อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ปัจจุบัน วัฏจักรปิโตรเคมีอยู่ในช่วงขาขึ้น เนื่องจากราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีได้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เหตุผลหลักเนื่องจาก ความต้องการในตลาดโลกมีมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีนที่มีความต้องการบริโภคเม็ดพลาสติกปริมาณมหาศาล ประกอบกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นไป ได้ส่งผลให้ราคา ปิโตรเคมีปรับตัวสูงตามไปด้วย เพราะปิโตรเคมีส่วนใหญ่ใช้แนฟทาเป็นวัตถุดิบ (Feedstocks) ทั้งนี้ วัฎจักรขาขึ้นคาดว่าจะถึงปี พ.ศ. 2549 แล้วจึงกลับสู่ภาวะขาลง เนื่องจาก ในช่วงปี พ.ศ. 2549 - 2550 โรงงาน เอทิลีนแครกเกอร์ของกลุ่มประเทศตะวันออกกลางจะก่อสร้างแล้วเสร็จ สามารถผลิตสินค้าออกสู่ตลาดจำนวนมาก
ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2547 ประเทศจีนได้ลดอัตราอากรนำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ตามกรอบองค์กรการค้าโลก (WTO) โดยผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้น เช่น โทลูอีน พาราไซลีน ลดเหลือร้อยละ 3 เบนซีน ลดเหลือร้อยละ 2.7 และเอทิลีน-โพรพิลีนยังคงอยู่ที่ร้อยละ 2 ส่วนเม็ดพลาสติกหลัก เช่น PP , PS , PVC , PET ลดเหลือร้อยละ 10.7 และ PE ลดเหลือร้อยละ 11.6 การลดอัตราอากรดังกล่าว ทำให้ผู้ผลิตในประเทศจีนที่นำเข้าปิโตรเคมีมีต้นทุนการผลิตถูกลง
การผลิต
ในเดือนมีนาคม ปี 2547 บริษัท TOC ได้ทำการปิดซ่อมบำรุง Ethylene Cracker กำลังการผลิต 385 พันตัน เพื่อซ่อมแซมหน่วยผลิตบางส่วน
การตลาด
การนำเข้า
ไตรมาส 1 ปี 2547 การนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่า 1,963.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 69.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 124.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่านำเข้า 8,917.5 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเม็ดพลาสติกมีมูลค่านำเข้า 12,313.0 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ เป็นต้น
เมื่อพิจารณาเม็ดพลาสติกหลักของประเทศไทย พบว่า ไตรมาส 1 ปี 2547 เม็ดพลาสติกที่มีปริมาณการนำเข้ามากที่สุดคือ PE โดยมีปริมาณนำเข้า 48,864 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.01 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณเท่ากับ 46,094 ตัน แต่ลดลงร้อยละ 1.62 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้า PE ที่สำคัญได้แก่ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น สหรัฐอาหรับอิมิเรสต์ สหรัฐอเมริกา และเกาหลีใต้ เป็นต้น
การส่งออก
ไตรมาส 1 ปี 2547 การส่งออกปิโตรขั้นต้นมีมูลค่าส่งออก 3,957.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.0เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงถึงร้อยละ 28.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออก 3,078.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 87.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลงถึง ร้อยละ 19.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเม็ดพลาสติกมีมูลค่าส่งออก 24,701.6 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 24.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ภาพรวมการส่งออกเม็ดพลาสติกในไตรมาส 1 ปี 2547 พบว่า การส่งออกเม็ดพลาสติกหลักของประเทศมีปริมาณ 583,389 ตัน โดยเม็ดพลาสติกที่มีปริมาณส่งออกสูงสุด 4 อันดับแรกได้แก่ PE, PP , PVC และ PC ตลาดส่งออกหลักยังคงเป็นประเทศจีน (รวมฮ่องกง)
ราคา ไตรมาส 1 ปี 2547 ราคาแนฟทาเอเซียปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามราคาน้ำมันดิบและความต้องการแนฟทาที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาเอทิลีนในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยราคามาบตาพุด (Map Ta Phut Formula Price) ในเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม 2547 อยู่ที่ระดับ 27.76 28.69 และ 28.98 บาทต่อกิโลกรัม (ราคาเฉลี่ย) ส่วนราคาจำหน่ายเม็ดพลาสติกกลุ่มโอเลฟินส์ (ราคาเฉลี่ย SE Asia CIF) ในเดือนมีนาคม 2547 ของ LDPE, HDPE และ PP (Blown Film) อยู่ที่ระดับ 37.06, 33.89 และ 33.30 บาทต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากราคาเฉลี่ยในเดือนธันวาคม 2546 ที่ระดับ 31.05, 28.85 และ 28.99 บาทต่อกิโลกรัม ตามลำดับ
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-
ปัจจุบัน วัฏจักรปิโตรเคมีอยู่ในช่วงขาขึ้น เนื่องจากราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีได้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เหตุผลหลักเนื่องจาก ความต้องการในตลาดโลกมีมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีนที่มีความต้องการบริโภคเม็ดพลาสติกปริมาณมหาศาล ประกอบกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นไป ได้ส่งผลให้ราคา ปิโตรเคมีปรับตัวสูงตามไปด้วย เพราะปิโตรเคมีส่วนใหญ่ใช้แนฟทาเป็นวัตถุดิบ (Feedstocks) ทั้งนี้ วัฎจักรขาขึ้นคาดว่าจะถึงปี พ.ศ. 2549 แล้วจึงกลับสู่ภาวะขาลง เนื่องจาก ในช่วงปี พ.ศ. 2549 - 2550 โรงงาน เอทิลีนแครกเกอร์ของกลุ่มประเทศตะวันออกกลางจะก่อสร้างแล้วเสร็จ สามารถผลิตสินค้าออกสู่ตลาดจำนวนมาก
ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2547 ประเทศจีนได้ลดอัตราอากรนำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ตามกรอบองค์กรการค้าโลก (WTO) โดยผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้น เช่น โทลูอีน พาราไซลีน ลดเหลือร้อยละ 3 เบนซีน ลดเหลือร้อยละ 2.7 และเอทิลีน-โพรพิลีนยังคงอยู่ที่ร้อยละ 2 ส่วนเม็ดพลาสติกหลัก เช่น PP , PS , PVC , PET ลดเหลือร้อยละ 10.7 และ PE ลดเหลือร้อยละ 11.6 การลดอัตราอากรดังกล่าว ทำให้ผู้ผลิตในประเทศจีนที่นำเข้าปิโตรเคมีมีต้นทุนการผลิตถูกลง
การผลิต
ในเดือนมีนาคม ปี 2547 บริษัท TOC ได้ทำการปิดซ่อมบำรุง Ethylene Cracker กำลังการผลิต 385 พันตัน เพื่อซ่อมแซมหน่วยผลิตบางส่วน
การตลาด
การนำเข้า
ไตรมาส 1 ปี 2547 การนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่า 1,963.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 69.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 124.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่านำเข้า 8,917.5 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเม็ดพลาสติกมีมูลค่านำเข้า 12,313.0 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ เป็นต้น
เมื่อพิจารณาเม็ดพลาสติกหลักของประเทศไทย พบว่า ไตรมาส 1 ปี 2547 เม็ดพลาสติกที่มีปริมาณการนำเข้ามากที่สุดคือ PE โดยมีปริมาณนำเข้า 48,864 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.01 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณเท่ากับ 46,094 ตัน แต่ลดลงร้อยละ 1.62 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้า PE ที่สำคัญได้แก่ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น สหรัฐอาหรับอิมิเรสต์ สหรัฐอเมริกา และเกาหลีใต้ เป็นต้น
การส่งออก
ไตรมาส 1 ปี 2547 การส่งออกปิโตรขั้นต้นมีมูลค่าส่งออก 3,957.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.0เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงถึงร้อยละ 28.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออก 3,078.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 87.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลงถึง ร้อยละ 19.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเม็ดพลาสติกมีมูลค่าส่งออก 24,701.6 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 24.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ภาพรวมการส่งออกเม็ดพลาสติกในไตรมาส 1 ปี 2547 พบว่า การส่งออกเม็ดพลาสติกหลักของประเทศมีปริมาณ 583,389 ตัน โดยเม็ดพลาสติกที่มีปริมาณส่งออกสูงสุด 4 อันดับแรกได้แก่ PE, PP , PVC และ PC ตลาดส่งออกหลักยังคงเป็นประเทศจีน (รวมฮ่องกง)
ราคา ไตรมาส 1 ปี 2547 ราคาแนฟทาเอเซียปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามราคาน้ำมันดิบและความต้องการแนฟทาที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาเอทิลีนในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยราคามาบตาพุด (Map Ta Phut Formula Price) ในเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม 2547 อยู่ที่ระดับ 27.76 28.69 และ 28.98 บาทต่อกิโลกรัม (ราคาเฉลี่ย) ส่วนราคาจำหน่ายเม็ดพลาสติกกลุ่มโอเลฟินส์ (ราคาเฉลี่ย SE Asia CIF) ในเดือนมีนาคม 2547 ของ LDPE, HDPE และ PP (Blown Film) อยู่ที่ระดับ 37.06, 33.89 และ 33.30 บาทต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากราคาเฉลี่ยในเดือนธันวาคม 2546 ที่ระดับ 31.05, 28.85 และ 28.99 บาทต่อกิโลกรัม ตามลำดับ
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-