อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
1. สถานการณ์ปัจจุบัน
การผลิต
ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีประมาณ 3,332,605 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูปและท่อเหล็ก ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.57 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากความต้องการใช้ในประเทศที่เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของธุรกิจก่อสร้างซึ่งมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการที่ในช่วงปลายปี 2546 จนถึงต้นปี 2547 (ม.ค.-ก.พ. ) ราคา เหล็กในตลาดโลกได้ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมเหล็กของไทย เช่น เหล็กแท่งแบน (Slab) เหล็กแท่งเหล็ก (Billet) และเศษเหล็ก (Scrap) ทำให้ผู้ผลิตเกรงว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้นอีก จึงเพิ่มปริมาณการผลิตไว้เพื่อเก็บเป็นสต๊อก โดยเฉพาะเหล็กทรงยาวซึ่งมีอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง ร้อยละ 53.19 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.65 สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณการผลิตลดลงในช่วงไตรมาสนี้ คือ เหล็กแผ่นไม่ได้เคลือบดีบุก ลดลง ร้อยละ 5.01
การใช้ในประเทศ
ปริมาณการใช้เหล็กและเหล็กกล้าในประเทศที่สำคัญในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ประมาณ 3,326,153 เมตริกตัน โดยมีอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณการใช้ในประเทศเพิ่มขึ้น ร้อยละ 44.09 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กทรงยาวมีอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณการใช้ในประเทศเพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 51.71
การนำเข้า
ปริมาณการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ประมาณ 2,713,305 เมตริกตัน มูลค่าโดยรวมประมาณ 41,803.13 ล้านบาท โดยมีอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณและมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ ร้อยละ 42.55 และ 45.77 ตามลำดับส่วนใหญ่นำเข้ามาจากประเทศยูเครน รัสเซียและญี่ปุ่น ผลิตภัณฑ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เพิ่มขึ้น ร้อยละ 108.52 โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูปชนิดอื่นๆ และเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต ที่นำเข้ามาเพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตเหล็กทรงยาวในประเทศ รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.04 สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุด ได้แก่ ท่อเหล็ก ลดลงร้อยละ 19.21 รองลงมาคือ เหล็กทรงยาว ลดลงร้อยละ 4.52
การส่งออก
ปริมาณการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ประมาณ 411,055 เมตริกตัน มูลค่าโดยรวมประมาณ 8,890.76 ล้านบาท โดยมีอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณและมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 14.48 และ 5.51 ตามลำดับ เป็นผลมาจากการที่ประเทศจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยได้ลดการนำเข้าเหล็กลงเนื่องจากรัฐบาลจีนเกรงว่าเศรษฐกิจของประเทศจะขยายตัวมากเกินไป จึงกำหนดนโยบายเพื่อชะลอการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจตลอดจนชะลอการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของประเทศ ซึ่งตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยในช่วงไตรมาสนี้คือ ประเทศเวียดนามและจีน สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เพิ่มขึ้น ร้อยละ 483.01 โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของผลิตภัณฑ์นี้ คือ เวียดนาม รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.06 สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการส่งออกลดลงในช่วงไตรมาสนี้ คือ เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลงร้อยละ 74.75
2. สรุป
สถานการณ์เหล็กในช่วงไตรมาส 1 ปี 2547 ทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.57 ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการใช้ในประเทศ โดยเฉพาะเหล็กทรงยาวที่ใช้ในธุรกิจก่อสร้าง มีการขยายตัวของปริมาณการใช้ในประเทศถึงร้อยละ 51.71 ขณะเดียวกันอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณและมูลค่าการนำเข้าก็ยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.55 และ 45.77 ตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูปมาเพื่อเป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมเหล็กไทย สำหรับการส่งออกในช่วงไตรมาสนี้มีการหดตัวลง โดยมีมูลค่าและปริมาณการส่งออกลดลง ร้อยละ 14.48 และ 5.51 ตามลำดับ เนื่องจากจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทยได้ลดการนำเข้าลง
3.แนวโน้ม
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2547 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในประเทศ ได้แก่ การขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ ที่ใช้เหล็กเป็นวัตถุดิบและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และปัจจัยภายนอก ได้แก่ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในหลายภูมิภาคของโลก
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-
1. สถานการณ์ปัจจุบัน
การผลิต
ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีประมาณ 3,332,605 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูปและท่อเหล็ก ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.57 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากความต้องการใช้ในประเทศที่เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของธุรกิจก่อสร้างซึ่งมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการที่ในช่วงปลายปี 2546 จนถึงต้นปี 2547 (ม.ค.-ก.พ. ) ราคา เหล็กในตลาดโลกได้ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมเหล็กของไทย เช่น เหล็กแท่งแบน (Slab) เหล็กแท่งเหล็ก (Billet) และเศษเหล็ก (Scrap) ทำให้ผู้ผลิตเกรงว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้นอีก จึงเพิ่มปริมาณการผลิตไว้เพื่อเก็บเป็นสต๊อก โดยเฉพาะเหล็กทรงยาวซึ่งมีอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง ร้อยละ 53.19 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.65 สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณการผลิตลดลงในช่วงไตรมาสนี้ คือ เหล็กแผ่นไม่ได้เคลือบดีบุก ลดลง ร้อยละ 5.01
การใช้ในประเทศ
ปริมาณการใช้เหล็กและเหล็กกล้าในประเทศที่สำคัญในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ประมาณ 3,326,153 เมตริกตัน โดยมีอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณการใช้ในประเทศเพิ่มขึ้น ร้อยละ 44.09 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กทรงยาวมีอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณการใช้ในประเทศเพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 51.71
การนำเข้า
ปริมาณการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ประมาณ 2,713,305 เมตริกตัน มูลค่าโดยรวมประมาณ 41,803.13 ล้านบาท โดยมีอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณและมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ ร้อยละ 42.55 และ 45.77 ตามลำดับส่วนใหญ่นำเข้ามาจากประเทศยูเครน รัสเซียและญี่ปุ่น ผลิตภัณฑ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เพิ่มขึ้น ร้อยละ 108.52 โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูปชนิดอื่นๆ และเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต ที่นำเข้ามาเพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตเหล็กทรงยาวในประเทศ รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.04 สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุด ได้แก่ ท่อเหล็ก ลดลงร้อยละ 19.21 รองลงมาคือ เหล็กทรงยาว ลดลงร้อยละ 4.52
การส่งออก
ปริมาณการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ประมาณ 411,055 เมตริกตัน มูลค่าโดยรวมประมาณ 8,890.76 ล้านบาท โดยมีอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณและมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 14.48 และ 5.51 ตามลำดับ เป็นผลมาจากการที่ประเทศจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยได้ลดการนำเข้าเหล็กลงเนื่องจากรัฐบาลจีนเกรงว่าเศรษฐกิจของประเทศจะขยายตัวมากเกินไป จึงกำหนดนโยบายเพื่อชะลอการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจตลอดจนชะลอการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของประเทศ ซึ่งตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยในช่วงไตรมาสนี้คือ ประเทศเวียดนามและจีน สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เพิ่มขึ้น ร้อยละ 483.01 โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของผลิตภัณฑ์นี้ คือ เวียดนาม รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.06 สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการส่งออกลดลงในช่วงไตรมาสนี้ คือ เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลงร้อยละ 74.75
2. สรุป
สถานการณ์เหล็กในช่วงไตรมาส 1 ปี 2547 ทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.57 ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการใช้ในประเทศ โดยเฉพาะเหล็กทรงยาวที่ใช้ในธุรกิจก่อสร้าง มีการขยายตัวของปริมาณการใช้ในประเทศถึงร้อยละ 51.71 ขณะเดียวกันอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณและมูลค่าการนำเข้าก็ยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.55 และ 45.77 ตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูปมาเพื่อเป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมเหล็กไทย สำหรับการส่งออกในช่วงไตรมาสนี้มีการหดตัวลง โดยมีมูลค่าและปริมาณการส่งออกลดลง ร้อยละ 14.48 และ 5.51 ตามลำดับ เนื่องจากจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทยได้ลดการนำเข้าลง
3.แนวโน้ม
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2547 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในประเทศ ได้แก่ การขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ ที่ใช้เหล็กเป็นวัตถุดิบและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และปัจจัยภายนอก ได้แก่ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในหลายภูมิภาคของโลก
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-