อุตสาหกรรมพลาสติก
ภาพรวมอุตสาหกรรม
ปัญหาการเลียนแบบสินค้า ปัญหาการตัดราคาจากประเทศคู่แข่งที่มีค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่า ปัญหาการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี เป็นปัญหาหลักชองอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก ดังนั้นผู้ผลิตในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยจึงควรเน้นการผลิตเพื่อให้สินค้าของตนมีความแตกต่างจากคู่แข่ง เน้นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสินค้าให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค เน้นการออกแบบให้มีความแตกต่างเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภครวมถึงการขยายรูปแบบของผลิตภัณฑ์พลาสติกเพื่อให้พลาสติกสามารถเข้าไปทดแทนวัสดุอื่นๆได้ เช่น การเข้าไปสู่ตลาดของเล่น ตลาดวัสดุก่อสร้าง ฯลฯ เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดและขยายฐานการจำหน่ายสินค้าสำหรับผลิตภัณฑ์พลาสติก รวมถึงการผลิตพลาสติกชนิดพิเศษจากเม็ดพลาสติกชนิดพิเศษ ที่ใช้กับงานที่มีลักษณะเฉพาะ และมีมูลค่าเพิ่มสูง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกสามารถแข่งขันได้ในระยะยาว
การตลาด
การส่งออก
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 335 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง สหราชอาณาจักร กลุ่มประเทศในอาเชียน และออสเตรเลีย สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด คือ แผ่นฟิมล์ฟอยล์และแถบ ถุงและกระสอบพลาสติก และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติก มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 31.87 , 22.29 และ 4.92 ของมูลค่าส่งออกรวม และเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาพบว่าผลิตภัณฑ์มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ เครื่องแต่งกายและของใช้ประกอบเครื่องแต่งกาย แผ่นฟิมล์ฟอยล์และแถบ และกล่องหีบที่ทำด้วยพลาสติก ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 63.27 , 40.53 และ 39.53 ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมีเพียง เครื่องใช้สำนักงานทำด้วยพลาสติก ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกลดลงถึงร้อยละ 65.22 ส่วนเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนพบว่าผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่ กล่องหีบที่ทำด้วยพลาสติกและแผ่นฟิมล์ ฟอยล์และแถบ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.26 และ 3.99 ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 3 ลำดับแรกได้แก่ เครื่องแต่งกายและของประกอบเครื่องแต่งกาย หลอดและท่อพลาสติก และพลาสติกปูพื้นและผนัง โดยมูลค่าลดลงร้อยละ 22.23 , 9.52 และ 6.73 ตามลำดับ
การนำเข้า
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 477.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ร้อยละ 14.71 แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีใต้ และกลุ่มอาเซียน โดยผลิตภัณฑ์หลักที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด คือ แผ่นฟิมล์ ฟลอย์และแถบพลาสติก คิดเป็นร้อยละ 35 ของมูลค่าการนำเข้าโดยรวม เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 3 ลำดับแรกได้แก่ ถุง กล่องและกระสอบพลาสติก เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งในบ้าน และ หลอดและท่อพลาสติก โดยมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.18 , 35.00 และ 17.54 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนพบว่าผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 3 ลำดับแรกได้แก่ หลอดและท่อพลาสติก ถุงกล่องและกระสอบพลาสติก และแผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติก ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.00 , 40.18 และ 17.54 ตามลำดับ
แนวโน้ม
ปัจจุบันแนวโน้มความนิยมใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นกระป๋องลดน้อยลงในขณะที่ความต้องการบรรจุภัณฑ์ที่เป็นถุงใส และถุงฟอยล์เพิ่มขึ้น ซึ่งจากการสำรวจความต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลกพบว่า ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กระป๋องเป็นบรรจุภัณฑ์นั้นจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของตัวสินค้าในเชิงลบได้ และมั่นใจว่าตลาดโลกกำลังจะยกเลิกบรรจุภัณฑ์ที่เป็นกระป๋อง เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่มีมานานกว่า 40-50 ปีแล้ว อีกทั้งยังเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ยุบเสียง่ายกว่าถุงใส และถุงฟอยล์ ซึ่งถือว่าเป็นแนวโน้มที่ดี สำหรับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกที่จะขยายตลาดออกไปในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ แต่อย่างไรก็ดีรัฐบาลมีแนวโน้มที่จะเก็บภาษีบรรจุภัณฑ์โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาขยะตกค้างและสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น ซึ่งผู้ผลิตจำเป็นต้องพิสูจน์ให้รัฐบาลเห็นว่าอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์พลาสติกไม่ได้สร้างผลกระทบในเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้อนุมัติภาษีต่อต้านการทุ่มตลาดเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ถุงพลาสติก PE ที่นำเข้าจากประเทศไทย (รวมทั้งประเทศจีน และมาเลเซีย) ในอัตราร้อยละ 2.84 - 122.88 และคาดว่าจะประกาศอัตราภาษีขั้นสุดท้ายภายในเดือนมิถุนายน 2547 นั้น จะส่งผลกระทบ (Threat) ต่อผู้ผลิตส่งออกของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-
ภาพรวมอุตสาหกรรม
ปัญหาการเลียนแบบสินค้า ปัญหาการตัดราคาจากประเทศคู่แข่งที่มีค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่า ปัญหาการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี เป็นปัญหาหลักชองอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก ดังนั้นผู้ผลิตในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยจึงควรเน้นการผลิตเพื่อให้สินค้าของตนมีความแตกต่างจากคู่แข่ง เน้นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสินค้าให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค เน้นการออกแบบให้มีความแตกต่างเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภครวมถึงการขยายรูปแบบของผลิตภัณฑ์พลาสติกเพื่อให้พลาสติกสามารถเข้าไปทดแทนวัสดุอื่นๆได้ เช่น การเข้าไปสู่ตลาดของเล่น ตลาดวัสดุก่อสร้าง ฯลฯ เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดและขยายฐานการจำหน่ายสินค้าสำหรับผลิตภัณฑ์พลาสติก รวมถึงการผลิตพลาสติกชนิดพิเศษจากเม็ดพลาสติกชนิดพิเศษ ที่ใช้กับงานที่มีลักษณะเฉพาะ และมีมูลค่าเพิ่มสูง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกสามารถแข่งขันได้ในระยะยาว
การตลาด
การส่งออก
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 335 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง สหราชอาณาจักร กลุ่มประเทศในอาเชียน และออสเตรเลีย สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด คือ แผ่นฟิมล์ฟอยล์และแถบ ถุงและกระสอบพลาสติก และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติก มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 31.87 , 22.29 และ 4.92 ของมูลค่าส่งออกรวม และเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาพบว่าผลิตภัณฑ์มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ เครื่องแต่งกายและของใช้ประกอบเครื่องแต่งกาย แผ่นฟิมล์ฟอยล์และแถบ และกล่องหีบที่ทำด้วยพลาสติก ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 63.27 , 40.53 และ 39.53 ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมีเพียง เครื่องใช้สำนักงานทำด้วยพลาสติก ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกลดลงถึงร้อยละ 65.22 ส่วนเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนพบว่าผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่ กล่องหีบที่ทำด้วยพลาสติกและแผ่นฟิมล์ ฟอยล์และแถบ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.26 และ 3.99 ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 3 ลำดับแรกได้แก่ เครื่องแต่งกายและของประกอบเครื่องแต่งกาย หลอดและท่อพลาสติก และพลาสติกปูพื้นและผนัง โดยมูลค่าลดลงร้อยละ 22.23 , 9.52 และ 6.73 ตามลำดับ
การนำเข้า
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 477.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ร้อยละ 14.71 แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีใต้ และกลุ่มอาเซียน โดยผลิตภัณฑ์หลักที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด คือ แผ่นฟิมล์ ฟลอย์และแถบพลาสติก คิดเป็นร้อยละ 35 ของมูลค่าการนำเข้าโดยรวม เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 3 ลำดับแรกได้แก่ ถุง กล่องและกระสอบพลาสติก เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งในบ้าน และ หลอดและท่อพลาสติก โดยมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.18 , 35.00 และ 17.54 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนพบว่าผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 3 ลำดับแรกได้แก่ หลอดและท่อพลาสติก ถุงกล่องและกระสอบพลาสติก และแผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติก ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.00 , 40.18 และ 17.54 ตามลำดับ
แนวโน้ม
ปัจจุบันแนวโน้มความนิยมใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นกระป๋องลดน้อยลงในขณะที่ความต้องการบรรจุภัณฑ์ที่เป็นถุงใส และถุงฟอยล์เพิ่มขึ้น ซึ่งจากการสำรวจความต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลกพบว่า ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กระป๋องเป็นบรรจุภัณฑ์นั้นจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของตัวสินค้าในเชิงลบได้ และมั่นใจว่าตลาดโลกกำลังจะยกเลิกบรรจุภัณฑ์ที่เป็นกระป๋อง เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่มีมานานกว่า 40-50 ปีแล้ว อีกทั้งยังเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ยุบเสียง่ายกว่าถุงใส และถุงฟอยล์ ซึ่งถือว่าเป็นแนวโน้มที่ดี สำหรับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกที่จะขยายตลาดออกไปในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ แต่อย่างไรก็ดีรัฐบาลมีแนวโน้มที่จะเก็บภาษีบรรจุภัณฑ์โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาขยะตกค้างและสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น ซึ่งผู้ผลิตจำเป็นต้องพิสูจน์ให้รัฐบาลเห็นว่าอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์พลาสติกไม่ได้สร้างผลกระทบในเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้อนุมัติภาษีต่อต้านการทุ่มตลาดเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ถุงพลาสติก PE ที่นำเข้าจากประเทศไทย (รวมทั้งประเทศจีน และมาเลเซีย) ในอัตราร้อยละ 2.84 - 122.88 และคาดว่าจะประกาศอัตราภาษีขั้นสุดท้ายภายในเดือนมิถุนายน 2547 นั้น จะส่งผลกระทบ (Threat) ต่อผู้ผลิตส่งออกของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-