การซื้อ-ขายหลักทรัพย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(หน่วย : ล้านบาท)
2545 2546
- มูลค่าซื้อหลักทรัพย์ 34,556.8 89,607.4
(8.8) (159.3)
- มูลค่าขายหลักทรัพย์ 34,367.6 87,679.7
(10.1) (155.1)
ที่มา : บริษัทหลักทรัพย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็น อัตราการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อน
การซื้อ-ขายหลักทรัพย์
ณ สิ้นปีนี้มีห้องค้าหลักทรัพย์ในภาคฯทั้งสิ้น 26 สำนักงาน เพิ่มขึ้น 10 สำนักงานจากปีก่อน ปริมาณการซื้อหลักทรัพย์ในปีนี้ทั้งสิ้น 89,607.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 159.3 จากปีก่อนมีการซื้อหลักทรัพย์ 34,556.8 ล้านบาท และปริมาณ การขายหลักทรัพย์ทั้งสิ้น 87,679.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 155.1 จากปีก่อน มีการขายหลักทรัพย์ 34,367.6 ล้านบาท เนื่องจาก
1. อัตราดอกเบี้ยต่ำ ส่งผลให้ผู้ลงทุนส่วนใหญ่นำเงินไปลงทุนในด้านหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น ซึ่งให้ผลตอบแทนสูงกว่าในช่วงดังกล่าวมีการซื้อ-ขาย ทำกำไรในระยะสั้นจำนวนมาก
2. การชำระค่าซื้อขายแบบยอดสุทธิ (Net Settlements) ที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญทำให้ตลาดหุ้นไทยกลับมามีปริมาณการซื้อขายที่สูงมาก โดยเฉพาะในเดือนกันยายนที่มูลค่าการซื้อขายสูงเป็นประวัติการณ์
3. ปีนี้พื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศและตลาดหุ้นไทยอยู่ในทิศทางที่ดี
4. แนวโน้มผลกำไรของธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์หลายแห่งดีกว่าปีก่อนมาก
5. กองทุนรวมระดมทุนในระบบมากขึ้นส่งผลให้ภาพรวมการซื้อขายหลักทรัพย์
6. ความเชื่อมั่นของนักลงทุนในปัจจุบันมีมากขึ้น ประกอบกับผู้ลงทุนสนใจนำข้อมูลสารสนเทศมาประกอบการพิจารณาการซื้อขายมากขึ้น รวมถึงการจัดอันดับเครดิตของประเทศไทยให้สูงขึ้นจากสถาบันจัดอันดับเครดิตต่างประเทศ
7. ตลาดหลักทรัพย์และบริษัทหลักทรัพย์ ทำการกระตุ้นให้มีการซื้อขายหลักทรัพย์มากขึ้นโดยการจัดสัมมนาเพิ่มพูนทักษะและความรู้ด้านการลงทุนด้านหลักทรัพย์ในภูมิภาคให้กับผู้สนใจมากขึ้น
4. ภาวะการจ้างงาน
ภาวะการทำงานของภาคฯปีนี้ อัตราการว่างงานร้อยละ 2.5 ลดลงจากปีก่อนซึ่งอัตราว่างงานร้อยละ 3.2 แรงงานผู้มีงานทำเป็นแรงงานภาคเกษตรกรรมสัดส่วนร้อยละ 57.4 ส่วนใหญ่ เป็นการทำงานในด้านกสิกรรมและการประมง และแรงงานนอกภาคเกษตรกรรมสัดส่วนร้อยละ 42.6 ส่วนใหญ่เป็นการทำงานในด้านการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ รถจักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน และงานการผลิต วุฒิการศึกษาส่วนใหญ่เป็นวุฒิการศึกษาต่ำกว่าประถมศึกษา ชั่วโมงทำงานต่อสัปดาห์ส่วนใหญ่ 50 ชั่วโมงขึ้นไปสัดส่วนร้อยละ 36.4 และ ชั่วโมงทำงาน 40 - 49 ชั่วโมง สัดส่วนร้อยละ 27.8
ในปีนี้การจัดหางานโดยผ่านสำนักจัดหางานของรัฐในภาคฯ พบว่าอายุของแรงงานในตำแหน่งงานที่ต้องการ ผู้สมัครงานและผู้ได้รับการบรรจุเข้าทำงานมากที่สุดคืออายุระหว่าง 18 - 24 ปี รองลงมาเป็นอายุระหว่าง 25 - 29 ปี และ 30 - 39 ปี ตามลำดับ
ตำแหน่งงานว่างจำนวน 109,690 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5 จากปีก่อน จังหวัดที่มีตำแหน่งงานว่างมากที่สุดคือชัยภูมิจำนวน 13,521 อัตรารองลงมาเป็นนครราชสีมา 11,076 อัตรา และสุรินทร์ 10,445 อัตรา ด้านวุฒิการศึกษาที่ต้องการมากที่สุดไม่ระบุวุฒิการศึกษาจำนวน 40,584 อัตรา (สัดส่วนร้อยละ 37.0) รองลงมาเป็นระดับมัธยมศึกษา 18,934 อัตรา(สัดส่วนร้อยละ 17.3) ประกาศนียบัตรวิชาชีพ 13,938 อัตรา (สัดส่วนร้อยละ 12.7) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 10,514 อัตรา (สัดส่วนร้อยละ9.6)
ส่วนผู้สมัครงานมีจำนวน 57,868 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.9 จากปีก่อน จังหวัดที่มีการสมัครงานมากที่สุดคือนครราชสีมา 11,726 คน รองลงมาเป็นศรีสะเกษ 5,814 คน และอุบลราชธานี 4,700 คน ด้านวุฒิการศึกษาที่ ผู้สมัครงานใช้ในการสมัครมากที่สุดคือมัธยมศึกษาจำนวน 17,135 คน (สัดส่วนร้อยละ29.6) รองลงมาเป็นปริญญาตรี 15,208 คน (สัดส่วนร้อยละ26.3) ประถมศึกษา 10,243 คน (สัดส่วนร้อยละ17.7) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) 9,878 คน (สัดสวนร้อยละ17.1) ตามลำดับ
ผู้ได้รับการบรรจุเข้าทำงานมีจำนวน 14,788 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.0 จากปีก่อน จังหวัดที่มีการบรรจุเข้าทำงานมากที่สุดคือศรีสะเกษ 3,067 คน รองลงมาเป็นนครราชสีมา 2,983 คน และสุรินทร์ 787 คน วุฒิการศึกษาของผู้ได้รับการบรรจุเข้าทำงานมากที่สุดคือมัธยมศึกษาจำนวน 5,724 คน (สัดส่วนร้อยละ 38.7) รองลงมาเป็นประถมศึกษา 4,754 คน(สัดส่วนร้อยละ 32.1) และปริญญาตรี1,950 (สัดส่วนร้อยละ 13.2) ตามลำดับ
แรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศ
แรงงานที่เดินทางไปทำงานยังต่างประเทศในปีนี้มีจำนวน 97,475 คน ลดลงร้อยละ 10.0 จากปีก่อน เป็นผลกระทบจากโรคทางเดินหายใจเฉียบพลัน (SARs) ระหว่างปลายไตรมาสที่ 1 ถึง ไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ในประเทศใกล้เคียงกับประเทศไทย เช่น ประเทศเวียดนาม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน ไต้หวัน ฮ่องกง มาตรการที่เข้มงวดด้านแรงงานต่างประเทศของประเทศไต้หวัน เหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศอิสราเอลและมาเลเซีย ทำให้แรงงานไทยที่จะเดินทางไปทำงานต่างประเทศต้องชะลอและเลื่อนการเดินทางทั้งการเดินทางไปและกลับจากต่างประเทศ แรงงานจากจังหวัดอุดรธานีเดินทางไปทำงานต่างประเทศมากที่สุดในภาคฯ จำนวน 17,292 คน (สัดส่วนร้อยละ 17.7) รองลงมาคือนครราชสีมา
ผู้สมัครงาน ตำแหน่งงาน การบรรจุงานผ่านสำนักจัดหางานจังหวัด
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(หน่วย : คน)
2545 2546
อัตราการว่างงาน*** 3.2 2.5
ผู้สมัครงาน** 36,429 57,868
(-5.2) (58.9)
ตำแหน่งงานว่าง** 92,579 109,690
(29.0) (18.5)
การบรรจุงาน** 11,466 14,788
(-18.6) (29.0)
แรงงานไปทำงานต่างประเทศ* 108,274 97,475
(-2.6) (-10.0)
ที่มา : *ฝ่ายสารสนเทศและศูนย์ทะเบียนคนหางานสำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศกรมการจัดหางาน
**ศูนย์ข่าวสารตลาดแรงงาน จังหวัดขอนแก่น
***สำนักงานสถิติแห่งชาติ
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อน 14,279 คน (สัดส่วนร้อยละ14.6) ขอนแก่น9,540 คน (สัดส่วนร้อยละ9.8) บุรีรัมย์ 8,183 คน (สัดส่วนร้อยละ 8.4)และชัยภูมิ 7,449 คน(สัดส่วนร้อยละ7.6) โดยประเทศที่แรงงานในภาคฯ เดินทางไปทำงานมากที่สุดคือ ไต้หวันจำนวน 56,217 คน จากแรงงานทั้งภาคฯ ในปีนี้97,475 คน (สัดส่วนร้อยละ 57.7) รองลงมาเป็นสิงคโปร์ 8,244 คน อิสราเอล 5,484 คน เกาหลีใต้ 5,213 คน และมาเลเซีย 4,354 คนตามลำดับแนวโน้มปี 2547 จำนวนแรงงานที่จะเดินทางไปทำงานต่างประเทศจะเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากมี โครงการสินเชื่อเพื่ อไปทำงาน ต่างประเทศซึ่งเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนเงินกู้ให้แก่แรงงานไทยที่ต้องการเดินทางไปทำงานต่างประเทศจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยให้กู้ได้ตามค่าใช้จ่ายจริง ไม่เกินรายละ 150,000 บาท กำหนดระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ไม่เกิน 18 เดือนนับแต่วันทำสัญญาเงินกู้ แต่ต้องไม่เกินกำหนดอายุสัญญาการจ้างงาน
5. ระดับราคา
5.1 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป
อัตราเงินเฟ้อวัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในปีนี้สูงขึ้นร้อยละ 2.2 เป็นผลจากราคาสินค้านหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 4.0 และราคาสินค้าในหมวดอื่นๆที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 1.2
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม
ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับปีก่อน สินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้นได้แก่ ผักและผลไม้สูงขึ้นร้อยละ 19.0 ข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้นร้อยละ 15.7 โดยเป็นผลจากการที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศปรับราคาจำหน่ายสูงขึ้น ผลผลิตในบางช่วงเวลามีปริมาณน้อยกว่าความต้องการในตลาด ราคาจำหน่ายข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกเหนียว ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว มีราคาเพิ่มสูงมาก
หมวดอื่น ๆ ที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม
ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน สินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้นได้แก่ สินค้าในหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารสูงขึ้นร้อยละ 3.3 โดยราคาน้ำมันเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 8.5 แต่สินค้าที่มีราคาลดลงเป็นเครื่องรับอุปกรณ สื่อสารลดลงร้อยละ 6.1 หมวดเคหสถานสูงขึ้นร้อยละ 0.3 โดยราคาเชื้อเพลิงสูงขึ้นร้อยละ 5.9 ส่วนราคาค่าที่พักอาศัยลดลงร้อยละ 0.4 ตามสภาวะสนับสนุนในเรื่องมาตรการด้านอสังหาริมทรัพย์ซึ่งจูงใจให้ประชาชนเปลี่ยนวีถีชีวิตจากการเช่าที่อยู่อาศัยซึ่งมีอัตราค่าเช่ารายเดือน อัตราใกล้เคียงกับการส่งผ่อนชำระบ้านรายเดือนเป็นการผ่อนชำระเพื่อเป็นเจ้าของบ้านอยู่อาศัยเอง
หมวดการบันเทิงการอ่านและการศึกษาสูงขึ้นร้อยละ 0.3 โดยอัตราค่าธรรมเนียมและสมาชิกสูงขึ้นร้อยละ1.1 แต่ราคาอุปกรณ์กีฬาและเครื่องเล่นลดลงร้อยละ 0.2 หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 0.2 โดยราคาผลิตภัณฑ์ไวน์สูงขึ้นร้อยละ 8.0 แต่ราคาผลิตภัณฑ์สุราลดลงร้อยละ 0.2 หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าสูงขึ้น ร้อยละ 0.1 โดยราคารองเท้าเด็กสูงขึ้นร้อยละ 0.4 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ไม่เปลี่ยนแปลง โดยค่าตรวจรักษาและค่ายาสูงขึ้นร้อยละ 0.2 แต่ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลลดลงร้อยละ 0.1
5.2 ดัชนีราคาผู้บริโภครายได้น้อย
ดัชนีราคาฯ สูงขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.5 โดยเป็นผลจากราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 2.5 และสินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.7
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม
ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน สินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้นได้แก่ ผักและผลไม้สูงขึ้นร้อยละ 17.2 โดยเป็นผลจากการที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศปรับราคาจำหน่ายสูงขึ้นและผลผลิตในบางช่วงเวลามีปริมาณน้อยกว่าความต้องการในตลาด
หมวดอื่น ๆ ที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม
ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน สินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้นได้แก่ สินค้าในหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารสูงขึ้นร้อยละ2.8 โดยราคาน้ำมันเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 5.1 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลสูงขึ้นร้อยละ 1.0 หมวดการบันเทิงการอ่านและการศึกษาสูงขึ้นร้อยละ 0.5 หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าสูงขึ้นร้อยละ0.4 หมวดเคหสถานราคาไม่เปลี่ยนแปลง แต่สินค้าที่มีราคาลดลงเป็นสินค้าในหมวดยาสูบและเครื่องดื่ม มีแอลกอฮอล์ลดลงร้อยละ 0.3
5.3 ดัชนีราคาผู้บริโภคเขตชนบท
ดัชนีราคาฯ สูงขึ้นร้อยละ 1.3 จากปีก่อน โดยเป็นผลจากราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 2.0 และสินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่ไม่รวมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.7
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม
ดัชนีราคาฯ สูงขึ้นร้อยละ 2.0เมื่อเทียบกับปีก่อน สินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้นได้แก่ ผักและผลไม้สูงขึ้นร้อยละ14.9 โดยเป็นผลจากการที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศปรับราคาจำหน่ายสูงขึ้นและผลผลิตในบางช่วงเวลามีปริมาณน้อยกว่าความต้องการในตลาด
ดัชนีราคาผู้บริโภคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2545 2546
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป * 103.6 105.9
(1.0) (2.2)
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน* 103.7 103.7
(n.a.) (0.0)
ดัชนีราคาผู้บริโภครายได้น้อย * 103.4 105.0
(0.9) (1.5)
ดัชนีราคาผู้บริโภคเขตชนบท ** 140.9 142.7
(0.9) (1.3)
ที่มา : สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : * ปีฐาน 2541 (1988 = 100)
** ปี 2537 (1994) เป็นปีฐานตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อน
หมวดอื่นๆ ที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม
ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับ ปีก่อน สินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้นได้แก่สินค้า ในหมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสารสูงขึ้นร้อยละ 2.9 โดยราคายานพาหนะขึ้นร้อยละ 3.9 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลสูงขึ้นร้อยละ 0.3 หมวดเคหสถานสูงขึ้นร้อยละ 0.2 โดยราคาไฟฟ้า เชื้อเพลิงน้ำประปาสูงขึ้นร้อยละ 1.1 หมวดการบันเทิงการอ่านและการศึกษาสูงขึ้น ร้อยละ 0.1 หมวดเครื่องนุ่งห่มไม่เปลี่ยน แปลงแต่สินค้าที่มีราคาลดลงเป็นสินค้าในหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ1.3
(ยังมีต่อ)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ชพ-
(หน่วย : ล้านบาท)
2545 2546
- มูลค่าซื้อหลักทรัพย์ 34,556.8 89,607.4
(8.8) (159.3)
- มูลค่าขายหลักทรัพย์ 34,367.6 87,679.7
(10.1) (155.1)
ที่มา : บริษัทหลักทรัพย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็น อัตราการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อน
การซื้อ-ขายหลักทรัพย์
ณ สิ้นปีนี้มีห้องค้าหลักทรัพย์ในภาคฯทั้งสิ้น 26 สำนักงาน เพิ่มขึ้น 10 สำนักงานจากปีก่อน ปริมาณการซื้อหลักทรัพย์ในปีนี้ทั้งสิ้น 89,607.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 159.3 จากปีก่อนมีการซื้อหลักทรัพย์ 34,556.8 ล้านบาท และปริมาณ การขายหลักทรัพย์ทั้งสิ้น 87,679.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 155.1 จากปีก่อน มีการขายหลักทรัพย์ 34,367.6 ล้านบาท เนื่องจาก
1. อัตราดอกเบี้ยต่ำ ส่งผลให้ผู้ลงทุนส่วนใหญ่นำเงินไปลงทุนในด้านหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น ซึ่งให้ผลตอบแทนสูงกว่าในช่วงดังกล่าวมีการซื้อ-ขาย ทำกำไรในระยะสั้นจำนวนมาก
2. การชำระค่าซื้อขายแบบยอดสุทธิ (Net Settlements) ที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญทำให้ตลาดหุ้นไทยกลับมามีปริมาณการซื้อขายที่สูงมาก โดยเฉพาะในเดือนกันยายนที่มูลค่าการซื้อขายสูงเป็นประวัติการณ์
3. ปีนี้พื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศและตลาดหุ้นไทยอยู่ในทิศทางที่ดี
4. แนวโน้มผลกำไรของธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์หลายแห่งดีกว่าปีก่อนมาก
5. กองทุนรวมระดมทุนในระบบมากขึ้นส่งผลให้ภาพรวมการซื้อขายหลักทรัพย์
6. ความเชื่อมั่นของนักลงทุนในปัจจุบันมีมากขึ้น ประกอบกับผู้ลงทุนสนใจนำข้อมูลสารสนเทศมาประกอบการพิจารณาการซื้อขายมากขึ้น รวมถึงการจัดอันดับเครดิตของประเทศไทยให้สูงขึ้นจากสถาบันจัดอันดับเครดิตต่างประเทศ
7. ตลาดหลักทรัพย์และบริษัทหลักทรัพย์ ทำการกระตุ้นให้มีการซื้อขายหลักทรัพย์มากขึ้นโดยการจัดสัมมนาเพิ่มพูนทักษะและความรู้ด้านการลงทุนด้านหลักทรัพย์ในภูมิภาคให้กับผู้สนใจมากขึ้น
4. ภาวะการจ้างงาน
ภาวะการทำงานของภาคฯปีนี้ อัตราการว่างงานร้อยละ 2.5 ลดลงจากปีก่อนซึ่งอัตราว่างงานร้อยละ 3.2 แรงงานผู้มีงานทำเป็นแรงงานภาคเกษตรกรรมสัดส่วนร้อยละ 57.4 ส่วนใหญ่ เป็นการทำงานในด้านกสิกรรมและการประมง และแรงงานนอกภาคเกษตรกรรมสัดส่วนร้อยละ 42.6 ส่วนใหญ่เป็นการทำงานในด้านการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ รถจักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน และงานการผลิต วุฒิการศึกษาส่วนใหญ่เป็นวุฒิการศึกษาต่ำกว่าประถมศึกษา ชั่วโมงทำงานต่อสัปดาห์ส่วนใหญ่ 50 ชั่วโมงขึ้นไปสัดส่วนร้อยละ 36.4 และ ชั่วโมงทำงาน 40 - 49 ชั่วโมง สัดส่วนร้อยละ 27.8
ในปีนี้การจัดหางานโดยผ่านสำนักจัดหางานของรัฐในภาคฯ พบว่าอายุของแรงงานในตำแหน่งงานที่ต้องการ ผู้สมัครงานและผู้ได้รับการบรรจุเข้าทำงานมากที่สุดคืออายุระหว่าง 18 - 24 ปี รองลงมาเป็นอายุระหว่าง 25 - 29 ปี และ 30 - 39 ปี ตามลำดับ
ตำแหน่งงานว่างจำนวน 109,690 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5 จากปีก่อน จังหวัดที่มีตำแหน่งงานว่างมากที่สุดคือชัยภูมิจำนวน 13,521 อัตรารองลงมาเป็นนครราชสีมา 11,076 อัตรา และสุรินทร์ 10,445 อัตรา ด้านวุฒิการศึกษาที่ต้องการมากที่สุดไม่ระบุวุฒิการศึกษาจำนวน 40,584 อัตรา (สัดส่วนร้อยละ 37.0) รองลงมาเป็นระดับมัธยมศึกษา 18,934 อัตรา(สัดส่วนร้อยละ 17.3) ประกาศนียบัตรวิชาชีพ 13,938 อัตรา (สัดส่วนร้อยละ 12.7) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 10,514 อัตรา (สัดส่วนร้อยละ9.6)
ส่วนผู้สมัครงานมีจำนวน 57,868 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.9 จากปีก่อน จังหวัดที่มีการสมัครงานมากที่สุดคือนครราชสีมา 11,726 คน รองลงมาเป็นศรีสะเกษ 5,814 คน และอุบลราชธานี 4,700 คน ด้านวุฒิการศึกษาที่ ผู้สมัครงานใช้ในการสมัครมากที่สุดคือมัธยมศึกษาจำนวน 17,135 คน (สัดส่วนร้อยละ29.6) รองลงมาเป็นปริญญาตรี 15,208 คน (สัดส่วนร้อยละ26.3) ประถมศึกษา 10,243 คน (สัดส่วนร้อยละ17.7) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) 9,878 คน (สัดสวนร้อยละ17.1) ตามลำดับ
ผู้ได้รับการบรรจุเข้าทำงานมีจำนวน 14,788 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.0 จากปีก่อน จังหวัดที่มีการบรรจุเข้าทำงานมากที่สุดคือศรีสะเกษ 3,067 คน รองลงมาเป็นนครราชสีมา 2,983 คน และสุรินทร์ 787 คน วุฒิการศึกษาของผู้ได้รับการบรรจุเข้าทำงานมากที่สุดคือมัธยมศึกษาจำนวน 5,724 คน (สัดส่วนร้อยละ 38.7) รองลงมาเป็นประถมศึกษา 4,754 คน(สัดส่วนร้อยละ 32.1) และปริญญาตรี1,950 (สัดส่วนร้อยละ 13.2) ตามลำดับ
แรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศ
แรงงานที่เดินทางไปทำงานยังต่างประเทศในปีนี้มีจำนวน 97,475 คน ลดลงร้อยละ 10.0 จากปีก่อน เป็นผลกระทบจากโรคทางเดินหายใจเฉียบพลัน (SARs) ระหว่างปลายไตรมาสที่ 1 ถึง ไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ในประเทศใกล้เคียงกับประเทศไทย เช่น ประเทศเวียดนาม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน ไต้หวัน ฮ่องกง มาตรการที่เข้มงวดด้านแรงงานต่างประเทศของประเทศไต้หวัน เหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศอิสราเอลและมาเลเซีย ทำให้แรงงานไทยที่จะเดินทางไปทำงานต่างประเทศต้องชะลอและเลื่อนการเดินทางทั้งการเดินทางไปและกลับจากต่างประเทศ แรงงานจากจังหวัดอุดรธานีเดินทางไปทำงานต่างประเทศมากที่สุดในภาคฯ จำนวน 17,292 คน (สัดส่วนร้อยละ 17.7) รองลงมาคือนครราชสีมา
ผู้สมัครงาน ตำแหน่งงาน การบรรจุงานผ่านสำนักจัดหางานจังหวัด
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(หน่วย : คน)
2545 2546
อัตราการว่างงาน*** 3.2 2.5
ผู้สมัครงาน** 36,429 57,868
(-5.2) (58.9)
ตำแหน่งงานว่าง** 92,579 109,690
(29.0) (18.5)
การบรรจุงาน** 11,466 14,788
(-18.6) (29.0)
แรงงานไปทำงานต่างประเทศ* 108,274 97,475
(-2.6) (-10.0)
ที่มา : *ฝ่ายสารสนเทศและศูนย์ทะเบียนคนหางานสำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศกรมการจัดหางาน
**ศูนย์ข่าวสารตลาดแรงงาน จังหวัดขอนแก่น
***สำนักงานสถิติแห่งชาติ
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อน 14,279 คน (สัดส่วนร้อยละ14.6) ขอนแก่น9,540 คน (สัดส่วนร้อยละ9.8) บุรีรัมย์ 8,183 คน (สัดส่วนร้อยละ 8.4)และชัยภูมิ 7,449 คน(สัดส่วนร้อยละ7.6) โดยประเทศที่แรงงานในภาคฯ เดินทางไปทำงานมากที่สุดคือ ไต้หวันจำนวน 56,217 คน จากแรงงานทั้งภาคฯ ในปีนี้97,475 คน (สัดส่วนร้อยละ 57.7) รองลงมาเป็นสิงคโปร์ 8,244 คน อิสราเอล 5,484 คน เกาหลีใต้ 5,213 คน และมาเลเซีย 4,354 คนตามลำดับแนวโน้มปี 2547 จำนวนแรงงานที่จะเดินทางไปทำงานต่างประเทศจะเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากมี โครงการสินเชื่อเพื่ อไปทำงาน ต่างประเทศซึ่งเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนเงินกู้ให้แก่แรงงานไทยที่ต้องการเดินทางไปทำงานต่างประเทศจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยให้กู้ได้ตามค่าใช้จ่ายจริง ไม่เกินรายละ 150,000 บาท กำหนดระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ไม่เกิน 18 เดือนนับแต่วันทำสัญญาเงินกู้ แต่ต้องไม่เกินกำหนดอายุสัญญาการจ้างงาน
5. ระดับราคา
5.1 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป
อัตราเงินเฟ้อวัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในปีนี้สูงขึ้นร้อยละ 2.2 เป็นผลจากราคาสินค้านหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 4.0 และราคาสินค้าในหมวดอื่นๆที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 1.2
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม
ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับปีก่อน สินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้นได้แก่ ผักและผลไม้สูงขึ้นร้อยละ 19.0 ข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้นร้อยละ 15.7 โดยเป็นผลจากการที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศปรับราคาจำหน่ายสูงขึ้น ผลผลิตในบางช่วงเวลามีปริมาณน้อยกว่าความต้องการในตลาด ราคาจำหน่ายข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกเหนียว ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว มีราคาเพิ่มสูงมาก
หมวดอื่น ๆ ที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม
ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน สินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้นได้แก่ สินค้าในหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารสูงขึ้นร้อยละ 3.3 โดยราคาน้ำมันเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 8.5 แต่สินค้าที่มีราคาลดลงเป็นเครื่องรับอุปกรณ สื่อสารลดลงร้อยละ 6.1 หมวดเคหสถานสูงขึ้นร้อยละ 0.3 โดยราคาเชื้อเพลิงสูงขึ้นร้อยละ 5.9 ส่วนราคาค่าที่พักอาศัยลดลงร้อยละ 0.4 ตามสภาวะสนับสนุนในเรื่องมาตรการด้านอสังหาริมทรัพย์ซึ่งจูงใจให้ประชาชนเปลี่ยนวีถีชีวิตจากการเช่าที่อยู่อาศัยซึ่งมีอัตราค่าเช่ารายเดือน อัตราใกล้เคียงกับการส่งผ่อนชำระบ้านรายเดือนเป็นการผ่อนชำระเพื่อเป็นเจ้าของบ้านอยู่อาศัยเอง
หมวดการบันเทิงการอ่านและการศึกษาสูงขึ้นร้อยละ 0.3 โดยอัตราค่าธรรมเนียมและสมาชิกสูงขึ้นร้อยละ1.1 แต่ราคาอุปกรณ์กีฬาและเครื่องเล่นลดลงร้อยละ 0.2 หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 0.2 โดยราคาผลิตภัณฑ์ไวน์สูงขึ้นร้อยละ 8.0 แต่ราคาผลิตภัณฑ์สุราลดลงร้อยละ 0.2 หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าสูงขึ้น ร้อยละ 0.1 โดยราคารองเท้าเด็กสูงขึ้นร้อยละ 0.4 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ไม่เปลี่ยนแปลง โดยค่าตรวจรักษาและค่ายาสูงขึ้นร้อยละ 0.2 แต่ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลลดลงร้อยละ 0.1
5.2 ดัชนีราคาผู้บริโภครายได้น้อย
ดัชนีราคาฯ สูงขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.5 โดยเป็นผลจากราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 2.5 และสินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.7
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม
ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน สินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้นได้แก่ ผักและผลไม้สูงขึ้นร้อยละ 17.2 โดยเป็นผลจากการที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศปรับราคาจำหน่ายสูงขึ้นและผลผลิตในบางช่วงเวลามีปริมาณน้อยกว่าความต้องการในตลาด
หมวดอื่น ๆ ที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม
ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน สินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้นได้แก่ สินค้าในหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารสูงขึ้นร้อยละ2.8 โดยราคาน้ำมันเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 5.1 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลสูงขึ้นร้อยละ 1.0 หมวดการบันเทิงการอ่านและการศึกษาสูงขึ้นร้อยละ 0.5 หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าสูงขึ้นร้อยละ0.4 หมวดเคหสถานราคาไม่เปลี่ยนแปลง แต่สินค้าที่มีราคาลดลงเป็นสินค้าในหมวดยาสูบและเครื่องดื่ม มีแอลกอฮอล์ลดลงร้อยละ 0.3
5.3 ดัชนีราคาผู้บริโภคเขตชนบท
ดัชนีราคาฯ สูงขึ้นร้อยละ 1.3 จากปีก่อน โดยเป็นผลจากราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 2.0 และสินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่ไม่รวมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.7
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม
ดัชนีราคาฯ สูงขึ้นร้อยละ 2.0เมื่อเทียบกับปีก่อน สินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้นได้แก่ ผักและผลไม้สูงขึ้นร้อยละ14.9 โดยเป็นผลจากการที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศปรับราคาจำหน่ายสูงขึ้นและผลผลิตในบางช่วงเวลามีปริมาณน้อยกว่าความต้องการในตลาด
ดัชนีราคาผู้บริโภคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2545 2546
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป * 103.6 105.9
(1.0) (2.2)
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน* 103.7 103.7
(n.a.) (0.0)
ดัชนีราคาผู้บริโภครายได้น้อย * 103.4 105.0
(0.9) (1.5)
ดัชนีราคาผู้บริโภคเขตชนบท ** 140.9 142.7
(0.9) (1.3)
ที่มา : สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : * ปีฐาน 2541 (1988 = 100)
** ปี 2537 (1994) เป็นปีฐานตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อน
หมวดอื่นๆ ที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม
ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับ ปีก่อน สินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้นได้แก่สินค้า ในหมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสารสูงขึ้นร้อยละ 2.9 โดยราคายานพาหนะขึ้นร้อยละ 3.9 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลสูงขึ้นร้อยละ 0.3 หมวดเคหสถานสูงขึ้นร้อยละ 0.2 โดยราคาไฟฟ้า เชื้อเพลิงน้ำประปาสูงขึ้นร้อยละ 1.1 หมวดการบันเทิงการอ่านและการศึกษาสูงขึ้น ร้อยละ 0.1 หมวดเครื่องนุ่งห่มไม่เปลี่ยน แปลงแต่สินค้าที่มีราคาลดลงเป็นสินค้าในหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ1.3
(ยังมีต่อ)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ชพ-