อุตสาหกรรมเซรามิก
อุตสาหกรรมเซรามิก เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นส่วนใหญ่ การผลิตจะใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก เป็นอุตสาหกรรมที่สนองนโยบายของรัฐในการสร้างงานและกระจายรายได้ไปสู่ภูมิภาค จึงนับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอุตสาหกรรมหนึ่ง
1. การผลิต
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 36.33 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.54 และ 41.31 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 1.80 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.33 และ 4.27 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1 และ 2) การผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ซึ่งได้แก่ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และการขยายกำลังการผลิตของแต่ละโรงงานที่ผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศการจำหน่ายเซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 40.28 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.52 และ 22.84 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ การจำหน่ายมีปริมาณ 1.07 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.44 และ 25.64 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1 และ 2) การจำหน่ายเซรามิกในประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เกิดจากการนำกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ไปใช้เป็นวัสดุตกแต่งบ้านสร้างใหม่ และปรับปรุงบ้านเก่าที่มีการซ่อมแซมและต่อเติม ตลอดจนใช้ในโครงการก่อสร้างของภาครัฐ
สำหรับการแข่งขันของตลาดเซรามิกในประเทศไม่มีการแข่งขันด้านราคา แต่จะเน้นการ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ พัฒนาสินค้าให้มีดีไซน์แตกต่างโดยอิงตลาดผู้บริโภคยุคใหม่ พัฒนากลยุทธ์การตลาด โดยโฆษณาผ่านสื่อทางโทรทัศน์เพื่อให้แบรนด์เป็นที่จดจำ เพิ่มตัวแทนจำหน่าย ปรับปรุงดิสเพลย์ร้านค้า เพิ่มจุดแสดงสินค้าให้มากขึ้น รวมทั้งเข้าร่วมงานนิทรรศการและงานแสดงสินค้าต่าง ๆ
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย แคนาดา เยอรมนี ไต้หวัน เกาหลีใต้ และประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์ เซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่ารวม 135.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.92 และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 4.86 (ดังตารางที่ 3) สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มที่ดี คือ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง ซึ่งเริ่มมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัด โดยตลาดที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ตลาดสหภาพยุโรป และตลาดสหรัฐอเมริกา ในขณะที่ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร กลับมีแนวโน้มขยายตัวลดลงในตลาดหลักทุกตลาด
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น จีน มาเลเซีย อินโดนีเซียและอิตาลี โดยการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่า 48.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.47 และ 43.88 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 4) สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าและมีอัตราการขยายตัวจากการ นำเข้าสูง ได้แก่ อิฐทนไฟ เครื่องมือที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งนำเข้าสินค้าที่มีคุณภาพสูงจากญี่ปุ่น และกระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่นำเข้าสินค้าราคาถูกจากจีน และอินโดนีเซีย เป็นต้น
3. สรุป
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ โดยเฉพาะ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ซึ่งใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ยังคงมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และการขยายกำลังการผลิตของแต่ละโรงงาน เพื่อสนองความต้องการของตลาด โดยการแข่งขันของตลาดเซรามิกในประเทศจะเน้นการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ทั้งด้านดีไซน์ที่แตกต่าง และพัฒนากลยุทธ์ด้านการตลาด สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยเฉพาะ กระเบื้อง ปูพื้น บุผนัง ที่ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ คำสั่งซื้อสินค้าจากงานแสดงสินค้าของใช้และตกแต่งบ้าน (Bangkok International Gift and Houseware หรือ BIG) จะช่วยให้การส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และของชำร่วยเครื่องประดับขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ แต่ทั้งนี้ ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นก็ยังเป็นปัจจัย ที่อาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต และความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเซรามิกได้ แม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นแล้วก็ตาม
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-
อุตสาหกรรมเซรามิก เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นส่วนใหญ่ การผลิตจะใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก เป็นอุตสาหกรรมที่สนองนโยบายของรัฐในการสร้างงานและกระจายรายได้ไปสู่ภูมิภาค จึงนับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอุตสาหกรรมหนึ่ง
1. การผลิต
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 36.33 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.54 และ 41.31 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 1.80 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.33 และ 4.27 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1 และ 2) การผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ซึ่งได้แก่ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และการขยายกำลังการผลิตของแต่ละโรงงานที่ผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศการจำหน่ายเซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 40.28 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.52 และ 22.84 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ การจำหน่ายมีปริมาณ 1.07 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.44 และ 25.64 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1 และ 2) การจำหน่ายเซรามิกในประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เกิดจากการนำกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ไปใช้เป็นวัสดุตกแต่งบ้านสร้างใหม่ และปรับปรุงบ้านเก่าที่มีการซ่อมแซมและต่อเติม ตลอดจนใช้ในโครงการก่อสร้างของภาครัฐ
สำหรับการแข่งขันของตลาดเซรามิกในประเทศไม่มีการแข่งขันด้านราคา แต่จะเน้นการ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ พัฒนาสินค้าให้มีดีไซน์แตกต่างโดยอิงตลาดผู้บริโภคยุคใหม่ พัฒนากลยุทธ์การตลาด โดยโฆษณาผ่านสื่อทางโทรทัศน์เพื่อให้แบรนด์เป็นที่จดจำ เพิ่มตัวแทนจำหน่าย ปรับปรุงดิสเพลย์ร้านค้า เพิ่มจุดแสดงสินค้าให้มากขึ้น รวมทั้งเข้าร่วมงานนิทรรศการและงานแสดงสินค้าต่าง ๆ
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย แคนาดา เยอรมนี ไต้หวัน เกาหลีใต้ และประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์ เซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่ารวม 135.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.92 และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 4.86 (ดังตารางที่ 3) สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มที่ดี คือ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง ซึ่งเริ่มมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัด โดยตลาดที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ตลาดสหภาพยุโรป และตลาดสหรัฐอเมริกา ในขณะที่ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร กลับมีแนวโน้มขยายตัวลดลงในตลาดหลักทุกตลาด
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น จีน มาเลเซีย อินโดนีเซียและอิตาลี โดยการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่า 48.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.47 และ 43.88 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 4) สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าและมีอัตราการขยายตัวจากการ นำเข้าสูง ได้แก่ อิฐทนไฟ เครื่องมือที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งนำเข้าสินค้าที่มีคุณภาพสูงจากญี่ปุ่น และกระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่นำเข้าสินค้าราคาถูกจากจีน และอินโดนีเซีย เป็นต้น
3. สรุป
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ โดยเฉพาะ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ซึ่งใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ยังคงมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และการขยายกำลังการผลิตของแต่ละโรงงาน เพื่อสนองความต้องการของตลาด โดยการแข่งขันของตลาดเซรามิกในประเทศจะเน้นการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ทั้งด้านดีไซน์ที่แตกต่าง และพัฒนากลยุทธ์ด้านการตลาด สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยเฉพาะ กระเบื้อง ปูพื้น บุผนัง ที่ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ คำสั่งซื้อสินค้าจากงานแสดงสินค้าของใช้และตกแต่งบ้าน (Bangkok International Gift and Houseware หรือ BIG) จะช่วยให้การส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และของชำร่วยเครื่องประดับขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ แต่ทั้งนี้ ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นก็ยังเป็นปัจจัย ที่อาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต และความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเซรามิกได้ แม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นแล้วก็ตาม
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-