อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
1. การผลิต
1.1 ปริมาณการผลิต
การผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีปริมาณการผลิตรวม 19.25 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.16 และ 10.44 ตามลำดับ ซึ่งเกิดจากการขยายตัวของเศรษฐกิจภาคการก่อสร้าง อันเป็นผลมาจากนโยบายรัฐบาลที่มุ่งฟื้นฟูภาคอสังหาริมทรัพย์ และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ โดยในส่วนของการผลิตปูนซีเมนต์ในไตรมาสนี้ แบ่งเป็นการผลิต ปูนเม็ด 9.44 ล้านตัน (เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.26 และ 5.24 ตามลำดับ) และการผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 9.81 ล้านตัน (เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.63 และ 15.96 ตามลำดับ)
1.2 อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้กำลังการผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 คิดเป็นร้อยละ 63.90 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.61 และ 13.90 ตามลำดับ
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีปริมาณ 7.90 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.44 และ13.51 ตามลำดับ โดยแบ่งเป็นการจำหน่ายปูนเม็ด 0.03 ล้านตัน (ลดลงจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 50.00 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 50.00) การจำหน่ายปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 7.87 ล้านตัน (เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 19.06 และ 13.40 ตามลำดับ)
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการขยายตัวของภาวะธุรกิจการก่อสร้าง โดยเฉพาะโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐทั้งมาตรการทางการเงิน ภาษี และการผ่อนคลายข้อกฎหมายต่าง ๆ รวมถึงความพยายามของสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยในอัตราดอกเบี้ยต่ำ
2.2 การส่งออก
การส่งออกปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีปริมาณการส่งออก 3.03 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 2,833 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.12 แต่มูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 3.57 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณและมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 11.92 และ 17.62 ตามลำดับ สำหรับมูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์สามารถจำแนกเป็นการส่งออกปูนเม็ดมูลค่า 1,448 ล้านบาท (เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.63 แต่ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 22.44) การส่งออกปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) มีมูลค่า 1,384 ล้านบาท(เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 13.77 และ 11.96 ตามลำดับ) การส่งออกปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 โดยรวมแล้วมีมูลค่าลดลง เนื่องจากปูนซีเมนต์เป็นสินค้าที่มีค่าขนส่งสูง ทำให้การส่งออกมีกำไรต่ำ ประกอบกับความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการจึงหันมาเน้นการขยายตลาดในประเทศมากขึ้น สำหรับ ตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่ เวียดนาม สหรัฐอเมริกา กัมพูชา และบังคลาเทศ เป็นต้น
2.3 การนำเข้า
ปูนซีเมนต์เป็นสินค้าที่มีปริมาณการนำเข้าไม่มากนัก สำหรับมูลค่าการนำเข้าปูนซีเมนต์ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่า 39.33 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 107.99 และ 64.91 ตามลำดับ โดยแบ่งเป็นการนำเข้าปูนเม็ด 0.03 ล้านบาท ปูนซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 39.30 ล้านบาท ทั้งนี้การนำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นอะลูมินัสซีเมนต์ ซึ่งไม่สามารถผลิตในประเทศได้ และบางส่วนเป็นการนำเข้าซีเมนต์ปอร์ตแลนด์
3. นโยบายและมาตรการของรัฐที่เกี่ยวข้อง
ในปี 2547 ไม่มีมาตรการหรือนโยบายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ แต่มีนโยบายทางอ้อมในเรื่องของการแก้ไขปัญหาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งประกอบด้วยมาตรการภาษี กรณีปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และปรับปรุงโครงสร้างองค์กร มาตรการเพื่อสนับสนุนการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ในส่วนของค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิ นิติกรรม และค่าธรรมเนียมจดจำนองนั้นรัฐบาลได้ขยายระยะเวลาออกไปอีก 1 ปี โดยมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2547 จนถึง 31 ธันวาคม 2547
4. ปัญหา
การผลิตปูนซีเมนต์ได้รับผลกระทบจากปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากค่าพลังงานเชื้อเพลิง โดยเฉพาะต้นทุนอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร ( FT ) ที่มีราคาสูงขึ้น และปัญหาราคาน้ำมันซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อภาวะเศรษฐกิจ และผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต นอกจากนี้ ผู้ผลิตปูนซีเมนต์ยังประสบปัญหาการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรงจากตลาดภายในประเทศ
5. สรุป
สำหรับไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ภาวะอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นตามภาวะธุรกิจก่อสร้างโดยเฉพาะโครงการก่อสร้างภาครัฐ เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ และระบบคมนาคมขนส่ง นอกจากนี้ โครงการก่อสร้างของภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวเช่นกันโดยเฉพาะในส่วนของโครงการที่พักอาศัย สำหรับในส่วนของมาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แม้ในปี 2547 รัฐบาลจะไม่มีการต่ออายุในส่วนของภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่ในส่วนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิ นิติกรรม และค่าธรรมเนียมจดจำนอง ได้มีการขยายระยะเวลาออกไปอีกเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 จนถึง 31 ธันวาคม 2547 นอกจากนี้ภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างยังคงได้รับปัจจัยหนุนจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับต่ำ และความต้องการที่อยู่อาศัย ซึ่งจะเป็นแรงผลักให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงขยายตัวต่อไปในไตรมาสที่ 2 ซึ่งจะส่งผลให้อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เติบโตตามไปด้วย
สำหรับตลาดต่างประเทศ การส่งออกปูนซีเมนต์อาจจะมีแนวโน้มลดลงต่อไป เนื่องจากปูนซีเมนต์เป็นสินค้าที่มีน้ำหนักมากทำให้ค่าขนส่งสูง การส่งออกมีกำไรต่ำ ประกอบความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกอบการหันมาเน้นการขยายตลาดในประเทศมากขึ้น
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-
1. การผลิต
1.1 ปริมาณการผลิต
การผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีปริมาณการผลิตรวม 19.25 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.16 และ 10.44 ตามลำดับ ซึ่งเกิดจากการขยายตัวของเศรษฐกิจภาคการก่อสร้าง อันเป็นผลมาจากนโยบายรัฐบาลที่มุ่งฟื้นฟูภาคอสังหาริมทรัพย์ และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ โดยในส่วนของการผลิตปูนซีเมนต์ในไตรมาสนี้ แบ่งเป็นการผลิต ปูนเม็ด 9.44 ล้านตัน (เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.26 และ 5.24 ตามลำดับ) และการผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 9.81 ล้านตัน (เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.63 และ 15.96 ตามลำดับ)
1.2 อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้กำลังการผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 คิดเป็นร้อยละ 63.90 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.61 และ 13.90 ตามลำดับ
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีปริมาณ 7.90 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.44 และ13.51 ตามลำดับ โดยแบ่งเป็นการจำหน่ายปูนเม็ด 0.03 ล้านตัน (ลดลงจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 50.00 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 50.00) การจำหน่ายปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 7.87 ล้านตัน (เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 19.06 และ 13.40 ตามลำดับ)
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการขยายตัวของภาวะธุรกิจการก่อสร้าง โดยเฉพาะโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐทั้งมาตรการทางการเงิน ภาษี และการผ่อนคลายข้อกฎหมายต่าง ๆ รวมถึงความพยายามของสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยในอัตราดอกเบี้ยต่ำ
2.2 การส่งออก
การส่งออกปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีปริมาณการส่งออก 3.03 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 2,833 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.12 แต่มูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 3.57 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณและมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 11.92 และ 17.62 ตามลำดับ สำหรับมูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์สามารถจำแนกเป็นการส่งออกปูนเม็ดมูลค่า 1,448 ล้านบาท (เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.63 แต่ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 22.44) การส่งออกปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) มีมูลค่า 1,384 ล้านบาท(เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 13.77 และ 11.96 ตามลำดับ) การส่งออกปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 โดยรวมแล้วมีมูลค่าลดลง เนื่องจากปูนซีเมนต์เป็นสินค้าที่มีค่าขนส่งสูง ทำให้การส่งออกมีกำไรต่ำ ประกอบกับความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการจึงหันมาเน้นการขยายตลาดในประเทศมากขึ้น สำหรับ ตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่ เวียดนาม สหรัฐอเมริกา กัมพูชา และบังคลาเทศ เป็นต้น
2.3 การนำเข้า
ปูนซีเมนต์เป็นสินค้าที่มีปริมาณการนำเข้าไม่มากนัก สำหรับมูลค่าการนำเข้าปูนซีเมนต์ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่า 39.33 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 107.99 และ 64.91 ตามลำดับ โดยแบ่งเป็นการนำเข้าปูนเม็ด 0.03 ล้านบาท ปูนซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 39.30 ล้านบาท ทั้งนี้การนำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นอะลูมินัสซีเมนต์ ซึ่งไม่สามารถผลิตในประเทศได้ และบางส่วนเป็นการนำเข้าซีเมนต์ปอร์ตแลนด์
3. นโยบายและมาตรการของรัฐที่เกี่ยวข้อง
ในปี 2547 ไม่มีมาตรการหรือนโยบายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ แต่มีนโยบายทางอ้อมในเรื่องของการแก้ไขปัญหาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งประกอบด้วยมาตรการภาษี กรณีปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และปรับปรุงโครงสร้างองค์กร มาตรการเพื่อสนับสนุนการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ในส่วนของค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิ นิติกรรม และค่าธรรมเนียมจดจำนองนั้นรัฐบาลได้ขยายระยะเวลาออกไปอีก 1 ปี โดยมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2547 จนถึง 31 ธันวาคม 2547
4. ปัญหา
การผลิตปูนซีเมนต์ได้รับผลกระทบจากปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากค่าพลังงานเชื้อเพลิง โดยเฉพาะต้นทุนอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร ( FT ) ที่มีราคาสูงขึ้น และปัญหาราคาน้ำมันซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อภาวะเศรษฐกิจ และผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต นอกจากนี้ ผู้ผลิตปูนซีเมนต์ยังประสบปัญหาการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรงจากตลาดภายในประเทศ
5. สรุป
สำหรับไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ภาวะอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นตามภาวะธุรกิจก่อสร้างโดยเฉพาะโครงการก่อสร้างภาครัฐ เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ และระบบคมนาคมขนส่ง นอกจากนี้ โครงการก่อสร้างของภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวเช่นกันโดยเฉพาะในส่วนของโครงการที่พักอาศัย สำหรับในส่วนของมาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แม้ในปี 2547 รัฐบาลจะไม่มีการต่ออายุในส่วนของภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่ในส่วนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิ นิติกรรม และค่าธรรมเนียมจดจำนอง ได้มีการขยายระยะเวลาออกไปอีกเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 จนถึง 31 ธันวาคม 2547 นอกจากนี้ภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างยังคงได้รับปัจจัยหนุนจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับต่ำ และความต้องการที่อยู่อาศัย ซึ่งจะเป็นแรงผลักให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงขยายตัวต่อไปในไตรมาสที่ 2 ซึ่งจะส่งผลให้อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เติบโตตามไปด้วย
สำหรับตลาดต่างประเทศ การส่งออกปูนซีเมนต์อาจจะมีแนวโน้มลดลงต่อไป เนื่องจากปูนซีเมนต์เป็นสินค้าที่มีน้ำหนักมากทำให้ค่าขนส่งสูง การส่งออกมีกำไรต่ำ ประกอบความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกอบการหันมาเน้นการขยายตลาดในประเทศมากขึ้น
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-