการก่อสร้างห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ในจังหวัดร้อยเอ็ดและหนองคาย นอกจากนี้ส่วนใหญ่จะกระจายอยู่ในจังหวัดสกลนคร นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และอุบลราชธานี ตามลำดับ
สำหรับพื้นที่ขอรับอนุญาตก่อสร้างเพื่อบริการได้แก่ หอพัก โรงแรม อาคารเรียนปั๊มน้ำมัน ตลาดสด ร้านอาหาร โรงภาพยนตร์ จำนวน 238,760 ตารางเมตร (สัดส่วนร้อยละ 13.6) เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.9 ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดอุดรธานี รองลงมาเป็นขอนแก่น อุบลราชธานีนครราชสีมา และมหาสารคาม ตามลำดับ
ภาคการก่อสร้าง-อสังหาริมทรัพย์
2545 2546
1. พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้าง 1/ (พันตารางเมตร) 1,404.0 1,752.8
ที่อยู่อาศัย 965.3 1,016.5
พาณิชยกรรม 232.8 452.0
บริการ 153.2 238.8
2. การซื้อขายที่ดิน 2/
จำนวน : ราย 143,075 180,159
มูลค่า : ล้านบาท 27,820.0 40,513.8
ที่มา : 1/ สำนักงานเทศบาลนครและเทศบาลเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2/ กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทยและส่วนบริหารข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย
1.3.2 การซื้อขายที่ดิน
ในปีนี้ ภาวะการซื้อขายที่ดินในภาคฯ มีการซื้อขายเพิ่มขึ้นมากจากปีก่อน เนื่องจากมาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐ เช่น การลดอัตราค่าธรรมเนียมการโอนและการจำนองที่ดิน โครงการเพื่อที่อยู่อาศัยในโครงการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ผ่านธนาคารอาคารสงเคราะห์
และธนาคารออมสินก็เริ่มโครงการส่งเสริมการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากซึ่งมีอัตราต่ำมาก ส่งผลให้ประชาชนและผู้ประกอบการนำเงินมาใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งเพื่อให้ทันกับการสิ้นสุดของมาตรการภาคอสังหาริมทรัพย์ในด้านภาษี และอัตราค่าธรรมเนียมการโอน จดจำนอง ในวันที่ 31 ธันวาคม 2546 ส่งผลให้ธุรกรรมด้านการซื้อขายที่ดินเพิ่มสูงขึ้นในปี 2546 แต่คาดว่าจะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2547
ปีนี้การซื้อขายที่ดิน 180,159 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.9 จำนวนเงิน 40,513.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.6 จังหวัดนครราชสีมามีการซื้อขายที่ดินสูงสุด 34,141 ราย เป็นเงิน 10,260.7 ล้านบาท รองลงมาได้แก่ จังหวัดขอนแก่น 19,950 ราย 5,174.3 ล้านบาท และอุดรธานี 14,806 ราย 4,121.9 ล้านบาท
2. ด้านการใช้จ่าย
2.1 การใช้จ่ายภาคเอกชน
ปี 2546 การใช้จ่ายภาคเอกชนในภาคฯ ขยายตัวสูงขึ้นเมื่อพิจารณาจากปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัย 3,692.0 ล้านหน่วย เทียบกับปีก่อน 3,502.7 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ตามการเพิ่มขึ้นของปริมาณที่อยู่อาศัยเป็นสำคัญ จังหวัดที่มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัยสูงสุดในภาค ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา 658.9 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 รองลงมาเป็น ขอนแก่น 370.3 ล้านหน่วย และอุดรธานี 301.3 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 และร้อยละ 5.0 ตามลำดับ
การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ 4,102.1 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนจัดเก็บได้ 3,651.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ ประกอบกับรายได้ของประชาชนเพิ่มขึ้นทั้งในภาคเกษตรกรรม (ตามการปรับเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าเกษตร) และนอกภาคเกษตร รวมทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐเป็นแรงผลักดันให้ประชาชนมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น นอกจากนี้ ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่หันมาชำระภาษีในท้องถิ่นเพิ่มขึ้น รวมทั้งโรงงาน ผลิตเบียร์ สุรา อุปกรณ์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ จังหวัดที่จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้สูงสุดในภาคฯ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น 961.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 รองลงมาเป็นนครราชสีมา 935.7 ล้านบาท และอุบลราชธานี 387.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.1 และร้อยละ 20.0 ตามลำดับ
จากรายงานข้อมูลการจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของสำนักงานขนส่งจังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่า มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ทั้งสิ้น 21,649 คัน เทียบกับปีก่อน 17,310 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.1 รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 39,507 คัน เทียบกับปีก่อน 27,155 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.5 เนื่องจากบริษัทจำหน่ายรถยนต์มีการแข่งขันกันจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย อาทิ อัตราดอกเบี้ยต่ำ เงินดาวน์ต่ำ ระยะเวลาการผ่อนชำระนาน และการยืดระยะเวลาการผ่อนชำระงวดแรก ออกไปอีก 3 เดือน พร้อมทั้งของสมนาคุณ และการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องประกอบกับผู้บริโภค
การใช้จ่ายภาคเอกชน
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2545 2546
ภาษีมูลค่าเพิ่ม(ล้านบาท) 3,651.1 4,102.1
(21.6) (12.4)
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อ 3,502.7 3,692.0
ที่อยู่อาศัย(ล้านหน่วย) (2.3) (5.4)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคล(คัน) 17,310 21,649
(47.0) (25.1)
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล(คัน) 27,155 39,507
(46.5) (45.5)
รถจักรยานยนต์(คัน) 255,333 390,263
(38.5) (52.8)
ที่มา : สำนักงานขนส่งจังหวัด
สำนักงานสรรพากรพื้นที่ ในภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ และกองเศรษฐกิจพลังไฟฟ้า
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็น อัตราการเปลี่ยนแปลง
จากปีก่อน
มีความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย และ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ลดลง รวมทั้งการจัดงานแสดงรถยนต์ในช่วงไตรมาสแรกและไตรมาสสุดท้าย ของปี ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการซื้อรถยนต์ใหม่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการซื้อเพื่อทดแทนรถยนต์คันเก่าที่เสื่อมสภาพแล้ว และการซื้อของผู้บริโภคกลุ่มใหม่
รถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ทั้งสิ้น390,263 คัน เทียบกับปีก่อน 255,333 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.8 เนื่องจากบริษัทจำหน่ายรถจักรยานยนต์ มีการแข่งขันกันจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีการออกรถจักรยานยนต์รุ่นราคาประหยัดเพื่อขยายตลาด อีกทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปเป็นชอบความสะดวกสบายมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์ได้ง่ายขึ้น
สำหรับจังหวัดที่มียอดจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ใหม่สูงสุดในภาคฯ ได้แก่จังหวัดนครราชสีมา มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ 4,541 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.6 รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 7,172 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.2 และรถจักรยานยนต์ 51,833 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.6 รองลงมาเป็นขอนแก่นมีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ 3,383 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.7 รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 5,183 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.2 และรถจักรยานยนต์ 38,193 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.5 และอุบลราชธานีมีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ 1,735 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.6 รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 2,551 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.8 และรถจักรยานยนต์ 35,799 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.1
2.2 การลงทุนภาคเอกชน
มีการขยายตัวอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากมีนักลงทุนให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในภาคฯ มากขึ้น โดยเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจของประเทศโดยภาพรวมมีทิศทางที่ดีขึ้น อีกทั้งนโยบายและมาตรการส่งเสริมการลงทุนจากภาครัฐก็ยังมีการผ่อนคลายเงื่อนไขต่างๆ เพื่อให้นักลงทุนมีความมั่นใจในการประกอบกิจการมากขึ้น ดูจากการเพิ่มขึ้นของ ยอดการจดทะเบียนตั้งใหม่ โครงการที่ได้รับอนุมัติการ ส่งเสริมการลงทุน การประกอบกิจการโรงงานใหม่ซึ่งมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่หลายโครงการ อีกทั้งภาคธุรกิจและโรงงานอุตสาหกรรมมีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น รวมถึงภาคการก่อสร้าง โดยเฉพาะการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ ซึ่งเริ่มมีบ้างแล้ว หลังจากที่ได้หยุดการก่อสร้างไปเป็นเวลาหลายปี
ประเภทของการลงทุนทั้งการประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรม การจดทะเบียนธุรกิจ ส่วนใหญ่จะเป็นหมวดการเกษตรและการแปรรูป หมวดการก่อสร้าง หมวดอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป และกิจการค้าส่ง-ค้าปลีก
โดยมีรายละเอียดพอสังเขป ดังนี้
2.2.1 การประกอบกิจการใหม่
การลงทุนด้านอุตสาหกรรมในภาคฯ ยังขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมเกษตร อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อส่งไปยังโรงงานผลิตรถยนต์ที่นิคมอุตสาหกรรมที่ ภาคตะวันออก อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม
ประเภทของโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งมีเงินลงทุนรวม 10 ล้านบาทขึ้นไป ที่ขอประกอบกิจการใหม่ที่น่าสนใจในปีนี้ ดังนี้
1. โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ เช่น ลูกสูบรถยนต์ ที่จังหวัดนครราชสีมาเงินลงทุน 427 ล้านบาท การจ้างงาน 166 คน
2. โรงงานผลิต ส่งและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า ที่จังหวัดบุรีรัมย์ เงินลงทุน 265 ล้านบาท การจ้างงาน 24 คน
3. โรงงานผลิตกระสอบ พลาสติกสาน ที่จังหวัดสุรินทร์ เงินลงทุน 32 ล้านบาท การจ้างงาน 64 คน
4. โรงสีข้าวชนิดแยกแกลบ รำ ที่จังหวัดอุดรธานี เงินลงทุน 122 ล้านบาท การจ้างงาน 9 คน
5. โรงงานผลิตน้ำยางข้นชนิด 60% สกิมล็อค สกิมเครพ ที่จังหวัดสุรินทร์ เงินลงทุน 11.5 ล้านบาท การจ้างงาน 60 คน
6. โรงงานแปรรูปไม้โดยใช้เครื่องจักร เพื่อผลิตชิ้นไม้สับ ที่จังหวัดศรีสะเกษเงินลงทุน 38 ล้านบาท การจ้างงาน 25 คน
7. โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป ที่จังหวัดยโสธร เงินลงทุน 335 ล้านบาท การจ้างงาน 1,330 คน
8. โรงงานผลิตแผ่นบันทึกข้อมูลคอมพิวเตอร์ เช่นแผ่นซีดี ที่จังหวัดนครราชสีมาเงินลงทุน 25 ล้านบาท การจ้างงาน 5 คน
9. โรงงานผลิตและจำหน่ายเครื่องสูบของเหลว เครื่องตัดหญ้า ที่จังหวัดนครราชสีมาเงินลงทุน 336 ล้านบาท เงินลงทุน 336 ล้านบาท การจ้างงาน 28 คน
10. โรงงานผลิตชิ้นส่วนสุขภัณฑ์จากโลหะ ที่จังหวัดนครราชสีมา เงินลงทุน 10.5 ล้านบาท การจ้างงาน 36 คน
11. โรงงานผลิตเมล็ดทานตะวันอบเกลือ ที่จังหวัดนครพนม เงินลงทุน 24 ล้านบาท การจ้างงาน 25 คน
12. โรงงานทอเสื้อไหมพรมส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ที่จังหวัดชัยภูมิเงินลงทุน 113.3 ล้านบาท การจ้างงาน 2,035 คน
13. โรงงานผลิตทองคำรูปพรรณ และเครื่องประดับอัญมณี ที่จังหวัดขอนแก่นงินลงทุน 20 ล้านบาท การจ้างงาน 19 คน
2.2.2 การจดทะเบียนธุรกิจ
การจดทะเบียนธุรกิจตั้งใหม่
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2545 2546
บริษัทจำกัด
ราย 588 742
(4.4) (26.2)
เงินลงทุน : ล้านบาท 1,836.4 2,625.7
(27.3) (43.0)
ห้างหุ้นส่วนจำกัด
ราย 1,978 2,411
(17.0) (22.0)
เงินทุน : ล้านบาท 3,101.1 2,813.7
(11.5) (-9.3)
ที่มา : สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็น อัตราการเปลี่ยนแปลง
จากปีก่อน
ปี 2546 มีผู้ประกอบการรายใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาจากการจดทะเบียนธุรกิจประกอบกิจการใหม่ ได้แก่ การจดทะเบียนบริษัทจำกัดห้างหุ้นส่วนจำกัด รวมถึงการจดทะเบียนพาณิชย์ เนื่องจากผู้ประกอบการเริ่มมั่นใจในภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศดีขึ้น รวมถึงผลจากการที่รัฐบาลได้ให้การสนับสนุน สินค้าชุมชนต่าง ๆ ในโครงการ1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ ประชาชนจึงหันมาลงทุนทำธุรกิจกันมากขึ้น โดยธุรกิจที่มีการจดทะเบียนธุรกิจตั้งใหม่มากที่สุดจะอยู่ในหมวดค้าปลีก-ค้าส่ง หมวดการก่อสร้าง และหมวดธุรกิจด้านการเกษตร
ในปีนี้มีการจดทะเบียนบริษัทจำกัดจำนวน 742 ราย เงินทุน 2,625.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 26.2 และร้อยละ 43.0 ตามลำดับ ส่วนใหญ่ประกอบกิจการขายส่ง ขายปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ภัตตาคารและโรงแรม ได้แก่ กิจการจำหน่ายวัสดุก่อสร้างกิจการรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งสอดคล้องกับการเติบโตของภาคการก่อสร้างซึ่งมีการขยายตัวอย่างเห็นได้ชัดในปีนี้ หมวดการผลิต ได้แก่ กิจการด้านอุตสาหกรรม เช่น โรงสีข้าว กิจการผลิตเครื่องจักรกลทางการเกษตร เป็นต้น
(ยังมีต่อ)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-