เงินฝาก-สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2545 2546
เงินฝาก (ล้านบาท) 254,081.0 263,626.0
(0.3) (3.8)
สินเชื่อ (ล้านบาท) 193,071.4 212,001.0
(11.3) (9.8)
อัตราส่วนสินเชื่อ/เงินฝาก 76.0 80.4
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อน
สินเชื่อ
สินเชื่อคงค้าง 212,001.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 จากปีก่อน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคล สินเชื่ออุตสาหกรรม เช่น โรงสี เป็นต้น
ในด้านโครงสร้างสินเชื่อ ณ สิ้นปีมีเงินให้กู้ยืมอยู่ในอัตราส่วนร้อยละ 50.0 เมื่อเทียบกับสินเชื่อรวม
โดยมียอดสินเชื่อคงค้าง 106,035.0 ล้านบาท เงินเบิกเกินบัญชีอัตราส่วนร้อยละ 28.6 ยอดสินเชื่อคงค้าง 60,545.0 ล้านบาท สำหรับตั๋วเงินและอื่นๆ อัตราส่วนร้อยละ 17.8 ยอดสินเชื่อคงค้าง 45,421.0 ล้านบาท ทั้งนี้อัตราส่วนของสินเชื่อเงินให้กู้ยืมและเงินเบิกเกินบัญชีมีอัตราส่วนลดลงเล็กน้อย ในขณะที่ตั๋วเงินและอื่นๆ มีอัตราส่วนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
เมื่อพิจารณาสินเชื่อคงค้างรายจังหวัดพบว่า การอำนวยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ยังคงกระจุกตัวอยู่ใน 4 จังหวัดหลักของภาคฯ คือ นครราชสีมา สินเชื่อคงค้าง 40,277.0 ล้านบาท ขอนแก่นสินเชื่อคงค้าง 34,104.0 ล้านบาท อุดรธานี สินเชื่อคงค้าง 19,244.0 ล้านบาท และอุบลราชธานี สินเชื่อคงค้าง 18,846.0 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19.0 ร้อยละ 16.1 ร้อยละ 9.1 และร้อยละ 8.9 ของ สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ทั้งภาคฯ ตามลำดับ ทั้งนี้ หนองบัวลำภูมีสินเชื่อคงค้างต่ำสุด 2,493.0 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.2 ของสินเชื่อทั้งภาคฯ
สำหรับแนวโน้มสินเชื่อในปีหน้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่าปีนี้ โดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคลเพื่อการบริโภค สินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สินเชื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคล สินเชื่ออุตสาหกรรมประเภทเกษตร-อุตสาหกรรม และสินเชื่อเพื่อการพาณิชยกรรม เป็นต้น
สำหรับอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากเพิ่มขึ้นจากปีก่อนจากอัตราส่วนร้อยละ 76.0 มาอยู่ที่ร้อยละ 80.4
ความเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ย
(ร้อยละต่อปี)
2545 2546
เงินฝาก
ออมทรัพย์ 1.25-1.75 0.50-1.50
ประจำ 3 เดือน 1.75-2.25 1.00-1.42
ประจำ 6 เดือน 1.75-2.25 1.00-2.00
ประจำ 12 เดือน 1.75-3.00 1.00-2.00
สินเชื่อ
ลูกค้าทั่วไป 9.75-11.75 8.75-11.75
MOR 6.50-8.00 5.75-7.75
MLR 6.50-7.75 5.50-7.50
MRR 6.50-8.50 5.75-8.25
ที่มา : ธนาคารพาณิชย์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
อัตราดอกเบี้ย
อัตราดอกเบี้ยในปีนี้ยังคงอยู่ในระดับต่ำเนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีสภาพคล่องอยู่ใน ระดับสูง ประกอบกับทางการมีนโยบายกระตุ้นการลงทุน ด้านเงินฝาก อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ประจำ 12 เดือน อยู่ระหว่างร้อยละ 1.00-2.00ต่อปี ลดลงจากปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.75-3.00ต่อปี อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์อยู่ระหว่างร้อยละ 0.50-1.50 ต่อปี ลดลงจากปีก่อนอยู่ระหว่างที่ร้อยละ 1.25-1.75 ต่อปี และด้านสินเชื่อ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าทั่วไป อยู่ระหว่างร้อยละ 8.75-11.75 ต่อปี ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ระหว่างร้อยละ 9.75-11.75 ต่อปี
MLR อยู่ระหว่างร้อยละ 5.50-7.50 ต่อปี ลดลงจากปีก่อนที่อยู่ระหว่างร้อยละ 6.50-7.75 ต่อปี
MRR ระหว่างร้อยละ 5.75-8.25 ต่อปี ลดลงจากปีก่อนที่อยู่ระหว่างร้อยละ 6.50-8.50 ต่อปี
ปริมาณการใช้เช็ค
ปีนี้ปริมาณการใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชีในภาคฯ 4,577,041 ฉบับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 จากปีก่อน และจำนวนเงินที่สั่งจ่ายตามเช็คทั้งสิ้น 411,297.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 เนื่องจากเศรษฐกิจในภาคฯ โดยทั่วไปเริ่มดีขึ้น และจากการที่ผู้ประกอบการมีความมั่นใจในเครดิตของคู่ค้ามากขึ้น
สำหรับปริมาณเช็คคืนมีทั้งสิ้น 120,742 ฉบับ ลดลงร้อยละ 4.4 จากปีก่อน แต่จำนวนเงินที่สั่งจ่าย 10,474.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ทำให้อัตราส่วนของมูลค่าเช็คคืนทั้งสิ้นต่อเช็คเรียกเก็บปีนี้ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.6 เท่ากับปีก่อน
ในขณะที่เช็คคืนเพราะไม่มีเงินในปีนี้มีทั้งสิ้น 72,298 ฉบับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 จำนวนเงินที่สั่งจ่ายตามเช็คดังกล่าวมีทั้งสิ้น 4,141.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.1 จากปีก่อน ทำให้ อัตราส่วนมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บปีนี้ลดลงจากปีก่อนที่ร้อยละ 1.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ในปีนี้
3.2 สถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรใน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(หน่วย : ล้านบาท)
2545 2546
- เงินฝากคงค้าง 51,919.0 58,979.8
(17.1) (13.6)
- ให้กู้ 45,956.3 48,656.7
(-19.9) (5.9)
- ชำระคืน 42,142.9 43,979.5
(-19.1) (4.4)
- สินเชื่อคงค้าง 84,450.5 89,154.0
(5.2) (5.6)
ที่มา : ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อน
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
ณ สิ้นปีนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตรในภาคฯมีสาขาทั้งสิ้น 165 สำนักงาน มียอดเงินฝากคงค้าง 58,979.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 ในด้านสินเชื่อปีนี้มีการจ่าย เงินกู้ไปทั้งสิ้น 48,656.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 จากปีก่อน และยอดรับชำระเงินคืนทั้งสิ้น 43,979.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ทำให้ สินเชื่อคงค้างมีทั้งสิ้น 89,154.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน
สำหรับโครงการพักหนี้และลดภาระหนี้ให้กับเกษตรกรรายย่อยที่ดำเนินการ โครงการดังกล่าวจะครบ 3 ปีในวันที่ 31 มีนาคม 2547 ทาง ธ.ก.ส.มีการประมาณการว่าเกษตรกรในส่วนที่พักชำระหนี้สามารถชำระหนี้กับ ธ.ก.ส.ได้ประมาณที่พักชำระหนี้สามารถชำระหนี้กับ ธ.ก.ส.ได้ประมาณร้อยละ 88 ส่วนที่เหลือประมาณร้อยละ 12 คาดว่าจะเป็นหนี้ค้างชำระ และในส่วนของเกษตรกรที่เข้า โครงการลดภาระหนี้ กลุ่มนี้คาดว่าจะไม่มีปัญหาใด ๆเนื่องจากในแต่ละปีลูกค้าในโครงการเหมือนลูกค้าปกติ แต่จะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาล โดยการจัดงบประมาณมาชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรที่เข้าโครงการนี้
ธนาคารออมสินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(หน่วย : ล้านบาท)
2545 2546
- เงินรับฝาก 122,663.3 135,690.8
(16.0) (9.3)
- เงินถอน 125,671.1 133,561.7
(40.4) (5.8)
- เงินฝากคงค้าง 46,955.9 49,041.7
(-4.1) (4.5)
ที่มา : ธนาคารออมสินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อน
ธนาคารออมสิน ณ สิ้นปี้นี้มีสาขาธนาคารออมสินในภาคฯ ทั้งสิ้น 136 สำนักงาน โดยยอดรับฝากทั้งสิ้น135,690.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 จากปีก่อน และมีเงินถอนทั้งสิ้น 133,561.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 ยอดเงินฝากคงค้าง 49,041.7 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 สำหรับในปี 2547 ธนาคารออมสินมีทิศทางในการดำเนินงานที่สำคัญ 5 ด้าน คือ 1) การเป็นธนาคารเพื่อการออม 2) การเป็นธนาคารเพื่อพัฒนาชุมชน โดยจะมีการขยายสินพัฒนาสังคมเพิ่มขึ้น 3) การเป็นธนาคารเพื่อภาครัฐ โดยจะมีการลงทุนในตราสารหนี้ พันธบัตรรัฐบาลและ รัฐวิสาหกิจ 4) จะให้บริการสินเชื่อบุคคลเพื่ออุปโภคบริโภค 5) สนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(หน่วย : ล้านบาท)
2545 2546
- เงินฝากคงค้าง 2,597.3 3,056.8
(-22.2) (13.5)
- สินเชื่อคงค้าง 30,118.3 39,956.5
(13.0) (21.3)
ที่มา : ธนาคารอาคารสงเคราะห์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันของปีก่อน
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ในด้านเงินฝากมีเงินฝากคงค้าง 3,056.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 จากปีก่อนและสินเชื่อคงค้าง 39,956.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.3 เนื่องจากภาวะด้านการตลาด ที่อยู่อาศัยและสินเชื่อที่อยู่อาศัยปี 2546 มีการ ขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปีก่อนตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ขยายตัวดีขึ้น ส่งผลให้ประชาชนมีกำลังซื้อที่อยู่อาศัยมากขึ้น ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยได้ปรับลดลงมา
อยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งมาตรการสนับสนุนจากรัฐบาล ทั้งการลดค่าธรรมเนียมการโอนอสังหาริมทรัพย์ การจดทะเบียนจำนองที่กำหนดเป็นปีสุดท้าย และการกระตุ้นความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยของ ธ.อ.ส. ในโครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของสมาชิก กบข.รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 โครงการบ้าน ธ.อ.ส. เพื่อคนไทย และโครงการบ้านเอื้ออาทร ฯลฯ และในด้านผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั้งรายเล็กและ รายใหญ่มีการนำโครงการเดิมมาขายใหม่ และเปิดโครงการใหม่มากขึ้น นอกจากนี้สถาบันการเงิน ต่าง ๆ ได้นำทรัพย์สินรอการขาย (NPA) ออกจำหน่ายมากขึ้น รวมถึงการแข่งขันการให้บริการสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำพิเศษ ส่งผลให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยในปีนี้เพิ่มขึ้นมาก
บรรษัทเงินทุนอตุสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(หน่วย : ล้านบาท)
2545 2546
- จำนวนโครงการ 253 286
(27.8) (85.6)
- วงเงินอนุมัติ 2,679.0 4,009.6
(-5.8) (49.7)
ที่มา : บรรษัทเงินทุนอตุสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็น อัตราการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อน
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT)
ปีนี้ IFCT ในภาคฯ อนุมัติเงินกู้ให้กับ อุตสาหกรรมทั้งสิ้น 286 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1เป็นเงินทั้งสิ้น 4,009.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ49.7 จากปีก่อน โดยส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อในหมวดอุตสาหกรรมการเกษตรและปศุสัตว์ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมเส้นไหม และโรงสีข้าว
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
แห่งประเทศไทย (ธพว.)
(หน่วย : ล้านบาท)
2545 2546
- จำนวนโครงการ 97 180
(-23.0) (85.6)
- วงเงินอนุมัติ 641.4 1,031.8
(-16.7) (60.9)
ที่มา : ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.)
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็น อัตราการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อน
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.)
ปีนี้ ธพว. ในภาคมีการอนุมัติสินเชื่อทั้งสิ้น 180 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 85.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน เป็นเงิน 1,031.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.9 โดยมีประเภทสินเชื่อที่สำคัญ คือ ห้างสรรพสินค้าค้าพืชผลทางการเกษตร โรงงานอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม โรงงานผลิตสุรากลั่น โรงงานผลิตไม้สับ โรงงานผลิตและจำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดโรงงานผลิตและจำหน่ายน้ำมะเขือเทศเข้มข้น โรงเรียน หอพัก ผลิตไม้แปรรูป บริการรถยนต์โดยสารประจำทาง และฟาร์มสุกร เป็นต้น
(ยังมีต่อ)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ชพ-
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2545 2546
เงินฝาก (ล้านบาท) 254,081.0 263,626.0
(0.3) (3.8)
สินเชื่อ (ล้านบาท) 193,071.4 212,001.0
(11.3) (9.8)
อัตราส่วนสินเชื่อ/เงินฝาก 76.0 80.4
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อน
สินเชื่อ
สินเชื่อคงค้าง 212,001.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 จากปีก่อน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคล สินเชื่ออุตสาหกรรม เช่น โรงสี เป็นต้น
ในด้านโครงสร้างสินเชื่อ ณ สิ้นปีมีเงินให้กู้ยืมอยู่ในอัตราส่วนร้อยละ 50.0 เมื่อเทียบกับสินเชื่อรวม
โดยมียอดสินเชื่อคงค้าง 106,035.0 ล้านบาท เงินเบิกเกินบัญชีอัตราส่วนร้อยละ 28.6 ยอดสินเชื่อคงค้าง 60,545.0 ล้านบาท สำหรับตั๋วเงินและอื่นๆ อัตราส่วนร้อยละ 17.8 ยอดสินเชื่อคงค้าง 45,421.0 ล้านบาท ทั้งนี้อัตราส่วนของสินเชื่อเงินให้กู้ยืมและเงินเบิกเกินบัญชีมีอัตราส่วนลดลงเล็กน้อย ในขณะที่ตั๋วเงินและอื่นๆ มีอัตราส่วนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
เมื่อพิจารณาสินเชื่อคงค้างรายจังหวัดพบว่า การอำนวยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ยังคงกระจุกตัวอยู่ใน 4 จังหวัดหลักของภาคฯ คือ นครราชสีมา สินเชื่อคงค้าง 40,277.0 ล้านบาท ขอนแก่นสินเชื่อคงค้าง 34,104.0 ล้านบาท อุดรธานี สินเชื่อคงค้าง 19,244.0 ล้านบาท และอุบลราชธานี สินเชื่อคงค้าง 18,846.0 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19.0 ร้อยละ 16.1 ร้อยละ 9.1 และร้อยละ 8.9 ของ สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ทั้งภาคฯ ตามลำดับ ทั้งนี้ หนองบัวลำภูมีสินเชื่อคงค้างต่ำสุด 2,493.0 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.2 ของสินเชื่อทั้งภาคฯ
สำหรับแนวโน้มสินเชื่อในปีหน้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่าปีนี้ โดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคลเพื่อการบริโภค สินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สินเชื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคล สินเชื่ออุตสาหกรรมประเภทเกษตร-อุตสาหกรรม และสินเชื่อเพื่อการพาณิชยกรรม เป็นต้น
สำหรับอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากเพิ่มขึ้นจากปีก่อนจากอัตราส่วนร้อยละ 76.0 มาอยู่ที่ร้อยละ 80.4
ความเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ย
(ร้อยละต่อปี)
2545 2546
เงินฝาก
ออมทรัพย์ 1.25-1.75 0.50-1.50
ประจำ 3 เดือน 1.75-2.25 1.00-1.42
ประจำ 6 เดือน 1.75-2.25 1.00-2.00
ประจำ 12 เดือน 1.75-3.00 1.00-2.00
สินเชื่อ
ลูกค้าทั่วไป 9.75-11.75 8.75-11.75
MOR 6.50-8.00 5.75-7.75
MLR 6.50-7.75 5.50-7.50
MRR 6.50-8.50 5.75-8.25
ที่มา : ธนาคารพาณิชย์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
อัตราดอกเบี้ย
อัตราดอกเบี้ยในปีนี้ยังคงอยู่ในระดับต่ำเนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีสภาพคล่องอยู่ใน ระดับสูง ประกอบกับทางการมีนโยบายกระตุ้นการลงทุน ด้านเงินฝาก อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ประจำ 12 เดือน อยู่ระหว่างร้อยละ 1.00-2.00ต่อปี ลดลงจากปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.75-3.00ต่อปี อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์อยู่ระหว่างร้อยละ 0.50-1.50 ต่อปี ลดลงจากปีก่อนอยู่ระหว่างที่ร้อยละ 1.25-1.75 ต่อปี และด้านสินเชื่อ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าทั่วไป อยู่ระหว่างร้อยละ 8.75-11.75 ต่อปี ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ระหว่างร้อยละ 9.75-11.75 ต่อปี
MLR อยู่ระหว่างร้อยละ 5.50-7.50 ต่อปี ลดลงจากปีก่อนที่อยู่ระหว่างร้อยละ 6.50-7.75 ต่อปี
MRR ระหว่างร้อยละ 5.75-8.25 ต่อปี ลดลงจากปีก่อนที่อยู่ระหว่างร้อยละ 6.50-8.50 ต่อปี
ปริมาณการใช้เช็ค
ปีนี้ปริมาณการใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชีในภาคฯ 4,577,041 ฉบับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 จากปีก่อน และจำนวนเงินที่สั่งจ่ายตามเช็คทั้งสิ้น 411,297.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 เนื่องจากเศรษฐกิจในภาคฯ โดยทั่วไปเริ่มดีขึ้น และจากการที่ผู้ประกอบการมีความมั่นใจในเครดิตของคู่ค้ามากขึ้น
สำหรับปริมาณเช็คคืนมีทั้งสิ้น 120,742 ฉบับ ลดลงร้อยละ 4.4 จากปีก่อน แต่จำนวนเงินที่สั่งจ่าย 10,474.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ทำให้อัตราส่วนของมูลค่าเช็คคืนทั้งสิ้นต่อเช็คเรียกเก็บปีนี้ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.6 เท่ากับปีก่อน
ในขณะที่เช็คคืนเพราะไม่มีเงินในปีนี้มีทั้งสิ้น 72,298 ฉบับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 จำนวนเงินที่สั่งจ่ายตามเช็คดังกล่าวมีทั้งสิ้น 4,141.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.1 จากปีก่อน ทำให้ อัตราส่วนมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บปีนี้ลดลงจากปีก่อนที่ร้อยละ 1.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ในปีนี้
3.2 สถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรใน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(หน่วย : ล้านบาท)
2545 2546
- เงินฝากคงค้าง 51,919.0 58,979.8
(17.1) (13.6)
- ให้กู้ 45,956.3 48,656.7
(-19.9) (5.9)
- ชำระคืน 42,142.9 43,979.5
(-19.1) (4.4)
- สินเชื่อคงค้าง 84,450.5 89,154.0
(5.2) (5.6)
ที่มา : ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อน
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
ณ สิ้นปีนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตรในภาคฯมีสาขาทั้งสิ้น 165 สำนักงาน มียอดเงินฝากคงค้าง 58,979.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 ในด้านสินเชื่อปีนี้มีการจ่าย เงินกู้ไปทั้งสิ้น 48,656.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 จากปีก่อน และยอดรับชำระเงินคืนทั้งสิ้น 43,979.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ทำให้ สินเชื่อคงค้างมีทั้งสิ้น 89,154.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน
สำหรับโครงการพักหนี้และลดภาระหนี้ให้กับเกษตรกรรายย่อยที่ดำเนินการ โครงการดังกล่าวจะครบ 3 ปีในวันที่ 31 มีนาคม 2547 ทาง ธ.ก.ส.มีการประมาณการว่าเกษตรกรในส่วนที่พักชำระหนี้สามารถชำระหนี้กับ ธ.ก.ส.ได้ประมาณที่พักชำระหนี้สามารถชำระหนี้กับ ธ.ก.ส.ได้ประมาณร้อยละ 88 ส่วนที่เหลือประมาณร้อยละ 12 คาดว่าจะเป็นหนี้ค้างชำระ และในส่วนของเกษตรกรที่เข้า โครงการลดภาระหนี้ กลุ่มนี้คาดว่าจะไม่มีปัญหาใด ๆเนื่องจากในแต่ละปีลูกค้าในโครงการเหมือนลูกค้าปกติ แต่จะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาล โดยการจัดงบประมาณมาชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรที่เข้าโครงการนี้
ธนาคารออมสินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(หน่วย : ล้านบาท)
2545 2546
- เงินรับฝาก 122,663.3 135,690.8
(16.0) (9.3)
- เงินถอน 125,671.1 133,561.7
(40.4) (5.8)
- เงินฝากคงค้าง 46,955.9 49,041.7
(-4.1) (4.5)
ที่มา : ธนาคารออมสินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อน
ธนาคารออมสิน ณ สิ้นปี้นี้มีสาขาธนาคารออมสินในภาคฯ ทั้งสิ้น 136 สำนักงาน โดยยอดรับฝากทั้งสิ้น135,690.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 จากปีก่อน และมีเงินถอนทั้งสิ้น 133,561.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 ยอดเงินฝากคงค้าง 49,041.7 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 สำหรับในปี 2547 ธนาคารออมสินมีทิศทางในการดำเนินงานที่สำคัญ 5 ด้าน คือ 1) การเป็นธนาคารเพื่อการออม 2) การเป็นธนาคารเพื่อพัฒนาชุมชน โดยจะมีการขยายสินพัฒนาสังคมเพิ่มขึ้น 3) การเป็นธนาคารเพื่อภาครัฐ โดยจะมีการลงทุนในตราสารหนี้ พันธบัตรรัฐบาลและ รัฐวิสาหกิจ 4) จะให้บริการสินเชื่อบุคคลเพื่ออุปโภคบริโภค 5) สนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(หน่วย : ล้านบาท)
2545 2546
- เงินฝากคงค้าง 2,597.3 3,056.8
(-22.2) (13.5)
- สินเชื่อคงค้าง 30,118.3 39,956.5
(13.0) (21.3)
ที่มา : ธนาคารอาคารสงเคราะห์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันของปีก่อน
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ในด้านเงินฝากมีเงินฝากคงค้าง 3,056.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 จากปีก่อนและสินเชื่อคงค้าง 39,956.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.3 เนื่องจากภาวะด้านการตลาด ที่อยู่อาศัยและสินเชื่อที่อยู่อาศัยปี 2546 มีการ ขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปีก่อนตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ขยายตัวดีขึ้น ส่งผลให้ประชาชนมีกำลังซื้อที่อยู่อาศัยมากขึ้น ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยได้ปรับลดลงมา
อยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งมาตรการสนับสนุนจากรัฐบาล ทั้งการลดค่าธรรมเนียมการโอนอสังหาริมทรัพย์ การจดทะเบียนจำนองที่กำหนดเป็นปีสุดท้าย และการกระตุ้นความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยของ ธ.อ.ส. ในโครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของสมาชิก กบข.รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 โครงการบ้าน ธ.อ.ส. เพื่อคนไทย และโครงการบ้านเอื้ออาทร ฯลฯ และในด้านผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั้งรายเล็กและ รายใหญ่มีการนำโครงการเดิมมาขายใหม่ และเปิดโครงการใหม่มากขึ้น นอกจากนี้สถาบันการเงิน ต่าง ๆ ได้นำทรัพย์สินรอการขาย (NPA) ออกจำหน่ายมากขึ้น รวมถึงการแข่งขันการให้บริการสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำพิเศษ ส่งผลให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยในปีนี้เพิ่มขึ้นมาก
บรรษัทเงินทุนอตุสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(หน่วย : ล้านบาท)
2545 2546
- จำนวนโครงการ 253 286
(27.8) (85.6)
- วงเงินอนุมัติ 2,679.0 4,009.6
(-5.8) (49.7)
ที่มา : บรรษัทเงินทุนอตุสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็น อัตราการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อน
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT)
ปีนี้ IFCT ในภาคฯ อนุมัติเงินกู้ให้กับ อุตสาหกรรมทั้งสิ้น 286 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1เป็นเงินทั้งสิ้น 4,009.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ49.7 จากปีก่อน โดยส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อในหมวดอุตสาหกรรมการเกษตรและปศุสัตว์ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมเส้นไหม และโรงสีข้าว
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
แห่งประเทศไทย (ธพว.)
(หน่วย : ล้านบาท)
2545 2546
- จำนวนโครงการ 97 180
(-23.0) (85.6)
- วงเงินอนุมัติ 641.4 1,031.8
(-16.7) (60.9)
ที่มา : ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.)
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็น อัตราการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อน
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.)
ปีนี้ ธพว. ในภาคมีการอนุมัติสินเชื่อทั้งสิ้น 180 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 85.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน เป็นเงิน 1,031.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.9 โดยมีประเภทสินเชื่อที่สำคัญ คือ ห้างสรรพสินค้าค้าพืชผลทางการเกษตร โรงงานอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม โรงงานผลิตสุรากลั่น โรงงานผลิตไม้สับ โรงงานผลิตและจำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดโรงงานผลิตและจำหน่ายน้ำมะเขือเทศเข้มข้น โรงเรียน หอพัก ผลิตไม้แปรรูป บริการรถยนต์โดยสารประจำทาง และฟาร์มสุกร เป็นต้น
(ยังมีต่อ)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ชพ-