อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการส่งออกสูงติดอันดับหนึ่งในสิบของสินค้าส่งออกของไทย ก่อให้เกิดการจ้างงานและอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ ตั้งแต่การทำเหมือง การออกแบบ การทำและประกอบตัวเรือน การผลิตเครื่องมือเครื่องจักรในการเจียระไนพลอย และการทำวัสดุหีบห่อ เป็นต้น อุตสาหกรรมนี้จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เดือนมกราคม ปี 2547 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้ออกประกาศนโยบายส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาทักษะ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (Skilll, Technology and Innovation - STI) ให้สิทธิและประโยชน์แก่อุตสาหกรรมแฟชั่น โดยการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมจากเกณฑ์ปกติกรณีละ 1 ปี แต่รวมแล้วไม่เกิน 8 ปี รวมทั้งยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรทุกเขต ใน 4 กรณี คือ 1) มีค่าใช้จ่ายวิจัยและพัฒนาหรือออกแบบไม่น้อยกว่าร้อยละ 1-2 ของยอดขายต่อปี 2) จ้างบุคลากรที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปด้านวิทยาศาสตร์ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี การพัฒนาหรือการออกแบบ ไม่น้อยกว่า 1-5 ของแรงงานทั้งหมด 3) มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมบุคลากรไทยเทียบกับค่าใช้จ่ายเงินเดือนและค่าจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 1 และ 4) มีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาขีดความสามารถของผู้รับช่วงผลิตไทย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 1 ของยอดขายต่อปี
การผลิต
ในไตรมาส 1 ของปี 2547 ดัชนีผลผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน ลดลงร้อยละ 12.35 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (ไตรมาส 4 ปี 2546) ลดลงร้อยละ 31.70
ดัชนีส่งสินค้า ลดลงร้อยละ 17.74 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 30.60
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง ลดลงร้อยละ 26.75 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 12.11
การตลาด
การส่งออก
ช่วงไตรมาสแรกของปี 47 ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 589.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 8.74 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่า 646.3 ล้านเหรียญสหรัฐ และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (ไตรมาส 4 ปี 2546) หดตัวร้อยละ 13.92 ซึ่งมีมูลค่า 685.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากมูลค่าส่งออกทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป และอัญมณีสังเคราะห์ลดลงถึงร้อยละ 86.02 และ 11.76 ตามลำดับ
ตลาดส่งออกที่สำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อิสราเอล เบลเยียม ฮ่องกง และญี่ปุ่นโดยคิดเป็นร้อยละ 27.52 14.63 11.33 6.49 และ 5.91 ของการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทั้งหมดของไทย ตามลำดับ ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกไปสวิตเซอร์แลนด์ลดลงถึงร้อยละ 92.22 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (จาก 171 เป็น 13.3 ล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งสินค้าหลักที่ส่งออกไปตลาดนี้ คือ ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป
การนำเข้า
ช่วงไตรมาสแรก ปี 2547 ไทยนำเข้าเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 777.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 57.69 ซึ่งมีมูลค่า 492.8 ล้านเหรียญสหรัฐ และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.85 ซึ่งมีมูลค่า 489.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากไทยขาดแคลนวัตถุดิบภายในประเทศ สินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่จึงเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เช่น เพชร ทองคำ พลอย เงิน โดยเฉพาะทองคำ และเงิน มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 105.35 และ 101.92 ตามลำดับ
แหล่งนำเข้าหลักของไทยในไตรมาสนี้ ได้แก่ ออสเตรเลีย อิสราเอล ฮ่องกง อินเดีย สวิตเซอร์แลนด์ และจีน
สรุปและแนวโน้ม
ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสแรกของปี 2547 มีการผลิตลดลงการส่งออกสินค้ามีการขยายตัวดีขึ้น ยกเว้นทองคำยังไม่ขึ้นรูปและอัญมณีสังเคราะห์ลดลงจำนวนมาก ส่งผลให้การส่งออกของอุตสาหกรรมในภาพรวมลดลง ในขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นถึงกว่าร้อยละ 50 อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบที่นำใช้ในการผลิต ไตรมาส 2 ของปี 2547 คาดว่า สภาวะการผลิตและการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยจะขยายตัวดีขึ้น เนื่องจากนโยบายสนับสนุนของรัฐบาล ประกอบกับมีการโฆษณาและส่งเสริมการขาย เพื่อกระตุ้นความสนใจซื้อของผู้บริโภคมากขึ้น เช่น การจัดแฟชั่นโชว์เครื่องประดับ และการจัดนิทรรศการต่างๆ ของภาคเอกชน
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-
อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการส่งออกสูงติดอันดับหนึ่งในสิบของสินค้าส่งออกของไทย ก่อให้เกิดการจ้างงานและอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ ตั้งแต่การทำเหมือง การออกแบบ การทำและประกอบตัวเรือน การผลิตเครื่องมือเครื่องจักรในการเจียระไนพลอย และการทำวัสดุหีบห่อ เป็นต้น อุตสาหกรรมนี้จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เดือนมกราคม ปี 2547 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้ออกประกาศนโยบายส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาทักษะ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (Skilll, Technology and Innovation - STI) ให้สิทธิและประโยชน์แก่อุตสาหกรรมแฟชั่น โดยการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมจากเกณฑ์ปกติกรณีละ 1 ปี แต่รวมแล้วไม่เกิน 8 ปี รวมทั้งยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรทุกเขต ใน 4 กรณี คือ 1) มีค่าใช้จ่ายวิจัยและพัฒนาหรือออกแบบไม่น้อยกว่าร้อยละ 1-2 ของยอดขายต่อปี 2) จ้างบุคลากรที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปด้านวิทยาศาสตร์ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี การพัฒนาหรือการออกแบบ ไม่น้อยกว่า 1-5 ของแรงงานทั้งหมด 3) มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมบุคลากรไทยเทียบกับค่าใช้จ่ายเงินเดือนและค่าจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 1 และ 4) มีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาขีดความสามารถของผู้รับช่วงผลิตไทย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 1 ของยอดขายต่อปี
การผลิต
ในไตรมาส 1 ของปี 2547 ดัชนีผลผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน ลดลงร้อยละ 12.35 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (ไตรมาส 4 ปี 2546) ลดลงร้อยละ 31.70
ดัชนีส่งสินค้า ลดลงร้อยละ 17.74 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 30.60
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง ลดลงร้อยละ 26.75 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 12.11
การตลาด
การส่งออก
ช่วงไตรมาสแรกของปี 47 ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 589.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 8.74 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่า 646.3 ล้านเหรียญสหรัฐ และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (ไตรมาส 4 ปี 2546) หดตัวร้อยละ 13.92 ซึ่งมีมูลค่า 685.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากมูลค่าส่งออกทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป และอัญมณีสังเคราะห์ลดลงถึงร้อยละ 86.02 และ 11.76 ตามลำดับ
ตลาดส่งออกที่สำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อิสราเอล เบลเยียม ฮ่องกง และญี่ปุ่นโดยคิดเป็นร้อยละ 27.52 14.63 11.33 6.49 และ 5.91 ของการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทั้งหมดของไทย ตามลำดับ ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกไปสวิตเซอร์แลนด์ลดลงถึงร้อยละ 92.22 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (จาก 171 เป็น 13.3 ล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งสินค้าหลักที่ส่งออกไปตลาดนี้ คือ ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป
การนำเข้า
ช่วงไตรมาสแรก ปี 2547 ไทยนำเข้าเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 777.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 57.69 ซึ่งมีมูลค่า 492.8 ล้านเหรียญสหรัฐ และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.85 ซึ่งมีมูลค่า 489.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากไทยขาดแคลนวัตถุดิบภายในประเทศ สินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่จึงเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เช่น เพชร ทองคำ พลอย เงิน โดยเฉพาะทองคำ และเงิน มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 105.35 และ 101.92 ตามลำดับ
แหล่งนำเข้าหลักของไทยในไตรมาสนี้ ได้แก่ ออสเตรเลีย อิสราเอล ฮ่องกง อินเดีย สวิตเซอร์แลนด์ และจีน
สรุปและแนวโน้ม
ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสแรกของปี 2547 มีการผลิตลดลงการส่งออกสินค้ามีการขยายตัวดีขึ้น ยกเว้นทองคำยังไม่ขึ้นรูปและอัญมณีสังเคราะห์ลดลงจำนวนมาก ส่งผลให้การส่งออกของอุตสาหกรรมในภาพรวมลดลง ในขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นถึงกว่าร้อยละ 50 อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบที่นำใช้ในการผลิต ไตรมาส 2 ของปี 2547 คาดว่า สภาวะการผลิตและการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยจะขยายตัวดีขึ้น เนื่องจากนโยบายสนับสนุนของรัฐบาล ประกอบกับมีการโฆษณาและส่งเสริมการขาย เพื่อกระตุ้นความสนใจซื้อของผู้บริโภคมากขึ้น เช่น การจัดแฟชั่นโชว์เครื่องประดับ และการจัดนิทรรศการต่างๆ ของภาคเอกชน
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-