อุตสาหกรรมยา
อุตสาหกรรมยาเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ จึงนับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม ทั้งด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในการบริโภค
1. การผลิตในประเทศ
ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมไตรมาสแรกของปี 2547 มีประมาณ 5,822.7 ตัน ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.8 โดยยาทุกประเภทมีการผลิตลดลงมาก ยกเว้นยาเม็ด และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมลดลงเช่นกัน ประมาณร้อยละ 6.0 โดยยาเกือบทุกประเภทมีการผลิตลดลงมาก ยกเว้น ยาเม็ด และยาฉีด ปริมาณการผลิตยาที่ลดลง เนื่องจากผู้ประกอบการมักผลิตสินค้าตามปริมาณการสั่งซื้อ และยาบางชนิดมีอายุการใช้งานไม่นานนัก ประกอบกับในช่วงต้นไตรมาส ปริมาณสินค้าคงคลังยังมีเหลืออยู่มาก ทำให้ผู้ประกอบการลดปริมาณการผลิตลง และขายสินค้าที่มีในคลังออกไปก่อน
2.การจำหน่ายในประเทศ
ปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมไตรมาสแรกของปี 2547 มีประมาณ 5,281.2 ตัน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.4 โดยยาที่มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นมาก คือ ยาเม็ด ยาครีม และยาผง สาเหตุที่การจำหน่ายเพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเนื่องมาจากโครงการประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า ทำให้สถานพยาบาลต่าง ๆ ใช้ยาที่ผลิตจากในประเทศเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ลดลงร้อยละ 2.5 ซึ่งยาเกือบทุกประเภทมีการจำหน่ายลดลงมาก ยกเว้นยาฉีดและยาครีม ปริมาณการจำหน่ายที่ลดลง เกิดจากในช่วงต้นไตรมาส สถานพยาบาลภาครัฐซึ่งเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ใช้วิธีประมูลซื้อยาจากผู้ประกอบการ ทำให้มีการแข่งขันด้านราคาสูง และมีการตัดราคาสินค้า ส่งผลให้ยอดปริมาณการสั่งซื้อสินค้าลดลง
3. การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ไตรมาสแรกของปี 2547 มีมูลค่า 5,446.2 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และไตรมาสก่อน ร้อยละ 7.7 และ 6.2 ตามลำดับ โดยมีสาเหตุจากการนำเข้ายารักษาโรค ที่เป็นยาสำเร็จรูปราคาแพง ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศเพิ่มมากขึ้น สำหรับตลาดนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมที่สำคัญในไตรมาสแรกนี้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส สหราช อาณาจักร เยอรมนี และ สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 2,728.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 50.1 ของมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมทั้งหมด
4. การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ไตรมาสแรกของปี 2547 มีมูลค่า 1,098.6 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และไตรมาสก่อน ร้อยละ 6.3 และ 4.6 ตามลำดับ สาเหตุสำคัญที่ทำให้ มูลค่าการส่งออกลดลง เป็นผลมาจากมีการส่งออกสินค้าในหมวดแวดดิ้ง ผ้ากอซ ผ้าพันแผล และสำลี ลดลงมาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะกระแสความต้องการอุปกรณ์ ที่ใช้สำหรับป้องกันเชื้อโรคในตลาดโลกลดลงกว่าปีก่อน สำหรับตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมที่สำคัญในไตรมาสแรกนี้ ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา พม่า มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา โดยการส่งออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 631.1 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 57.4 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมทั้งหมด
5. สรุป
ในไตรมาสแรก ของปี 2547 ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน สาเหตุเนื่องมาจากในช่วงต้นไตรมาสยังมีปริมาณสินค้าคงคลังอยู่มาก และปริมาณคำสั่งซื้อมีไม่มากนัก เพราะมีการแข่งขันด้านราคาสูง สำหรับมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการนำเข้ายาสำเร็จรูปราคาแพงที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ แต่มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมลดลง โดยเฉพาะสินค้าในหมวดแวดดิ้ง ผ้ากอซ ผ้าพันแผล และสำลี ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากตลาดมีความต้องการอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับป้องกันเชื้อโรคลดลงกว่าปีก่อน
สำหรับไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศ จะขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากในช่วงปลายไตรมาสปริมาณสินค้าคงคลังที่มีเริ่มลดลง และมียอดคำสั่งซื้อขยายตัวเพิ่มขึ้น สำหรับการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการพยายามหาตลาดใหม่ ๆ มากขึ้น ส่วนการนำเข้าคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยยังเป็นการนำเข้ายารักษาโรคที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-
อุตสาหกรรมยาเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ จึงนับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม ทั้งด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในการบริโภค
1. การผลิตในประเทศ
ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมไตรมาสแรกของปี 2547 มีประมาณ 5,822.7 ตัน ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.8 โดยยาทุกประเภทมีการผลิตลดลงมาก ยกเว้นยาเม็ด และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมลดลงเช่นกัน ประมาณร้อยละ 6.0 โดยยาเกือบทุกประเภทมีการผลิตลดลงมาก ยกเว้น ยาเม็ด และยาฉีด ปริมาณการผลิตยาที่ลดลง เนื่องจากผู้ประกอบการมักผลิตสินค้าตามปริมาณการสั่งซื้อ และยาบางชนิดมีอายุการใช้งานไม่นานนัก ประกอบกับในช่วงต้นไตรมาส ปริมาณสินค้าคงคลังยังมีเหลืออยู่มาก ทำให้ผู้ประกอบการลดปริมาณการผลิตลง และขายสินค้าที่มีในคลังออกไปก่อน
2.การจำหน่ายในประเทศ
ปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมไตรมาสแรกของปี 2547 มีประมาณ 5,281.2 ตัน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.4 โดยยาที่มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นมาก คือ ยาเม็ด ยาครีม และยาผง สาเหตุที่การจำหน่ายเพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเนื่องมาจากโครงการประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า ทำให้สถานพยาบาลต่าง ๆ ใช้ยาที่ผลิตจากในประเทศเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ลดลงร้อยละ 2.5 ซึ่งยาเกือบทุกประเภทมีการจำหน่ายลดลงมาก ยกเว้นยาฉีดและยาครีม ปริมาณการจำหน่ายที่ลดลง เกิดจากในช่วงต้นไตรมาส สถานพยาบาลภาครัฐซึ่งเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ใช้วิธีประมูลซื้อยาจากผู้ประกอบการ ทำให้มีการแข่งขันด้านราคาสูง และมีการตัดราคาสินค้า ส่งผลให้ยอดปริมาณการสั่งซื้อสินค้าลดลง
3. การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ไตรมาสแรกของปี 2547 มีมูลค่า 5,446.2 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และไตรมาสก่อน ร้อยละ 7.7 และ 6.2 ตามลำดับ โดยมีสาเหตุจากการนำเข้ายารักษาโรค ที่เป็นยาสำเร็จรูปราคาแพง ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศเพิ่มมากขึ้น สำหรับตลาดนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมที่สำคัญในไตรมาสแรกนี้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส สหราช อาณาจักร เยอรมนี และ สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 2,728.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 50.1 ของมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมทั้งหมด
4. การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ไตรมาสแรกของปี 2547 มีมูลค่า 1,098.6 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และไตรมาสก่อน ร้อยละ 6.3 และ 4.6 ตามลำดับ สาเหตุสำคัญที่ทำให้ มูลค่าการส่งออกลดลง เป็นผลมาจากมีการส่งออกสินค้าในหมวดแวดดิ้ง ผ้ากอซ ผ้าพันแผล และสำลี ลดลงมาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะกระแสความต้องการอุปกรณ์ ที่ใช้สำหรับป้องกันเชื้อโรคในตลาดโลกลดลงกว่าปีก่อน สำหรับตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมที่สำคัญในไตรมาสแรกนี้ ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา พม่า มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา โดยการส่งออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 631.1 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 57.4 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมทั้งหมด
5. สรุป
ในไตรมาสแรก ของปี 2547 ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน สาเหตุเนื่องมาจากในช่วงต้นไตรมาสยังมีปริมาณสินค้าคงคลังอยู่มาก และปริมาณคำสั่งซื้อมีไม่มากนัก เพราะมีการแข่งขันด้านราคาสูง สำหรับมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการนำเข้ายาสำเร็จรูปราคาแพงที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ แต่มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมลดลง โดยเฉพาะสินค้าในหมวดแวดดิ้ง ผ้ากอซ ผ้าพันแผล และสำลี ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากตลาดมีความต้องการอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับป้องกันเชื้อโรคลดลงกว่าปีก่อน
สำหรับไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศ จะขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากในช่วงปลายไตรมาสปริมาณสินค้าคงคลังที่มีเริ่มลดลง และมียอดคำสั่งซื้อขยายตัวเพิ่มขึ้น สำหรับการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการพยายามหาตลาดใหม่ ๆ มากขึ้น ส่วนการนำเข้าคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยยังเป็นการนำเข้ายารักษาโรคที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-