อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง
อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางนับเป็นอุตสาหกรรมที่มีความความสำคัญต่อประเทศทั้งในแง่ของการจ้างงานและการส่งออก เนื่องจากประเทศไทยมีศักยภาพสูงในด้านวัตถุดิบที่เป็นข้อได้เปรียบกับประเทศคู่แข่ง โดยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ไทยมีมูลค่าการส่งออกของยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางรวมทั้งสิ้น 1,353.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งแบ่งเป็นมูลค่ายางพาราร้อยละ 66.3 และผลิตภัณฑ์ยางร้อยละ 33.7
1. การผลิต
ประเทศไทยผลิตยางแปรรูปขั้นต้นเป็นอันดับหนึ่งของโลก โดยมีปริมาณการผลิตประมาณ 2.5 ล้านตัน/ปี ยางแปรรูปขั้นต้นส่วนใหญ่มีการส่งออกร้อยละ 90 และส่วนที่เหลือเป็น
การจำหน่ายในประเทศ
ในส่วนของผลิตยางขั้นต้น ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 มีการผลิตยางแผ่นจำนวน 96,238.2 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 2.3 ส่วนยางแท่งมีการผลิตจำนวน 236,313.2 ตัน ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 1.7
สำหรับปริมาณผลิตผลิตภัณฑ์ยาง ในไตรมาส 1 ของปี 2547 จำแนกเป็นการผลิตยางนอกรถยนต์นั่ง จำนวน 3,029,684 เส้น เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 2.0 ยางนอกรถจักรยานยนต์จำนวน 4,012,431 เส้น เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 0.3 เนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์
2. การตลาด
2.1 ตลาดส่งออก ประเภทสินค้าที่ผลิตและส่งออกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1) ยางแปรรูปขั้นต้น ประกอบด้วย ยางแผ่น ยางแท่ง ยางเครพ น้ำยางข้น โดยมีมูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 จำนวน 898.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสที่แล้วร้อยละ 11.2 ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย และ สหรัฐอเมริกา
2) ผลิตภัณฑ์ยาง ประกอบด้วย ยางยานพาหนะ ถุงมือยาง ยางรัดของ หลอดและท่อ สายพานลำเลียงและส่งกำลัง โดยมีมูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 จำนวน 455.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 6.8 ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และฮ่องกง
2.2 ตลาดนำเข้า ประเภทผลิตภัณฑ์ยางที่นำเข้า ได้แก่ ท่อหรือข้อต่อ และสายพานลำเลียง และผลิตภัณฑ์ยางวัลแคไนซ์ โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว
3. สรุปและแนวโน้ม
การผลิตและการแปรรูปยางขั้นต้นในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 มีแนวโน้มทรงตัว และในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 การผลิตยางขั้นต้นคาดการณ์ว่าจะมีแนวโน้มลดลง อันเนื่องมาจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งมีผลติอการผลิตยางขั้นต้น ส่วนการผลิตยางรถยนต์น่าจะมีการผลิตเพิ่มมากขึ้นตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์
การส่งออกยางแปรรูปขั้นต้นในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 มีมูลค่า 898.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 11.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน โดยเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 6.87 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 คาดว่าราคายางยังมีแนวโน้มสูงขึ้น อันเนื่องมาจากความต้องการยางขั้นต้นของจีน ประกอบกับภาครัฐได้สนับสนุนการเจรจาภายใต้
เขตการค้าเสรีไทย - จีน ในสินค้าต่าง ๆ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ยาง ซึ่งจะเป็นส่วนสนับสนุนให้มีการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางเพิ่มขึ้น
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-
อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางนับเป็นอุตสาหกรรมที่มีความความสำคัญต่อประเทศทั้งในแง่ของการจ้างงานและการส่งออก เนื่องจากประเทศไทยมีศักยภาพสูงในด้านวัตถุดิบที่เป็นข้อได้เปรียบกับประเทศคู่แข่ง โดยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ไทยมีมูลค่าการส่งออกของยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางรวมทั้งสิ้น 1,353.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งแบ่งเป็นมูลค่ายางพาราร้อยละ 66.3 และผลิตภัณฑ์ยางร้อยละ 33.7
1. การผลิต
ประเทศไทยผลิตยางแปรรูปขั้นต้นเป็นอันดับหนึ่งของโลก โดยมีปริมาณการผลิตประมาณ 2.5 ล้านตัน/ปี ยางแปรรูปขั้นต้นส่วนใหญ่มีการส่งออกร้อยละ 90 และส่วนที่เหลือเป็น
การจำหน่ายในประเทศ
ในส่วนของผลิตยางขั้นต้น ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 มีการผลิตยางแผ่นจำนวน 96,238.2 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 2.3 ส่วนยางแท่งมีการผลิตจำนวน 236,313.2 ตัน ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 1.7
สำหรับปริมาณผลิตผลิตภัณฑ์ยาง ในไตรมาส 1 ของปี 2547 จำแนกเป็นการผลิตยางนอกรถยนต์นั่ง จำนวน 3,029,684 เส้น เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 2.0 ยางนอกรถจักรยานยนต์จำนวน 4,012,431 เส้น เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 0.3 เนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์
2. การตลาด
2.1 ตลาดส่งออก ประเภทสินค้าที่ผลิตและส่งออกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1) ยางแปรรูปขั้นต้น ประกอบด้วย ยางแผ่น ยางแท่ง ยางเครพ น้ำยางข้น โดยมีมูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 จำนวน 898.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสที่แล้วร้อยละ 11.2 ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย และ สหรัฐอเมริกา
2) ผลิตภัณฑ์ยาง ประกอบด้วย ยางยานพาหนะ ถุงมือยาง ยางรัดของ หลอดและท่อ สายพานลำเลียงและส่งกำลัง โดยมีมูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 จำนวน 455.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 6.8 ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และฮ่องกง
2.2 ตลาดนำเข้า ประเภทผลิตภัณฑ์ยางที่นำเข้า ได้แก่ ท่อหรือข้อต่อ และสายพานลำเลียง และผลิตภัณฑ์ยางวัลแคไนซ์ โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว
3. สรุปและแนวโน้ม
การผลิตและการแปรรูปยางขั้นต้นในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 มีแนวโน้มทรงตัว และในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 การผลิตยางขั้นต้นคาดการณ์ว่าจะมีแนวโน้มลดลง อันเนื่องมาจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งมีผลติอการผลิตยางขั้นต้น ส่วนการผลิตยางรถยนต์น่าจะมีการผลิตเพิ่มมากขึ้นตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์
การส่งออกยางแปรรูปขั้นต้นในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 มีมูลค่า 898.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 11.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน โดยเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 6.87 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 คาดว่าราคายางยังมีแนวโน้มสูงขึ้น อันเนื่องมาจากความต้องการยางขั้นต้นของจีน ประกอบกับภาครัฐได้สนับสนุนการเจรจาภายใต้
เขตการค้าเสรีไทย - จีน ในสินค้าต่าง ๆ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ยาง ซึ่งจะเป็นส่วนสนับสนุนให้มีการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางเพิ่มขึ้น
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-