อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน
แนวโน้มเศรษฐกิจประเทศไทยในปี 2547 ยังมีอัตราการขยายตัวได้เป็นอย่างดีในช่วงไตรมาสแรก จากปริมาณการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงทิศทางของการลงทุนและการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามก็มีสัญญาณที่ส่งผลภาวะเศรษฐกิจให้ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากปัญหาการระบาดของไข้หวัดนก ประกอบกับปัญหาความไม่สงบในภาคใต้
ส่วนภาพรวมของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสแรกปี 2547 นั้น ก็ยังคงมีการขยายตัวที่เพิ่มขึ้น จากปัจจัยการขยายตัวของธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั้งในส่วนของธุรกิจที่อยู่อาศัยและอาคารสำนักงานภายในประเทศ ประกอบกับสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศโดยรวมมีแนวโน้มดีต่อเนื่องจากปีก่อน นอกจากนี้อุปสงค์จากตลาดต่างประเทศของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนไม้ที่ยังมีแนวโน้มที่ขยายตัว โดยเฉพาะจากประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ส่งผลให้ความต้องการสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มที่สดใส
1. การผลิต
ปริมาณการผลิตในอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนไม้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 มีปริมาณการผลิตประมาณ 10.2 ล้านชิ้น ปรับตัวลดลงจากไตรมาสสุดท้ายของปีก่อนมากกว่าร้อยละ 30 คงเป็นผลสืบเนื่องมาจากในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 มีการขยายกำลังการผลิตที่เป็นแบบก้าวกระโดดค่อนข้างสูง จึงทำให้ในไตรมาสนี้ผู้ประกอบการมีการปรับฐานการผลิตเพื่อรอดูท่าทีของภาวะตลาดโดยรวมและลดปริมาณสินค้าคงคลัง อย่างไรก็ตามการปรับตัวลดลงดังกล่าวคงเป็นผลการปรับตัวลดลงช่วงสั้นและมีแนวโน้มที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น เพราะภาวะเศรษฐกิจของประเทศยังอยู่ในทิศทางปรับตัวที่ดีขึ้น อีกทั้งความต้องการสินค้าของตลาดภายในประเทศ จากปัจจัยของธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ภายในที่ยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ความต้องการสินค้าจากตลาดต่างประเทศ ที่มีตัวเลขมูลค่าการส่งออกขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามหากเปรียบเทียบกับไตรมาสแรกของปีก่อนจะเห็นว่ามีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 50 ซึ่งแสดงถึงทิศทางการขยายตัวของอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องดังนั้นการปรับตัวลดลงของปริมาณการผลิตในช่วงไตรมาสแรกคงเป็นการปรับตัวช่วงแคบ ๆ ของผู้ผลิตและคาดว่าในไตรมาสต่อไปคงมีอัตราการผลิตที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น
2. การส่งออกและนำเข้า
2.1 การส่งออก ภาวะการส่งออกของกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.97 หากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาของปีที่แล้ว ด้วยมูลค่าการส่งออก 453.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 12.06 เพื่อแสดงรายละเอียดในแต่ประเภทผลิตภัณฑ์ จึงขอแบ่งการพิจารณาออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วนมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 50 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 มีมูลค่าการส่งออก 256.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาหรือไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ร้อยละ 0.62 อย่างไรก็ตามหากเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหรือปี 2546 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.02 โดยผลิตภัณฑ์ภายในกลุ่มที่มีสัดส่วนการขยายตัวของการส่งออกสูงที่สุดคือสินค้าประเภทเครื่องเรือนไม้ โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และแคนาดา
2. กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกร้อยละ 20 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด ผลิตภัณฑ์ไม้จะประกอบด้วย เครื่องใช้ทำด้วยไม้ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ กรอบรูปไม้ รูปแกะสลักและเครื่องประดับทำด้วยไม้ โดยมีมูลค่าการส่งออกในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 จำนวน 87 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงจากช่วงไตรมาสที่แล้วของปี 2546 ร้อยละ 5.23 หากเปรียบเทียบช่วงไตรมาสเดียวกันกับปีก่อนลดลงร้อยละ 0.23 ตลาดส่งออกที่สำคัญในผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และเยอรมนี
3. กลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่นมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 20 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป แผ่นไม้วีเนียร์ ไม้อัด Fiber Board และผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ โดยมีมูลค่าการส่งออกไตรมาสแรกของปี 2547 109.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงไตรมาสที่แล้วร้อยละ 21.62 และเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.48 โดยมีผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปมีมูลค่าการส่งออกสูงที่สุดในกลุ่ม ด้านตลาดส่งออกที่สำคัญของไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ได้แก่ ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และฮ่องกง
2.2 การนำเข้า ภาวะการนำเข้าของผลิตภัณฑ์ไม้ ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าวัตถุดิบมาแปรรูป ซึ่งได้แก่ ไม้ซุง ไม้แปรรูป และผลิตภัณฑ์ไม้ โดยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 มีมูลค่าการนำเข้ารวมกัน 159.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาในร้อยละ 26.37 และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2546 เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.20 แหล่งนำเข้าที่สำคัญในกลุ่มผลิตภัณฑ์นี้ กล่าวคือ ไม้ซุงจำนำเข้ามาจากประเทศพม่า และมาเลเซีย ส่วนไม้แปรรูปมีการนำเข้ามาจาก ประเทศมาเลเซีย ลาว และพม่า
3. สรุปและแนวโน้ม
สำหรับปี 2547 ภาวะอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ที่มีปัจจัยบวกมาจากตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศที่สร้างอุปสงค์ต่อสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทย โดยเฉพาะธุรกิจการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของประเทศที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศในตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย ทั้งในส่วนของตลาดในประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทย ซึ่งมีข้อได้เปรียบในเรื่องต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างต่ำยังคงขยายตัวได้ แต่อย่างไรก็ตาม ในอนาคตอันใกล้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมคงต้องรับมือกับคู่แข่งในตลาดระดับล่างด้วยกัน อย่างผู้ประกอบการในประเทศจีน อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
ดังนั้นในเบื้องต้น ผู้ประกอบการของไทยจะต้องมีการวางตำแหน่งสินค้าที่ชัดเจนเพื่อประโยชน์ต่อการทำตลาด และการนำเอากลยุทธ์ทางการตลาดต่างๆมาดำเนินการในลักษณะผสมผสานหลายกลยุทธ์ด้วยกัน เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการผลิตและการพัฒนาด้านการตลาดอย่างต่อเนื่อง และสร้างความนิยมต่อสินค้าไม้และเครื่องเรือนของไทยต่อไป
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-
แนวโน้มเศรษฐกิจประเทศไทยในปี 2547 ยังมีอัตราการขยายตัวได้เป็นอย่างดีในช่วงไตรมาสแรก จากปริมาณการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงทิศทางของการลงทุนและการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามก็มีสัญญาณที่ส่งผลภาวะเศรษฐกิจให้ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากปัญหาการระบาดของไข้หวัดนก ประกอบกับปัญหาความไม่สงบในภาคใต้
ส่วนภาพรวมของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสแรกปี 2547 นั้น ก็ยังคงมีการขยายตัวที่เพิ่มขึ้น จากปัจจัยการขยายตัวของธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั้งในส่วนของธุรกิจที่อยู่อาศัยและอาคารสำนักงานภายในประเทศ ประกอบกับสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศโดยรวมมีแนวโน้มดีต่อเนื่องจากปีก่อน นอกจากนี้อุปสงค์จากตลาดต่างประเทศของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนไม้ที่ยังมีแนวโน้มที่ขยายตัว โดยเฉพาะจากประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ส่งผลให้ความต้องการสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มที่สดใส
1. การผลิต
ปริมาณการผลิตในอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนไม้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 มีปริมาณการผลิตประมาณ 10.2 ล้านชิ้น ปรับตัวลดลงจากไตรมาสสุดท้ายของปีก่อนมากกว่าร้อยละ 30 คงเป็นผลสืบเนื่องมาจากในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 มีการขยายกำลังการผลิตที่เป็นแบบก้าวกระโดดค่อนข้างสูง จึงทำให้ในไตรมาสนี้ผู้ประกอบการมีการปรับฐานการผลิตเพื่อรอดูท่าทีของภาวะตลาดโดยรวมและลดปริมาณสินค้าคงคลัง อย่างไรก็ตามการปรับตัวลดลงดังกล่าวคงเป็นผลการปรับตัวลดลงช่วงสั้นและมีแนวโน้มที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น เพราะภาวะเศรษฐกิจของประเทศยังอยู่ในทิศทางปรับตัวที่ดีขึ้น อีกทั้งความต้องการสินค้าของตลาดภายในประเทศ จากปัจจัยของธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ภายในที่ยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ความต้องการสินค้าจากตลาดต่างประเทศ ที่มีตัวเลขมูลค่าการส่งออกขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามหากเปรียบเทียบกับไตรมาสแรกของปีก่อนจะเห็นว่ามีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 50 ซึ่งแสดงถึงทิศทางการขยายตัวของอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องดังนั้นการปรับตัวลดลงของปริมาณการผลิตในช่วงไตรมาสแรกคงเป็นการปรับตัวช่วงแคบ ๆ ของผู้ผลิตและคาดว่าในไตรมาสต่อไปคงมีอัตราการผลิตที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น
2. การส่งออกและนำเข้า
2.1 การส่งออก ภาวะการส่งออกของกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.97 หากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาของปีที่แล้ว ด้วยมูลค่าการส่งออก 453.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 12.06 เพื่อแสดงรายละเอียดในแต่ประเภทผลิตภัณฑ์ จึงขอแบ่งการพิจารณาออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วนมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 50 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 มีมูลค่าการส่งออก 256.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาหรือไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ร้อยละ 0.62 อย่างไรก็ตามหากเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหรือปี 2546 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.02 โดยผลิตภัณฑ์ภายในกลุ่มที่มีสัดส่วนการขยายตัวของการส่งออกสูงที่สุดคือสินค้าประเภทเครื่องเรือนไม้ โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และแคนาดา
2. กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกร้อยละ 20 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด ผลิตภัณฑ์ไม้จะประกอบด้วย เครื่องใช้ทำด้วยไม้ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ กรอบรูปไม้ รูปแกะสลักและเครื่องประดับทำด้วยไม้ โดยมีมูลค่าการส่งออกในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 จำนวน 87 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงจากช่วงไตรมาสที่แล้วของปี 2546 ร้อยละ 5.23 หากเปรียบเทียบช่วงไตรมาสเดียวกันกับปีก่อนลดลงร้อยละ 0.23 ตลาดส่งออกที่สำคัญในผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และเยอรมนี
3. กลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่นมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 20 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป แผ่นไม้วีเนียร์ ไม้อัด Fiber Board และผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ โดยมีมูลค่าการส่งออกไตรมาสแรกของปี 2547 109.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงไตรมาสที่แล้วร้อยละ 21.62 และเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.48 โดยมีผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปมีมูลค่าการส่งออกสูงที่สุดในกลุ่ม ด้านตลาดส่งออกที่สำคัญของไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ได้แก่ ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และฮ่องกง
2.2 การนำเข้า ภาวะการนำเข้าของผลิตภัณฑ์ไม้ ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าวัตถุดิบมาแปรรูป ซึ่งได้แก่ ไม้ซุง ไม้แปรรูป และผลิตภัณฑ์ไม้ โดยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 มีมูลค่าการนำเข้ารวมกัน 159.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาในร้อยละ 26.37 และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2546 เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.20 แหล่งนำเข้าที่สำคัญในกลุ่มผลิตภัณฑ์นี้ กล่าวคือ ไม้ซุงจำนำเข้ามาจากประเทศพม่า และมาเลเซีย ส่วนไม้แปรรูปมีการนำเข้ามาจาก ประเทศมาเลเซีย ลาว และพม่า
3. สรุปและแนวโน้ม
สำหรับปี 2547 ภาวะอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ที่มีปัจจัยบวกมาจากตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศที่สร้างอุปสงค์ต่อสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทย โดยเฉพาะธุรกิจการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของประเทศที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศในตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย ทั้งในส่วนของตลาดในประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทย ซึ่งมีข้อได้เปรียบในเรื่องต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างต่ำยังคงขยายตัวได้ แต่อย่างไรก็ตาม ในอนาคตอันใกล้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมคงต้องรับมือกับคู่แข่งในตลาดระดับล่างด้วยกัน อย่างผู้ประกอบการในประเทศจีน อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
ดังนั้นในเบื้องต้น ผู้ประกอบการของไทยจะต้องมีการวางตำแหน่งสินค้าที่ชัดเจนเพื่อประโยชน์ต่อการทำตลาด และการนำเอากลยุทธ์ทางการตลาดต่างๆมาดำเนินการในลักษณะผสมผสานหลายกลยุทธ์ด้วยกัน เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการผลิตและการพัฒนาด้านการตลาดอย่างต่อเนื่อง และสร้างความนิยมต่อสินค้าไม้และเครื่องเรือนของไทยต่อไป
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-