อุตสาหกรรมยานยนต์
กระทรวงพาณิชย์ได้ออกประกาศเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2547 ปรับปรุงมาตรการการนำเข้ารถบรรทุกคนโดยสารตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไป ที่มีที่นั่งตั้งแต่ 30 ที่นั่งขึ้นไป ไม่ว่าจะมีที่นั่งประกอบหรือติดอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม โดยมาตรการตามประกาศดังกล่าวทำให้รถยนต์บรรทุกคนโดยสารสำเร็จรูปใหม่ ชนิด 6 ล้อ ที่มีที่นั่งตั้งแต่ 30 ที่นั่งขึ้นไป ซึ่งแต่เดิมมีการห้ามนำเข้าไว้ สามารถนำเข้ามาในราชอาณาจักรได้ สำหรับรถยนต์บรรทุกคนโดยสารสำเร็จรูปใช้แล้ว ชนิด 6 ล้อ ที่มีที่นั่งตั้งแต่ 30 ที่นั่งขึ้นไป ยังคงเป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมลภาวะรวมทั้งคุ้มครองชีวิตและสุขภาพของมนุษย์
อุตสาหกรรมรถยนต์
ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของ ปี 2547 มีจำนวน 218,706 คัน และ 147,585 คัน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.88 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.61 และ 3.49 ตามลำดับ แต่รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 24.62 ในส่วนการจำหน่ายเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 4.12 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.25 แต่รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 6.22 และ 18.48 ตามลำดับ ซึ่งในไตรมาสแรกปี 2547 รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ยังคงครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุด ร้อยละ 57.43 รองลงมาเป็นรถยนต์นั่ง ร้อยละ 35.50 ทั้งนี้ รถยนต์นั่งขนาดเล็กยังคงเป็นที่นิยมของผู้บริโภค เมื่อพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.37 และ 23.90 ตามลำดับ โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.13 , 33.66 และ 83.09 ตามลำดับ ในส่วนการจำหน่าย ทั้งรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.03 , 30.26 และ 4.08 ตามลำดับ
ในด้านการส่งออกรถยนต์ของไทยในไตรมาสแรกของปี 2547 มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 73,609 คัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 19.22 โดยคิดเป็นมูลค่าการส่งออก 32,416.26 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.80 และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2546 เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.07 โดยคิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.82 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์จากประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 ได้แก่ ออสเตรเลีย , อินโดนีเซีย และสหราชอาณาจักรการนำเข้ารถยนต์ของไทยในไตรมาสแรกของปี 2547 มีการนำเข้ารถยนต์นั่งคิดเป็นมูลค่า 2,918.6 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 24.00 และมีการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกคิดเป็นมูลค่า 1,562.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 12.52 และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว มีการนำเข้ารถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 42.47 แต่มีการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.28 ซึ่งแหล่งนำเข้ารถยนต์ของไทยที่สำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 ได้แก่ ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์
อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2547 มีการขยายตัวมาอย่างต่อเนื่อง สะท้อนสภาพเศรษฐกิจไทยที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับค่ายรถยนต์ต่างๆ ได้แนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ๆ พร้อมทั้งปัจจัยเสริมที่เอื้อต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมีนาคมที่มีการจัดงาน Bangkok International Motor Show ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยผลักดันยอดจำหน่ายรถยนต์ในเดือนเมษายน ต่อเนื่องถึงเดือนพฤษภาคมด้วย
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์
ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 มีจำนวน 725,234 คัน และ 521,022 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 14.07 และ 15.20 ตามลำดับ โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.10 แต่รถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตลดลงร้อยละ 17.95 มีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.17 และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.19 ทั้งนี้ในไตรมาสแรกของปี 2547
รถจักรยานยนต์แบบครอบครัวยังคงมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงถึงร้อยละ 99.13 และเมื่อพิจารณาไตรมาสแรกของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.60 และ 13.69 ตามลำดับ โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.53 และการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 99.21 ในส่วนของการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.32 แต่แบบสปอร์ตลดลงร้อยละ 30.08
ด้านการส่งออกรถจักรยานยนต์ของไทยในไตรมาสแรกของปี 2547 มีปริมาณการส่งออกรถ จักรยานยนต์ (CBU&CKD) จำนวน 201,657 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.93 โดยคิดเป็นมูลค่า 2,921.88 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.17 สำหรับปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2547 เปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.94 และเมื่อคิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.06 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์จากประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 ได้แก่ อินโดนีเซีย , สหรัฐอเมริกา และเบลเยี่ยม
สำหรับการนำเข้ารถจักรยานยนต์ของไทยในไตรมาสแรกของปี 2547 มีการนำเข้าคิดเป็นมูลค่า 383.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 15.70 และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของ ปีที่แล้ว มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 106.34 ซึ่งแหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ของไทยที่สำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 ได้แก่ ญี่ปุ่น และเยอรมนี
การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ทั้งด้านการผลิต การจำหน่าย และการส่งออก ในไตรมาสแรกของปี 2547 นี้ ส่วนหนึ่งมาจากมีการแข่งขันกันจัดกิจกรรมและส่งเสริมการจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดแรงซื้อ นอกจากนี้ ตลาดยังคงมีกำลังซื้อค่อนข้างสูง เนื่องจากภาคเกษตรบางส่วนมีรายได้จากการนำผลิตผลออกจำหน่ายได้ในราคาดี สำหรับการส่งออกรถจักรยานยนต์ ได้มีการเพิ่ม Quota ในเวียดนาม และมีการส่งออกไปยังประเทศแถบยุโรป และกัมพูชา เพิ่มมากขึ้น
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
การส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2547 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา เป็นการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) มูลค่า 6,474.81 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.89 แต่การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์มูลค่า 614.88 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.36 สำหรับการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า 2,958.48 และ 1,028.47 ล้านบาท ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 27.75 และ 424.86 ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.35 และ 19.49 ตามลำดับ สำหรับมูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์(OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 150.01 และ 86.44 ตามลำดับ ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 ได้แก่ ญี่ปุ่น , สหรัฐอเมริกา และมาเลเซีย ส่วนประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย , กัมพูชา และเวียดนาม
ด้านการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบรถยนต์รวมทั้งโครงรถและตัวถัง ในไตรมาส แรกของปี 2547 มีมูลค่า 27,869.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 0.95 และการนำเข้า ยางรถยนต์มีมูลค่า 763.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.75 สำหรับการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์และรถจักรยาน มีมูลค่า 811.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 14.13 และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบรถยนต์ รวมทั้งโครงรถและตัวถัง และยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.78 และ 17.64 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน มีมูลค่าลดลงร้อยละ 11.48 ซึ่งแหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบรถยนต์รวมทั้งโครงรถและตัวถังรถยนต์ของไทยที่สำคัญในไตรมาสแรกของปี 2547 ได้แก่ ญี่ปุ่น , ฟิลิปปินส์ และเยอรมนี แหล่งนำเข้ายางรถยนต์ที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น และ อินโดนีเซีย และแหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์และรถจักรยาน ที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น , อินโดนีเซีย และจีน
จากการขยายตัวทั้งการผลิต และการจำหน่าย ของอุตสาหกรรมยานยนต์เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา จึงอาจกล่าวได้ว่า แม้จะมีปัจจัยลบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคบ้าง อาทิ สถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สถานการณ์โรคไข้หวัดนก ซึ่งสถานการณ์ต่างๆ เริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดี ทั้งยังไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อการตัดสินใจซื้อยานยนต์ของคนไทย และเป็นที่คาดกันว่าในไตรมาสที่สองของปี 2547 อุตสาหกรรมยานยนต์จะยังคงรักษาระดับการเติบโตต่อไปได้ โดยเฉพาะสภาวการณ์อัตราดอกเบี้ยต่ำ และการแข่งขันระหว่างค่ายยานยนต์ต่างๆ ล้วนเป็นปัจจัยบวกที่สนับสนุนกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศ
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-
กระทรวงพาณิชย์ได้ออกประกาศเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2547 ปรับปรุงมาตรการการนำเข้ารถบรรทุกคนโดยสารตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไป ที่มีที่นั่งตั้งแต่ 30 ที่นั่งขึ้นไป ไม่ว่าจะมีที่นั่งประกอบหรือติดอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม โดยมาตรการตามประกาศดังกล่าวทำให้รถยนต์บรรทุกคนโดยสารสำเร็จรูปใหม่ ชนิด 6 ล้อ ที่มีที่นั่งตั้งแต่ 30 ที่นั่งขึ้นไป ซึ่งแต่เดิมมีการห้ามนำเข้าไว้ สามารถนำเข้ามาในราชอาณาจักรได้ สำหรับรถยนต์บรรทุกคนโดยสารสำเร็จรูปใช้แล้ว ชนิด 6 ล้อ ที่มีที่นั่งตั้งแต่ 30 ที่นั่งขึ้นไป ยังคงเป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมลภาวะรวมทั้งคุ้มครองชีวิตและสุขภาพของมนุษย์
อุตสาหกรรมรถยนต์
ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของ ปี 2547 มีจำนวน 218,706 คัน และ 147,585 คัน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.88 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.61 และ 3.49 ตามลำดับ แต่รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 24.62 ในส่วนการจำหน่ายเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 4.12 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.25 แต่รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 6.22 และ 18.48 ตามลำดับ ซึ่งในไตรมาสแรกปี 2547 รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ยังคงครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุด ร้อยละ 57.43 รองลงมาเป็นรถยนต์นั่ง ร้อยละ 35.50 ทั้งนี้ รถยนต์นั่งขนาดเล็กยังคงเป็นที่นิยมของผู้บริโภค เมื่อพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.37 และ 23.90 ตามลำดับ โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.13 , 33.66 และ 83.09 ตามลำดับ ในส่วนการจำหน่าย ทั้งรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.03 , 30.26 และ 4.08 ตามลำดับ
ในด้านการส่งออกรถยนต์ของไทยในไตรมาสแรกของปี 2547 มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 73,609 คัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 19.22 โดยคิดเป็นมูลค่าการส่งออก 32,416.26 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.80 และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2546 เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.07 โดยคิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.82 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์จากประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 ได้แก่ ออสเตรเลีย , อินโดนีเซีย และสหราชอาณาจักรการนำเข้ารถยนต์ของไทยในไตรมาสแรกของปี 2547 มีการนำเข้ารถยนต์นั่งคิดเป็นมูลค่า 2,918.6 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 24.00 และมีการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกคิดเป็นมูลค่า 1,562.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 12.52 และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว มีการนำเข้ารถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 42.47 แต่มีการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.28 ซึ่งแหล่งนำเข้ารถยนต์ของไทยที่สำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 ได้แก่ ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์
อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2547 มีการขยายตัวมาอย่างต่อเนื่อง สะท้อนสภาพเศรษฐกิจไทยที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับค่ายรถยนต์ต่างๆ ได้แนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ๆ พร้อมทั้งปัจจัยเสริมที่เอื้อต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมีนาคมที่มีการจัดงาน Bangkok International Motor Show ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยผลักดันยอดจำหน่ายรถยนต์ในเดือนเมษายน ต่อเนื่องถึงเดือนพฤษภาคมด้วย
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์
ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 มีจำนวน 725,234 คัน และ 521,022 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 14.07 และ 15.20 ตามลำดับ โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.10 แต่รถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตลดลงร้อยละ 17.95 มีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.17 และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.19 ทั้งนี้ในไตรมาสแรกของปี 2547
รถจักรยานยนต์แบบครอบครัวยังคงมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงถึงร้อยละ 99.13 และเมื่อพิจารณาไตรมาสแรกของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.60 และ 13.69 ตามลำดับ โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.53 และการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 99.21 ในส่วนของการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.32 แต่แบบสปอร์ตลดลงร้อยละ 30.08
ด้านการส่งออกรถจักรยานยนต์ของไทยในไตรมาสแรกของปี 2547 มีปริมาณการส่งออกรถ จักรยานยนต์ (CBU&CKD) จำนวน 201,657 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.93 โดยคิดเป็นมูลค่า 2,921.88 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.17 สำหรับปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2547 เปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.94 และเมื่อคิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.06 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์จากประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 ได้แก่ อินโดนีเซีย , สหรัฐอเมริกา และเบลเยี่ยม
สำหรับการนำเข้ารถจักรยานยนต์ของไทยในไตรมาสแรกของปี 2547 มีการนำเข้าคิดเป็นมูลค่า 383.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 15.70 และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของ ปีที่แล้ว มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 106.34 ซึ่งแหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ของไทยที่สำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 ได้แก่ ญี่ปุ่น และเยอรมนี
การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ทั้งด้านการผลิต การจำหน่าย และการส่งออก ในไตรมาสแรกของปี 2547 นี้ ส่วนหนึ่งมาจากมีการแข่งขันกันจัดกิจกรรมและส่งเสริมการจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดแรงซื้อ นอกจากนี้ ตลาดยังคงมีกำลังซื้อค่อนข้างสูง เนื่องจากภาคเกษตรบางส่วนมีรายได้จากการนำผลิตผลออกจำหน่ายได้ในราคาดี สำหรับการส่งออกรถจักรยานยนต์ ได้มีการเพิ่ม Quota ในเวียดนาม และมีการส่งออกไปยังประเทศแถบยุโรป และกัมพูชา เพิ่มมากขึ้น
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
การส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2547 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา เป็นการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) มูลค่า 6,474.81 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.89 แต่การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์มูลค่า 614.88 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.36 สำหรับการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า 2,958.48 และ 1,028.47 ล้านบาท ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 27.75 และ 424.86 ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.35 และ 19.49 ตามลำดับ สำหรับมูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์(OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 150.01 และ 86.44 ตามลำดับ ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 ได้แก่ ญี่ปุ่น , สหรัฐอเมริกา และมาเลเซีย ส่วนประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย , กัมพูชา และเวียดนาม
ด้านการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบรถยนต์รวมทั้งโครงรถและตัวถัง ในไตรมาส แรกของปี 2547 มีมูลค่า 27,869.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 0.95 และการนำเข้า ยางรถยนต์มีมูลค่า 763.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.75 สำหรับการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์และรถจักรยาน มีมูลค่า 811.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 14.13 และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบรถยนต์ รวมทั้งโครงรถและตัวถัง และยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.78 และ 17.64 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน มีมูลค่าลดลงร้อยละ 11.48 ซึ่งแหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบรถยนต์รวมทั้งโครงรถและตัวถังรถยนต์ของไทยที่สำคัญในไตรมาสแรกของปี 2547 ได้แก่ ญี่ปุ่น , ฟิลิปปินส์ และเยอรมนี แหล่งนำเข้ายางรถยนต์ที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น และ อินโดนีเซีย และแหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์และรถจักรยาน ที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น , อินโดนีเซีย และจีน
จากการขยายตัวทั้งการผลิต และการจำหน่าย ของอุตสาหกรรมยานยนต์เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา จึงอาจกล่าวได้ว่า แม้จะมีปัจจัยลบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคบ้าง อาทิ สถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สถานการณ์โรคไข้หวัดนก ซึ่งสถานการณ์ต่างๆ เริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดี ทั้งยังไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อการตัดสินใจซื้อยานยนต์ของคนไทย และเป็นที่คาดกันว่าในไตรมาสที่สองของปี 2547 อุตสาหกรรมยานยนต์จะยังคงรักษาระดับการเติบโตต่อไปได้ โดยเฉพาะสภาวการณ์อัตราดอกเบี้ยต่ำ และการแข่งขันระหว่างค่ายยานยนต์ต่างๆ ล้วนเป็นปัจจัยบวกที่สนับสนุนกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศ
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-