อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ไตรมาสที่ 1 ปี 2547
1. ภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรม
ภาวะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยรวมของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ปรับตัวดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยจากดัชนีอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าร้อยละ 6.6 และกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 48.9 เป็นผลมาจากอุตสาหรรมอิเล็กทรอนิกส์มีอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 46.5 ในขณะที่อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้ามีอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 3.9 และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกพบว่าในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 นี้ การส่งออกสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้น 304,470.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.9 และจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มร้อยละ 6.2 ส่วนการนำเข้าสินค้าในกลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่า 236,692.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 เปรียบเทียบกับประเทศผู้ผลิตสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ เช่น ประเทศญี่ปุ่น พบว่าภาวะการผลิตของสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้ายังคงไม่ฟื้นตัว โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ในกลุ่ม HouseHold Electrical Machinery ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ภาวะการผลิตของสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศญี่ปุ่น ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยสินค้าในกลุ่ม Electronic parts and devices ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากตลาดของ Communications , Computer and Consumer Electronic เช่น DVD player และ Digital Cameras ที่เติบโตอย่างมากจึงทำให้มีความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย และเมื่อพิจารณาถึงมูลค่าการจำหน่าย Semiconductor ของภูมิภาคต่างๆของโลกพบว่ามีมูลค่าการจำหน่ายเพิ่มขึ้นทุกตลาด โดย Semiconductor Industry Association (SIA) ได้รายงานการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่าจำหน่าย 47.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
2.1 การผลิต
ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากรายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า ดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากได้แก่ สินค้าประเภทให้ความเย็น เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และพัดลม เป็นต้น โดยดัชนีผลผลิตสินค้าต่างๆในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นดังนี้
กลุ่มเครื่องปรับอากาศ และคอมเพรสเซอร์ (ISIC 2919) ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตเร่งทำการผลิตเพื่อขายในช่วงฤดูร้อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน (ISIC 2930) ซึ่งประกอบด้วย พัดลม ตู้เย็น กระติกน้ำร้อน และหม้อหุงข้าว ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
กลุ่มเครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง (ISIC 3230) ดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 17.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากผู้ผลิตลดกำลังการผลิตลง หลังจากเร่งผลิตเพื่อขายในช่วงเทศกาลปีใหม่แล้ว แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนดัชนีผลผลิตค่อนข้างทรงตัวโดยปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.9 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สำคัญของไทย
เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยปรับตัวลดลง ร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วปรับตัวลดลงร้อยละ 3.8 และเมื่อพิจารณาในรายสินค้าพบว่าเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนดัชนีปรับตัวลดลงในเกือบทุกกลุ่มสินค้า โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลงมากที่สุดได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 44.7 รองลงมาคือ วีดีโอ ลดลงร้อยละ 23.9 ดัชนีผลผลิตรายสินค้า ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ของประเทศญี่ปุ่น
2.2 การตลาด
จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า ในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ดัชนีการส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่มต่างๆในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นดังนี้
กลุ่มเครื่องปรับอากาศ และคอมเพรสเซอร์ (ISIC 2919) ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากมีการป้อนสินค้าเข้าสู่ตลาดเพื่อขายในช่วงฤดูร้อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน (ISIC 2930) ซึ่งประกอบด้วย พัดลม ตู้เย็น กระติกน้ำร้อน และหม้อหุงข้าว ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
กลุ่มเครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง (ISIC 3230) ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ปรับตัวลดลง ร้อยละ 15.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สำคัญของไทย
เปรียบเทียบกับดัชนีส่งสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนพบว่า ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 2.0 และเมื่อพิจารณาในรายสินค้าพบว่าสินค้าที่ปรับตัวลดลงมากที่สุดได้แก่ เครื่องปรับอากาศโดยปรับตัวลดลงร้อยละ 13.4 รองลงมาคือ วีดีโอ ลดลงร้อยละ 9.8 ในขณะที่เครื่องซักผ้า และ เครื่องเล่น DVD มีดัชนีการส่งสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดร้อยละ 8.5 และ 7.3 ตามลำดับ
ตลาดส่งออก
การส่งออกสินค้าไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่าทั้งสิ้น 121,250.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สินค้าที่มีการส่งออกขยายตัวสูงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ส่วนประกอบที่ใช้กับมอร์เตอร์ไฟฟ้าและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และเครื่องอุปกรณ์ที่ให้สัญญาณเสียงและส่วนประกอบ โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 160.3 และ 128.1 ด้วยมูลค่าการส่งออก 1,259.0 และ 3,687.1 ล้านบาทตามลำดับ ในขณะที่สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกมากที่สุดยังคงเป็น เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ และส่วนประกอบ โดยมีมูลค่าการส่งออก 2,8849.9 ล้านบาท สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรกแสดงใน
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าสินค้าไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่าทั้งสิ้น 93,039.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยส่วนใหญ่ยังคงเป็นการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อทำการผลิตสินค้า สินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุด 5 อันดับแรก
3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
3.1 การผลิต
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ยังขยายตัวได้ต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 โดยจากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 เทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 48.9 ซึ่งเป็นการขยายตัวตามความต้องการสินค้า IT ของโลกที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่ม Monolithic Integrated circuit และ หลอดภาพเครื่องรับโทรทัศน์สี เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 78.6 และ 40 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 1 ของปี 2547 พบว่าภาวะการผลิตของประเทศญี่ปุ่นทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดย Ministry of Economic Trade and Industry (METI) รายงานว่าดัชนีผลผลิตในกลุ่มของ Electronic computer เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 และในกลุ่มของ Electronic parts and devices เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน กลุ่ม Electronic computer เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 กลุ่ม Electronic parts and devices เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 23.2
3.2 การตลาดภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 4 ปี 2546 โดยจากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีการส่งสินค้าอุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ดัชนีเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 45.5 โดยในกลุ่ม Monolithic Integrated circuit และ Other Integrated circuit เพิ่มขึ้นร้อยละ 70 และ 43 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 1 ของปี 2547 พบว่าภาวะการส่งสินค้าของประเทศญี่ปุ่นทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดย METI รายงานว่าดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่ม Electronic computer ลดลงร้อยละ 4.0 และในกลุ่มของ Electronic parts and devices ลดลงร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กลุ่ม Electronic computer เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ในขณะที่ กลุ่ม Electronic parts and devices เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 23.8
นอกจากนี้ Semiconductor Industry Association (SIA) ได้รายงานการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ซึ่งสอดคล้องกับภาวะตลาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (IC) ของไทยที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยมีมูลค่าจำหน่าย 47.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.0 โดยในไตรมาสนี้ทุกภูมิภาค คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และเอเชียแปซิฟิก มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 21.6 22.0 30.7 และ 41.5 ตามลำดับ ซึ่ง SIA กล่าวว่าเป็นเพราะตลาด Communications , Computer and Consumer Electronic (DVD player และ Digital Cameras) เติบโตอย่างมากจึงทำให้มีความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยความต้องการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนตั้งแต่กลางปีที่แล้ว ประกอบกับภาคธุรกิจมีการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11.5 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์กำลังอยู่ในวัฎจักรขาขึ้น
ตลาดส่งออก
การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 มีมูลค่า 182,220.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าสำคัญที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก คือ วงจรพิมพ์ และแผงวงจรไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.7 และ 25.3 ตามลำดับ และหากพิจารณาแล้ว สินค้าส่งออกที่สำคัญที่มีการปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก คือ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด โดยลดลงถึงร้อยละ 30.5 (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 5 )
3.3 การนำเข้า
การนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 มีมูลค่ารวม 143,652.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 โดยเฉพาะอุปกรณ์เครื่องรับโทรศัพท์ โทรเลข และอุปกรณ์ และ วงจรพิมพ์ ที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก คือ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 51.9 และ 30.6 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
4. แนวโน้ม
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2547 คาดว่าน่าจะปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ โดยตลาดในประเทศได้ปัจจัยหนุนสำคัญจากการขยายตัวของอสังหาริมทรัพย์ด้านที่อยู่อาศัยทำให้สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่อำนวยความสะดวกและให้ความบันเทิงในบ้านมีแนวโน้มของอัตราการเติบโตที่ดี เช่น เครื่องรับโทรทัศน์โดยเฉพาะจอมากกว่า 21 นิ้ว เครื่องซักผ้า ตู้เย็น กระติกน้ำร้อน เป็นต้น นอกจากการส่งเสริมการขายแบบแถมควบสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าไปด้วยของผู้ผลิตอันเนื่องจากมีการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดแล้วสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นมากทำให้ กลุ่มสินค้าเครื่องปรับอากาศในไตรมาสที่ 2 ยังคงมีแนวโน้มเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่องต่อไป โดยในปี 2547 คาดว่าจะเติบโตสูงขึ้นอีกประมาณร้อยละ 10
ส่วนตลาดส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าพบว่ามีแนวโน้มดีขึ้นเมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่าตลาดส่งออกที่เป็นตลาดรองลงมาจาดตลาดสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นกลับมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีขึ้นอย่างน่าสนใจ แต่อย่างไรก็ดี ตลาดญี่ปุ่นก็น่าจะยังมีความสำคัญอยู่เนื่องจากญี่ปุ่นสามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในประเทศได้เป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง หากสภาพเศรษฐกิจยังคงดีขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ต่อไปย่อมส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้าของไทยในอนาคต
แนวโน้มของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2547 คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นกว่าไตรมาสที่ 1 ปี 2547 และจะปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์ของโลกที่กำลังอยู่ในวัฏจักรขาขึ้น SIA ได้คาดการณ์ว่ายอดขาย Semiconductor ทั่วโลกจะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 ในปี 2547 โดยได้รับแรงกระตุ้นจากการใช้จ่ายทางด้านสินค้า IT ทำให้ประเทศไทยซึ่งเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนจะได้รับผลดีตามภาวะอิเล็กทรอนิกส์โลกไปด้วยอย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงอีกหลายปัจจัยที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทย เช่น สถานการณ์ของโลกที่ยังไม่สงบจากการก่อการร้ายที่กระจายไปทั่วโลก ภาวะราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และประเทศจีนมีนโยบายที่จะชะลอการเติบโตของประเทศเพื่อลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกชะลอตัวลงได้
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-
ไตรมาสที่ 1 ปี 2547
1. ภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรม
ภาวะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยรวมของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ปรับตัวดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยจากดัชนีอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าร้อยละ 6.6 และกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 48.9 เป็นผลมาจากอุตสาหรรมอิเล็กทรอนิกส์มีอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 46.5 ในขณะที่อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้ามีอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 3.9 และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกพบว่าในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 นี้ การส่งออกสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้น 304,470.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.9 และจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มร้อยละ 6.2 ส่วนการนำเข้าสินค้าในกลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่า 236,692.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 เปรียบเทียบกับประเทศผู้ผลิตสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ เช่น ประเทศญี่ปุ่น พบว่าภาวะการผลิตของสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้ายังคงไม่ฟื้นตัว โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ในกลุ่ม HouseHold Electrical Machinery ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ภาวะการผลิตของสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศญี่ปุ่น ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยสินค้าในกลุ่ม Electronic parts and devices ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากตลาดของ Communications , Computer and Consumer Electronic เช่น DVD player และ Digital Cameras ที่เติบโตอย่างมากจึงทำให้มีความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย และเมื่อพิจารณาถึงมูลค่าการจำหน่าย Semiconductor ของภูมิภาคต่างๆของโลกพบว่ามีมูลค่าการจำหน่ายเพิ่มขึ้นทุกตลาด โดย Semiconductor Industry Association (SIA) ได้รายงานการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่าจำหน่าย 47.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
2.1 การผลิต
ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากรายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า ดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากได้แก่ สินค้าประเภทให้ความเย็น เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และพัดลม เป็นต้น โดยดัชนีผลผลิตสินค้าต่างๆในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นดังนี้
กลุ่มเครื่องปรับอากาศ และคอมเพรสเซอร์ (ISIC 2919) ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตเร่งทำการผลิตเพื่อขายในช่วงฤดูร้อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน (ISIC 2930) ซึ่งประกอบด้วย พัดลม ตู้เย็น กระติกน้ำร้อน และหม้อหุงข้าว ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
กลุ่มเครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง (ISIC 3230) ดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 17.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากผู้ผลิตลดกำลังการผลิตลง หลังจากเร่งผลิตเพื่อขายในช่วงเทศกาลปีใหม่แล้ว แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนดัชนีผลผลิตค่อนข้างทรงตัวโดยปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.9 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สำคัญของไทย
เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยปรับตัวลดลง ร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วปรับตัวลดลงร้อยละ 3.8 และเมื่อพิจารณาในรายสินค้าพบว่าเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนดัชนีปรับตัวลดลงในเกือบทุกกลุ่มสินค้า โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลงมากที่สุดได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 44.7 รองลงมาคือ วีดีโอ ลดลงร้อยละ 23.9 ดัชนีผลผลิตรายสินค้า ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ของประเทศญี่ปุ่น
2.2 การตลาด
จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า ในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ดัชนีการส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่มต่างๆในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นดังนี้
กลุ่มเครื่องปรับอากาศ และคอมเพรสเซอร์ (ISIC 2919) ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากมีการป้อนสินค้าเข้าสู่ตลาดเพื่อขายในช่วงฤดูร้อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน (ISIC 2930) ซึ่งประกอบด้วย พัดลม ตู้เย็น กระติกน้ำร้อน และหม้อหุงข้าว ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
กลุ่มเครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง (ISIC 3230) ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ปรับตัวลดลง ร้อยละ 15.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สำคัญของไทย
เปรียบเทียบกับดัชนีส่งสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนพบว่า ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 2.0 และเมื่อพิจารณาในรายสินค้าพบว่าสินค้าที่ปรับตัวลดลงมากที่สุดได้แก่ เครื่องปรับอากาศโดยปรับตัวลดลงร้อยละ 13.4 รองลงมาคือ วีดีโอ ลดลงร้อยละ 9.8 ในขณะที่เครื่องซักผ้า และ เครื่องเล่น DVD มีดัชนีการส่งสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดร้อยละ 8.5 และ 7.3 ตามลำดับ
ตลาดส่งออก
การส่งออกสินค้าไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่าทั้งสิ้น 121,250.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สินค้าที่มีการส่งออกขยายตัวสูงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ส่วนประกอบที่ใช้กับมอร์เตอร์ไฟฟ้าและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และเครื่องอุปกรณ์ที่ให้สัญญาณเสียงและส่วนประกอบ โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 160.3 และ 128.1 ด้วยมูลค่าการส่งออก 1,259.0 และ 3,687.1 ล้านบาทตามลำดับ ในขณะที่สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกมากที่สุดยังคงเป็น เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ และส่วนประกอบ โดยมีมูลค่าการส่งออก 2,8849.9 ล้านบาท สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรกแสดงใน
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าสินค้าไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่าทั้งสิ้น 93,039.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยส่วนใหญ่ยังคงเป็นการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อทำการผลิตสินค้า สินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุด 5 อันดับแรก
3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
3.1 การผลิต
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ยังขยายตัวได้ต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 โดยจากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 เทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 48.9 ซึ่งเป็นการขยายตัวตามความต้องการสินค้า IT ของโลกที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่ม Monolithic Integrated circuit และ หลอดภาพเครื่องรับโทรทัศน์สี เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 78.6 และ 40 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 1 ของปี 2547 พบว่าภาวะการผลิตของประเทศญี่ปุ่นทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดย Ministry of Economic Trade and Industry (METI) รายงานว่าดัชนีผลผลิตในกลุ่มของ Electronic computer เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 และในกลุ่มของ Electronic parts and devices เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน กลุ่ม Electronic computer เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 กลุ่ม Electronic parts and devices เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 23.2
3.2 การตลาดภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 4 ปี 2546 โดยจากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีการส่งสินค้าอุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ดัชนีเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 45.5 โดยในกลุ่ม Monolithic Integrated circuit และ Other Integrated circuit เพิ่มขึ้นร้อยละ 70 และ 43 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 1 ของปี 2547 พบว่าภาวะการส่งสินค้าของประเทศญี่ปุ่นทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดย METI รายงานว่าดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่ม Electronic computer ลดลงร้อยละ 4.0 และในกลุ่มของ Electronic parts and devices ลดลงร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กลุ่ม Electronic computer เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ในขณะที่ กลุ่ม Electronic parts and devices เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 23.8
นอกจากนี้ Semiconductor Industry Association (SIA) ได้รายงานการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ซึ่งสอดคล้องกับภาวะตลาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (IC) ของไทยที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยมีมูลค่าจำหน่าย 47.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.0 โดยในไตรมาสนี้ทุกภูมิภาค คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และเอเชียแปซิฟิก มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 21.6 22.0 30.7 และ 41.5 ตามลำดับ ซึ่ง SIA กล่าวว่าเป็นเพราะตลาด Communications , Computer and Consumer Electronic (DVD player และ Digital Cameras) เติบโตอย่างมากจึงทำให้มีความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยความต้องการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนตั้งแต่กลางปีที่แล้ว ประกอบกับภาคธุรกิจมีการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11.5 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์กำลังอยู่ในวัฎจักรขาขึ้น
ตลาดส่งออก
การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 มีมูลค่า 182,220.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าสำคัญที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก คือ วงจรพิมพ์ และแผงวงจรไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.7 และ 25.3 ตามลำดับ และหากพิจารณาแล้ว สินค้าส่งออกที่สำคัญที่มีการปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก คือ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด โดยลดลงถึงร้อยละ 30.5 (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 5 )
3.3 การนำเข้า
การนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 มีมูลค่ารวม 143,652.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 โดยเฉพาะอุปกรณ์เครื่องรับโทรศัพท์ โทรเลข และอุปกรณ์ และ วงจรพิมพ์ ที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก คือ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 51.9 และ 30.6 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
4. แนวโน้ม
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2547 คาดว่าน่าจะปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ โดยตลาดในประเทศได้ปัจจัยหนุนสำคัญจากการขยายตัวของอสังหาริมทรัพย์ด้านที่อยู่อาศัยทำให้สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่อำนวยความสะดวกและให้ความบันเทิงในบ้านมีแนวโน้มของอัตราการเติบโตที่ดี เช่น เครื่องรับโทรทัศน์โดยเฉพาะจอมากกว่า 21 นิ้ว เครื่องซักผ้า ตู้เย็น กระติกน้ำร้อน เป็นต้น นอกจากการส่งเสริมการขายแบบแถมควบสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าไปด้วยของผู้ผลิตอันเนื่องจากมีการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดแล้วสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นมากทำให้ กลุ่มสินค้าเครื่องปรับอากาศในไตรมาสที่ 2 ยังคงมีแนวโน้มเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่องต่อไป โดยในปี 2547 คาดว่าจะเติบโตสูงขึ้นอีกประมาณร้อยละ 10
ส่วนตลาดส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าพบว่ามีแนวโน้มดีขึ้นเมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่าตลาดส่งออกที่เป็นตลาดรองลงมาจาดตลาดสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นกลับมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีขึ้นอย่างน่าสนใจ แต่อย่างไรก็ดี ตลาดญี่ปุ่นก็น่าจะยังมีความสำคัญอยู่เนื่องจากญี่ปุ่นสามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในประเทศได้เป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง หากสภาพเศรษฐกิจยังคงดีขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ต่อไปย่อมส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้าของไทยในอนาคต
แนวโน้มของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2547 คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นกว่าไตรมาสที่ 1 ปี 2547 และจะปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์ของโลกที่กำลังอยู่ในวัฏจักรขาขึ้น SIA ได้คาดการณ์ว่ายอดขาย Semiconductor ทั่วโลกจะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 ในปี 2547 โดยได้รับแรงกระตุ้นจากการใช้จ่ายทางด้านสินค้า IT ทำให้ประเทศไทยซึ่งเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนจะได้รับผลดีตามภาวะอิเล็กทรอนิกส์โลกไปด้วยอย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงอีกหลายปัจจัยที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทย เช่น สถานการณ์ของโลกที่ยังไม่สงบจากการก่อการร้ายที่กระจายไปทั่วโลก ภาวะราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และประเทศจีนมีนโยบายที่จะชะลอการเติบโตของประเทศเพื่อลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกชะลอตัวลงได้
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-