อุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง
1.การผลิต
ในช่วงไตรมาสที่1 ของปี 2547 ดัชนีการผลิตของอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังจำแนกได้ดังนี้
- หนังดิบและหนังฟอก การผลิตในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 มีปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ -11.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ -25.0 เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบต้องพึ่งพาการนำเข้า ซึ่งมีราคาหนังดิบที่สูงขึ้น
- กระเป๋า การผลิตในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น 1.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ -1.0 เนื่องจากการส่งออกลดลง
- รองเท้า การผลิตในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น 15.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 จากการส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้น
2. การตลาด
การส่งออก
รองเท้าและชิ้นส่วน ไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่ม คือ รองเท้าแตะ รองเท้าอื่น ๆ และรองเท้าหนัง เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.2 14.9 และ 14.ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ รองเท้ากีฬาและส่วนประกอบ ลดลงร้อยละ -11.3 และ -3.1
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น คือ รองเท้าหนัง และรองเท้าแตะเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.0 และ 13.8 ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ ส่วนประกอบรองเท้า รองเท้าอื่น ๆ และ รองเท้ากีฬา ลดลงร้อยละ 41.5 28.0 และ 5.2 ตามลำดับ ตลาดสำคัญที่มีมูลค่าการ ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เดนมาร์ก เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และฝรั่งเศส เพิ่มขึ้นร้อยละ 118.29 50.0 40.0 และ 23.5 ตามลำดับ ตลาดหลักที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร มีสัดส่วนร้อยละ 30.0 12.3 8.7 5.9 และ 5.7 ตามลำดับ
เครื่องใช้เดินทาง ไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 มีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ -3.9 ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ กระเป๋าใส่เศษสตางค์ กระเป๋าเดินทาง และเครื่องเดินทางอื่นๆ ลดลงร้อยละ -15.9 -4.0 และ -2.0 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่ม คือ กระเป๋าถือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น คือ กระเป๋าถือ และเครื่องเดินทางอื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 และ12.5 ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ กระเป๋าใส่เศษสตางค์และกระเป๋าเดินทาง ลดลงร้อยละ 28.8 และ 1.7 ตลาดสำคัญที่เพิ่มขึ้นได้แก่ สเปน สวิตเซอร์แลนด์ และเยอรมนี เพิ่มขึ้นร้อยละ 140.0 59.38 และ 8.11 ตลาดหลักที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี และฝรั่งเศส มีสัดส่วนร้อยละ 36.8 11.5 9.7 7.6 และ 3.9 ตามลำดับ
หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด ไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 มีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ -12.7 ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ ของเล่นสำหรับเลี้ยง และหนังและผลิตภัณฑ์หนังอื่นๆ ลดลงร้อยละ -20.2 และ -8.7 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น คือ ถุงมือหนังและหนังโคกระบือฟอก เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.4 และ 3.0
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นคือ หนังโคกระบือฟอก หนังและผลิตภัณฑ์หนังอื่น ๆ เครื่องแต่งกายและเข็มขัด และถุงมือหนัง เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.7 15.0 12.5 และ 3.1 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ ของเล่นสำหรับสัตว์ ลดลงร้อยละ -24.5 ตลาดส่งออกสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เวียดนาม อินโดนีเซีย ไต้หวัน และจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 666.7 6000.0 150.0 และ 133.3 ตลาดหลักที่สำคัญได้แก่ ฮ่องกง มาเลเซีย เวียดนาม จีน และอินโดนีเซีย มีสัดส่วนตลาดร้อยละ 26.6 21.4 13.3 12.1 และ 8.1 ตามลำดับ
การนำเข้า
หนังดิบและหนังฟอก ช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2547 เทียบกับ ไตรมาสที่ 4 ปี 2546 มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ตลาดสำคัญที่มีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้น คือ อาร์เจนตินา อินเดีย และออสเตรเลีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 100.0 72.00 และ 52.7 ตามลำดับ
รองเท้า ช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2546 มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.9 ตลาดสำคัญที่เพิ่มขึ้น คือ ฝรั่งเศส มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 100.0 75.0 และ 45.5 ตามลำดับ
ผลิตภัณฑ์หนัง ช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2546 มีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.3 ตลาดสำคัญที่เพิ่มขึ้น คือ จีน ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 80.0 72.7 50.0 และ 50.0 ตามลำดับ
3. สรุปและแนวโน้ม
อุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังของไทยมีภาวะการผลิต หนังดิบและหนังฟอกลดลงเนื่องจากวัตถุดิบภายในประเทศที่ขาดแคลนและต้องพึ่งพาการนำเข้า ทำให้มูลค่าการนำเข้าหนังดิบเพิ่มขึ้น สำหรับภาวะการผลิตรองเท้าเพิ่มขึ้น เนื่องจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นในตลาดหลัก เช่นเดนมาร์ก และเยอรมนี
แนวโน้มอุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังของไทยอาจอยู่ในภาวะทรงตัวเนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบและต้องพึ่งพาการนำเข้า อีกทั้งภาวะการส่งออกที่ซบเซาและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญยังไม่ฟื้นตัว เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น แต่แนวโน้มการนำเข้าของไทยเพิ่มขึ้นในทุกรายการในประเทศผู้นำในสินค้าแฟชั่น มี Brand name เช่น อิตาลี ฝรั่งเศส และจีนซึ่งเป็นสินค้าราคาถูก ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตไทย และภาครัฐได้ร่วมกับภาคเอกชนหามาตรการนำเข้าเพื่อป้องกันสินค้าคุณภาพต่ำไหลทะลักเข้ามาในประเทศไทย
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-
1.การผลิต
ในช่วงไตรมาสที่1 ของปี 2547 ดัชนีการผลิตของอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังจำแนกได้ดังนี้
- หนังดิบและหนังฟอก การผลิตในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 มีปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ -11.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ -25.0 เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบต้องพึ่งพาการนำเข้า ซึ่งมีราคาหนังดิบที่สูงขึ้น
- กระเป๋า การผลิตในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น 1.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ -1.0 เนื่องจากการส่งออกลดลง
- รองเท้า การผลิตในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น 15.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 จากการส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้น
2. การตลาด
การส่งออก
รองเท้าและชิ้นส่วน ไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่ม คือ รองเท้าแตะ รองเท้าอื่น ๆ และรองเท้าหนัง เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.2 14.9 และ 14.ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ รองเท้ากีฬาและส่วนประกอบ ลดลงร้อยละ -11.3 และ -3.1
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น คือ รองเท้าหนัง และรองเท้าแตะเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.0 และ 13.8 ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ ส่วนประกอบรองเท้า รองเท้าอื่น ๆ และ รองเท้ากีฬา ลดลงร้อยละ 41.5 28.0 และ 5.2 ตามลำดับ ตลาดสำคัญที่มีมูลค่าการ ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เดนมาร์ก เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และฝรั่งเศส เพิ่มขึ้นร้อยละ 118.29 50.0 40.0 และ 23.5 ตามลำดับ ตลาดหลักที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร มีสัดส่วนร้อยละ 30.0 12.3 8.7 5.9 และ 5.7 ตามลำดับ
เครื่องใช้เดินทาง ไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 มีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ -3.9 ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ กระเป๋าใส่เศษสตางค์ กระเป๋าเดินทาง และเครื่องเดินทางอื่นๆ ลดลงร้อยละ -15.9 -4.0 และ -2.0 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่ม คือ กระเป๋าถือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น คือ กระเป๋าถือ และเครื่องเดินทางอื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 และ12.5 ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ กระเป๋าใส่เศษสตางค์และกระเป๋าเดินทาง ลดลงร้อยละ 28.8 และ 1.7 ตลาดสำคัญที่เพิ่มขึ้นได้แก่ สเปน สวิตเซอร์แลนด์ และเยอรมนี เพิ่มขึ้นร้อยละ 140.0 59.38 และ 8.11 ตลาดหลักที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี และฝรั่งเศส มีสัดส่วนร้อยละ 36.8 11.5 9.7 7.6 และ 3.9 ตามลำดับ
หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด ไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 มีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ -12.7 ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ ของเล่นสำหรับเลี้ยง และหนังและผลิตภัณฑ์หนังอื่นๆ ลดลงร้อยละ -20.2 และ -8.7 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น คือ ถุงมือหนังและหนังโคกระบือฟอก เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.4 และ 3.0
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นคือ หนังโคกระบือฟอก หนังและผลิตภัณฑ์หนังอื่น ๆ เครื่องแต่งกายและเข็มขัด และถุงมือหนัง เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.7 15.0 12.5 และ 3.1 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ ของเล่นสำหรับสัตว์ ลดลงร้อยละ -24.5 ตลาดส่งออกสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เวียดนาม อินโดนีเซีย ไต้หวัน และจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 666.7 6000.0 150.0 และ 133.3 ตลาดหลักที่สำคัญได้แก่ ฮ่องกง มาเลเซีย เวียดนาม จีน และอินโดนีเซีย มีสัดส่วนตลาดร้อยละ 26.6 21.4 13.3 12.1 และ 8.1 ตามลำดับ
การนำเข้า
หนังดิบและหนังฟอก ช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2547 เทียบกับ ไตรมาสที่ 4 ปี 2546 มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ตลาดสำคัญที่มีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้น คือ อาร์เจนตินา อินเดีย และออสเตรเลีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 100.0 72.00 และ 52.7 ตามลำดับ
รองเท้า ช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2546 มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.9 ตลาดสำคัญที่เพิ่มขึ้น คือ ฝรั่งเศส มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 100.0 75.0 และ 45.5 ตามลำดับ
ผลิตภัณฑ์หนัง ช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2546 มีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.3 ตลาดสำคัญที่เพิ่มขึ้น คือ จีน ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 80.0 72.7 50.0 และ 50.0 ตามลำดับ
3. สรุปและแนวโน้ม
อุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังของไทยมีภาวะการผลิต หนังดิบและหนังฟอกลดลงเนื่องจากวัตถุดิบภายในประเทศที่ขาดแคลนและต้องพึ่งพาการนำเข้า ทำให้มูลค่าการนำเข้าหนังดิบเพิ่มขึ้น สำหรับภาวะการผลิตรองเท้าเพิ่มขึ้น เนื่องจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นในตลาดหลัก เช่นเดนมาร์ก และเยอรมนี
แนวโน้มอุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังของไทยอาจอยู่ในภาวะทรงตัวเนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบและต้องพึ่งพาการนำเข้า อีกทั้งภาวะการส่งออกที่ซบเซาและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญยังไม่ฟื้นตัว เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น แต่แนวโน้มการนำเข้าของไทยเพิ่มขึ้นในทุกรายการในประเทศผู้นำในสินค้าแฟชั่น มี Brand name เช่น อิตาลี ฝรั่งเศส และจีนซึ่งเป็นสินค้าราคาถูก ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตไทย และภาครัฐได้ร่วมกับภาคเอกชนหามาตรการนำเข้าเพื่อป้องกันสินค้าคุณภาพต่ำไหลทะลักเข้ามาในประเทศไทย
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-