อุตสาหกรรมอาหาร
1. การผลิต
ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารมีการเปลี่ยนแปลงลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนและไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ประมาณร้อยละ 18 (ตารางที่ 1) เป็นผลจากการผลิต สินค้าอุตสาหกรรมอาหารที่เป็นวัตถุดิบและใช้ในประเทศในกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปลดลงประมาณร้อยละ 28 และ 17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 ประกอบกับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเพื่อส่งออกในกลุ่มหลัก ส่วนใหญ่ผลิตลดลง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์แปรรูปปศุสัตว์ ลดลงร้อยละ 26.2 จากปัญหาวิกฤตไข้หวัดนกระบาด ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมฆ่า ชำแหละ และแปรรูปเนื้อไก่ ทำให้ความต้องการของผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศลดลง และส่งผลต่อการผลิตอาหารสัตว์โดยเฉพาะอาหารไก่และเป็ด ที่มีการผลิตลดลงในอัตราใกล้เคียงกัน ผลิตภัณฑ์ประมง ลดลงร้อยละ 17.8 จากการที่สหรัฐอเมริกาประกาศไต่สวนและฟ้องตอบโต้การทุ่มตลาดกุ้งจากไทยและผลิตภัณฑ์แปรรูปผักผลไม้ ลดลงร้อยละ 11.7 ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (แป้งมันสำปะหลัง) ลดลงร้อยละ 7.7 เป็นผลจากฤดูกาลที่ความต้องการหรือคำสั่งซื้อสินค้าชะลอตัวลงและเป็นฤดูที่ผักผลไม้มีผลผลิตลดลง อย่างไรก็ตามจากภาวะเศรษฐกิจของไทยที่ปรับตัวดีขึ้น ส่งผลต่อความต้องการในการบริโภคสินค้าดีขึ้น ทำให้การผลิตผลิตภัณฑ์นมและน้ำมันพืช มีการผลิตเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 11 และ 1
2. การตลาด
1) ตลาดในประเทศ
ไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ความต้องการของตลาดภายในสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมน้ำตาล) ลดลงร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (ตารางที่ 2) โดยสินค้าที่มีปริมาณการจำหน่ายลดลง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ โดยเฉพาะสินค้าไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโรคไข้หวัดนกระบาดในไก่และสัตว์ปีก ลดลงร้อยละ 28.8 ส่งผลต่อเนื่องให้ปริมาณการจำหน่ายอาหารสัตว์ลดลงร้อยละ 29.7 และหากพิจารณาความต้องการภายในประเทศเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 การจำหน่ายขยายตัวลดลงจากปี 2546 ประมาณร้อยละ 19 โดยเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปผักผลไม้ ลดลงถึงร้อยละ 54.6 เนื่องจาก ขาดแคลนวัตถุดิบ ทำให้ระดับราคาปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะสับปะรด สำหรับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยังคงมีปริมาณการจำหน่ายลดลง คือ ประมาณ ร้อยละ 15 นอกจากนี้การจำหน่ายน้ำตาลและน้ำมันพืช ที่เป็น วัตถุดิบให้กับอุตสาหกรรมอาหารอื่นๆ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 และ 5.3 ตามลำดับ
2) ตลาดต่างประเทศ
- การส่งออก
ไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ภาวะการส่งออกโดยรวมมีการเปลี่ยนแปลงลดลงจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ร้อยละ 10.45 หรือมีการส่งออกเป็นมูลค่า 80,181.9 ล้านบาท และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออกมีมูลค่าลดลงร้อยละ 5.72 สำหรับการส่งออกสินค้าอาหารในแต่ละประเภท มีดังนี้
(1) อาหารทะเลและผลิตภัณฑ์แปรรูป มีการขยายตัวลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 14.89และลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.63 โดยมีมูลค่าส่งออกรวม 37,450.1 ล้านบาท เป็นผลจากการส่งออกที่ลดลงในเกือบทุกกลุ่มสินค้าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คือ อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง ลดลงร้อยละ 0.74 อาหารทะเลแปรรูป ลดลงร้อยละ 8.19 และอาหารทะเลกระป๋องลดลงร้อยละ 7.07 ซึ่งหากพิจารณาเป็นรายสินค้า ผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ากระป๋อง มีการส่งออกลดลงร้อยละ 9.3 ผลิตภัณฑ์จากปูทั้งแปรรูปและกระป๋องเพิ่มขึ้นร้อยละ 26 ผลิตภัณฑ์กุ้ง ส่งออกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนแต่ไม่มากนัก เนื่องจากยังคงมีกระแสการยื่นฟ้องทุ่มตลาดของสหรัฐอเมริกา
(2) ผักผลไม้และผลิตภัณฑ์แปรรูป มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 12,681.6 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.60 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 4.83 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าผลไม้ในกลุ่มนี้มีการส่งออกลดลง ที่สำคัญ คือ สับปะรดกระป๋อง มีมูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 4.7 เนื่องจากวัตถุดิบลดลง ส่งผลให้ระดับราคาส่งออกเพิ่มขึ้น สำหรับสินค้าผัก การส่งออกในรูปผักสด แช่เย็นแช่แข็งมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 24.74 เป็นผลจากการขยายตัวของการส่งออกในตลาดหลักๆ เช่น ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะข้าวโพดฝักอ่อน เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 15
(3) ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์แปรรูป มีมูลค่าส่งออกทั้งสิ้น 5,006.3 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 58.42 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 47.47 เมื่อเทียบกับปีก่อน เป็นผลจากการประกาศยกเลิกคำสั่งซื้อไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและไก่แปรรูปของประเทศญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกรวมประมาณร้อยละ 80 อันเป็นผลจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในไทยและส่งผลกระทบด้านจิตวิทยาทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ทำให้การบริโภคลดลง
(4) ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากธัญพืชและแป้ง ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่าส่งออกรวมทั้งสิ้น 13,100.80 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.44 เมื่อเทียบกับปีก่อน เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่เป็นผลิตภัณฑ์หลักของหมวดนี้ (ร้อยละ 60 ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด) เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.8 โดยเฉพาะในตลาดจีน ในขณะที่ผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น ผลิตภัณฑ์จากข้าว (แป้งข้าวต่างๆ ขนมปังกรอบ และเส้นหมี่ก๋วยเตี๋ยว) และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลี (เวเฟอร์ และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) มีมูลค่าส่งออกลดลงประมาณร้อยละ 3 และ 1.9 ตลาดหลักที่มีการส่งออกลดลง ได้แก่ ฟิลิปปินส์ และสหรัฐฯ
(5) ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่าส่งออกทั้งสิ้น 11,943.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.16 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 28.53 เป็นผลจากการส่งออกน้ำตาลเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 0.1 โดยส่งออกไปประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไต้หวันและญี่ปุ่น นอกจากนี้ สินค้าอื่นๆ ในกลุ่มนี้สามารถส่งออกเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปีก่อน สินค้าที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ สิ่งปรุงรส เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.76 และเครื่องเทศสมุนไพร เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.16 เนื่องจากมีการส่งเสริมการบริโภคอาหารไทยในต่างประเทศเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการใช้เครื่องปรุงอาหารต่างๆ มากขึ้น ผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.41 ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากประเทศเพื่อนบ้าน คือ กัมพูชาและพม่า เปิดการค้าชายแดนมากขึ้น
- การนำเข้า
ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่าการนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมอาหารทั้งสิ้น 37,646 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2546 ร้อยละ 11.06 และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.08 โดยแบ่งเป็นการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป และการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ทั้งนี้สัดส่วนการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปจะมากกว่าสินค้าอุปโภคบริโภคประมาณ 2.7 เท่า แต่แนวโน้มการขยายตัวของมูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคกลับสูงกว่า โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่าการนำเข้า 10,175.70 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 4) ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ ผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 23.41 ผักผลไม้และของปรุงแต่งจากผักผลไม้ ร้อยละ 40.22 และธัญพืชและธัญพืชสำเร็จรูป ร้อยละ 18.25 เป็นผลจากการทำข้อตกลงภายใต้เขตการค้าเสรีกับจีน ส่วนสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปผลิตภัณฑ์สำคัญที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับปีก่อน คือ สัตว์น้ำอื่นๆ ร้อยละ 72.42 และกากพืชน้ำมันร้อยละ 37.43 เนื่องจากราคาเมล็ดพืชน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นจากการที่ผลผลิตธัญพืชที่ใช้เป็นอาหารสัตว์มีปริมาณลดลง สำหรับผลิตภัณฑ์สำคัญที่มีการนำเข้าลดลง ได้แก่ ปลาทูน่า ร้อยละ 5.51 กุ้ง ร้อยละ 62.46 และปลาหมึก ร้อยละ 10.36 เนื่องจากเป็นช่วงที่วัตถุดิบลดลง และคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลงตามฤดูกาล ส่งผลให้ในภาพรวมกลุ่มสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป มีมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 2.27 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
3. นโยบายของภาครัฐ
- การประกาศเขตกักกันสัตว์และการเข้าทำลายสัตว์ในพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้หวัดนก การประเมินความเสียหายและค่าชดเชยการทำลายสัตว์ปีกให้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบและมีการจัดเตรียมโครงการปรับปรุงกระบวนการผลิตของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ และการให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงไก่ระบบปิด เพื่อปรับสภาพแวดล้อมให้สามารถรองรับการระบาดที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต
- การจัดทำบันทึกระเบียบข้อตกลง (MRA) ในการนำเข้าผักผลไม้ระหว่างไทย-จีน เนื่องจากการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี เพื่อลดการกีดกันทางการค้าในรูปแบบที่ไม่ใช่ภาษีระหว่างกันและลดข้อพิพาทในกรณีสินค้าผัก-ผลไม้จากไทยเข้าไปจำหน่ายในมณฑลต่างๆ ในประเทศจีน
4. สรุปและแนวโน้ม
ภาวะอุตสาหกรรมอาหารในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 คาดว่าทั้งภาคการผลิตและการส่งออกจะทรงตัวหรือขยายตัวดีขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากปัญหาโรคไข้หวัดนกระบาดในไก่เริ่มคลี่คลาย การส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและไก่แปรรูปที่เป็นสินค้าสำคัญในกลุ่มสินค้าปศุสัตว์ ได้รับอนุญาตให้มีการนำเข้าจากตลาดหลักเพิ่มขึ้น ได้แก่ ญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป ประกอบกับปัจจัยความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่ค่าเงินบาทเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตามปัญหาการประกาศไต่สวนการทุ่มตลาดกุ้งของสหรัฐอเมริกา ยังคงมีผลต่อเนื่องต่อปริมาณการผลิตและส่งออกกุ้งของไทย สำหรับแนวโน้มของอุตสาหกรรมอาหารในไตรมาสที่ 2 ปี 2547 ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ต่างๆ มีดังนี้
1) สินค้าประมง ปลาทูน่ากระป๋อง มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยจากการผลิตเพิ่มขึ้นของประเทศกลุ่มละตินเพื่อส่งออกไปสหรัฐฯ อาหารทะเลแปรรูปอาจมีแนวโน้มผลิตและส่งออกเพิ่มขึ้นจากการทำ FTA กับออสเตรเลียและญี่ปุ่น แต่หากพิจารณาจากปัจจัยด้านต่างประเทศอื่นๆ เช่น การฟ้องเรียกเก็บภาษีทุ่มตลาดกุ้งในประเทศสหรัฐฯ และการขยายตัวของการผลิตกุ้งชนิดอื่นทดแทนกุ้งกุลาดำในประเทศคู่แข่งใหม่ อาจส่งผลทำให้สินค้ากุ้งมีแนวโน้มลดลงได้ สำหรับกลุ่มสินค้าปลาและปลาหมึกแปรรูป คาดว่าจะผลิตและส่งออกเพิ่มขึ้น จากการได้รับความนิยมจากตลาด ส่งผลให้ระดับราคาสูงขึ้น
2) สินค้าพืชผักผลไม้แปรรูป สับปะรดกระป๋องและผลิตภัณฑ์ ไทยมีส่วนแบ่งในตลาดโลกกว่า ร้อยละ 30 มีแนวโน้มการผลิตและส่งออกดี เนื่องจากระดับราคายังคงสูงกว่าในปีก่อนๆ แต่จากการขาดแคลนวัตถุดิบ ซึ่งเป็นผลจากช่วงฤดูกาลที่วัตถุดิบออกน้อย อาจทำให้มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่ผักผลไม้อื่นๆ จะได้รับผลดีจากการเปิดตลาดสินค้ากับประเทศจีน และญี่ปุ่น เช่น มังคุด ทุเรียน และผักแปรรูป
3) สินค้าปศุสัตว์แปรรูป ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง และไก่แปรรูป มีแนวโน้มที่จะผลิตและส่งออกในปริมาณและมูลค่าที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรก เนื่องจากปัญหาโรคไข้หวัดนกระบาดในสัตว์ปีกเริ่มคลี่คลาย ตลาดยุโรป และญี่ปุ่น (สัดส่วนส่งออกไก่ รวมประมาณร้อยละ 80) เริ่มนำเข้าไก่จากไทย ซึ่งจะส่งผลให้มูลค่าส่งออกไก่และผลิตภัณฑ์โดยรวมเพิ่มขึ้น และแนวโน้มการบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ระดับราคาไก่และปศุสัตว์อื่นๆ สูงขึ้น
4) สินค้าแปรรูปจากธัญพืชและแป้ง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะมันสำปะหลังไดรับผลดีจากการที่ผลผลิตธัญพืชที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ลดลง ทำให้แนวโน้มการส่งออกเพิ่มขึ้น
5) สินค้าอื่นๆ เช่น สมุนไพรและเครื่องปรุงรส มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคในประเทศให้ความสนใจกับอาหารเพื่อสุขภาพ และการประชาสัมพันธ์ให้ชาวต่างชาติรู้จักและบริโภคอาหารไทยเพิ่มขึ้น ส่วนสินค้าน้ำตาลทราย จะเป็นช่วงฤดูปิดหีบของโรงงานน้ำตาลทำให้การผลิตลดลง แต่การส่งออกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น แม้ว่าประเทศฟิลิปปินส์ จะขอย้ายสินค้าน้ำตาลไปไว้ในสินค้าชะลอการลดภาษีในเขตการค้าเสรีอาเซียน แต่ก็มีคำสั่งซื้อล่วงหน้าไว้บ้างแล้ว สำหรับผลิตภัณฑ์นม คาดว่าจะผลิตและส่งออกได้เพิ่มขึ้นจากการที่ประเทศเพื่อนบ้านเริ่มเปิดการค้าชายแดน ประกอบกับเป็นช่วงเปิดเทอมการศึกษาใหม่
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-
1. การผลิต
ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารมีการเปลี่ยนแปลงลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนและไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ประมาณร้อยละ 18 (ตารางที่ 1) เป็นผลจากการผลิต สินค้าอุตสาหกรรมอาหารที่เป็นวัตถุดิบและใช้ในประเทศในกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปลดลงประมาณร้อยละ 28 และ 17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 ประกอบกับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเพื่อส่งออกในกลุ่มหลัก ส่วนใหญ่ผลิตลดลง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์แปรรูปปศุสัตว์ ลดลงร้อยละ 26.2 จากปัญหาวิกฤตไข้หวัดนกระบาด ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมฆ่า ชำแหละ และแปรรูปเนื้อไก่ ทำให้ความต้องการของผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศลดลง และส่งผลต่อการผลิตอาหารสัตว์โดยเฉพาะอาหารไก่และเป็ด ที่มีการผลิตลดลงในอัตราใกล้เคียงกัน ผลิตภัณฑ์ประมง ลดลงร้อยละ 17.8 จากการที่สหรัฐอเมริกาประกาศไต่สวนและฟ้องตอบโต้การทุ่มตลาดกุ้งจากไทยและผลิตภัณฑ์แปรรูปผักผลไม้ ลดลงร้อยละ 11.7 ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (แป้งมันสำปะหลัง) ลดลงร้อยละ 7.7 เป็นผลจากฤดูกาลที่ความต้องการหรือคำสั่งซื้อสินค้าชะลอตัวลงและเป็นฤดูที่ผักผลไม้มีผลผลิตลดลง อย่างไรก็ตามจากภาวะเศรษฐกิจของไทยที่ปรับตัวดีขึ้น ส่งผลต่อความต้องการในการบริโภคสินค้าดีขึ้น ทำให้การผลิตผลิตภัณฑ์นมและน้ำมันพืช มีการผลิตเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 11 และ 1
2. การตลาด
1) ตลาดในประเทศ
ไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ความต้องการของตลาดภายในสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมน้ำตาล) ลดลงร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (ตารางที่ 2) โดยสินค้าที่มีปริมาณการจำหน่ายลดลง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ โดยเฉพาะสินค้าไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโรคไข้หวัดนกระบาดในไก่และสัตว์ปีก ลดลงร้อยละ 28.8 ส่งผลต่อเนื่องให้ปริมาณการจำหน่ายอาหารสัตว์ลดลงร้อยละ 29.7 และหากพิจารณาความต้องการภายในประเทศเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 การจำหน่ายขยายตัวลดลงจากปี 2546 ประมาณร้อยละ 19 โดยเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปผักผลไม้ ลดลงถึงร้อยละ 54.6 เนื่องจาก ขาดแคลนวัตถุดิบ ทำให้ระดับราคาปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะสับปะรด สำหรับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยังคงมีปริมาณการจำหน่ายลดลง คือ ประมาณ ร้อยละ 15 นอกจากนี้การจำหน่ายน้ำตาลและน้ำมันพืช ที่เป็น วัตถุดิบให้กับอุตสาหกรรมอาหารอื่นๆ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 และ 5.3 ตามลำดับ
2) ตลาดต่างประเทศ
- การส่งออก
ไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ภาวะการส่งออกโดยรวมมีการเปลี่ยนแปลงลดลงจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ร้อยละ 10.45 หรือมีการส่งออกเป็นมูลค่า 80,181.9 ล้านบาท และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออกมีมูลค่าลดลงร้อยละ 5.72 สำหรับการส่งออกสินค้าอาหารในแต่ละประเภท มีดังนี้
(1) อาหารทะเลและผลิตภัณฑ์แปรรูป มีการขยายตัวลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 14.89และลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.63 โดยมีมูลค่าส่งออกรวม 37,450.1 ล้านบาท เป็นผลจากการส่งออกที่ลดลงในเกือบทุกกลุ่มสินค้าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คือ อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง ลดลงร้อยละ 0.74 อาหารทะเลแปรรูป ลดลงร้อยละ 8.19 และอาหารทะเลกระป๋องลดลงร้อยละ 7.07 ซึ่งหากพิจารณาเป็นรายสินค้า ผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ากระป๋อง มีการส่งออกลดลงร้อยละ 9.3 ผลิตภัณฑ์จากปูทั้งแปรรูปและกระป๋องเพิ่มขึ้นร้อยละ 26 ผลิตภัณฑ์กุ้ง ส่งออกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนแต่ไม่มากนัก เนื่องจากยังคงมีกระแสการยื่นฟ้องทุ่มตลาดของสหรัฐอเมริกา
(2) ผักผลไม้และผลิตภัณฑ์แปรรูป มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 12,681.6 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.60 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 4.83 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าผลไม้ในกลุ่มนี้มีการส่งออกลดลง ที่สำคัญ คือ สับปะรดกระป๋อง มีมูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 4.7 เนื่องจากวัตถุดิบลดลง ส่งผลให้ระดับราคาส่งออกเพิ่มขึ้น สำหรับสินค้าผัก การส่งออกในรูปผักสด แช่เย็นแช่แข็งมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 24.74 เป็นผลจากการขยายตัวของการส่งออกในตลาดหลักๆ เช่น ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะข้าวโพดฝักอ่อน เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 15
(3) ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์แปรรูป มีมูลค่าส่งออกทั้งสิ้น 5,006.3 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 58.42 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 47.47 เมื่อเทียบกับปีก่อน เป็นผลจากการประกาศยกเลิกคำสั่งซื้อไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและไก่แปรรูปของประเทศญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกรวมประมาณร้อยละ 80 อันเป็นผลจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในไทยและส่งผลกระทบด้านจิตวิทยาทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ทำให้การบริโภคลดลง
(4) ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากธัญพืชและแป้ง ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่าส่งออกรวมทั้งสิ้น 13,100.80 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.44 เมื่อเทียบกับปีก่อน เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่เป็นผลิตภัณฑ์หลักของหมวดนี้ (ร้อยละ 60 ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด) เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.8 โดยเฉพาะในตลาดจีน ในขณะที่ผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น ผลิตภัณฑ์จากข้าว (แป้งข้าวต่างๆ ขนมปังกรอบ และเส้นหมี่ก๋วยเตี๋ยว) และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลี (เวเฟอร์ และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) มีมูลค่าส่งออกลดลงประมาณร้อยละ 3 และ 1.9 ตลาดหลักที่มีการส่งออกลดลง ได้แก่ ฟิลิปปินส์ และสหรัฐฯ
(5) ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่าส่งออกทั้งสิ้น 11,943.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.16 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 28.53 เป็นผลจากการส่งออกน้ำตาลเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 0.1 โดยส่งออกไปประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไต้หวันและญี่ปุ่น นอกจากนี้ สินค้าอื่นๆ ในกลุ่มนี้สามารถส่งออกเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปีก่อน สินค้าที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ สิ่งปรุงรส เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.76 และเครื่องเทศสมุนไพร เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.16 เนื่องจากมีการส่งเสริมการบริโภคอาหารไทยในต่างประเทศเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการใช้เครื่องปรุงอาหารต่างๆ มากขึ้น ผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.41 ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากประเทศเพื่อนบ้าน คือ กัมพูชาและพม่า เปิดการค้าชายแดนมากขึ้น
- การนำเข้า
ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่าการนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมอาหารทั้งสิ้น 37,646 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2546 ร้อยละ 11.06 และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.08 โดยแบ่งเป็นการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป และการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ทั้งนี้สัดส่วนการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปจะมากกว่าสินค้าอุปโภคบริโภคประมาณ 2.7 เท่า แต่แนวโน้มการขยายตัวของมูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคกลับสูงกว่า โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีมูลค่าการนำเข้า 10,175.70 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 4) ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ ผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 23.41 ผักผลไม้และของปรุงแต่งจากผักผลไม้ ร้อยละ 40.22 และธัญพืชและธัญพืชสำเร็จรูป ร้อยละ 18.25 เป็นผลจากการทำข้อตกลงภายใต้เขตการค้าเสรีกับจีน ส่วนสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปผลิตภัณฑ์สำคัญที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับปีก่อน คือ สัตว์น้ำอื่นๆ ร้อยละ 72.42 และกากพืชน้ำมันร้อยละ 37.43 เนื่องจากราคาเมล็ดพืชน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นจากการที่ผลผลิตธัญพืชที่ใช้เป็นอาหารสัตว์มีปริมาณลดลง สำหรับผลิตภัณฑ์สำคัญที่มีการนำเข้าลดลง ได้แก่ ปลาทูน่า ร้อยละ 5.51 กุ้ง ร้อยละ 62.46 และปลาหมึก ร้อยละ 10.36 เนื่องจากเป็นช่วงที่วัตถุดิบลดลง และคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลงตามฤดูกาล ส่งผลให้ในภาพรวมกลุ่มสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป มีมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 2.27 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
3. นโยบายของภาครัฐ
- การประกาศเขตกักกันสัตว์และการเข้าทำลายสัตว์ในพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้หวัดนก การประเมินความเสียหายและค่าชดเชยการทำลายสัตว์ปีกให้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบและมีการจัดเตรียมโครงการปรับปรุงกระบวนการผลิตของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ และการให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงไก่ระบบปิด เพื่อปรับสภาพแวดล้อมให้สามารถรองรับการระบาดที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต
- การจัดทำบันทึกระเบียบข้อตกลง (MRA) ในการนำเข้าผักผลไม้ระหว่างไทย-จีน เนื่องจากการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี เพื่อลดการกีดกันทางการค้าในรูปแบบที่ไม่ใช่ภาษีระหว่างกันและลดข้อพิพาทในกรณีสินค้าผัก-ผลไม้จากไทยเข้าไปจำหน่ายในมณฑลต่างๆ ในประเทศจีน
4. สรุปและแนวโน้ม
ภาวะอุตสาหกรรมอาหารในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 คาดว่าทั้งภาคการผลิตและการส่งออกจะทรงตัวหรือขยายตัวดีขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากปัญหาโรคไข้หวัดนกระบาดในไก่เริ่มคลี่คลาย การส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและไก่แปรรูปที่เป็นสินค้าสำคัญในกลุ่มสินค้าปศุสัตว์ ได้รับอนุญาตให้มีการนำเข้าจากตลาดหลักเพิ่มขึ้น ได้แก่ ญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป ประกอบกับปัจจัยความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่ค่าเงินบาทเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตามปัญหาการประกาศไต่สวนการทุ่มตลาดกุ้งของสหรัฐอเมริกา ยังคงมีผลต่อเนื่องต่อปริมาณการผลิตและส่งออกกุ้งของไทย สำหรับแนวโน้มของอุตสาหกรรมอาหารในไตรมาสที่ 2 ปี 2547 ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ต่างๆ มีดังนี้
1) สินค้าประมง ปลาทูน่ากระป๋อง มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยจากการผลิตเพิ่มขึ้นของประเทศกลุ่มละตินเพื่อส่งออกไปสหรัฐฯ อาหารทะเลแปรรูปอาจมีแนวโน้มผลิตและส่งออกเพิ่มขึ้นจากการทำ FTA กับออสเตรเลียและญี่ปุ่น แต่หากพิจารณาจากปัจจัยด้านต่างประเทศอื่นๆ เช่น การฟ้องเรียกเก็บภาษีทุ่มตลาดกุ้งในประเทศสหรัฐฯ และการขยายตัวของการผลิตกุ้งชนิดอื่นทดแทนกุ้งกุลาดำในประเทศคู่แข่งใหม่ อาจส่งผลทำให้สินค้ากุ้งมีแนวโน้มลดลงได้ สำหรับกลุ่มสินค้าปลาและปลาหมึกแปรรูป คาดว่าจะผลิตและส่งออกเพิ่มขึ้น จากการได้รับความนิยมจากตลาด ส่งผลให้ระดับราคาสูงขึ้น
2) สินค้าพืชผักผลไม้แปรรูป สับปะรดกระป๋องและผลิตภัณฑ์ ไทยมีส่วนแบ่งในตลาดโลกกว่า ร้อยละ 30 มีแนวโน้มการผลิตและส่งออกดี เนื่องจากระดับราคายังคงสูงกว่าในปีก่อนๆ แต่จากการขาดแคลนวัตถุดิบ ซึ่งเป็นผลจากช่วงฤดูกาลที่วัตถุดิบออกน้อย อาจทำให้มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่ผักผลไม้อื่นๆ จะได้รับผลดีจากการเปิดตลาดสินค้ากับประเทศจีน และญี่ปุ่น เช่น มังคุด ทุเรียน และผักแปรรูป
3) สินค้าปศุสัตว์แปรรูป ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง และไก่แปรรูป มีแนวโน้มที่จะผลิตและส่งออกในปริมาณและมูลค่าที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรก เนื่องจากปัญหาโรคไข้หวัดนกระบาดในสัตว์ปีกเริ่มคลี่คลาย ตลาดยุโรป และญี่ปุ่น (สัดส่วนส่งออกไก่ รวมประมาณร้อยละ 80) เริ่มนำเข้าไก่จากไทย ซึ่งจะส่งผลให้มูลค่าส่งออกไก่และผลิตภัณฑ์โดยรวมเพิ่มขึ้น และแนวโน้มการบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ระดับราคาไก่และปศุสัตว์อื่นๆ สูงขึ้น
4) สินค้าแปรรูปจากธัญพืชและแป้ง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะมันสำปะหลังไดรับผลดีจากการที่ผลผลิตธัญพืชที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ลดลง ทำให้แนวโน้มการส่งออกเพิ่มขึ้น
5) สินค้าอื่นๆ เช่น สมุนไพรและเครื่องปรุงรส มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคในประเทศให้ความสนใจกับอาหารเพื่อสุขภาพ และการประชาสัมพันธ์ให้ชาวต่างชาติรู้จักและบริโภคอาหารไทยเพิ่มขึ้น ส่วนสินค้าน้ำตาลทราย จะเป็นช่วงฤดูปิดหีบของโรงงานน้ำตาลทำให้การผลิตลดลง แต่การส่งออกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น แม้ว่าประเทศฟิลิปปินส์ จะขอย้ายสินค้าน้ำตาลไปไว้ในสินค้าชะลอการลดภาษีในเขตการค้าเสรีอาเซียน แต่ก็มีคำสั่งซื้อล่วงหน้าไว้บ้างแล้ว สำหรับผลิตภัณฑ์นม คาดว่าจะผลิตและส่งออกได้เพิ่มขึ้นจากการที่ประเทศเพื่อนบ้านเริ่มเปิดการค้าชายแดน ประกอบกับเป็นช่วงเปิดเทอมการศึกษาใหม่
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-