แท็ก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัดอุบลราชธานี
จังหวัดนครราชสีมา
จังหวัดขอนแก่น
ภาวะเศรษฐกิจ
อุดรธานี
จังหวัดที่มีการจดทะเบียนบริษัทจำกัด สูงสุดในภาค ได้แก่จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 212 ราย เงินทุน 1,259.0 ล้านบาท รองลงมาเป็นจังหวัดขอนแก่น 119 ราย เงินทุน 434.7 ล้านบาท จังหวัดอุบลราชธานี 42 ราย เงินทุน 159.2 ล้านบาท และจังหวัดอุดรธานี 75 ราย เงินทุน 138.5 ล้านบาท
สำหรับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดมีจำนวน 2,411 ราย เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 22.0 แต่เงินทุน 2,813.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.3 เนื่องจากในปีนี้ ห้างหุ้นส่วนจำกัดมีขนาดเงินทุนลดลง ส่วนใหญ่เป็น ห้างหุ้นส่วนจำกัด ในหมวด การขายส่ง ขายปลีก ภัตตาคารและโรงแรม ได้แก่ กิจการจำหน่าย ผลิตภัณฑ์เกษตรและอุปกรณ์ทางการเกษตร กิจการจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้ากิจการจำหน่ายสุราชุมชน
จังหวัดที่มีการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด สูงสุดเรียงตามลำดับ ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา 433 ราย เงินทุน 423.7 ล้านบาท จังหวัดขอนแก่น 289 ราย เงินทุน 279.7 ล้านบาท จังหวัดอุดรธานี 207 ราย เงินทุน 275.3 ล้านบาท และจังหวัดอุบลราชธานี 183 ราย เงินทุน 312.0 ล้านบาท
และการจดทะเบียนพาณิชย์สำหรับกิจการการค้าขนาดเล็กนั้นมีจำนวน 9,544 ราย เงินทุน 1,862.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 30.0 และร้อยละ 80.0 ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นกิจการจำหน่ายอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ ร้านจำหน่ายอาหาร ร้านจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า ร้านให้บริการอินเตอร์เน็ต ฯลฯ
สำหรับการจดทะเบียนเลิกกิจการมีจำนวน 2,819 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 เงินทุน 2,893.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.6 ส่วนใหญ่เป็หมวดการขายส่ง ขายปลีก ภัตตาคารและโรงแรม 1,791 ราย เงินทุน 898.2 ล้านบาท อันดับสองได้แก่หมวดการก่อสร้าง 541 ราย เงินทุน 1,163.2 ล้านบาท
เมื่อแยกตามประเภทธุรกิจพบว่า บริษัทจำกัดมีการเลิกกิจการจำนวน 295 ราย เงินทุน 681.9 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 4.8 และร้อยละ 2.0 จังหวัดที่มีบริษัทจำกัดเลิกกิจการมากที่สุดเรียงตามลำดับได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา 52 ราย 144.7 ล้านบาท ขอนแก่น 49 ราย เงินทุน 89.7 ล้านบาท อุดรธานี 33 ราย เงินทุน 89.5 ล้านบาท ในส่วนห้างหุ้นส่วนจำกัด มีการเลิกกิจการจำนวน 1,293 ราย เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 8.0 แต่เงินทุน 2,025.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.7 จังหวัดที่มีห้างหุ้นส่วนจำกัดเลิกกิจการมากที่สุดเรียงตามลำดับได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา 165 ราย เงินทุน 217.0 ล้านบาท ขอนแก่น 133 ราย เงินทุน 220.5 ล้านบาท อุบลราชธานี 117 ราย เงินทุน 284.9 ล้านบาท
คาดว่าปีหน้าการจดทะเบียนเลิกกิจการจะมีจำนวนลดลง ทั้งนี้เป็นผลจากการที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้มีข้อบังคับให้นิติบุคคลจดทะเบียนต้องส่งงบการเงินทุกปี หากไม่ส่งมีโทษปรับสูงสุด 50,000 บาท รวมถึงปรับคณะกรรมการบริษัทอีกไม่เกิน 50,000 บาท ซึ่งหากแจ้งแล้วยังไม่มาเสียค่าปรับจะส่งเรื่องต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ดำเนินคดี และการขอกลับมาดำเนินธุรกิจใหม่ต้องไปยื่นเรื่องขอต่อศาล จากความเข้มงวดดังกล่าว ทำให้ปีนี้มีผู้มาจดทะเบียนเลิกกิจการเพิ่มขึ้นมาก ประกอบกับแนวโน้มของภาวะเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงขาขึ้น ทำให้มีนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งแล้วไม่ดำเนินธุรกิจและหลบเลี่ยงจะมีจำนวนลดลง
2.2.3 การส่งเสริมการลงทุน
การส่งเสริมการลงทุน
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2545 2546
โครงการที่ได้รับอนุมัติ : ราย 45 61
(-4.3) (36.0)
เงินลงทุน : ล้านบาท 16,116.0 10,081
(166.0) (-37.5)
การจ้างงาน : คน 24,460 18,559
(80.0) (-24.1)
ที่มา : ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็น อัตราการเปลี่ยนแปลง
จากปีก่อน
จากรายงานของศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชี้ให้เห็นว่า ภาวะการลงทุนในภาคฯ ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ดูจากมีนักลงทุนมา ยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุน และอยู่ระหว่างการพิจารณาอีกหลายโครงการ โดยมีโครงการที่มีขนาดใหญ่มูลค่าเงินลงทุนสูงหลายโครงการ มีโครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยเงินลงทุนส่วนใหญ่กระจายสู่หลายโครงการมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 35 เนื่องจากนโยบายของภาครัฐที่ส่งเสริมSMEs และผู้ประกอบการ รายใหม่
มีโครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมจำนวน 61 โครงการ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 36 แต่เงินลงทุน 10,081 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 38 เนื่องจากมีโครงการขนาดใหญ่หลาย โครงการในปีก่อน คาดว่าจะเกิดการจ้างงาน 18,559 คน ลดลงร้อยละ 24.1
โครงการส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม(เงินลงทุนไม่เกิน 200 ล้านบาท) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 75 ของจำนวนโครงการทั้งหมด ได้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 35 ชี้ให้เห็นว่าผู้ประกอบการในระดับ SMEs มีการลงทุนเพิ่มขึ้นตามนโยบายการส่งเสริม การลงทุนต่างๆของภาครัฐ ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมเกษตรและผลิตผลจากการเกษตร รองลงมาเป็นอุตสาหกรรมเบา และ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ตามลำดับ
การลงทุนในปีนี้ กระจายสู่จังหวัดอื่นๆมากขึ้น ถึงแม้ว่าการลงทุนส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในจังหวัดใหญ่ๆ ของภาคฯ ได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น และอุบลราชธานี จังหวัดนครราชสีมา ยังคงเป็นจังหวัดที่นักลงทุนให้ความสนใจไปลงทุนมากที่สุด เนื่องจากอยู่ในพื้นที่เขตส่งเสริมการลงทุนในเขต 3 เหมือนกัน แต่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ และใกล้ท่าเรือที่แหลมฉบัง โครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการ ลงทุนทั้งสิ้น 25 โครงการ เงินลงทุน 3,836 ล้านบาท การจ้างงาน 6,230 คน โครงการส่วนใหญ่เป็น อุตสาหกรรมเกษตรและผลิตผลจากการเกษตร รองลงมาได้แก่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนยานยนต์ โดยจังหวัดที่มีการลงทุนขยายตัวมากที่สุดได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ มีจำนวน 7 โครงการ เงินลงทุน 1,835 ล้านบาท การจ้างงาน 2,916 คน มากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปซึ่งเป็นไปตามนโยบายของจังหวัดที่มีมุ่งเน้นนโยบายให้จังหวัดเป็นเขตส่งเสริมพิเศษด้าน อุตสาหกรรมสิ่งทอ จึงมีการย้ายโรงงานมาจากภาคกลางมาตั้งโรงงานที่จังหวัด
โครงการลงทุนส่วนใหญ่ เป็นของนักลงทุนไทยทั้งสิ้น ร้อยละ 60 โครงการร่วมทุนระหว่างไทยกับต่างชาติ ร้อยละ 30 ได้แก่ ญี่ปุ่น ฮ่องกง อเมริกา อังกฤษ ปากีสถาน และจีน สำหรับโครงการที่ถือหุ้นโดยต่างชาติทั้งสิ้น ร้อยละ 10 ได้แก่ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ ฮ่องกง ออสเตรเลีย และสวีเดน
ประเภทโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในปีนี้มีรายละเอียดพอสังเขป ดังนี้
หมวดอุตสาหกรรมเกษตรและผลิตผลจากการเกษตร
ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในภาคฯ ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ไก่เนื้อ ไก่ไข่ โคเนื้อ โคนม ผักและผลไม้ ส่วนใหญ่เป็นการแปรรูปอาหารเพื่อการส่งออก โดยในปีนี้ประเภทของ อุตสาหกรรมที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน ส่วนใหญ่เป็นการผลิตข้าวสารคุณภาพดี เพื่อการส่งออก การแปรรูปข้าว มันสำปะหลัง และผลิตภัณฑ์ไก่แช่แข็ง
อุตสาหกรรมในหมวดนี้ ที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุด เรียงตามลำดับได้แก่
- บริษัทไทยง้วน เอทานอลจำกัด จังหวัดขอนแก่น ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังสดเงินลงทุน 660 ล้านบาท การจ้างงาน 150 คน
- บริษัทโคราช โพทรีย์ จำกัด จังหวัดนครราชสีมา ผลิตไก่แช่แข็ง เงินลงทุน 240 ล้านบาท การจ้างงาน 54 คน
- บริษัทโซลาไรซ์ (2002) จำกัด จังหวัดอุบลราชธานี ผลิตข้าวสารคุณภาพดี เงินลงทุน 235 ล้านบาท การจ้างงาน 140 คน
- บริษัทเยนเนอรัล ฟูดส์ โปรดัคส์จำกัด จังหวัดนครราชสีมา ผลิตแป้งข้าวผสมเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารส่งออกไปญี่ปุ่น เงินลงทุน 161 ล้านบาท การจ้างงาน 180 คน
หมวดอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
อุตสาหกรรมในหมวดนี้ เป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมชาวญี่ปุ่น และร่วมทุนกับคนไทย โดยตั้งโรงงานอยู่ที่นครราชสีมา และขอนแก่น
อุตสาหกรรมในหมวดนี้ที่มีมูลค่าเงินลงทุนสูงสุด เรียงตามลำดับ ได้แก่
- บริษัทฟูไน (ไทยแลนด์) จำกัด จังหวัดนครราชสีมา ผลิตโทรทัศน์ เงินลงทุน 700 ล้านบาท การจ้างงาน 931 คน
- บริษัทมัตซูชิตะอิเล็กทริค เวิร์ดส์(ขอนแก่น) จำกัด จังหวัดขอนแก่น ผลิตชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ที่ใช้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เงินลงทุน 1,826.4 ล้านบาท การจ้างงาน 3,833 คน
- บริษัทโซลาร์ตรอน จำกัด จังหวัดนครราชสีมา ผลิตแผงเซลแสงอาทิตย์ เงินลงทุน 90 ล้านบาท การจ้างงาน 61 คน
- บริษัทคุนิมิชึ คาร์บอน (ไทยแลนด์) จำกัด จังหวัดนครราชสีมา ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่ใช้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เงินลงทุน 58 ล้านบาท การจ้างงาน 61 คน
หมวดอุตสาหกรรมเบา
ได้แก่ อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมเด่นของภาคฯ เพราะมีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้ย้ายฐานการผลิตมาตั้งอยู่ในภาคฯ เพื่ออาศัยความได้เปรียบทางด้านแรงงาน
อุตสาหกรรมในหมวดนี้ ที่มีมูลค่าสูงสุดเรียงตามลำดับ ได้แก่
- บริษัทอินฟุส เมดิคัล จำกัด จังหวัดขอนแก่น ผลิตอุปกรณ์การแพทย์ เงินลงทุน 152 ล้านบาท การจ้างงาน 714 คน
- บริษัทเจิดจำรัสไทย-กัมพูชา จำกัด จังหวัดอุบลราชธานี ผลิตเครื่องประดับ/ชิ้นส่วน เงินลงทุน 130.0 ล้านบาท การจ้างงาน 357 คน
- บริษัทอภิโชคไทยวู๊ด จำกัด จังหวัดขอนแก่น ผลิตเฟอร์นิเจอร์จากไม้ยางพารา เงินลงทุน 100 ล้านบาท การจ้างงาน 539 คน
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป
นอกจากนั้นยังมีหมวดอุตสาหกรรมบริการและสาธารณูปโภค โครงการที่น่าสนใจ ได้แก่ โครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าและไอน้ำที่ใช้เชื้อเพลิงจากของเสียหรือวัสดุที่ไม่ใช้งานแล้ว เช่น ของเสียจากโรงงานแป้งมันสำปะหลัง ฟาร์มหมู แกลบ และชานอ้อย รวมมูลค่าเงินลงทุนในโครงการ ดังกล่าวกว่า 1,900 ล้านบาท
หมวดอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ กระดาษ และพลาสติก โครงการที่น่าสนใจ ได้แก่ โครงการผลิตเอทิลแอลกอฮอล์ ผืนผ้ากระสอบพลาสติกทอสาน ฯลฯ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง โครงการที่น่าสนใจได้แก่ โครงการผลิตเหล็กแผ่นเคลือบขึ้นรูป โครงการผลิตชิ้นส่วนโลหะสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น
สำหรับแนวโน้มการลงทุนในปีหน้า จะยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเกษตรและผลิตผลจากการเกษตร เนื่องจากมีนักลงทุนให้ความสนใจที่จะแปรรูปวัตถุดิบทางการเกษตรในภาคฯ ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรในภาคมากขึ้น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนยานยนต์ เนื่องจากจะมีการขยายฐานการผลิตมาสู่ภูมิภาคนี้มากขึ้นซึ่งเป็นผลจาก
- ภาวะเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงขาขึ้น
- อัตราค่าจ้างแรงงานที่ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
- โครงการ Outsourcing ให้กับผู้ประกอบการ SMEs เพื่อลดต้นทุนการผลิต
- นโยบายส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมของกระทรวงอุตสาหกรรม
- การกำหนดยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มุ่งจะพัฒนาทางด้านกลุ่มอุตสาหกรรม
2.2.4 การใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปีนี้ เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากภาคธุรกิจ การค้าและโรงงานอุตสาหกรรมต่างมีการดำเนินกิจการกันเพิ่มขึ้น ทั้งเกิดจาก มีการประกอบกิจการใหม่ทั้ง บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ธุรกิจร้านค้าต่างๆ โรงงานอุตสาหกรรม และกิจการเดิมมีการขยายการดำเนินงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งมีการขยายการลงทุน และเพิ่มกำลังการผลิต
ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมมีการใช้ไฟฟ้า 4,349.0 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 8.8 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของธุรกิจและอุตสาหกรรมทุกขนาดดังนี้ ธุรกิจขนาดเล็ก 1,048.2 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 7.0 ธุรกิจขนาดกลาง 1,302.9 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 และธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรม มีการใช้ไฟฟ้า 1,855.5 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7
การใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมมากที่สุดในภาคฯ ส่วนใหญ่จะอยู่ใน 4 จังหวัดหลักของภาคฯ ได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และอุบลราชธานี ซึ่งทั้ง 4 จังหวัดนี้มีสัดส่วนปริมาณการใช้ไฟฟ้าคิดเป็นร้อยละ 68.0 ของทั้งหมดในภาคฯ เนื่องจากมีบริษัท ห้างร้าน และ โรงงานอุตสาหกรรม ตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก
2.3 การคลังรัฐบาล
ปี 2546 รายได้รัฐบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดเก็บได้ 17,765.2 ล้านบาท เทียบจากปีก่อน 15,408.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นทั้งจากฐานรายได้ (ยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก) และฐานการบริโภคของประชาชน ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ดีขึ้นเป็นลำดับ และการใช้จ่ายของประชาชนที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการ จัดเก็บรายได้ของภาครัฐ ได้แก่ การให้บริการยื่นแบบชำระภาษีผ่านระบบ internet และการมีระบบกำกับดูแลผู้เสียภาษี ทำให้ผู้เสียภาษีสมัครใจเข้าสู่ระบบภาษีมากขึ้น
ภาษีที่จัดเก็บจากฐานรายได้ ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ12.9 ผลจากการจัดเก็บภาษีเงินได้จากเงินเดือน ค่าจ้างแรงงาน เงินปันผล เงินค่าตอบแทนพิเศษ และภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ (โดยเฉพาะที่ดิน) เพิ่มขึ้น และภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 ตามผลการประกอบการที่ดีขึ้นของภาคธุรกิจ ขณะที่ภาษีดอกเบี้ยเงินฝากลดลงร้อยละ 2.9 ตามการลดลงของอัตราดอกเบี้ย แต่เป็นการลดลงในอัตราที่ชะลอตัวลง เนื่องจากปีนี้มีการจัดเก็บภาษีจากดอกเบี้ยพันธบัตรออมทรัพย์ช่วยชาติ
สำหรับภาษีที่จัดเก็บจากฐานการบริโภค ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 เป็นผลจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของรายได้ของประชาชนทั้งในภาคเกษตรกรรม (ตามการปรับเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าเกษตร) และนอกภาคเกษตร รวมทั้ง มาตรการภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานราก เป็นแรงผลักดันให้ประชาชนมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น นอกจากนี้ ห้างสรรพสินค้ารายใหญ่หันมาชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในท้องถิ่นเพิ่มขึ้น อีกทั้งโรงงานผลิตเบียร์ สุรา อุปกรณ์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้น และภาษีสุราเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 26.2 ส่วนใหญ่เป็นการจัดเก็บภาษีจากโรงงานเบียร์เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ในปีนี้สุราแช่พื้นเมือง สุราผลไม้ และสุรากลั่นชุมชน ได้รับความนิยมจากตลาดมากขึ้น จึงเป็นปัจจัยเสริมให้การจัดเก็บภาษีสุราเพิ่มขึ้นมาก
ทางด้านรายจ่าย 154,791.6 ล้านบาท เทียบกับปีก่อน 159,058.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.7 เนื่องจากรายจ่ายประจำ 105,692.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.6 และรายจ่ายลงทุน 49,098.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.0 ผลจากการปฏิรูประบบราชการ ประกอบกับการเบิกจ่าย เงินอุดหนุนโครงการถ่ายโอนงาน หรือกิจกรรมการบริการสาธารณะที่ถ่ายโอนให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นล่าช้า อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีงบประมาณ มีการเร่งรัดการเบิกจ่าย งบประมาณเพิ่มขึ้น ทำให้เงินในงบประมาณขาดดุล 137,026.4 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนขาดดุล 143,649.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.6
(ยังมีต่อ)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
สำหรับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดมีจำนวน 2,411 ราย เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 22.0 แต่เงินทุน 2,813.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.3 เนื่องจากในปีนี้ ห้างหุ้นส่วนจำกัดมีขนาดเงินทุนลดลง ส่วนใหญ่เป็น ห้างหุ้นส่วนจำกัด ในหมวด การขายส่ง ขายปลีก ภัตตาคารและโรงแรม ได้แก่ กิจการจำหน่าย ผลิตภัณฑ์เกษตรและอุปกรณ์ทางการเกษตร กิจการจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้ากิจการจำหน่ายสุราชุมชน
จังหวัดที่มีการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด สูงสุดเรียงตามลำดับ ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา 433 ราย เงินทุน 423.7 ล้านบาท จังหวัดขอนแก่น 289 ราย เงินทุน 279.7 ล้านบาท จังหวัดอุดรธานี 207 ราย เงินทุน 275.3 ล้านบาท และจังหวัดอุบลราชธานี 183 ราย เงินทุน 312.0 ล้านบาท
และการจดทะเบียนพาณิชย์สำหรับกิจการการค้าขนาดเล็กนั้นมีจำนวน 9,544 ราย เงินทุน 1,862.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 30.0 และร้อยละ 80.0 ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นกิจการจำหน่ายอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ ร้านจำหน่ายอาหาร ร้านจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า ร้านให้บริการอินเตอร์เน็ต ฯลฯ
สำหรับการจดทะเบียนเลิกกิจการมีจำนวน 2,819 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 เงินทุน 2,893.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.6 ส่วนใหญ่เป็หมวดการขายส่ง ขายปลีก ภัตตาคารและโรงแรม 1,791 ราย เงินทุน 898.2 ล้านบาท อันดับสองได้แก่หมวดการก่อสร้าง 541 ราย เงินทุน 1,163.2 ล้านบาท
เมื่อแยกตามประเภทธุรกิจพบว่า บริษัทจำกัดมีการเลิกกิจการจำนวน 295 ราย เงินทุน 681.9 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 4.8 และร้อยละ 2.0 จังหวัดที่มีบริษัทจำกัดเลิกกิจการมากที่สุดเรียงตามลำดับได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา 52 ราย 144.7 ล้านบาท ขอนแก่น 49 ราย เงินทุน 89.7 ล้านบาท อุดรธานี 33 ราย เงินทุน 89.5 ล้านบาท ในส่วนห้างหุ้นส่วนจำกัด มีการเลิกกิจการจำนวน 1,293 ราย เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 8.0 แต่เงินทุน 2,025.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.7 จังหวัดที่มีห้างหุ้นส่วนจำกัดเลิกกิจการมากที่สุดเรียงตามลำดับได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา 165 ราย เงินทุน 217.0 ล้านบาท ขอนแก่น 133 ราย เงินทุน 220.5 ล้านบาท อุบลราชธานี 117 ราย เงินทุน 284.9 ล้านบาท
คาดว่าปีหน้าการจดทะเบียนเลิกกิจการจะมีจำนวนลดลง ทั้งนี้เป็นผลจากการที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้มีข้อบังคับให้นิติบุคคลจดทะเบียนต้องส่งงบการเงินทุกปี หากไม่ส่งมีโทษปรับสูงสุด 50,000 บาท รวมถึงปรับคณะกรรมการบริษัทอีกไม่เกิน 50,000 บาท ซึ่งหากแจ้งแล้วยังไม่มาเสียค่าปรับจะส่งเรื่องต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ดำเนินคดี และการขอกลับมาดำเนินธุรกิจใหม่ต้องไปยื่นเรื่องขอต่อศาล จากความเข้มงวดดังกล่าว ทำให้ปีนี้มีผู้มาจดทะเบียนเลิกกิจการเพิ่มขึ้นมาก ประกอบกับแนวโน้มของภาวะเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงขาขึ้น ทำให้มีนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งแล้วไม่ดำเนินธุรกิจและหลบเลี่ยงจะมีจำนวนลดลง
2.2.3 การส่งเสริมการลงทุน
การส่งเสริมการลงทุน
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2545 2546
โครงการที่ได้รับอนุมัติ : ราย 45 61
(-4.3) (36.0)
เงินลงทุน : ล้านบาท 16,116.0 10,081
(166.0) (-37.5)
การจ้างงาน : คน 24,460 18,559
(80.0) (-24.1)
ที่มา : ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็น อัตราการเปลี่ยนแปลง
จากปีก่อน
จากรายงานของศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชี้ให้เห็นว่า ภาวะการลงทุนในภาคฯ ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ดูจากมีนักลงทุนมา ยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุน และอยู่ระหว่างการพิจารณาอีกหลายโครงการ โดยมีโครงการที่มีขนาดใหญ่มูลค่าเงินลงทุนสูงหลายโครงการ มีโครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยเงินลงทุนส่วนใหญ่กระจายสู่หลายโครงการมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 35 เนื่องจากนโยบายของภาครัฐที่ส่งเสริมSMEs และผู้ประกอบการ รายใหม่
มีโครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมจำนวน 61 โครงการ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 36 แต่เงินลงทุน 10,081 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 38 เนื่องจากมีโครงการขนาดใหญ่หลาย โครงการในปีก่อน คาดว่าจะเกิดการจ้างงาน 18,559 คน ลดลงร้อยละ 24.1
โครงการส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม(เงินลงทุนไม่เกิน 200 ล้านบาท) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 75 ของจำนวนโครงการทั้งหมด ได้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 35 ชี้ให้เห็นว่าผู้ประกอบการในระดับ SMEs มีการลงทุนเพิ่มขึ้นตามนโยบายการส่งเสริม การลงทุนต่างๆของภาครัฐ ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมเกษตรและผลิตผลจากการเกษตร รองลงมาเป็นอุตสาหกรรมเบา และ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ตามลำดับ
การลงทุนในปีนี้ กระจายสู่จังหวัดอื่นๆมากขึ้น ถึงแม้ว่าการลงทุนส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในจังหวัดใหญ่ๆ ของภาคฯ ได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น และอุบลราชธานี จังหวัดนครราชสีมา ยังคงเป็นจังหวัดที่นักลงทุนให้ความสนใจไปลงทุนมากที่สุด เนื่องจากอยู่ในพื้นที่เขตส่งเสริมการลงทุนในเขต 3 เหมือนกัน แต่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ และใกล้ท่าเรือที่แหลมฉบัง โครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการ ลงทุนทั้งสิ้น 25 โครงการ เงินลงทุน 3,836 ล้านบาท การจ้างงาน 6,230 คน โครงการส่วนใหญ่เป็น อุตสาหกรรมเกษตรและผลิตผลจากการเกษตร รองลงมาได้แก่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนยานยนต์ โดยจังหวัดที่มีการลงทุนขยายตัวมากที่สุดได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ มีจำนวน 7 โครงการ เงินลงทุน 1,835 ล้านบาท การจ้างงาน 2,916 คน มากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปซึ่งเป็นไปตามนโยบายของจังหวัดที่มีมุ่งเน้นนโยบายให้จังหวัดเป็นเขตส่งเสริมพิเศษด้าน อุตสาหกรรมสิ่งทอ จึงมีการย้ายโรงงานมาจากภาคกลางมาตั้งโรงงานที่จังหวัด
โครงการลงทุนส่วนใหญ่ เป็นของนักลงทุนไทยทั้งสิ้น ร้อยละ 60 โครงการร่วมทุนระหว่างไทยกับต่างชาติ ร้อยละ 30 ได้แก่ ญี่ปุ่น ฮ่องกง อเมริกา อังกฤษ ปากีสถาน และจีน สำหรับโครงการที่ถือหุ้นโดยต่างชาติทั้งสิ้น ร้อยละ 10 ได้แก่ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ ฮ่องกง ออสเตรเลีย และสวีเดน
ประเภทโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในปีนี้มีรายละเอียดพอสังเขป ดังนี้
หมวดอุตสาหกรรมเกษตรและผลิตผลจากการเกษตร
ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในภาคฯ ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ไก่เนื้อ ไก่ไข่ โคเนื้อ โคนม ผักและผลไม้ ส่วนใหญ่เป็นการแปรรูปอาหารเพื่อการส่งออก โดยในปีนี้ประเภทของ อุตสาหกรรมที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน ส่วนใหญ่เป็นการผลิตข้าวสารคุณภาพดี เพื่อการส่งออก การแปรรูปข้าว มันสำปะหลัง และผลิตภัณฑ์ไก่แช่แข็ง
อุตสาหกรรมในหมวดนี้ ที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุด เรียงตามลำดับได้แก่
- บริษัทไทยง้วน เอทานอลจำกัด จังหวัดขอนแก่น ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังสดเงินลงทุน 660 ล้านบาท การจ้างงาน 150 คน
- บริษัทโคราช โพทรีย์ จำกัด จังหวัดนครราชสีมา ผลิตไก่แช่แข็ง เงินลงทุน 240 ล้านบาท การจ้างงาน 54 คน
- บริษัทโซลาไรซ์ (2002) จำกัด จังหวัดอุบลราชธานี ผลิตข้าวสารคุณภาพดี เงินลงทุน 235 ล้านบาท การจ้างงาน 140 คน
- บริษัทเยนเนอรัล ฟูดส์ โปรดัคส์จำกัด จังหวัดนครราชสีมา ผลิตแป้งข้าวผสมเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารส่งออกไปญี่ปุ่น เงินลงทุน 161 ล้านบาท การจ้างงาน 180 คน
หมวดอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
อุตสาหกรรมในหมวดนี้ เป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมชาวญี่ปุ่น และร่วมทุนกับคนไทย โดยตั้งโรงงานอยู่ที่นครราชสีมา และขอนแก่น
อุตสาหกรรมในหมวดนี้ที่มีมูลค่าเงินลงทุนสูงสุด เรียงตามลำดับ ได้แก่
- บริษัทฟูไน (ไทยแลนด์) จำกัด จังหวัดนครราชสีมา ผลิตโทรทัศน์ เงินลงทุน 700 ล้านบาท การจ้างงาน 931 คน
- บริษัทมัตซูชิตะอิเล็กทริค เวิร์ดส์(ขอนแก่น) จำกัด จังหวัดขอนแก่น ผลิตชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ที่ใช้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เงินลงทุน 1,826.4 ล้านบาท การจ้างงาน 3,833 คน
- บริษัทโซลาร์ตรอน จำกัด จังหวัดนครราชสีมา ผลิตแผงเซลแสงอาทิตย์ เงินลงทุน 90 ล้านบาท การจ้างงาน 61 คน
- บริษัทคุนิมิชึ คาร์บอน (ไทยแลนด์) จำกัด จังหวัดนครราชสีมา ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่ใช้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เงินลงทุน 58 ล้านบาท การจ้างงาน 61 คน
หมวดอุตสาหกรรมเบา
ได้แก่ อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมเด่นของภาคฯ เพราะมีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้ย้ายฐานการผลิตมาตั้งอยู่ในภาคฯ เพื่ออาศัยความได้เปรียบทางด้านแรงงาน
อุตสาหกรรมในหมวดนี้ ที่มีมูลค่าสูงสุดเรียงตามลำดับ ได้แก่
- บริษัทอินฟุส เมดิคัล จำกัด จังหวัดขอนแก่น ผลิตอุปกรณ์การแพทย์ เงินลงทุน 152 ล้านบาท การจ้างงาน 714 คน
- บริษัทเจิดจำรัสไทย-กัมพูชา จำกัด จังหวัดอุบลราชธานี ผลิตเครื่องประดับ/ชิ้นส่วน เงินลงทุน 130.0 ล้านบาท การจ้างงาน 357 คน
- บริษัทอภิโชคไทยวู๊ด จำกัด จังหวัดขอนแก่น ผลิตเฟอร์นิเจอร์จากไม้ยางพารา เงินลงทุน 100 ล้านบาท การจ้างงาน 539 คน
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป
นอกจากนั้นยังมีหมวดอุตสาหกรรมบริการและสาธารณูปโภค โครงการที่น่าสนใจ ได้แก่ โครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าและไอน้ำที่ใช้เชื้อเพลิงจากของเสียหรือวัสดุที่ไม่ใช้งานแล้ว เช่น ของเสียจากโรงงานแป้งมันสำปะหลัง ฟาร์มหมู แกลบ และชานอ้อย รวมมูลค่าเงินลงทุนในโครงการ ดังกล่าวกว่า 1,900 ล้านบาท
หมวดอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ กระดาษ และพลาสติก โครงการที่น่าสนใจ ได้แก่ โครงการผลิตเอทิลแอลกอฮอล์ ผืนผ้ากระสอบพลาสติกทอสาน ฯลฯ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง โครงการที่น่าสนใจได้แก่ โครงการผลิตเหล็กแผ่นเคลือบขึ้นรูป โครงการผลิตชิ้นส่วนโลหะสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น
สำหรับแนวโน้มการลงทุนในปีหน้า จะยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเกษตรและผลิตผลจากการเกษตร เนื่องจากมีนักลงทุนให้ความสนใจที่จะแปรรูปวัตถุดิบทางการเกษตรในภาคฯ ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรในภาคมากขึ้น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนยานยนต์ เนื่องจากจะมีการขยายฐานการผลิตมาสู่ภูมิภาคนี้มากขึ้นซึ่งเป็นผลจาก
- ภาวะเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงขาขึ้น
- อัตราค่าจ้างแรงงานที่ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
- โครงการ Outsourcing ให้กับผู้ประกอบการ SMEs เพื่อลดต้นทุนการผลิต
- นโยบายส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมของกระทรวงอุตสาหกรรม
- การกำหนดยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มุ่งจะพัฒนาทางด้านกลุ่มอุตสาหกรรม
2.2.4 การใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปีนี้ เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากภาคธุรกิจ การค้าและโรงงานอุตสาหกรรมต่างมีการดำเนินกิจการกันเพิ่มขึ้น ทั้งเกิดจาก มีการประกอบกิจการใหม่ทั้ง บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ธุรกิจร้านค้าต่างๆ โรงงานอุตสาหกรรม และกิจการเดิมมีการขยายการดำเนินงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งมีการขยายการลงทุน และเพิ่มกำลังการผลิต
ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมมีการใช้ไฟฟ้า 4,349.0 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 8.8 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของธุรกิจและอุตสาหกรรมทุกขนาดดังนี้ ธุรกิจขนาดเล็ก 1,048.2 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 7.0 ธุรกิจขนาดกลาง 1,302.9 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 และธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรม มีการใช้ไฟฟ้า 1,855.5 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7
การใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมมากที่สุดในภาคฯ ส่วนใหญ่จะอยู่ใน 4 จังหวัดหลักของภาคฯ ได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และอุบลราชธานี ซึ่งทั้ง 4 จังหวัดนี้มีสัดส่วนปริมาณการใช้ไฟฟ้าคิดเป็นร้อยละ 68.0 ของทั้งหมดในภาคฯ เนื่องจากมีบริษัท ห้างร้าน และ โรงงานอุตสาหกรรม ตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก
2.3 การคลังรัฐบาล
ปี 2546 รายได้รัฐบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดเก็บได้ 17,765.2 ล้านบาท เทียบจากปีก่อน 15,408.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นทั้งจากฐานรายได้ (ยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก) และฐานการบริโภคของประชาชน ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ดีขึ้นเป็นลำดับ และการใช้จ่ายของประชาชนที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการ จัดเก็บรายได้ของภาครัฐ ได้แก่ การให้บริการยื่นแบบชำระภาษีผ่านระบบ internet และการมีระบบกำกับดูแลผู้เสียภาษี ทำให้ผู้เสียภาษีสมัครใจเข้าสู่ระบบภาษีมากขึ้น
ภาษีที่จัดเก็บจากฐานรายได้ ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ12.9 ผลจากการจัดเก็บภาษีเงินได้จากเงินเดือน ค่าจ้างแรงงาน เงินปันผล เงินค่าตอบแทนพิเศษ และภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ (โดยเฉพาะที่ดิน) เพิ่มขึ้น และภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 ตามผลการประกอบการที่ดีขึ้นของภาคธุรกิจ ขณะที่ภาษีดอกเบี้ยเงินฝากลดลงร้อยละ 2.9 ตามการลดลงของอัตราดอกเบี้ย แต่เป็นการลดลงในอัตราที่ชะลอตัวลง เนื่องจากปีนี้มีการจัดเก็บภาษีจากดอกเบี้ยพันธบัตรออมทรัพย์ช่วยชาติ
สำหรับภาษีที่จัดเก็บจากฐานการบริโภค ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 เป็นผลจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของรายได้ของประชาชนทั้งในภาคเกษตรกรรม (ตามการปรับเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าเกษตร) และนอกภาคเกษตร รวมทั้ง มาตรการภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานราก เป็นแรงผลักดันให้ประชาชนมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น นอกจากนี้ ห้างสรรพสินค้ารายใหญ่หันมาชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในท้องถิ่นเพิ่มขึ้น อีกทั้งโรงงานผลิตเบียร์ สุรา อุปกรณ์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้น และภาษีสุราเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 26.2 ส่วนใหญ่เป็นการจัดเก็บภาษีจากโรงงานเบียร์เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ในปีนี้สุราแช่พื้นเมือง สุราผลไม้ และสุรากลั่นชุมชน ได้รับความนิยมจากตลาดมากขึ้น จึงเป็นปัจจัยเสริมให้การจัดเก็บภาษีสุราเพิ่มขึ้นมาก
ทางด้านรายจ่าย 154,791.6 ล้านบาท เทียบกับปีก่อน 159,058.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.7 เนื่องจากรายจ่ายประจำ 105,692.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.6 และรายจ่ายลงทุน 49,098.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.0 ผลจากการปฏิรูประบบราชการ ประกอบกับการเบิกจ่าย เงินอุดหนุนโครงการถ่ายโอนงาน หรือกิจกรรมการบริการสาธารณะที่ถ่ายโอนให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นล่าช้า อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีงบประมาณ มีการเร่งรัดการเบิกจ่าย งบประมาณเพิ่มขึ้น ทำให้เงินในงบประมาณขาดดุล 137,026.4 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนขาดดุล 143,649.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.6
(ยังมีต่อ)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-