อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย มีกระบวนการผลิตที่ครบวงจรตั้งแต่การผลิตเส้นใย ปั่นด้าย ทอผ้า ถักผ้า ฟอกย้อมฯ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป โดยเฉพาะก่อให้เกิดการจ้างงานมากกว่า 1 ล้านคน อีกทั้งยังสามารถนำรายได้เงินตราต่างประเทศได้ปีละกว่า 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่า 1,439.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ลดลงเล็กน้อย (ร้อยละ 0.3) เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นในทุกผลิตภัณฑ์ ได้แก่เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืนและด้าย เคหะสิ่งทอ เส้นใยประดิษฐ์ และสิ่งทออื่นๆ
การผลิต
ดัชนีผลผลิต ในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 การผลิตสิ่งทอฯ ลดลงร้อยละ 4.5 และ 1.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ การผลิตเครื่องแต่งกายฯ ลดลงร้อยละ 3.2 และร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนขณะที่ดัชนีผลผลิตการผลิตผ้าฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีการส่งสินค้า การผลิตสิ่งทอฯ การผลิตผ้าฯ และการผลิตเครื่องแต่งกายฯ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ดัชนีการส่งสินค้าลดลงร้อยละ 5.7 , 1.4 และ 4.8 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ขณะที่ดัชนีการส่งสินค้าการผลิตสิ่งทอฯ เพิ่มขึ้นเล็กน้อย(ร้อยละ 0.8) เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ดัชนีการส่งสินค้าการผลิตผ้าฯ และการผลิตเครื่องแต่งกายฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 11.6 และ 11.3 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง ในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 การผลิตสิ่งทอฯ การผลิตผ้า และการผลิตเครื่องแต่งกายฯ ลดลงร้อยละ 1.7 , 9.7 และ 2.8 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 , 30.0 และ 23.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
การส่งออก
การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่าการส่งออก 1,439.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 1,444.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 1,279.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยจำแนกเป็นประเภทที่สำคัญ ๆ ดังนี้
1. เสื้อผ้าสำเร็จรูป ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่าการส่งออก 669.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 699.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการส่งออก 655.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากฝ้ายมีสัดส่วนการส่งออกมากที่สุดถึงร้อยละ 47.8 ของเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งหมด
2. ผ้าผืนและด้าย ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่าการส่งออก 409.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีมูลค่าการส่งออก 395.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการส่งออก 315.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- ผ้าผืน ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่าการส่งออก 254.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีมูลค่าการส่งออก 241.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีมูลค่าการส่งออก 198.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่าการส่งออก 154.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 117.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3. เคหะสิ่งทอ ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่าการส่งออก 43.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการส่งออก 37.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
4. เส้นใยประดิษฐ์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่าการส่งออก 94.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และร้อยละ 37.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการส่งออก 68.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออก
การส่งออกสิ่งทอไตรมาส 1 ปี 2547 มีมูลค่าส่งออกทั้งสิ้น 1,439.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 0.3 โดยตลาดส่งออกหลักๆ ที่สำคัญของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย มีดังนี้
สหรัฐอเมริกา
ยังคงเป็นตลาดส่งออกสิ่งทอหลักของไทย ซึ่งการส่งออกสิ่งทอของไทยไปสหรัฐอเมริกา ในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่า 426.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่าส่งออก 457.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และลดลงร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 461.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาสูงที่สุดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 34.2 ของการส่งออกสิ่งทอ ทั้งหมดของไทย สินค้าที่ส่งออกส่วนใหญ่เป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืนและด้าย และ เคหะสิ่งทอ
ญี่ปุ่น
ไตรมาส 1 ปี 2547 มีมูลค่าการส่งออก 113.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.8 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด โดยสินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มของเสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืนและด้าย เส้นใยประดิษฐ์ รวมทั้งสิ่งทออื่นๆ
สหราชอาณาจักร
มีมูลค่าการส่งออก 68.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 และ 16.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ตามลำดับ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.6 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูป
การนำเข้า
การนำเข้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่าทั้งสิ้น 625.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่ไทยนำเข้าส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เช่น เส้นใย เส้นด้าย ผ้าผืน และอื่นๆ (ร้อยละ 94.3) และเสื้อผ้าสำเร็จรูป (ร้อยละ 5.7)
สิ่งทอ นำเข้าสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 94.3 ของมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปโดยรวม โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ที่ผ่านมา มีมูลค่านำเข้าสิ่งทอ (เส้นใย เส้นด้าย ผ้าผืน และ ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ) รวมทั้งสิ้น 590.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่สำคัญมีดังนี้
- เส้นใยที่ใช้ในการทอ มีมูลค่านำเข้า 171.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
- ด้ายทอผ้าและด้ายเส้นเล็ก มีมูลค่านำเข้า 96.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
- ผ้าผืน มีมูลค่านำเข้า 241.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เสื้อผ้าสำเร็จรูปมีมูลค่านำเข้า ทั้งสิ้น 35.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้าเพียง 28.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.1 ของการนำเข้าสิ่งทอทั้งหมดของไทย
ตลาดนำเข้าุ สิ่งทอที่สำคัญในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ได้แก่ จีน ไต้หวัน สหรัฐอเมริกาและ ญี่ปุ่น ุ เสื้อผ้าสำเร็จรูป แหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น และอิตาลี
สรุปและแนวโน้ม
การผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีการผลิตที่ลดลง ขณะที่การส่งออกมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป สัดส่วนประมาณร้อยละ 50.0 ของการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งหมด แต่ในไตรมาสที่ 1 มูลค่าการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปยังตลาดสหรัฐฯลดลงร้อยละ 11.0 สาเหตุเกิดจากปัจจัยจากการที่ผู้นำเข้าสหรัฐฯหันไปสั่งซื้อจากแหล่งที่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า เช่น จีน อินโดนีเซีย รวมไปถึงสินค้าจากประเทศที่มีข้อตกลงทางการค้าหรือได้สิทธิพิเศษจากสหรัฐฯ เช่น ประเทศใน กลุ่มอเมริการกลาง
อย่างไรก็ตาม คาดว่าสถานการณ์การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยจะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะช่วงครึ่งปีหลัง เนื่องจากปัจจัยสนับสนุนจากภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่ฟื้นตัว ทำให้ประชาชนมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นในราคาที่ไม่สูงมากนัก โดยเฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากประเทศไทย
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย มีกระบวนการผลิตที่ครบวงจรตั้งแต่การผลิตเส้นใย ปั่นด้าย ทอผ้า ถักผ้า ฟอกย้อมฯ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป โดยเฉพาะก่อให้เกิดการจ้างงานมากกว่า 1 ล้านคน อีกทั้งยังสามารถนำรายได้เงินตราต่างประเทศได้ปีละกว่า 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่า 1,439.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ลดลงเล็กน้อย (ร้อยละ 0.3) เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นในทุกผลิตภัณฑ์ ได้แก่เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืนและด้าย เคหะสิ่งทอ เส้นใยประดิษฐ์ และสิ่งทออื่นๆ
การผลิต
ดัชนีผลผลิต ในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 การผลิตสิ่งทอฯ ลดลงร้อยละ 4.5 และ 1.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ การผลิตเครื่องแต่งกายฯ ลดลงร้อยละ 3.2 และร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนขณะที่ดัชนีผลผลิตการผลิตผ้าฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีการส่งสินค้า การผลิตสิ่งทอฯ การผลิตผ้าฯ และการผลิตเครื่องแต่งกายฯ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ดัชนีการส่งสินค้าลดลงร้อยละ 5.7 , 1.4 และ 4.8 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ขณะที่ดัชนีการส่งสินค้าการผลิตสิ่งทอฯ เพิ่มขึ้นเล็กน้อย(ร้อยละ 0.8) เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ดัชนีการส่งสินค้าการผลิตผ้าฯ และการผลิตเครื่องแต่งกายฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 11.6 และ 11.3 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง ในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 การผลิตสิ่งทอฯ การผลิตผ้า และการผลิตเครื่องแต่งกายฯ ลดลงร้อยละ 1.7 , 9.7 และ 2.8 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 , 30.0 และ 23.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
การส่งออก
การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่าการส่งออก 1,439.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 1,444.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 1,279.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยจำแนกเป็นประเภทที่สำคัญ ๆ ดังนี้
1. เสื้อผ้าสำเร็จรูป ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่าการส่งออก 669.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 699.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการส่งออก 655.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากฝ้ายมีสัดส่วนการส่งออกมากที่สุดถึงร้อยละ 47.8 ของเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งหมด
2. ผ้าผืนและด้าย ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่าการส่งออก 409.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีมูลค่าการส่งออก 395.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการส่งออก 315.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- ผ้าผืน ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่าการส่งออก 254.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีมูลค่าการส่งออก 241.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีมูลค่าการส่งออก 198.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่าการส่งออก 154.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 117.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3. เคหะสิ่งทอ ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่าการส่งออก 43.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการส่งออก 37.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
4. เส้นใยประดิษฐ์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่าการส่งออก 94.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และร้อยละ 37.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการส่งออก 68.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออก
การส่งออกสิ่งทอไตรมาส 1 ปี 2547 มีมูลค่าส่งออกทั้งสิ้น 1,439.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 0.3 โดยตลาดส่งออกหลักๆ ที่สำคัญของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย มีดังนี้
สหรัฐอเมริกา
ยังคงเป็นตลาดส่งออกสิ่งทอหลักของไทย ซึ่งการส่งออกสิ่งทอของไทยไปสหรัฐอเมริกา ในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่า 426.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่าส่งออก 457.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และลดลงร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 461.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาสูงที่สุดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 34.2 ของการส่งออกสิ่งทอ ทั้งหมดของไทย สินค้าที่ส่งออกส่วนใหญ่เป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืนและด้าย และ เคหะสิ่งทอ
ญี่ปุ่น
ไตรมาส 1 ปี 2547 มีมูลค่าการส่งออก 113.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.8 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด โดยสินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มของเสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืนและด้าย เส้นใยประดิษฐ์ รวมทั้งสิ่งทออื่นๆ
สหราชอาณาจักร
มีมูลค่าการส่งออก 68.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 และ 16.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ตามลำดับ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.6 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูป
การนำเข้า
การนำเข้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่าทั้งสิ้น 625.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่ไทยนำเข้าส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เช่น เส้นใย เส้นด้าย ผ้าผืน และอื่นๆ (ร้อยละ 94.3) และเสื้อผ้าสำเร็จรูป (ร้อยละ 5.7)
สิ่งทอ นำเข้าสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 94.3 ของมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปโดยรวม โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ที่ผ่านมา มีมูลค่านำเข้าสิ่งทอ (เส้นใย เส้นด้าย ผ้าผืน และ ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ) รวมทั้งสิ้น 590.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่สำคัญมีดังนี้
- เส้นใยที่ใช้ในการทอ มีมูลค่านำเข้า 171.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
- ด้ายทอผ้าและด้ายเส้นเล็ก มีมูลค่านำเข้า 96.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
- ผ้าผืน มีมูลค่านำเข้า 241.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เสื้อผ้าสำเร็จรูปมีมูลค่านำเข้า ทั้งสิ้น 35.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้าเพียง 28.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.1 ของการนำเข้าสิ่งทอทั้งหมดของไทย
ตลาดนำเข้าุ สิ่งทอที่สำคัญในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ได้แก่ จีน ไต้หวัน สหรัฐอเมริกาและ ญี่ปุ่น ุ เสื้อผ้าสำเร็จรูป แหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น และอิตาลี
สรุปและแนวโน้ม
การผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีการผลิตที่ลดลง ขณะที่การส่งออกมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป สัดส่วนประมาณร้อยละ 50.0 ของการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งหมด แต่ในไตรมาสที่ 1 มูลค่าการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปยังตลาดสหรัฐฯลดลงร้อยละ 11.0 สาเหตุเกิดจากปัจจัยจากการที่ผู้นำเข้าสหรัฐฯหันไปสั่งซื้อจากแหล่งที่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า เช่น จีน อินโดนีเซีย รวมไปถึงสินค้าจากประเทศที่มีข้อตกลงทางการค้าหรือได้สิทธิพิเศษจากสหรัฐฯ เช่น ประเทศใน กลุ่มอเมริการกลาง
อย่างไรก็ตาม คาดว่าสถานการณ์การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยจะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะช่วงครึ่งปีหลัง เนื่องจากปัจจัยสนับสนุนจากภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่ฟื้นตัว ทำให้ประชาชนมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นในราคาที่ไม่สูงมากนัก โดยเฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากประเทศไทย
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-