สำหรับอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2546 ณ สิ้นเดือนกันยายน 2546 นั้น มีผลการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 91.6 ของวงเงินประจำงวดที่ได้รับอนุมัติ ซึ่งมีอัตราส่วนการเบิกจ่ายต่ำกว่าปีก่อน (อัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 94.8) เป็นการเบิกจ่ายงบประจำร้อยละ 98.4 ของวงเงินประจำงวด (ปีก่อนอัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 98.6) และงบลงทุนเบิกจ่ายร้อยละ 75.5 (ปีก่อนอัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 86.0)
การคลังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(หน่วย : ล้านบาท)
2545 2546
รายได้ 15,408.4 17,765.2
(13.6) (15.3)
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2,946.6 3,325.4
(22.8) (12.9)
- ภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก 601.9 584.1
(-12.9) (-2.9)
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล 1,798.3 1,966.5
(22.8) (9.4)
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม 3,651.1 4,102.1
(21.6) (12.4)
- ภาษีสุรา 4,532.5 5,721.3
(6.2) (26.2)
- อื่น ๆ 1,878.0 2,065.8
(14.0) (10.0)
รายจ่าย 159,058.1 1 54,791.6
(3.5) (-2.7)
- รายจ่ายประจำ 107,380.9 1 05,692.7
(6.7) (-1.6)
- รายจ่ายลงทุน 51,677.2 49,098.9
(2.7) (-5.0)
เกินดุล (+) ขาดดุล (-) -143,649.7-1 37,026.4
ที่มา : สำนักงานคลังจังหวัด สำนักงานสรรพากรพื้นที่
และสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ ในภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็น อัตราการเปลี่ยนแปลง
จากปีก่อน
จังหวัดที่สามารถจัดเก็บรายได้ได้สูงสุดในภาคฯ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น จัดเก็บได้ 7,531.1 ล้านบาท เทียบกับปีก่อน 6,145.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.6 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม961.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 551.1 ล้านบาท และภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก 190.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 และร้อยละ 86.8 ตามลำดับ รองลงมาเป็นจังหวัดนครราชสีมา จัดเก็บได้ 2,706.0 ล้านบาท และ จังหวัดอุดรธานี 1,038.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 22.6 และร้อยละ 5.3 ตามลำดับส่วนจังหวัดที่มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณสูงสุดในภาคฯ ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา เบิกจ่าย22,029.2 ล้านบาท เทียบกับปีก่อน 22,501.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.1 แบ่งเป็นรายจ่าย ลงทุน 6,700.3ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.4 และรายจ่ายประจำ15,328.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 รองลงมาเป็นจังหวัดขอนแก่นเบิกจ่าย 18,306.3 ล้านบาทและอุบลราชธานี 15,294.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ3.3 และร้อยละ 3.3 ตามลำดับ
3. ภาวะการเงิน
ปี 2546 เงินฝากธนาคารพาณิชย์ในภาคฯ ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะลดลง เนื่องจากผู้ฝากส่วนใหญ่ยังคงมั่นใจในการฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์มากกว่านำเงินไปลงทุนในด้านอื่นที่มีความเสี่ยงสูงกว่า ด้านสินเชื่อปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากต้นปีก่อน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล สินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคล สินเชื่ออุตสาหกรรมเป็นสำคัญ
อัตราดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ยังคงปรับตัวลดลง เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีสภาพคล่องสูง
ปริมาณเช็คเรียกเก็บผ่านสำนักหักบัญชีในภาคฯ และปริมาณเช็คคืนเพราะไม่มีเงินในปีนี้มีเพิ่มขึ้น
สรุปนโยบายและมาตรการการเงินที่สำคัญปี 2546
1. ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน
วันที่ประชุม สาระสำคัญ
20 ม.ค. 2546 คณะกรรมการฯ มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน ไว้ที่
ร้อยละ1.75 ต่อปี เนื่องจากเศรษฐกิจอยู่ในภาวะการฟื้นตัวที่น่าพอใจ และมี
แนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่องในปี 2546
3 มี.ค. 2546 คณะกรรมการฯ มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วันไว้ที่
ร้อยละ 1.75 ต่อปีเนื่องจากแรงส่งของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเกิดขึ้นต่อเนื่อง
และเสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี
21 เม.ย. 2546 คณะกรรมการฯ มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน
ไว้ที่ร้อยละ 1.75 ต่อปี เนื่องจากเห็นว่าแนวนโยบายการเงินควรอยู่ในแนวทาง
ที่ผ่อนคลายตามเดิม เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
2 มิ.ย. 46 และ คณะกรรมการฯ มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน
27 มิ.ย. 46 ไว้ที่ร้อยละ 1.75 ต่อปี เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2546 ต่อมาเมื่อวันที่ 27
มิถุนายน 2546 คณะกรรมการฯ มีการประชุมวาระพิเศษ (เพิ่มเติม)
โดยมีความเห็นว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปัจจุบันที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำนั้น
เอื้อให้นโยบายการเงินสามารถผ่อนคลายได้มากขึ้น ดังนั้นเพื่อรองรับความไม่
แน่นอนของภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการเงินในต่างประเทศลดความ
ผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้นที่เข้ามาเพื่อเก็งกำไรในส่วนต่างอัตรา
ดอกเบี้ยภายในและภายนอกประเทศ และลดความเสี่ยงที่อาจกดดันให้อัตราเงิน
เฟ้อพื้นฐานลดลงต่ำกว่าเป้า ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งต่อการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจในระยะต่อไป คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้ลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวลง
ร้อยละ 0.5 ต่อปี เหลือร้อยละ 1.25 ต่อปี
11 ก.ย. 46 คณะกรรมการฯ มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน ไว้ที่
ร้อยละ 1.25 ต่อปี ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำและเหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจของ
ประเทศ
28 ต.ค. 46 คณะกรรมการฯ มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน ไว้ที่
ร้อยละ 1.25 ต่อปี เนื่องจากเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันเหมาะสมกับ
สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศ จึงควรให้นโยบายการเงินอยู่ในลักษณะที่ผ่อน
คลายเช่นเดิมต่อไป
2. งดการให้ความอนุเคราะห์ทางการเงินแก่ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ
ธปท.ยกเลิกการให้ความอนุเคราะห์ทางการเงินแก่ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ การรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการประกอบกิจการอุตสาหกรรม การเก็บรักษาสินค้าไว้ในคลังสินค้า การประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ การค้าพืชผลเกษตร การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่โครงการด้านเกษตรกรรมหรืออุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนาชนบท และการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการขายข้าวสารของผู้ประกอบกิจการโรงสี ทั้งนี้ ธปท.จะรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินจากสถาบันการเงินในวันที่ 31 มกราคม 2546 เป็นวันสุดท้าย
3. การรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ธปท. ปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยและเพิ่มประเภทวิสาหกิจในการให้ความอนุเคราะห์ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 โดย ธปท. จะรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินจากธนาคารพาณิชย์ ซึ่งคิดดอกเบี้ยจากลูกค้าไม่เกินอัตราดอกเบี้ย (เงินกู้ลูกค้าชั้นดี) MLR-2.75% ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2546
ธปท. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากสถาบันการเงินในการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินจากผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเหลือร้อยละ 1 ต่อปี จากเดิมร้อยละ 1.75 ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 5 ก.ค. 2546
4. การปรับปรุงความหมายของ Non-Performing Loans (NPL)
ธปท.ปรับปรุงความหมายของเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) ของสถาบันการเงินจากเดิม ซึ่งหมายถึงสินเชื่อที่ค้างชำระเงินต้นและ/หรือดอกเบี้ยเกินกว่า 3 เดือนมาเป็นเงินให้สินเชื่อจัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน สงสัย สงสัยจะสูญ และสูญ ตามหลักเกณฑ์การจัดชั้นในประกาศของ ธปท. รวมถึงลูกหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญที่ได้กันสำรองครบร้อยละ 100 และตัดออกจากบัญชีแล้วแต่ยังไม่ได้บันทึกกลับเข้ามาในบัญชี
5. การเรียกเก็บเงินตามเช็คข้ามเขตสำนักหักบัญชี 3 วันทำการ
ธปท.จะเปิดให้บริการระบบการเรียกเก็บเงินตามเช็คข้ามเขตสำนักหักบัญชี เพื่อให้ลูกค้าของธพ.สามารถทราบผลการเรียกเก็บเงินและใช้เงินได้เร็วขึ้นจากเดิม 6 วันทำการเหลือ 3 วันทำการ โดยจะเริ่มให้บริการในเขตภาคกลางก่อน (22 จังหวัด) ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ. 2546
6. ธปท.อนุญาตให้ ธพ. ประกอบธุรกิจการนำอสังหาริมทรัพย์ออกให้เช่า
ธปท.ปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการอนุญาตให้ธพ.ประกอบธุรกิจการนำอสังหาริมทรัพย์ออกให้เช่า โดยธพ.ต้องจัดให้มีสัญญาเช่าเป็นหนังสือ ต้องมีเงื่อนไขในการให้เช่า ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 ม.ค. 2546
7. อัตราดอกเบี้ยการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ธปท.เห็นสมควรให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำสำหรับลูกค้าชั้นดี (Prime Rate) ของตนเองเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับใหม่แทนการใช้อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ 4 แห่ง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 10 ก.พ. 2546
8. การปรับปรุงหลักเกณฑ์เรื่องสินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้
ธปท.ปรับปรุงหลักเกณฑ์ในส่วนที่เกี่ยวกับวิธีการรับรู้ส่วนสูญเสียจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 34 เช่น ให้สถาบันการเงินบันทึกบัญชีลูกหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญที่กันสำรองครบร้อยละ 100 และตัดออกจากบัญชีไปแล้วกลับเข้ามาในบัญชีสำหรับรายที่มีหลักประกันทุกราย ส่วนรายที่ไม่มีหลักประกันก็สามารถเลือกที่จะบันทึกบัญชีกลับเข้ามาหรือไม่ก็ได้
9. การขยายหลักทรัพย์เงินตราต่างประเทศต่อให้ลูกค้าในประเทศ
ขยายวงเงินการขายหลักทรัพย์เงินตราต่างประเทศต่อ ให้แก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินตราต่างประเทศ จากยอดการขายแต่ละรายจากไม่เกิน 10 ล้านดอลลาร์ สรอ. เป็นไม่เกิน 50 ล้านดอลลาร์ สรอ.
10. การขยายขอบเขตธุรกิจของสำนักงานแลกเปลี่ยนเงิน ขยายขอบเขตธุรกิจให้สำนักงานแลกเปลี่ยนเงินสามารถประกอบธุรกิจอื่นเป็นการทั่วไปได้ ดังนี้
1. การให้บริการรับชำระหนี้ทั้งของ ธพ.และบุคคลใด ๆ
2. ให้บริการรับฝากเงินเพิ่มในบัญชีเงินฝากที่เปิดไว้แล้วทั้งของธนาคาร
3. การให้บริการ Up-date Passbook ด้วยเครื่องอัตโนมัติ
4. การให้บริการรับส่งเอกสารและข้อมูลด้านธุรกิจต่างประเทศระหว่างลูกค้าและส่วนงานต่าง ๆ ของ ธพ.
5. การให้บริการโอนเงินระหว่างประเทศ ทั้งที่ผ่านเครือข่ายของธพ.และเครือข่ายอื่น เช่น Western Union และ Money Gramm เป็นต้น
11. การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทำธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับตัวแปร
อนุญาตให้ธพ.ทำธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับตัวแปร โดยกำหนดขอบเขตการทำธุรกรรม และแนวนโยบายในการดูแล ดังนี้ (ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย. 46)
1. ธพ.ที่กู้ยืมเงิน โดยทำธุรกรรมดังกล่าวต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเสมือนธุรกรรมดังกล่าวเป็นธุรกรรมเงินฝากประเภทหนึ่ง
2. ธนาคารที่ทำธุรกรรมดังกล่าวต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเกี่ยวกับดอกเบี้ยและส่วนลดไปก่อนจนกว่าจะมีการปรับปรุงประกาศฉบับใหม่
3. ธพ.ผู้ฝากเงินหรือให้กู้ยืมเงินโดยทำธุรกรรมดังกล่าวต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเกี่ยวกับการดำรงเงินกองทุนสำหรับเงินฝากหรือเงินให้กู้ยืมนั้นและอนุพันธ์ทางการเงินที่เกี่ยวข้องและต้องปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการนับลูกหนี้รายใหญ่สำหรับอนุพันธ์ทางการเงินที่เกี่ยวข้องธุรกรรมดังกล่าว
12. อนุญาตให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ประกอบธุรกิจเพิ่มเติม
อนุญาตให้ บ.ง. และ บ.ง.ล. ประกอบธุรกิจเพิ่มเติม คือ
1. การเผยแพร่แผ่นพับโฆษณาของบริษัทประกันภัย โดยได้รับค่าตอบแทน แต่ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ ที่เข้าข่ายเป็นนายหน้าหรือตัวแทน
2. การติดต่อหรือแนะนำบริการของบริษัทหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้า
3. การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 พ.ค. 2546
13. การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่เป็น NPL แต่ยังมีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ
ธปท.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากสถาบันการเงินในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่เป็น NPL แต่ยังมีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจจากเดิมในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี เหลือร้อยละ 1 ต่อปี และกำหนดให้สถาบันการเงินคิดดอกเบี้ยจากผู้ประกอบวิสาหกิจที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงินได้ไม่เกินอัตรา MLR หรือ MLR โดยเฉลี่ยของ ธพ.4 แห่ง คือ ธ.กรุงเทพ ธ.กรุงไทย ธ.กสิกรไทย และ ธ.ไทยพาณิชย์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 5 ก.ค. 2546
14. การผ่อนคลายระเบียบควบคุมแลกเปลี่ยนเงิน
ผ่อนคลายระเบียบควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เพื่อสนับสนุนการลงทุนออกไปยังต่างประเทศ และเพิ่มทางเลือกใหม่ ๆ ในการลงทุน โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้คือ
1. ผ่อนผันให้ผู้ลงทุนสถาบัน 6 ประเภท ไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศได้
2. ขยายระยะเวลาการฝากเงินเข้าบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ จาก 3 เดือน เป็น 6 เดือน
3. ให้รัฐวิสาหกิจป้องกันความเสี่ยงของหนี้เงินตราต่างประเทศได้โดยอิสระ แต่ต้องไม่เกินระยะเวลาอายุของหนี้
15. การปรับปรุงมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท
ธปท. ให้แนวทางปฏิบัติในกรณีที่ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (NR) เกิดปัญหาขาดสภาพคล่องเงินบาท ณ สิ้นวัน โดยต้องเป็นการขาดสภาพคล่องที่เกิดจากการบริหารเงินที่ไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ และไม่มีเจตนาที่จะกู้ยืมเงินบาทที่ขัดกับมาตรการป้องปรามการเก็งกำไร และให้สถาบันการเงินผู้รักษาบัญชีโทรศัพท์แจ้งปัญหา สาเหตุ รวมทั้งแจ้งให้ NR ทราบถึงการผ่อนผันของ ธปท.ให้สามารถขายเงินตราต่างประเทศได้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 ก.ค. 2546
ธปท.เพิ่มเติมมาตรการจำกัดการกู้ยืมระยะสั้นของสถาบันการเงินจากผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (Non-Resient : NR) ดังนี้
1. NR จะฝากเงินในรูปบัญชีกระแสรายวันหรือเงินฝากออมทรัพย์ได้เฉพาะกรณีเพื่อการ Settlement เท่านั้นหากเพื่อวัตถุประสงค์อื่นต้องเปิดบัญชีเงินฝากประจำที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป
2. ยอกเงินฝากทุกประเภทของ NR ต่อราย ณ สิ้นวันไม่เกิน 300 ล้านบาท เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก ธปท.เป็นรายกรณี
3. ให้สถาบันการเงินงดจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากประเภทกระแสรายวันและออมทรัพย์ของ NR ทุกบัญชี เว้นแต่เป็นบัญชีของธนาคารกลางประเทศอื่นหรือได้รับอนุญาตจาก ธปท. เป็นต้น
ธปท. ไม่สนับสนุนให้สถาบันการเงินทำธุรกรรมซื้อขายเงินตราต่างประเทศแลกเงินบาทล่วงหน้า โดยไม่มีการส่งมอบเงินตามสัญญา เพียงแต่จ่ายเฉพาะส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์ สรอ. เมื่อครบกำหนดอายุสัญญา (Non-Deliverable Forward : NDF) เนื่องจากจะทำให้เกิดความสับสน และขอความร่วมมือจากสถาบันการเงินในประเทศให้ระงับการทำธุรกรรม NDF เงินบาท กับผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ ยกเว้น กรณี rollover สัญญาเดิม หรือกรณีที่จำเป็นต้องยกเลิกสัญญาที่ทำไว้ (unwind)
16. มาตรการดูแลเงินทุนนำเข้าระยะสั้น
จำกัดการกู้ยืมเงินบาทหรือธุรกิจอื่นที่มีลักษณะเป็นการกู้ยืมเงินบาทจากผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ กรณีไม่มีการค้าหรือ การลงทุนรองรับให้กู้ยืมได้ไม่เกินรายละ 50 ล้านบาท เว้นแต่มีอายุสัญญาเกิน 3 เดือนขึ้นไป โดยครอบคลุมถึงธุรกิจ 6 รายการ ดังนี้ (ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 12 ก.ย. 2546)
a. เงินกู้โดยตรง
b. การออกตราสารหนี้ระยะสั้นขายให้ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ
c. การซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า
d. การกู้เงินบาทผ่านธุรกรรม Swap
e. ธุรกรรมอนุพันธ์ต่าง ๆ ที่มีผลเสมือนการกู้ยืมเงินบาท
f. การขายเงินตราต่างประเทศที่มีวันส่งมอบน้อยกว่า 2 วันทำการ (Spot)
อนึ่ง มาตรการนี้จะไม่มีผลกระทบต่อผู้ที่นำเงินเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ตลาดพันธบัตร การลงทุนโดยตรง รวมทั้งการชำระเงินค่าสินค้าเข้าและออกตามปกติ
17. การแต่งตั้งตัวแทนรับฝากและถอนเงินของธพ.
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการแต่งตั้งบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด หรือบริษัทร่วมทุน (Joint Venture Company) ระหว่างบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด กับธนาคารพาณิชย์ เป็นตัวแทนรับฝากและถอนเงินในบัญชีเงินฝากที่เปิดไว้แล้วตลอดจนการโอนเงินและการรับส่งเอกสาร แต่จะเปิดบัญชีใหม่หรือให้สินเชื่อไม่ได้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 พ.ย. 2546
18. แนวปฏิบัติในการรักษาความปลอดภัยการให้บริการการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
ธปท.ได้ออกแนวปฏิบัติในการรักษาความปลอดภัย สำหรับการให้บริการการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
โดยมุ่งเน้นการรักษาความปลอดภัยของการให้บริการการเงินผ่านเครือข่ายสาธารณะ (Public Network) เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเครือข่ายการสื่อสารแบบไร้สาย
19. การกำหนดหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อหรือการให้กู้ยืมเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัย
สถาบันการเงินจะให้สินเชื่อหรือให้กู้ยืม (ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2546)
a. แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด โดยมีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างเป็นประกัน เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย ราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาท ขึ้นไป ได้ไม่เกินร้อยละ 70 ของราคาซื้อขายที่ตกลงกันจริง
b. แก่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เฉพาะโครงการที่ผู้ประกอบการกระทำ โดยชอบด้วยกฎหมาย
20. หลักเกณฑ์การให้บริการแก่ลูกค้า การเปิดเผยและการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมของธนาคารพาณิชย์
ปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้บริการแก่ลูกค้า การเปิดเผยข้อมูล และการเก็บค่าธรรมเนียมของธนาคารพาณิชย์ เช่น การเปิดบัญชีเงินฝาก ธนาคารพาณิชย์ควรสื่อสารให้ลูกค้าทราบถึงสิทธิและประโยชน์ในการได้รับสำเนาสัญญา เป็นต้น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 ม.ค. 2547
3.1 ธนาคารพาณิชย์
ณ สิ้นธันวาคม 2546 ธนาคารพาณิ ชย์ในภาคฯมีสาขาทั้งสิ้น 484 สำนักงาน (รวมสาขาย่อย 55 สำนักงาน) เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 9 สำนักงาน
เงินฝาก
ณ สิ้นปี 2546 ธนาคารพาณิชย์ในภาคฯมีเงินฝากคงค้าง 263,626.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 จากปีก่อน ทั้งนี้ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากจะอยู่ในระดับต่ำ แต่ผู้ฝากยังคงเลือกฝากเงินในธนาคารมากกว่านำไปลงทุนด้านอื่นที่มีผลตอบแทนสูง ซึ่งมีความเสี่ยงสูงกว่าด้วย ส่งผลให้ปริมาณเงินฝากยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องมาจากต้นปี และเมื่อพิจารณาโครงสร้างเงินฝากในภาคฯ มีสัดส่วนดังนี้ เงินฝากออมทรัพย์มีสัดส่วนสูงสุดคือร้อยละ 51.3 ยอดเงินฝากคงค้าง 135,239.0 ล้านบาท รองลงมาได้แก่ เงินฝากประจำมีสัดส่วนร้อยละ 46.0 ยอดเงินฝากคงค้าง 121,359.0 ล้านบาท และเงินฝากกระแสรายวันมีสัดส่วนร้อยละ 2.7 ยอดเงินฝากคงค้าง 7,025.0 ล้านบาทในปีนี้
เงินฝากคงค้างของธนาคารพาณิชย์ในภาคฯ ส่วนใหญ่อยู่ใน 4 จังหวัดใหญ่ ได้แก่นครราชสีมา เงินฝากคงค้าง 55,919.0 ล้านบาท ขอนแก่น 40,613.0 ล้านบาท อุดรธานี 28,862.0 ล้านบาท และอุบลราชธานี 22,255.0 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21.2 ร้อยละ 15.4 ร้อยละ 10.9 และร้อยละ 8.4 ของเงินฝากทั้งภาคฯ ตามลำดับ โดยอำนาจเจริญมีเงินฝากคงค้างต่ำที่สุดเพียง 2,479.0 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.9 ของเงินฝากทั้งภาคฯ
สำหรับแนวโน้มเงินฝากธนาคารพาณิชย์ของภาคฯในปีหน้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง เนื่องจากผู้ฝากบางส่วนเริ่มมั่นใจในการลงทุนด้านอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า
สำหรับแนวโน้มเงินฝากธนาคารพาณิชย์ของภาคฯในปีหน้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นไม่มากเนื่องจาก ผู้ฝากบางส่วนเริ่มมั่นใจในการลงทุนด้านอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า แต่คาดว่าสินเชื่อในปีหน้าจะเพิ่มขึ้นมากกว่า โดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคลเพื่อการบริโภค สินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สินเชื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคล สินเชื่ออุตสาหกรรมประเภทเกษตร-อุตสาหกรรม และสินเชื่อเพื่อการพาณิชยกรรม
(ยังมีต่อ)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
การคลังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(หน่วย : ล้านบาท)
2545 2546
รายได้ 15,408.4 17,765.2
(13.6) (15.3)
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2,946.6 3,325.4
(22.8) (12.9)
- ภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก 601.9 584.1
(-12.9) (-2.9)
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล 1,798.3 1,966.5
(22.8) (9.4)
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม 3,651.1 4,102.1
(21.6) (12.4)
- ภาษีสุรา 4,532.5 5,721.3
(6.2) (26.2)
- อื่น ๆ 1,878.0 2,065.8
(14.0) (10.0)
รายจ่าย 159,058.1 1 54,791.6
(3.5) (-2.7)
- รายจ่ายประจำ 107,380.9 1 05,692.7
(6.7) (-1.6)
- รายจ่ายลงทุน 51,677.2 49,098.9
(2.7) (-5.0)
เกินดุล (+) ขาดดุล (-) -143,649.7-1 37,026.4
ที่มา : สำนักงานคลังจังหวัด สำนักงานสรรพากรพื้นที่
และสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ ในภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็น อัตราการเปลี่ยนแปลง
จากปีก่อน
จังหวัดที่สามารถจัดเก็บรายได้ได้สูงสุดในภาคฯ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น จัดเก็บได้ 7,531.1 ล้านบาท เทียบกับปีก่อน 6,145.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.6 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม961.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 551.1 ล้านบาท และภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก 190.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 และร้อยละ 86.8 ตามลำดับ รองลงมาเป็นจังหวัดนครราชสีมา จัดเก็บได้ 2,706.0 ล้านบาท และ จังหวัดอุดรธานี 1,038.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 22.6 และร้อยละ 5.3 ตามลำดับส่วนจังหวัดที่มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณสูงสุดในภาคฯ ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา เบิกจ่าย22,029.2 ล้านบาท เทียบกับปีก่อน 22,501.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.1 แบ่งเป็นรายจ่าย ลงทุน 6,700.3ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.4 และรายจ่ายประจำ15,328.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 รองลงมาเป็นจังหวัดขอนแก่นเบิกจ่าย 18,306.3 ล้านบาทและอุบลราชธานี 15,294.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ3.3 และร้อยละ 3.3 ตามลำดับ
3. ภาวะการเงิน
ปี 2546 เงินฝากธนาคารพาณิชย์ในภาคฯ ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะลดลง เนื่องจากผู้ฝากส่วนใหญ่ยังคงมั่นใจในการฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์มากกว่านำเงินไปลงทุนในด้านอื่นที่มีความเสี่ยงสูงกว่า ด้านสินเชื่อปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากต้นปีก่อน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล สินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคล สินเชื่ออุตสาหกรรมเป็นสำคัญ
อัตราดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ยังคงปรับตัวลดลง เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีสภาพคล่องสูง
ปริมาณเช็คเรียกเก็บผ่านสำนักหักบัญชีในภาคฯ และปริมาณเช็คคืนเพราะไม่มีเงินในปีนี้มีเพิ่มขึ้น
สรุปนโยบายและมาตรการการเงินที่สำคัญปี 2546
1. ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน
วันที่ประชุม สาระสำคัญ
20 ม.ค. 2546 คณะกรรมการฯ มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน ไว้ที่
ร้อยละ1.75 ต่อปี เนื่องจากเศรษฐกิจอยู่ในภาวะการฟื้นตัวที่น่าพอใจ และมี
แนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่องในปี 2546
3 มี.ค. 2546 คณะกรรมการฯ มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วันไว้ที่
ร้อยละ 1.75 ต่อปีเนื่องจากแรงส่งของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเกิดขึ้นต่อเนื่อง
และเสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี
21 เม.ย. 2546 คณะกรรมการฯ มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน
ไว้ที่ร้อยละ 1.75 ต่อปี เนื่องจากเห็นว่าแนวนโยบายการเงินควรอยู่ในแนวทาง
ที่ผ่อนคลายตามเดิม เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
2 มิ.ย. 46 และ คณะกรรมการฯ มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน
27 มิ.ย. 46 ไว้ที่ร้อยละ 1.75 ต่อปี เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2546 ต่อมาเมื่อวันที่ 27
มิถุนายน 2546 คณะกรรมการฯ มีการประชุมวาระพิเศษ (เพิ่มเติม)
โดยมีความเห็นว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปัจจุบันที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำนั้น
เอื้อให้นโยบายการเงินสามารถผ่อนคลายได้มากขึ้น ดังนั้นเพื่อรองรับความไม่
แน่นอนของภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการเงินในต่างประเทศลดความ
ผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้นที่เข้ามาเพื่อเก็งกำไรในส่วนต่างอัตรา
ดอกเบี้ยภายในและภายนอกประเทศ และลดความเสี่ยงที่อาจกดดันให้อัตราเงิน
เฟ้อพื้นฐานลดลงต่ำกว่าเป้า ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งต่อการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจในระยะต่อไป คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้ลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวลง
ร้อยละ 0.5 ต่อปี เหลือร้อยละ 1.25 ต่อปี
11 ก.ย. 46 คณะกรรมการฯ มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน ไว้ที่
ร้อยละ 1.25 ต่อปี ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำและเหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจของ
ประเทศ
28 ต.ค. 46 คณะกรรมการฯ มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน ไว้ที่
ร้อยละ 1.25 ต่อปี เนื่องจากเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันเหมาะสมกับ
สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศ จึงควรให้นโยบายการเงินอยู่ในลักษณะที่ผ่อน
คลายเช่นเดิมต่อไป
2. งดการให้ความอนุเคราะห์ทางการเงินแก่ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ
ธปท.ยกเลิกการให้ความอนุเคราะห์ทางการเงินแก่ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ การรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการประกอบกิจการอุตสาหกรรม การเก็บรักษาสินค้าไว้ในคลังสินค้า การประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ การค้าพืชผลเกษตร การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่โครงการด้านเกษตรกรรมหรืออุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนาชนบท และการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการขายข้าวสารของผู้ประกอบกิจการโรงสี ทั้งนี้ ธปท.จะรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินจากสถาบันการเงินในวันที่ 31 มกราคม 2546 เป็นวันสุดท้าย
3. การรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ธปท. ปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยและเพิ่มประเภทวิสาหกิจในการให้ความอนุเคราะห์ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 โดย ธปท. จะรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินจากธนาคารพาณิชย์ ซึ่งคิดดอกเบี้ยจากลูกค้าไม่เกินอัตราดอกเบี้ย (เงินกู้ลูกค้าชั้นดี) MLR-2.75% ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2546
ธปท. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากสถาบันการเงินในการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินจากผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเหลือร้อยละ 1 ต่อปี จากเดิมร้อยละ 1.75 ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 5 ก.ค. 2546
4. การปรับปรุงความหมายของ Non-Performing Loans (NPL)
ธปท.ปรับปรุงความหมายของเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) ของสถาบันการเงินจากเดิม ซึ่งหมายถึงสินเชื่อที่ค้างชำระเงินต้นและ/หรือดอกเบี้ยเกินกว่า 3 เดือนมาเป็นเงินให้สินเชื่อจัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน สงสัย สงสัยจะสูญ และสูญ ตามหลักเกณฑ์การจัดชั้นในประกาศของ ธปท. รวมถึงลูกหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญที่ได้กันสำรองครบร้อยละ 100 และตัดออกจากบัญชีแล้วแต่ยังไม่ได้บันทึกกลับเข้ามาในบัญชี
5. การเรียกเก็บเงินตามเช็คข้ามเขตสำนักหักบัญชี 3 วันทำการ
ธปท.จะเปิดให้บริการระบบการเรียกเก็บเงินตามเช็คข้ามเขตสำนักหักบัญชี เพื่อให้ลูกค้าของธพ.สามารถทราบผลการเรียกเก็บเงินและใช้เงินได้เร็วขึ้นจากเดิม 6 วันทำการเหลือ 3 วันทำการ โดยจะเริ่มให้บริการในเขตภาคกลางก่อน (22 จังหวัด) ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ. 2546
6. ธปท.อนุญาตให้ ธพ. ประกอบธุรกิจการนำอสังหาริมทรัพย์ออกให้เช่า
ธปท.ปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการอนุญาตให้ธพ.ประกอบธุรกิจการนำอสังหาริมทรัพย์ออกให้เช่า โดยธพ.ต้องจัดให้มีสัญญาเช่าเป็นหนังสือ ต้องมีเงื่อนไขในการให้เช่า ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 ม.ค. 2546
7. อัตราดอกเบี้ยการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ธปท.เห็นสมควรให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำสำหรับลูกค้าชั้นดี (Prime Rate) ของตนเองเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับใหม่แทนการใช้อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ 4 แห่ง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 10 ก.พ. 2546
8. การปรับปรุงหลักเกณฑ์เรื่องสินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้
ธปท.ปรับปรุงหลักเกณฑ์ในส่วนที่เกี่ยวกับวิธีการรับรู้ส่วนสูญเสียจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 34 เช่น ให้สถาบันการเงินบันทึกบัญชีลูกหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญที่กันสำรองครบร้อยละ 100 และตัดออกจากบัญชีไปแล้วกลับเข้ามาในบัญชีสำหรับรายที่มีหลักประกันทุกราย ส่วนรายที่ไม่มีหลักประกันก็สามารถเลือกที่จะบันทึกบัญชีกลับเข้ามาหรือไม่ก็ได้
9. การขยายหลักทรัพย์เงินตราต่างประเทศต่อให้ลูกค้าในประเทศ
ขยายวงเงินการขายหลักทรัพย์เงินตราต่างประเทศต่อ ให้แก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินตราต่างประเทศ จากยอดการขายแต่ละรายจากไม่เกิน 10 ล้านดอลลาร์ สรอ. เป็นไม่เกิน 50 ล้านดอลลาร์ สรอ.
10. การขยายขอบเขตธุรกิจของสำนักงานแลกเปลี่ยนเงิน ขยายขอบเขตธุรกิจให้สำนักงานแลกเปลี่ยนเงินสามารถประกอบธุรกิจอื่นเป็นการทั่วไปได้ ดังนี้
1. การให้บริการรับชำระหนี้ทั้งของ ธพ.และบุคคลใด ๆ
2. ให้บริการรับฝากเงินเพิ่มในบัญชีเงินฝากที่เปิดไว้แล้วทั้งของธนาคาร
3. การให้บริการ Up-date Passbook ด้วยเครื่องอัตโนมัติ
4. การให้บริการรับส่งเอกสารและข้อมูลด้านธุรกิจต่างประเทศระหว่างลูกค้าและส่วนงานต่าง ๆ ของ ธพ.
5. การให้บริการโอนเงินระหว่างประเทศ ทั้งที่ผ่านเครือข่ายของธพ.และเครือข่ายอื่น เช่น Western Union และ Money Gramm เป็นต้น
11. การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทำธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับตัวแปร
อนุญาตให้ธพ.ทำธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับตัวแปร โดยกำหนดขอบเขตการทำธุรกรรม และแนวนโยบายในการดูแล ดังนี้ (ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย. 46)
1. ธพ.ที่กู้ยืมเงิน โดยทำธุรกรรมดังกล่าวต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเสมือนธุรกรรมดังกล่าวเป็นธุรกรรมเงินฝากประเภทหนึ่ง
2. ธนาคารที่ทำธุรกรรมดังกล่าวต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเกี่ยวกับดอกเบี้ยและส่วนลดไปก่อนจนกว่าจะมีการปรับปรุงประกาศฉบับใหม่
3. ธพ.ผู้ฝากเงินหรือให้กู้ยืมเงินโดยทำธุรกรรมดังกล่าวต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเกี่ยวกับการดำรงเงินกองทุนสำหรับเงินฝากหรือเงินให้กู้ยืมนั้นและอนุพันธ์ทางการเงินที่เกี่ยวข้องและต้องปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการนับลูกหนี้รายใหญ่สำหรับอนุพันธ์ทางการเงินที่เกี่ยวข้องธุรกรรมดังกล่าว
12. อนุญาตให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ประกอบธุรกิจเพิ่มเติม
อนุญาตให้ บ.ง. และ บ.ง.ล. ประกอบธุรกิจเพิ่มเติม คือ
1. การเผยแพร่แผ่นพับโฆษณาของบริษัทประกันภัย โดยได้รับค่าตอบแทน แต่ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ ที่เข้าข่ายเป็นนายหน้าหรือตัวแทน
2. การติดต่อหรือแนะนำบริการของบริษัทหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้า
3. การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 พ.ค. 2546
13. การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่เป็น NPL แต่ยังมีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ
ธปท.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากสถาบันการเงินในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่เป็น NPL แต่ยังมีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจจากเดิมในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี เหลือร้อยละ 1 ต่อปี และกำหนดให้สถาบันการเงินคิดดอกเบี้ยจากผู้ประกอบวิสาหกิจที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงินได้ไม่เกินอัตรา MLR หรือ MLR โดยเฉลี่ยของ ธพ.4 แห่ง คือ ธ.กรุงเทพ ธ.กรุงไทย ธ.กสิกรไทย และ ธ.ไทยพาณิชย์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 5 ก.ค. 2546
14. การผ่อนคลายระเบียบควบคุมแลกเปลี่ยนเงิน
ผ่อนคลายระเบียบควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เพื่อสนับสนุนการลงทุนออกไปยังต่างประเทศ และเพิ่มทางเลือกใหม่ ๆ ในการลงทุน โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้คือ
1. ผ่อนผันให้ผู้ลงทุนสถาบัน 6 ประเภท ไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศได้
2. ขยายระยะเวลาการฝากเงินเข้าบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ จาก 3 เดือน เป็น 6 เดือน
3. ให้รัฐวิสาหกิจป้องกันความเสี่ยงของหนี้เงินตราต่างประเทศได้โดยอิสระ แต่ต้องไม่เกินระยะเวลาอายุของหนี้
15. การปรับปรุงมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท
ธปท. ให้แนวทางปฏิบัติในกรณีที่ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (NR) เกิดปัญหาขาดสภาพคล่องเงินบาท ณ สิ้นวัน โดยต้องเป็นการขาดสภาพคล่องที่เกิดจากการบริหารเงินที่ไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ และไม่มีเจตนาที่จะกู้ยืมเงินบาทที่ขัดกับมาตรการป้องปรามการเก็งกำไร และให้สถาบันการเงินผู้รักษาบัญชีโทรศัพท์แจ้งปัญหา สาเหตุ รวมทั้งแจ้งให้ NR ทราบถึงการผ่อนผันของ ธปท.ให้สามารถขายเงินตราต่างประเทศได้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 ก.ค. 2546
ธปท.เพิ่มเติมมาตรการจำกัดการกู้ยืมระยะสั้นของสถาบันการเงินจากผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (Non-Resient : NR) ดังนี้
1. NR จะฝากเงินในรูปบัญชีกระแสรายวันหรือเงินฝากออมทรัพย์ได้เฉพาะกรณีเพื่อการ Settlement เท่านั้นหากเพื่อวัตถุประสงค์อื่นต้องเปิดบัญชีเงินฝากประจำที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป
2. ยอกเงินฝากทุกประเภทของ NR ต่อราย ณ สิ้นวันไม่เกิน 300 ล้านบาท เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก ธปท.เป็นรายกรณี
3. ให้สถาบันการเงินงดจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากประเภทกระแสรายวันและออมทรัพย์ของ NR ทุกบัญชี เว้นแต่เป็นบัญชีของธนาคารกลางประเทศอื่นหรือได้รับอนุญาตจาก ธปท. เป็นต้น
ธปท. ไม่สนับสนุนให้สถาบันการเงินทำธุรกรรมซื้อขายเงินตราต่างประเทศแลกเงินบาทล่วงหน้า โดยไม่มีการส่งมอบเงินตามสัญญา เพียงแต่จ่ายเฉพาะส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์ สรอ. เมื่อครบกำหนดอายุสัญญา (Non-Deliverable Forward : NDF) เนื่องจากจะทำให้เกิดความสับสน และขอความร่วมมือจากสถาบันการเงินในประเทศให้ระงับการทำธุรกรรม NDF เงินบาท กับผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ ยกเว้น กรณี rollover สัญญาเดิม หรือกรณีที่จำเป็นต้องยกเลิกสัญญาที่ทำไว้ (unwind)
16. มาตรการดูแลเงินทุนนำเข้าระยะสั้น
จำกัดการกู้ยืมเงินบาทหรือธุรกิจอื่นที่มีลักษณะเป็นการกู้ยืมเงินบาทจากผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ กรณีไม่มีการค้าหรือ การลงทุนรองรับให้กู้ยืมได้ไม่เกินรายละ 50 ล้านบาท เว้นแต่มีอายุสัญญาเกิน 3 เดือนขึ้นไป โดยครอบคลุมถึงธุรกิจ 6 รายการ ดังนี้ (ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 12 ก.ย. 2546)
a. เงินกู้โดยตรง
b. การออกตราสารหนี้ระยะสั้นขายให้ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ
c. การซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า
d. การกู้เงินบาทผ่านธุรกรรม Swap
e. ธุรกรรมอนุพันธ์ต่าง ๆ ที่มีผลเสมือนการกู้ยืมเงินบาท
f. การขายเงินตราต่างประเทศที่มีวันส่งมอบน้อยกว่า 2 วันทำการ (Spot)
อนึ่ง มาตรการนี้จะไม่มีผลกระทบต่อผู้ที่นำเงินเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ตลาดพันธบัตร การลงทุนโดยตรง รวมทั้งการชำระเงินค่าสินค้าเข้าและออกตามปกติ
17. การแต่งตั้งตัวแทนรับฝากและถอนเงินของธพ.
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการแต่งตั้งบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด หรือบริษัทร่วมทุน (Joint Venture Company) ระหว่างบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด กับธนาคารพาณิชย์ เป็นตัวแทนรับฝากและถอนเงินในบัญชีเงินฝากที่เปิดไว้แล้วตลอดจนการโอนเงินและการรับส่งเอกสาร แต่จะเปิดบัญชีใหม่หรือให้สินเชื่อไม่ได้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 พ.ย. 2546
18. แนวปฏิบัติในการรักษาความปลอดภัยการให้บริการการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
ธปท.ได้ออกแนวปฏิบัติในการรักษาความปลอดภัย สำหรับการให้บริการการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
โดยมุ่งเน้นการรักษาความปลอดภัยของการให้บริการการเงินผ่านเครือข่ายสาธารณะ (Public Network) เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเครือข่ายการสื่อสารแบบไร้สาย
19. การกำหนดหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อหรือการให้กู้ยืมเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัย
สถาบันการเงินจะให้สินเชื่อหรือให้กู้ยืม (ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2546)
a. แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด โดยมีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างเป็นประกัน เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย ราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาท ขึ้นไป ได้ไม่เกินร้อยละ 70 ของราคาซื้อขายที่ตกลงกันจริง
b. แก่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เฉพาะโครงการที่ผู้ประกอบการกระทำ โดยชอบด้วยกฎหมาย
20. หลักเกณฑ์การให้บริการแก่ลูกค้า การเปิดเผยและการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมของธนาคารพาณิชย์
ปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้บริการแก่ลูกค้า การเปิดเผยข้อมูล และการเก็บค่าธรรมเนียมของธนาคารพาณิชย์ เช่น การเปิดบัญชีเงินฝาก ธนาคารพาณิชย์ควรสื่อสารให้ลูกค้าทราบถึงสิทธิและประโยชน์ในการได้รับสำเนาสัญญา เป็นต้น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 ม.ค. 2547
3.1 ธนาคารพาณิชย์
ณ สิ้นธันวาคม 2546 ธนาคารพาณิ ชย์ในภาคฯมีสาขาทั้งสิ้น 484 สำนักงาน (รวมสาขาย่อย 55 สำนักงาน) เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 9 สำนักงาน
เงินฝาก
ณ สิ้นปี 2546 ธนาคารพาณิชย์ในภาคฯมีเงินฝากคงค้าง 263,626.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 จากปีก่อน ทั้งนี้ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากจะอยู่ในระดับต่ำ แต่ผู้ฝากยังคงเลือกฝากเงินในธนาคารมากกว่านำไปลงทุนด้านอื่นที่มีผลตอบแทนสูง ซึ่งมีความเสี่ยงสูงกว่าด้วย ส่งผลให้ปริมาณเงินฝากยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องมาจากต้นปี และเมื่อพิจารณาโครงสร้างเงินฝากในภาคฯ มีสัดส่วนดังนี้ เงินฝากออมทรัพย์มีสัดส่วนสูงสุดคือร้อยละ 51.3 ยอดเงินฝากคงค้าง 135,239.0 ล้านบาท รองลงมาได้แก่ เงินฝากประจำมีสัดส่วนร้อยละ 46.0 ยอดเงินฝากคงค้าง 121,359.0 ล้านบาท และเงินฝากกระแสรายวันมีสัดส่วนร้อยละ 2.7 ยอดเงินฝากคงค้าง 7,025.0 ล้านบาทในปีนี้
เงินฝากคงค้างของธนาคารพาณิชย์ในภาคฯ ส่วนใหญ่อยู่ใน 4 จังหวัดใหญ่ ได้แก่นครราชสีมา เงินฝากคงค้าง 55,919.0 ล้านบาท ขอนแก่น 40,613.0 ล้านบาท อุดรธานี 28,862.0 ล้านบาท และอุบลราชธานี 22,255.0 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21.2 ร้อยละ 15.4 ร้อยละ 10.9 และร้อยละ 8.4 ของเงินฝากทั้งภาคฯ ตามลำดับ โดยอำนาจเจริญมีเงินฝากคงค้างต่ำที่สุดเพียง 2,479.0 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.9 ของเงินฝากทั้งภาคฯ
สำหรับแนวโน้มเงินฝากธนาคารพาณิชย์ของภาคฯในปีหน้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง เนื่องจากผู้ฝากบางส่วนเริ่มมั่นใจในการลงทุนด้านอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า
สำหรับแนวโน้มเงินฝากธนาคารพาณิชย์ของภาคฯในปีหน้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นไม่มากเนื่องจาก ผู้ฝากบางส่วนเริ่มมั่นใจในการลงทุนด้านอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า แต่คาดว่าสินเชื่อในปีหน้าจะเพิ่มขึ้นมากกว่า โดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคลเพื่อการบริโภค สินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สินเชื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคล สินเชื่ออุตสาหกรรมประเภทเกษตร-อุตสาหกรรม และสินเชื่อเพื่อการพาณิชยกรรม
(ยังมีต่อ)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-